วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ไส้เดือนเพื่อนเกษตร





โดย

เกษม รักควาย
สวนรักคนรักควาย โคราช

คำนำ

เนื่อง จากในสภาวะปัจจุบัน การทำการเกษตรของเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีมากกว่า 70 % ของกิจกรรมทางการเกษตร ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสภาพดินในปัจจุบัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบมากกว่า
ไส้เดือนก็เช่นเดียวกัน ต่างก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นดินและสิ่งแวดล้อมที่อุดม สมบูรณ์เปลี่ยนไป ทำให้พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่แทบไม่มีไส้เดือนได้อาศัยอยู่เลย ทั้งๆที่ไส้เดือนเหล่านี้มีค่าคุณอนันต์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก เป็นแรงงานที่ไม่ต้องจ้างหา เป็นผู้สร้างอินทรียวัตถุธาตุให้แก่พืช เป็นผู้ทำให้สภาพพื้นดินอุดมสมบูรณ์ เป็นผู้ช่วยให้เกษตรกรประหยัดรายจ่ายค่าปุ๋ยแต่เพิ่มรายรับ เป็นเจ้าหน้าที่ที่คอยกำจัดขยะได้อย่างดีเยี่ยม และอื่นๆ อีกมากมาย
เป็น เวลาหลายปีมาแล้วที่ต่างประเทศได้รู้คุณค่าของไส้เดือนและได้มีการทดลองถึง คุณค่าของไส้เดือน และมีการนำเอาใช้ในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอย่างแพร่หลาย ประเทศไทยของเราก็ได้มีการนำเอาไส้เดือนมาใช้ในด้านสาธารณสุข ด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ แต่ไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก ก็เนื่องจากยังให้ความสำคัญน้อยอยู่
กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารการ เลี้ยงไส้เดือนนี้ จะเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปไม่มากก็น้อย และเป็นแนวทางเพื่อการพัฒนาต่อๆไป

เกษม รักควาย
15 ม.ค.2553


ไส้เดือน
ไส้เดือน เป็นสัตว์ที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งเป็นผู้ช่วยพรวนดิน ทำให้ดินร่วนซุย ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นปุ๋ย ช่วยรีไซเคิลขยะสดจากบ้านเรือนและชุมชน ลดปริมาณขยะ แปรเปลี่ยนให้มาเป็นปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำ ที่สามารถนำกลับมาบำรุงรักษาต้นไม้และพืชผัก รวมทั้งยังนำมาเป็นแหล่งอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนเฉพาะสำหรับการเลี้ยงสัตว์
วัน ก่อนก็เตรียมดินจะปลูกพืช-ผักไว้กิน ขุดดินไปโดนซะหลายตัว ที่สวนก็พอมีอยู่แต่ไม่มากนัก เสียดายจัง คงต้องหาทางเอามาเลี้ยงใหม่ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ไม่งั้นมีหวังโดนสับเละอีกแน่
แต่มีเรื่องที่ควรให้ความสนใจและระมัด ระวังอยู่ก็ในเรื่องของพันธุ์ไส้เดือนที่จะนำมาเลี้ยง ปัจจุบันฟาร์มเลี้ยงไส้เดือนในประเทศไทย มีการนำสายพันธุ์ไส้เดือนจากต่างประเทศเข้ามาเพาะเลี้ยง และมีการนำไปปล่อยสู่ธรรมชาติ ไส้เดือนต่างประเทศเหล่านี้มีความแข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อม เจริญเติบโตแพร่พันธุ์และขยายพันธุ์และขยายจำนวนได้อย่างรวดเร็วกว่าพันธุ์ ไทยท้องถิ่น และไส้เดือนสามารถผสมข้ามพันธุ์กันได้ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวข้องกับระบบนิเวสน์วิทยาหรือไม่

วิธีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน
การ เพาะเลี้ยงไส้เดือนมีวิธีการเพาะที่ง่าย ลงทุนต่ำ สามารถเลี้ยงได้ตั้งแต่ขนาดเล็กในภาชนะ เช่น ถังพลาสติก กระบะไม้ ถังส้วม เป็นต้น
ไส้เดือนเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายเจริญเติบโตเร็ว แพร่พันธุ์และขยายจำนวนรวดเร็วในเวลาสั้นๆ โดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและอาหาร

สภาพแวดล้อมที่ไส้เดือนชอบ
1.ไส้เดือนชอบอยู่ในที่มืด ไม่ชอบแสงสว่างหรือแสงแดด
2.ไส้เดือนชอบอยู่ในที่ชื้น ไม่แห้งเกินไป และไม่ชื้นแฉะมีน้ำท่วมขัง
3.ไส้เดือน ชอบอุณหภูมิที่เย็นระหว่าง 12-25 องศา ถ้าสูงหรือต่ำกว่านี้ จะมีผลต่อการขยายพันธุ์ และจะตายถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส และสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
4.ไส้เดือนจะตายในสภาพที่ปนเปื้อนสารเคมี
ภาชนะ ที่ใช้เลี้ยงไส้เดือนสามารถใช้ได้ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ เพียงแต่ขอให้คำนึงถึงภาชนะนั้นสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับ ไส้เดือน แต่โดยหลักการภาชนะที่ใช้เลี้ยงไส้เดือน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่คือ
1.ส่วนระบายน้ำและส่วนรองรับน้ำ(ปุ๋ยน้ำ)
ภาชนะที่จะต้อง นำมาเลี้ยงไส้เดือน จะต้องเป็นภาชนะที่ระบายน้ำได้ดี เพราะไส้เดือนไม่ชอบชื้นแฉะหรือน้ำขัง ซึ่งอาจทำให้ไส้เดือนตายได้ ภาชนะที่ใช้เลี้ยงจึงต้องเจาะรูที่ก้นภาชนะ หรือไม่ก็บุด้วยตะแกรงหรือตาข่าย หรือใช้กรวด หิน ทราย เป็นตัวกรอง
ใน กรณีที่ต้องการเก็บปุ๋ยน้ำก็จะต้องมีส่วนรองรับน้ำ ซึ่งอาจจะอยู่รวมกันในภาชนะเดียวกัน (เช่นในถัง) หรืออาจจะแยกออกมาต่างหากจากภาชนะเลี้ยงไส้เดือนก็ได้ (เช่นในกรณีเลี้ยงในโรงเรือน)

2.ส่วนที่อยู่อาศัยของไส้เดือน
ส่วน ที่อยู่อาศัยของไส้เดือนกับส่วนที่ใส่อาหารสำหรับไส้เดือนจะอยู่ด้วยกันโดย ส่วนที่ใส่อาหารจะอยู่ด้านบนของส่วนที่อยู่อาศัยของไส้เดือน ส่วนที่อาศัยของไส้เดือนนี้จะต้องมืดไม่โดนแสงสว่าง และมีวัสดุดูดซับความชื้นไว้ได้ วัสดุที่ใส่ในส่วนที่อยู่อาศัยของไส้เดือน มักจะเป็นดินดี ฟางข้าว หรือ เศษกระดาษหนังสือพิมพ์ เศษกระดาษกล่อง ใบไม้แห้ง มูลสัตว์แห้ง
3.ส่วนที่ใส่อาหารของไส้เดือน
ส่วนนี้จะอยู่ ด้านบนของที่อยู่อาศัยของไส้เดือน อาหารที่ใส่ให้แก่ไส้เดือนไม่ควรสูงมาก แต่แผ่กระจายไปทางกว้างหรือแนวนอน และควรถูกปกคลุมด้วยวัสดุที่ชื้นและป้องกันแสงสว่าง เพื่อให้ไส้เดือนเลื้อยขึ้นมาจากที่อาศัยมากินอาหาร แล้วถ่ายเป็นปุ๋ยออกมาแทนที่
อาหารที่ไส้เดือนชอบมาก คือ มูลวัว มูลควาย มูลไก่ นอกนั้นก็มีเศษอาหาร เศษผักผลไม้ เศษใบไม้แห้ง
ภาชนะ เลี้ยงไส้เดือนอาจมีฝาปิด โดยเฉพาะการเลี้ยงในครัวเรือน แต่โดยทั่วไป ถ้าเลี้ยงในปริมาณมาก เลี้ยงเพื่อการค้า มักจะไม่มีฝาปิด แต่ควรคลุมด้วยตาข่าย เพื่อป้องกันไส้เดือนถูกกินหรือถูกทำร้ายจากสัตว์อื่นๆ เช่น นก
รูปแบบที่ใช้เพาะเลี้ยงไส้เดือน มีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ เช่น
- การเลี้ยงบนพื้นดิน
- การเลี้ยงในลิ้นชัก
- การเลี้ยงในถังพลาสติก
-การเลี้ยงในกระบะไม้
-การเลี้ยงในถังคอนกรีต
ฯลฯ

การเลี้ยงบนพื้นดิน
วิธี การนี้เป็นการกองวัสดุที่เป็นที่อาศัยของไส้เดือนไว้บนดิน โดยมีกรอบไม้เป็นคอกกั้น แล้วใส่อาหารไว้ด้านบน ในระหว่างการเลี้ยงถ้าให้อาหารอย่างเพียงพอ ไส้เดือนจะอยู่บริเวณกรอบไม้ไม่หนีไปไหน วิธีนี้ประหยัดและสะดวก เวลาเก็บปุ๋ยหมักไส้เดือนก็สะดวก หรือคลุกเคล้าลงในดินเพาะปลูกได้ทันที

วิธีการ
1.ทำกรอบไม้สูง 50 ซม. กว้าง 1.00 ม. ยาวตามพื้นที่ที่มี วางไว้บริเวณดินเหนียวใต้ต้นร่มไม้
2.ใช้ฟางข้าวที่แช่น้ำไว้ 2-3 วัน ผสมกับมูลวัวแห้งหรือมูลไก่แห้ง อัตราส่วน1: 1 ใส่ลงในคอกสูง 30 ซม.
3.ใส่ไส้เดือนลงไปบนกองฟางประมาณ 0.5 กก./พื้นที่ 1 ตรม. แล้วโรยอาหารไส้เดือนให้ทั่วบริเวณผิวหน้าหนา 3-4 ซม.
4.คลุมด้วยฟางหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
5.เมื่อ อาหารหมด คอยเติมอาหารให้ไส้เดือนช่วงแรกๆ อาจใช้เวลา 3-4 วัน แต่เมื่อปริมาณไส้เดือนเพิ่มมากขึ้น จะต้องให้ถี่กว่านั้น คือทุกๆ 2-3 วัน
6.เมื่อเลี้ยงไปได้ 2-3 เดือน สามารถแยกปุ๋ยหมักไส้เดือนและไส้เดือนได้

การเลี้ยงในลิ้นชักพลาสติก
วิธี การนี้เป็นการคิดค้นโดย ดร.อานัติ ตันโช โดยดัดแปลงมาจากภาชนะเลี้ยงไส้เดือนแบบชั้นๆของต่างประเทศ โดยใช้ชั้นใส่เสื้อผ้าใส่ของแบบลิ้นชัก 4 ชั้น โดยชั้นล่างใช้เป็นชั้นสำหรับรองรับปุ๋ยน้ำ ส่วนอีก 3 ชั้น ใช้เป็นชั้นเลี้ยงไส้เดือน ชั้นสำหรับเลี้ยงไส้เดือนจะต้องเจาะรูเพื่อระบายน้ำ เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงไส้เดือนสำหรับภายในครัวเรือน หรือใช้เลี้ยงเพื่อการค้าได้ โดยใช้ชั้นพลาสติกหลายชุด

วิธีการ
1.เจาะรูหลายรู ที่พื้นของลิ้นชักทุกชั้น ยกเว้นชั้นล่างสุดไม่ต้องเจาะ เพื่อใช้รองรับปุ๋ยน้ำ ชั้น 2-3 -4 ใช้เลี้ยงไส้เดือน
2.ใช้ฟางที่แช่น้ำทิ้งไว้ 2- 3 วัน มาวางไว้ที่ชั้น 2- 3 -4 หนา 1-2 นิ้วให้ทั่ว
3.ใช้ดินดีผสมกับปุ๋ยคอก อย่างละเท่าๆกันลงไป หนา 3-4 นิ้ว แล้วจึงปล่อยไส้เดือนลงไปในชั้นเลี้ยงแต่ละชั้น
4.ใส่เศษอาหาร เศษผักผลไม้ที่ใช้เป็นอาหารของไส้เดือน โรยให้ทั่วแต่อย่าให้หนา ปิดลิ้นชักทิ้งไว้
5.เติม อาหารไส้เดือนทุกๆ 3-4 วัน หรือเมื่อเห็นว่าเศษอาหารหมดแล้ว หลังจากนั้น 2-3 เดือน ก็สามารถเก็บปุ๋ยหมักไส้เดือนและเก็บแยกไส้เดือนที่เพิ่มจำนวนขึ้นได้ ส่วนปุ๋ยน้ำก็สามารถแยกเก็บออกมาเมื่อใดก็ได้ เมื่อเห็นว่ามีมากพอแล้ว

การเลี้ยงในถังพลาสติก
เป็น วิธีการที่ใช้เลี้ยงไส้เดือน เพื่อการกำจัดขยะสดในครัวเรือน และเลี้ยงเพื่อการค้าโดยใช้พลาสติกหลายๆใบ ถังพลาสติกก็ดัดแปลงมาจากถังพลาสติกใบใหญ่ ปากกว้างอย่างน้อย 50 ซม. สูงอย่างน้อย 60 ซม. และถ้าต้องการรองรับปุ๋ยน้ำด้วย ถังต้องสูงกว่านี้
วิธีการ
1.เจาะรูที่ส่วนล่างของถัง ใส่ก๊อกเปิด ปิด เพื่อใช้ระบายน้ำออกจากถัง
2.ใส่ กรวดหรือหินลงด้านล่างของถังสูงประมาณ 15 ซม.ตัดแผ่นไม้เป็นรูปกลม ขนาดพอดีกับพื้นที่ผิวของกรวดหินภายในถัง เจาะรูหลายๆรู เพื่อช่วยระบายน้ำ หรือ อาจใช้ลวดตะแกรงแทนไม้อัดได้ การใช้ถังพลาสติกเลี้ยงเพื่อการค้า อาจไม่ใส่หินลงในถัง แต่ใช้วิธีเจาะก้นถังพลาสติกเลย เพื่อระบายน้ำปุ๋ยออกจากถัง
3.ใส่เศษฟางแช่น้ำ ปุ๋ยคอกใบไม้แห้ง เศษกระดาษหนังสือพิมพ์ หา 15-30 ซม. โรยทับด้วยดินดี
4.ใส่ไส้เดือน แล้วใส่อาหารไส้เดือน ได้แก่ เศษอาหาร เศษพืชผักผลไม้จากครัวเรือน
5.ปิด ทับด้วยฟาง หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ พรมน้ำให้ชุ่ม แล้วคอยเติมอาหารทุก 3-4 วัน หรือเมื่อเห็นว่าอาหารหมด ภายใน 2-3 เดือน สามารถเริ่มเก็บปุ๋ยหมักไส้เดือน และเก็บแยกไส้เดือนที่เพิ่มขื้นได้

การเพาะเลี้ยงในกระบะไม้
เป็นวิธีการที่เลี้ยงไส้เดือนในครัวเรือนก็ได้ หรือใช้เลี้ยงในลักษณะฟาร์มเพื่อการค้าก็ได้ โดยใช้กระบะหลายๆอัน


วิธีการ
1.ทำ กระบะไม้ให้มีความสูง 50 ซม. ยาว 1 เมตร กว้าง 50 ซม.หรือ 1 เมตร ด้านล่างของกระบะถ้าเป็นพื้นไม่ต้องเจาะรู หรือใช้เป็นตะแกรงลวด ก็จะสะดวกและระบายน้ำได้ดี
2.ใช้ฟางข้าวที่แช่น้ำไว้แล้วรองพื้นกระบะหนา 1-2 นิ้ว ถ้าหาฟางข้าวไม่ได้ให้ใช้เศษกระดาษกล่อง กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษใบไม้แห้งก็ได้
3.ใช้ ดินดีผสมกับมูลสัตว์แห้ง หรือ ปุ๋ยคอกในอัตรา 1: 1 โรยทับลงไป หนา 3-45 นิ้ว จากนั้นให้ปล่อยไส้เดือน แล้วใส่เศษอาหาร เศษพืชผักผลไม้ ไว้ด้านบนให้ทั่ว แต่อย่าหนาจนเกินไป
4.ปิดทับด้วยฟางข้าว หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ พรมน้ำให้ชุ่ม
5.คอย เติมเศษอาหารทุกๆ 3-4 วัน หรือ เมื่อเห็นว่าอาหารหมดแล้ว 1-2 เดือนก็สามารถแยกเอาปุ๋ยหมักไส้เดือน และเก็บแยกไส้เดือนที่เพิ่มจำนวนขึ้นออกมาได้

การเพาะเลี้ยงในถังคอนกรีต
วิธี การนี้ใช้เลี้ยงในครัวเรือนก็ใช้ถังเพียงชุดเดียวหรือ 2 ชุดก็เลี้ยงไส้เดือนในชุมชนหรือใช้เลี้ยงเป็นฟาร์มเพื่อการค้าก็ใช้ได้ดี ไม่ต้องเก็บแยกปุ๋ยหมักและเก็บแยกไส้เดือนบ่อยๆ เพราะภาชนะมีขนาดใหญ่ บรรจุปุ๋ยหมักไส้เดือนได้มาก

วิธีการ
1.ใช้ถังคอนกรีตขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 1 เมตร สูง 80 ซม. 2 ถังซ้อนกัน โดยใบล่างมีฝารองก้นถัง และเจาะรูใส่ท่อระบายน้ำหรือมีก๊อกปิดเปิด เพื่อเก็บปุ๋ยน้ำตั้งไว้ในบริเวณใต้ร่มที่แสงแดดส่องไม่ถึง
2.ที่ก้นถังใส่เศษอิฐ หิน กรวด สูง 15 ซม. เพื่อช่วยให้ระบายน้ำได้ดีขึ้น แล้วใช้ลวดตาข่ายพลาสติกปิดทับ
3.ใช้ ฟางข้าวที่แช่น้ำแล้ว หรือ เศษวัชพืช แช่น้ำผสมกับมูลสัตว์แห้ง เช่นมูลวัวแห้ง มูลไก่แห้ง หรือ ปุ๋ยคอกในอัตราส่วน 1:1 ลงในถังใบล่าง จนเต็มถังใบล่าง
4.ปล่อยไส้เดือน แล้วใส่เศษอาหาร เศษพืชผัก ผลไม้ลงไปให้ทั่วพื้นผิวด้านบน แต่อย่าให้หนา แล้วอาจปิดทับด้วยฟางผสมน้ำให้ชุ่ม ควรใช้ตาข่ายพลาสติกคลุมฝาถังด้านบนไว้
5.คอย เติมเศษอาหารทุกๆ 3-4 วัน หรือเมื่อเห็นว่าอาหารหมด ซึ่งขนาดของถังซีเมนต์มีขนาดใหญ่พอที่รองรับ ปุ๋ยคอกและปริมาณไส้เดือนที่จะเกิดมากขึ้นได้นานหลายเดือน โดยไม่ต้องทำการเก็บแยกออกไป สามารถเก็บแยกออกไปก็ได้เมื่อต้องการ


ที่มา http://www.takeang.com/takeang_forums/index.php?topic=620.0

มาปลูกผักไฮโดรโพนิกส์แบบพอเพียงกัน

มีโอกาสได้ไปอบรมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนมาค่ะไปเห็น การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์แบบใช้วัสดุเพาะแบบพอเพียงมาค่ะจึงขอนำมาฝากนะคะ



วัสดุหลักค่ะ


นำมาเจาะรูดังภาพค่ะ


นำมาต่อเป็นชั้นดังภาพค่ะ


ต่อสายยางเพื่อจ่ายน้ำและธาตุอาหารค่ะ


รากฐานมั่นคงค่ะ


ภาพสมบูรณ์หลังจากนำเมล็ดพันธุ์มาปลูก

ข้อดีของการใช้ไม้ไผ่แทนวัสดุการปลูก
- เป็นการใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
- ลดต้นทุนในการจัดหาวัสดุการปลูก
- ดูสวยงาม สามารถประดับสวนได้
ข้อเสีย
-เมื่อใช้ไปนานๆจะเกิดรอยแตกถ้าใช้ในที่กลางแจ้ง
-จะเกิดรา

* จึงควรปลูกในที่ร่ม ไม่โดนแสงแดดโดยตรง ถ้าเกิดรอยรั่วให้ใช้ ซิลิโคน อุดแต่ถ้าจะให้ได้วัสดุการปลูกแบบถาวรขอแนะนำให้ไปหาซื้อท่อ PVC และหัวอุดตามร้านขายของเก่าจะราคาถูกค่ะ ใช้งานได้ดีค่ะ อายุการใช้งานได้นานกว่าค่ะ ขอให้โชคดีในการปลูกนะคะ

มาชมต่อกันดีกว่า ต่อไปนี้คือแปลงผักไฮโดรโพนิกส์แบบมาตรฐานทั่วไปค่ะ

งามมากๆเลยค่ะ


ผักสลัดสวยๆ


อีกมุมของความสำเร็จ


ผักนานาพันธุ์


ด้านล่างของความงามค่ะ


ถังน้ำที่เติมธาตุอาหาร A และ B

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน(ไฮโดรโพนิกส์)
หมาย ถึงวิธีการปลูกพืชเพื่อให้พืชได้รับสารอาหารหรือสารละลายธาตุอาหารพืช ที่มีน้ำผสมกับแร่ธาตุที่ต้องการจากทางรากพืช โดยพืชที่ปลูกนั้นจะเป็นการปลูกลงวัสดุปลูกหรือโดยไม่ต้องมีวีสดุปลูกก็ได้
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน
วัสดุที่จำเป็นสำหรับการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินที่ใช้กันทั่้วไป ได้แก่โรงเรือน ภาชนะและวัสดุที่ใช้ในการปลูก ปุ๋ยหรือธาตุอาหารพืช
น้ำ ปั๊มน้ำ ระบบไฟฟ้า เมล็ดพันธุ์ พืชหรือกล้าพืชที่จะใช้ปลูก ฟองน้ำ โฟม เครื่องมือวัดค่า EC เครื่องมือวัดค่า pH ของน้ำ
ถาดเพาะเมล็ด ถ้วยปลูก

ในกรณีที่จะใช้ไม้ไผ่แทนวัสดุแนะนำให้ใช้ต้นไผ่ที่อายุแก่จัด เพื่อความยืดอายุการใช้งานค่ะ

ขั้นตอนการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน
1.จัด เตรียมชุดปลูกให้พร้อม โดยถาดปลูกจะเป็นระบบสำเร็จรูป ถอดประกอบได้ง่าย ให้ตั้งอยู่กลางแจ้งมีแสงแดด ประมาณวันละ 6-8 ชั่วโมง เช่น สนามหญ้าหน้าบ้าน หรือ ดาดฟ้า
2.จัดเรียงฟองน้ำในถาดเพาะ รดน้ำให้ชุ่มจากนั้นใส่เมล็ดพันธุ์ที่ต้องการในฟองน้ำ ใช้ผ้าคลุมปิดถาดเพาะหรือเก็บไว้ในที่มืด รดน้ำเช้าและเย็นรอจนเมล็ดพันธุ์งอก และพ้นฟองน้ำ(ประมาณ 2 วัน)
3.เปิดผ้าคลุมออกให้ต้นกล้าได้รับแสงแดด รดน้ำช่วงเช้าและช่วงเย็น ต่อไปอีก 5-7วัน จนต้นกล้ามีใบเลี้ยงคู่และรากงอกจากฟองน้ำ
พร้อมสำหรับย้ายไปปลูก
4.ย้ายกล้าลงปลูก

การดูแลและรักษา
1.เติมน้ำสะอาดลงในถังน้ำ และเติมธาตุอาหาร A และ B ในอัตราส่วนเท่ากับที่ตามกำหนดไว้
2.คอยดูแลระดับน้ำในถัง ถ้ามีการเติมน้ำเพิ่มภายหลังจะต้องเติมธาตุอาหาร A แล ะ B ไปพร้อมกัน
3.ทุก ครั้งที่เติมอาหารจะต้องวัดค่า EC โดยใช้เครื่องมือวัด(ค่า EC (electrical conductivity) คือค่าการนำไฟฟ้า เป็นค่าที่บอกความเข้มข้นของสารละลาย มีหน่วยเป็น มิลลิโมลต่อเซนติเมตร (mmho/cm) หรือมิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร (mS/cm) ถ้าค่า EC สูงแสดงว่าสารละลายมีความเข้มข้นสูง คือมีธาตุอาหารละลายอยู่มาก ค่า EC ในการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์จะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่และชนิดพืชปลูก )
4.น้ำที่ใช้ในการปลูก ควรมีความเป็นกรด-ด่าง ระหว่าง 5.0-6.5
5.หมั่นตรวจโรคและแมลงอย่างสม่ำเสมอ
คุณประโยชน์ของพืชที่ปลูกแบบไม่ใช้ดิน
1.สามารถปลูกพืชทื่ปลอดภัยจากสารพิษ
2.เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3.เป็นการเสริมสร้างผักโภชนาการสูง

สูตรธาตุอาหาร
อัตรา 1 : 100 EC 1.0 - 1.8 PH5.2 - 6.5
STOCK A 10 ลิตร
1.แคลเซี่ยมไนเครท 1,000 กรัม
2.เหล็กเรโซลิน เอ พี เอ็น 60 กรัม
STOCK B 10 ลิตร
1.โปแตสเซียมไนเตรท 600 กรัม
2.แมกนีเซียมซัลเฟต 500 กรัม
3.โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต 265 กรัม

4.นิคสเปรย์ 15 กรัม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา(พืชสวน)
(038-599019)

ที่มา http://www.takeang.com/takeang_forums/index.php?topic=626.0

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

ข้อคิด...สำหรับผู้ที่อยากเป็นเกษตรกร



จาก ที่เราได้คุยกับว่า ที่เกษตรกรและเกษตรกรมือใหม่หลายท่านที่มาติดต่อซื้อเมล็ดพันธุ์ กิ่งพันธุ์ และท่อน้ำหยดจากสวนวสา ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง เลยต้องขออนุญาตเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อให้ว่าที่เกษตรกรและเกษตรกรมือ ใหม่ไฟแรงหลายๆท่านลองพิจารณาเป็นข้อคิดก่อนจะลงมือทำอะไรไป เพราะการลงทุนในสาขาการเกษตรนั้น ไม่ว่าจะเพื่อหวังผลกำไร หรือแค่หวังเพื่อใช้เวลาว่างทำงานอดิเรกปลูกต้นไม้ ทุกอย่างที่ลงไปก็เป็นเงินทองที่เราเก็บหอมรอมริบมาทั้งนั้น หากลงทุนไปโดยขาดการไตร่ตรองล่วงหน้า หรือขาดการจัดการอย่างเป็นระบบ เมื่อเกิดผลเสียหาย ผลขาดทุน ความยุ่งยากที่ตามมามักทำให้เกษตรกรมือใหม่หลายคนท้อแท้ และเลิกไปในที่สุด ซึ่งทางสวนวสาไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น เราไม่อยากให้อาชีพเกษตรกรหายไปจากประเทศไทย ตรงกันข้ามเราอยากให้มีเกษตรกรรุ่นใหม่เกิดขึ้นมามากๆ คนที่มีการวางแผน มีการควบคุมผลผลิตที่มีคุณภาพ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพของโลก



ที่ดิน

การ จะเริ่มทำการเกษตรได้นั้นเราควรมีที่ดินเป็นของตัวเอง แต่ก่อนจะลงมือซื้อที่ดินผืนใด ขออนุญาตให้ข้อคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่สำคัญก่อนซื้อที่ดินเพื่อทำการเกษตร ดังนี้

1. ในที่ดินต้องมีแหล่งน้ำหรือติดกับแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งปี เพราะการซื้อที่ดินที่ไม่มีน้ำ ก็เท่ากับไม่มีประโยชน์ในเชิงเกษตร แหล่งน้ำที่ว่านี้อาจจะเป็นคลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ คลองธรรมชาติ แม่น้ำ ฯลฯ ถ้าเป็นที่ผืนใหญ่ไม่ควรเป็นน้ำบาดาล เพราะอาจมีปริมาณไม่พอเพียงและอาจจะทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการตะกอนใน ภายหลัง

2. ที่ดินควรใกล้กับถนน และไม่ไกลจากบ้านที่อยู่ประจำของคุณมากนัก การไปมาทำได้ง่าย เมื่อการเดินทางสะดวก ก็ทำให้เรารู้สึกอยากไปเยือนบ่อยๆ โดยเฉพาะเกษตรกร part-time ที่ต้องทำงานในวันธรรมดาและไปทำสวนได้เฉพาะวันหยุด หากคุณต้องขับรถ 500 กม. เพื่อไปสวนในวันเสาร์ และขับกลับอีก 500 กม. ในวันอาทิตย์ คุณจะเหนื่อยและท้อไปในที่สุด ระยะทางที่เหมาะสมน่าจะไม่เกิน 200 กม. จากบ้านคุณ อย่างไรก็ตามปัจจัยเรื่องระยะทางนี้ขึ้นกับทุนและความชอบส่วนบุคคล นอกจากนี้ราคาน้ำมันก็เป็นปัจจัยสำคัญด้วย คำนวณค่าน้ำมันคร่าวๆ ว่าระยะทาง 200 กม. รถคุณกินน้ำมันเฉลี่ย 8 กิโลลิตร น้ำมันลิตรละ 30 บาท ไป-กลับ จะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าน้ำมัน 1,500 บาทต่อเที่ยว เดือนหนึ่งไป 4 ครั้งก็ประมาณ 6,000 บาท ปีละ 72,000 บาท เทียบกับราคาที่ดินที่อาจจะแพงกว่าแต่ใกล้กว่า อย่างไหนคุ้มกว่ากัน อันนี้ควรคำนวณให้รอบคอบค่ะ

3. ที่ดินควรใกล้ตลาดหรือชุมชน หรือผู้ซื้อรายใหญ่ เพื่อที่จะสามารถขนส่งผลผลิตเพื่อจำหน่ายได้โดยง่าย (หากคิดจะปลูกเพื่อจำหน่าย) เช่น อยากปลูกมะม่วงส่งออกแต่ผู้ปลูกอยู่ภาคใต้ ส่วนผู้ส่งออกอยู่ภาคเหนือและภาคกลาง อย่างนี้ ถ้าปลูกไม่มากพอก็จะไม่มีผู้ซื้อวิ่งไปซื้อแน่ๆ ค่าน้ำมันทุกวันนี้แพงมากๆ ค่ะ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาผู้ซื้อมักจะถามก่อนว่าปลูกกี่ไร่ กี่ต้น ผลผลิตกี่ตัน (ถ้าไม่ถึง 4-5 ตัน ส่วนมากรายใหญ่เขาไม่วิ่งมาค่ะ)

4. ควรมีเพื่อนบ้านและสังคมที่ดี ก่อนซื้อที่ดินควรลองไปสำรวจดูว่าเพื่อนบ้านมีอัธยาศัยเป็นอย่างไร ที่ดินบางผืนราคาถูกเพราะเพื่อนบ้านขี้ขโมย ผลผลิตอะไรออกมาหายหมด ติดตั้งปั๊มน้ำก็หาย บางทีเผลออาทิตย์เดียวบ้านทั้งหลังรื้อเอาไปขายก็มี ลองไปถามสถานีตำรวจในพื้นที่ดูว่าคดีลักขโมยมีแยะไหม ใครเป็นผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และทัศนคติเขาเป็นอย่างไร

5. ที่ดินควรมีต้นไม้ขึ้นอยู่ในที่บ้าง เพื่อแสดงว่าดินที่นี่ปลูกต้นไม้ได้ บางคนไปซื้อที่ดินที่เตียนโล่งแม้แต่หญ้าก็ไม่ขึ้น แล้วมาดีใจว่าไม่ต้องถางหญ้าปรับที่ดิน ซึ่งแท้ที่จริงเป็นดินเค็มที่เพาะปลูกอะไรไม่ได้ หากเป็นไปได้ลองสังเกตด้วยว่าต้นไม้ที่ขึ้นในที่ดินนั้นเป็นต้นอะไรเพื่อจะ ได้ทราบว่าที่ดินผืนนั้นเพาะปลูกผลไม้ชนิดใดได้ดีที่สุด

6. ที่ดินทำสวนเกษตรส่วนใหญ่ควรเป็นพื้นราบ เพราะหากเป็นที่ลาดชันเวลารดน้ำต้นไม้ น้ำจะไหลลงเบื้องล่างหมด หากต้องทำขั้นบันไดก็จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าที่ดินผืนราบ แต่หากจะปลูกไม้ยืนต้นพวกไม้ป่า ก็เป็นที่เนินเขาได้ค่ะ ทั้งนี้ขึ้นกับพืชที่เลือกจะปลูก

7. ไม่ควรเป็นที่น้ำท่วมขัง ที่ดินบางผืนในช่วงฤดูฝนจะตรงกับแนวน้ำท่วมพอดี อย่างนี้ปลูกพืชอะไรไม่ทันเก็บเกี่ยวก็ตายหมด แล้วอย่ามาดีใจว่าไม่ปลูกพืชก็ได้ไหนๆน้ำมากเลี้ยงปลาเสียเลย ขอโทษค่ะ พอน้ำท่วมขึ้นมาปลาที่เลี้ยงก็หายหมดเหมือนกัน

8. ให้สำรวจหน้าดินของที่ดินที่ซื้อด้วยค่ะ พอดีมีเพื่อนเกษตรกรโทรมาปรึกษา มีที่ดินแต่หน้าดินที่ปลูกพืชได้มีเพียง 1-2 เมตรลึกลงไปกว่านั้นกลายเป็นดินผสมหินแบบแข็งเลย รากพืชชอนไชลงไปไม่ได้ อย่างนี้หากก่อนซื้อเตรียมแผนไว้ก็คงต้องปรับแผนเพื่อปลูกพืชที่มีระบบราก ไม่ลึกมากค่ะ

9. เวลาซื้อที่ดิน อย่ามองแค่ค่าที่ดินอย่างเดียว ให้คำนึงถึงว่าจะต้องมีค่าปรับปรุงที่ดินอีกเท่าไหร่ด้วย เช่น หากที่ดินมีต้นไม้รกเรื้อ หรือมีการขุดร่อง ขุดแนวคันเอาไว้ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเกษตรกร ต้องจ้างรถแม้คโครปรับปรุงใหม่อีกเท่าไหร่ ที่ดินมีไฟฟ้า มีถนนถึงหรือยัง หากซื้อที่ดินร่วมกับคนอื่นก็ต้องจ่ายค่าทำถนนเข้าไปยังที่ดินอีกเท่าไหร่ ค่าเดินสายไฟเข้าไปยังที่ดิน ค่าขุดคลองส่งน้ำหรือระบบชลประทาน แล้วยังค่าใช้จ่ายในการแบ่งแยกโฉนดอีก เรื่องพวกนี้รวมๆ แล้วอาจทำให้ที่ดินไร่ละ 5 หมื่นกลายเป็นไร่ละ 3 แสนก็เป็นได้ค่ะ

10. การซื้อที่ดินร่วมกับคนอื่น ควรตกลงกันให้แน่ชัดตั้งแต่แรกว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ จะร่วมกันรับผิดชอบอย่างไร ค่าโอนที่ดิน ค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ นอกจากนี้ถนนที่จะตัดเข้าไปยังที่ดินของแต่ละคนจะตกลงค่าใช้จ่ายและ กรรมสิทธิ์กันอย่างไร บางคนเห็นว่าที่ดินตนเองอยู่ด้านหน้าก็ไม่ต้องการร่วมออกค่าถนนกับคนที่ซื้อ ที่ดินที่ลึกไปด้านหลัง เลยทำให้มีปัญหากันได้ แล้วยังเรื่องน้ำ หากคนที่อยู่ต้นน้ำเก็บกักน้ำ คนที่อยู่ปลายน้ำจะทำอย่างไร ควรมีการทำสัญญากันไว้ให้ชัดเจน และเป็นภาระผูกพันกับที่ดิน เพราะหากวันนี้แม้เชื่อใจกัน ไม่มีปัญหากันก็จริง แต่พอผ่านไปหากคนหนึ่งขายที่ไปให้บุคคลอื่น ปัญหาก็อาจจะเกิดขึ้นได้ค่ะ

การเลือกพืชที่จะเพาะปลูก

1. ก่อนจะปลูกอะไร กรุณาสำรวจสภาพดินและน้ำก่อนว่าเหมาะกับพืชในใจคุณหรือเปล่า อย่าบุ่มบ่ามลงมือปลูกตามกระแส หรือตามใจชอบ ตัวอย่างเช่นที่ดินสวนวสาเป็นดินเปรี้ยวเพาะปลูกพืชตระกูลส้ม-มะนาวได้ดี มะม่วง มะละกอได้ แต่ปลูกทุเรียน ลำไย มังคุดแล้วไม่โต (ลองแล้ว) ถึงกระนั้นก็ตามเวลาเรามี “เกษตรเกิน” (ผู้ที่แสดงตนว่ารู้มากกว่าเกษตรกร) มาเยี่ยมที่สวนก็มักจะแนะนำให้เราลองปลูกมังคุด ปลูกทุเรียนอยู่เสมอๆ เพราะส่งนอกได้ราคาดี คนแนะนำส่วนใหญ่ก็คิดแค่นั้น แต่เกษตรกรที่แท้จริงที่เป็นเจ้าของที่ดินควรศึกษาสภาพดินและน้ำก่อนลงมือ ปลูกอะไร เพื่อจะได้ประหยัดเวลาและทุนที่ถมลงไป

2. ควรเลือกพืชที่จะปลูกมากกว่า 1 ชนิดเพื่อบริหารความเสี่ยง เผื่อชนิดหนึ่งราคาตกหรือขายไม่ออก ชนิดอื่นจะได้ช่วยเฉลี่ยรายได้ แต่ไม่ควรหลายชนิดเกินไปจนปริมาณไม่คุ้มค่าขนส่ง เช่น มีที่ดิน 1 ไร่ แต่อยากปลูกมะม่วง มังคุด ลำไย มะนาว พริกขี้หนู เพื่อส่งออก แบบนี้แนะนำว่าให้ลืมเรื่องส่งออกไปได้เลย ให้ปลูกแบบพอเพียง คือเก็บทานเอง หรือส่งตลาดแถวสวนจะดีกว่าค่ะ

3. พืชแต่ละชนิดมีความต้องการน้ำไม่เท่ากัน หากจะปลูกผสมผสาน ควรเลือกพืชที่ต้องการน้ำ ปุ๋ยและยาคล้ายๆกันปลูกไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ปริมาณแสงก็เป็นสิ่งสำคัญ หากพืชชนิดหนึ่งต้องการแสงมาก ก็อย่าปลูกไว้ใกล้ๆกับพืชที่ให้ร่มเงา เช่น อย่าปลูกมะละกอไว้ใกล้กอไผ่ เพราะในที่สุดร่มเงาของไผ่จะบังมะละกอทำให้ไม่สามารถเติบโตได้ และเกิดโรคระบาดในที่สุด หรือ หากจะปลูกมะนาวทำนอกฤดู ก็ไม่ควรปลูกใกล้กับพืชที่ต้องการน้ำ เพราะพอเรางดน้ำเพื่อให้มะนาวออกดอก ต้นไม้ข้างๆ ก็จะตายไปด้วย ทำนองนี้

4. ตามทฤษฎีพอเพียง ควรปลูกพืชชนิดให้ประโยชน์เกื้อหนุนกับการเกษตรของท่านด้วย เช่น หากปลูกส้มหรือมะนาว ก็ควรเผื่อพื้นที่สำหรับปลูกไผ่ไว้ด้วย เพราะเวลาค้ำต้นมะนาวหรือส้มต้องใช้ไม้ไผ่ แทนที่จะไปซื้อ ก็ปลูกเองประหยัดกว่า นอกจากนี้หากใครคิดทำเกษตรอินทรีย์ ก็ปลูกพวกสะเดา หนอนตายหยาก หรือสมุนไพรอื่นๆไว้ด้วย จะได้เอาไว้ทำเกษตรอินทรีย์ได้ง่ายค่ะ

5. นอกจากนี้ ให้คิดในใจเสมอว่า พื้นที่แต่ละพื้นที่มีลักษณะภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน อย่าคิดว่าการลอกเลียนแบบสวนที่ประสบความสำเร็จแล้วคุณจะประสบความสำเร็จ ด้วย การเกษตรไม่ใช่บะหมี่สำเร็จรูปที่ต้มกินที่ไหนก็รสชาติเดิม มักจะมีคนถามว่าหากปลูกมะนาวเหมือนสวนวสาต้องใส่ปุ๋ยเดือนไหน ฉีดยาเดือนไหน ฉีดอะไร ซึ่งขอเรียนว่า สวนวสาอยู่นครนายก สภาพภูมิอากาศและดินจะต่างจากสวนที่อยู่ราชบุรี พิษณุโลก หรือ เชียงใหม่ ดังนั้นเวลาที่ฉีดยา ใส่ปุ๋ย เก็บผลผลิตก็จะต่างกัน ช่วงเวลาเดียวกันที่สวนวสาเจอโรคราน้ำค้างแต่สวนอื่นอาจเจอเพลี้ยแป้ง อย่างนี้ยาที่ใช้ก็ต่างกัน ต้องหมั่นสังเกตอาการของพืชแล้วค่อยคิดเรื่องการบำรุงรักษาพืชค่ะ

การตลาด

1. การจะปลูกอะไร (เพื่อการค้า) ให้คิดว่าจะขายได้ที่ไหนก่อน ถ้าปลูกพืชแปลกมากและอยู่ไกลจากตลาด จะทำให้ขายยากค่ะ

2. อย่าเห่อปลูกตามกระแส เกษตรกรที่ดี ควรประเมินสภาพตลาดให้ดีด้วย และอย่าดูเหตุการณ์เพียงจุดเดียว ช่วงปีที่แล้วมะนาวลูกละ 10 บาท เลยเกิดกระแสปลูกมะนาวกันใหญ่ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น 5 ปีมีคนฟันมะนาวทิ้งไปทั้งจังหวัดเพราะราคาร้อยละ 20 บาท ไม่คุ้มค่าปุ๋ยค่ายา อยากให้เกษตรกรมองไปข้างหน้ายาวๆ ก่อนตัดสินใจปลูกอะไร ให้เน้นพืชที่ยังไงก็ขายได้ในพื้นที่ตนเองก่อน เช่น มีคนส่งเสริมปลูกต้นตะกู กฤษณา ฯลฯ ก่อนปลูกให้หาข้อมูลว่าผู้รับซื้อมีกี่ราย ขายยังไง ขายที่ไหน หากผู้รับซื้อรายที่มาส่งเสริมไม่ซื้อ จะเอาต้นดังกล่าวไปทำอะไร สูตรของสวนวสาคือ อย่างน้อยเราเองก็ต้องกินหรือใช้ได้เองด้วย

3. หากสนใจจะปลูกเพื่อการส่งออก ควรมีพื้นที่เพาะปลูกในจำนวนมากเกินกว่า 10 ไร่ หากมีน้อยกว่า 10 ไร่ ปลูกขายในประเทศได้ แต่ปลูกส่งออกไม่คุ้มการลงทุนค่ะ (เว้นแต่ในพื้นที่มีการรวมกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพืชชนิดเดียวกันได้จำนวนมากพอ ที่ผู้ส่งออกจะสนใจ) มีระบบน้ำที่สม่ำเสมอ ที่ดินควรอยู่ไม่ไกลจากแหล่งส่งออก เกษตรกรต้องจดมาตรฐาน GAP ซึ่งมีกฎค่อนข้างมาก ต้องมีโรงเก็บปุ๋ย ยา แยกกัน มีโรงคัดแยกพืชผลที่แยกต่างหาก มีพื้นปูนไม่สัมผัสดิน ฯลฯ พวกนี้เป็นการลงทุนทั้งนั้นค่ะ ดังนั้นหากพื้นที่ใหญ่หน่อยจะคุ้มกว่าพื้นที่ขนาดเล็กค่ะ อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับชนิดของพืชด้วยค่ะ มีสมาชิกบางท่านสามารถปลูกพริกหหรือผักส่งออกได้ในพื้นที่ 2 ไร่ก็มีค่ะ

4. อย่าพยายามคิดการณ์ใหญ่เกินไปค่ะ จะสิ้นเปลืองทุนทรัพย์โดยใช่เหตุ เช่น ปลูกมะม่วงเพียง 5 ไร่ ผลผลิตปีละ 1 ตัน ในพื้นที่ก็ไม่มีคนอื่นเพาะปลูกพืชเหมือนๆกัน แต่คิดจะตั้งโรงงานแช่แข็ง หรือ โรงงานแปรรูปทำมะม่วงอบแห้ง หรือ คิดจะไปเซ้งแผงในตลาดไทเพื่อขายผลผลิตของตนเอง (เพราะมีเกษตรเกินมาแนะนำ) พอขายผลผลิตหมดก็ไม่รู้จะหาผลผลิตที่ไหนมาขายต่อ หรือแปรรูปต่อ จะเป็นการลงทุนโดยเสียเปล่าค่ะ หรือ การส่งสินค้าเข้าห้างก็เหมือนกันค่ะ ควรศึกษาเงื่อนไขให้ถ่องแท้ค่ะ บางทีนอกจากโดนหักเปอร์เซนต์แล้วเราต้องรับภาระสินค้าที่เน่าเสียหายเอง แถมกว่าจะเก็บเงินได้ต้องมีเครดิต 45 วันจึงจะได้เงิน นอกจากนี้บางที่เขามีสัญญาให้ส่งแบบต่อเนื่อง หากส่งไปครั้งสองครั้งแล้วหยุดก็อาจโดนหักเงิน ทำนองนี้

การเตรียมตัว/วางแผน

1. เมื่อมีที่ดินแล้ว มีทุนแล้ว ทราบว่าดินเป็นดินชนิดไหน เข้าใจสภาวะอากาศของพื้นที่แล้ว เลือกพืชที่เหมาะกับพื้นที่ได้แล้ว เราก็เริ่มวางแผนกันค่ะ อยากให้เกษตรกรทุกคนวางแผนบนกระดาษก่อนว่าจะแปลนสวนของตนเองอย่างไร บ้านจะอยู่ตรงไหน บ่อน้ำ(ถ้ามี) จะอยู่ตรงไหน และส่วนไหนกะว่าจะปลูกพืชอะไร จำนวนกี่ต้น

2. ระบบน้ำเป็นสิ่งสำคัญค่ะ ก่อนจะลงพืชชนิดใดๆ ระบบน้ำควรจะพร้อมก่อน หากพื้นที่เป็นสภาพเนินเขา ก็ไม่เหมาะกับการทำระบบร่องน้ำที่มีน้ำหล่อแบบร่องสวนที่ทำกันในพื้นที่ราบ แต่ควรใช้การขุดทางระบายน้ำเพื่อว่าหน้าฝนน้ำสามารถไหลลงมาได้โดยไม่เอ่อขัง ที่โคนต้นไม้ และใช้ระบบรดน้ำแบบตามท่อน้ำหยดหรือสปริงเกอร์ โดยอาจสูบน้ำไว้ที่สูงและปล่อยมาตามแรงดึงดูดโลก หรือใช้ปั๊มน้ำก็ได้ค่ะ ส่วนพื้นที่ราบนั้นให้ศึกษาว่าระบบน้ำที่เราใช้เหมาะกับพืชหรือไม่ เช่น หากปลูกมะม่วง มะนาว ในดินเหนียวก็ไม่ควรใช้น้ำหยดแต่ควรใช้สปริงเกอร์ เพราะระบบน้ำหยดจะหยดอยู่แค่วงแคบๆ ในขณะที่รากพืชแผ่ขยาย แต่หากปลูกพวกพริกหรือมะเขือเทศในถุงก็สามารถใช้ระบบน้ำหยด (dripping) ได้ค่ะ เรื่องการบริหารน้ำนี้มีผลต่อการเติบโตของพืชและคุณภาพผลผลิตค่ะ นอกจากนี้ มีเกษตรกรพาร์ทไทม์บางคนคิดว่าในช่วงเริ่มต้นไม่ต้องวางระบบน้ำก็ได้ พึ่งฝนฟ้าเอา และให้คนงานลากสายยางรดน้ำเอาก็ได้ พื้นที่แค่ไร่สองไร่เอง ก็อยากให้ทดลองรดน้ำเองดูค่ะว่าเหนื่อยแค่ไหน และก็อย่าหวังผลให้มากค่ะหากพืชผลออกมาไม่ได้ขนาด หรือร่วงไปแยะ หรือไม่ติดผล ซึ่งอยากให้คิดดีๆค่ะ ทีกิ่งพันธุ์เราไปอุตส่าห์เสาะหาจากแหล่งทั่วประเทศได้ ปุ๋ยหมักก็ไปเสาะหาส่วนประกอบต่างๆ มา ลงทุนลงแรงไปมากมาย แต่มาประหยัดกับเรื่องน้ำ แล้วต้นไม้ก็แคระแกร็น มันคุ้มไหม

3. เมื่อระบบน้ำพร้อมแล้ว ก็มาถึงกิ่งพันธุ์ของพืชที่จะลงค่ะ แนะนำให้ศึกษาจากเวบไซต์เกษตรพอเพียงและหนังสือเกษตรต่างๆ ค่ะ ราคากิ่งพันธุ์พืชชนิดเดียวกัน อาจต่างกันตามผู้ขายค่ะ หากปลูกจำนวนมาก อยากให้ผู้ซื้อแวะไปที่สวนของผู้ขายแต่ละรายค่ะจะได้สัมผัสกับต้นพันธุ์ของ จริง รู้ว่าแท้หรือไม่แท้ อย่าดูแต่ในรูปค่ะ เพราะหากปลูกพันธุ์ไม่แท้จะมีปัญหาเรื่องการตลาดค่ะ นอกจากนี้ขอเรียนว่าราคากิ่งพันธุ์เป็นเงินลงทุนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบสัด ส่วนกับต้นทุนรวมทั้งหมดของการเกษตร อยากให้ผู้ซื้อพิจารณาหลักๆ ในเรื่องความเสี่ยงเรื่องความแท้ของสายพันธุ์ บวกกับค่าน้ำมันที่ต้องไปเสาะหากิ่งพันธุ์ที่ต้องการ ก่อนตัดสินใจค่ะ

4. การบำรุงรักษา เมื่อปลูกพืชลงไปแล้วแน่นอนว่าจะต้องมีการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย ฉีดยา ตัดแต่งกิ่ง เก็บผลผลิต ตัดหญ้าที่รกๆ ในแปลง รวมไปถึงการดูแลในกรณีฉุกเฉินต่างๆ เช่น เครื่องสูบน้ำพัง ไฟฟ้าตัด น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ภาวะฝนแล้ง หนูแทะสายสปริงเกอร์ฯลฯ ดังนั้นหากท่านเป็นเกษตรกรเฉพาะเสาร์อาทิตย์ ก็ต้องมีคนงานที่ไว้ใจได้ช่วยดูแลค่ะ และค่าใช้จ่ายส่วนบำรุงรักษานี้ก็มากเสียด้วยสิ ที่สำคัญท่านต้องศึกษาหาความรู้ด้านนี้พอควรค่ะ ไม่งั้นโดนหลอกน่าดู เช่น หากจะจ้างคนมาตัดหญ้าควรจ่ายเหมาต่องานที่สำเร็จไม่ใช่จ่ายรายวัน เพราะบางทีก็มีอู้งานค่ะ

5. อุปกรณ์การเกษตร ที่จำเป็นต้องใช้ในสวนหลักๆ นอกจากพวกจอบ เสียม เครื่องมือพื้นฐานแล้ว ก็มีพวกเครื่องตัดหญ้า เครื่องฉีดยาแบบสะพายหลังหรือแบบลาก ถังหมักหรือผสมปุ๋ย ตะกร้าสำหรับเก็บผลไม้ค่ะ อุปกรณ์การเกษตรพวกนี้เวลาซื้อให้คุยหลายๆ ร้านค่ะ แต่ละร้านจะเป็นเอเย่นของแต่ละยี่ห้อแตกต่างกัน ถามความเห็นเพื่อนๆ ในเวบนี้ก็ได้ค่ะ แต่ละคนจะมีประสบการณ์ในอุปกรณ์หลายๆ แบบค่ะ ควรเลือกให้เหมาะกับงานในสวนค่ะ ที่สำคัญ อย่าเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย เช่น เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายไหล่ ราคามันมีตั้งแต่ 1,000 กว่าบาท - 10,000 กว่าบาท ซึ่งต่างกันมาก ของถูกก็แน่นอนว่าคุณภาพก็ตามราคา ตัดหญ้าสามวันก็อาจจะหลุดเป็นชิ้นๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าของแพงสุดจะดีที่สุดเสมอไป ให้ศึกษาจากเพื่อนเกษตรกรคนอื่นดูค่ะ ที่สำคัญ เวลาซื้ออุปกรณ์พวกนี้ต้องหาที่มีอะไหล่และศูนย์ซ่อมด้วยค่ะ บางยี่ห้อบอกว่าทนทานแต่คนเอามาขายขายแต่เครื่องอย่างเดียวไม่มีอะไหล่ พอเสียก็ต้องทิ้งเลย นอกจากนี้หากมอเตอร์เสีย เครื่องตัดหญ้าเสียจะซ่อมที่ไหนที่ใกล้ๆ ไม่ต้องขนไปขนมาถึงกรุงเทพ ควรเตรียมข้อมูลแหล่งซ่อมที่เชื่อถือได้ค่ะ ไม่งั้นโดยฟันเละค่ะ

คนงาน

1. ควรมีให้พร้อมค่ะ แต่อย่าคาดหวังอะไรมากเกินไป เพราะคนงานก็คือคนงานค่ะ ถ้าเขาขยันและฉลาดกว่านี้ เขาก็ไม่มาเป็นคนงานค่ะ การดูแลคนงานให้อยู่กันนานๆ บางทีก็ต้องหลับตาข้างหนึ่งค่ะ บางทีเขาอาจจะกินเหล้า เล่นหวย อู้งานบ้าง ตราบใดที่งานที่สั่งไว้เขาทำสำเร็จ ก็พอไปรอดค่ะ ที่สำคัญคือต้องไว้ใจได้ ของในสวนอย่าหาย (อาจมีเก็บไปกินบ้างก็ปล่อยๆ ไปค่ะ) แต่ประเภทยกมอเตอร์ไปขาย หรือให้เมียเปิดแผงที่ตลาดขายผลไม้ที่ขโมยมาจากในสวนเรา อันนี้ก็ต้องให้จรลีไปค่ะ ที่สวนวสาอนุญาตให้คนงานปลูกพืชผักที่อยากกินได้ตามสบาย หาเมล็ดผักมาให้เขาด้วย ผลไม้ในสวนหากอยากกินก็ให้เอาไปแต่พอกิน แต่ห้ามเอาไปขาย ให้จับปลาในร่องสวนมากินได้ แต่ห้ามจับไปขาย เว้นแต่คนงานจะลงทุนซื้อลูกปลามาเลี้ยงในกระชังเองก็ให้ทำได้แต่ต้องเลี้ยง นอกเวลางาน อยากเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ก็ให้เลี้ยงได้ในพื้นที่จำกัด เขาจะได้เก็บไข่กินได้เอง แต่ไม่อนุญาตให้ทำเพื่อค้าขาย ไม่งั้นวันๆ เอาแต่บำรุงรักษาพืชผักเป็ดไก่ของตัวเองจนไม่ได้ทำงานของเรา

2. ค่าจ้างคนงาน ส่วนมากเราใช้จ้างเป็นรายวันค่ะ แต่มีหัวหน้าคนงานที่เราจ่ายเป็นรายเดือน ค่าแรงเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 120-180 บาทค่ะ คนต่างด้าวจะได้ที่ราวๆ 120-150 บาท คนไทยได้ที่ 150-180 บาทค่ะ หากเกิน 5 โมงเย็นก็จะมีค่าล่วงเวลาให้ (ช่วงที่เร่งเก็บผลไม้และคัดแยกน่ะค่ะ) บางทีคนซื้อผลไม้เราเขาก็จะจ่ายค่าแรงให้คนงานเราในวันที่เก็บผลไม้ให้เขา เราก็ประหยัดไปได้ค่ะ เช่น การซื้อมะม่วงแบบเหมาสวน พ่อค้าจะมาพร้อมคนงานคัดแยก แล้วเขาจ้างเราเก็บผลไม้ให้ โดยให้ค่าแรงรายวันกับคนงานเราค่ะ ค่าจ้างนี่เราอาจปรับขึ้นให้ปีละหน ปลายปีอาจมีเงินแถมให้นิดหน่อยได้ค่ะ

3. วันหยุด คนงานไทยในต่างจังหวัดจะขอมีวันหยุดตามวันสำคัญทางศาสนาค่ะ เช่น วันเข้าพรรษา วันทำบุญทอดกฐิน วันสงกรานต์ วันแต่งงานญาติ วันงานศพญาติ ฯลฯ เรื่องพวกนี้เราต้องปล่อยวางค่ะ เกษตรกร part-time หลายคนอาจไม่ค่อยพอใจเพราะตรงกับวันหยุดยาวที่เราจะเข้าสวนได้พอดีเช่นกัน ก็ต้องทำใจค่ะ นอกจากนี้ วันหวยออก เป็นวันที่คนงานไม่ค่อยมีกะจิตกะใจทำงานกันเท่าไหร่ ดังนั้น พยายามอย่าคาดหวังมากค่ะ คุยกันให้เข้าใจตั้งแต่เริ่มงาน จะทำให้ความรู้สึกดีทั้งสองฝ่ายค่ะ


การหาความรู้เพิ่มเติม

1. เป็นเกษตรกรต้องหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอค่ะ ซึ่งแหล่งความรู้ที่ง่ายที่สุด เร็วที่สุด และไม่เสียเงินคือการหาตามเวบไซต์ แค่เข้าไปที่ google แล้วคีย์คำที่ต้องการทราบ เช่นคำว่า โรคมะนาว หรือ มะละกอใบหงิก ก็จะปรากฏรายการเวบต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับคำที่ท่านคีย์เข้าไปมาให้ท่านได้ลองเข้าไปอ่าน หากไม่เจอข้อมูลที่ต้องการค่อยมาตั้งกระทู้สอบถามเพื่อนๆเกษตรกรท่านอื่น เพิ่มเติมได้ค่ะ อย่างไรก็ตามข้อมูลต่างๆ บนเวบอาจจะมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไปบ้างแล้วแต่เวบไซต์ที่เปิดเจอ เช่น เจอเวบขายปุ๋ยข้อมูลที่ออกมาอาจชี้นำไปสู่การซื้อปุ๋ยยาของเขา ดังนั้น อยากให้เกษตรกรเชื่อข้อมูลในเวบไซต์ของทางการเป็นหลัก เช่น เวบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (http://www.ku.ac.th/) เวบของกรมส่งเสริมการเกษตร (http://www.doae.go.th/) เป็นต้น เวบเหล่านี้มีข้อมูลที่น่าสนใจมากมายค่ะ หลายเวบมีรูปภาพประกอบด้วย อยากให้เกษตรกรได้ลองขวนขวายหาความรู้ด้วยตัวเองจากหลายๆแหล่งข้อมูลค่ะ จะได้คิดวิเคราะห์ได้รอบทิศ ดีกว่าการมาตั้งกระทู้ถามเพียงอย่างเดียว ซึ่งเราก็ไม่ทราบว่าผู้ตอบแต่ละคนมีความรู้ในด้านนั้นๆ จริงหรือไม่ บางเรื่องแม้ผู้ตอบมีความประสงค์ดี แต่ตอบเอาตามที่นึก (เอาเอง) ว่ามันน่าจะเป็นเช่นนั้นโดยไม่มีประสบการณ์หรือหลักวิชาการสนับสนุน แล้วเกษตรกรไปทำตาม ผู้ที่เสียหายคือเกษตรกรเองค่ะ

2. นอกจากเวบไซต์แล้ว ก็มีหนังสือและวารสารเกษตรต่างๆ ที่สามารถหาอ่านเพิ่มความรู้ได้ค่ะ เช่น วารสารเคหเกษตร วารสารเมืองไม้ผล วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เป็นต้น สวนวสาได้มีโอกาสไปเยือนสวนเกษตรต่างๆ เพื่อเสาะหาพันธุ์พืชที่ต้องการก็ใช้ดูเอาตามวารสารพวกนี้ค่ะ บางทีเขาก็มีการจัดอบรมให้ฟรีๆ มีวิทยากรที่มีความรู้มาพูด มีเพื่อเกษตรกรที่มีประสบการณ์มาแบ่งปันเทคนิค เราก็จะได้ประโยชน์ค่ะ แต่ไม่ใช่ว่าวารสารทุกเล่มจะจัดงานได้ดี สวนวสาเคยไปร่วมงานหนึ่งเป็นการอบรมครึ่งวัน แต่กว่าการกล่าวเปิดงานของบุคคลสำคัญต่างๆที่เชิญมาจะหมดก็ปาเข้าไปเกือน 10 โมงแล้ว แล้วยังพักเบรคยาวๆ ให้คนที่มาอบรมไปซื้อของที่สปอนเซอร์ต่างๆ มาออกร้านขาย ในที่สุดได้ฟังคนบรรยาย (แบบรีบๆ ให้จบ) แค่ไม่ถึงชั่วโมง เสียเวลาไปเหมือนกันค่ะ

3. หนังสือเกี่ยวกับคู่มือการเกษตรต่างๆ รวมถึงผลงานวิจัยบางงานที่มีประโยชน์ มีจำหน่ายที่ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ศูนย์หนังสือจุฬา ที่ร้านหนังสือแพร่พิทยา และตามงานเกษตรแฟร์ นอกจากนี้ยังมีแจกให้ฟรีโดยกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัด อำเภอ และหน่วยงานราชการบางหน่วยงาน ลองติดต่อขอไปดูได้ค่ะ

ความต้องการ กับ ความเป็นจริง

ผู้ ที่อยากเป็นเกษตรกรหลายท่านที่ทำงานประจำอยู่ ควรพิจารณาบริหารเวลา ครอบครัว และทุนทรัพย์ให้รอบคอบก่อนลงมือค่ะ บางทีเรามาอ่านๆ ในเวบต่างๆ เห็นคนอื่นเขาซื้อที่ดินกัน ลงมือทำกัน ก็เกิดแรงบันดาลใจอยากทำบ้าง แต่นั่นอาจเป็นความต้องการของคุณคนเดียวหรือเปล่า ลองดูปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้ด้วยค่ะ

+ เวลา - คุณทำงานประจำในวันเสาร์อาทิตย์หรือเปล่า เพราะการเป็นเกษตรกร part-time นั้นอย่างน้อยต้องมีเวลาเสาร์-อาทิตย์ที่จะไปดูแลพืชผลที่ปลูกได้ หรือหากทำงานส่วนตัว ก็ต้องถามว่าสามารถจัดเวลาได้หรือเปล่าที่จะหาเวลาว่างแวะเวียนไปดูแลการ เติบโตของพืชผล และแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หลายๆ คนไฟแรงแต่ตอนแรกๆ พอสักห้าหกเดือนผ่านไป ก็ทิ้งระยะเสียแล้ว จากทุกอาทิตย์ เป็นเดือนละหน เป็นสองเดือนหน ในที่สุดเหลือปีละหน อย่างนี้สิ่งที่ลงทุนไปก็จะเสียเปล่าค่ะ การทำเกษตรนั้นคนทำต้องมีความรับผิดชอบ (discipline) ที่ต่อเนื่องค่ะ ยิ่งถ้าที่ดินอยู่ไกลจากที่บ้านหรือที่ทำงานมากๆ อย่างที่เขียนไว้แล้วด้านบน ว่าส่วนใหญ่เจอค่าน้ำมันและเวลาขับรถไปก็จะท้อใจในที่สุด

+ ครอบครัว - เป็นสิ่งสำคัญค่ะ การซื้อที่ดินทำเกษตรนี่ครอบครัวทางบ้านต้องสนับสนุนนะคะ เพราะบางครั้งเป็นความต้องการเฉพาะของคุณพ่อบ้านอย่างเดียว แต่ครอบครัวทางบ้านไม่สนับสนุน เพราะเคยได้ยินคุณแม่บ้านบ่นว่าเสาร์อาทิตย์แทนที่จะได้พาลูกไปเรียนพิเศษ หรือได้ไปท่องเที่ยวกันตามแหล่งท่องเที่ยว ก็ต้องไปใช้ชีวิตกลางแดดร้อนๆ ขุดดิน ปลูกพืช เรื่องแบบนี้คุณแม่บ้านบางคน และเด็กๆ ไม่เข้าใจค่ะ อยากให้ทำความเข้าใจกันในบ้านให้เรียบร้อยก่อน เพราะไม่งั้นอาจมีปัญหาภายในครอบครัวได้ค่ะ

+ ทุน - สะสมมาพอไหม เวลาคำนวณเงินลงทุน คิดให้รอบคอบด้วยค่ะ นอกจากค่าที่ดิน ค่าคนงาน ค่ากิ่งพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าระบบน้ำ ค่าอุปกรณ์การเกษตรต่างๆ แล้ว คิดได้เท่าไหร่ ให้คูณ 3 ไว้ก่อนเลย เพราะจริงๆ มันจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่คุณไม่คาดคิดเกิดขึ้นอีกมากๆๆๆๆๆ และถ้าเงินสะสมของคุณไม่มากพอ นำไปสู่การเป็นหนี้สินเพื่อนำมาลงทุน มันจะไม่ยั่งยืนน่ะค่ะ

พืชพลังงาน หรือ พืชอาหาร หรือ สวนป่า


จากปัจจัยเรื่องเวลา ครอบครัว และทุนที่พูดถึงด้านบน ก็มีผลต่อการตัดสินใจเลือกชนิดพืชเพื่อทำสวนเกษตรเบื้องต้น ดังนี้ค่ะ

สวนป่า - ถ้าที่ดินอยู่ไกล เวลามีน้อย ภาระครอบครัวมีมาก ทุนมีกลางๆ ในช่วง 5-10 ปีนี้ แต่อยากเริ่มแล้ว ก็อยากให้พิจารณาเริ่มที่การทำสวนป่าไปก่อน คือ ปลูกพืชที่ตัดไม้ขายในภายหลัง เช่น สน ยูคา สัก หรือไม้ป่าอื่นๆ เพราะจะหนักแค่ช่วงปรับปรุงดินแรกๆ พอต้นกล้าตั้งหลักได้แล้ว ก็ผ่อนภาระการสิ่งไปดูแลบ่อยๆ ไป 5 - 10 ปี เช่นไปเดือนละหน หรือ สองเดือนหน ก็ได้ แต่ต้องไปนะคะ ไม่งั้นเพื่อนบ้านอาจจะมาบุกรุกเขาไปปลูกอะไรต่อมิอะไรเป็นการบันเทิงไป เราเจอมาแล้วกับที่ดินของเราที่อยู่ไกลๆ ไม่ค่อยได้ไปสามสี่เดือน มีสวนพริก สวนถั่ว เกิดขึ้นมาในที่ดินเราเฉยเลย ดีไม่ดีต้นกล้าที่เราปลูกไว้อาจเจอพืชอื่นเบียดเบียนตายไปก็ได้ หรือไม่ก็เจอมาแล้วค่ะ ที่ชาวบ้านเข้าไปจุดคบไฟหาหนู แล้วทำไฟไหม้สวนเราไปครึ่งสวน พวกสวนป่านี่ช่วงท้ายๆ ต้องเฝ้ากันดีๆ ด้วยเพราะไม่งั้นชาวบ้านแอบมาตัดไม้เราไปขาย ก็มีค่ะ

พืชอาหาร - ต้องการเวลาอย่างมากค่ะ อย่างที่เขียนมาแล้วว่าผู้ปลูกต้องมีความสม่ำเสมอในการไปดูแล เพราะไม่งั้นเผลอแป๊บเดียวโรคหรือแมลงลง ต้นไม้อาจจะตายไปทั้งสวนก็ได้ค่ะ ฝากคนงานเขาก็คงไม่ได้ใส่ใจมาก เพราะไม่ใช่สวนของเขาน่ะค่ะ พืชอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ พืชตระกูลธัญพืช หรือผักต่างๆ ต้องดูแลใกล้ชิดค่ะ นอกจากนี้ช่วงเก็บผลผลิตก็ต้องคอยหาตลาดให้ดี วางแผนการเก็บให้ดี การขนส่ง การเก็บรักษาอีก หากเกษตรกรยังไม่พร้อมก็แบ่งที่ดินปลูกเฉพาะที่พอกินเองไปก่อน ส่วนที่ดินที่เหลือก็ปลูกไม้ยืนต้นพวกสวนป่าไปก่อนค่ะ

พืชพลังงาน - พลังงานกำลังขาดแคลน คนเลยเห่อปลูกพืชพลังงานกันใหญ่ ตั้งแต่พวกมัน อ้อย ปาล์ม สบู่ดำ ฯลฯ ราคาก็ขึ้นลงตามที่เราเห็นๆ ค่ะ พืชน้ำมันนี่มันแทนที่พื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารนะคะ เวลานี้ทั่วโลกกำลังมีประเด็นเรื่องอาหารขาดแคลน เพราะหลายประเทศที่เคยทำเกษตรกรรมอาหาร เช่น มาเลย์ อินโด บราซิล อาร์เจนติน่า หันไปปลูกพืชพลังงานและยางพารากันใหญ่ ในระยะยาวแล้วราคาพืชอาหารจะแซงพืชพลังงานค่ะ สวนวสาจึงอยากเชียร์ให้ทุกคนกัดฟันปลูกพืชอาหารกันไปก่อนค่ะ และจะให้ข้อคิดสำหรับคนที่อยากปลูกพืชน้ำมันว่าควรอยู่ใกล้แหล่งรับซื้อนะคะ เช่นปลูกปาล์มควรอยู่ใกล้ๆ โรงกลั่นนะคะ หากมีหลายๆ โรงในพื้นที่ยิ่งดีค่ะ ไม่งั้นเก็บผลผลิตแล้วส่งไม่ได้ก็จะเสียหายมากค่ะ เราจะเห็นว่าบางทีพอราคาขึ้นและน้ำมันที่กลั่นแล้วยังขายไม่ได้ บางโรงกลั่นเขาปิดไม่รับซื้อก็มีค่ะ หากมีตัวเลือกก็จะดีค่ะ เพราะพืชน้ำมันนี่เอาไปวางขายตามตลาดก็ไม่ได้ กินเองก็ไม่ได้ ต้องขายเข้าผู้แปรรูปอย่างเดียวเลย

ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=5983.0

เมล็ดพันธุ์ควบคุมคืออะไร


เนื่อง จากพันธุ์ เป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูกของเกษตรกร จึงได้มีการคิดค้นพัฒนาพันธุ์พืชกันอย่างกว้างขวาง แต่ละพันธุ์ต่างก็มีคุณสมบัติดีเด่นต่างๆ กันไป ก่อให้เกิดธุรกิจเมล็ดพันธุ์อันเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีมูลค่าหลายพันล้าน และมีการแข่งขันค่อนข้างสูง กลยุทธ์ทางการตลาดนานาประการถูกนำมาใช้แย่งชิงตลาดกันอย่างดุเดือด แต่ผู้ใช้เมล็ดพันธุ์จะได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพตรงตามที่ระบุ หรือไม่เป็นเรื่องที่น่าคิด ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 เมล็ดพันธุ์พืชควบคุม หมายถึง เมล็ดพันธุ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นเมล็ดพันธุ์ควบคุม ซึ่งค่อนข้างเป็นภาษากฎหมาย แต่สำหรับเราๆ ท่านๆ ให้เข้าใจว่า เมล็ดพันธุ์ควบคุม เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ต้องได้รับการกำกับดูแลเป็นพิเศษแตกต่างจากเมล็ดพันธุ์ ทั่วไป


นับตั้งแต่ประกาศให้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีเมล็ดพันธุ์ที่ประกาศเป็น เมล็ดพันธุ์พืช ควบคุมจำนวนทั้งสิ้น 29 ชนิด ส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ซึ่งทาง ราชการได้กำหนดความบริสุทธิ์และความงอกของเมล็ดพันธุ์พืชไว้ชัดเจน ท่านผู้อ่านบางท่านที่ไม่อยู่ในวงการนี้อาจจะงงๆ กับคำว่า "ความบริสุทธิ์" และ "ความงอก" ของเมล็ดพันธุ์ว่าหมายถึงอะไร การวัดค่าความบริสุทธิ์และความงอกงามของเมล็ดพันธุ์ จะวัดออกมาเป็นอัตราส่วนร้อยละ ว่ากันง่ายๆ ความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์นั้น สมมุติว่าวัดค่าความบริสุทธิ์ได้ 95 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าเมล็ดพันธุ์ดังกล่าว100 กรัม จะมีเมล็ดพืชอื่นและสิ่งเจือปนอยู่ 5 กรัม (สิ่งเจือปนอาจจะเป็นชิ้นส่วนของเมล็ดที่แตกหักเหลือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ ขนาดเดิมเมล็ดตระกูลกะหล่ำ และเมล็ดตระกูลถั่วที่ไม่มีเปลือกหุ้ม และสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่เมล็ด) เช่นเดียวกับความงอกของเมล็ด หากหาค่าความงอกได้ 95 % แสดงให้เห็นว่าเมื่อนำเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวไปเพาะจะงอกเป็นต้นอ่อน 95 ต้น จาก 100 เมล็ด ดังนั้นตัวเลขทั้งสองค่ายิ่งสูงยิ่งดี ส่วนวิธีการที่ให้ได้มาซึ่งตัวเลขดังกล่าวค่อนข้างจะซับซ้อน จึงมีนักวิชาการที่ทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ


งานควบคุมเมล็ดพันธุ์ควบคุม


หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ควบคุมโดยตรง คือ ฝ่ายพันธุ์พืช กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โดยทำงาน ประสานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการรวบรวม ขาย นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านเมล็ดพันธุ์เพื่อการค้าต้องได้รับอนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร โอกาสนี้จะนำเสนอเฉพาะด้านการรวบรวม และการขายเมล็ดพันธุ์ควบคุมเท่านั้น สำหรับส่วนที่เหลือจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป ตารางแสดงเมล็ดพันธุ์พืชควบคุมและการกำหนดมาตรฐานความงอกและความบริสุทธิ์ ของเมล็ดพันธุ์



การรวบรวมเป็นการรวบรวมเมล็ดพันธุ์คัดเลือก หรือบรรจุในภาชนะบรรจุ สำหรับการขายเป็นการจำหน่าย จ่าย แจก หรือ แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่จำหน่ายในประเทศของเรามีทั้งเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตภายใน ประเทศ และเมล็ดที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมล็ดพันธุ์ผักหลายชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กวางตุ้ง ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลี เป็นต้น จะสั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศแทบทั้งสิ้นเมล็ดพันธุ์เหล่านี้จะต้องผ่านการ ทดสอบคุณภาพตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จึงจะสามารถนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้ หลังจากนั้นผู้รวบรวมจะทำการคัดเลือก ปรับปรุงสภาพและแบ่งบรรจุในภาชนะ ปิดฉลาก ก่อนที่จะนำออกจำหน่าย


ดังนั้น เพื่อเป็นการควบคุมให้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีตกถึงมือเกษตรกร ภาครัฐจึงได้กำหนดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาต รวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า จะต้องไม่บรรจุเมล็ดพันธุ์ควบคุม ในภาชนะบรรจุไม่ตรงตามฉลาก จัดให้มีป้ายแสดงไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย ภายนอกอาคาร (ป้ายทำด้วยวัตถุถาวรขนาด 20x70 เซนติเมตร มีข้อความว่า "สถานที่รวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า" สูงไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร) นอกจากนี้ต้องมีฉลากภาษาไทยที่ภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ควบคุมที่รวมรวมขึ้น โดยในฉลากต้องแสดงชนิด และชื่อพันธุ์ของเมล็ดพันธุ์ควบคุม และมีคำว่า "เมล็ดพันธุ์ควบคุม" เครื่องหมายการค้าสำหรับเมล็ดพันธุ์ควบคุม ผู้รวบรวมและแหล่งรวบรวม น้ำหนักสุทธิของเมล็ดพันธุ์ควบคุมในระบบเมตริก อัตราความงอกของเมล็ดพันธุ์ควบคุม และระบุวันเดือนปี ที่ทดสอบ เดือนและปีที่รวบรวมหรือนำเข้า อายุความงอกของเมล็ดพันธุ์ควบคุม เดือน และปีที่สิ้นสุดอายุการใช้เพาะปลูกหรือทำพันธุ์ หากเมล็ดพันธุ์ควบคุมมีวัตถุอื่นผสมอยู่ด้วย ต้องแจ้งชื่อ และอัตราส่วนของวัตถุผสมนั้น และถ้ามีสารเคมีอันตรายที่กฎหมายกำหนดไว้ผสมอยู่ด้วยต้องแจ้งชื่อ และอัตราส่วนของสารเคมีอันตรายนั้น รวมถึงต้องแสดงเครื่องหมายหัวกะโหลกกับกระดูกไขว้ และมีคำว่า "อันตราย" ด้วยอักษรสีแดงไว้ด้วย

สำหรับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขายเมล็ดพันธุ์ควบคุมก็เช่นกัน ต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย และเห็นได้ง่ายภายในอาการที่ระบุไว้ในใบอนุญาตโดยใบอนุญาตขาย จะหมดอายุในวันสิ้นปีปฏิทิน ดังนั้นผู้ที่ประกอบกิจการขายเมล็ดพันธุ์ควบคุม จะต้องตระหนักในเรื่องนี้เสมอทางที่ดีควรรีบดำเนินการต่อใบอนุญาตขายก่อน สิ้นอายุไม่น้อยกว่า 15 วัน นอกจากนี้ต้องจัดให้มีป้ายแสดงไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่ายจากภายนอกอาคารแสดงว่าเป็นสถานที่ขายเมล็ดพันธุ์ควบคุม ลักษณะของป้ายต้องทำด้วยวัตถุถาวรขนาดกว้างและยาวไม่น้อยกว่า 20x70 เซนติเมตรและมีข้อความเป็นอักษรภาษาไทยสูงไม่น้อยกว่า3 เซนติเมตร ว่า "สถานที่ขายเมล็ดพันธุ์ควบคุม" จะมีภาษาอื่นกำกับด้วยก็ได้ แต่ขนาดอักษรของภาษาอื่นต้องสูงน้อยกว่า 3 เซนติเมตร และอาจมีข้อความอื่นๆ เป็นภาษาอะไรก็ได้ แต่ขนาดตัวอักษรต้อง น้อยกว่า 3 เซนติเมตรเช่นกัน ประเด็นที่สำคัญต่อมาคือ ห้ามขายเมล็ดพันธุ์ที่สิ้นอายุการใช้ทำพันธุ์ และต้องรับผิดชอบต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีฉลาก หากย้ายสถานที่ หรือเลิกกิจการต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบ รวมถึงต้องดูแลฉลากที่ภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ควบคุมให้คงอยู่ครบถ้วน และชัดเจนตามรายละเอียดที่ผู้รวบรวมได้ปิดฉลากไว้


การควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์


ในการควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกำหนดชนิดและชื่อพันธุ์ของเมล็ดพันธุ์ให้เป็นเมล็ดพันธุ์ควบคุม ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ซึ่งขณะนี้ได้กำหนดเมล็ดพันธุ์ที่เป็นเมล็ดพันธุ์ควบคุมมีทั้งหมด 29 ชนิด โดยแบ่งออกเป็นเมล็ดพันธุ์พืชไร่ 9 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเขียวเมล็ดดำ ถั่วเหลือง ฝ้าย ข้าวโพดหวาน ทานตะวัน เมล็ดพันธุ์พืชผัก 20 ชนิด ได้แก่ คะน้า แตงกวา ถั่วลันเตา ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักกาดหัว ผักบุ้งจีน พริก มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอคโคลี ผักกาดกวางตุ้ง ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ แตงโม กระเทียมใบ ผักชี ปาล์มน้ำมัน ขณะเดียวกันก็ได้ออกประกาศกระทรวงฯ กำหนดมาตรฐานคุณภาพด้านอัตราความงอกและเมล็ดบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ควบคุม ดังนั้น เมล็ดพันธุ์ควบคุมที่นำเข้า รวบรวมหรือจำหน่ายเพื่อการค้า ต้องมีมาตรฐานคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสำหรับผู้ประกอบ ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า จะต้องมีใบอนุญาตของแต่ละประเภทกิจกรรม เช่น ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า หรือใบอนุญาตรวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า หรือใบอนุญาตขายเมล็ดพันธุ์ควบคุม และเมล็ดพันธุ์ควบคุมที่จำหน่ายในท้องตลาดต้องมีฉลากเป็นภาษาไทยด้วย เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้จะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐในการช่วยสอดส่องดูแลผู้ประกอบการเหล่า นี้ โดยเจ้าหน้าที่จะทำการสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ให้ ได้มาตรฐานตามที่กำหนด

ดังนั้น เมื่อเกษตรกรต้องการซื้อเมล็ดพันธุ์ควบคุมไปเพาะปลูก สิ่งแรกที่เกษตรกรต้องดูคือ ฉลากของเมล็ดพันธุ์ โดยเฉพาะเดือนปีที่ระบุสิ้นอายุใช้ทำพันธุ์ และวันเดือนปีที่ทำการทดสอบ เพราะจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการที่เกษตรกรจะใช้ตัดสินใจในการเลือกซื้อ เมล็ดพันธุ์นั้น ๆ

ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=5056.0

การปลูกมะนาว

มะนาวเป็นไม้ผลตระกูลส้มประเภทหนึ่ง ที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย โดยแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์ กาญจนบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และเชียงใหม่


มะนาว จัดได้ว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่ง ที่ตลาดมีความต้องการสูง ตลอดทั้งปี และจากอัตราการเพิ่มของพลเมือง และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้ม ค่อนข้างสูง รวมทั้งการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีการนำมะนาวมาใช้เป็นวัตถุดิบ อีกมากมาย จึงทำให้มะนาวมีบทบาทสำคัญ ทางการค้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน ของทุกปี มะนาวจะมีราคาสูงกว่าปกติ คือมีราคาลูกละ 3-4 บาท ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงฤดูแล้งจะมีผลผลิตมะนาวออกสู่ตลาดน้อย ดังนั้น จึงทำให้มีผู้สนใจหันมาปลูกมะนาวนอกฤดูกันมาก

พันธุ์

พันธุ์มะนาวที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และปลูกกันในประเทศไทย ในปัจจุบัน ได้แก่
1. มะนาวหนัง ผลอ่อน มีลักษณะกลมยาว หัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ ผลจะมีลักษณะกลม ค่อนข้างยาว มีกลมมนบ้าง เล็กน้อย ด้านหัว มีจุกเล็ก ๆ มีเปลือกค่อนข้างหนา จึงทำให้ เก็บรักษาผลไว้ได้นาน


2. มะนาวไข่ มีขนาดและลักษณะ คล้ายมะนาวหนังเกือบทุกอย่าง ผลอ่อนมีลักษณะ กลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ ผลจะมีลักษณะ กลมมนเป็นส่วนมาก เปลือกบาง ผลโตกว่า มะนาวหนัง


3. มะนาวแป้น เป็นมะนาวที่สามารถ ให้ดอกออกผลตลอดปี ผลมีขนาดกลาง ทรงผลแป้น เปลือกบาง มีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์แป็นรำไพ แป้นทราย เป็นต้น


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

มะนาวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิต ไม่ว่าจะเป็น ดินเหนียว ดินทราย แต่ถ้าต้องการจะปลูกมะนาว ให้เจริญงอกงามดี มี ผลดก และคุณภาพดี ก็ควรจะปลูกในพื้นท ี่ที่เป็นดินร่วนซุย มีการระบาย น้ำดี มีอินทรียวัตถุผสม อยู่มาก และควรเลือกพื้นที่ที่อยูใกล้แหล่งน้ำ
การเตรียมพื้นที่ปลูก

1. พื้นที่ลุ่ม เตรียมพื้นที่โดยการทำคันดินใหัมีความกว้างประมาณ 6-8 เมตร ส่วนสูงให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูงโดยให้อยู่สูงกว่า แนวระดับน้ำท่วม 50 เซนติเมตร แทงร่องหรือซอยร่องทำประตูน้ำเพื่อ ระบายน้ำเข้าออก ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร พื้นที่ร่องกว้าง 0.5-0.7 เมตร ใช้ระยะปลูก 5X5 เมตร
2. พื้นที่ดอน ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช และทำให้ดินร่วนซุย ใช้ระยะปลูก 4 x 4 - 6 x 6 เมตร ทั้งนี้ขื้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
วิธีการปลูก

ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ควรขุดหลุมปลูก ให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตเข้าด้วยกัน ในหลุมให้ สูงประมาญ 2 ใน 3 ของหลุม ยกถุงกล้า ต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่า ระดับดินปากหลุมเล็กน้อย ใช้มีดที่คม กรีดถุง จากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ช้ายและขวา)



ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมพัดโยก หาวัสถุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง รดน้ำให้โชก ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
การปฏิบัติดูแลรักษา
1. การให้น้ำ
ต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะ ในช่วง ที่ปลูกใหม่ๆ ควรให้น้ำวันละครั้งเป็นอย่างน้อย (กรณีฝนไม่ตก) หลังจากปลูกประมาณ 15 วัน มะนาวสามารถตั้งตัวได้แล้ว ให้น้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง และควรหา วัสดุมาคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชื้น


ควรเริ่มงดให้น้ำ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม เป็นต้นไป จนถึงช่วงออกดอก เพื่อให้มะนาวสะสม อาหารให้สูงถึงระดับที่สามารถสร้างตาดอกได้ ปกติมะนาวจะออกดอก เดือนเมษายน-พฤษภาคม หลังจากมะนาวออกดอก และกำลังติดผลอ่อน เป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมาก เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ของผล
2. การใส่ปุ๋ย
2.1 หลังจากมะนาวอายุได้ 3-4 เดือน ควรใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ประมาณต้นละ 0.5 กิโลกรัม กรณีใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่หลังจาก พรวนดิน กำจัดวัชพืชแล้ว โดยใส่บริเวญรอบทรงพุ่ม แล้วก็ให้น้ำ ตามเพื่อ ให้ปุ๋ยละลาย



2.2 เมื่อมะนาวอายุ 1 ปี ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ ต้นละ 300 กรัม และเมื่อมะนาวอายุ 2 ปี ก็เพิ่มปริมาญปุ๋ยโดยใส่ปีละ 2 ครั้ง ๆ ละประมาณ 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ขี้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ ของตน และเมื่อมะนาว อายุย่างเข้าปีที่ 3 ก็จะเริ่มให้ผลผลิต
2.3 ช่วงระยะก่อนออกดอกประมาณ 1-2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ย สูตรที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 3-10-10 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะที่ยังไม่ออกดอก และใช้สูตร 0-52-34 ในระยะเร่งการออกดอก ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ปริมาณที่ใช้ ขึ้นอยู่กับอายุของต้นพืช โดยใส่ในปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้น

3. การกำจัดวัชพืช
การกำจัดวัชพืชในสวนมะนาวสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้าแต่ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนราก วิธีกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือการใช้สารเคมี เช่น พาราชวิท ไกลโฟเสท ดาวพอน เป็นตัน โดยการใช้จะต้องระวัง อย่าให้สารพวกนี้ปลิวไปถูกใบมะนาวเพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่นทำให้ ใบไหม้เหลืองเป็นจุดๆ หรือไหม้ทั้งใบ ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นตอนลมสงบ

4. การค้ำกิ่ง
เมื่อมะนาวใกล้จะผลิดอกออกผล ต้องมีการค้ำกิ่งให้กับต้นมะนาวด้วย เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักหรือฉีกขาดโดยเฉพาะในช่วงติดผล และยังช่วยลดความเสียหาย เนื่องจากโรคและแมลงได้ โดยวิธีการค้ำกิ่ง สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. การค้ำกิ่งโดยการใช้ไม้รวกหรือไม์ไผ่ทำเป็นง่าม สอดเขัากับกิ่งมะนาว ให้ปลายอีกข้างหนึ่งวางตั้งรับน้ำหนักของกิ่งอยู่บนพื้นดิน แล้วใช้เชือกผูกมัดกิ่งไว้
2. การค้ำกิ่งแบบคอกหรือนั่งร้าน โดยเอาไม้มาทำเป็นนั่งร้านรูปสี่เหลี่ยนรอบๆ ต้นมะนาวเพื่อรองรับกิ่งใหญ่ ๆ ของมะนาวไว้ อาจทำเป็น 2-3 ชั้น แล้วให้กิ่งพาดอยู่ที่ชั้นใดก็ได้ ซึ่งวิธีนื้จะมั่นคงทนทาน และใชัประโยชน์ได้ดีกว่าวิธีแรก

5. การตัดแต่งกิ่ง
เพื่อให้มะนาวมีทรงพุ่มสวยและให้ผลดกปราศจากการทำลายของโรคและแมลง การตัดแต่งกิ่งควรทำหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้ง กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด แล้วนำไปเผาทำลาย อย่าปล่อยทิ้งไว้ตามโคนต้น เพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรคได้
โรคที่สำคัญของมะนาว

1. โรคแคงเกอร์
ลักษณะอาการ
จะเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้งที่ใบ กิ่งก้าน และผล โดยอาการที่ใบและผล จะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม



ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลือง ล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟูนูนสีเหลือง ต่อมาแผลจะ แตกแห้ง เป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างธองแผลไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวน ล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์ พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล และ ป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมี กำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน
2. โรคราดำ
ลักษณะอาการ
ใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำ สกปรก กระด้าง ทำให้ผมไม่สวย ต้นมะนาวจะแคระแกร็น
การป้องกันกำจัด
ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟหรือใช้ สารเคมีกำจัดแมลงฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงประเภท ปากดูดชึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดโรคราดำ




3. โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว)
ลักษณะอาการ
ใบจะด่างเป็นสีเหลือง หรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กลง ในที่สุดใบและยอดจะแห้งตาย ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม
การป้องกันกำจัด
ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ ใส่ปุ๋ยที่มี ธาตุสังกะสีและ แมกนีเชียม ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินใหัอยู่ระหว่าง 6.0-6.5




4. โรคยางไหล
ลักษณะอาการ
มีอาการยางไหลบริเวญลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกจะเน่าและแผลจะลุกลามไปถึงเนื้อไม้
การป้องกันกำจัด
ควรตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง และควรทาบาดแผลด้วยสารทองแดงหรือกำมะถันผสมปูนขาว ถ้ามีการระบาดมากก็เผาทำลายเสีย




5. โรครากเน่าและโคนเน่า
ลักษณะอาการ
รากฝอยและรากแขนง จะเน่ามีสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกของลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะ โคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมากๆ จะทำให้ใบเหลือง และร่วงหล่น
การป้องกันกำจัด
อย่าให้มีน้ำขัง บริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน




แมลงศัตรูที่สำคัญ

1. หนอนชอนใบ
ลักษณะอาการ
จะทำความเสียหายให้กับมะนาวในระยะแตก ใบอ่อน โดยจะชอนไชกัดกินอยู่ระหว่างผิวใบด้านหน้าและหลังใบ จะมอง เห็นเป็นทางสีขาวคดเคี้ยวไปมา ใบหงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ และใบไม่เจริญเติบโต ต้นมะนาวจะแคระแกร็นและไม่ติตผล



การป้องกันกำจัด
หมั่นตรวจดูตามใบและยอดของมะนาว โดยเฉพาะระยะที่มะนาวเริ่มผลิใบอ่อน กรณีที่ระบาดน้อยให้เด็ดใบเผาทำลาย หากพบมากใหัฉีดพ่น สารเคมีกำจัดแมลง กลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน หรือฟอร์โมไธออน ในอัตราที่ฉลากกำหนด
2. หนอนกินใบ (หนอนแก้ว)
ลักษณะอาการ
กัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของมะนาว
การป้องกันกำจัด
หมั่นตรวจตูตามใบอ่อนและยอดอ่อน เมื่อพบไข่และตัวหนอนก็จับทำลายเสีย ฉีดพ่นสารเคมีกำจัตแมลงกลุ่มเมทามิโดฟอสที่มีชื่อทางการค้าว่า ทามารอน ในอัตรา 20-30 ซีซี. หรือประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้น




3. เพลื้ยไฟ
ลักษณะอาการ
จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลการทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน นับแต่เริ่มติดผล ช่วงระยะการระบาด จะขี้นอยู่กับการแตกยอดอ่อน และระยะติดผล ผลที่ถูกทำลายจะ ปรากฎรอยสีเทา เป็นวงบริเวณขั้วผล และก้นผลหรือเป็นขีดสีเทาตาม ความยาวของผล
การป้องกันกำจัด
เด็ดผลที่แคระแกร็น ถ้าพบการทำลายของเพลี้ย ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง ได้แก่ คาร์โบชัลแฟน เปอร์เมทริน
4. ไรแดง
ลักษณะอาการ
ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหงิกงอ ไม่เจริญเติบโตและร่วงหล่น ผลมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในเวลาต่อมา ผิวผลจะกร้าน ผลแคระแกร็น และร่วงในที่สุด
การป้องกันกำจัด
ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผงชนิดละลายน้ำในอัตรา 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 10-15 วัน ในตอนเช้า หรือตอนเย็น เพื่อป้องกันอาการใบไหม้





การบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดู

การบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดู สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ จะทำให้ต้นมะนาวไม่โทรมเร็วเกินไปควรปฎิบัติดังนี้
กันยายน : ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน 1:3:3 เช่นปุ๋ยสูตร 8:24:24 เพื่อบำรุงให้ใบแก่เร็วขื้น และเก็บอาหารไว้บำรุงดอกต่อไป
ตุลาคม : งดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะนาวมีการเก็บสะสมอาหาร จนเมื่อถึงปลายเดือนตุลาคมจึงค่อยให้น้ำเต็มที่
พฤศจิกายน : มะนาวเริ่มออกดอก ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน กำจัดแมลง ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ดอกจะเริ่มบาน และเริ่ม ติดผล ควรป้องกันกำจัดแมลงในช่วงนี้ด้วย
ธันวาคม : ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน 1:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 15:15:15 หรือ 16:16:16 เพื่อบำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์
กุมภาพันธ์เป็นต้นไป : ผลมะนาวจะเริ่มโตพอที่จะเก็บเกี่ยวได้บ้าง ในระยะแรก จนกระทั่งกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเตือนเมษายน ผลมะนาวก็จะโตพอที่จะเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งจะตรงกับช่วงที่มะนาวมีราคาแพงพอดี หลังจากที่ได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ประมาณเดือนพฤษภาคม ควรทำการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีสูตร 15:15:15 เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ และ พร้อมสำหรับการผลิตมะนาวนอกฤดูในปีต่อไป
การเก็บเกี่ยว

การเก็บผลมะนาว ถ้าต้นเตี้ยหรือไม่สูงมากนัก ก็เก็บ โดยใช้มือปลิด แต่ถ้าต้นสูง นิยมเก็บโดยใช้มีด หรือตะขอผูกติด กับด้ามไม้รวกยาว ๆ คล้อง และกระตุกผลมะนาวลงมา



แต่ถ้าต้องการให้ได้ผลมะนาวที่มีคุญภาพ ไม่บอบช้ำ ก็ควรจะใช้ตะกร้อหวาย ในการเก็บเกี่ยว ควรเก็บในขณะที่ผลเริ่มแก่ โดยสังเกตจากด้านขั้วของผลเริ่มมีสีเหลือง เล็กน้อยผิวเปลือกจะเรียบบางใส มีสีเขียวอ่อนกว่าผลที่ยังไม่แก่ เมื่อบีบดูจะค่อนข้างนุ่มมือ ไม่ควรเก็บมะนาวที่แก่เกินไป เพราะเปลือกจะบางมาก ทำให้เกิดความเสียหาย ในการขนส่งได้ง่าย อีกทั้งเมื่อนำไปขายจะทำให้ขายได้ไม่นานผลเน่าเสียหายได้เร็ว
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

วิธีการเก็บรักษามะนาวให้ไว้ได้นาน ต้องคัดผลมะนาวเสียก่อน โดยเลือกเอาผลมะนาว ที่แก่พอเหมาะ มีสีเขียวจัด ไม่มีสีเหลืองปน ไม่มีรอยช้ำหรือเน่า และควรมีขั้วผลติดอยู่ด้วย จากนั้นนำมาล้างทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรอกช์ ผสมน้ำในอัตรา 1 ต่อ 15 ส่วน แช่ผลมะนาวไว้นานประมาณ 5 นาที แล้วนำผลมะนาวมาผึ่งลมบนตะแกรง เพื่อให้สะเด็ดน้ำ แล้วจึงทำการคัดขนาดและบรรจุเข่งหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ ตามที่ตลาด ต้องการ

ปฏิทินปฏิบัตดูแลรักษามะนาว

ม.ค.-ก.พ.มี.ค.-เม.ย. พ.ค.-ก.ค.ส.ค.-ต.ค. พ.ย.-ธ.ค.
ออกใบอ่อนออกช่อดอก ผลเจริญเติบโตเก็บเกี่ยวผลผลิต ตัดแต่งกิ่ง
ฉีดพ่นสารเคมี
ป้องกันกำจัด
โรคและแมลง
ฉีดพ่นสารเคมี
ป้องกันกำจัดโรค
และแมลง
ให้ปุ๋ยเคมีสูตร
13-13-21
- ใส่ปุ๋ยคอก
และปุ๋ยเคมี
สูตร 15-15-15
ให้น้ำสม่ำเสมอ ให้น้ำสม่ำเสมอฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน
กำจัดโรคและแมลง
- -
- ให้ปุ๋ยเคมีสูตร
15-15-15
- - -



ที่มา http://www.sisaket.go.th/WEB_ldd/Plant/Page07.htm#Title8

นวัตกรรมใหม่...ทำปุ๋ยอินทรีย์โดยไม่ต้องพลิกกลับกอง

คณะวิศวกรรมและ อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีนวัตกรรมใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ ไม่ต้องมีการเติมอากาศและไม่ต้องมีการพลิกกลับกอง อีกด้วย เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีที่มีค่าตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ให้ เสร็จภายในเวลาเพียง 30 วัน ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” ที่ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่นและน้ำเสีย ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จะเบา นุ่ม และไม่มีกลิ่น

ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร ผู้อำนวยการสถานบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร

การ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธี “วิศวกรรม แม่โจ้ 1” นี้มีหลักการทำงานที่ง่ายมาก วัตถุดิบมีเพียงเศษพืชและมูลสัตว์เท่านั้น วิธีการทำก็คือ นำเศษพืช 3 ส่วนกับมูลสัตว์ 1 ส่วน โดยปริมาตรมาผสมคลุกเคล้าให้ทั่วถึงรดน้ำให้มีความชื้น แล้วขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูงไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร มีความยาวของกองไม่จำกัดขึ้นอยู่กับปริมาณเศษพืชและมูลสัตว์ที่มี

กอง ปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตร จะทำให้สามารถเก็บกักความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ เอาไว้ในกองปุ๋ย ซึ่งความร้อนนี้นอกจากจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับ จุลินทรีย์ชนิดชอบความร้อนสูงที่มีในมูลสัตว์แล้ว เมื่อความร้อนนี้ลอยตัวขึ้นจะทำให้ภายในกองปุ๋ยเกิดเป็นสุญญากาศแล้วจะ ชักนำเอาอากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเข้าไปภายในกองปุ๋ย อากาศภายนอกที่ไหลหมุนเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้ช่วยทำให้เกิดสภาวะการย่อยสลายของ จุลินทรีย์แบบใช้อากาศที่ไม่ทำให้เกิดกลิ่นหรือน้ำเสียใด ๆ

“...หัวใจ สำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ คือ ต้องรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดทั้ง 30 วัน หากกองปุ๋ยแห้งเกินไปกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์จะหยุดชะงักลง และหากกองปุ๋ยเปียกโชกมากเกินไปจุลินทรีย์ก็จะชะงักกิจกรรมอีก เนื่องจากน้ำที่ห่อหุ้มล้อมรอบจุลินทรีย์จะทำให้อากาศไม่สามารถเข้าถึง จุลินทรีย์ได้...”

วิธีการดูแล ความชื้นของกองปุ๋ยให้เหมาะสมมี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่หนึ่ง ให้รดน้ำภายนอกกองปุ๋ยทุกเช้า (ถ้าฝนตกก็ให้งดขั้นตอนนี้) และ ขั้นตอนที่สอง ให้คอยตรวจสอบความชื้นภายในกองปุ๋ยโดยการล้วงมือเข้าไปจับดูเนื้อปุ๋ยดู ถ้าพบว่าวัสดุเริ่มแห้งก็ให้ใช้ ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ควรแทงรูและเติมน้ำเช่นนี้รอบกองปุ๋ยระยะห่างกันประมาณ 40 เซนติเมตร ซึ่งอาจต้องทำขั้นตอนที่สองนี้ทุก 7-10 วันถ้าจำเป็น เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรูไว้เสียเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนภายในกอง ปุ๋ย


การ เติมความชื้นเข้าไปในกองปุ๋ยขั้น ตอนที่สองนี้แม้ว่าอยู่ในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องมี การเติมน้ำเข้าไปในกองปุ๋ย ทั้งนี้เพราะน้ำฝน ไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ ซึ่งเป็น คุณสมบัติเฉพาะของปุ๋ยอินทรีย์ที่จะอุ้มน้ำและ ไม่ยอมให้น้ำส่วนเกินไหลซึมลงไปด้วยแรงโน้ม ถ่วงของโลก จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการแทง กองปุ๋ยดังกล่าวเพื่อรักษาระดับความชื้นภายใน กองปุ๋ยให้เหมาะสมอยู่เสมอ ดังนั้น จึงอาจ กล่าวได้ว่าเกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ด้วยวิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” นี้ในฤดูฝนได้ด้วย เพราะฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้

เศษ พืชที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้ได้แก่ เศษพืชที่เหลือจากการเกษตรกรรมทุกชนิด เช่น ฟางข้าว ซังและเปลือกข้าวโพด เป็นต้น รวมทั้งผักตบชวา เศษผักจากตลาด และเศษใบไม้ทั้งแห้งและสด ส่วนมูลสัตว์สามารถนำมาใช้ได้ทั้งมูลโค มูลไก่ มูลช้าง และมูลสุกร โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้

หลัง จากที่วัตถุดิบอยู่ในกองปุ๋ยแบบ “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” ได้ครบ 30 วัน ก็จะมีความสูงเหลือเพียง 1 เมตร โดยไม่มีการพลิก กลับกองหรือเติมอากาศใด ๆ ทั้งสิ้น หลังจากนั้นกองทิ้งไว้เฉย ๆ ให้แห้ง หรือนำไปเกลี่ยผึ่งแดดให้แห้งอีกประมาณ 7 วันเพื่อให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยสงบตัว เมื่อแห้งดีแล้วก็สามารถนำ ไปใช้ได้อย่างมั่นใจว่าจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยจะไม่ไปรบกวนการเจริญเติบโตของ ต้นพืช

ม.แม่โจ้มีฐานเรียนรู้ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” สำหรับให้ผู้ที่สนใจเข้าชมการสาธิตได้ทุกวันเวลาราชการ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ติดต่อได้ที่ ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร โทร. 0-5387-5563.

ปี นี้ผมก็ตั้งใจจะทำไว้ใช้ในนาข้าวเหมือนกัน ปีกลายพ่อกับแม่บ่นว่ากลับกองปุ๋ยแต่ละทีเหนื่อยสุดๆ มาปีนี้ได้สูตรใหม่แล้วครับ อิอิ ใครจะทำก็ลองดูนะครับ ของดีที่อยู่ใกล้ๆ ตัว ไปซื้อทำไมปุ๋ยเคมีแพงเกินความจำเป็น

เคล็ดลับนิดนึง : จากที่รดน้ำเปล่าๆ เราก็ใช้อีเอ็มที่เราทำไว้สูตรต่างๆ ผสมน้ำแล้วรดลงไปอีกที ไม่งามให้มันรู้ไปครับพี่น้อง

ภาพ ด้านล่าง : กองปุ๋ยหมักเมื่อปีที่แล้ว ทำไม่มากได้ปุ๋ยประมาณ 3 ตัน ในภาพผมกำลังรดน้ำกองปุ๋ยที่เพิ่งทำเสร็จ กองไว้หลังบ้าน แดดพอรำไรๆ


หลังจากหมักผ่านไป 50 วัน ได้ปุ๋ยกองโต สีดำเข้ม พร้อมใช้งานแล้วครับ ในภาพประมาณ 2.5 ตัน


ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=847.0

แหล่งน้ำที่เหมาะสม

ชนิดของแหล่งน้ำ
-สระน้ำ
-คลอง
-หนอง
-บึง
-บ่อบาดาล
-แม่น้ำ
-ลำคลอง
-น้ำประปา

แหล่งน้ำที่เหมาะสม
-ปริมาณน้ำ
-ชนิดของแหล่งน้ำ
-คุณภาพน้ำ
-ระยะทางจากแหล่งน้ำถึงแปลงปลูกพืช
-ระยะดูดลึก


ปริมาณน้ำ
สระน้ำ กว้าง x ยาว x ลึก
น้ำบาดาล ทดสอบการซึมของน้ำ

ความต้องการน้ำของพืช/วัน
ปริมาณของน้ำที่พืชอยู่ได้ 5 มม/วัน(ตารางเมตรละ 5 ลิตร)
1 ไร่ = 1600 ตารางเมตร ต้องใช้น้ำ = 1600 x 5= 8000 ลิตร
ถ้าให้น้ำทุกวัน 4 เดือน 120 วัน มกราคม – เมษายน
8000 x 120 = 960000 ลิตร 960 ลูกบาศก์เมตร
สระน้ำจะต้อง กว้าง 22 ยาว 22 ลึก 2 เมตร

คุณภาพน้ำ
ตะกอน ขยะ น้ำตื้น
สนิมเหล็ก น้ำบาดาล

ระยะทางจากแหล่งน้ำถึงแปลงปลูก
ระยะทางไกล ต้องใช้ท่อมาก ต้องใช้ท่อใหญ่
ระยะดูดลึกต้องไม่เกิน 8 เมตรจากผิวน้ำ
ระยะทางท่อดูด ควรใกล้ผิวน้ำมากที่สุดไม่ควรเกิน 20 เมตร เพราะจะมีผลกับประสิทธิภาพปั๊ม

ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=881.0

การออกแบบติดตั้งระบบการให้น้ำอย่างง่าย

จุดประสงค์
เลือกใช้อุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม
กำหนดชนิดขนาดท่อ ย่อย แยก ท่อประธานได้
ใช้คู่มือในการออกแบบได้
ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ

หน่วยวัดต่าง
ความสูงของน้ำ head H มีหน่วยเป็น เมตร (m)
อัตราการไหล
- ลิตร/นาที l/min
- ลิตร/ชั่วโมง l/h
- ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง m3/h
- 1000 ลิตร= 1 ลูกบาศก์เมตร

ขั้นตอนการออกแบบติดตั้ง
-การกำหนดขนาดแปลง
-การวางแนวท่อ
-เลือกขนาด/ชนิดหัวจ่ายน้ำ
-เลือกขนาด/ชนิดท่อย่อย
-เลือกขนาด/ชนิดท่อแยก
-เลือกขนาด/ชนิดท่อประธาน
-เลือกขนาด/ชนิดกรองน้ำ
-เลือกขนาด/ชนิดเครื่องสูบน้ำ

การกำหนดขนาดแปลง
-ต้นกำลังไม่ใหญ่เกินไป
-ประหยัดที่สุด
-เวลาการทำงานเป็นไปได้จริง
-แบ่งให้จำนวนต้นพืชหรือพื้นที่เท่า ๆ กัน
-แปลงเล็กไม่จำเป็นต้องแบ่งขนาดแปลง

การเดินทางของน้ำในท่อ
-ท่อสั้นสูญเสียความดันน้อย
-ท่อใหญ่สูญเสียความดันน้อย
-ปริมาณน้ำมากสูญเสียความดันมาก
-ท่อรั่วทำให้สูญเสียความดัน

การวางแนวท่อ
-วางให้กึ่งกลางแปลง จะทำให้ทางเดินของน้ำสั้นที่สุด
-ใช้ขนาดท่อเล็กที่สุดเท่าที่ทำงานได้
-จุดจ่ายน้ำต้องอยู่ใกล้แหล่งจ่ายมากที่สุด
-ท่อที่มีทางแยกควรลดขนาด
-ใช้ท่อตามปริมาณน้ำที่ใช้และความดันที่ต้องการ

การเลือกชนิดหัวจ่ายน้ำ
พืชไร่ สปริงเกลอร์ที่มีรัศมี กว้าง ขนาดใหญ่
พืชสวน พืชผัก สปริงเกลอร์ที่มี่รัศมี กว้าง ขนาดเล็ก
ไม้ผล ให้เฉพาะพื้นที่ทรงพุ่ม มินิสปริงเกลอร์รัศมีตามขนาดพืช
พืชที่ปลูกเป็นแถวถี่ น้ำหยดที่เป็นท่อ หรือเทป


พืชไร่
-มีรัศมีการให้น้ำกว้าง
-อัตราการไหลปริมาณมาก
-จำนวนหัวน้อย
-เคลื่อนย้ายได้
-ให้เป็นแปลง ๆ
-แบบเคลื่อนย้ายตัวเอง

พืชสวน พืชผัก
-ไม่ต้องการเม็ดน้ำใหญ่ทำให้พืชใบช้ำ
-รัศมีกว้าง
-ปริมาณน้ำน้อย

ไม้ผล
-ใช้หัวจ่ายน้ำมินิสปริงเกลอร์
-รัศมีแค่บริเวณทรงพุ่ม
-ให้เฉพาะเขตรากพืช
-ป้องกันหญ้า


พืชที่ปลูกเป็นแถวระยะถี่ ๆ
-ท่อน้ำหยด หรือ เทปน้ำหยด
-ผักหวาน ชะอม มะเขือเทศ
-สดวกในการติดตั้ง
-ป้องกันวัชพืช


การติดตั้งปั๊มน้ำ
-ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำให้มากที่สุด
-ควรอยู่ในโรงเรือน
-ควรถอดประกอบได้เพื่อการซ่อมแซม

การติดตั้งท่อดูด
-ยึดให้แข็งแรง
-มีอุปกรณ์สำหรับกรอกน้ำได้อย่างสดวก
-ต่ำกว่าระดับผิดน้ำ อย่างน้อย 50 เซนติเมตร


การติดตั้งชุดกรองน้ำ
-ติดตั้งทางออกของปั๊ม
-ควรอยู่หลังเมนวาล์ว
-ควรมีวาล์วน้ำเล็ก ๆ เพื่อใช้ในการล้างทำความสอาดกรอง
-ติดตั้งในบริเวณที่สดวกในการล้างทำความสอาด


การติดตั้งวาล์วควบคุม
-ติดตั้งหลังจาก เครื่องสูบน้ำ
-ติดตั้งเพื่อแยกน้ำที่แปลงย่อย
-ติดตั้งเพื่อใช้ล้างทำความสอาดกรอง


การติดตั้งชุดแยกน้ำ
-ไม่ต้องใช้กาวทาท่อ
-มีหลายชนิด

การติดตั้งหัวจ่ายน้ำ
-ม่ต้องใช้กาวทาท่อ
-มีการรั่วซึมน้อย
-สะดวกรวดเร็ว


ดาวโหลดเอกสาร powerpoint เรื่อง การออกแบบติดตั้งระบบการให้น้ำ

ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=881.0

สรุปความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบการให้น้ำ

ระบบการให้น้ำในปัจจุบันมีให้เลือกใช้หลายแบบมีทั้งระบบขนาดใหญ่ กลางและเล็ก พอเป็นตัวอย่างดังนี้

-ระบบน้ำหยด
-ระบบมินิสปริงเกลอร์
-ระบบสปริงเกลอร์
-ระบบการให้น้ำขนาดใหญ่
-ระบบน้ำในโรงเรือน



ระบบน้ำหยด
-ผิวดิน ใต้ดิน
-ประหยัดน้ำ
-ท่อส่งน้ำได้ไกล
-ให้ปุ๋ยไปกับน้ำได้
-ใช้กับพืชที่มีลักษณะการปลูกที่เป็นแถวชิด
-ใช้ความดันต่ำ 5-10 เมตร


หัวน้ำหยด
-บนผิวดิน
-ปักตามระยะที่เราต้องการ
-ปรับปริมาณน้ำได้
-ถอดเปลี่ยนได้
-อัตราการไหล 4-10 ลิตร/ชั่วโมง


ท่อน้ำหยด
-ท่อหนา และเทป
-เจาะรูน้ำหยดมาสำเร็จ
-มีหลายระยะให้เลือกใช้
-ระยะการวางท่อยาวโดยที่ปริมาณน้ำแตกต่างกันน้อยมาก
-สดวกไม่ยุ่งยาก


ระบบมินิสปริงเกลอร์แบบหัวเหวี่ยง
-อัตราการจ่ายน้ำ 35-200 ลิตร/ชั่วโมง
-เหมาะกับไม้ผล
-พืชผักที่ปลูกชิดติดกัน
-รัศมีการให้น้ำ 2 –5 เมตร
-ควรใช้ร่วมกับกรองน้ำเพื่อป้องกันการอุดตัน


ระบบการให้น้ำแบบสปริงเกลอร์
-มีอัตราการไหลมาก 200 ขึ้นไปอาจถึง 1000 ลิตร
-รัศมีการให้น้ำ 4 เมตร ขึ้นไป อาจถึง 60 เมตร
-ให้แบบฝนตก
-พืชไร่เช่นข้าวโพด ถั่ว สนามหญ้ากว้าง ๆ


ระบบสปริงเกลอร์ขนาดเล็ก
-รัศมี 8 เมตร
-อัตราการไหล 400 ลิตร/ชั่วโมง
-พื้นที่ 2 ไร่ ใช้ประมาณ 40 หัวจ่าย
-อัตราการให้น้ำประมาณ 5 มิลลิเมตร/ชั่วโมง


หัวมินิสปริงเกลอร์แบบปะทะ
-รัศมีให้น้ำแคบกว่าชนิดหัวเหวี่ยง
-การกระจายน้ำดี
-ทนทานเพราะไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว


ระบบสปริงเกลอร์ขนาดใหญ่


แบบเคลื่อนย้ายท่อเมื่อให้จนได้ปริมาณน้ำที่เพียงพอแล้วก็เคลื่อนย้ายท่อไปจนทั่วแปลง
-ได้พื้นที่มาก ๆ
-ใช้ต้นกำลังสูง
-ใช้งบประมาณมาก
-ระบบสปริงเกลอร์ขนาดใหญ่

[img width=650 height=523 ]http://gi108.photobucket.com/groups/n18/DJITTHKSRO/c93ed7f3.jpg[/img]
แบบเคลื่อนย้ายตัวเอง
-ใช้เครื่องจักรทั้งหมด
-ให้น้ำเป็นวงกลม
-สะดวกในการเคลื่อนย้าย
-ดึงหัวจ่ายน้ำกลับด้วยตัวเอง
-สูญเสียความดันมาก
-เคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ


ระบบน้ำในโรงเรือน
-ระบบน้ำหยด
-ระบบมินิสปริงเกลอร์
-ระบบบบพ่นฝอย
-ไม่ใช้ดิน

ดาวโหลดเอกสาร powerpoint เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบการให้น้ำ

ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=881.0