วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้

ผัก และผลไม้ เป็นผลิตผลทางการเกษตรที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยอาศัยกรรมวิธีการผลิตที่หลากหลาย มีทั้งการนำไปผ่านกระบวนการแปรรูปเพียงเล็กน้อย หรือเพียงแค่ล้างทำความสะอาด และตัดแต่งเพื่อจำหน่ายแบบสด หรือนำไปผ่านกระบวนการแปรรูปโดยใช้ความร้อนสูง แล้วบรรจุในภาชนะเปิดสนิท เช่น กระป๋อง ขวดแก้ว และภาชนะพลาสติก

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักและผลไม้ นั้น ส่วนใหญ่จะใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพที่ใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกัน แต่เมื่อนำมาผ่านการแปรรูปโดยอาศัยกรรมวิธีที่แตกต่างกันแล้ว จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย และแตกต่างกันทั้งในด้านกลิ่น รส สี และลักษณะเนื้อสัมผัส อาทิเช่น หน่อไม้ฝรั่ง ถั่ว ลูกพีช ซึ่งเป็นผัก ผลไม้ ชนิดที่รับประทานได้ทั้งแบบสด ๆ และแบบที่ผ่านการแปรรูป จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 แบบนี้ มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ผู้บริโภคก็ให้การยอมรับทั้ง 2 รูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริโภคนิยมบริโภคในรูปแบบใด เช่น ผู้บริโภคบางกลุ่มอาจนิยมบริโภคถั่วสด จะเลือกซื้อสินค้าถั่วสดแช่แข็ง ในขณะที่ผู้บริโภคบางกลุ่มนิยมบริโภคถั่วบรรจุกระป๋อง ก็จะเลือกซื้อเฉพาะสินค้าถั่วบรรจุกระป๋อง เป็นต้น ดังนั้นสินค้าผัก ผลไม้แปรรูปแต่ละประเภทจะมีตลาดรองรับที่แยกจากกันอย่างชัดเจน

การแปร รูปอาหารนั้นเป้าหมายหลักของผู้ประกอบการก็คือ การพัฒนากระบวนการผลิตที่ยังคงความสะดวก ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน แต่มีต้นทุนการผลิตต่ำ และมีการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันทาง เลือกหนึ่งของการผลิต และบรรจุสินค้าผัก ผลไม้สด ก็คือการใช้สารเคมีถนอมรักษา หรือช่วยชลอการสุก รวมทั้งช่วยคงคุณภาพของผัก ผลไม้สดหลังการเก็บเกี่ยวด้วย โดยการให้สารเคมีเข้าไปรบกวนการทำงานของเอทธิลีนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้น กระบวนการที่ทำให้เกิดการสุกในพืช ในอดีตสารเอทธิลีนถูกนำไปใช้กับสินค้ากล้วย เพื่อทำให้สามารถจำหน่ายกล้วยในขณะที่มีกลิ่นรส และสุกงอมกำลังดี โดยเกษตรกรจำเก็บเกี่ยวกล้วย และทำการขนส่งไปยังปลายทางในขณะที่ผลกล้วยมีสีเขียว หรือยังไม่สุก เพื่อความสะดวกในการขนส่ง หลังจากนั้นจะนำกล้วยไปเก็บในห้องที่มีเอทธิลีนอยู่ เมื่อเอทธิลีนระเหยออกสู่บรรยากาศสัมผัสกับผลกล้วยดิบมันก็จะไปกระตุ้นให้ กล้วยเกิดกระบวนการสุกในช่วงเวลาที่เหมาะสม พร้อมที่จะจำหน่าย

จากการ ศึกษาของ Adel Kader ศาสตราจารย์ด้าน Pomology แห่งมหาวิทยาลัย California – Davis พบว่าสาร 1 – methycyclopropene (MCP) เป็นสารที่สามารถใช้ยับยั้งการทำงานของเอทธิลีนได้ สารดังกล่าวถูกค้นพบโดย Edwaed C.Sisler จากมหาวิทยาลัย North Corolina State ในระหว่างทำการศึกษาวิจัย เรื่อง ตัวรับเอทธิลีนในพืช โดยพบว่าสาร Olefins อื่น ๆ เช่น สาร MCP มีความสามารถที่จะไปเกาะอยู่ตรงตำแหน่งของตัวรับ และไปยับยั้งการเกิดปฏิกิริยา หรือการทำงานของเอทธิลีนในพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระยะเวลานาน

ที่ ผ่านมาสาร MCP เคยถูกนำไปใช้กับสินค้าดอกไม้และพืช ในเชิงการค้า โดยบริษัท Floralife, Inc., Walterbore.S.C., แห่งมหาวิทยาลัย North Carolina State University และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ในดอกไม้ และพืช ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารนั้นในสหรัฐฐ ยังไม่อนุญาตให้ใช้สาร MCP และยังอยู่ในระหว่างการยื่นคำร้องต่อหน่วยงานคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบัน มีการนำ MCP มาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร และดอกไม้ในหลายประเทศ ยกเว้นสหรัฐอเมริกา และแคนาดา โดยการสนับสนุนของบริษัท Rohm and Hass Co. หรือที่รู้จักกันในชื่อ Agro Fresh.,Inc.,Philadelphia บริษัทดังกล่าวได้จดทะเบียนการใช้สาร MCP ในผลิตภัณฑ์อาหารและดอกไม้ในประเทศชิลี อาร์เจนตินา นิวซีแลนด์ และอยู่ในระหว่างการยื่นขอจดทะเบียนในอีกหลายประเทศทั่วโลก

เทคโนโลยี นีจะใช้น้ำตาล Cyclodextrin เป็นตัวพยุง MCP และเมื่อทำให้น้ำตาล Cyclodextrin หรือตัวพยุงเปียกน้ำ สาร MCP จะถูกปลดปล่อยออกมาสูบรรยากาศในปริมาณ 1 ppm ซึ่งเป็นปริมาณที่พอเพียงสำหรับให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ พืชอาหารต่างชนิดกันโดยจะให้ผลลัพท์ที่แตกต่างันโดยจะขึ้นอยู่กับการทำงาน และหน้าที่ของเอทธิลีนในพืชแต่ละชนิดตามธรรมชาติ เช่น ในพืชบางชนิด เอทธิลีนเป็นตัวที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสี ในขณะที่เอทธิลีนเป็นตัวที่ทำให้ความแน่นเนื้อ หรือกลิ่นรสในพืชบางชนิดเปลี่ยนแปลง

ปัจจุบันการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การใช้สาร MCP นั้นนิยมทำกันในภาคสนาม โดยจะเน้นไปที่การวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านประสาทสัมผัสของพืช เช่น ความสามารถในการทำปฏิกิริยากับกรด ความแน่นเนื้อ ลักษณะผิวหน้าที่ปรากฏ และข้อสังเกตอื่น ๆ ที่บ่งถึงการสุกของพืช

ข้อมูลที่เผยแพร่จากงาน สัมมนา ซึ่งจัดขึ้น โดย American Socially for Horticultural Science พบว่าปัจจุบันได้มีการทดลองใช้สาร MCP ตามวิธีการที่ได้จากงานวิจัยในพืชอาหารหลายชนิด เช่น มะละกอ แอปเปิ้ล มะเขือเทศ แตงกวา อโวกาโด ลูกพีช ลูกท้อ ชนิดที่มีเปลือกบาง ฮันนี่ดิว แอปเปิ้ลฟูจิ และเครนเบอรี่ โดยจะศึกษาปัจจัย 2 ชนิด คือ การใช้สาร MCP ที่ความเข้มข้นต่างกัน และการเก็บไว้ในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ตั้งแต่อุณหภูมิเยือกแข็งไปจนถึงที่อุณหภูมิห้อง โดยความเข้มข้นของสาร MCP ที่ใช้ในการทดลองนั้นอยู่ในช่วง 0.25-10 ppm จากผลการทดลองพบว่าที่ความเข้มข้น 1 ppm จะมีประสิทธิภาพสูงสุด จากการทดลองพบว่าสาร MCP สามารถช่วยยืดอายุการเก็บผลไม้สดตัดแต่งได้ โดยการพิจารณาจากลักษณะปรากฏภายนอกของผลไม้ เช่น การนำมาใช้กับมะเขือเทศสด จะทำให้สามารถเก็บมะเขือเทศไว้ได้นานถึง 30 วัน เสมือนกับว่าสามารถยืดฤดูกาลของผลผลิตมะเขือเทศสดไว้ได้ยาวนานขึ้น ทำให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะเขือเทศที่มีคุณภาพสูงกว่าเดิม

ปฏิกิริยา หรือการทำงานของสาร MCP จะขึ้นอยู่กับการควบคุมสภาวะบรรยากาศ และอุณหภูมิที่ใช้ในการเก็บรักษาอาหาร ตัวอย่างเช่น อโวกาโด กล้วย เป็นผลไม้ชนิดที่เหมาะต่อการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ นอกจากนั้นการใช้สาร MCP ในการถนอมรักษาอาหารนั้น พบว่าเมื่อเก็บอาหารไว้ระยะเวลาหนึ่งการตกค้างหรือการหลงเหลือของสาร MCP จะอยู่ในปริมาณน้อย ฉะนั้นหากผู้ประกอบการใช้สาร MCP ถนอมรักษาอาหารจะสามารถติดฉลากกล่าวอ้างได้ว่าสินค้าอาหารดังกล่าวเป็น สินค้าที่มีสารฆ่าแมลงตกค้างปริมาณต่ำ

และหากในอนาคตสาร MCP สามารถนำไปใช้กัผลไม้เขตร้อนที่สุกงอมเร็ว และเป็นผลไม้ชนิดที่ไม่สามารถขนส่งไปจำหน่ายในระยะทางไกล ๆ ได้เป็นอย่างดี คาดว่าประเทศในแถบแคริเบียน และประเทศในเขตร้อนอื่น ๆ ที่มีผลผลิตออกมาในระยะเวลาสั้น จะเป็นประเทศที่มีความต้องการเทคโนโลยีการใช้สาร MCP และจะเป็นตลาดใหม่ของสินค้าผลไม้เขตร้อน ตัวอย่างเช่น ที่ Haiti เป็นประเทศที่มีผลผลิตของมะม่วงเป็นจำนวนมาก แต่ผลผลิตดังกล่าวจะออกมาในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ฉะนั้น Haiti จึงไม่สามารถส่งออกสินค้ามะม่วง หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ ผลผลิตส่วนใหญ่จะกลายเป็นของเสีย ในขณะที่ประชากรในประเทศยังยากจน และอดอยาก

ปัจจุบัน EPA ได้ขึ้นทะเบียนสาร MCP ว่าเป็นสาร Biopesticide ที่ใช้ยืดการมีชีวิตของดอกไม้ และไม้กระถาง นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้กับพืชที่ปลูกในที่ปิด เช่น Greenhouse และในตู้รถบรรทุก สารดังกล่าวไม่เป็นพิษ และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตามควรใช้สาร MCP อย่างระมัดระวัง เนื่องจากสารดังกล่าวมีลักษณะเป็นผง หากเข้าตาอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้

อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่ มีความชัดเจนในด้านข้อมูลว่าในขณะเก็บรักษา ผัก และผลไม้ไว้เป็นระยะเวลานาน ๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านกลิ่น รสชาติ ของผัก และผลไม้แต่ละชนิดอย่างไร เช่นเดียวกันกับที่จะต้องมีการพิจารณาและศึกษาถึงประโยชน์ของการประยุกต์ใช้ สาร MCP ในพืชอาหารแต่ละชนิดต่อไป ซึ่งหากผลการศึกษาวิจัยมีมากเพียงพอ คาดว่าในอนาคต EPA จะอนุญาตให้ใช้สาร MCP ในสินค้าอาหารอย่างแน่นอน

ที่มา : ฝ่ายบริการข้อมูลและสารสนเทศ สถาบันอาหาร www.nfi.or.th




ความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวด

โดย ... ดร.สมชาย ชวนอุดม
ศูนย์วิจัยเครื่องจักรกลเกษตรและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เครื่องเกี่ยวนวดข้าว

ข้าว เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของไทย การผลิตข้าวมีหลายขั้นตอน การเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต จากปริมาณการผลิตข้าวที่มีอยู่เป็นจำนวนมากของประเทศไทย หากเกิดความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวจะส่งผลต่อความเสียหายทางเศรษฐกิจของ ประเทศทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันการใช้เครื่องเกี่ยวนวดกำลังได้รับความนิยมจากเกษตรกรอย่างแพร่ หลายและมีการใช้งานขยายไปทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งเครื่องเกี่ยวนวดข้าวนี้เป็นเครื่องจักรที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนและทำงาน ประกอบไปด้วยกระบวนการตัด ลำเลียง นวด คัดแยกเมล็ดออกจากฟาง และทำความสะอาดข้าวเปลือก โดยมีถังรองรับข้าวเปลือกที่ผ่านกระบวนการทั้งหมดแล้ว หรือมีการบรรจุข้าวเปลือกลงในภาชนะบรรจุอื่น มีการทำงานที่เบ็ดเสร็จในตัวเอง มี สมรรถนะการทำงานที่ดีและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ในบางพื้นที่ที่มีแปลงนาขนาดเล็กหรือมีต้นไม้มากไม่เหมาะแก่การใช้งาน เครื่องเกี่ยวนวดก็ได้มีการรวมแปลงเพื่อให้เป็นแปลงที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและ หรือมีการตัดและขุดต้นไม้ที่อยู่ในนาออก ทั้งนี้เพราะการใช้เครื่องเกี่ยวนวดช่วยให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายจากวิธีการ เก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน นอกจากนี้ยังเป็นการทำงานที่เบ็ดเสร็จ ไม่ยุ่งยาก รวดเร็ว และสามารถนำข้าวไปจำหน่ายได้ทันที อีกทั้งเกษตรกรหลายรายมีอาชีพอื่นนอกจากการเพาะปลูกข้าวจึงจำเป็นต้องเร่ง รีบเก็บเกี่ยวเพื่อที่จะมีเวลาไปประกอบอาชีพนั้นๆ นอกจากนี้ผลพลอยได้อีกด้านหนึ่งจากการใช้เครื่องเกี่ยวนวดคือการมีโอกาสช่วย เพิ่มเปอร์เซ็นต์ต้นข้าวหรือข้าวสารเต็มเมล็ดจากวิธีเก็บเกี่ยวโดยแรงงานคน อีกประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ (วินิต ชินสุวรรณ และคณะ, 2542) ทั้งนี้เพราะการเก็บเกี่ยวโดยแรงงานคนต้องมีการตากแผ่ฟ่อนข้าว ยิ่งตากนานเท่าไหร่ยิ่งทำให้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าว ลดลงเนื่องจากความแตกต่างที่ค่อนข้างมากของสภาพอากาศในเวลากลางวันและกลาง คืนในฤดูเก็บเกี่ยว ส่วนการใช้เครื่องเกี่ยวนวดเกษตรกรนิยมขายข้าวทันทีภายหลังการเก็บเกี่ยว โรงสีที่รับซื้อจะต้องนำข้าวที่มีความชื้นสูงไปอบลดความชื้น ในการอบลดความชื้นจะทำให้เมล็ดข้าวไม่ถูกกระทบกระเทือนมากเท่ากับจากการตาก แผ่ในแปลงนา ส่งผลให้ได้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวที่สูงกว่า ในปัจจุบันคาดว่ามีเครื่องเกี่ยวนวดข้าวใช้งานประมาณ 10,000 เครื่อง อยู่ภายในประเทศ โดยเกือบทั้งหมดผลิตในประเทศไทย และใช้งานในลักษณะของการรับจ้างเกี่ยวนวดแบบเหมาจ่ายต่อหน่วยพื้นที่

เครื่องเกี่ยวนวด เป็นเครื่องที่มีระบบการทำงานทั้ง เกี่ยว นวด และทำความสะอาดอยู่ในเครื่องเดียว ประเทศไทยพัฒนาเครื่องเกี่ยวนวดมาจากเครื่องของต่างประเทศ ชุดหัวเกี่ยวและระบบลำเลียงพัฒนามาจากเครื่องเกี่ยวนวดของประเทศทางแถบตะวัน ตก โดยนำชิ้นส่วนทั้งของเครื่องเกี่ยวนวด รถยนต์หรือเครื่องจักรกลต่าง ๆ มาดัดแปลง ส่วนชุดนวดและชุดทำความสะอาดดัดแปลงมาจากเครื่องนวดแบบไหลตามแกนของไทยซึ่ง เป็นการพัฒนาและปรับปรุงมาจากเครื่องนวดแบบไหลตามแกน ของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ หรือ International Rice Research Institute (IRRI) ประเทศไทยได้พัฒนาและปรับปรุงเครื่องเกี่ยวนวดข้าว จนเหมาะกับสภาพการทำงานในประเทศ

ความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวด

เครื่องเกี่ยวนวดข้าวมีอุปกรณ์ที่ส่งผลต่อความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวที่สำคัญ 3 ส่วน ดังนี้

1) ชุดหัวเกี่ยว ในการทำงานประกอบด้วย ล้อโน้มทำหน้าที่เกาะต้นพืชที่ล้มและหรือโน้มต้นพืชที่ตั้งให้เข้ามาหาชุดใบ มีด ชุดใบมีดตัดต้น พืชและถูกล้อโน้มโน้มส่งต่อเข้ามายังเกลียวลำเลียงหน้าเพื่อรวบรวมต้นพืชมา ยังส่วนกลางของชุดหัวเกี่ยวสำหรับส่งเข้าชุดคอลำเลียงเพื่อกวาดพาต้นพืชส่ง ต่อไปยังชุดนวด

2) ชุดนวด เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการแยกเมล็ดให้หลุดจากฟาง โดยการทำการฟาดตีของลูกนวดและหรือหมุนเหวี่ยงข้าวให้ฟาดตีกับตะแกรงนวดเพื่อ แยกเมล็ดออกจากรวง ส่วนเมล็ดที่ถูกนวดแล้วถูกแยกออกจากชุดนวดโดยผ่านตะแกรงนวดที่ทำหน้าที่ใน การกรองฟางไม่ให้ไหลปนไปกับเมล็ด เมล็ดที่ผ่านตะแกรงนวดตกลงไปยังชุดทำความสะอาด

3) ชุดทำความสะอาด ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ตะแกรงทำความสะอาดทำหน้าที่แยกเศษหรือท่อนฟางหลังการนวดให้ออกจากเมล็ด ทำงานรวมกับชุดพัดลมที่อยู่ใต้ตะแกรงทำความสะอาด โดยชุดพัดลมเป่าเศษฝุ่น ข้าวลีบ เศษฟาง และสิ่งเจือปนอื่น ๆ ให้แยกจากเมล็ดออกไปท้ายเครื่อง

ในการผลิตข้าวของประเทศมีพันธ์ุข้าวที่ใช้ในการเพาะปลูกหลากหลายพันธ์ุ แต่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มพันธ์ุข้าวใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่มพันธ์ุข้าว คือ ข้าวพันธ์ุพื้นเมือง และข้าวพันธ์ุลูกผสม ซึ่งพันธ์ุข้าวเหล่านี้ก็มีผลต่อความสูญเสียเช่นเดียวกัน

จากการสำรวจความสูญเสียจากการใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าวสำหรับข้าวพันธ์ุขาว ดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นพื้นเมืองที่สำคัญที่สุดของไทยในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ และข้าวพันธ์ุชัยนาท 1 ซึ่งเป็นข้าวพันธ์ุลูกผสมที่สำคัญของไทยในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ความสูญเสียเฉลี่ยจากการเก็บเกี่ยวข้าว โดยใช้เครื่องเกี่ยวนวด

ความสูญเสียเฉลี่ยจากการเก็บเกี่ยวข้าว

จากตารางที่ 1 เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวพันธ์ุชัยนาท 1 พบว่าการทำงานของชุดนวดส่งผลต่อความสูญเสียมากที่สุดถึงร้อยละ 91 ของความสูญเสียรวมจากการเก็บเกี่ยวข้าวพันธ์ุชัยนาท 1 หรือคิดเป็นความสูญเสีย 6.20 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิต ซึ่งเป็นความสูญเสียที่ค่อนข้างสูง ส่วนการทำงานของชุดหัวเกี่ยว และชุดทำความสะอาดส่งผลต่อความสูญเสียไม่มากนักเท่ากับร้อยละ 4.8 และ 4.2 ของความสูญเสียรวมจากการเก็บ
เกี่ยวข้าวพันธ์ุชัยนาท 1 ตามลำดับ ผลของความสูญเสียแตกต่างจากการเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวดสำหรับข้าว พันธ์ุขาวดอกมะลิ 105 ที่ความสูญเสียส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานของชุดหัวเกี่ยวที่มีความสูญเสียร้อย ละ 58.8 ของความสูญเสียรวมจากการเก็บเกี่ยวข้าวพันธ์ุขาวดอกมะลิ 105 หรือคิดเป็นความสูญเสีย 1.86 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิต รองลงมาเป็นความสูญเสียที่เกิดจากการทำงานของชุดนวด และชุดทำความสะอาดเท่ากับร้อยละ 34.2 และ 7.0 ของความสูญเสียรวมจากการเก็บเกี่ยวข้าวพันธ์ุขาวดอกมะลิ 105 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องมาจากข้าวพันธ์ุขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวพันธ์ุพื้นเมืองเมล็ดร่วงหล่นได้ง่ายเมื่อสุกแก่หรือข้าวพันธ์ุนวด ง่าย จึงทำให้มีความสูญเสียจากชุดหัวเกี่ยวสูงกว่าการนวดและการคัดแยกในชุดนวด ส่วนข้าวพันธ์ุชัยนาท 1 ซึ่งเป็นข้าวนาปรังหรือข้าวพันธ์ุไม่ไวแสง และเป็นพันธ์ุลูกผสมเมล็ดร่วงหล่นได้ยากกว่าเมื่อสุกแก่หรือข้าวพันธ์ุนวดยา กกว่าพันธ์ุพื้นเมืองจึงทำให้มีความสูญเสียจากการนวดและคัดแยกในชุดนวดสูง กว่าการเกี่ยว (วินิต และคณะ, 2546)

เครื่องเกี่ยวนวดข้าว
ดังนั้นในการใช้งาน ปรับแต่ง การพัฒนาและหรือการวิจัยเพื่อลดความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่อง เกี่ยวนวดจึงควรเน้นปรับแต่ง และหรือศึกษาเฉพาะอุปกรณ์ที่มีผลต่อพันธ์ุข้าวในกลุ่มนั้นๆ คือ ควรเน้นปรับแต่งและหรือศึกษาชุดหัวเกี่ยวเมื่อทำการเก็บเกี่ยวข้าวพันธ์ ุพื้นเมือง และควรเน้นปรับแต่งและหรือศึกษาชุดนวดเมื่อทำการเก็บเกี่ยวข้าวพันธ์ุลูกผสม

เอกสารอ้างอิง

  • วินิต ชินสุวรรณ, นิพนธ์ ป้องจันทร์, สมชาย ชวนอุดม, วราจิต พยอม. 2546. ผลของอัตราการป้อนและความเร็วลูกนวดที่มีต่อสมรรถนะการนวดของเครื่องนวดข้าว แบบไหลตามแกน. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย. 10(1):9-14.
  • วินิต ชินสุวรรณ, สมชาย ชวนอุดม, วสุ อุดมเพทายกุล, วราจิต พยอม, ณรงค์ ปัญญา. 2542. ความสูญเสียในการเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิโดยใช้แรงงานคนและใช้เครื่องเกี่ยว นวด. วารสารวิจัย มข. 4(2): 4-7.
ที่มา http://www.phtnet.org/article/view-article.asp?aID=42


วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

"ตะใคร้ต้น" ต้นไม้ไม่ธรรมดาที่ไกล้สูญพันธุ์

เมื่อวานเพิ่งได้เจ้าต้นนี้มาปลูกที่บ้านครับ หลายคนคงเคยได้ยิน "ตะใคร้ต้น" แต่หลายคนคงอาจจะยังไม่รู้จักเจ้าต้นนี้เท่าไรนัก

ยืมรูปจากคนอื่นมาก่อนเพราะที่บ้านยังไม่โตมากครับ







ตะใคร้ต้นดอกตูม



ตะใคร้ต้นดอกบาน

ตะไคร้ ต้นมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน บางพื้นที่เรียกจะไคต้น ตะไคร้ดอย ตะไคร้ภูเขา ลิเชีย์ ออยล์ เกล๋อ ฉือซือ หรือสะไค้ เป็นต้นไม้มีถิ่นกำเนิดมาจากจีนและอินโดนีเซีย ยืนต้นเติบโตได้ในระดับความสูง 700-2,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะทางพฤกษศาสตร์แตกต่างจากตะไคร้หอม โดยการแตกของกิ่งและใบจะออกมาจากส่วนของลำต้นโดยตรง ไม่มีการแตกกอ ประเทศไทยพบบริเวณป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 700-1,600 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ตะไคร้ ต้นมีลักษณะลำต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-12 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 6-20 ซม. ผิวลำต้นเกลี้ยง ไม่มีขนปกคลุม ใบเป็นใบเลี้ยงคู่เกิดจากส่วนของกิ่งที่แผ่ออกมาจากลำต้น ประกอบด้วยก้านใบและแผ่นใบ เป็นใบเดี่ยวยาวเรียงสลับ หลังใบสีเขียว ท้องใบมีสีขาวนวล มีขนาด 1.86x6.32 ซม. เมื่อออกดอกใบจะกลายเป็นสีเหลืองและจะหลุดร่วงไป ดอกมีลักษณะเป็นช่อสั้นๆ รวมกันเป็นกระจุกที่ซอกใบ สีขาวนวลหรือสีครีม มีกลิ่นหอม ออกดอกในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์

ลักษณะผลกลม ขนาด 0.8-0.9 ซม. มีสีเขียว เมื่อแก่จัดเป็นสีม่วงเข้ม ผลแก่ช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม เนื้อผลมีกลิ่นหอมแรง รากเป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนงแผ่ออกไปตามด้านข้าง ส่วนของรากจะแข็งและเหนียว มีกลิ่นหอม

ส่วนของตะไคร้ต้นที่นำมาใช้ ประโยชน์ ได้แก่ ผลใช้เป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหาร ราก ดอกและผลนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการกลั่นด้วยน้ำ มีสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาลอ่อน กลิ่นคล้ายมะนาว ต้านการติดเชื้อ การอักเสบ ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ระงับประสาทให้สงบ ลดอุณหภูมิของร่างกายได้

การ ใช้ประโยชน์จากตะไคร้ต้น นอกจากจะเป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหารแล้ว ยังใช้เป็นยาสมานแผล ยาฆ่าเชื้อโรค เป็นส่วนผสมสำคัญในสบู่ ยาระงับกลิ่น ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและเครื่องหอม โดยนำน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ไปผสมกับส่วนผสมอื่นๆ หรือนำไปผสมในยาฆ่าแมลง ยากันยุง และสามารถนำ Citral ที่พบในน้ำมันหอมระเหยมาเป็นสารเริ่มต้นในการผลิตไอโอโนนและวิตามินเอได้

ปัจจุบัน มีการนำตะไคร้ต้นมาใช้ประโยชน์เป็นพืชสมุนไพรอย่างกว้างขวาง มีการเพาะปลูกเป็นการค้าในจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน ผู้ผลิตใหญ่คือจีน ปริมาณ 500-1,000 ตันต่อปี ในรูปของน้ำมันหอมระเหย สำหรับประเทศไทยยังไม่พบผลิตเป็นการค้า เนื่องจากยังไม่สามารถขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ดตามธรรมชาติได้ จากการทดลองขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำ ยังไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ ส่วนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากส่วนของปลายยอด ก็สามารถเพิ่มปริมาณได้เพียงส่วนน้อย

ในประเทศไทยพบตะไคร้ต้นในป่า ธรรมชาติ สูงจะระดับน้ำทะเล 700 เมตร เช่น ที่สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามแนวพระราชดำริบ้านปางขอน ดอยช้าง และดอยวาวี จ.เชียงราย ตลอดจนใน จ.เชียงใหม่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงรายสกัดน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ต้นมาแปรรูป เป็นน้ำมันเหลือง ยาหม่อง และสบู่ตะไคร้ต้น

เมื่อพูดถึงสถานการณ์ ตลาดของตะไคร้ต้น มีปริมาณความต้องการน้ำมันหอมระเหยในตลาดโลกประมาณ 200-1,500 ตันต่อปี ประเทศที่รับซื้อคือ สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่น ซึ่งจากความต้องการดังกล่าว ทำให้ตะไคร้ต้นมีโอกาสเป็นพืชอุตสาหกรรมใหม่ต่อไปได้ แต่ในปัจจุบันตะไคร้ต้นในสภาพธรรมชาติมีน้อยลง และลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว และมีความเสี่ยงที่จะหมดไปจากป่า เนื่องจากการขยายพันธุ์ทำได้ลำบาก และพื้นที่เดิมในธรรมชาติถูกรุกรานเพื่อใช้ในการปลูกพืชชนิดอื่นๆ

สภาพ ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือ พันธุ์ของตะไคร้ต้นในธรรมชาติมีความแปรปรวนสูง ยังไม่มีการศึกษาพันธุ์กันอย่างจริงจัง และยังไม่มีพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงมาใช้ประโยชน์ รวมถึงการขยายพันธุ์ยังไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งวิธีการเพาะเมล็ดและโดยวิธีอื่นๆ การผลิตก็ยังไม่มีเทคโนโลยี เช่น การเกษตรกรรม การจัดการดินและปุ๋ย และการอารักขาพืช เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวก็ยังไม่มีการศึกษาส่วนต่างๆ สำหรับการผลิตน้ำมันหอมระเหย และองค์ประกอบเคมีที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ

ผลงานวิจัยที่ผ่านมา นักวิจัยหลายท่านได้ทดลองและมีผลการวิจัยเกี่ยวกับตะไคร้ต้นดังนี้

ทดลอง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เพาะเมล็ด การปักชำ แต่ยังไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ ส่วนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากสวนปลายของยอดก็ได้ปริมาณน้อย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาทากันยุงจากตะไคร้ต้น ก็ควรใช้น้ำมันที่กลั่นจากผลความเข้มข้นร้อยละ 20 ในเอทานอลที่ผสมสารยึดระหว่างการระเหย (วานินิน) ลงไป

การใช้น้ำมัน หอมระเหยที่สกัดจากตะไคร้ต้นให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคจุดใบ ผัก คือความเข้มข้น 1,000 ppm หรืออัตราใช้ในแปลงผักเท่ากับ 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นด้วยเครื่องพ่นสารเคมีชนิดสะพายหลัง มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคใบจุดอย่างได้ผลดีใกล้เคียงกับสารเคมี เป็นทางเลือกให้เกษตรกรในการผลิตผักตระกูลกะหล่ำ ที่สามารถใช้ทดแทนสารเคมีได้อย่างปลอดภัย

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีที่มี อยู่ในปัจจุบันในการสกัดสารหอมระเหย พบว่าผลแก่ 1 กิโลกรัมมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูงสุด รองลงมาคือ ดอกและราก โดยมีน้ำมันหอมระเหย 43.3 มิลลิลิตร (43.3%) 8.3 มิลลิลิตร (8.3%) และ 4.6 มิลลิลิตร (4.6%) ตามลำดับ

จากการทดลองกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากผล ตะไคร้ต้นด้วยการเก็บผล 2 กิโลกรัม กลั่นเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ให้ปริมาณหอมระเหยเฉลี่ย 3.04% และจากการศึกษาถึงองค์ประกอบในน้ำมันหอมระเหยด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโตกราฟฟี พบว่า Citral 55% Iimonone 22% และ methylheptenenone 6.8% นอกจากนั้น จาการทดลองสกัดและวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก โดยใช้เทคนิคแก๊สโครมาโตกราฟฟีและแมสสเปกโทรเมตริ พบองค์ประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ a-pinene, limonene และ geranail คงจะเห็นได้ว่าตะไคร้ต้นใช้ประโยชน์ได้ในหลายๆ ด้าน ผู้ใดสนใจในรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชเชียงราย โทร.0-5317-0100 หรือ 0-5317-0102 ในวันและเวลาราชการ.

(บัณฑิต จันทร์งาม, อรุณี ใจเถิง ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย : ข้อมูล)

ที่มา http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=9105.0

มาทำความรู้จักกับ ซิลิคอน ซิลิกา ซิลิเกต กันนะครับ

สวัสดีครับพี่น้องเกษตรกรชาวไทยและผู้ที่สนใจในอาชีพกสิกรรม ก่อนอื่นต้องบอกกล่าวกันก่อนว่าเดือนพฤษภาคมนี้ถือได้ว่าเข้าสู่ช่วงฤดูฝนแล้วนะครับ แต่ด้วยสภาพอากาศรวมทั้งสภาพแวดล้อมในปัจจุบันมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง เท่าที่ผ่านมาภายใน 1 วัน อาจจะมีครบทั้ง 3 ฤดู คือ เช้าหนาว เที่ยงร้อน เย็นฝนตก หรือว่าอาจจะสลับกันไปไม่เป็นเวลา ทำให้มนุษย์อย่างเราๆท่านๆรวมทั้งสัตว์เลี้ยงและสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆปรับตัวตามสภาพแวดล้อมกันแทบไม่ทัน
ภูเขาไฟ.gif
ภาพที่1 ภูเขาไฟแหล่งกำเนิดภูไมท์ พูมิช ที่มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงดิน

ทำ ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สิ่งที่ทำได้และควรทำที่สุดในตอนนี้คือต้องรักษาร่างกายของเราให้แข็งแรงและ สมบูรณ์อยู่เสมอเพื่อให้พร้อมรับกับทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ด้านสิ่งแวดล้อมล่ะครับจะทำอย่างไรกันดีที่จะเป็นทางเยียวยาและแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้น เริ่มต้นจากพวกเราทุกๆคนนี่แหละครับ ต้องช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อม ลดปริมาณการใช้สารเคมีลง แต่ในอาชีพเกษตรกรรมของประเทศไทยนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้ปุ๋ยและสารเคมีชนิดต่างๆ เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชซึ่งสารเคมีเหล่านี้เมื่อเราใช้ไปนานๆจะ เกิดการสะสมและตกค้างอยู่ในดินและร่างกายของผู้ใช้ ทำให้ดินเสื่อม ร่างกายได้รับสารพิษ รวมทั้งเพิ่มต้นทุนในการผลิต ที่กล่าวมาไม่ได้ต้องการให้เลิกใช้นะครับแต่ต้องการให้ลดปริมาณลง แล้วหันมาใช้ชีววิธีแทนซึ่งปลอดภัยและประหยัดต้นทุน เอาล่ะครับวันนี้ทางชมรมฯอยากจะแนะนำให้ทุกท่านรู้จัก ซิลิคอนพระเอกของเราในวันนี้ว่ามีหน้าที่และมีความสำคัญอย่างไร มารู้จักกับเค้าเลยดีกว่านะครับ

Pumice.gif

ภาพที่ 2 หินแร่ภูเขาไฟ (ภูไมท์ พูมิช)

ซิลิคอน เป็นธาตุเบาที่มีคุณสมบัติกึ่งโลหะ ปกติในธรรมชาติพบว่าซิลิคอนจะรวมกับออกซิเจนและอะตอมของธาตุอื่นๆ เกิดเป็นซิลิเกต (Silicates) พบได้ในชั้นเปลือกโลกมากกว่าร้อยละ 26 โดยที่ซิลิกา (silica : SiO2) เองนั้นก็เป็นซิลิเกตชนิดหนึ่ง แต่มีเพียงอะตอมของซิลิคอนและออกซิเจนเป็นส่วนประกอบเท่านั้น ซิลิกาหรือทราย ที่รู้จักกันทั่วไป คือ ควอทซ์หรือควอทไซต์

กรดซิลิคอน มีสูตรทางเคมีว่า (H4SiO4) เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชทุกชนิดสามารถละลายน้ำได้ง่าย ซึ่งช่วยทำให้พืชสามารถดูดซึมน้ำและกรดซิลิคอนผ่านทางรากสู่ลำต้นและใบได้ อย่างรวดเร็ว เมื่อพืชดูดซึมน้ำและกรดซิลิคอนเข้าไปอย่างต่อเนื่องน้ำที่พืชดูดซึมเข้าไป จะระเหยออกทางใบจากกระบวนการคายน้ำแต่กรดซิลิคอนที่พืชดูดซึมเข้าไปนั้นจะ ไม่ระเหยออกทางใบแต่จะสะสมอยู่ที่ผิวใบของพืชโดยไม่ระเหยออกไป เมื่อกรดซิลิคอนสะสมอยู่ที่ใบอย่างต่อเนื่องจะกลายเป็นผลึกควอทซ์ โอปอล หรือเปลี่ยนเป็นกรดซิลิเกตเคลือบที่ใบ รวมทั้งทำให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรงเหมือนเป็นเกราะป้องกันพืชทำให้ใบพืชมี ลักษณะ ใบหนา ใบเขียวทน เขียวนาน ช่วยทำให้กลิ่น รสชาติ ของลำต้นและใบพืชไม่เป็นที่ปรารถนาของแมลง ช่วยทำให้ผิวพืชแข็งแกร่ง ต่อต้านต่อโรคและแมลง เพลี้ย หนอน รา ไส้เดือนฝอย และกรดซิลิคอนยังช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพ เพิ่มน้ำหนักในพืชทุกชนิด ซึ่งกรดซิลิคอนเป็นรู้จักในฐานะที่เป็นธาตุที่ใช้ในทางการเกษตรมาเป็นเวลา หลายปี ประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มทำการวิจัยเกี่ยวกับการใช้กรดซิลิคอน พบว่า นาข้าวมีคุณภาพดีขึ้น ต้นข้าวกลับเป็นโรคน้อยลงและสามารถลดปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชลงได้อีกด้วย รู้จักกันมาพอสมควรแล้วนะครับแล้วเจ้า กรดซิลิคอน นี้อยู่ที่ไหน อยู่ที่นี่ยังไงล่ะครับ ภูไมท์ซัลเฟต

ใช้ภูไมท์ซัลเฟตหว่านรองพื้นอัตรา 40-80 กิโลกรัม/ไร่ แล้วไถกลบ ในกรณีที่ใช้ภูไมท์ซัลเฟตปรับปรุง pH ดินก่อนปลูกพืช ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า pH ที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชทุกชนิดอยู่ที่ pH ระหว่าง 5.8 - 6.5 ที่ระดับค่า pH ที่กล่าวมานี้พืชสามารถดูดลำเลียงธาตุอาหารไม่ว่าจะเป็นธาตุอาหารหลัก , ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม (จุลธาตุ) ที่พืชต้องการไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำการตรวจ pH ดินในพื้นที่หรือแปลงเพาะปลูกว่าอยู่ที่ระดับ pH เท่าไหร่ ถ้า pH ต่ำกว่า 5.8 ให้ใช้หินฟอสเฟต ปรับเพิ่มค่า pH ขึ้นมา แต่ถ้า pH สูงกว่า 6.5 ให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟตกระสอบเหลือง pH 6.5 แต่ถ้า pH สูงมาก คือสูงกว่า 8.0 ให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟตกระสอบแดง pH 4.5 จะช่วยทำให้ดินร่วนซุย น้ำซึมผ่านดินได้ง่าย ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น แก้ดินที่เหนียวจัด แก้ดินดาน แก้ดินแน่นแข็ง ช่วยไล่เกลือออกจากเนื้อดิน ช่วยเพิ่มอากาศในดิน ช่วยอุ้มน้ำของดิน แก้อาการขาดปูนและกำมะถันในพืช แก้พืชแแพ้หนาวและร้อน แก้พืชซีด เขียวตองอ่อน แก้พืชโตช้า ฯลฯ เป็นอย่างไรบ้างล่ะครับ สำหรับคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้นของเจ้ากรดซิลิคอน หากเกษตรกรท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์ของทางชมรมฯ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ขอคำแนะนำหรือต้องคำปรึกษา สามารถติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษหรือติดต่อมายังที่ผู้เขียนโดยตรงที่ โทร. 084-6447342 , 02-986-1680-2 ยินดีให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจทุกท่านนะครับ

เขียนและรายงานโดย : คุณ สัจจกานต์ หาญนวกิจ (นักวิชาการชมรมฯ)

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ที่มา http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=7865&Param2=18