วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้อดี-ข้อเสีย ของการปลูกพืชในระบบไฮโดรโปรนิกส์

http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/2616_1.jpg

ข้อดีของการปลูกพืชในระบบไฮโดรโปรนิกส์ :

1. สามารถปลูกพืชได้ต่อเนื่องตลอดปี เมื่อเก็บผลผลิตผักแล้วสามารถปลูกพืชผักรุ่นต่อไปได้ทันที เนื่องจากไม่ได้ปลูกพืชลงดินจึงไม่ต้องทิ้งระยะเวลาเพื่อทำการพักดิน ตากดิน กำจัดวัชพืช และเตรียมแปลงปลูกใหม่ การปลูกพืชในดินต่อเนื่องเป็นเวลานานยังทำให้เกิดปัญหาดินเสื่อมสภาพ แต่การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์สามารถปลูกพืชต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องกลัวปัญหานี้ เนื่องจากแหล่งอาหารของพืชไม่ได้มาจากดิน แต่มาจากธาตุอาหารต่างๆ ที่ให้ทางสารละลายธาตุอาหาร นอกจากนั้นการปลูกพืชด้วยเทคนิคนี้ไม่ขึ้นกับฤดูกาล เพราะมีการควบคุมสภาพแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปลูกได้ต่อเนื่องตลอดปี

2. สามารถปลูกพืชได้แม้ในที่ที่ไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกพืช การอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองซึ่งที่ดินมีราคาแพง ผู้อยู่อาศัยในที่ที่มีพื้นที่จำกัด เช่น ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ อาคารชุด และหอพัก ไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกพืช สามารถปลูกพืชผักสวนครัว สมุนไพร หรือไม้ดอกไม้ประดับ ได้โดยใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์ขนาดเล็กวางบริเวณพื้นที่ว่างที่มีอยู่เล็กน้อย เช่น ริมหน้าต่าง ทางเดิน ดาดฟ้า พื้นที่เล็กๆ หลังบ้าน

3. สามารถปลูกพืชในที่ที่ดินไม่เหมาะสม ในบางพื้นที่มีพื้นที่อยู่มากมาย แต่ใช้ทำการเพาะปลูกพืชไม่ได้ เนื่องจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินทะเลทราย พื้นที่ที่เป็นหิน พื้นที่ภูเขา ดินเค็ม ดินกรด ดินด่าง พื้นที่อยู่ในเขตแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำชลประทาน การแก้ปัญหาเหล่านี้ทำได้ยาก ต้องใช้เวลานาน และใช้งบประมาณมาก สามารถใช้พื้นที่ที่มีอยู่ปลูกพืชได้ด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ เพราะนอกจากไม่ต้องใช้ดินเป็นแหล่งอาหารสำหรับพืชแล้ว ยังเป็นวิธีที่ใช้น้ำน้อยและใช้อย่างมีประสิทธิภาพ พืชไม่มีปัญหาขาดน้ำ ไม่มีการสูญเสียน้ำจากการซึมลึก การไหลทิ้ง หรือการแย่งน้ำจากวัชพืช ไม่มีปัญหาการให้น้ำมากเกินไป

4. พืชเจริญเติบโตได้เร็วและให้ผลผลิตสูง การปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิม ไม่สามารถกำหนดปริมาณธาตุอาหารให้พอดีกับความต้องการของพืชได้ นอกจากนั้นยังมีการสูญเสียธาตุอาหารจากกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในดินและในอากาศ ตลอดจนการแย่งธาตุอาหารจากวัชพืช แต่การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ สามารถควบคุมปริมาณสารอาหารได้ดีกว่าการปลูกในดิน สามารถกำหนดปริมาณธาตุอาหารให้ตรงกับความต้องการของพืช พืชได้รับสารอาหารในรูปอนินทรีย์โดยตรง ทำให้การใช้ปุ๋ยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังไม่มีปัญหาการแย่งธาตุอาหารโดยวัชพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตเร็วและได้ผลผลิตสูง ในอีกแง่หนึ่ง ถ้าคำนึงถึงผลผลิตต่อปี ผลผลิตจากการผลิตด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ก็จะสูงกว่าการปลูกด้วยวิธีดั้งเดิม เนื่องจากการเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นและปลูกต่อเนื่องได้ตลอดปีไม่ขึ้นกับฤดูกาล ทำให้สามารถปลูกพืชได้มากครั้งกว่าในเวลาเท่ากัน

5. ผลผลิตมีความสม่ำเสมอ สะอาดและคุณภาพดี เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารตามที่พืชต้องการตลอดจนควบคุมปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมได้ทั่วถึง ทำให้ได้ผลผลิตที่มีความสม่ำเสมอ มีรูปร่าง สี ขนาด ใกล้เคียงกัน ผลผลิตไม่ได้สัมผัสกับดิน จึงสะอาดและดูน่ารับประทาน การปลูกพืชวิธีนี้จึงเป็นวิธีที่เหมาะที่จะผลิตพืชผักที่ต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพและความสม่ำเสมอ เช่น ผักส่งออก ผักทดแทนการนำเข้า และผักส่งขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต

6. ใช้แรงงานน้อยลง การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์จะใช้แรงงานน้อยกว่าการปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิม เนื่องมาจากไม่ต้องมีการเตรียมดิน ไม่ต้องทำการเขตกรรม เช่น ให้น้ำ ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช มีศัตรูพืชน้อยกว่า จึงใช้แรงงานในการกำจัดน้อยกว่า การเพาะเมล็ด การย้ายปลูก การเตรียมแปลงปลูก และการเก็บเกี่ยว ทำได้ง่ายกว่า จึงใช้แรงงานน้อยกว่า

7. ลดการใช้สารเคมี เนื่องจากมีการควบคุมสภาพแวดล้อม ควบคุมศัตรูพืชได้ง่าย เพราะการไม่ใช้ดินในการปลูกพืช ทำให้ไม่มีปัญหาโรคแมลงที่อยู่ในดินตลอดจนไม่มีปัญหาวัชพืช ส่วนโรคแมลงที่ระบาดทางอากาศก็สามารถลดการใช้สารเคมีได้โดยการใช้โรงเรือนตาข่าย

8. ปลูกพืชได้ทุกฤดูกาลและทุกสภาพอากาศ เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้พอดีกับความต้องการของพืชและมีการควบคุมสภาพแวดล้อมอื่นๆ ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การที่สามารถปลูกพืชได้ตลอดไม่ขึ้นกับฤดูกาล ทำให้สามารถควบคุมราคาได้โดยไม่ขึ้นลงตามฤดูกาล

ข้อเสียของการปลูกพืชในระบบไฮโดรโปรนิกส์ :

1. ค่าใช้จ่ายในการลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูง ทำให้ผลผลิตที่ได้มีราคาแพง ต้องเลือกปลูกพืชที่มีราคา ค่าใช้จ่ายที่ทำให้ต้นทุนสูงจะเป็นค่าก่อสร้างโรงเรือน ค่าสารเคมี ค่าอุปกรณ์และค่าดูแลรักษา การลงทุนระยะแรกอาจไม่คุ้ม แต่จะให้ผลคุ้มค่าในระยะยาว และต้องดำเนินการในพื้นที่มากจะคุ้มกว่าพื้นที่น้อย

2. ต้องใช้เทคนิคขั้นสูง ผู้ปลูกต้องมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคที่เลือกใช้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ในเรื่องธาตุอาหารพืช น้ำ สรีรวิทยาของพืช สารละลาย และเครื่องมือควบคุมระบบต่างๆ อีกด้วย

3. มีโอกาสเกิดโรคที่มาจากน้ำได้ง่ายและยากต่อการควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกในสารละลาย ไม่ว่าจะเป็นระบบหมุนเวียนหรือไม่หมุนเวียน ถ้ามีการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบราก จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและยากต่อการป้องกันกำจัด เพราะพืชแต่ละต้นใช้สารละลายในแหล่งเดียวกันเชื้อจะระบาดไปทั่วระบบในเวลาอันสั้นโดยติดไปในสารละลาย

ที่มา : http://www.doae.go.th/

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

สมุนไพรกำจัดแมลงกับการทำเกษตรอินทรีย์

รายชื่อสมุนไพรกำจัดแมลง
กระเทียม
กระเพา
ขมิ้นชัน
คูน
ดาวเรือง
ดีปลี
ตะไคร้หอม
น้อยหน่า
บอระเพ็ด
ประทัดจีน
ผกากรอง
พริก
พริกไทย
ไพล
มะรุม
มะละกอ
มันแกว
ยี่โถ
ละห่ง
ลางสาด
เลี่ยน
ว่านน้ำ
สลอด
สะเดา
สาบเสือ
สารพี
หนอนตายยาก
โหระพา



สมุนไพรป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช

รวบรวมมาไว้เป็นแนวทางคร่าวๆ ให้ไปปรับใช้กันเอง “อย่าพึ่งเชื่อนะครับ … ต้องลอง”

สมุนไพรป้องกันกำจัดหนอน
ต้น ส้มเช้า เถาวัลย์ยาง เปลือกต้นไกรทอง เถาขี้กาขาว เถาขี้กาแดง เปลือกต้นเข็มป่า ใบเข็มป่า เปลือกต้นจิกสวน เปลือกต้นจิกแล เถาบอระเพ็ด เปลือกต้นมังตาล ลูกมังตาล ใบยอ เมล็ดละหุ่ง เมล็ดสบู่ต้น ใบสบู่ต้น ใบสะเดา ผลสะเดา หางไหลขาว หางไหลแดง หัวหนอนตายหยาก เมล็ดมันแกว มะลิป่า ใบเลี่ยน ใบควินิน ลูกควินิน ใบมะเขือเทศ สาบเสือ ยาสูบ ยาฉุน ขมิ้นชัน พลูป่า ชะพลู กานพลู ใบหนามขี้แรด ฝักคูนแก่ ใบดาวเรือง ว่านน้ำ เทียนหยด หัวกลอย เครือบักแตก มุยเลือด ค้อแลน ตีนตั่งน้อย ส้มกบ ปลีขาว เกร็ดลิ้น ย่านลิเภา พวงพี่ เข็มขาว ทวดข่าบ้าน

สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลง
สาบ เสือ โหระพา สะระแหน่ พริกไทย ข่าแก่ พริก ดีปลี ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง กระเทียม กระเพรา กระชาย ใบผกากรอง ใบดาวเรือง ยาสูบ ยาฉุน หางไหลขาว หางไหลแดง ใบมะเขือเทศ ขิง ใบน้อยหน่า ใบสบู่ต้น ลูกสบู่ต้น ใบยอ เถาบอระเพ็ด ใบมะระขี้นก เปลือกว่าน หางจระเข้ ว่านน้ำ เมล็ดโพธิ์ ดอกเฟื่องฟ้าสด กลีบดอกชบา ใบคำแสด เมล็ดแตงไทย ไพรีทรัม เปลือกมะม่วงหิมพานต์ ดอกลำโพง ลูกทุเรียนเทศ ใบเทียนหยด ลูกเทียนหยด

สมุนไพรกำจัดเชื้อโรค
สาบ เสือ ว่านน้ำ ใบมะเขือเทศ เปลือกมังคุด เปลือกเงาะ เปลือกต้นแค ลูกกล้วยอ่อน ลูกกระบูน ลูกเสม็ด ลูกครัก หน่อไม้สด รากหม่อน ยาสูบ เถาบอระเพ็ด ต้นแสยะ ต้นขาไก่ สะระแหน่ ลูกหมากสด พริก กระเทียม ใบมะละกอ ปัสสาวะได ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง ใบเทียนหยด ลูกเทียนหยด ใบมะรุม ลูกอินทนิลป่า ลูกตะโก กระเพรา ขึ้นฉ่าย กระชาย ขมิ้นชัน กานพลู ชะพลู เปลือกลูกมะม่วงหิมพานต์ ต้นกระดูกไก่ ใบยูคาลิปตัส หัวไพล เปลือกว่านหางจระเข้ ว่านไฟ ขมิ้นเครือ ภังคีน้อย หัวข่อ สิงไคต้น พะยอม รากรางดี แก่นคลี่ ดีปลีเชือก แก่นประดู่ เปลือกงวงกล้วย

.

สารสกัดสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช

สะเดา : ส่วนที่ใช้ ผลแก่(สดหรือตากแห้ง/เฉพาะเมล็ดในหรือเมล็ดใน+เนื้อ+เปลือก) เมล็ดในสดแก่จัดมีสารออกฤทธิ์มากที่สุด ใบแก่มีสารออกฤทธิ์แต่น้อยกว่าเมล็ดมาก …… ผลสะเดา 1 กก. บดป่นแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช … ได้ผลดี หนอนกระทู้ผัก หนอนหนังเหนียว หนอนใยผัก หนอนคืบ หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนแก้ว หนอนบุ้ง หนอนหลอดหอม หนอนเจาะต้น/ยอด/ดอก หนอนหัวกะโหลก หนอนกอสีครีม หนอนลายจุดข้าวโพด/ข้าวฟ่าง หนอนม้วนใบข้าว หนอนกอข้าว หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ ด้วงเต่าฟักทอง ตั๊กแตน ไส้เดือนฝอย … ได้ผลปานกลาง หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนเจาะต้นกล้าถั่ว หนอนเจาะดอกกล้วยไม้ หนอนเจาะผลมะเขือ หนอนเจาะยอดคะน้า เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ หากระบาดมากๆ ให้ใช้สารเคมีกำจัดกวาดล้างก่อน หลังจากนั้นจึงควบคุมด้วยสารสะเดา … ได้ผลน้อย ด้วงปีกแข็งกัดกินใบ หมัดกระโดด มวนแดง มวนเขียว มวนหวาน …… ใบแก่สด/แห้ง ผสมดินหลุมปลูกป้องกันกำจัดแมลงใต้ดินได้ดี ใช้ใบแก่แห้งบดป่นผสมเมล็ดพันธุ์ในโรงเก็บ ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชทำลายเมล็ดพันธุ์ได้ดี …… ใช้ส่วนเมล็ดแก่สด/แห้ง บุบพอแตกหว่านลงในนาก่อนกลบเทือกหรือหลังหว่านหรือหลังปักดำ อัตรา 5-8 กก./ไร่ ศัตรูพืช เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว หนอนกระทู้กล้า หนอนคอรวงข้าว หนอนกอข้าว เพลี้ยไฟ ตั๊กแตนข้าว …… ใช้กิ่งแก่สับเล็ก 1-2 นิ้ว บุบพอแตกหว่านลงนาหลังข้าวงอกหรือเริ่มโต อัตรา 3-5 กก./ไร่ ศัตรูพืช ปูนา หอยเชอรี่

สาบเสือ : ใช้ส่วนใบ/ต้นแก่แห้ง บดป่น 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. หรือต้ม 1 ชม.ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร ศัตรูพืช หนอนกระทู้ หนอนใย หนอนคืบ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย

ยา สูบ ยาฉุน : (1) ใช้ส่วนต้นสดแก่จัด(แกนกลางมีสารมากที่สุด) และใบสดแก่ บดละเอียดหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 48 ชม. หรือต้มพอเดือดแล้วปล่อยให้เย็น ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร … (2) ใช้ยาเส้นหรือยาฉุน 2 กก. ผสมน้ำ 100 ลิตร คนบ่อยๆ จนน้ำเป็นสีน้ำตาลไหม้ ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อล้วนๆ ไม่ต้องเจือจางน้ำ … (3) ยาฉุนหรือยาเส้น 1 กก. ผสมน้ำ 2 ลิตร ต้มจนเดือดนาน 30-60 นาที ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อที่ได้เจือจางน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ด้วงหมัดผักกาด มวนหวาน หนอนกอข้าว หนอนกะหล่ำปลี หนอนผักกาด หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง ไรแดง ไรขาว ราสนิม ไวรัสโรคใบหงิก เชื้อรา ฉีดพ่นสารสกัดยาสูบยาฉุนในตอนเช้าอากาศปลอดโปร่งหรือตอนกลางวันอากาศขมุก ขมัวไม่มีแสงแดด ได้ผลดีกว่าฉีดพ่นตอนกลางวันแดดร้อนจัดหรือตอนเย็น

ยี่โถ : ใช้ส่วนดอก ใบแก่ ผลแก่(เปลือก+เมล็ด) รากแก่ บดละเอียดหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 10 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ด้วงหรือมอดทำลายเมล็ดพันธุ์ หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนหลอดหอม หนอนหนังเหนียว หนอนม้วนใบ หนอนกัดใบ หนอนเจาะยอดเจาะดอก

หาง ไหล (โล่ติ๊น) : มี 2 ชนิด คือ หางไหลขาวเมื่อหมักแล้วได้หัวเชื้อสีขาวน้ำซาวข้าว หางไหลแดงเมื่อหมักแล้วได้หัวเชื้อสีแดง หางไหลแดงมีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชมากกว่าหางไหลขาว ทั้งสองชนิดมีฤทธิ์ในการทำลายสัตว์น้ำ รากมีสารออกฤทธิ์มากกว่าเถาหรือลำต้นแต่ที่ใบไม่มีและต้นอายุเกิน 2 ปีขึ้นไปจึงมีสารออกฤทธิ์ … ใช้ส่วนรากหรือเถาสับเล็กแล้วทุบ 1 กก. แช่น้ำ 30- 40 ลิตร นาน 3 วัน ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนกระทู้ผัก หนอนกะหล่ำปลี หนอนผักกาด หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว หนอนหลอดหอม หนอนเจาะยอด/ดอก/ผล/ต้น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยศัตรูข้าว เพลี้ยแป้ง แมลงปากดูด/กัด แมลง/หนอนศัตรูฝ้าย

หนอน ตายหยาก : มี 2 ชนิด หนอนตายหยากตัวผู้(หัวเล็ก) และหนอนตายหยากตัวเมีย(หัวใหญ่) สารออกฤทธิ์อยู่ที่แกนกลางของหัว หนอนตายหยากตัวเมียมีสารมากกว่าตัวผู้ … ใช้หนอนตายหยากบดป่นหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เชื้อราสาเหตุโรคเน่าคอดิน หนอนกระทู้ หนอนต่างๆ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงศัตรูพืชในเงาะ/พริกไทย/ทุเรียน … โขลกละเอียดผสมน้ำปิดแผลสัตว์เลี้ยงป้องกันแมลงตอมวางไข่

บอระเพ็ด : ใช้เถาสดแก่จัดบดป่นหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 10 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น หนอนกอ หนอนเจาะยอด หนอนกัดใบ โรคยอดเหี่ยว โรคข้าวตายพราย โรคเมล็ดข้าวลีบ … บอระเพ็ดเป็นสารดูดซึมซึ่งจะเข้าไปในเนื้อพืช ทำให้มีรสขมจนแมลงศัตรูพืชจำพวกปากกัดหรือปากดูดไม่ชอบกิน เช่น ใช้น้ำคั้นบอระเพ็ดคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนหยอดลงหลุมป้องกันแมลงใต้ดิน ใช้น้ำคั้นบอระเพ็ดฉีดพ่นโคนต้นข้าวบริเวณหนูกัดทำให้หนูไม่กัดต้นข้าว … หากต้องการถอนฤทธิ์รสขมบอระเพ็ดให้ฉีดพ่นลางจืด 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2 วัน

ใบมะเขือเทศ : ใช้ส่วนใบแก่สด บดละเอียด 2-3 กำมือแช่น้ำร้อน 1 ลิตร นาน 2 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อผสมน้ำ 1 เท่า ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว หนอนหลอดหอม หนอนเจาะต้น/ยอด/ดอก/ผล หนอนผีเสื้อกะโหลก หนอนกอ หนอนม้วนใบ หนอนชอนใบ หนอนแก้ว ราต่างๆ ไวรัส แบคทีเรีย

ดาว เรือง : ใช้ส่วนใบแก่สดและดอกสด บดป่นหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนใยผัก หนอนกระทู้ หนอนคืบ หนอนผีเสื้อกะโหลก เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว ไส้เดือนฝอย

กระเทียม : ใช้ส่วนหัวสดแก่ 1 กก. โขลกละเอียดแช่ในน้ำมันก๊าดหรือแอลกอฮอล์พอท่วม (ประมาณ 1 ลิตร) นาน 24 ชม. หรือแช่ในน้ำร้อนจัด 1 ลิตร นาน 24 ชม. เหมือนกัน ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อทั้งหมดผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ด้วงหมัดผัก ด้วงปีกแข็ง ด้วงงวงกัดใบ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไส้เดือนฝอย แมลงหวี่ขาว เชื้อรา(โรคกลิ่นสับปะรด โรคต้นเน่าผลเน่า โรคผักเน่า โรครากำมะหยี่หรือใบไหม้ โรคราน้ำค้าง โรครากเน่าโคนเน่า โรคเหี่ยว โรคใบจุด โรคใบเน่า) ไวรัสวงแหวนในมะละกอ แบคทีเรียต่างๆ

ขมิ้นชัน : ใช้ส่วนหัวแก่ 1 กก. โขลกละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1-2 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เชื้อรา(โรคผลเน่า โรคใบแห้ง) หนอน(หนอนกระทู้ผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนแก้ว หนอนใยผัก หนอนเจาะยอด) ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว ด้วงงวงข้าวเปลือก มอดข้าวเปลือก ไรแดง

ข่าแกง ข่าลิง ขิง : ใช้ส่วนหัวแก่ 1 กก. โขลกละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1-2 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เชื้อรา(โรคผลเน่า โรคฝักและเมล็ดเน่า โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบแห้ง) หนอนกระทู้ ด้วงงวงทำลายเมล็ดพันธุ์ถั่ว

คูน : ใช่ส่วนฝักสดแก่จัด 1 กก. โขลกละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 3-4 วัน ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอน(หนอนกระทู้ หนอนคืบ หนอนใย หนอนเจาะยอด-ต้น-ดอก-ผล หนอนม้วนใบ) ด้วงต่างๆ

น้อยหน่า : ใช้ส่วนเมล็ดสดผลแก่ 1 กก. โขลกละเอียด แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อเจือจางน้ำเปล่า 1 เท่าตัว ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช มวนปีกแก้วมะเขือ หนอนกระทู้ เพลี้ยอ่อน ด้วงฟักทอง

ตะไคร้ หอม : ใช้ส่วนเหง้าและใบแก่สด สับเล็กหรืดบด 1 กก. แช่น้ำนาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนคืบ หนอนหลอดหอม หนอนแก้ว หนอนม้วนใบ …… ตะไคร้หอมที่จะให้สารออกฤทธิ์สูงสุดต้องเก็บช่วงเวลา 03.00 น. และน้ำมันระเหยตะไคร้หอมมีฤทธิ์แรงมาก ขนาดทำให้ผิวหนังคนเกิดอาการไหม้ได้ หากใช้กับพืชต้องใช้ในอัตราที่เจือจางมากๆ

มันแกว : ใช้เมล็ดสดแก่ 1 กก. บดละเอียดแช่น้ำ 100 ลิตรนาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนกระทู้ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อต่างๆ หมัดกระโดด มวนเขียว มวนหวาน เพลี้ยอ่อน

ว่านน้ำ : ใช้ส่วนเหง้าแก่สดบดละเอียด 1 กก. แช่น้ำ 40 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 20 ซีซีง/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช แมลงวันแดง แมลงวันทอง ด้วงหมัดผัก มอดข้าวเปลือก แมลงปากกัดในผัก ราแอนแทรกโนส(ใบ/ผล/ยอด/ต้น/ผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว) ราต่างๆ ในดิน

ละหุ่ง : ปลูกละหุ่งเป็นแนวรอบสวนหรือแทรกตามพื้นที่ว่าง ถ้าเกะกะหรือกิ่งมากเกินไปให้ตัดทิ้งบ้างตามความเหมาะสม เพื่อให้ต้นแตกใบอ่อนใหม่ ศัตรูพืช แมงกะชอน จิ้งหรีด หนู ปลวก ไส้เดือนฝอย

มะรุม : ใช้ส่วนใบแก่แห้งบดป่นผสมดินปลูกที่หลุมปลูก อัตราส่วน ใบมะรุม 1 ส่วนต่อดินหลุมปลูก 10-20 ส่วน ทิ้งไว้ 7 วัน จึงเริ่มออกฤทธิ์ ศัตรูพืช โรคพืชจำพวกราทุกชนิด แมลงกัดกินรากและแมลงทุกชนิด

ผกากรอง : ใช้ส่วนดอกและใบแก่สด 1 กก. บดป่นแช่น้ำ 1 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนห่อใบข้าว
***สารสกัดผกากรองมีพิษต่อแมลงธรรมชาติ

ยาง มะละกอ : ใช้ส่วนใบแก่สดและเปลือกผลแก่ติดยาง 1 กก. บดป่นแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ราสนิมกาแฟ ราแป้ง เพลี้ยไฟ

มะระ ขี้นก : ใช้ส่วนใบแก่สด 1 กก. บดป่นแช่น้ำ 5 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ศัตรูพืช ด้วงหมัดผัก ด้วงกัดใบ แมลงสิงข้าว

.

สารสกัดสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช (แบบผสม)

สะเดา เลี่ยน : ใบสะเดาแก่สด 5 กก. + ใบเลี่ยนแก่สด 5 กก. บดป่นแช่น้ำพอท่วมนาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1-2 กระป๋องนม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช กลุ่มเดียวกันกับสะเดา แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเพราะมีสารจากใบเลี่ยนมาเสริมฤทธิ์

สะเดา เลี่ยน ดาวเรือง บอระเพ็ด ลูกเหม็น : ใบสะเดาแก่สด 1 กก. + ลูกสะเดาแก่สด ½ กก. + ดอกดาวเรืองสด ½ กก. บดป่นหรือสับเล็ก + น้ำพอท่วม ต้มจนเดือด 2-3 ชม. ปล่อยให้เย็นแล้ว + เถาบอระเพ็ดแก่สด ½ กก. + น้ำ 20 ลิตร แช่นาน 3 วันได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1 ลิตร + ลูกเหม็น 1-2 ลูก + น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช แมลงศัตรูพืชในพืชตระกูลถั่ว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ

สะเดา ข่า ตะไคร้หอม : ใบสะเดาแก่สด 5 กก. + ข่าแก่สด + ตะไคร้หอมทุกส่วนแก่สด 5 กก. บดละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 10-20 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช แม่ผีเสื้อ/ตัวหนอนแก้ว หนอนชอนใบ เพลี้ยแป้ง โรคราดำ ราแอนแทรกโนส โรครากเน่าโคนเน่า … พืชที่ได้ผล เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ หน่อไม้ฝรั่ง บัวหลวง

สะเดา ยาสูบ หางไหล ตะไคร้หอม : ใบสะเดาแก่สด 5 กก. + ใบยาสูบแก่สด 1 กก. + หางไหล 1 กก. + ตะไคร้หอมแก่สดทุกส่วน ½ กก. บดละเอียด + เหล้าขาว 750 ซีซี. + หัวน้ำส้มสายชู 150 ซีซี. + น้ำ 20 ลิตร หมักนาน 3-5 วันได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ไล่แมลงทำให้ไข่แมลงฝ่อ กำจัดหนอนและโรคได้หลายชนิด

พริก พริกไทย ดีปลี : พริกสดเผ็ดจัด 1 กก. + พริกไทยผลสด 1 กก. + ดีปลีสด 1 กก. บดละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 200-500 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช มด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนคืบ หนอนใย ไล่แมลงผีเสื้อ ไวรัส(ใบด่าง/ใบลาย)

สาบเสือ แค กระเทียม ตะไคร้หอม ข่า สะเดา : ใบสาบเสือแก่สด 1 กก. + เปลือกต้นแคสด 1 กก. + กระเทียมสด ½ กก. + ตะไคร้หอม 1 กก. + ใบสะเดาแก่สด 5 กก. บดปั่น + เหล้าขาว 1 ขวด(750ซีซี.) + หัวน้ำส้มสายชู 750 ซีซี. + น้ำ 40-60 ลิตร หมักนาน 3-5 วันได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช โรคเกิดจากเชื้อรา(ใบไหม้ ใบจุด ใบเน่า) โรคทางดิน(รากเน่า โคนเน่า เน่าคอดิน) เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง หนอนต่างๆ

ตะไคร้หอม/แกง ขิง ข่า พริก น้อยหน่า หางไหล หนอนตายหยาก : อย่างละเท่าๆ กันแก่สดบดละเอียด แช่น้ำพอท่วม (ใส่เหล้าขาว + หัวน้ำส้มสายชู ตามความเหมาะสม) แช่นาน 3-5 วันได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ร่วมกับใบ/เมล็ดน้อยหน่าแก่แห้ง + ตะไคร้หอมแก่แห้ง + ยาฉุน อย่างละเท่าๆ กัน บดปั่น หว่านลงพื้นรอบๆ โคนต้น ศัตรูพืช หมัดกระโดด

ยาสูบ ยาฉุน : ใบ/ต้นแก่สด 1 กก. + ยาฉุน ½ กก. บดละเอียดแช่น้ำ 2 ลิตร นาน 24 ชม. หรือต้ม 1 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อที่ได้/น้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เพลี้ยต่างๆ ไร รา ด้วงหมัดผัก ด้วงเจาะสมอ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนเจาะยอด/ใบ/ต้น/ดอก หนอนม้วนใบ และไล่แมลง

.

กรรมวิธีสกัดสารจากสมุนไพร

สูตร 1 : แช่หรือหมักด้วยน้ำเปล่าพอท่วมหรือน้ำมากกว่า 2-5 เท่าตามความเหมาะสม ทั้งนี้ถ้าใช้น้ำน้อยจะได้สารสกัดที่เข้มข้น หรือใช้น้ำตามปริมาณที่ระบุจากงานวิจัย … การหมักหรือแช่ด้วยน้ำเปล่าจะได้สารออกฤทธิ์ที่น้อยที่สุดในบรรดากรรมวิธี การหมักทุกรูปแบบ

สูตร 2 : สมุนไพร + กากน้ำตาล + จุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3:1:1/2

สูตร 3 : สมุนไพร + น้ำเปล่า + กากน้ำตาล + จุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 10:10:1:1:1/2

สูตร 4 : สมุนไพร + น้ำเปล่า + เหล้าขาว + หัวน้ำส้มสายชู อัตรา 10:10:1/2:1/10

สูตร 5 : สมุนไพร + เหล้าขาว + หัวน้ำส้มสายชู อัตรา 10:10:1/10

สูตร 6 : สมุนไพร + เอธิลแอลกอฮอล์ อัตรา 1: 1 หรือ 1:2-3

สูตร พิเศษ : (1) สกัดด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ พีดีเอ. (2) สกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ (3) สกัดด้วยเอกเซนและอาซิโตน (4) สกัดด้วยวิธีต้มกลั่นหรือทำเป็นสารระเหย เป็นกรรมวิธีสกัดภายในห้องทดลองมีอุปกรณ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ได้สารออกฤทธิ์บริสุทธิ์และมีประสิทธิภาพสูงสุดเหมาะสำหรับเพื่อการค้า

ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=11229.0