วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เกษตรทฤษฎีใหม่ เน้นปลูกอ้อยคั้นน้ำ

ไร่นาสวนผสม

เกษตรทฤษฎีใหม่ เน้นปลูกอ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50 มีรายได้ดี

การ ทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เกษตรกรมีอยู่ มีกินตามอัตถภาพคือ อาจจะไม่ร่ำรวยแต่ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข เป็นการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสานและยั่งยืน ยึดหลักบริหารจัดการที่ดินและน้ำให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด สามารถลดต้นทุนการประกอบอาชีพลงได้ เกษตรกรรู้จักการอดออม เป็นการทำเกษตรแบบพอเพียง มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้ตลอดปี ส่งผลให้ผู้ที่หันมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ล้วนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีอยู่มีกินกันทุกคนดังกรณีของ คุณพรรลี คำลือ บ้านน้ำจ้อย หมู่ 6 ตำบลเลิงใต้ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ที่เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ชั่วระยะเวลาเพียง 5 ปี ก็ลืมตาอ้าปากได้ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวอย่างไม่เดือดร้อน

คุณพรรลี เล่าถึงการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ว่า เดิมประกอบอาชีพขายของชำมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย แต่ในปี พ.ศ. 2540 ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำสุดขีด ธุรกิจครอบครัวได้รับผลกระทบหนักเพราะรายรับไม่พอกับรายจ่าย ขาดเงินทุนหมุนเวียนผลสุดท้ายก็ต้องปิดร้าน จากนั้นได้หารือกันภายในครอบครัวว่าจะประกอบอาชีพอะไรต่อไปดีจึงจะทำให้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ ขณะนั้นก็มีเจ้าหน้าที่เกษตรมาแนะนำให้เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนว พระราชดำริ เพราะลงทุนน้อยและเกษตรกรที่ร่วมโครงการล้วนประสบผลสำเร็จมีอยู่มีกินกันทุก คน คุณพรรลีจึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการเพราะครอบครัวมีที่นาอยู่ติดลำน้ำ ชี รวม 14 ไร่ ในปี พ.ศ. 2542 จึงใช้เงินไปประมาณ 40,000 บาท ปรับที่นาเป็นไร่นาสวนผสม แบ่งพื้นที่ 2 ไร่ ขุดเป็นบ่อเลี้ยงปลา ทำนา 1 ไร่ ปลูกพืชผักสวนครัว 1 ไร่ ปลูกพืชผักผลไม้ 9 ไร่ ที่อยู่อาศัย 1 ไร่ โดยทางสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม ได้ส่งเจ้าหน้าที่บัณฑิตอาสาที่มีความรู้ด้านการเกษตรเข้ามาคอยเป็นพี่ เลี้ยงให้คำแนะนำด้านวิชาการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์รวมทั้งการบริหารจัดการ เพราะเกษตรกรยุคใหม่ต้องมีความรู้ทางด้านการตลาดด้วย เมื่อผลิตออกมาแล้วเหลือบริโภคบางส่วนก็ต้องส่งออกจำหน่าย

"เงินลง ทุนช่วงแรก 6,000 บาท ซื้อพันธุ์ไม้มาลง โดยปลูกฝรั่งกลมสาลี 50 ต้น ปลูกมะละกอ 100 ต้น มะพร้าวน้ำหอม 50 ต้น ชมพู่ 30 ต้น มะกรูด มะนาว ฯลฯ ระยะเริ่มต้นของการทำสวนเน้นปลูกไม้ผลให้ร่มเงาสร้างความร่มรื่นภายในสวนให้ เป็นธรรมชาติก่อน จากนั้นก็ค่อยๆ ปลูกพืชอย่างอื่นเพิ่มเรื่อยๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนพืชผักสวนครัวพวกข่า ตะไคร้ พริก มะเขือ ฯลฯ ก็ปลูกไว้ตามริมทางเดินและริมขอบสระน้ำเป็นการใช้ที่ดินทุกตารางนิ้วให้เกิด ผลผลิต และยังเลี้ยงเป็ดและไก่พื้นเมืองไว้อย่างละ 100 ตัว ภายในสระน้ำเลี้ยงปลานิล 3,000 ตัว ส่วนระบบการให้น้ำพืชผักจะใช้สปริงเกลอร์และเครื่องสูบน้ำเข้าช่วย ช่วงบุกเบิกต้องใช้ความอดทนสูงมากเพราะภายในสวนยังไม่เข้าที่เข้าทาง" คุณพรรลี กล่าว

ช่วงครึ่งปีแรกผลผลิตภายในสวนยังมีให้เก็บเกี่ยว น้อย แต่คุณพรรลีและครอบครัวก็ดำรงชีพอยู่ได้อย่างสบาย เชื่อไหมว่าพืชผักสวนครัวพวก สะระแหน่ โหระพา ตะไคร้ ผักชี ผักคะน้า ฯลฯ เป็นตัวทำเงินเก็บขายตลาดมีรายได้ถึงวันละ 200-300 บาท อีกทั้งพวกเป็ด ไก่ ที่เลี้ยงไว้ประมาณ 4-5 เดือน ก็เริ่มโตจับมาบริโภคและขายสร้างรายได้ให้อีกหลายพันบาท จะเห็นว่าระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนของการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ก็เริ่มส่อเค้าไป ในทางที่ดี เนื่องเพราะทุกอย่างภายในสวนเกื้อกูลกันหมด และเมื่อเริ่มเข้าปีที่ 2-3 ภายในไร่นาคุณพรรลี ทุกอย่างเริ่มเข้าที่มากยิ่งขึ้น พืชผักผลไม้ที่ปลูกไว้เริ่มออกดอกออกผลเต็มสวน มองไปทางไหนก็มีแต่ความร่มรื่นอุดมสมบูรณ์ทุกอย่าง ช่วงนี้ คุณพรรลี เริ่มมีรายได้มากขึ้น เพราะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุกวันต่อเนื่องตลอดปี เมื่อทุกอย่างมีพร้อมหมดภายในสวนจึงแทบจะไม่ได้ใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำรงชีพ แต่อย่างใด ทำให้คุณพรรลี เริ่มมีเงินเก็บใช้หนี้ธนาคารและส่วนหนึ่งส่งเสียลูกเรียนหนังสือระดับ ปริญญาถึง 2 คน

คุณพรรลีเล่าถึงภารกิจที่ทำอยู่ในแต่ละวันว่า ตื่นเช้าขึ้นมาจะสูบน้ำรดพืชผักสวนครัว เก็บพืชผักและผลไม้ไว้ให้แม่ค้าที่สั่งไว้ และส่วนหนึ่งให้ภรรยานำไปขายเองที่ตลาด จากนั้นก็ให้อาหารปลา เป็ด ไก่ ทำเขตกรรมรดน้ำ พรวนดิน และขยายพันธุ์ต้นไม้ ทำไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก งานหลักช่วงปีที่ 2-3 แต่ละวันจะเป็นการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพราะทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวแปรเป็นเงินได้หมด จากรายได้วันละ 100-200 บาท ก็เริ่มมีรายได้มากขึ้นเรื่อยๆ ถึงวันละ 400-500 บาท

"ผลผลิต จากไร่นาที่ส่งขายทุกวันตนจะดูว่าพืชผักหรือผลไม้อะไรเป็นที่ต้องการของผู้ บริโภคมากก็จะหันมาปลูกเพิ่ม สนองความต้องการตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ แต่ที่ตลาดต้องการน้อยก็ปลูกไว้พอกินเพื่อจะได้ไม่ต้องใช้เงินซื้อหา"

การ ผลิตโดยดูทิศทางตลาดจึงเป็นเทคนิคเฉพาะตัวในการทำเกษตรของคุณพรรลี เพราะจากคำบอกเล่าทราบว่า ช่วงแรกๆ มีการปลูกพืชและไม้ผลหลายอย่าง เช่น กระท้อน ชมพู่ ฯลฯ ปลูกไว้รวมแล้วหลายไร่แต่ราคาไม่ค่อยดีจึงตัดทิ้ง เหลือไว้บริโภคอย่างละ 2-3 ต้น เท่านั้น กระทั่งปี พ.ศ. 2545 ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 4 ได้เข้ามาสนับสนุนให้ทดลองปลูกอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี 50 โดยสถานีทดลองพืชไร่มหาสารคาม สนับสนุนท่อนพันธุ์มา 1,000 ท่อน พร้อมส่งนักวิชาการมาให้คำแนะนำการปลูกแบบครบวงจรและยังให้เครื่องคั้นน้ำ อ้อยอีก 1 เครื่อง จึงทดลองปลูก 1 ไร่ ระยะเวลา 9 เดือนเศษ ก็เก็บเกี่ยวนำมาคั้นน้ำขาย ช่วงแรกๆ ทดลองขายให้กับพ่อค้าแม่ค้า และผู้สนใจที่มาแวะเยี่ยมที่สวน ปรากฏว่ารสชาติของอ้อยพันธุ์นี้หอมหวานถูกปากผู้บริโภคมาก ต่อมาก็เริ่มมีพ่อค้าแม่ค้ามาขอซื้อลำอ้อยไปคั้นน้ำขาย โดยคุณพรรลีตัดขายลำละ 5 บาท เชื่อหรือไม่ว่าในปีนั้นอ้อยเพียง 1 ไร่ สร้างรายได้ให้คุณพรรลีเกือบ 40,000 บาท เมื่อเห็นว่าอ้อยคั้นน้ำกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดและสร้างรายได้มากกว่า พืชผลประเภทอื่นๆ ในปี พ.ศ. 2546 คุณพรรลี จึงตัดสินใจขยายพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้นเป็น 5 ไร่ โดยเว้นระยะเวลาปลูกแต่ละไร่ห่างกัน 2 เดือน เพื่อให้อ้อยโตไล่เลี่ยกัน จะสลับเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี

ในปัจจุบันอ้อยคั้นน้ำในสวนคุณพรรลีจะมี พ่อค้ารถเร่ขาประจำนับสิบรายมาซื้อที่สวนทุกวัน โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนมีไม่พอขายเพราะอ้อยโตไม่ทัน และจากเดิมที่เคยขายลำละ 5 บาท ก็ขายกิโลกรัมละ 2 บาท ซึ่งจะได้ราคาดีกว่า เฉลี่ยลำละ 6-7 บาท คุณพรรลีบอกว่า ปัจจุบันยอดขายอ้อยแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 300 กิโลกรัม มีรายได้วันละกว่าพันบาท ช่วงนี้คุณพรรลียอมรับว่า งานค่อนข้างหนักเพราะตัวคนเดียว ต้องตัดอ้อยวันละหลายร้อยกิโลกรัม ส่วนภรรยาก็รับหน้าที่นำผลผลิตพืชผักตัวอื่นๆ ส่งตลาด บรรดาลูกๆ ก็ติดภาระเรียนหนังสือ แต่คุณพรรลีก็บอกว่าไม่ท้อเพราะผลตอบแทนที่ได้ในแต่ละวันคือเงินสดๆ ทำให้หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง สามารถเลี้ยงครอบครัวและส่งลูกเรียนได้อย่างสบาย คุณพรรลีบอกว่า ทุกวันนี้มีความปลอดโปร่งใจเป็นที่สุดเพราะหนี้สินไม่มี

วิธี การปลูกอ้อย
คุณ พรรลีเล่าถึงขั้นตอนการปลูกอ้อยคั้นน้ำว่า เกษตรกรที่อยากปลูกอ้อยคั้นน้ำเพื่อเป็นรายได้เสริมหรือเป็นรายได้หลักให้ กับสวนทำได้ง่ายๆ เพราะอ้อยพันธุ์นี้ดูแลไม่ยาก ลงทุนน้อย เฉลี่ยต้นทุนต่อไร่ไม่เกิน 4,000 บาท แต่สามารถตัดลำขายได้เกือบไร่ละ 40,000 บาท และปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้ถึง 4 รุ่น การปลูกจะใช้วิธีการไถยกร่องให้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 อัตรา 80 กิโลกรัม ต่อไร่ การนำท่อนพันธุ์ลงปลูกควรให้มีระยะห่างของแต่ละต้นประมาณ 50 เซนติเมตร ราคาท่อนพันธุ์ที่ขายท่อนละ 3 บาท ติดต่อสอบถามสถานีพืชไร่แต่ละจังหวัดได้ สำหรับตนเองได้รับการสนับสนุนให้มาฟรีเมื่ออ้อยมีอายุได้ 1 เดือน ก็ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อีกครั้ง และเมื่อครบ 40 วัน ก็ใส่ปุ๋ยสูตรเดิมอีกพร้อมกับใช้จอบเกลี่ยกลบร่อง ในระยะเวลา 9 เดือน ถึงวันเก็บเกี่ยวให้ปุ๋ย 3 ครั้ง ส่วนปุ๋ยชีวภาพให้ได้ตลอดปี เคล็ดลับการบำรุงรักษาให้ได้อ้อยลำอวบ รสชาติหอมหวานไม่กลายพันธุ์ง่ายคือ น้ำอย่าให้ขาดต้องให้พื้นดินชุ่มน้ำตลอดจนถึงวันเก็บเกี่ยว ข้อควรระวังคือศัตรูของอ้อยที่มักสร้างความเสียหายให้มากคือ หนูพุก คุณพรรลีจะใช้วิธีการวางกับดัก เพราะนำมาประกอบอาหารได้ ส่วนพวกหนอนกอจะใช้สารสกัดสมุนไพรไล่ก็แก้ปัญหาได้ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง แต่ช่วงฤดูฝนลำอ้อยมักล้มเพราะโดนลมโดนฝนก็แก้ปัญหาโดยใช้ไม้ตีขนาบสองข้าง ยาวตลอดแปลง การทำเขตกรรมทำครั้งเดียวก็พอ และภายหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นแรกแล้ว อย่าใช้วิธีการเผาตออย่างเด็ดขาดเพราะจะทำให้ธาตุอาหารในดินเสื่อม ปล่อยให้กาบอ้อย ใบอ้อย คลุมหญ้าในแปลงไว้เพื่อเก็บความชุ่มชื้นในดินและเป็นปุ๋ยธรรมชาติ จากนั้นก็หว่านปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่โคนต้นอัตราเดิมอีกไม่กี่วันอ้อยก็จะแตกใบออกมา จากนั้นก็สูบน้ำใส่ในร่องแปลงทุกวันให้ต้นหญ้าและกาบใบอ้อยเน่าก็จะกลายเป็น ปุ๋ยชั้นดีให้กับอ้อย ขั้นตอนบำรุงรักษาก็เหมือนกับการปลูกรุ่นแรก พออายุได้ 9 เดือน ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้อีก

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของ คุณพรรลี เป็นแบบอย่างของคนสู้ชีวิตที่ไม่ยอมหยุดนิ่ง รู้จักคิดและปรับปรุงแก้ไขการทำสวนอยู่ตลอดเวลาจนประสบความสำเร็จ ปัจจุบันสวนของคุณพรรลีจะมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานอยู่ตลอดปี หากผู้สนใจอยากแวะเยี่ยมก็ให้ใช้เส้นทางมหาสารคาม-อำเภอโกสุมพิสัย เลี้ยวขวาเมื่อถึงทางแยกเข้าบ้านบ่อน้อย ข้ามลำชี แล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึง มีป้ายบอกไว้ชัดเจน คุณพรรลีบอก ยินดีต้อนรับทุกท่านที่มาเยือน

ไปเจอบทความของคุณ คนดงคนเดิม ในพันทิพขอเรียนอนุญาติเอามาเผยแพร่เป็นความรู้แก่สมาชิคนะคับ

อ้อยคั้นน้ำ ...พืชทำเงินที่หลายคนมองข้าม

อ้อย เมื่อพูดถึงอ้อย ทำให้นึกถึงอ้อยโรงงานที่ผลิตน้ำตาล แต่ก็มีอ้อยหลายสายพันธุ์ที่เป็นอ้อยเพื่อการคั้นน้ำหรืออ้อยเคี้ยว เช่น อ้อยพันธุ์สิงคโปร์
เมอริชาร์ท สุพรรณบุรี 50 สุพรรณบุรี 72 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เปลือกและเนื้อนิ่ม เคี้ยวง่าย ให้ปริมาณน้ำอ้อยต่อลำสูง รสชาติอร่อย หอมหวาน
เกษตรกรนิยมปลูกกันมากขึ้น ตลาดผู้บริโภคน้ำอ้อยสดก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน ...
ผลตอบแทนต่อ ไร่สูง
อ้อยที่ปลูกเพื่อคั้นเอาน้ำมาดื่มสด ๆ หากแช่เย็นหรือใส่น้ำแข็ง ก็จะได้รสชาติที่อร่อย หอม หวาน ดื่มในขณะอากาศร้อน ก็จะดับร้อนผ่อนกระหายได้ดี หรือที่เรียกอ้อยประเภทนี้ว่า "อ้อยคั้นน้ำ"
ผู้ปลูกอ้อยคั้นน้ำ กล่าวว่า เกษตรกรปลูกอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สิงคโปร์ และพันธุ์เมอริชาร์ท ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้
1,060 กอ โดยใช้ระยะปลูก 1.50 x 1 เมตร หลังปลูก 8 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวได้ เฉลี่ยกอละจำนวน 5 – 6 ลำ จะได้อ้อยอย่างน้อย 5,000 ลำต่อไร่
" ใน 1 ไร่ จะได้อ้อยขั้นต่ำ 5,000 ลำ ขายในพื้นที่ ราคาลำละ 10 บาท เกษตรกรจะมีรายได้เฉลี่ย 50,000 บาทต่อไร่ หรือคั้นน้ำอ้อยบรรจุขวดขาย
อ้อย 1 ลำ คั้นน้ำอ้อยได้ 3 – 4 ขวด (ขวด ขนาด 350 ซีซี) ขายขวดละ 10 บาท เท่ากับ 30 – 40 บาทต่อลำ ใน 1 ไร่ จะทำให้มีรายได้ประมาณ 150,000 –
200,000 บาท นอกจากนี้ ยังขายเป็นอ้อยควั่น อ้อย 1 ลำ ขายเป็นอ้อยควั่นได้ 5 – 6 ถุง ๆ ละ 10 บาท นับว่าเป็นรายได้เสริมจากการทำสวนยางพารา
สวนปาล์มน้ำมัน ได้ดีเลยทีเดียว"


นาย พงษ์ศักดิ์ พาคำ อายุ 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 40/2 บ้านหนองแวง ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ที่อดีตปลูกอ้อยโรงงาน มีรายได้ไร่ละ 5,000 - 6,000 บาท แต่ต่อมาหันมาปลูกอ้อยคั้นน้ำขาย มีรายได้สูงถึงละ 80,000 บาท

นาย พงษ์ศักดิ์ ได้ปลูกอ้อยคั้นน้ำตั้งแต่ปี 2541 เริ่มจาก 1 งาน และขยายพื้นที่ปลูกทุกปี ปัจจุบันปลูก 15 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 10 ตัน /ไร่ ขายผลผลิตได้ 2 ลักษณะ คือ "ขายลำ" ก.ก. ละ 2 บาท อ้อยลำหนึ่ง ได้น้ำหนัก 4 ก.ก. (ลำละ 4 บาท) มีรายได้ไร่ละ 20,000 บาท อีกลักษณะหนึ่งคือ "คั้นน้ำขาย" โดยใช้เครื่องคั้นน้ำติดรถมอเตอร์ไซด์พ่วงไปขายตามที่ต่าง ๆ ทำให้มีรายได้สูงถึงไร่ละ 80,000 บาท

ซึ่งอ้อยคั้นน้ำ นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับเกษตรกร (ไม่ใช่ว่าจะแนะนำให้ปลูกอ้อยคั้นน้ำแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรทำการเกษตรหลาย ๆ อย่าง จะเป็นการลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ และลดความเสี่ยงด้านการตลาดและราคาด้วย)

ลักษณะทั่วไป

อ้อยคั้นน้ำเป็นพืชที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมน้ำอ้อยพร้อมดื่มมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศ สภาพพื้นที่เป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วมขัง การคมนาคมสะดวก ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ ควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว ร่วนปนทรายหรือดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลางขึ้นไป ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5 – 7.0 และสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 30 – 35 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000-1,200 มิลลิเมตรต่อปี และมีแหล่งน้ำเพียงพอ

พันธุ์ที่นิยมปลูก มี 2 พันธุ์

- สุพรรณบุรี 50 ใบสีเขียวเข้ม ลำมีขนาดใหญ่สีเขียวอมเหลือง ปล้องยาวเป็นรูปทรงกระบอก แตกกอ 5-6 ลำต่อกอ ไว้ตอได้ 3-4 ครั้ง ทนทานต่อโรคลำต้นเน่าแดง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8 เดือน ผลผลิตน้ำอ้อย 4,600-5,200 ลิตรต่อไร่ ความหวาน 15-17 องศาบริกซ์ เหมาะสำหรับปลูกทั้งในสภาพ
ที่ดอนและที่ลุ่ม

- สิงคโปร์ เป็นพันธุ์ที่เกษตรกร อำเภอลาดบัวหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นิยมปลูกในอดีต ในสีเขียวอ่อน ลำมีขนาดใหญ่สีเหลืองเข้ม ปล้องสั้นเป็นรูปข้ามต้มหรือป่องกลาง แตกกอ 3-4 ลำต่อกอ ไว้ตอไม่ได้ อ่อนแอต่อโรคลำค้นเน่าแดง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8 เดือน ผลผลิตน้ำอ้อย 2,100-2,800 ลิตรต่อไร่ ความหวาน 13-15 องศาบริกซ์ เหมาะสำหรับปลูกในสภาพที่ลุ่ม

การเตรียมดิน
- ในสภาพที่ลุ่ม ต้องขุดเป็นรองหรือยกร่อง โดยมีสันร่องกว้าง 5-6 เมตร ความยาวร่องตามขนาดพื้นที่ และให้มีคูน้ำรอบแปลงลึกประมาณ 1 เมตร ในสภาพที่ดอน เป็นการปลูกในพื้นที่ราบจึงควรมีการปรับระดับพื้นที่ให้มีความลาดเอียง ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์
- ถ้าดินมีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ควรหว่านปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้วอัตรา 1,000-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบ
- ไถด้วยผาลสาม 1 ครั้ง ลึก 30-50 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน พรวนด้วยผาลเจ็ด 1-2 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหล ของวัชพืชข้ามปี ออกจากแปลง
- ในสภาพที่ลุ่ม ให้ทำร่องปลูกตามแนวขวางบนสันร่อง ระยะระหว่างร่อง 0.75-1.0 เมตร ในสภาพที่ดอน ระยะระหว่างร่อง

การเตรียมท่อนพันธุ์
จำเป็นต้องเตรียมท่อนพันธุ์ สำหรับใช้ในแปลงพันธุ์และแปลงปลูก โดยมีขั้นตอน ดังนี้
- ใช้ท่อนพันธุ์อายุ 6-8 เดือน จากแหล่งและแปลงที่ไม่มีโรคลำต้นเน่าแดงระบาด หรือจัดทำแปลงพันธุ์ไว้ใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยเตรียมแปลงพันธุ์ 1 ไร่ สำหรับแปลงปลูก 10 ไร่
- ใช้มีตัดลำอ้อยชิดโคน และตัดยอดอ้อยต่ำกว่าคอใบสุดท้ายที่คลี่แล้วประมาณ 20 เซนติเมตร ลอกกาบใบตัดอ้อยเป็นท่อน จำนวน 3 ตาต่อท่อน แล้วนำไปปลูกทันที ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 7 วัน
- ตรวจแปลงพันธุ์อย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบการระบาดของโรคลำต้นเน่าแดง ต้องขุดกออ้อยออก เผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที

วิธีการปลูก
- ปลูกเป็นแถวเดี่ยวทั้งในแปลงพันธุ์และแปลงปลูก
- วางท่อนพันธุ์ในร่อง ให้มีระยะระหว่างท่อน 50 เซนติเมตร
- กลบดินให้สม่ำเสมอ หนา 3-5 เซนติเมตร สำหรับพันธุ์สุพรรณบุรี 50 และหนา 1-2 เซนติเมตร สำหรับพันธุ์สิงคโปร์

การให้ปุ๋ย
- ให้ปุ๋ยเคมีหลังปลูก หรือหลังแต่งตออ้อย 2 ครั้ง
ดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือ ดินเหนียว ให้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 ครั้งแรกเมื่ออายุ 1 เดือน อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 3 เดือน อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่
ดินร่วนปนทราย ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ครั้งแรกพร้อมปลูก อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 3 เดือน อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
- ในอ้อยปลูก ให้ปุ๋ยแบบโรยเป็นแถวข้างกออ้อยแล้วพรวนกลบ ในอ้อยตอ ให้ฝังกลบปุ๋ยห่างจากกออ้อย 10-15 เซนติเมตร

การให้น้ำ
- ให้น้ำทันทีหลังปลูก เพื่อให้อ้อยงอกสม่ำเสมอ หลังจากนั้นให้น้ำทุก 2-3 สัปดาห์
ในสภาพที่ลุ่ม ให้น้ำโดยการตักน้ำสาดหรือใช้เครื่องสูบน้ำวางลงในเรือขนาดเล็ก สูบน้ำจากร่อง
ในสภาพที่ดอน ให้น้ำประมาณครึ่งร่อง โดยไม่ต้องระบายน้ำออก
- งดให้น้ำ 2 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว ถ้าในช่วงเก็บเกี่ยวมีฝนตกหนัก ต้องระบายน้ำออกจากร่องทันทีให้เหลือไม่เกินครึ่งร่อง

ระยะเก็บ เกี่ยวที่เหมาะสม
- เก็บเกี่ยวอ้อยที่อายุประมาณ 8 เดือน
- น้ำอ้อยมีความหวาน 13-17 องศาบริกซ์
- ลำอ้อยมีความยาวไม่น้อยกว่า 2 เมตร
- ควรเก็บเกี่ยวในช่วงเข้าหรือเย็น ขณะที่อากาศไม่ร้อนจัด

วิธีการเก็บเกี่ยว
- ตัดเฉพาะลำอ้อยที่มีอายุ 8 เดือน สังเกตได้คือ พันธุ์สุพรรณบุรี 50 จะมีลำสีเขียวอมเหลือง สำหรับพันธุ์สิงคโปร์ จะมีสีเหลืองเข้ม
- ใช้มีดถากใบและกาบออกทั้งสองด้าน อย่าให้เปลือกหรือลำเสียหาย ตัดลำอ้อยชิดดิน แล้วตัดยอดอ้อยต่ำกว่าจุดคอใบประมาณ 25 เซนติเมตร วางบนแคร่หรือพื้นที่สะอาด ห้ามวางบนพื้นดิน ใช้ยอดอ้อยหรือเชือก ฟางมัดโคนและปลายลำอ้อย มัดละ 10 ลำ แล้วใส่รถบรรทุกนำส่ง
ให้ลูกค้า ทันที หรือนำไปไว้ในที่ร่มเพื่อเตรียมจัดส่ง

การปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
- ลำอ้อยที่ตัดแล้วควรนำไปส่งขายทันที
- ถ้ายังไม่นำไปคั้นน้ำ สามารถเก็บลำอ้อยไว้ในที่ร่ม ที่มีการถ่ายเทอากาศดี ได้นาน ประมาณ 7 วัน โดยคุณภาพน้ำอ้อย คือ สีและความหวานไม่เปลี่ยนแปลง
- สถานที่เก็บลำอ้อยต้องสะอาด ห่างไกลจากสัตว์ มูลสัตว์ ปุ๋ยเคมี และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
- รถบรรทุกอ้อยต้องสะอาด และเหมาะสมกับปริมาณอ้อย ไม่ควรเป็นรถที่ใช้บรรทุกดิน สัตว์ มูลสัตว์ ปุ๋ยเคมี และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพราะอาจมีการปนเปื้อน ยกเว้น จะมีการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม ก่อนนำมาบรรทุกอ้อยคั้นน้ำ
- การขนอ้อยขึ้นรถ ควรมีคนรับอ้อยบนรถ ห้ามโยน เพราะจะทำลำอ้อยช้ำ คุณภาพน้ำอ้อยเสีย
- ควรจัดส่งอ้อยในช่วงเช้าหรือเย็น เพราะถ้าอ้อยได้รับความร้อนสูงเกินไป จะมีผลเสียต่อคุณภาพน้ำอ้อย

">

http://ranong.doae.go.th/ooykannam.htm

http://www.youtube.com/watch?v=s5nCM5vGOv8&feature=player_embedded

ที่ มา http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2008/03/J6405185/J6405185.html


ผมดูวีดีโอแล้วเห็นชานอ้อยที่เขาคั้นน้ำแล้ว กากชานอ้อยที่เหลือนี่เอาไปทำประโยชน์ได้หลายอย่างเลยครับ
ลองดูวีดีโอ ที่เขาเอากากชานอ้อยมาเป็นวัสดุทำปุ๋ยหมัก คนหนึ่งคน จอบเล่มเดียวทำปุ๋ยหมักได้ 3 ตันต่อวันสะบายๆเลย
http://www.youtube.com/watch?v=LcxjfchUVHo
หรือ จะเอาไปทำพลังงานชีวมวลก็ได้ครับเอาไปทำอาหารสัตว์ก็ดี
พลังงานจากชีวมวล เลยครับ
ชานอ้อยอัดเม็ด(Sugarcane Bagasse Pellets) สำหรับเชื้อเพลิงชีวมวล(Biomass) และอาหารสัตว์(Animal Feed)

การนำ ไปใช้:

# ใช้แทนเชื้อเพลิงชีวมวลต่างๆ สำหรับโรงไฟฟ้าและโรงงานที่ใช้ Boiler
- ให้ค่าความร้อนสูง (มากกว่า 4,500 Kcl.)
- ค่าความเป็นเถ้า(Ash) ต่ำ
- ความชื้น(Moisture) ไม่เกิน 12 %
- สะดวกในการจัดเก็บ การจัดทำ Stock คำนวณปริมาณการนำไปใช้..ทำได้ง่าย
- ลดค่าใช้จ่ายจากแรงงานทางตรง การนำไปใช้มีความสูญเสียต่ำ

# ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น โค กระบือ ช้าง ม้า แพะ แกะ สุนัข
- ใช้แทนอาหารหยาบ คุณภาพสูง (โปรทีน 4% ) สัตว์เลี้ยงชอบเพราะชานอ้อยมี
วามหอมของกากน้ำตาล (Molasses)
- สามารถกำหนดปริมาณโปรทีนได้ว่าต้องการกี่ % (กรณีต้องการสูตรอาหารข้นที่มีโปรทีนสูง)
- ทดแทนอาหารหยาบที่ขาดแคลนในหน้าแล้ง
- แก้ปัญหาสัตว์เลี้ยงที่ไม่มีพื้นที่สำหรับปล่อยให้ออกไปกินหญ้า
- ช่วยให้สามารถเลี้ยงสัตว์ในเชิงอุตสาหกรรมทำได้ง่าย เลี้ยงสัตว์ระบบปิดป้องกันโรคระบาด
- ใช้อบรมควันอาหารทุกชนิด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า
- ใช้ปกคลุมหน้าดินเพื่อควาบคุมความชื้นและสภาวะอากาศเหนือผิวดิน(ในประเทศที่ มีหิมะตก)
- ใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ต่างๆ ได้ เพราะมีใยอาหารสูง มีความหอมของกากน้ำตาล(Molasses)

ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=10322.0

วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ภาพล้อเลียนเทคโนโลยี ตัดต่อ ดัดแปลงพันธุกรรม (GMO)



ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านการตัดต่อถ่าย โอนพันธุกรรมได้ก้าวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ได้มีการรังสรรค์พืชและสัตว์ที่มีเอกลักษณ์และศักยภาพเฉพาะตัวใหม่ๆขึ้น โดยเฉพาะในพืชนั้นมีตัวอย่างให้เห็นเพิ่มขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ภายนอก หรือความสามารถภายใน ในอันที่มีความต้านทานต่อโรค-แมลง หรือตัวยาสารเคมีจำเพาะอย่างยาฆ่าหญ้าชนิดหนึ่งได้ การสร้างสรรค์เหล่านี้ต่างก็มุ่งแสวงหาเล็งเอาผลประโยชน์ที่เกิดมีต่อมนุษย์ เป็นที่ตั้ง ทั้งทางด้านวิชาการและเศรษฐกิจ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ใช่ว่าจะมีผู้เห็นด้วยทุกผู้ทุกนามก็หาไม่ มีคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยม ไม่ยินดีต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์เราเอง หากแต่อยากให้เป็นไปตามธรรมชาติ หรือตามลิขิตแห่งพระเจ้าเสียมากกว่า สาเหตุก็มีมากหลากหลายที่แตกต่างกันไป บ้างก็ว่าเป็นการฝ่าฝืนธรรมชาติ รุกล้ำท้าทายอำนาจก้าวก่ายหน้าที่ของพระผู้เป็นเจ้า หรือไม่ก็หวั่นกลัวถึงผลร้ายผลเสียที่จะเกิดมีขึ้นต่อสุขภาพและความปลอดภัย ในชีวิตตลอดจนผลกระทบที่มีต่อสภาพแวดล้อม-ห่วงโซ่อาหารในธรรมชาติ เกิดการโต้แย้งกันขึ้นระหว่างผู้คน 2 กลุ่มที่ เห็นด้วย กับ ไม่เห็นด้วย อย่างชัดเจน ฝ่ายที่ต่อต้านไม่เห็นด้วยที่เป็นองค์กรที่ค่อนข้างใหญ่โตและมีอิทธิพลเสียง ดังฟังชัดก็คือ กลุ่มที่เรียกว่า สันติภาพเขียว (Green Peace - กรีนพีซ) และประเทศแถบยุโรปเกือบทั้งหมด ที่ได้ออกมาชักชวนผู้คนให้ต่อต้านต่อเทคโนโลยีนี้ชนิดหัวชนฝา จึงเกิดมีรูปภาพของพืชและสัตว์ GMO ขึ้นมาล้อเลียนเทคโนโลยีนี้มาให้ตื่นเต้นคลายเครียดกัน บรรดารูปภาพล้อเลียนที่หยิบยกมาให้ดูนี้ยังคงเป็นไปไม่ได้ แต่ทว่า ในอนาคตแล้วเป็นเรื่องที่คาดคิดไม่ถึงจริงๆ


















ที่มา http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=435364&Ntype=2

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ข้อกำหนด GAP










ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความหมายของคำนี้ว่า “เกษตรดีที่เหมาะสม” โดยมีความหมายว่า เป็นแนวทางในการทำเกษตรกรรม เพื่อให้ได้....

ผลผลิตที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด
ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด
ให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุน
กระบวนการผลิตปลอดภัยต่อเกษตรกร
ผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สามารถตรวจสอบและสอบทวนได้
ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งมีชีวิตอื่นและสภาพแวดล้อม
เกิดความยั่งยืนทางเกษตร





หลักการ

GAP
เป็นระบบการจัดการคุณภาพด้านการผลิตทางการเกษตร ซึ่งใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีความปลอดภัย ปราศจากการปนเปื้อนจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช จุลินทรีย์ก่อโรค และโดยดำเนินการผลิตอย่างเป็นระบบ มีการจัดการที่ดี ถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงสุขภาพของผู้ปลูก ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม


เกษตรกรใช้สารเคมีอย่าง เหมาะสม
/เท่าที่จำเป็น สุขอนามัยในการผลิตพืช
จดบันทึกการทำงาน
ที่ปรึกษาเกษตรกร ให้คำปรึกษาด้าน
โรคพืชและแมลงศัตรูพืช
การประเมินความเสี่ยงในแปลงปลูก
ตรวจติดตามวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง
Pocking House
การจัดการสุขลักษณะและสุขอนามัย






ทำไมต้องผลิตพืชตามระบบ GAP ?
เกณฑ์การพิจารณาและวิธี ปฏิบัติเพื่อเข้าสู่ระบบ GAP
ประโยชน์ของ GAP
การวิเคราะห์ความเสี่ยงและ การป้องกัน
การป้องกันความเสี่ยงทำได้ อย่างไร?
ข้อกำหนด GAP





ทำไมต้องผลิตพืชตามระบบ GAP ?

เนื่องจากระบบการผลิตในปัจจุบันยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ผลิต (เกษตรกร) ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม และยังไม่มีมาตรการหรือกลไกที่เหมาะสมในการป้องกันอันตรายอันเกิดจากผักและ ผลไม้สดปนเปื้อนสารพิษตกค้างอันเกิดจากการใช้สารเคมีประเภทต่างๆ และการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ก่อโรคในคน ดังนั้นทุกภาคส่วนของการผลิตจึงต้องร่วมมือกันรณรงค์ให้เกิดการผลิตที่ถูก ต้องอย่างจริงจัง และมีมาตรการการควบคุมที่เข้มแข็ง

เพิ่มคุณค่าและคุณภาพของผลผลิต อันส่งผลถึงภาพรวมของคุณภาพผลผลิตการเกษตรในระดับประเทศ





เกณฑ์การพิจารณาและวิธีปฏิบัติเพื่อ เข้าสู่ระบบ GAP

1. ระบบการผลิตที่ต้องมีเอกสารบันทึกที่สามารถตรวจสอบติดตามได้
2. มีการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารพิษในผลผลิต อันอาจเกิดจากการใช้ สารเคมีควบคุมศัตรูพืช (สารป้องกันกำจัดโรคพืช แมลง และวัชพืช)
3. มีการตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในคน
4. มีการตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และสภาพแวดล้อม


ทั้งนี้การตัดสินใจตรวจวิเคราะห์ในข้อใดข้อหนึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ผู้ตรวจสอบรับรอง




ประโยชน์ของ GAP

ผลผลิตพืชมีคุณภาพดี ไม่มีการปนเปื้อนจากสิ่งต้องห้ามทุกชนิด ผู้ผลิต (เกษตรกร) และผู้บริโภคปลอดภัย
ลดการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืชลง ให้ใช้เท่าที่จำเป็น
เน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
สร้างจิตสำนึกของเกษตรกรผู้ผลิต / ผู้ค้าปัจจัยการผลิต และผู้บริโภค
เพิ่มมูลค่าผลผลิต




การวิเคราะห์ความเสี่ยงและการป้องกัน

ความเสี่ยง (Risk) หมายถึงโอกาสที่เกิดความสูญเสียอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะนำความเสียหายมาสู่ ระบบการผลิตแบบ GAP
ความเสี่ยงในระบบการผลิต ประกอบด้วย


- การปนเปื้อนของสารเคมีต้องห้ามและสารควบคุมศัตรูพืช
- การปนเปื้อนของเชื้อโรคคน
- การปนเปื้อนของธาตุโลหะหนัก จากดิน น้ำ สารคลุกเมล็ด ฯลฯ
- การปนเปื้อนระหว่างการเก็บเกี่ยวและการจัดการผลิตภัณฑ์
แหล่งกำเนิดของการปน เปื้อน

1. การปนเปื้อนจุลินทรีย์ก่อโรคในคนอาจติดมาจาก
ดิน น้ำชลประทานที่ใช้เพาะปลูก มูลสัตว์สด หรือมูลสัตว์แห้ง การใช้ปุ๋ยหมักที่หมักไม่สมบูรณ์ สัตว์เลี้ยงที่ปล่อยในแปลงปลูก หรือไม่ได้เลี้ยงในคอก มือไม่สะอาดขณะที่สัมผัสกับผลผลิตโดยตรง เครื่องมือ อุปกรณ์ในการเก็บเกี่ยว น้ำล้างผลผลิต ภาชนะบรรจุ น้ำแข็ง การขนส่ง

2. การปนเปื้อนสารเคมีอันตราย
ดิน น้ำ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช การทิ้งภาชนะบรรจุเคมีภัณฑ์ในร่องสวนหรือแปลงปลูก แปลงปลูกพืชข้างเคียงที่มีการใช้สารเคมี




การป้องกันความเสี่ยงทำได้อย่างไร?

อบรมเกษตรกร และพนักงานที่เกี่ยวข้องทุกขั้นตอน ให้ทราบถึงความเสี่ยง และวิธีการป้องกัน
ลดความเสี่ยงทุกประเภทในระบบการผลิตในฟาร์มตั้งแต่ก่อนปลูกพืช เช่น เลือกพื้นที่ปลูก
เลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นอันตรายน้อยที่สุด (ปุ๋ย สารเคมีควบคุมศัตรูพืช ฯลฯ)
ควบคุมความสะอาดของโรงงานแปรรูป เจ้าหน้าที่โรงงานแปรรูป วิธีการบรรจุ และยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง
ตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงจากผลผลิต วิธีการผลิต และผู้ปฏิบัติงานเป็นระยะๆ


ที่มา http://www.gapcluster.com/menu2.htm

ข้อมูล Gap