วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

แปลก...แต่จริง การเพาะเห็ดหอม (ราชินีเห็ด) ที่ "ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เห็ดสวนผึ้ง" ราชบุรี

 
แปลก...แต่ จริง การเพาะเห็ดหอม (ราชินีเห็ด) ที่ "ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เห็ดสวนผึ้ง" ราชบุรี สามารถกำหนดเวลาและปริมาณการผลิต ด้วย...วิธีกระแทก!!!ต่ม ีรสชาติหวานหอม ชวนรับประทานเท่านั้น แต่ข้อมูลจากการวิจัยของหลายสำนักทั้งไทยและต่างประเทศ ล้วนเห็นตรงกันถึงประโยชน์และสรรพคุณของเห็ดหอมมากมาย ไม่ว่าจะในทางเป็นยารักษาและป้องกันโรคสารพัด อาทิ ช่วยรักษาโรคหอบ ช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดและระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งตัว ลดความเครียด บำรุงปอดและหลอดลม เป็นต้น เห็ดหอมจึงได้ชื่อว่า "ราชินีเห็ด"

และ จากข้อมูลงานวิจัยอีกเช่นกันบอกว่า แม้เห็ดหอมจะมีข้อดีมากมาย แต่คนไทยก็ยังรับประทานเห็ดหอมกันน้อย เนื่องจากเห็ดหอมมีราคาแพง เพราะต้องสั่งมาจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม มีหลายแห่งในประเทศไทยที่ เพาะ-จำหน่าย เห็ดหอมกันอย่างแพร่หลาย จนทำให้ราคาไม่แพงอย่างที่คิด

คุณ บุญโชค ไทยทัตกุล เป็นอีกผู้หนึ่งที่ศึกษาเรื่องราวความน่าสนใจของเห็ดหอม เขาบอกว่า ได้รับความรู้เรื่องเห็ดมาตั้งแต่สมัยเด็กเพราะครอบครัวมีธุรกิจเกี่ยวกับ เห็ด ที่มีชื่อว่า "ศูนย์รวมสวนเห็ดบ้านอรัญญิก" ตั้งอยู่เลขที่ 3/1 หมู่ที่ 8 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73220 โทรศัพท์ (02) 441-0369, (02) 441-0467 ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่เผยแพร่ เพาะ-จำหน่าย เห็ดหลายชนิดมาเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในวงการเห็ดทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนั้น ยังจัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับเห็ดมากมาย อาทิ การเปิดอบรมการเพาะเห็ด มีร้านจำหน่ายเห็ด หรือสอนวิธีการเพาะและแปรรูปอาหารจากเห็ดต่างๆ ครบวงจร

คุณ บุญโชค กล่าวว่า กว่าจะมาเป็นศูนย์รวมสวนเห็ดบ้านอรัญญิกในวันนี้ มีเรื่องราวความเป็นมาในอดีตว่า สาเหตุที่ศูนย์เห็ดแห่งนี้ตั้งชื่อว่า "บ้านอรัญญิก" คุณพ่อ (คุณปรีดา ไทยทัตกุล) เป็นผู้ตั้งชื่อนี้เนื่องจากคุณย่าใหญ่ของตระกูลเป็นชาวหมู่บ้านอรัญญิก ซึ่งในประวัติศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาวบ้าน ที่สามัคคีกันร่วมกู้ชาติในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา เมื่อ คุณสาธิต และ คุณปราโมทย์ ไทยทัตกุล เริ่มเพาะเห็ดก็ตั้งชื่อเป็น ฟาร์มเห็ดบ้านอรัญญิก ต่อมาเพิ่มการผลิตเชื้อเห็ดเพื่อเก็บไว้ใช้เอง และเปิดให้ผู้สนใจเข้าชม จากนั้นก็มีการออกจดหมายข่าวเห็ดเพื่อชาวฟาร์มเห็ดรายเดือน ทำงานวิจัยกับสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศเพื่อช่วยเหลือเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน และรวมตัวกันเพื่อการส่งออก ตลอดจนปรับปรุงสายพันธุ์เห็ดใหม่ๆ เพื่อเป็นทางเลือกทางการตลาด จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์รวมสวนเห็ดบ้านอรัญญิก ในที่สุด

สำหรับเห็ดที่ศูนย์มีหลายชนิด เช่น เห็ดหลินจือ เห็ดหูหนู เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรมภูฏาน เห็ดนางนวล เห็ดฟาง ฯลฯ พร้อมกับยังมีการนำเห็ดมาแปรรูปอีกสารพัดชนิด อาทิ แคบเห็ดหอม ข้าวเกรียบเห็ดหอม ข้าวเกรียบเห็ดนางรมนางฟ้า ครองแครงเห็ด เห็ดสวรรค์ คุกกี้เห็ด พายเห็ด น้ำพริกเห็ด เป็นต้น

จากครอบครัวที่ทำธุรกิจเห็ด จึงทำให้เขาต้องคลุกคลีอยู่กับเห็ดมาเป็นเวลากว่า 30 ปี ได้รู้ ได้เห็น ได้ทำหลายอย่างที่เกี่ยวกับเห็ด ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นทางด้านการเพาะเห็ดหลายชนิดจนเกิด ความชำนาญ สิ่งหนึ่งที่คุณบุญโชคให้ความสนใจเกี่ยวกับเห็ดมากและคิดว่าหากมีโอกาสจะทำ ให้ได้ นั่นคือ การวิจัยเห็ด เพราะเล็งเห็นว่าสามารถนำมาช่วยเหลือเกษตรกรได้ในโอกาสต่อไป

เขาเล่า ว่า เมื่อ 20 กว่าปี ก่อนพี่ชาย (คุณสาธิต ไทยทัตกุล) ได้มาเที่ยวที่อำเภอสวนผึ้ง พร้อมกับสำรวจที่ดินหลายแห่ง พบว่า บางแห่งมีเห็ดเรืองแสงเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงหลายแห่งมีความเป็นแหล่งธรรมชาติที่ดีมาก พืชผล ต้นไม้ มีความเจริญเติบโตงอกงามอย่างดี เพราะมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูง อากาศเย็นถึงเย็นมาก มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 300 เมตร จึงเป็นเหตุผลที่พี่ชายตัดสินใจดำเนินการไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2537



ตั้ง "ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เห็ดสวนผึ้ง"

มุ่งศึกษา วิจัย พัฒนา สายพันธุ์เห็ดชนิดต่างๆ


ต่อ มาคุณบุญโชคเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวน่าจะทำประโยชน์ให้แก่อำเภอสวนผึ้งได้ บ้าง และยังเห็นสอดคล้องกับพี่ชายว่ามีความเป็นธรรมชาติดีและเหมาะกับการทำเห็ด จึงตกลงทำเป็นแหล่งศึกษา วิจัยเห็ด เพื่อเป็นการรักษาสายพันธุ์ต่างๆ ของเห็ดในธรรมชาติ และกำหนดให้เป็น "ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เห็ดสวนผึ้ง"

เจ้า ของศูนย์อนุรักษ์ฯ เปิดเผยว่า เห็ดที่ค้นพบมีหลายชนิด ล้วนเป็นเห็ดป่าทั้งสิ้น มีทั้งบริโภคได้และบริโภคไม่ได้ เช่น เห็ดหูหนูขาว เห็ดร่างแหสีชมพู เห็ดเรืองแสง เป็นต้น ซึ่งเหมาะที่จะนำมาใช้ทำวิจัยและพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ

ท่าม กลางป่าไผ่และต้นไม้ใหญ่หลายชนิด คุณบุญโชคได้ก่อสร้างโรงสำหรับเพาะเห็ดหอมแทรกไว้ในป่า ด้วยความต้องการที่จะรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ ไม่ต้องการรบกวนธรรมชาติ ตัดต้นไม้เท่าที่จำเป็น ต้องการให้ดำรงไว้ด้วยความเป็นธรรมชาติมากที่สุด ที่สำคัญการมีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมโรงเห็ดเป็นการช่วยในเรื่องการควบคุมอุณหภูมิ ได้ ดังนั้น โรงเห็ดจะถูกสร้างไว้เฉพาะตรงที่มีที่ว่างเท่านั้น จึงมีทั้งโรงเล็กและโรงใหญ่คละกัน เพื่อให้เหมาะกับขนาดพื้นที่

"เป็น โรงเห็ดหอมขนาดไม่ใหญ่มาก เล็กประมาณ 3 คูณ 6 เมตร จำนวน 6 โรง แต่มีความจุมากกว่าโรงใหญ่หลายเท่า โดยแต่ละโรงสามารถเก็บก้อนเห็ดหอมได้กว่า 3,000 ก้อน เป็นโรงเห็ดที่ทำง่ายๆ ด้วยวัสดุจากธรรมชาติเสียส่วนใหญ่" คุณบุญโชค ให้รายละเอียด

โรง เห็ดหอมของคุณบุญโชค ถึงแม้จะดูจากภายนอกเล็กกว่าที่อื่น แต่หากเข้าไปข้างในและสังเกตลักษณะรูปแบบการวางก้อนเห็ดบนชั้นวางที่เป็นรูป ตัว เอช (H) จะเป็นการวางก้อนเห็ดให้หันหน้าออกและก้นถุงจะชนกัน

เจ้า ของศูนย์อนุรักษ์ฯ อธิบายว่า โดยทั่วไปการวางก้อนเห็ดหอมจะวางตั้งกับพื้น และจำเป็นต้องวางแต่ละก้อนให้ห่างกัน ทั้งนี้เผื่อเวลาเปิดดอกซึ่งจะออกด้านข้าง สำหรับวิธีนี้ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่มาก แต่ด้วยการทำชั้นเป็นรูปตัว เอช (H) จะจัดวางก้อนเห็ดบนชั้นได้จำนวนมากกว่าโรงเห็ดที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เสียด้วย ซ้ำ เขาฟันธงว่า ถ้าห้องมีพื้นที่ขนาดเท่ากัน การนำวิธีของเขาไปใช้จะได้ปริมาณก้อนเห็ดมากกว่า



เหตุเพราะความบังเอิญ

ไปกระแทกตะแกรงใส่เห็ดแล้ว...ดอกออก


การ เพาะเห็ดหอมแบบทั่วไป ในช่วงพร้อมเปิดดอกจะใส่น้ำแข็ง โดยใช้ระยะเวลาจนกระทั่งน้ำแข็งละลายหมด หรืออีกวิธีคือนำก้อนเห็ดไปแช่ในน้ำเย็น หรือวิธีสุดท้ายคือ นำไปแช่ในตู้เย็น

"แต่วิธีที่หลานชาย (คุณกอปรธรรม ไทยทัตกุล) คิดโดยไม่ได้ตั้งใจ คือนำก้อนเห็ดใส่ลงในตะแกรง แล้วกระแทกตะแกรงลงพื้น โดยยกตะแกรงขึ้นเหนือพื้น ประมาณ 1 คืบ แล้วปล่อยตะแกรงให้กระแทกพื้นในแนวดิ่ง ทำอย่างนี้ 1-2 ครั้ง

ต่อจาก นั้น นำตะแกรงไปวางไว้ในโรงเรือน แล้วรดน้ำ ในเวลาเพียง 2 วัน ก็จะเริ่มออกดอก สำหรับวิธีนี้เพิ่งทำเมื่อปีที่แล้ว" คุณบุญโชค เปิดเผย

เขาบอกว่า วิธีนี้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ ระหว่างที่หลานชายกำลังทำงานในโรงเห็ด เข้าใจว่าระหว่างนั้นคงเหน็ดเหนื่อยจากงาน แล้วคงปล่อยตะแกรงที่มีเห็ดอยู่ลงกับพื้นอย่างแรง หลังจากนั้นเขาก็รดน้ำเห็ดตามปกติ โดยยังไม่ได้นำเห็ดขึ้นชั้น จากนั้น 2 วัน พอจะถึงเวลานำเห็ดขึ้นชั้นก็สังเกตเห็นว่ามีดอกเห็ดออกมาขาวไปหมดจากตะแกรง ที่เขากระแทก



สามารถกำหนดเวลา

และปริมาณการผลิตได้


วิธี การกระตุ้นเห็ดโดยการกระแทก สามารถกำหนดเวลาออกดอกเห็ดได้ และเป็นผลดีทางด้านการกำหนดเวลาสั่งเห็ดจากลูกค้า เพราะเมื่อลูกค้าสั่งเห็ดกำหนดเวลาภายใน 7 วัน มารับได้เลย นอกจากนั้น วิธีนี้ยังประหยัดเนื้อที่ และที่สำคัญลดค่าน้ำแข็ง ค่าไฟจากตู้แช่ ที่เคยนำมาใช้จากวิธีเดิมด้วย

ทั้งนี้ลักษณะดอกที่ออกจะไม่ตรง แต่จะงอขึ้นคล้ายกับการเจริญเติบโตในขอนไม้ สภาพความสมบูรณ์ของดอกขึ้นอยู่กับอิทธิพลของอากาศ หากอากาศหนาวจะมีลักษณะหนาและสีเข้ม แต่หากอากาศธรรมดาจะนิ่มทั้งก้าน สามารถรับประทานได้ทั้งหมด

ส่วนน้ำหมักที่คุณบุญโชคใช้สำหรับผสมกับ อาหารในก้อนเชื้อนั้น เขาเปิดเผยว่า ได้ใช้รากของเห็ดหอม แทนที่จะทิ้งให้เสียของ เขากลับนำมาใช้เป็นประโยชน์เพื่อใช้ทำน้ำหมัก เป็นการใช้โปรตีนที่อยู่ในรากเห็ดมาช่วยเสริมอาหารเพื่อทำให้เห็ดมีความ สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

"เห็ดหอมที่มาจากประเทศจีนมีรูปร่างลักษณะมีขน ที่ดอก และก้านจะแข็ง ที่เป็นอย่างนั้นเพราะเป็นไปตามสภาพอากาศที่หนาวเย็นของประเทศจีน ซึ่งโดยธรรมชาติเห็ดจึงสร้างสิ่งที่ป้องกันความเย็นมาปกป้อง ดังนั้น ลักษณะดอกและต้นจึงมีความหนา คล้ายกับคนที่ต้องห่อหุ้มร่างกายด้วยเสื้อกันหนาว

แต่ถ้านำสายพันธุ์ เดียวกันมาเพาะในประเทศเรา เนื้อจะเนียนสวย มีความนิ่ม ไม่มีขน และก้านจะไม่แข็ง ต่างกับประเทศที่หนาว" คุณบุญโชค ให้รายละเอียดเพิ่ม

คุณบุญโชคบอกต่ออีกว่า สำหรับเห็ดหอมที่ศูนย์อนุรักษ์ฯ เมื่อนำไปประกอบอาหารซึ่งสามารถทำได้หลายประเภททั้งผัด ต้มยำ จะมีรสชาติอร่อย นุ่ม อย่างเช่น เห็ดหอมผัดน้ำมันหอย ที่รับประทานได้ทั้งดอกและก้าน ส่วนการจำหน่ายก็ส่งตามรีสอร์ตที่ติดต่อมา แต่บางแห่งยังคงนิยมรับประทานเห็ดหอมจากประเทศจีนอยู่

จึงเห็นได้ ว่าในขณะนี้เห็ดหอมสามารถผลิตได้ภายในประเทศด้วยคุณภาพที่ดี รสชาติไม่แพ้ต่างประเทศเลย แต่ที่สำคัญมากที่สุดคือ ราคาไม่แพง จับต้องได้ จึงอยากให้คนไทยหันมานิยมบริโภคของที่ผลิตในประเทศ เงินทองจะได้หมุนเวียนในประเทศ

หากท่านใดที่ชื่นชอบรับประทานเห็ด หอมสด หรือสนใจวิธีการเพาะเห็ดหอมของ "ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เห็ดสวนผึ้ง" ในแบบที่ต้องกระตุ้นด้วยวิธีกระแทก สอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณบุญโชค ไทยทัตกุล โทรศัพท์ (081) 010-1342 E-mail : arunyik202@hotmail.com

ขอขอบคุณ

- ข้อมูลจากศูนย์รวมสวนเห็ดบ้านอรัญญิก ถนนพุทธมณฑล สาย 4

- ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เห็ดสวนผึ้ง บ้านเลขที่ 458 หมู่ที่ 3 ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี



ที่มา
http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05096010954&srcday=2011-09-01&search=no
http://scratchpad.wikia.com