วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ไม้ผลแปลกและหายาก ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554

ในรอบปี พ.ศ. 2553 ที่กำลังจะผ่านไปพบว่าโดยภาพรวมของเกษตรกรชาวสวนผลไม้จะขายผลผลิตราคาค่อน ข้างดี ไม่ว่าจะเป็นผลไม้เศรษฐกิจอย่างเช่น ทุเรียน, มะม่วง, ส้มเขียวหวาน ฯลฯ โดยเฉพาะส้มโชกุนหรือส้มสายน้ำผึ้งราคาสูงขึ้นเท่าตัว เนื่องจากพื้นที่ปลูกส้มลดน้อยลงไปมาก ช่วงเดือนธันวาคม 2553 ราคาส้มโชกุนหรือส้มสายน้ำผึ้งมีราคาถึงผู้บริโภคไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 100 บาท และมีการคาดการณ์ว่าราคาส้มสายน้ำผึ้งหรือส้มโชกุนจะมีราคาสูงอย่างน้อยอีก 2-3 ปี นอกจากไม้ผลเศรษฐกิจแล้วยังมีกลุ่มไม้ผลแปลกและหายากอีกหลายชนิดที่น่าสนใจ ปลูก เนื่องจากมีคู่แข่งขันทางการตลาดน้อยและยังมีพื้นที่ปลูกไม่มากนัก แต่ผู้ปลูกจะต้องพยายามหาตลาดรองรับไม่ว่าจะเป็นตลาดท้องถิ่นหรือตลาดเมือง ใหญ่ ไม้ผลแปลกและหายากที่น่าสนใจปลูกในปี พ.ศ. 2554 มีอยู่หลายชนิด



มะขามป้อมยักษ์อินเดีย จากผลงานวิจัยจากหลายประเทศพบตรงกัน ว่ามะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีปริมาณของสารแทนนินสูงเป็นชนิดที่มีฤทธิ์ ในการต่อต้านอนุมูลอิสระต้านสารก่อมะเร็ง เพิ่มภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง กำจัดสารพิษจากโลหะหนักออกจากร่างกายและในผลของมะขามป้อมมีปริมาณวิตามินซี สูงที่สุดชนิดหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น วิตามินซีที่พบอยู่ในผลมะขามป้อมมีมากที่สุดในโลกเมื่อเปรียบเทียบกับพืชทุก ชนิด ปกติในบ้านเราจะพบเห็นผลมะขามป้อมที่มีขนาดของผลเล็กแต่ถ้าผลที่ใหญ่ที่สุด จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3.5 เซนติเมตร พ.อ.อ.กิติ ชุ่มสกุล ได้มะขามป้อมจากประเทศอินเดีย มาปลูกและให้ผลผลิตแล้วพบว่ามีขนาดผลใหญ่มากมีเส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 4.5-5.5 เซนติเมตร หรือประมาณ 2 นิ้วเศษ

มะม่วงลูกผสมพันธุ์ “ยู่เหวิน” มีถิ่นกำเนิดที่ไต้หวันและเป็นมะม่วงลูกผสมระหว่างพันธุ์จินหวงกับมะม่วง พันธุ์ “อ้าย เหวิน” มะม่วงลูกผสมสายพันธุ์นี้ได้มีการนำยอดพันธุ์มาเสียบยอดในประเทศไทยประมาณ 4-5 ปีมาแล้วและเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผลปรากฏว่าเป็นมะม่วงที่มีลักษณะเด่นและรสชาติดี คือ มีผลขนาดใหญ่ น้ำหนักผลเฉลี่ย 1-1.5 กิโลกรัม บริโภคได้ทั้งผลดิบและสุก ในระยะผลดิบหรือห่ามจะมีรสชาติหวานมัน (ไม่มีเปรี้ยวปน) ระยะผลสุกเนื้อจะมีรสชาติ หวานหอม, ไม่เละ, ไม่มีเสี้ยนและไม่มีกลิ่นเหม็นขี้ไต้ ที่สำคัญสีของผลมีสีม่วงเข้มดึงดูดใจแก่ผู้พบเห็นจัดเป็นมะม่วงแปลกและหายาก ปลูกและให้ผลผลิตได้ในประเทศไทย มะม่วงพันธุ์ยู่เหวิน เป็นมะม่วงที่ปลูกง่ายและเริ่มให้ผลผลิตเมื่อต้นมีอายุเฉลี่ยได้ 3-4 ปี จากการสังเกตพบว่าออกดอกและติดผลดีทุกปี

มะละกอแขกดำ “เรด แคลิเบียน” มะละกอแขกดำ “เรด แคลิเบียน” เป็นมะละกอสายพันธุ์ใหม่ที่ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้ผลมะละกอมา จากอเมริกากลางและนำเมล็ดมาปลูกและคัดเลือกพันธุ์แบบผสมเปิดนานกว่า 7 ปี ได้ผลผลิตที่มีขนาดผลคล้ายกับมะละกอเรดมาลาดอล์ แต่มีขนาดของผลใหญ่กว่ามาก น้ำหนักผลเฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม (ผลใหญ่กว่าเรดมาลาดอล์ 1-2 เท่า) เนื้อหนามากมีสีแดงส้มและรสชาติหวาน จากการปลูกทดสอบในแปลงพบว่ามีความทนทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนได้ดีกว่าพันธุ์ แขกดำศรีสะเกษ เป็นมะละกอที่สามารถบริโภคได้ทั้งผลดิบ และผลสุก โดยเฉพาะผลดิบเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพื่อทำส้มตำ ส่วนผลสุกใช้บริโภคสด โดยปกติแล้วมะละกอสามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดี ในดินที่ร่วนซุยมีการระบายน้ำที่ดี เช่น ดินร่วนปนทราย ถ้าพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือดินทรายจัด เราควรปรับปรุงดินก่อนโดยการใส่อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดี การระบายน้ำของแปลงปลูกมะละกอจะต้องดี เพราะ ต้นมะละกอเป็นพืชที่ไม่ทนต่อสภาพ น้ำขังแฉะโดยเฉพาะถ้าต้นมะละกอยังเล็ก ถ้ามีน้ำขังมาก ๆ ต้นมะละกออาจจะชะงักการเจริญเติบโตและอาจถึงตายได้

ฝรั่งพันธุ์ “ฮ่องเต้” เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2513 ทางไต้หวันได้มีการนำฝรั่งจากประเทศไทยซึ่งมีขนาดผลใหญ่ เนื้อแน่นและกรอบไปปลูกได้ผลผลิตเป็นที่ชื่นชอบของคนไต้หวันในขณะนั้น เวลาผ่านไปไต้หวันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ฝรั่งเรื่อยมาโดยเน้นความกรอบ อร่อยของเนื้อ, มีเมล็ดน้อยและนิ่ม ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาเริ่มมีเกษตรกรไทยนำพันธุ์ฝรั่งจากไต้หวันมา ปลูกจนประสบผลสำเร็จในบ้านเราและที่รู้จักกันดีคือ พันธุ์เจินจู ซึ่งมีเมล็ดนิ่มและรสชาติอร่อย เริ่มมีเกษตรกรไทยขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้นในขณะนี้ นอกจาก ฝรั่งพันธุ์เจินจู ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ปัจจุบันได้มีฝรั่งไต้หวันอีกสายพันธุ์หนึ่งมีชื่อพันธุ์ว่า “ฮ่องเต้” ขณะนี้เริ่มเห็นผลผลิตแล้วซึ่งได้พบความแตกต่างจากฝรั่งไต้หวันสายพันธุ์ อื่น ๆ ที่ปลูกในบ้านเรา ตรงที่รูปทรงผลจะเป็นทรงกระบอกสี่เหลี่ยม เมื่อผลเจริญเติบโตเต็มที่มีน้ำหนักผลไม่ต่ำกว่า 500 กรัม เนื้อมีรสชาติหวานกรอบ, เมล็ดน้อยมากและนิ่ม ที่สำคัญเป็นพันธุ์ที่ออกดอกและติดผลง่ายให้ผลผลิตดี ที่ไต้หวันไม่ว่าจะเป็นสวนเล็กหรือสวนใหญ่จะมีความประณีตในการห่อผลฝรั่งมาก เริ่มแรกจากการปลิดผลทิ้งบ้างให้เหลือกิ่งละไม่กี่ผลเมื่อผลมีขนาดใหญ่ใกล้ เคียงกับส้มเขียวหวานจะใช้ตาข่ายโฟมห่อที่ผลก่อนเป็นลำดับแรกและห่อตามด้วย ถุงพลาสติกบางใสและเหนียว


ที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=28155.0

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปลาแดดเดียวเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการถนอมอาหาร เพื่อจะได้เก็บปลาไว้กินนาน ๆ ปัจจุบันประชาชนได้นำความรู้ในการทำปลาแดดเดียวมาทำ เป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่งการ ทำปลาแดดเดียวมักจะประสบปัญหา ปลามีกลิ่นเหม็น วันนี้จึงขอแนะนำวิธีการง่ายๆ ในการดับกลิ่นปลาแดดเดียว ในขั้นตอนการผลิตด้วยผงชูรส เป็นวิธีการที่ค้นพบและเผยแพร่โดย คุณศรีนวล คล่องรับ เจ้าของปลาส้มศรีนวล ปลาส้มเจ้าแรกของหนองหลวง อ.เวียงชัย จ.เชียงราย



วัตถุดิบ
1.ปลา 1 กิโลกรัม
2.ผงชูรส 1 ช้อนชา
3.เกลือป่นที่ไม่ผสมไอโอดีน ½ กิโลกรัม

วิธีทำ
1.นำปลาที่ตัดหัว ขอดเกล็ดแล้วมาบั้ง แล้วนำเกลือป่นมาคลุกให้ทั่ว แล้วใส่ถุงทั้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
2.นำปลาออกจากถุง แล้วเทน้ำที่ได้จากปลาใส่กะละมัง
3.เทผงชูรสใส่น้ำในกะละมัง คนให้เข้ากัน
4.นำปลาใส่กะละมังคลุกเคล้าให้ทั่ว แล้วนำขึ้นตากแดด
* น้ำจากปลาที่ผสมกับผงชูรส จะช่วยดับกลิ่นเหม็นของปลาแดดเดียวได้

ที่มา http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1516&s=tblanimal

ฤาข้าวหอมอีสาน...จะร่ำไห้

เมื่อเอกลักษณ์ถูกพรากไปเพราะการพาณิชย์

..........ประเทศไทยได้รับการยกย่องว่าเป็นแหล่งผลิตข้าวคุณภาพดีมีกลิ่นหอม แห่งหนึ่งของโลกทั้งนี้เพราะข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ105( หรือต่อไปนี้จะเรียกข้าวหอมมะลิ )เป็นข้าวที่ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างชื่นชมในคุณสมบัติ จำเพาะได้แก่การมีกลิ่นหอมและมีเนื้อแป้งที่มีค่าอะมิโลสต่ำทำให้ข้าวชนิด นี้มีทั้งความหอมและความนุ่มเมื่อหุงสุกแล้วแตกต่างไปจากเข้าเจ้าชนิดอื่นๆ จึงไม่น่าแปลกใจว่าราคาข้าวหอมมะลิในตลาดส่งออก(ในเดือนกันยายน 2552)มีราคาประมาณ 34,000 บาท ต่างจากข้าวขาว 5% ในตลาดส่งออกซึ่งมีราคาตันละ 540 U$$ หรือเป็นเงินไทยประมาณ 18,360 บาท ซึ่งต่างกันเกือบเท่าตัว

ข้าว หอมมะลิเป็นข้าวที่มีพื้นที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ ในปีการผลิต 2550 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิประมาณ 19 ล้านไร่ และมีผลผลิตโดยรวมประมาณ 6.5 ล้านตัน ในจำนวนนี้เป็นเนื้อที่และผลผลิตข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึงร้อย ละ 80 ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดพะเยาและเชียงราย ภาคกลางตอนบน ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์และพิษณุโลก มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิอยู่บ้าง แต่ข้าวหอมมะลิที่ปลูกในภาคกลางแม้จะมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าในภาคตะวันออก ฉียงเหนือ จึงเรียกข้าวหอมมะลิที่ปลูกกันในพื้นที่ภาคกลางว่าข้าวหอมจังหวัด ในช่วง 1- 2 ปีที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะจัดข้าวหอมจังหวัดให้มีราคาเท่ากับข้าวหอม มะลิที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะถือว่าเป็นข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เหมือนกัน นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่มีคุณสมบัติของค่าอะมิโลส ต่ำเช่นเดียวกับข้าวหอมมะลิ และมีขนาดและลักษณะของเมล็ดเมื่อสีเป็นข้าวสารแล้วคล้ายคลึงกับข้าวหอมมะลิ มาก จนไม่สามารถแยกได้ด้ยตาเปล่าและต้องตรวจแยกคุณสมบัติโดยกระบวนการตรวจสอบดี เอ็นเอ ( DNA ) ข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่กล่าวถึงนี้ได้รับการตั้งชื่อว่าข้าวปทุมธานี 1
แต่ หากพิจารณาถึงผลกระทบในระหว่างภูมิภาคแล้วจะพบว่าการขยายตัวของการปลูกข้าว ปทุมธานี 1 อย่างแพร่หลายของเกษตรกรในภาคกลาง และการขยายตัวของการปลูกข้าวหอมจังหวัดในภาคกลางด้วยเช่นกันได้สร้างผลกระทบ ต่อเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพราะ

(1) ได้มีการนำข้าวปทุมธานี 1 ไปปนกับข้าวหอมมะลิในตลาดข้าวสารทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก
(2) ต้นทุนในการเพาะปลูกต่อตันของข้าวปทุมธานี 1 ในพื้นที่ชลประทาน ต่ำกว่าต้นทุนในการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ ต่อตันถึงเกือบหนึ่งเท่าตัว

(4) ได้มีการยกระดับราคารับจำนำของข้าวหอมจังหวัดให้มีราคาเช่นเดียวกับข้าวหอม มะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งก็จะทำให้มีการขยายตัวของอุปทานข้าวหอมมะลิ ในถิ่นเพาะปลูกรองเพิ่มมากขึ้นและจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ในพื้นที่นาแห้งแล้งและมีโอกาสในการปลูกพืชจำกัด การขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตรที่ขยายตัวไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็เป็น อีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งเดิมการเก็บเกี่ยวข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะใช้คนเก็บเกี่ยวและผึ่ง ฟ่อนข้าวไว้ 2 – 3 วัน แล้วจึงนำไปนวดซึ่งจะทำให้ข้าวมีความชื้นต่ำ แต่ภาวะที่เกษตรกรในภาคตะวันออกฉียงเหนือกำลังเข้าสู่ยุคของการขาดแคลนแรง งานจึงได้จ้างรถเกี่ยวจากภาคกลางไปเก็บเกี่ยว รถเกี่ยวจะเร่งรีบในการเก็บเกี่ยวไม่ว่าข้าวจะสุกหรือไม่ และในกระบวนการของรถเกี่ยวข้าวเมื่อเกี่ยวแล้วจะแยกเป็นเมล็ดข้าวเปลือกออก มาในทันทีทำให้ข้าวมีความชื้นสูง และหากเกษตรกรและโรงสีไม่ได้ดูแลรักษาลดความชื้นให้ดีก็จะส่งผลต่อคุณภาพ ข้าวหอมมะลิตามมา และอีกสาเหตุหนึ่งจะทำให้คุณภาพของข้าวหอมมะลิด้อยลงได้แก่พันธุ์ข้าวอื่นๆ ที่ติดมากับรถเกี่ยวข้าวซึ่งจะมีการแพร่กระจายทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของ ข้าวหอมมะลิแท้จางหายไป
นอก จากนี้ การเปิดตลาดการค้าข้าวของไทย ซึ่งจะเปิดเสรีตามข้อตกลงของกลุ่มอาเซียนในเดือนมกราคม 2553 เป็นต้นไป นั่นหมายความว่าข้าวขาวดอกมะลิในประเทศ เขมร ลาว และเวียดนาม ก็อาจจะส่งผ่านมายังประเทศไทย แต่ข้าวขาวดอกมะลิที่มีการปลูกในประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวแม้จะมีคุณสมบัติ ไม่เท่าเทียมกับข้าวขาวดอกมะลิอยู่ส่วนหนึ่ง ราคาข้าวขาวดอกมะลิที่ต่ำกว่าในประเทศเพื่อนบ้าน ย่อมจะส่งผลต่อข้าวหอมมะลิของไทยในตลาดต่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน
ข้าว หอมมะลิในทุ่งกุลาร้องไห้นั้นเปรียบไปก็เหมือนสมบัติอันล้ำค่าของเกษตรกรและ ของตลาดส่งออกไทย แต่ความเป็นพลวัตที่เกิดขึ้นกับภาคการผลิตข้าวกำลังจะส่งผลกระทบที่รุนแรง ต่อเอกลักษณ์และคุณสมบัติเด่นของข้าวหอมมะลิในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้อัน เป็นดินแดนของความแห้งแล้งและมีโอกาสในการเพาะปลูกพืชได้จำกัด ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบว่าภาครัฐจะมีมาตรการณ์เพื่อการปกป้องหรือเพื่อการรักษา เอกลักษณ์อันมีค่าของข้าวหอมมะลิรวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดกับเกษตรกรในทุ่ง กุลาร้องไห้ไว้แต่อย่างใด


สมพร อิศวิลานนท์
อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

ที่มา http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1123&s=tblrice