วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

การใช้ขี้ไก่ ในการเกษตร


ขี้ไก่ไข่หมักแห้งความชื้นไม่เกิน16%อินทรีย์วัตถุ45%ไนโตรเจน2%ฟอสฟอรัส4-6%โปตัสเซี่ยม1%ไม่มีโซดาไฟเจือปน ลักษณะเป็นผงละเอียดสีน้ำตาลคล้ายรำ ไม่มีแกลบปน สามารถนำไปใช้ได้ทันทีเหมาะสำหรับใส่ สวน นา ไร่ เลี้ยงปลาและไส้เดือน  
                                      ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซี่ยม
ขี้ไก่ไข่                               2.28   6.6.   0.8
ขี้ไก่เนื้อ ไม่รวมแกลบ        2.65   1.69   0.8
ขี้หมู                                   1.83   1.25   0.11
ขี้วัว                                    0.73   0.49   0.3


เปรียบเทียบธาตุอาหารของพืชในขี้ไก่ไข่ ขี้ไก่เนื้อ ขี้หมูและ ขี้วัว
ขี้ไก่หมักด้วยEmซึ่งมีคุณสมบัติในการขยายตัวของเชื้อemได้ จากการวิเคราะห์พื้นฐาน จุลินทรีย์ที่เป็นผงแห้งจะมีโปรตีน78%เที่ยบได้กับไนโตรเจน15% คือสูตร15ในตัวแรกของปุ๋ย15-15-15  ดังนั้นการที่จุลินทรีย์กินขี้ไก่หมักเป็นอาหารก็จะขยายตัวไปเรื่อยๆจนกว่าอาหารจะหมด ดังนั้นจะทำให้ต้นไม้ได้รับไนโตรเจนจากจุลินทรีย์ตลอดเวลาทำให้ต้นไม้เขียวตลอดเวลานอกจากนี้ยังมีการเติมกากน้ำตาลอีก5%ซึ่งตัวนี้จะช่วยเสริมแร่ธาตุรองได้ครบทุกตัวที่พืชต้องการ
การใช้ขี้ไก่ไข่หมักในสวนยางพาราและสวนปาล์ม
ขั้นตอนการปลูก ขุดหลุมเอา  ดินมาผสมกับขี้ไก่ไข่หมักอัตราส่วน1ต่อ1 เช่นดิน5กกผสมกับขี้ไก่ไข่หมัก5กกแล้ว รองก้นหลุม กลบด้วยดินหนาประมาณ4นิ้วอีกชั้นหนึ่ง วาง  ต้นพันธุ์ลงไปแล้วกลบให้เรียบร้อย
ประมาณ1เดือนต้นพันธุ์ตั้งตัวได้ให้ใส่ขี้ไก่ไข่โรยรอบๆห่างจากโคนต้นประมาณ6นิ้ว ใส่ประมาณ4กกต่อต้น การใส่ให้ใส่ปีละ3ครั้งคือก่อนฝนตกจากนั้นใส่ทุกๆ4เดือน

การใช้ขี้ไก่ไข่หมักในอ้อยและมันสำปะหลัง
 การใส่ขี้ไก่ไข่หมักในไร่มันสำปะหลังดีที่สุดที่1000กกต่อไร่โดยไม่ต้องใช้เคมีใส่ครั้งเดียว รอเก็บเกี่ยวที่สิ้นปี การทำแบบนี้ใช้ได้กับพืชเก็บเกี่ยว1ปีทุกชนิดเช่น มันสำปะหลัง อ้อย จะประหยัดค่าปุ๋ยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ประหยัดแรงงานและต้นทุนต่ำสุดที่สำคัญคือดินจะดีขึ้นอุดมสมบูรณ์มากขึ้นกว่าเดิมเพราะมีอินทรีย์วัตถุถึง40%แปลว่าดินจะได้ระบอินทรีย์วัตถุถึงไร่ละ400 กก
การใช้ขี้ไก่ไข่หมักในนาข้าว

ใส่ตอนทำเทือกหว่านแล้วไถกลบ ถ้าดินดีใช้200กกต่อไร่ ถ้าดินปานกลางใช้300กกต่อไร่
ถ้าดินไม่ดีใช้500กกต่อไร่ หลังจากนั้นพอข้าวอายุ15-20วันใส่อีกครั้ง ในปริมาณเท่ากับครั้งแรกและก่อนข้าวตั้งท้อง20วันใส่ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15เพื่อให้เมล็ดข้าวสมบูรณ์และกระตุ้นให้ข้าวออกรวงพร้อมกัน
การใช้ขี้ไก่ไข่หมักในแปลงผักและไร่ข้าวโพด
 
ผักอายุสั้นและข้าวโพดใส่1000กกต่อไร่แต่ต้องเสริมเคมี สามารถลดการใช้เคมีลงได้ครึ่งหนึ่ง จะให้ผลดีในระยะยาว และ1ปีใส่แค่ครั้งเดียวการปลูกผักชุดใหม่ไม่ต้องใช้อีกเลยจนครบปีค่อยใส่ใหม่
การใช้ขี้ไก่หมักไข่ในไม้ผล
 
การใช้ขี้ไก่ไข่รองก้นหลุมปลูก ทำได้โดยขุดดินขึ้นมาผสมกับขี้ไก่ไข่อัตราส่วน 1ต่อ1 เช่นขุดดินขึ้นมา5 กกผสมกับขี้ไก่ไข่5กกแล้วใส่รองก้นหลุมปลูกจากนั้นให้ใส่ทุก3เดือน หรือ4เดือนหรือ6เดือนขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใส่ เช่น 3เดือนใส่ครั้งอาจจะใส่4กก ถ้า4เดือนใส่ครั้งอาจจะใส่ 6กก หรือ6เดือนใส่ครั้งอาจจะใส่10กก

                        การผลิตขี้ค้างคาวเทียมจากขี้ไก่ไข่หมักemและกากน้ำตาล ค่าทางเคมีของขี้ค้างคาวจริง ไนโตรเจน 3.3% ฟอสฟอรัส 14-16% โปตัสเซี่ยม 0.3%  ส่วนผสม   ขี้ไก่ไข่หมัก100กิโลกรัมผสมกับยูเรีย46-0-0 จำนวน10กิโลกรัมจะได้ไนโตรเจน=2+4.6หาร2= 3.3%  เติมหินฟอสเฟต14%จำนวน100กิโลกรัมจะได้ฟอสเฟส=6+14=หาร2=10%           และจะได้โปตัสเซี่ยมจากขี้ไก่ไข่0.8หาร2=0.4%           สรุปขี้ค้างคาวปลอม =ขี้ไก่ไข่หมัก100กก+ยูเรีย10กก+หินฟอสเฟส100กก จะได้สูตร ไนโตรเจน3.3%ฟอสเฟส10%โปตัสเซี่ยม0.4% เมื่อเทียบกับขี้ค้างคาวจริง คือ ไนโตรเจน3.3%ฟอสเฟส14%โปตัสเซี่ยม0.3%     ราคาต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัม5บาท70สตางค์เพียงเท่านี้ท่านก็จะได้ขี้ค้างคาวเทียมที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับขี้ค้างคาวจริงในราคาถูกใช้ในสวนของท่านเองด้วยความสบายใจ 
ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=24198.640

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กินทุเรียนทั้งที ต้องสุขภาพดี และไม่อ้วน



ทุเรียน ผลไม้ที่หลายต่อหลายคนชื่นชอบ แต่คุณผู้อ่านบางคนก็ยังมีความกังวลกับเรื่องน้ำหนักตัว ที่อาจเพิ่มตามปริมาณการกินทุเรียนได้ ผู้เขียนจึงขอแนะให้ผู้บริโภคทุเรียนมีความรู้วิธีการกินทุเรียนอย่างไรให้สุขภาพดี เนื่องจากทุเรียนได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ไทย เป็นผลไม้ที่มีความอร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการ และได้รับความนิยมสูง อีกทั้งทุเรียนยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ถ้ากินในปริมาณที่พอดีและกินให้ถูกจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย มาอ่านกันว่ากินทุเรียนอย่างไรไม่ให้อ้วนและมีสุขภาพดี

ในเนื้อเหลืองอวบของทุเรียน ประกอบด้วย 3 อย่างหลัก คือ 1.แป้ง จากเนื้อเหลืองแน่นที่กินแล้วหวานมันอร่อยลิ้น

2.ไขมัน มีปนมาอยู่บ้างซึ่งมากกว่าพืชทั่วไป แต่การมีไขมันนี้ทำให้ทุเรียนมีวิตามินอีเยอะ

3.วิตามินแร่ธาตุและกำมะถัน หรือซัลเฟอร์ โดยกำมะถันตัวนี้เองคือตัวร้อน เป็นผู้ร้ายที่ทำให้เกิดอาการร้อนในและกลิ่นไร้เทียมทาน

สรรพคุณของทุเรียน

1. ช่วยฆ่าเชื้อ จากกำมะถันในเนื้อเป็นเสมือนยาปฏิชีวนะอ่อน ๆ

2. ช่วยเผาผลาญ จากความร้อนของกำมะถันและน้ำตาลในเนื้อ

3. ช่วยระบาย จากกากที่เป็นเส้นใยยุ่บยั่บในเนื้อ

นอกจากนี้ทุเรียนยังมีฤทธิ์ไล่พยาธิได้ ด้วยกำมะถันที่รุ่มร้อนทำให้ลำไส้ไม่เป็นบ้านแสนสุขของพยาธิอีกต่อไป อีกทั้งกากใยในเนื้อที่ช่วยขัดล้างลำไส้ด้วย

ดังนั้น การกินทุเรียนเพื่อสุขภาพ ควรกินครั้งละไม่เกิน 2 เม็ด ขนาดกลาง น้ำหนักเฉพาะเนื้อประมาณ 100 กรัม จะให้พลังงานสูงถึง 187 กิโลแคลอรี ให้ไขมัน 4.1 กรัม โปรตีน 2.5 กรัม และให้แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินเอ ประมาณ 18 มิลลิกรัม 36 มิลลิกรัม 1 มิลลิกรัม และ 22 มิลลิกรัม.ตามลำดับ แต่ ถ้าหากกินครั้งละ 2-3 พู เท่ากับ 4-6 เม็ด หรือเกือบครึ่งลูก ก็จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานจากความหวานของทุเรียนมากเกินไปถึงประมาณ 400 กิโลแคลอรี ซึ่งพอ ๆ กับกินข้าว 5 ทัพพี หรือกินน้ำอัดลมเกือบ 2 กระป๋อง หรือก๋วยเตี๋ยวหมู 1 ชาม

สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ให้ระมัดระวังในการกินทุเรียน กินได้แต่ในปริมาณที่น้อยกว่าคนปกติ

สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการกินทุเรียน คือ ต้องไม่กินร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด เพราะในทุเรียนมีสารกำมะถันหรือซัลเฟอร์อยู่มาก ซึ่งจะละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ ทำให้แอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือดได้เร็ว ทำให้เมาเร็วและเมาหนักขึ้น ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อระบบหายใจ เสี่ยงเสียชีวิตหรือเกิดอาการร้อนใน เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้



ส่วนความเชื่อที่ว่า กินทุเรียนแล้วให้กินมังคุดตามเพื่อแก้ร้อนใน ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ดี แม้จะไม่มีงานวิจัยรองรับ แต่คิดว่าเป็นกุศโลบายของคนรุ่นเก่า ที่คิดว่าทุเรียนเป็นของร้อน แล้วให้กินมังคุดเป็นของเย็นแก้กัน และคงต้องการให้คนกินผลไม้ที่หลายหลากชนิดด้วย

ดังนั้นสำหรับคนที่กินทุเรียนจนร้อนใน ควรกินอาหารธาตุเย็นที่มีฤทธิ์แก้ร้อนในตามลงไป ซึ่งมีให้เลือกมากมายตามความเหมาะสมและความชอบของคุณ เช่น

- ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ บางคนชงน้ำเกลือเจือจางดื่มสักแก้วก็ดีขึ้นได้เช่นกัน

- กินผักสดต่างๆ ให้มากขึ้น

- กินผลไม้ที่มีน้ำเยอะ ประเภทแตงโม แตงล้าน หรือผลไม้รสเปรี้ยวหรือหวานอมเปรี้ยว เช่น ส้ม สับปะรด มะนาวให้มากขึ้น หลายคนนิยมกินมังคุดตามหลังกินทุเรียน

- ดื่มเครื่องดื่มสมุนไพรต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์ช่วยแก้ร้อนใน เช่น น้ำเก๊กฮวย น้ำหล่อฮั่งก๊วย น้ำรากบัว น้ำมะนาว น้ำใบบัวบก น้ำใบเตย เฉาก๊วย

แนะนำเคล็ดในการกินทุเรียนให้ไม่อ้วน และสุขภาพดี

1.เลือกทุเรียนห่ามจะดีเพราะมีน้ำตาลน้อย แต่ถ้าเลือกไม่ได้ก็กินทุเรียนสุก เนื่องจากงานวิจัยพบว่า ทุเรียนมีสารต้านอนุมูลอิสระชื่อเคอซิทิน ซึ่งเป็นตัวเดียวกับในหอมใหญ่และองุ่น ทั้งนี้พลังต้านอนุมูลอิสระของทุเรียนสุกจะมีมากกว่า มังคุด ลิ้นจี่ ฝรั่ง มะม่วง ตามลำดับ

2. ถ้าจะกินเพื่อสุขภาพก็ให้กินได้ครั้งละไม่เกิน 2 พูต่อสัปดาห์ และถ้ามื้อไหนกินทุเรียน ก็ไม่ต้องกินข้าวมาก

3.ทุเรียนน้ำกะทิควรหลีกเลี่ยง เพราะอุดมไปด้วยน้ำตาลทั้งจากทุเรียน ข้าวเหนียว และไขมันจากกะทิ และอาจทำให้เกิดอาการร้อนในได้ด้วย

4.ขอให้กินทุเรียนกับผลไม้เนื้อเย็นน้ำเยอะ เช่น มังคุด ลองกอง แตงโมเพราะจะช่วยดับร้อนได้ดี

ขอบคุณข้อมูลจาก : FB ศูนย์สันติสุข

ที่มา  www.smartsme.tv

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดอกไม้กินได้

“ดอกไม้กินได้” สวยด้วยอร่อยดี
ดอกขจรและดอกแค ดอกไม้พื้นบ้านกินอร่อย
       “ดอกไม้” ไม่เพียงจะมอบสีสันอันสดใสและความงดงามอ่อนหวานให้แก่โลกแล้ว ยังมอบความอร่อยและมีคุณค่าในทางสมุนไพรให้คนกินอีกด้วย
      
       ดอกไม้พื้นบ้านของเราก็สามารถนำมาทำเป็นเมนูอร่อยได้หลายอย่าง เช่น “ดอกขจร” นำมาผัดน้ำมันกินกับข้าวสวยร้อนๆ หรือจะใส่ในไข่เจียวทอดให้ฟูๆ ก็ได้สารอาหารเพิ่ม“ดอกแค” นิยมนำมาทำแกงส้ม โดยต้องดึงเส้นเกสรที่มีรสขมออกก่อนจะเอาไปปรุงอาหาร “อัญชัน” ดอกนี้เรียกว่าเป็นดอกไม้สารพัดประโยชน์ก็ว่าได้ เพราะนำเอาดอกไปคั้นน้ำได้สีน้ำเงินเข้มใช้เป็นสีผสมอาหารที่คนไทยใช้กันมาช้านาน ดอกอัญชันยังสามารถกินสดๆ จิ้มน้ำพริกได้รสอร่อยไม่ขม ออกหวานนิดๆ เสียด้วย
“ดอกไม้กินได้” สวยด้วยอร่อยดี
ยำดอกขจรกุ้งสด เมนูน่าอร่อยจากดอกไม้
      
“ดอกไม้กินได้” สวยด้วยอร่อยดี
ขนมดอกโสน ขนมไทยโบราณ (ภาพจาก www.pantip.com โดยล็อกอิน wasittee)
       “โสน” อีกหนึ่งดอกไม้พื้นบ้าน ทำอาหารได้ทั้งลวกจิ้มน้ำพริก ใส่ในแกงส้ม หรือไข่เจียว อีกทั้งยังใช้ทำ “ขนมดอกโสน” ขนมไทยๆ ที่ใช้ดอกโสนสดๆ ผสมแป้งข้าวเหนียวนำไปนึ่ง แล้วโรยด้วยมะพร้าวขูดและน้ำตาล และ “ดอกเสี้ยว” ดอกไม้พื้นเมืองทางภาคเหนือ นำมาชุบแป้งทอด หรือทำยำดอกเสี้ยวก็อร่อยเด็ด
“ดอกไม้กินได้” สวยด้วยอร่อยดี
ดอกเสี้ยว ดอกไม้พื้นบ้านทางภาคเหนือ
      
“ดอกไม้กินได้” สวยด้วยอร่อยดี
ดอกเสี้ยวนำมาชุบแป้งทอด
       นอกจากดอกไม้พื้นบ้านแล้วก็ยังมีดอกไม้สวยๆ อีกหลายชนิดที่คุ้นหน้าคุ้นตา แต่อาจยังไม่คุ้นลิ้น อย่าง “ดอกเข็ม” ที่สมัยเด็กๆ ชอบดึงเกสรมาดูดน้ำหวานกินเล่น แต่ดอกเข็มยังสามารถนำไปชุบแป้งทอด หรือกินสดๆ คู่กับน้ำพริก เช่นเดียวกับ ”กุหลาบ” “เฟื่องฟ้า” “พวงชมพู” ก็นำดอกมาชุบแป้งทอดก็ได้เช่นกัน ส่วน “ดาหลา” และดอก “กระเจียว” ก็เป็นดอกไม้ในตระกูลขิง ข่า นำมาลวกจิ้มน้ำพริก หรือนำไปคั้นทำเป็นน้ำสมุนไพรก็ได้ ส่วนดอก “มะลิ” ในประเทศไทยไม่นิยมนำมากิน แต่ในเมืองจีนมีการนำเอาดอกมะลิมาใส่ในไข่เจียว ได้กลิ่นหอมๆ ของมะลิเวลากิน แต่พูดถึงรสชาติคนส่วนใหญ่อาจจะไม่ถูกปากนัก
“ดอกไม้กินได้” สวยด้วยอร่อยดี
เมนูยำดอกเข็ม (แฟ้มภาพ)
      
“ดอกไม้กินได้” สวยด้วยอร่อยดี
เมนูม้าห้อดอกไม้ (แฟ้มภาพ)
       ดอกไม้หลายๆ อย่างกินได้ แต่ก็ต้องเลือกต้นที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ถ้าเป็นดอกไม้ที่ปลูกเองดูแลเองก็ยิ่งปลอดภัย แต่ก็มีดอกไม้อีกหลายชนิดที่มีพิษ ถ้านำมากินอาจจะปวดท้อง วิงเวียน อาเจียน หัวใจเต้นผิดปกติ มีอันตรายถึงชีวิตได้ อาทิ ดอกลั่นทม ถ้าเด็ดมาจากต้นจะมียางที่มีพิษ จึงต้องนำดอกที่ร่วงหล่นลงมาเองมาประกอบอาหาร ดอกยี่โถ ดอกชวนชม ดอกบานบุรี ดอกราตรี ดอกเข็มขาว ดอกเข็มอินเดีย ดอกรัก ดอกราตรี ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มีพิษ ไม่ควรนำมากิน ควรให้ประดับต้นสวยๆ หอมๆ ไว้อย่างเดียวจะดีกว่า
“ดอกไม้กินได้” สวยด้วยอร่อยดี
เมนูยำดอกไม้ทอดกรอบ (แฟ้มภาพ)
       

ที่มา http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9570000071003

วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วิธีการล้างผักผลไม้ให้ปลอดภัย

วิธีการล้างผักผลไม้ให้ปลอดภัย/ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล
ขอบคุณภาพจาก idreamofeden.com
       ในขณะที่มีการรณรงค์ให้ผู้คนรับประทานผักและผลไม้เพื่อสุขภาพ และในขณะเดียวกัน ที่มีข่าวของสารตกค้างที่มีอยู่ในผักและผลไม้ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีจากยาฆ่าแมลง เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส หรือสารโลหะหนักอื่นๆ ที่ปะปนมากับผักและผลไม้ ซึ่งสารเหล่านี้จะสามารถก่ออันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่จะได้รับประโยชน์เสียด้วยซ้ำไป
      
       โรคที่มากับผักและผลไม้ที่มีสารพิษปะปนอยู่มีได้ทั้งโรคชนิดเฉียบพลันและโรคเรื้อรัง อาการเฉียบพลัน เช่น อาเจียน คลื่นไส้ ปวดหัว หน้ามืด หายใจไม่ออก ปวดท้อง เป็นไข้ ชา หรือแม้แต่หมดสติไป เช่นบางคนไปกินราดหน้าที่มีผักคะน้าเป็นส่วนประกอบจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือเรียกว่าอาหารเป็นพิษเป็นต้น ส่วนโรคเรื้อรังของการได้รับสารพิษที่มาจากผักและผลไม้ ส่วนมากจะมาจากการได้รับสารจากยากำจัดศัตรูพืช เช่น การเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การเกิดโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ การเจริญเติบโตผิดปกติในเด็กและการเกิดความเครียด
      
       จากข้อมูลการสำรวจของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN : Thailand Pesticide Alert Network) ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อทำการสุ่มตรวจผัก 7 ชนิด ประกอบด้วย กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชี และพริกจินดา ที่ขายในตลาดสดทั่วไปและรถเร่ พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐาน 38.1% และผัก 3 ชนิดที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด คือ ผักชี ถั่วฝักยาว พริกจินดา และจากการสุ่มตัวอย่างตรวจของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่าผักสดที่สุ่มเก็บจากตลาดสดที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า กะหล่ำดอก และ ต้นหอม ส่วนตัวอย่างที่สุ่มเก็บจากซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า มะเขือพวง และพริกไทย เมื่อพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าผักเหล่านี้เป็นผักที่เราคุ้นเคยและกินอยู่เป็นประจำ ดังนั้น เราจึงเสี่ยงต่อการที่จะได้รับสารพิษตกค้างที่มีอยู่ในผักได้
      
        ดังนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการรับประทานผักให้ปลอดภัย ก่อนนำไปรับประทานหรือปรุงประกอบอาหาร ต้องล้างผักให้สะอาดเสียก่อน ในปัจจุบันมีวิธีการล้างผักอยู่หลายวิธีเพื่อลดปริมาณสารพิษที่ตกค้างมากับผักให้ลดน้อยลง แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดอยู่ซึ่งจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
      
       การใช้น้ำส้มสายชูที่มีกรดน้ำส้มความเข้มข้น 5%ของกรดน้ำส้ม ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:10 แช่นาน 10-15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด สามารถลดปริมาณสารพิษลงร้อยละ 60-84 ข้อจำกัดคือ ผักอาจมีกลิ่นของน้ำส้มสายชูติดมา และผักบางอย่างเช่นผักกาดขาว ผักกาดเขียว อาจมีการดูดรสเปรี้ยวจากน้ำส้มสายชูทำให้รสชาติเปลี่ยนไป และภาชนะที่ใส่ผักล้างไม่ควรเป็นพลาสติก
      
       การใช้ด่างทับทิม (Potassium Permanganate) มีลักษณะเป็นเกล็ดแข็ง สีม่วง สามารถละลายได้ในน้ำ ให้สีชมพู หรือม่วงเข้ม เป็นสารประกอบประเภทเกลือ โดยใช้ปริมาณ 20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 35-43 ข้อจำกัดคือการใช้ด่างทับทิมในปริมาณที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร และหากสูดดมไอระเหยของด่างทับทิมเข้าไปมากก็จะทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหาได้ รวมถึงหากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
      
       ล้างผักโดยน้ำไหลผ่าน โดยเด็ดผักเป็นใบๆ ใส่ตะแกรงโปร่งเปิดน้ำให้แรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผักและถูไปมาบนผิวใบของผักผลไม้นานประมาณ 2 นาที สามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 25-63วิธีนี้เป็นวิธีที่เรียกได้ว่าดีมากวิธีหนึ่งแต่มีข้อเสียอยู่ว่าใช้เวลานานในการล้างและใช้น้ำปริมาณมาก
      
       ใช้เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 27-38 วิธีการนี้ลดปริมาณได้ไม่มากและอาจมีเกลือและรสเค็มไปอยู่ในผักหรือผลไม้
      
       ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง (20 ลิตร) แช่นาน 15 นาที แล้วนำไปล้างด้วยน้ำสะอาด ลดปริมาณสารพิษลงได้ถึงร้อยละ 90-95 ข้อจำกัดของการใช้เบกกิ้งโซดาคือมีส่วนผสมของโซเดียมอยู่และอาจดูดซึมเข้าสู่ผักหรือผลไม้ และหากล้างไม่สะอาดการได้รับเบกกิ้งโซดาในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียได้
      
       วิธีการต้มหรือลวกผักด้วยน้ำร้อน ลดปริมาณสารพิษได้ ประมาณร้อยละ 50 วิธีการนี้เป็นอีกวิธีที่ดีและปลอดภัยแต่จะทำให้ผักหรือผลไม้ เสียคุณค่าทางอาหารไปกับน้ำและความร้อน เช่น วิตามินซี วิตามินบี 1 ไนอะซิน
      
       การปอกเปลือกหรือการลอกชั้นนอกของผักออก เช่น กะหล่ำปลี ถ้าลอกใบชั้นนอกออกจะปลอดภัยมากกว่า แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดจะช่วยลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 27-72 
      
       วิธีการแช่ผักในน้ำยาล้างผักที่มีวางขายอยู่โดยใช้ความเข้มข้นประมาณ 0.3% ในน้ำ 4 ลิตร แช่ผักนานประมาณ 15 นาที จะลดปริมาณสารพิษฆ่าแมลงได้ร้อยละ 25-70 แต่วิธีนี้ต้องทำด้วยความระมัดระวังต้องดูให้ดีว่าน้ำยาล้างผักมีส่วนประกอบด้วยอะไรบ้าง เพราะในบางครั้งน้ำยาล้างผักจะแทรกซึมเข้าไปในผักซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
      
       จะได้เห็นแล้วว่า แต่ละวิธีสามารถช่วยลดปริมาณของสารตกค้างที่อยู่ในผักและผลไม้ได้แต่ว่าจะเลือกวิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน ปริมาณและชนิดของผัก-ผลไม้ที่ต้องการจะล้าง และเวลาที่มีอยู่ และที่สำคัญคือพยายามรับประทานผัก-ผลไม้ให้หลากหลายอย่ากินซ้ำๆกันเกินไป และเปลี่ยนร้านที่ซื้อผัก-ผลไม้บ้าง เนื่องจากหากมีพิษ หรือสารตกค้างในผักก็จะได้ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมากนัก

ที่มา http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000010741

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ฟักข้าวอาหารต้านมะเร็ง


รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ  
กลุ่มวิชาเภสัชโภชนศาสตร์  โครงการบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฟักข้าวอาหารต้านมะเร็ง
ฟักข้าว Momordica cochinchinnensis (Lour.) Spreng. 
อยู่ในวงศ์แตงกวาและมะระคือวงศ์  Cucurbitaceae 
ชื่อเรียกอื่นคือ ขี้กาเครือ (ปัตตานี) ผักข้าว (ตาก ภาคเหนือ) มะข้าว (แพร่) แก็ก (Gac  เวียดนาม) Baby Jackfruit, Spiny Bitter Gourd, Sweet Gourd, และ Cochin-chin Gourd 
ฟักข้าวมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เป็นพืชที่ชาวเวียดนามใช้ประกอบอาหารมาก ในชนบทมีปลูกกันเกือบทุกบ้านเรือน
ฟักข้าว เป็นไม้เถาเลื้อยพัน  มีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ ใบรูปหัวใจหรือรูปไข่ กว้างยาวเท่ากันประมาณ ๖-๑๕ เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ๓-๕ แฉก 
ดอกเป็นดอกเดี่ยวพบที่ซอกใบ ต้นแยกเพศอยู่คนละต้น กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง ตรงกลางมีสีน้ำตาลแกมม่วง ใบประดับมีขน 
ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง เจริญได้เองโดยไม่ต้อง ถูกผสม เมื่อผลสุกจะมีสีแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือแยกรากปลูก  

ฟักข้าวเริ่มมีดอกหลังแยกรากปลูกประมาณ ๒ เดือน เริ่มผลิดอกราวเดือนพฤษภาคมและให้ดอกจน  ถึงราวเดือนสิงหาคม  ผลสุกใช้เวลาประมาณ ๒๐ วัน และใน ๑ ฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวผลฟักข้าวได้ ๓๐-๖๐ ผล  โดยเก็บผลสุกได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

ผลของฟักข้าวมี ๒ ชนิด ผลยาวมีขนาดยาว ๖-๑๐ เซนติเมตร ส่วนผลกลมยาว ๔-๖ เซนติเมตร เปลือกผลอ่อนสีเขียวมีหนามถี่ เปลี่ยนเป็นสีส้มแก่หรือแดงเมื่อผลสุก แต่ละผลหนักตั้งแต่ ๐.๕-๒ กิโลกรัม 

ที่ประเทศเวียดนามมักปลูกฟักข้าวพาดพันไม้ระแนงข้างบ้าน และเก็บเฉพาะผลสุกมาประกอบอาหาร แต่เนื่องจากฟักข้าวให้ผลดีที่สุดในช่วงฤดูหนาว ชาวเวียดนามจึงนิยมใช้ประกอบอาหารในเทศกาลปีใหม่และงานมงคลสมรสเท่านั้น

ผลฟักข้าวมีเปลือกหนา ผลสุกเนื้อในหนามีสีส้ม ภายในมีเยื่อสีแดงให้เมล็ดเกาะ เนื้อผลสุกกินได้ ที่ประเทศเวียดนามใช้เยื่อสีแดงและเมล็ด (มีน้ำมัน) เป็นยา ฟักข้าว ๑ ผลจะได้เยื่อสีแดงราว ๒๐๐ กรัม 
ประโยชน์ทางโภชนาการ
ในประเทศไทยใช้ผลฟักข้าวอ่อนสีเขียวเป็นอาหาร รสชาติเนื้อฟักข้าวเหมือนมะละกอ ลวกหรือต้มให้สุกหรือ ต้มกะทิจิ้มน้ำพริกกะปิ หรือใส่แกง ยอดอ่อน ใบอ่อนนำ มาเป็นผักได้ นำมานึ่งหรือลวกให้สุกกินกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค 

ประเทศเวียดนามกินข้าวเหนียวหุงกับเยื่อเมล็ดผลฟักข้าวสุก เนื่องจากชาวเวียดนามถือว่าสีขาวเป็น   สีแห่งความตาย ข้าวสีส้มแดงจึงจัดเป็นมงคลต่องานเทศกาลต่างๆ ชาวเวียดนามเอาเยื่อสีแดงจากผลฟักข้าวสุกพร้อม เมล็ดมาหุงกับข้าวเหนียว ได้ข้าวสีส้มแดงมีกลิ่นหอม ต้องมีเมล็ดฟักข้าวติดมาในข้าวด้วยจึงว่าเป็นของแท้  ถึงกับมีการหุงข้าวใส่สีผสมอาหารสีแดงเลียนแบบการใช้ฟักข้าวนอกฤดูกาลก็มี เชื่อว่าบำรุงสายตา
เยื่อเมล็ดของฟักข้าวมีปริมาณบีตาแคโรทีนมาก กว่าแครอต ๑๐ เท่า มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ ๑๒ เท่า  และมีกรดไขมันขนาดยาวประมาณร้อยละ ๑๐ ของมวล การกินบีตาแคโรทีนจากฟักข้าวพบว่าดูดซึมในร่างกายได้ดีเพราะละลายได้ในกรดไขมันดังกล่าว 

ความเชื่อที่ว่าฟักข้าวบำรุงสายตานั้นถูกต้อง แต่ต้องกินส่วนที่มาจากเยื่อเมล็ดไม่ใช่ส่วนอื่น  เมื่อใช้เยื่อฟักข้าวเสริมอาหารให้กับเด็กก่อนวัยเรียนในงานวิจัยในประเทศเวียดนาม พบว่าเด็กในกลุ่มมีปริมาณบีตาแคโรทีนและไลโคพีนในพลาสมาสูงขึ้น และกลุ่มที่มีปริมาณความเข้มข้นของเฮโมโกลบินต่ำมีความเข้มข้น เพิ่มขึ้นด้วย จึงแนะนำให้ผู้มีเลือดจางกินข้าวหุงเยื่อเมล็ดฟักข้าวสุกด้วย ปัจจุบันมีผู้นำเยื่อเมล็ดนี้ผลิตเป็นเครื่องดื่มอาหารเสริมจำหน่ายในต่างประเทศ
 
ไลโคพีนเป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์  พบได้ในผักและผลไม้บางชนิด ทำหน้าที่เป็นรงควัตถุรวบรวมแสงให้แก่พืช และป้องกันพืชผักจากออกซิเจนโมเลกุลเดี่ยว (อนุมูลอิสระ) และแสงที่จ้าเกินไป  การกินไลโคพีนที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นได้รับการพิสูจน์จากวงการแพทย์ว่ามีผลลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร  เนื่องจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีไลโคพีน มากกว่าผลไม้อื่นๆ ทุกชนิด  จึงถือว่าเป็นอาหารต้านมะเร็งที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งจากฤทธิ์ของไลโคพีน

ฤทธิ์ในการบำบัดรักษาโรคประเทศจีน
ใช้เมล็ดแก่ของฟักข้าวเป็นยามานานกว่า ๑,๒๐๐ ปี ใช้บำบัดอาการอักเสบบวม กลากเกลื้อน ฝี อาการฟกช้ำ ริดสีดวง แก้ท้องเสีย อาการผื่นคันและโรคผิวหนังติดเชื้อต่างๆ ทั้งในมนุษย์และสัตว์ต่างๆ การกินฟักข้าวเป็นยานั้น ใช้เมล็ดแก่บดแห้ง  ส่วนการใช้ภายนอก ให้นำเมล็ดฟักข้าวบดแห้งผสมน้ำมันหรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อยทาบริเวณที่มีอาการ และใช้เยื่อเมล็ดแทนสีผสมอาหาร งานวิจัยในประเทศจีนพบว่าโปรตีนจากเมล็ดมีความสามารถต้านอนุมูลอิสระและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ตับในหลอดทดลอง  เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของฤทธิ์ทางชีวภาพของเมล็ดฟักข้าว ถือว่าลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระจึงมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็ง นอกจากนี้ เมล็ดฟักข้าวเป็นส่วนผสมของยาแก้ปวดกล้ามเนื้อและคลายกล้ามเนื้อในเครื่องยาจีนหลายตำรับ
ประเทศเวียดนาม 
การวิจัยทางคลินิกที่มหาวิทยาลัยฮานอย พบว่าน้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ
ประเทศไทย
มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลเกี่ยวกับสรรพคุณของเมล็ดฟักข้าว  พบโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอชไอวี-เอดส์ และยับยั้งเซลล์มะเร็งจดสิทธิบัตรในประเทศไทยแล้ว งานวิจัยอื่นของไทยและต่างประเทศพบว่า เมล็ดแก่ของฟักข้าวมีโปรตีน มอร์มอโคลชิน-เอส  และโคลชินิน-บี  มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของไรโบโซมซึ่งเป็นแหล่งผลิตกรดอะมิโน และต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง ซึ่งอาจนำไปใช้พัฒนา เภสัชภัณฑ์ได้ในวันข้างหน้า
ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย 
ใช้รากฟักข้าวสระผมเพื่อกำจัดเหา ใช้รากบดหมักผมกระตุ้นให้ผมดก ประเพณีล้านนาของไทยใช้   ฟักข้าวในการดำหัว (คือการสระผม) สตรีล้านนา ดำหัวสัปดาห์ละครั้ง ยาสระผมŽ ประกอบด้วย ฝักส้มป่อยจี่ ผลมะกรูดเผา ผลประคำดีควายหมกไฟพอให้สุก รากของต้นฟักข้าว รากแหย่งบดหยาบ ทั้งหมดผสมกับน้ำอุ่นหมักผมไว้สัก    ระยะหนึ่งแล้วจึงล้างออก จะทำให้แก้คันศีรษะ แก้รังแค แก้ผมร่วงและช่วยให้ผมดกดำ
ประเทศญี่ปุ่น
ทำการวิจัยพบว่า โปรตีนจากสารสกัดน้ำของผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูทดลอง โดยลดการแผ่ขยายของหลอดเลือดรอบก้อนมะเร็งและชะลอการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งดังกล่าว ในห้องทดลองน้ำสกัดผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการทำให้เซลล์แตกตาย
ผลอ่อนฟักข้าวกินได้ ผลแก่ก็อุดมคุณค่า ลองหาพันธุ์มาปลูกให้เลื้อยเล่นหน้าบ้านจะได้กินเมื่อใจ ปรารถนา เป็นการสร้างสุขภาพป้องกันโรคร้ายได้อย่างดี 
ที่มา http://www.doctor.or.th/article/detail/1060

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

เลือกประเภทของปั๊มน้ำให้ถูกกับลักษณะการใช้งานทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุน



ว่ากันด้วยเรื่องของปั๊มน้ำกันต่อเลยดีกว่าเพราะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยลดปัญหาเรื่องแรงงานการให้น้ำพืชและก็อยากจะเริ่มด้วยปั๊มน้ำแบบใช้ไฟฟ้าเพราะหากคิดเป็นอัตราต่อหน่วยแล้วค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าปั๊มน้ำแบบที่ใช้น้ำมันทั้งราคาอุปกรณ์หรือตัวปั๊มน้ำก็ยังถูกกว่าอีกด้วย ซึ่งจริงๆแล้วปั๊มน้ำมีหลายชนิดและหลายประเภทมากและก็ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและสภาพพื้นที่ด้วยว่าควรใช้ปั๊มน้ำประเภทไหนถึงจะเหมาะสม ถึงแม้ว่าปั๊มน้ำไฟฟ้าจะมีหลายแบบแต่ที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ ในปัจจุบันนี้ก็มีอยู่ไม่กี่แบบ เช่น
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่ง (Centrifugal pump) เป็นปั๊มที่เห็นได้ทั่วไปตามท้องตลาดเพราะเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายใช้งานได้เกือบทุกสภาวะพื้นที่และการทำงานของปั๊มชนิดนี้ก็เรียบง่ายซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีตัวหอยโข่งติดมากับปั๊มน้ำเลย หรือมีบางรุ่นที่แยกขายเฉพาะตัวหอยโข่งเพื่อนำไปดัดแปลงหรือประยุกต์ใช้งานกับตัวขับเคลื่อนชนิดอื่น ข้อเสียของปั๊มน้ำนี้ก็คือกำลังดึงที่น้อยคือไม่เหมาะกับการดึงน้ำจากที่ลึกมากๆ โดยส่วนใหญ่จะใช้ดึงน้ำจากแหล่งน้ำบริเวณผิวดินหรือความลึกประมาณ 4 – 8 เมตรซึ่งก็แล้วแต่กำลังขับเคลื่อนของมอร์เตอร์ ข้อดีคือการซ่อมแซมบำรุงรักษาที่ง่ายเพราะปั๊มน้ำแบบหอยโขงเป็นระบบการทำงานที่เรียบง่ายที่มากับความแรงและปริมาณของน้ำที่ตัวปั๊มสามารถผลักดันออกไปได้มาก เช่น
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่งขนาด 1 แรงม้าสูบน้ำได้ประมาณ 200 – 300 ลิตรต่อนาที
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่งขนาด 2 แรงม้าสูบน้ำได้ประมาณ 500 – 600 ลิตรต่อนาที
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่งขนาด 3 แรงม้าสูบน้ำได้ประมาณ 900 – 1,100 ลิตรต่อนาที
IMG_2554
ปั๊มน้ำแบบจุ่มหรือไดโว่ (submersible pump) ข้อดีคือความสะดวกเหมาะสำหรับพื้นที่จำกัด ตัวปั๊มจะต้องอยู่ในน้ำแล้วส่งน้ำขึ้นไปยังพื้นที่ที่ต้องการผ่านสายยางหรือท่อน้ำที่ต่อไว้ ส่วนข้อเสียนั้นก็ไม่พ้นเรื่องแรงดันน้ำที่ได้ค่อนข้างน้อย (เมื่อเทียบแรงม้ากับปั๊มน้ำชนิดอื่น) และระยะทางที่ค่อนข้างสั้นแต่ในบางสถานการณ์ปั๊มน้ำแบบนี้ก็เป็นพระเอกได้เหมือนกันซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ที่จะใช้งาน
Water Pump 004
*** ขอขอบพระคุณรูปภาพจากอินเตอร์เนตและเวปเพื่อนบ้านครับ ที่เอื้อเฟื้อรูปภาพและขอรับรองว่ารูปดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้เพื่อจุดประสงค์ ทางการค้าแต่อย่างใดครับ ***
ปั๊มน้ำแบบสูบชักหรือปั๊มน้ำแบบชัก ปั๊มน้ำประเภทนี้จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือตัวมอเตอร์ที่เป็นตัวขับเคลื่อนและตัวปั๊มที่ทำหน้าที่สูบดึงน้ำ ข้อดีของปั๊มชนิดนี้คือมีกำลังในการดึงสูงหรือเหมาะสมกับการดึงน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูงหรือบ่อน้ำที่มีความลึกมาก (ประมาณ 8 – 12 เมตรจากระดับพื้นดินซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดของมอเตอร์และขนาดของก้านสูบ) ส่วนกำลังหรือแรงม้านั้นก็แล้วแต่มอเตอร์ที่ท่านใส่เข้าไป อิอิอิ ประมาณว่าอยากได้แรงก็ซื้อมอเตอร์ตัวใหญ่ๆ ว่างั้นเถอะ ข้อเสียก็เป็นเรื่องของอัตราการสึกหรอที่มากกว่าปั๊มน้ำแบบหอยโข่งซึ่งต้องการดูแลบำรุงรักษาหรืออัดน้ำมันหล่อลื่นเป็นพักๆ
Water Pump 002
*** ขอขอบพระคุณรูปภาพจากอินเตอร์เนตและเวปเพื่อนบ้านครับ ที่เอื้อเฟื้อรูปภาพและขอรับรองว่ารูปดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้เพื่อจุดประสงค์ ทางการค้าแต่อย่างใดครับ ***
ปั๊มน้ำแบบแรงดันหรืออัตโนมัติแบบที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไปตามบ้านเรือนและที่พักอาศัย ถึงแม้ว่าจะไม่เหมาะสมกับการเกษตรหรือการใช้งานที่ต้องการความแรงนักเพราะถังเก็บความดันเองจะเป็นตัวลดความแรง
ของน้ำ แต่ก็มีบางท่านดัดแปลงหรือเลือกซื้อปั๊มอัตโนมัติที่มีแรงม้าสูงๆ มาใช้ในการเกษตรซึ่งก้ได้ผลอยู่มนระดับหนึ่งแต่ข้อเสียอันใหญ่หลวงของปั๊มน้ำอัตโนมัติก็คือราคาแพงและยิ่งแรงวัตต์สูงหรือกำลังสูงๆ ก็ยิ่งแพงขึ้นไปอีก -__-!!!
Water Pump 003
*** ขอขอบพระคุณรูปภาพจากอินเตอร์เนตและเวปเพื่อนบ้านครับ ที่เอื้อเฟื้อรูปภาพและขอรับรองว่ารูปดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการค้าแต่อย่างใดครับ ***
แต่ละประเภทแต่ละแบบก็มีข้อดีในตัว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและสภาพพื้นที่แต่ถ้าถามถึงความชอบส่วนตัวแล้วผู้เขียนชอบปั๊มน้ำแบบหอยโข่ง (Centrifugal pump) มากที่สุดเพราะดูแลรักษาค่อนข้างง่ายเพราะการทำงานไม่สลับซับซ้อน การเลือกใช้ปั๊มให้ถูกต้องตามลักษณะพื้นที่จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ลดต้นทุนในด้านแรงงานสำหรับการเกษตร เพราะระบบน้ำถือเป็นอีกระบบหนึ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับการเกษตร

ทดสอบปั๊มน้ำขนาด 3 แรงม้าสำหรับการเกษตร



อาทิตย์นี้เหงื่อตกอีกตามเคยเพราะเพื่อนชาวเกษตรด้วยกันท่านหนึ่งได้ซื้อปั๊มน้ำหอยโข่งยี่ห้อไม่ติดตลาดขนาด 3 แรงม้า ท่อขนาด 3 นิ้วมาทดสอบ แต่…. ไม่รู้จะทดสอบยังไงก็เลยส่งมาให้ผู้เขียนทดสอบดู -__-!!! เอาว่ะ กล้าส่งก็กล้าใช้
ถ้าพูดถึงเรื่องการเกษตรนั้นก็ต้องนึกถึงน้ำเป็นอันดับแรกเพราะพืชทุกชนิดต้องการน้ำและความชื้นเพื่อให้รากดูดซึมและแผ่ขยายไปได้ ส่วนจะต้องการมากน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทและพันธุ์พืช
แต่ดั้งเดิมนั้นการเกษตรในบ้านเราเป็นแบบเพื่อการดำรงชีพหรือกึ่งดำรงชีพกึ่งการค้าเพราะด้านการตลาดยังไม่เชื่อมต่อกันมากนัก ด้านการค้าก็เป็นเพียงในชุมชนบริเวณหนึ่งเท่านั้นและแรงงานก็หาง่ายทำให้การจัดการด้านทรัพยาการน้ำเป็นไปอย่างเรียบง่ายโดยการใช้แรงงานในครอบครัวหรือทำได้ด้วยตนเองอีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติก็ยังจัดอยู่ในขั้นอุดมสมบูรณ์จึงง่ายต่อการคาดคะเนและใช้ประโยชน์จากฤดูฝนช่วยในการเพาะปลูกต่างๆ ได้ แต่ปัจจุบันนี้สถานการณ์ต่างๆ ทั้งด้านสภาพแวดล้อมที่เสื่อมถอยลงไป ด้านสังคมภาคแรงงานที่หายากขึ้น และด้านการตลาดที่ชักนำการเกษตรในบ้านเราพัฒนาเข้าสู่เชิงการค้ามากขึ้นหรือบางรายก็เป็นพืชเชิงเดี่ยวเชิงการค้าเต็มตัว จึงเป็นเหตุผลให้การจัดการด้านต่างๆ ต้องเป็นระบบมากขึ้นเพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไรต่อหน่วยให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ รวทั้งการจัดการด้านทรัพยาการน้ำด้วยเช่นกันที่ต้องพัฒนามาเป็นการใช้เครื่องจักรในการทำงานเพราะแรงงานนั้นราคาแพงและหายากในปัจจุบัน แถมการใช้คนงานจัดการเรื่องน้ำในไร่สวนขนาดใหญ่ก็ทำได้ลำบากจึงเป็นการดีกว่าที่จะใช้เครื่องจักรทำงาน
อ้อมไปไกลสุดท้ายก็เข้าเรื่องจนได้ -__-!!! ปั๊มน้ำในปัจจุบันแบ่งใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทคือปั๊มน้ำที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงและใช้ไฟฟ้า ซึ่งข้อดีและข้อเสียก็แตกต่างกันออกไปซึ่งก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมจะเอื้ออำนวย แต่หากจะให้แนะนำแล้วการใช้ไฟฟ้าจะมีต้นทุนที่ถูกกว่ามาก แถมตัวปั๊มน้ำที่ใช้ไฟฟ้ายังมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบขนาดแรงม้าหรือกำลังเครื่องเท่ากัน และการซ่อมบำรุงก็เรียบง่ายกว่ามากเพราะเป็นเรื่องของขดลวดทองแดงที่พันกันเป็นรอบๆ แต่เครื่องยนต์นี่สิ อาการล้านแปดอย่าง -__-!!! และหากจะแยกย่อยไปอีกทีสำหรับปั๊มน้ำแบบใช้ไฟฟ้านั้นก็จะแตกแขนงได้ เช่น ปั๊มน้ำแบบชัก ปั๊มน้ำแบบหอยโข่ง ปั๊มน้ำแบบจุ่ม (Submersible Pump) ซึ่งลักษณะการใช้งานก็แตกต่างกันออกไปเพราะปั๊มน้ำแต่ละแบบมีลักษณะเด่นหรือข้อดีที่แตกต่างกัน
แต่วันนี้มาว่ากันด้วยเรื่องของปั๊มน้ำแบบหอยโข่งเพราะว่ามีคนส่งมาให้ทดสอบใช้งานดู ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วก็ชอบปั๊มน้ำแบบหอยโข่งเป็นที่สุดเพราะแรงดันและอัตราการไหลของน้ำดีแถมซ่อมบำรุงง่าย โดยหัวข้อเรื่องปั๊มน้ำประเภทอื่นๆ ก็ขอยกไปตอนต่อไปในเรื่องของการเลือกใช้ปั๊มให้ถูกประเภทของการใช้งานทางการเกษตร
IMG_2554
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่งขนาด 1 แรงม้าสูบน้ำได้ประมาณ 200 – 300 ลิตรต่อนาที
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่งขนาด 2 แรงม้าสูบน้ำได้ประมาณ 500 – 600 ลิตรต่อนาที
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่งขนาด 3 แรงม้าสูบน้ำได้ประมาณ 1,000 – 1,100 ลิตรต่อนาที
ปั๊มที่ใช้ทดสอบวันนี้เป็นปั๊มน้ำแบบหอยโข่งขนาด 3 แรงม้าโดยใช้ท่อส่งน้ำขนาด 3 นิ้ว ส่วนแรงดันน้ำก็ประมาณ 1,100 ลิตรต่อนาที
ที่มา http://www.mygreengardens.com

การแบ่งประเภทของปั๊ม (Classification of Pumps)


แต่เดิมนั้นประเภทของปั๊ม (Classification of Pumps) ซึ่งใช้หลักการทางวิชาการทางฟิสิกส์  ปั๊มจึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  ปั๊มประเภทพลวัต (Dynamic Pumps)  และ ปั๊มประเภทแทนที่บวก (Positive Displacement Pumps)

จาก www.pumps.org/   โดยทาง ANSI/HI (American National Standards Institute/ Hydraulic Institute) ได้กำหนดมาตรฐานของปั๊มต่างๆที่ใช้ในการอ้างอิงทั่วโลก โดยใช้รูปร่างลักษณะของการใช้งานนำมาประกอบกัน แบ่งได้เป็น 6 ประเภทลักษณะ ดังนี้ :-

-       Kinetic Pump Types (ANSI/HI 1.1 - 1.2)
-       Vertical Pump Types (ANSI/HI 2.1 - 2.2)
-       Rotary Pump Types (ANSI/HI 3.1 - 3.5)
-       Sealless Centrifugal Pump Type (ANSI/HI 5.1 - 5.6)
-       Reciprocating Power Pump Type (ANSI/HI 6.1 - 6.5)
-       Direct Acting (Steam) Pump Type (ANSI/HI 8.1 - 8.5)


เนื่องจากเป็นการกำหนดในระดับสากล  จึงมีความซับซ้อนและมีรายละเอียดมาก  ดังนั้นจึงขอสรุปโดยใช้หลักการทางฟิสิกส์ ลักษณะโครงสร้าง และเพื่อความกระชับในการใช้งาน  จึงขอจัดแบ่งประเภทของปั๊มเป็น 3 ประเภทลักษณะ คือ 1. ปั๊มประเภทจลน์ (Kinetic pumps)  2. ปั๊มประเภทโรตารี่ (Rotary Pumps) และ 3. ปั๊มประเภทสูบชัก (Reciprocating Pumps) ตามแผนภูมิข้างล่าง 

1.  ปั๊มประเภทจลน์  (Kinetic pump)

ทำงานโดยการโดยใช้นำพลังงานที่ได้จากการหมุน ให้ไปเพิ่มพลังงานให้กับของเหลว โดยการหมุน ของครีบของใบพัด  เมื่อของเหลว เกิดการเคลื่อนผ่านช่องระหว่างครีบของใบพัด ก็จะเกิดการยกตัวของโมเมนตัมของของเหลวให้สูงขึ้นกลายเป็นความเร็ว หรือเกิดเป็นพลังงานจลน์ขึ้น หรือเรียกว่า หัวความเร็ว (Velocity head) เมื่อของเหลวไหลออกจากใบพัดของปั๊ม  พลังงานนี้จะถูกแปลงไปเป็น หัวความดัน (Pressure head)  ปั๊มประเภทจลน์  แบ่งออกได้เป็น กลุ่ม คือ aปั๊มกลุ่มแรงเหวี่ยง (Centrifugal), b. ปั๊มกลุ่มรีเยนเนอเรทีฟเทอร์ไบน์ (Regenerative turbine), c. ปั๊มกลุ่มใช้ผลกระทบพิเศษ (Special Effect) ตามแผนภูมิข้างล่าง

a.  ปั๊มกลุ่มแรงเหวี่ยง (Centrifugal)


ประกอบด้วยชนิด ไหลตามแนวแกน (Axial flow)ไหลแบบรวม (Mixed flow) และ ไหลตามแนวรัศมี(Radial flow) ตามแผนภูมิข้างล่าง


b.   ปั๊มกลุ่มรีเยนเนอรีเยนเนอร์เรทีฟเทอร์ไบน์ (Regenerative turbine)

ประกอบด้วย ปั๊มไหลรอบแนวขอบผิว (Peripheral Flow)ปั๊มไหลในช่องด้านข้าง (Side channel pump)  ตามแผนภูมิข้างล่าง

c.    ปั๊มกลุ่มใช้ผลกระทบพิเศษ (Special Effect) 

ประกอบด้วยปั๊ม  แบบหัวฉีด (Jet Eductor), แบบท่อปิโต (Pitot tube), แบบเจ็ทสกี (Jet-skis), แบบก๊าซยกตัว (Gas Lift), แบบไฮดรอลิกแรม (Hydraulic ram), แบบวอร์เทกซ์ (Induced vortex),  แบบปล่อยออกบางส่วน (Partial emission),แบบลากหนืด (Viscous drag) และ แบบแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic) ตามแผนภูมิข้างล่าง
2.   ปั๊มประเภทโรตารี่ (Rotary pump)

ปั๊มประเภทโรตารี่ จะประกอบด้วย ครีบใบ, โรเตอร์ และเสื้อด้านใน โดยโรเตอร์จะเป็นตัวหมุนและพาครีบใบหมุนตามไปด้วย  ดังนั้นจะทำให้เกิดโพรง (Cavity) หรือช่องว่างระหว่าง 3 สิ่งที่กล่าวแล้วข้างต้น เกิดความดันเป็นลบ (Negative) หรือเกิดความดันต่ำกว่าบรรยากาศ ทำให้ของเหลวไหลเข้ามาแทนที่ในช่องว่างนั้น  ทำให้ความดันกลายเป็นบวก (Positive) จากนั้นของเหลวก็จะถูกปิดผนึก และถูกทำการเคลื่อนย้าย (ที่ปริมาตรคงที่) จนกระทั่งปริมาตรของของเหลวดังกล่าวถูกผลักออกจากไปครีบใบ ผ่านทางออกของปั๊มสู่แหล่งที่มีความดันสูงกว่าต่อไป  

ปั๊มแบบโรตารี่ถูกแบ่งตามรูปร่างลักษณะได้เป็น ชนิด คือ 
a..ใบกวาด (Vane), b. ลูกสูบ (Piston), c. วัสดุยืดหยุ่น (Flexible Member), d. ลอนกลีบ (Lobes), e. เกียร์ (Gears), f. ลูกสูบหมุนตามเส้นรอบวง (Circumferential Pistons) และ g. สกรู (Screw)


3.   ปั๊มประเภทสูบชัก (Reciprocating Pumps)

ปั๊มแบบสูบชัก เป็นกลุ่มหนึ่งของปั๊มประเภทแทนที่บวก (Positive Displacement Pumps) เช่นเดียวกับปั๊มแบบโรตารี่ และเป็นประเภทของปั๊มที่นำมาใช้งานมาก  โดยใช้การเคลื่อนที่ของลูกสูบ  จะทำให้ภายในห้องสูบมีแรงดันต่ำกว่าบรรยากาศภายนอก  เกิดแรง"ดูด" ทำให้ความดันบรรยากาศภายนอกผลักดันน้ำขึ้นผ่านเช๊ควาล์วเข้ามาในห้องสูบ และเกิดการผลักออกไปจากปั๊มที่ความดันสูงกว่า สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 

a. ปั๊มแบบลูกสูบ (Piston pump), b. ปั๊มแบบท่อนสูบ (Plunger pump), c. ปั๊มแบบไดอะแฟรม (Diaphragm pump)     
ดังนั้นถ้าสรุปประเภทของปั๊ม (Classification of Pumps) ทั้งหมด 3 ประเภท คือ 1. ปั๊มประเภทจลน์ (Kinetic pumps)  2. ปั๊มประเภทหมุน (Rotary Pumps) และ 3. ปั๊มประเภทสูบชัก (Reciprocating Pumps) สามารถสรุปได้ตามแผนภูมิข้างล่าง

ที่มา http://industrialpumps-tsy.blogspot.com/2013/06/classifications-of-pumps.html