วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

แหนแดง (Azolla)



แหนแดงเป็นพืชน้ำเล็กๆพวกเฟิร์นชนิดหนึ่งเจริญเติบโตลอยอยู่ผิวน้ำในที่มีน้ำขังในเขตร้อนและอบอุ่น
ทั่วไปแหนแดงที่พบในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดี่ยวคือ Azolla pinnata ต้นแหนแดงประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ ลำต้น(Rhizome) ราก(Root) และใบ(Lafe) แหนแดงมีกิ่งแยกจากลำต้น ใบแหนแดงเกิดตามกิ่งเรียงสลับกันไปแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ใบบน(dorsal lafe) และ ใบล่าง(ventral lafe) มีขนาดใกล้เคียงกัน ใบล่างค่อนข้างโปร่งมีคลอโรฟิลน้อยมาก ใบบนเป็นสีเขียวมีคลอโรฟิลเป็นองค์ประกอบ ใบบนมีโพรงใบและใบสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอาศัยอยู่ในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (symbiosis) สาหร่ายชนิดนี้สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบในรูปของแอมโมเนียมให้แหนแดงเอาไปใช้ได้ ทำให้แหนแดงมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูง 3-5 % ประเทศไทยโดยกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสนใจทำการวิจัยค้นคว้าเรื่องแหนแดง พบว่าการเลี้ยงขยายแหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้พอๆ กับการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนตามอัตราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ


การขยายปริมาณแหนแดงสำหรับใช้เป็นเชื้อพันธุ์
การจัดการให้ได้ปริมาณของเชื้อพันธุ์แหนแดงตามต้องการและภายในระยะเวลาที่กำหนดขึ้นอยู่กับ

ปัจจัยหลัก คือ ปริมาณของเชื้อพันธุ์ที่ใช้เริ่มต้น ขนาดพื้นที่เลี้ยงเชื้อพันธุ์ และระยะเวลาที่ใช้ในการเลี้ยงขยายเชื้อพันธุ์ สำหรับเกษตรกรชาวนาทั่วๆไปซึ่งมีพื้นที่ทำนาไม่มากนัก พื้นที่ใช้สำหรับการเลี้ยงขยายเชื้อพันธุ์จึงใช้พื้นที่เล็กๆเริ่มต้นใช้ประมาณ 500 กรัม/ตารางเมตร ปริมาณแหนแดงดังกล่าวจะกระจายคลุนที่ผิวน้ำบางๆและสามารถเจริญเติบโตเต็มพื้นที่ได้ภายในเวลา 4-6 วัน การเลี้ยงขยายแหนแดงวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ได้ผลแน่นอน แหนแดงที่ขยายเต็มจะได้น้ำหนักแหนแดงสดประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม/ตารางเมตร ด้วยวิธีดังกล่าวแหนแดงจะเพิ่มปริมาณได้ตามต้องการโดยใช้พื้นที่ขยายเชื้อพันธุ์ให้สัมพันธ์บปริมาณที่ต้องการ
การใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว


แหนแดงมีคุณสมบัติครบถ้วนสำหรับใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ขั้นตอนการปฎิบัติการใช้
แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว มีดังนี้


1. เตรียมขยายพันธุ์แหนแดงใช้เป็นเชื้อพันธุ์ในพื้นที่ประมาณ 25-50 ตารางเมตร
ต่อพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1 ไร่
2. รักษาระดับน้ำในนาข้าวให้ลึก 5- 10 เซนติเมตร


3. ใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง โดยใช้แหนแดงที่ได้เตรียมขยายไว้แล้วอัตรา 50-100กิโลกรัม/ไร่


4. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต อัตรา 3 ก.ก./ไร่ ในวันใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง


5. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตปริมาณเท่าเดิมหลังจากแหนแดงอายุ 7-10 วัน

ในสภาพเหมาะสม คือไม่มีปัญหาเรื่องโรคแมลงรบกวน สิ่งแวดล้อมเหมาะสมแหนแดงจะเจริญเต็มพื้นที่นา
ให้น้ำหนักสด 2-3 ตัน/ไร่ ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ ในการปฎิบัติเลี้ยงขยายแหนแดงเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวอาจจะเลี้ยงระยะก่อนปักดำ 3 สัปดาห์แล้วทำการไถกลบพร้อมกับการเตรียมแปลงปักดำข้าว หรือเริ่มเลี้ยงพร้อมปักดำเมื่อแหนแดงขยายเต็มพื้นที่แล้วปล่อยให้ตายเองตามธรรมชาติ
การใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนใส่ในนาแล้วไถกลบ มีประสิทธิภาพสูงกว่าการใส่บนผิวดินโดยไม่มีการไถกลบ
ในกรณีแหนแดงก็เช่นเดียวกัน การเลี้ยงขยายแหนแดงก่อนปักดำแล้วไถกลบในระยะปักดำดีกว่าวิธีไม่ไถกลบ และจากการทดลองของกรมวิชาการเกษตร พบว่าการเลี้ยงแหนแดงหนึ่งชุดก่อนปักดำแล้วไถกลบ ระยะปักดำกับการเลี้ยงปักดำโดยไม่ต้องมีการไถกลบแหนแดงสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ไม่แตกต่างกัน และไม่แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมี อัตรา 4.8-6.0 กิโลกรัม N/ไร่

ที่มา
http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/bio3.htm
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=3799.0

วิธีการใช้ขี้ไก่

วิธีการใช้ขี้ไก่ไข่ผงหมักemและกากน้ำตาลผสมเคมีในนาข้าว
1 เตรียมดินโดยใช้ขี้ไก่ไข่ผงหมัก100กิโลกรัมต่อไร่โรยให้ทั่วแล้วตีดินผสมไปเลย
2 ข้าวอายุ15-20วันใช้ขี้ไก่ไข่ผงหมักในอัตรส่วน ขี้ไก่ไข่หมัก150กิโลกรัมผสม16-16-8 50กิโลกรัมหว่านในอัตรส่วน50กิโลกรัมต่อไร่
3ก่อนข้าวตั้งท้อง20วันใช้ขี้ไก่ผงหมักในอัตราส่วนขี้ไก่ไข่หมัก150กิโลกรัมผสม15-15-15 50กิโลกรัมหว่านในอัตรส่วน50กิโลกรัมต่อไร่
ข้างจะได้น้ำหนักมากและต้นทุนลดลงมากครับ


วิธีการใช้ไก่ไข่หมักemและกากน้ำตาลอย่างง่ายๆ

1ขั้นตอนการเตรียมดิน ในกรณีที่ดินไม่ดีขาอความสมบูรณ์มานานใช้ขี้ไก่ไข่หมัก1000 กกต่อไร่ หว่านกระจายให้ทั่วแล้วไถกลบ
2กรณีนำไปใช้ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์เคมี โดยผสมขี้ไก่ไข่หมักกับปุ๋ยเคมีในสัดส่วน
1ต่อ1 สำหรับผักใบและพืชท่ต้องการเร่งผลผลิตให้ผลในระยะสั้น เช่น ผัก ข้าวโพด
3ต่อ1 สำหรับพืชที่เก็บเกี่ยวผลผลิตตลอดเวลาเช่น ยางพารา ปาล์ม มะพร้าว
5ต่อ1 หรือ ให้100%สำหรับพืชปี เช่น อ้อย มันสำปะหลัง
สำหรับข้าว แนะนำ ให้ใช้ รองพื้นด้วยขี้ไก่ไข่หมัก 200กกต่อไร่ ข้าวอายุ15วันใช้ขี้ไก่ไข่หมัก150กกผสมกับ16-16-8 50กก
ข้าวก่อนออกรวง1เดือน ใช้15-15-15 50กกผสมกับขี้ไก่หมัก 50 กก
หมาย เหตุ ปุ๋ยเคมีสำหรับข้าวไม่แนะนำให้ใช้ยูเรีย สำหรับพืชอื่นๆ ให้ใช้ปุ๋ยเคมีที่เคยใช้อยู่ตามปกติผสมตามสัดส่วนที่แนะนำและใช้อัตราส่วน เท่าเดิมจะประหยัดเงินและได้ผลผลิตไม่น้อยกว่าเดิม และดินจะดีขึ้นครับ

เปรียบเทียบส่วนประกอบทางเคมีระหว่าง ขี้ไก่ไข่, ขี้เป็ดไข่, กับ ปุ๋ยอินทรีย์ ตามกฏหมายกำหนด

ขี้ไก่ไข่มีไนโตรเจน 2.053%ฟอสฟอรัส 6.620% โปตัสเซียม 0.820% อินทรีย์วัตถุ 41.74%
ขี้เป็ดไข่ ไนโตรเจน 1.25% ฟอสฟอรัส 1.45% โปตัสเซี่ยม 0.91% อินทรีย์วัตถุ 35.11%
กฏหมาย ไนโตรเจน 1% ฟอสฟอรัส 0.5% โปตัสเซี่ยม 0.5% อินทรีย์วัตถุ 20%

ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=24198.0

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

หลักในการเลือกชนิดของปุ๋ยอย่างไร

โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกได้กี่ประเภท

โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกเป็นสอง ประเภทคือ ปุ๋ยอินทรีย์พวกหนึ่งและปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยพวกนี้ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดซึ่งเป็นพวกอินทรียสาร

ปุ๋ย คอก ที่สำคัญก็ได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ เป็นปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในบรรดาสวนผักและสวนผลไม้ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปแล้วถ้าคิดราคาต่อหน่วยธาตุอาหารพืชจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ย เคมี แต่ปุ๋ยคอกช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่าย การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มาก

ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพวกนี้ก็ได้แก่ปุ๋ยที่เราได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อน จึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย ปุ๋ยเทศบาลที่บรรจุถุงขายในชื่อของปุ๋ยอินทรีย์เบอร์ต่างๆ นั้น ก็คือ ปุ๋ยหมัก ได้จากการนำขยะจากในเมือง พวกเศษพืช เศษอาหารเข้า โรงหมักเป็นขั้นเป็นตอนจนกลายเป็นปุ๋ย ปุ๋ยหมักสามารถทำเองได้ โดยการกรองสุมเศษพืชสูงขึ้นจากพื้นดิน 30-40 ซม. แล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อเศษพืชหนัก 1,000 กิโลกรัม เสร็จแล้วก็กองเศษพืชซ้อนทับลงไปอีกแล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมี ทำเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้นๆ จนสูงประมาณ 1.5 เมตรควรมีการรดน้ำแต่ละชั้นเพื่อให้มีความชุ่มชื้น และเป็นการทำให้มีการเน่าเปื่อยได้เร็วขึ้น กองปุ๋ยหมักนี้ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งหนึ่ง

ปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดินซึ่งได้แก่พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วทำการไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก ตัวอย่างพืชเหล่านี้ก็ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน เป็นต้น ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยพวกนี้เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ ธาตุต่าง ๆ ที่ได้ตามธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ปุ๋ยเคมีมีอยู่ 2 ประเภท คือ แม่ปุ๋ย หรือปุ๋ยเดี่ยวพวกหนึ่ง และปุ๋ยผสมอีกพวกหนึ่ง

ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย ได้แก่ ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหาร ปุ๋ยคือ N หรือ P หรือ K เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยหนึ่งหรือสองธาตุแล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ ปุ๋ยนั้น ๆ มีปริมาณของธาตุอาหาร ปุ๋ยที่คงที่ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต มีไนโตรเจน 20% N ส่วนโปรแทสเซียมไนเทรต มีไนโตรเจน 13% N และโพแทสเซียม 46% K(,2)O อยู่ร่วมกันสองธาตุ
ปุ๋ยผสม ได้แก่ ปุ๋ยที่มีการนำเอาแม่ปุ๋ยหลาย ๆ ชนิดมาผสมรวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้มีปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีสูตรหรือเกรดปุ๋ยเหมาะที่จะใช้กับพืชและดินที่ แตกต่างกัน ปุ๋ยผสมนี้จะมีขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปเพราะนิยมใช้กันมาก ปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยผสมได้พัฒนาไปไกลมาก สามารถผลิตปุ๋ยผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ มีการปั้นเป็นเม็ดขนาดสม่ำเสมอสะดวกในการใส่ลงไปในไร่นา ปุ๋ยพวกนี้เก็บไว้นานๆ จะไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง สะดวกแก่การใช้เป็นอย่างยิ่ง

หลักเกณฑ์ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้คือ

(๑) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องนั้นหมายถึง สูตร เรโช และรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสามอย่างนี้แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง

สูตร ปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า "เกรดปุ๋ย" หมายถึงตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P(,2) O(,5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K(,2)O) สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ยเห็นได้อย่างชัดเจน

(๒) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะนี้ หมายถึง จำนวนหรืออัตราปุ๋ยที่ใช้ต่อไร่หรือต่อต้นที่พืชจะได้รับ ความพอเหมาะนี้มีอยู่ 2 ลักษณะคือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับเพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้นก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตและให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโตและให้ ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่wbr>wbr ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก็คือ พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลิตผลที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด

(๓) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชจึงต้องแบ่งใส่ จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการจะยังผลให้ประสิทธิภาพของ ปุ๋ยที่ใส่สูง ความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืชได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ยเพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตก ต่างกันออกไป แต่อาจจะถือเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ได้คือ

๓.๑ การแบ่งใส่ปุ๋ยมักจะให้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยจำนวนเดียวกันนั้นเพียงครั้งเดียวตอนปลูก ยกเว้นเมื่อใช้ปุ๋ยในอัตราต่ำมาก ๆ
๓.๒ การใส่ครั้งแรกคือใส่ตอนปลูก ควรใส่แต่น้อย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ส่วนปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทสนั้นจะใส่ทั้งหมดในตอนปลูกก็ได้
๓.๓ การใส่ครั้งที่สองควรใส่ระยะที่พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ระหว่างระยะแตกกอสูงสุดถึงใกล้ออกดอก ส่วนใหญ่การใส่ครั้งที่สองจะเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้สูงมากๆ การแบ่งใส่ควรเป็นสามครั้งคือ ตอนปลูก ตอนเริ่มการเติบโตอย่างรวดเร็วและตอนระยะใกล้ออกดอก และจะไม่ช้าไปกว่าระยะหลังจากพืชออกดอกแล้ว หรือระยะที่พืชเริ่มแก่

(๔) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็มีความสำคัญ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที

การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีหรือไม่อย่างไร

ปุ๋ย เคมีใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีที่สุด เมื่อพิจารณาด้านการนำมาใช้ปรับปรุงดินเลวให้เป็นดินดีนั้น ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่างก็มีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

ข้อได้เปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
๑. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำและธาตุอาหารพืชของดินดีขึ้น ข้อดีข้อนี้ปุ๋ยอินทรีย์ทำได้แต่ผู้เดียว ปุ๋ยเคมีไม่สามารถทำได้
๒. อยู่ในดินได้นาน และค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ
๓. เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
๑. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
๒. ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมีในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่จะเป็นประโยชน์ให้แก่พืช
๓. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมีเมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช

ข้อได้เปรียบของปุ๋ยเคมี
๑. มีปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนักของปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอ
๒. ราคาถูกเมื่อคิดเป็นราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหาร ประกอบกับการขนส่งและเก็บรักษาสะดวกมาก
๓. ให้ผลทางด้านธาตุอาหารเร็วกว่าปุ๋ยอินทรีย์

ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยเคมี
๑. ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงสภาพทางฟิสิกส์ของดิน กล่าวคือไม่ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยเหมือนปุ๋ยอินทรีย์
๒. ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม ถ้าใช้เป็นปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องใช้ปูนช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน
๓. ผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยเคมีพอสมควร มิฉะนั้นอาจมีผลเสียหายต่อพืชและต่อภาวะเศรษฐกิจของผู้ใช้ (ทำให้ขาดทุนได้)

ที่มา http://www.bloggang.com

ธาตุอาหารต่างๆ สำหรับพืช N P K ...

ธาตุอาหารหลักหรือธาตุปุ๋ย มี 3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรตัสเซียม ธาตุอาหารในกลุ่มนี้ พืชต้องการในปริมาณมาก และดินมักจะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงต้องเพิ่มเติมให้แก่พืชโดยการใช้ปุ๋ย

ธาตุไนโตรเจน Nitrogen, N

ไนโตรเจนเป็นธาตุที่มีบทบาทมากในการเจริญเติบโตของพืชที่เห็นได้อย่างเด่นชัด เพราะไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบของสารหลายชนิดในพืช เช่น
- เป็นองค์ประกอบของโปรตีนซึ่งอยู่ใน protoplasm ของพืช
- เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ซึ่งช่วยเร่งและควบคุมปฏิกริยาต่างๆในพืช
- เป็นองค์ประกอบของนิวคลีโอโปรตีน ซึ่งเป็นสารสำคัญเกี่ยวกับระบบพันธุกรรมของพืช
- เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟีลล์ ซึ่งจำเป็นสำหรับขบวนการสังเคราะห์แสงของพืช
สำหรับหน้าที่ที่สำคัญของธาตุไนโตรเจนในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่
1) ช่วยกระตุ้นให้พืชเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ และ
ช่วยให้พืชตั้งตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต
2) ทำให้พืชมีใบสีเขียว
3) เพิ่มปริมาณโปรตีนในพืช
4) ควบคุมการออกดอกออกผลและการสะสมอาหารของพืช กล่าวคือ หากพืชได้รับธาตุไนโตรเจนในปริมาณที่เหมาะสม การออกดอกออกผลก็จะเป็นไปตามอายุของพืช แต่ถ้าหากพืชได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ เป็นผลให้มีการออกดอกช้า พืชพวก root crops ก็จะเกิดหัวช้าและให้ผลผลิตต่ำ เพราะแป้งถูกนำไปใช้ในการสร้างใบเสียเป็นส่วนใหญ่


ธาตุฟอสฟอรัส Phosphorus ,P

ฟอสฟอรัสในพืช ทำหน้าที่ดังนี้ คือ
1) เป็นส่วนประกอบของโปรตีนบางชนิดในพืช
2) เป็นองค์ประกอบของสารต่างๆหลายอย่างที่สะสมอยู่ในเมล็ด ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นสำหรับการ งอกของเมล็ดพืช
3) เป็นตัวถ่ายทอดพลังงานจากสารหนึ่งไปยังสารอื่นๆในขบวนการ metabolism หลายอย่าง
ความสำคัญของฟอสฟอรัสต่อพืช คือ
1) ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากแขนงและรากฝอยในระยะแรกของการเจริญเติบโต
2) ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว และช่วยให้ดอก ผล เมล็ด ของพืชสมบูรณ์
3) ช่วยให้รากพืชดึงดูดโปแตสเซี่ยมมาใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น

ความต้องการใช้ธาตุฟอสฟอรัสของพืชจะมีมาก 2 ระยะ คือ
ระยะแรก พืชต้องการใช้ฟอสฟอรัสในระยะ 2-3 สัปดาห์แรกของการงอก เพราะระยะนี้ พืชจะมีการสร้างรากฝอยและรากแขนง
จำนวนมาก
ระยะที่สอง พืชต้องการใช้ธาตุฟอสฟอรัสมากในระยะที่มีการสร้างผลและเมล็ด เพื่อสร้างสารที่จำเป็นสำหรับการงอกของเมล็ด


ธาตุโปแตสเซี่ยม Potassium, K

ธาตุ โปแตสเซี่ยมไม่ได้เป็นส่วนประกอบของสารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตอของพืช เช่น สารโปรตีนต่างๆ แต่โปแตสเซี่ยมมีบทบาทในขบวนการต่างๆหลายขบวนการในพืช เช่น ขบวนการสังเคราะห์แสงและการหายใจ
นอกจากนั้น ยังเป็น ต้วกระตุ้นให้เอนไซม์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธาตุโปแตสเซี่ยมจะพบมากตามปลายราก
ยอด ตา และส่วนที่กำลังเจริญเติบโตของพืช
ความสำคัญของธาตุโปแตสเซี่ยมที่ปรากฏในพืช ได้แก่
1) ส่งเสริมการสร้างและการขนย้ายแป้ง น้ำตาลในพืช
2) ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ใบ และเนื้อไม้ส่วนที่แข็ง โปแตสเซี่ยมจึงทำให้พืชมีลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย
และมีความต้านทานโรค บางอย่างเพิ่มขึ้น
3) ส่งเสริมการสร้างหัวที่สมบูรณ์ของ root crop
4) ทำให้ผลผลิตพืชมีคุณภาพดี เช่น ทำให้ผลไม้มีสีสวย ทำให้ข้าวเปลือกมีน้ำหนักดีขึ้น

ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=srisurat&month=05-2010&date=20&group=1&gblog=6

คุณประโยชน์ของไข่ไก่

ไข่ไก่ เป็นอาหารประจำบ้านสำหรับคนหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะซีกโลกนี้หรือซีกโลกตรงข้าม ลองสังเกตตูเย็นที่ผลิตออกขายไปทั่วโลก ยี่ห้อไหนยี่ห้อนั้นมักมีช่องสำหรับเก็บไข่ไก่ มีความเชื่อมากมายเกี่ยวกับไข่ไก่ นิตยสารออสเตรเลียนเทเบิลระบุข้อมูลส่วนหนึ่งว่า

# ไข่ไก่ อุดมไปด้วยสารอาหารประเภท โปรตีน (สารอาหารสำคัญในการเจริญเติบโต สร้างเนื้อเยื่อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในอวัยวะต่างๆ) และแร่ธาตุมากมายที่จำเป็นต่อร่างกาย มีไขมันชนิดที่ดีและมีวิตามินทุกชนิดยกเว้นวิตามินซี คอเลสเตอรอลที่มีในไข่ไก่ไม่เลวร้ายอย่างที่หลายคนคิด
# ควรเก็บไข่ไก่ไว้ในตู้เย็น แต่ ไม่ต้องล้างไข่ไก่ ก่อนเก็บเข้าตู้เย็น เนื่องจากเปลือกไข่โดยธรรมมีลักษณะเป็นรูพรุนขนาดเล็กมากๆ และมีขี้ผึ้งชนิดหนึ่งเคลือบอยู่ที่เห็นเป็นนวลๆ หรือที่เราเรียกกันว่า 'นวลไข่' การล้างไข่ไก่เท่ากับล้างขี้ผึ้งนี้ออก ทำให้อากาศ สิ่งสกปรก และกลิ่นต่างๆ ในตู้เย็น ซึมเข้าสู่ภายในฟองไข่ได้ง่าย ทำให้ไข่ไก่สูญเสียคุณค่าก่อนเวลาอันควร
# การเก็บไข่ไก่ไว้ที่อุณหภูมิห้อง 1 วัน ไข่ไก่จะ สูญเสียความสดไปเท่ากับไข่ไก่ที่เก็บไว้ในตู้เย็นเป็นเวลา 1 สัปดาห์
# วิธีวางไข่ไก่ในช่องเก็บให้วางด้านที่มี ปลายเรียวแหลมลง ให้ด้านป้านหงายขึ้น ไข่แดงจะลอยอยู่ตรงกลางฟองไข่ เพราะไข่แดงมีน้ำหนักเบากว่าไข่ขาว ไข่แดงจึงมักลอยขึ้น ถ้าเก็บไข่โดยวางด้านป้านลง เมื่อไข่แดงลอยขึ้นก็จะไปติดกับเปลือกไข่ (เวลาต่อยไข่จะทำให้ไข่แดงแตกง่าย) เพราะปกติโพรงอากาศในฟองไข่จะอยู่ด้านป้าน และยิ่งเก็บไข่ไว้นาน โพรงอากาศก็จะยิ่งขยายตัว
# เพื่อคุณค่าสารอาหารในไข่ไก่ไม่สูญเสียมากจน เกินไปขณะนำไปปรุงอาหาร ควรใช้ ความร้อนต่ำๆ แม้แต่การทำไข่ต้ม ก็ควรต้มด้วยน้ำที่ค่อยๆ เดือด
# แม้แต่ น้ำที่เหลือจากการต้มไข่ ก็ยังมีประโยชน์ ไม่ควรเททิ้งไปเฉยๆ เพราะแคลเซียมจากเปลือกไข่จะถูกชะล้างออกมาเจือปนอยู่ในน้ำ เหมาะสำหรับนำไปรดน้ำต้นไม้ โดยเฉพาะบรรดาไม้กระถางที่ตั้งอยู่ในห้อง แต่อย่าลืมปล่อยให้น้ำต้มไข่เย็นก่อนล่ะ
# การทดสอบ ความสดของไข่ไก่ ให้แช่ไข่ไก่ลงในน้ำไข่ไก่ที่เก่าจะมีอากาศอยู่ภายในฟองไข่มากและจะลอยขึ้น มา(ลอยอยู่ใต้ผิวน้ำ ถ้าลอยเหนือผิวน้ำ แสดงว่าเป็นไข่เสีย) ส่วนไข่ไก่ที่สดใหม่กว่าจะจม
# ควรรับประทานไข่ไก่ที่เก็บไว้ในตู้เย็นให้ หมดตาม วันเวลาที่ระบุ ไว้บนบรรจุภัณฑ์ หรือภายใน 30 วันนับจากวันซื้อมา ถ้าเก็บไข่ไก่ไว้นานเกิน 30 วัน ไข่จะด้อยคุณภาพลง

ขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.oknation.net/blog/NENA/2008/07/31/entry-8

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

การปลูกปาล์มน้ำมัน

user image
การวางแนว การระบายน้ำความลาดเทของพื้นที่ ทิศทางของแสงแดดเพื่อให้ปาล์มน้ำมัน ได้รับแสงแดมากที่สุดเพื่อให้ใบได้มีกระบวนการสังเคราะห์แสง ควรปลูกปาล์มน้ำมันแบบสามเหลี่ยม ด้านเท่าแถวหลักเป็นฐานอยู่ในแนวทิศเหนือ ใต้ แถวที่ใกล้กันจะปลูกกึ่งกลางเป็นระยะยอดของสามเหลี่ยมด้านเท่า และการจัดระยะการปลูก ๙x๙ เมตรเป็นที่นิยมมากที่สุดเนื่อง จากทำให้ต้นได้รับแสงมากที่สุด
หลุมปลูกเมื่อวางแนวปลูกและปักไม้เป็นเครื่องหมายแล้วขุดหลุมขนาดกว้าง ๔๕ ซม. ยาว ๔๕ ซม. ลึก ๓๕ ซม. เป็นรูปตัวยูโดยให้จุดที่ปักไม้เป็นจุดกลางหลุมใช้เสียมแซะดินให้หลุมตั้งตรงขุดดินชั้นบนและชั้นล่างแยกกัน ตากไว้ประมาณ ๑๐ วันก่อนนำต้นกล้ามาปลูก
ฤดูปลูกฤดูที่เหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมัน คือ ต้นฤดูฝนประมาณ เดือนพฤษภาคม มิถุนายน ควรปลูกเมื่อฝนเริ่มตกแล้วเพราะดินจะมีความชื้นเพื่อให้ต้นกล้าได้มีเวลาตั้งตัวในแปลงได้นาน
การปลูกการปลูกอย่างถูกวิธีจะทำให้การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันดีและให้ผลผลิตสูงอายุต้นกล้าที่เหมาะสมประมาณ ๑๐ - ๑๒ เดือน ต้นกล้าที่มีอายุน้อยเกินไปจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและอ่อนแอต่อสภาพแวดล้อมต่างๆสำหรับต้นกล้าที่มีอายุมากเกินไปผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและตกผลช้าและไม่สะดวกในการขนย้ายบางครั้งไม่สามารถใช้ต้นกล้าที่มีอายุเท่าที่กำหนดได้เราสามารถแก้ไขได้โดยตัดใบบางส่วนทิ้งบ้างและระวังอย่าให้รากบอกบซ้ำจากการขนย้ายมากนัก
การขนย้ายต้นกล้าควรขนย้ายต้นกล้าปาล์มน้ำมันด้วยความประณีต ไม่ให้กระทบกระเทือนมากเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต
การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน การปลูกก่อนปลูกปาล์มน้ำมันควรใส่ปุ๋ยร็อกฟอสเฟตรองก้นหลุมเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน ในอัตรา ๒๕๐ กรัมต่อหลุมคลุกเหคล้าดินกับปุ๋ยให้กระจายถือต้นกล้าด้วยมือทั้งสองข้างอย่างระมัดระวังแล้ววางลงหลุมให้ตรงจุดที่ต้องการใส่ดินชั้นบนที่ตากไว้ไปก่อนแล้วตามด้วยดินชั้นล่าง อัดดินให้แน่นใช้ไม้ปักผูกไว้ป้องกันการล้ม หรือเมื่อลมพัดแรง
การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในระยะต่างๆจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างเช่นปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเดิมสภาพภูมิอากาศความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันในระยะต่างๆ ชนิดของปุ๋ย อัตราการใส่และราคาปุ๋ย สำหรับการขาดธาตุอาหารที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่าก็เป็นข้อพิจารณาอย่างหนึ่งสำหรับการใส่ปุ๋ย
วิธีการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ในแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกันแต่มีหลักสำคัญคือ
๑.ใส่ในช่วงที่ปาล์มน้ำมันต้องการ
๒.ใส่บริเวณที่รากปาล์มน้ำมันดูดไปใช้ได้มากที่สุด
ระยะเวลา ควรใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอหลีกเหลี่ยงการใส่เมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนัก ในปีแรกหลังจากปลูกควรใส่ปุ๋ย ๔ - ๕ครั้ง ตั้งแต่ปีที่ ๒ เป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย ๓ ครั้ง/ปีช่วงที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยคือ ต้นฝน กลางฝน และปลายฝนตั้งแต่ปี่ ๕ ขึ้นไปพิจารณาใส่ปุ๋ยเพียงปีละ ๒ ครั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม
การแบ่งใส่ปุ๋ย (อัตราที่แนะนำ) เมื่อแบ่งใส่ ๓ ครั้ง / ปีแนะนำให้ใช้สัดส่วน ๕๐:๒๕:๒๕% สำหรับการใส่ปุ๋ย ต้นฝน กลางฝน และปลายฝนและเมื่อแบ่งใส่ ๒ ครั้ง / ปี ใช้สัดส่วน ๖๐:๔๐% ระยะต้นฝนและก่อนปลายฝนตามลำดับ
ช่วงต้นฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม กันยายน
ช่วงปลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม พฤศจิกายน
วิธีการใส่ปุ๋ยควรใส่ครั้งแรกเริ่มปลูกปาล์มน้ำมันโดยใส่ร็อกฟอสเฟตอัตรา ๒๕๐ กรัม / ต้น
รองก้นหลุมต่อจากนั้นจะใช้ปุ๋ย ดังนี้

ปาล์มน้ำมันปลูกใหม่
100 - 200 กรัม/ต้น ใส่รองก้นหลุม

ปาล์มน้ำมันเล็ก

200 กรัม - 1 กก./ต้น ใส่รอบทรงพุ่ม 3 - 4 ครั้ง/ปี

ปาล์มน้ำมันใหญ่

3 - 5 กก./ต้น/ครั้ง ใส่รอบทรงพุ่ม 3 - 4 ครั้ง/ปี
การเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมัน
การเก็บเกี่ยวผลปาล์มสดรวมถึงการรวมผลปาล์มส่งโรงงานมีขั้นตอนโดยทั่วไปดังนี้
๑.ก่อนอื่นจะต้องแต่งช่อทางลำเลียงแถวปาล์มในแต่ละแปลงให้เรียบร้อยสะดวกกับการลำเลียงและการตรวจสอบทะลายปาล์มที่ตัดแล้ว เพื่อรวบรวมต่อไป
๒.คัดเลือกทะลายปาล์มสุกโดยยึดมาตรฐานจากการดูสีของผลซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นลงบนดินประมาณ ๑๐ ๑๒ ผลผลให้ถือเป็นผลปาล์มสุกที่ใช้ได้
๓.หากปรากฏว่าทะลายปาล์มสุกที่จะตัดมีขนาดใหญ่ที่ติดแน่นนกับลำต้นมากไม่สะดวกกับการใช้เสียมแทงเพราะจะทำ ให้ผลร่วงมากก็ใช้มีดขอหรือมีดด้ามยาวธรรมดา ตัดแชะขั้วทะลายกันเสียก่อนแล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายกันเสียก่อนแล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายปาล์มก็จะหลุดออกคอต้นปาล์มได้ง่ายขึ้น
๔.ให้ตัดแต่งขั้วทะลายปาล์มที่ตัดออกมาแล้วให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อสะดวกในการขนส่งหรือเมื่อถึงโรงงาน ทางโรงงานก็จะบรรลุลงในถังต้นลูกปาล์มได้สะดวก
๕.รวบรวมผลปาล์มทั้งที่เป็นทะลายย่อยและลูกร่วงไว้เป็นกองในที่ว่างโคนต้นเก็บผลปาล์มร่วงใส่ตะกร้าหรือเข่ง กรณีต้นปาล์มมีอายุน้อยทางใบปาล์มอาจรบกวนทำให้เก็บยาก
๖.สำหรับกองทางใบที่ตัดแล้วอย่าให้กีดขวางทางเดินหรือปิดกั้นทางระบายน้ำจะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ระบายน้ำที่ขังตามทางเดิน
๗.รวบรวมผลปาล์มทั้งทะลายสดและผลปาล์มร่วงไปยังศูนย์รวมผลปาล์มในกองย่อยเช่น ในการกระบะบรรทุกที่ลากด้วยแทรกเตอร์หรือรถอีแต๋น


ที่มา http://www.puibuatip.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=348806

หนอนตายหยาก









หนอนตายหยากเป็นพืชป่า พบได้ตามสภาพป่าทั่ว ๆ ไปในประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว และไทย ในประเทศไทยพบมากตามสภาพป่าธรรมชาติที่ไม่มีน้ำขัง ตามป่าเบญจพรรณ ป่าที่ลาดเชิงเขา และในสภาพป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ จะไม่พบในพื้นที่ที่มีการบุกเบิกที่ดินทำการเกษตรติดต่อกันนานหลายปี ถ้าหากเหง้าถูกขุดหรือไถพลิกขึ้นบนดิน เหง้าจะแห้งตายได้ง่าย ในปัจจุบันมีการนำเอาหนอนตายหยาก มาใช้ประโยชน์ทั้งในทางการเกษตรและใช้เป็นยารักษาโรค โดยเฉพาะในด้านการเกษตรหนอนตายหยากสามารถฆ่าแมลงได้หลายชนิด ซึ่งสามารถใช้ทดแทนสารเคมีได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หนอนตายหยาก แบ่งได้ 2 ชนิด
• หนอนตายหยากเล็ก
• หนอนตายหยากใหญ่

หนอนตายหยากเล็ก

ชื่อสามัญ : หนอนตายหยากเล็ก กะเพียดหนู โป่งมดง่าม สลอดเชียงคำ(อีสานโบราณ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stemona tuberosa Lour.
วงศ์ : Stemmonaceae
ลักษณะ์

• เป็นไม้เถา เถากลมเล็กเรียวสีเขียว พาดพันต้นไม้อื่น
• ใบรูปหัวใจ เส้นใบวิ่งตามยาวราว 10 เส้น ผิวและขอบเรียบ สีเขียวเข้ม
• มีหัวเป็นแท่งกลมยาว ขนาดนิ้วมือเป็นกระจุก
• ดอกตูมเป็นรูปเหมือนเงินราง สีเขียวอมเหลือง บานออกเป็นสีแดงเข้ม หรือขาว
• ฝักขนาดหัวแม่มือ คล้ายลูกรักบี้ ยาว3-4 ซ.ม. กว้าง 1.5-2 ซ.ม. ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม จะแตกเมื่อแห้ง แต่ละฝักมี 20-30 เมล็ด ที่ขั้วเมล็ดมีขนปุยอ่อนพยุงเมล็ดให้ลอยตามลม
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ คือ ราก (หัว) รสเมาเบื่อ
• ใช้ปรุงยารับประทาน
• แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคันตามร่างกาย
• ฆ่าเชื้อโรคพยาธิภายใน
• ตำผสมน้ำเอาน้ำพอกทาฆ่าหิด เหา แมลง หนอนศัตรูพืช
• ต้มกับยาฉุน รมหัวริดสีดวงให้ฝ่อแห้งไป

หนอนตายหยากใหญ่

ชื่อสามัญ : หนอนตายหยากใหญ่ ปงช้าง กะเพียดช้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stemona collinsae Craibr.
วงศ์ : Stemmonaceae
ลักษณะ

• เป็นไม้เถา ขณะต้นเล็กจะตั้งตรง เมื่อสูงขึ้นมากๆ จะพาดพันต้นไม้อื่น
• ใบรูปหัวใจ ปลายเรียวกว่าหนอนตายหยากเล็ก ใบโตและยาวกว่า
• เส้นใบวิ่งตามยาว ประมาณ 15 เส้น สีเขียวอ่อนกว่าเล็กน้อย
• รากเป็นหัวเก็บอาหารกลมยาวเป็นพวง ดอกและผลเหมือน
หนอนตายหยากเล็ก เกิดตามป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณทั่วไป
• ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ คือ ราก (หัว) รสเมาเบื่อ
• ใช้ปรุงยารับประทาน
• แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย
• รมหัวริดสีดวง
• ฆ่าหิด เหา
• ตำผสมน้ำฆ่าแมลงศัตรูพืช

การขยายพันธุ์

• โดยการเพาะเมล็ดและใช้เหง้าปักชำ

การเพาะเมล็ด

• ในสภาพธรรมชาติเป็นไปได้ช้า เนื่องจากจำนวนฝักและเมล็ดมีน้อย และหนูชอบกิน
• ความงอกของเมล็ดไม่ดี การเจริญเติบโตจากเมล็ดเป็นไปได้ช้า ต้องใช้เวลา ประมาณ 2 ปี จึงจะเริ่มให้หัวและนำมาใช้ประโยชน์ได้

การใช้เหง้าปักชำ

• ใช้เหง้าที่อายุเกิน 2 ปี เลือกให้มีหัวติดเหง้าด้วย 2-3 หัว
หลังปลูกได้ 1 ปี จะได้หัวเพิ่ม 4-6 หัว/หลุม

การดูแลรักษา

• ปรับปรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์

การเก็บเกี่ยว

• เก็บหัวโดยวิธีขุดแยก เก็บหัวออกจากเหง้า ทิ้งเหง้าให้ออกหน่อเจริญเติบโตในปีต่อไป

การเก็บรักษาหัว

• หัวที่ขุดมาควรจะนำมาใช้ประโยชน์ทันที ไม่ควรเก็บไว้นาน เพราะหัวจะเริ่มคายน้ำเรื่อยๆ ประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ลดลง

การใช้ประโยชน์


ในประเทศจีน


• ใช้รากหนอนตายหยากแช่เหล้านำเอาสารละลายที่ได้ใช้เป็นยาแก้ไอ

• ใช้เป็นยาขับให้ผายลม (Carrminative)
• ยาขับพยาธิ (Anthelmintic)

ในอินโดจีน

• มีผู้ใช้รากรักษาโรคไอวัณโรค (Phthisis)
โรคเจ็บหน้าอก

ในประเทศไทย

• มีผู้ใช้รับประทานเป็นยาฆ่าพยาธิในท้อง (Parasite)
• ทำให้ยุงที่มากัดตายได้
• ใช้รากหนอนตายหยากฆ่าหนอนบริเวณแผลของสัตว์ เช่น วัว ควาย
• ฆ่าแมลง เหา ตัวเลือด หมัด
• ชาวไร่ในจังหวัดจันทบุรี ใช้เป็นยาฆ่าแมลงที่รบกวนต้นพริกไทย
• กองเภสัชกรรมได้ใช้รากสดๆ ของหนอนตายหยากทดลองกับตัวไร ลูกน้ำ ทำไห้เกิดอ่อนเปลี้ยและตายได้
• กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทดลองยืนยันว่า รากหนอนตายหยาก มีสรรพคุณทางยา ใช้เป็นสารกำจัดแมลงอย่างได้ผล
• สามารถผลิตในเชิงอุตสาหกรรม ทดแทนสารเคมีฆ่าแมลงได้

วิธีใช้ประโยชน์ทางการเกษตร

• ใช้เหง้าหนอนตายหยาก 10 กิโลกรัม กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม ตะไคร้ทั้งต้น 5 กิโลกรัม ใบหูเสือ ใบสาบเสือ โดยนำส่วนผสมทั้งหมดมาบดให้ละเอียดโดยไม่ต้องใส่น้ำ หมักไว้ในภาชนะ เวลาใช้ให้ผสมกับน้ำ ฉีดพ่นในสวนส้ม ประมาณ 3 ครั้ง โดยกะอัตราส่วนผสมเอาเอง เวลาที่ใช้ยาหรือเวลาที่ให้น้ำห่างกันประมาณ 7 วัน เป็นอย่างน้อย แล้วจึงฉีดพ่นผสมกับน้ำ สังเกตดูว่าใบและแมลงนี้เคยเป็นโรคได้ลดลง และฉีดครั้งที่ 3 เมื่อฉีดครั้งที่ 3 แล้ว การใช้ยาจากสารเคมีจึงค่อย ๆ ลดลง
• นอกจากนี้ยังมีอัตราส่วนผสมอื่น ๆ เช่น รากหนอนตายหยาก 15 กิโลกรัม กากน้ำตาลเกรดเอ 15 กิโลกรัม น้ำ 20 กิโลกรัม ตะไคร้หอม เปลือกมังคุด และเปลือกเงาะประมาณ 5 กิโลกรัม โดยนำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมหมักในภาชนะทิ้งไว้ 15-20 วันก็นำมาใช้ได้
• เกษตรกรบางรายใช้ผสมกับสารอินทรีย์ต่าง ๆ ที่หมักขึ้นมาใช้เองเช่น น้ำหมักหอย เชอรี่ โดยการใช้ น้ำหอยเชอรี่ 100 กิโลกรัม บดให้ละเอียด หรือทุบพอแหลก กากน้ำตาลเกรด เอ 80 กิโลกรัม หมักในภาชนะมีฝาปิดมิดชิดทิ้งไว้ ประมาณ 15 วัน นำมากรองเอาแต่น้ำ เวลาใช้ให้ผสมกับหนอนตายหยาก 1 ส่วนต่อน้ำหนอนตายหยาก 20 ส่วน เมื่อใช้ในสวนส้ม ปรากฏว่าไม่พบหนอนชอนใบ แคงเกอร์ อีกทั้งยังทำให้ใบเขียวดอกดก ดินร่วนซุย

บรรณานุกรม


วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ที่มา http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=26

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

4 สูตรน้ำหมักชีวภาพยอดนิยม

4 สูตรน้ำหมักชีวภาพยอดนิยม

วัสดุอุปกรณ์
1. ถังน้ำหมักที่มีฝาปิดสนิท ควรเป็นถังพลาสติก หรือกระเบื้องเคลือบ ไม่ควรใช้ถังประเภทโลหะหรือปูนซิเมต์เพราะน้ำหมักจะเข้าไปกัดกร่อนภาชนะ
2. น้ำตาล สามารถใช้น้ำตาลได้ทุกชนิด อาทิ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง กากน้ำตาล ฯลฯ โดยเฉพาะกากน้ำตาล ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำตาลชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากอุตสาหกรรมน้ำตาล นอกจากนี้อาจใช้พืชจำพวกอ้อยได้เช่นกัน
3. ส่วนผสมกับน้ำตาล
- เศษซากพืชสด อาทิ พืชอวบน้ำอวบน้ำ ผัก ผลไม้ทั้งแก่และอ่อน รวมทั้งเปลือกผลไม้ ฯลฯ
- เศษซากสัตว์สด อาทิ หอยเชอรี่ ปลา ปู ฯลฯ
- พืชสุมนไพรเพิ่มประสิทธิภาพ อาทิ สะเดา ไหลแดง หนอนตายอยาก ตะไคร้หอม ฯลฯ
โดย ทั่วไปส่วนผสมของการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ถ้าใช้สูตรที่เป็นเป็นเศษซากพืช จะใช้ส่วนผสมระหว่างเศษซากพืชสดกับกากน้ำตาล อัตราส่วน 3 : 1
แต่หากเป็นเศษซากสัตว์ จะใช้อัตราส่วนระหว่างเศษซากสัตว์กับกากน้ำตาล อัตราส่วน 1 : 1

สูตรที่ 1 สำหรับพืชกินใบ
วัสดุประกอบด้วย
1) พืชสด และ 2) กากน้ำตาล อัตราส่วน 3 : 1
วิธีทำ
ใช้พืชที่มีลักษณะสด ใหม่ สมบูรณ์ อวบน้ำ โตเร็ว ไม่มีโรค (เน่า) ทุกส่วนๆ ละไม่มากนัก จากพืชหลายๆ ชนิด ทั้งพืชที่กินได้และวัชพืช
นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดละเอียดให้ได้ปริมาณ 3 ก.ก. แล้วบรรจุเศษพืชที่ได้ลงในภาชนะ และเติมกากน้ำตาลลงไป 1 ลิตร คนหรือเขย่าให้เข้ากัน
ให้เศษพืชจมอยู่ในกากน้ำตาลตลอดเวลา ปิดฝาภาชนะ เก็บไว้ในที่มืด อุณหภูมิห้องนาน 7 วัน สามารถนำไปใช้ได้
การปฏิบัติระหว่างการหมัก เขย่าภาชนะที่หมักพร้อมกับเปิดฝา วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น เมื่อครบ 7 วัน ให้ดมกลิ่น ถ้าหอมหวานแสดงว่า "ดี"
สามารถนำไปได้ ถ้าบูดเปรี้ยวแสดงว่า "ไม่ดี" ให้แก้ไขด้วยการเติมกากน้ำตาล หรือของที่ใส่ครั้งแรกแล้วหมักต่ออีก 3 วัน ถ้ามีกลิ่นหอมหวานก็แสดงว่า "ดี" ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยวอีกให้เติมน้ำตาลอีกแล้วหมักต่อไปจนกว่าจะมีกลิ่นหอม หวาน เมื่อได้น้ำหมักที่ดีแล้วให้เก็บไว้ในที่มืดภายใต้อุณหภูมิห้อง
เก็บได้นาน 6 เดือน - 1 ปี ระหว่างเก็บหากมีกลิ่นบูดเปรี้ยวให้เติมกากน้ำตาลลงไป
อัตราและวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ
1) พืชผักสวนครัว พืชไร่ ไม้ผลยืนต้น ให้ทางใบ อัตราส่วน 15-20 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 5-7 วัน ควบคู่กับให้ทางราก 30-50 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 15-20 วัน
2) เตรียมดินแปลกปลูก หรือหลุมปลูกไม้ผล อัตราส่วน 30-50 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
3) ใช้แทนสารเร่งปุ๋ยหมัก อัตราส่วน 75-100 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร พรมลงบนวัสดุทำปุ๋ยหมัก
4) กำจัดน้ำเสียโดย อัตราส่วน 75-100 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ราดให้ทั่วบริเวณน้ำเสียหรือในคอกปศุสัตว์
5) เพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์ อัตราส่วน 15-20 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร แช่เมล็ดพันธุ์พอท่วมก่อนเพราะเป็นเวลา 12 ชั่วโมง
การต่อเชื้อน้ำหมักชีวภาพ ใช้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน น้ำสะอาด 10 ส่วน ผสมให้เข้ากันดี ปิดฝาภาชนะเก็บไว้ในที่มืด ภายใต้อุณหภูมิห้อง นาน 3 วัน ตรวจสอบกลิ่นตามครั้งแรก
เคล็ดลับ เรื่องน้ำหมักชีวภาพ หลังการหมัก 3 วันแรก เปิดฝาออกดูถ้ามีแก๊สพุ่งออกมาแสดงว่า มีส่วนผสมดีพยายามเปิดฝาระบายแก๊สบ่อยๆ ถ้าไม่เปิดภาชนะที่หมักอาจระเบิดได้ กรณีถ้าไม่มีกากน้ำตาลสามารถใช้น้ำตาลทรายแดงได้ โดยเพิ่มปริมาณน้ำตาลแดงเป็น 1 ส่วน : เศษพืช 1 ส่วน การใช้น้ำหมักชีวภาพทางราก ควรใช้ควบคู่ไปกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเสมอ โดยการใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก 6 เดือน/ครั้ง

สูตร 1 เหมาะสำหรับพืชกินใบ ตัวอย่างพืชสดสูตร 1 ผักบุ้ง กวางตุ้ง ผักขม ผักเสี้ยน หน่อไม้ฝรั่ง ยอดชะอม ยอดกระถิน ยอดมันเทศยอดมะม่วง ยอดมะยม ผักตำลึงและผล เถาขี้กาและผล เงาะป่าและผล ใบยอและผล ฯลฯ


สูตรที่ 2 สำหรับพืชสำหรับพืชผักกินดอกผล
วัสดุประกอบด้วย
1) ผลไม้สุก (ฟักทองแก่, มะละกอทั้งเนื้อและเมล็ด กล้วยน้ำว้า บวบเหลี่ยม มะเขือเทศ) 2) พืชสด (ช่วงใบแก่อ้วนเอาทั้งปลายยอดและปลายราก) และ 3) กากน้ำตาล อัตราส่วน 2 : 1 : 1
วิธีทำและการปฏิบัติ
กระทำเช่นเดียวกับสูตรที่ 1 แต่ให้ได้ตามอัตราส่วนที่กำหนด
อัตราและวิธีการใช้
1) สูตร 2 เหมาะสำหรับพืชผักที่ใช้กินดอกผล เช่น กะหล่ำดอก แตงโม แตงกวา แตงเทศ แคนตาลูป ถั่วฝักยาว ถั่วแปบ ถั่วพี ถั่วเหลือง มะรุม น้ำเต้า กุ๋ยช่าย บวบต่างๆ มะเขือต่างๆ ฟักทอง ฟักเขียว พริกต่างๆ
2) ใช้อัตราส่วน 0.5 - 20 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบทุก 5 - 7 วันต่อครั้ง
3) ใช้อัตราส่วน 30 - 50 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ราดทางดินสลับการฉีดทางใบ 5 - 7 วันต่อครั้ง จะทำให้ดินร่วนซุย
4) สูตร 2 นี้ ใช้จนถึงระยะออกดอกติดผลก็ได้
สูตร 2 เหมาะสำหรับพืชผักกินดอก กินผล ตัวอย่างผลไม้สุก สูตร 2 สับปะรด แตงโม กล้วย ละมุด มะเขือเทศ บวบ ขนุน มะม่วง ฝรั่ง มะละกอดิบและสุก มะระดิบและสุก มะเฟือง มะกรูดผ่าซีก ฯลฯ


สูตรที่ 3 สำหรับพืชผัก ผลไม้ พืชไร่ นาข้าว

วัสดุ
ประกอบด้วย 1) พืชสด (สูตร 1) 2) พืชสดและผลไม้สุก (สูตร 2) 3) ปลาเป็นๆ หอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ กระดูกป่น 4) ตัวเสริม (ขี้เด็กทารก ขี้ไก่ค้างคอน ขี้นกปากห่าง ขี้เป็ดกินหอย ยาคูลท์ โยเกิร์ต กระทิงแดง ระลำเอียด) และ 5) กากน้ำตาล ผสมในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 : เล็กน้อย : พอท่วม
วิธีทำ
เตรียมวัสดุในการทำนำหมักสูตร 1 และ สูตร 2 ตามอัตราส่วนที่กำหนด นำปลาสด (ทั้งตัว) หอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ มาบด โขลก สับให้ละเอียด เพื่อง่ายในการย่อยสลาย บรรจุเศษพืช เศษปลา เศษหอยที่บด โขลก สับละเอียดแล้วลงภาชนะ (ควรเป็นโอ่งหรือภาชนะพลาสติกไม่แนะนำให้ใช้โลหะ) แล้วเติมกากน้ำตาลลงไป คลุกเคล้าพอคลุกคลิก เติมนำมะพร้าวอ่อน คลุกเคล้าลงไปอีกเพื่อให้มีน้ำมากขึ้นพอท่วมเศษวัสดุ คนหรือเขย่าให้เข้ากัน ให้เศษพืชจม อยู่ในกากน้ำตาลตลอดเวลา ปิดฝาภาชนะเก็บไว้ที่มืดอุณหภูมิห้องนาน 7 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้

การปฏิบัติต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพระหว่างการหมัก ปฏิบัติตามสูตร 2 จนถึงขั้นตอนสุดท้าย


สูตรที่ 4 สำหรับไม้ผล

วัสดุ/อัตราส่วน ประกอบด้วย
1) พืชสด 5 ส่วน 2) ผลไม้ผล 1 ส่วน 3) ผลไม้สุก 1 ส่วน 4) ปลาน้ำจืด 1 ส่วน 5) ไข่หอยเชอรี่ 1 ส่วน และ 6) เหง้ากล้วย 1 ส่วน
วิธีทำ
เติมกากน้ำตาลพอท่วม เติมขี้ไก่ค้างคอน 2 ส่วน เติมน้ำมะพร้าวอ่อน/รำละเอียด/อุจจาระเด็กทารกในปริมาณเล็กน้อย โดยห้ามนำไปฉีดผัก เพราะจะทำให้ผักกระด้าง

ที่มา http://sites.google.com/site/banrainarao/knowledge/biofer_10

การปรับสภาพดิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักเป็นอย่างดีว่าพื้นที่นับล้านไร่ในภูมิภาคต่างๆของประเทศมีปัญหาทั้งทางเคมีและทางฟิสิกส์อยู่หลายลักษณะ และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ราษฎรทำการเพาะปลูกได้ผลผลิตต่ำ จึงมีฐานะยากจน เช่น พื้นที่ดินพรุ ซึ่งเป็นทั้งดินอินทรีย์และดินเปรี้ยวจัด ในภาคใต้ พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดและพื้นที่ดินเค็มในภาคกลาง พื้นที่ดินทรายและพื้นที่ดินตื้นในหลายภูมิภาค จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพิ่มขึ้นอีก ๕ ศูนย์ โดยให้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ดินมีปัญหาให้การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นตัวอย่างเป็นภารกิจสำคัญของแต่ละศูนย์ โดยเน้นการพัฒนาด้านการเกษตรสมบูรณ์แบบ ทั้งการแก้ไขปัญหาเดิมของดิน การพัฒนาให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การจัดระบบเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์อย่างเหมาะสม การพัฒนาแหล่งน้ำ การฟื้นฟูสภาพป่า และการส่งเสริมศิลปาชีพและหัตถกรรมพื้นบ้านเพื่อเป็นแหล่งรายได้เสริม

การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด


ดินเปรี้ยวจัดของประเทศไทยมีกรดกำมะถันอยู่มากจนเป็นพิษต่อพืช สภาพกรดที่รุนแรงยังก่อให้เกิดปัญหาสืบเนื่องอีกด้วย กล่าวคือ มีการปลดปล่อยไอออนของโลหะที่เป็นพิษต่อพืช และธาตุอาหารบางอย่างอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์น้อยต่อพืช ปัญหาดินเปรี้ยวจัดจึงสลับซับซ้อนอย่างยิ่ง แต่ด้วยพระปัญญาอันลึกซึ้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรอบรู้เป็นอย่างดีว่า การขังน้ำย่อมสร้างดุลยภาพทางเคมีขึ้นใหม่ในดินดังกล่าว โดยดินจะปลดปล่อยกรดและไอออนอันเป็นพิษออกมาสู่น้ำมากขึ้น การระบายน้ำในช่วงเวลาถัดไปที่เหมาะสมจึงย่อมจะช่วยลดสภาพอันไม่พึงประสงค์นี้ลงได้ ด้วยกลไกธรรมชาติภายใต้การควบคุมน้ำดังกล่าวสภาพกรดในดินก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง และข้าวที่ปลูกก็ค่อย ๆ ให้ผลผลิตสูงขึ้น นอกจากนี้ การใส่ปูนในปริมาณและจังหวะที่เหมาะสมก็จะช่วยให้กระบวนการปรับปรุงดินเปรี้ยวบรรลุผลได้รวดเร็วขึ้น
ประเทศไทยมีพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดไม่ต่ำกว่า ๘ ล้านไร่โดยประมาณ ดินเปรี้ยวจัดโดยมากจะพบตามพื้นที่พรุ บริเวณที่ราบลุ่มชายทะเล และบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางซึ่งโดยทั่วไปที่ใช้ทำนา แต่มักให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ หากปลูกโดยไม่มีการปรับปรุงคุณภาพดิน

ในระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ในพ.ศ.๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้พิจารณาปรับปรุงพื้นที่พรุดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า "ด้วยพื้นที่จำนวนมากในจังหวัดนราธิวาสเป็นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำขังตลอดปี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ กสิกรจำนวนมากไม่มีที่ทำกิน แม้ระบายน้ำออกหมดแล้วยังยากที่จะใช้ประโยชน์ทางการเกษตรให้ได้ผล ทั้งนี้เนื่องจากดินมีสารไพไรท์ ทำให้เกิดกรดกำมะถัน เมื่อดินแห้งทำให้ดินเปรี้ยว ควรปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ดังนั้นจึงเห็นควรที่จะมีการปรับปรุงพัฒนาโดยให้มีหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการศึกษา และพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกันแบบผสมผสาน และนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการพัฒนาพื้นที่พรุอื่นในโอกาสต่อไป"
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ตั้งอยู่ระหว่างบ้านพิกุลทอง และบ้านโคกสยาในพื้นที่ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส พื้นที่สวนใหญ่เป็นดินอินทรีย์ หรือดินพรุ ซึ่งอาจแบ่งพื้นที่พรุออกเป็น ๓ เขต ตามสภาพพื้นที่และการใช้ประโยชน์ คือ
๑) เขตสงวน (preservation zone) เป็นเขตที่ป่าพรุยังคงสภาพสมบูรณ์ ต้องดำเนินการสงวนรักษาป่าไม้ไว้อย่างเข้มงวดเพื่อให้สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
๒) เขตอนุรักษ์ (conservation zone) เป็นเขตที่ป่าพรุเสื่อมโทรมจากการถูกทำลายไปบางส่วน ได้ดำเนินการฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าดังเดิม
๓) เขตพัฒนา (development zone) บริเวณนี้ถูกระบายน้ำออกไปบางส่วน และป่าถูกทำลายเพื่อใช้ในกิจกรรมด้านการเกษตร เป็นเขตที่กำหนดให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินงานร่วมกันพัฒนาพื้นที่โดยค้นคว้าวิจัยหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและจัดการดินในพื้นที่พรุ ให้สอดคล้องกับความต้องการของราษฎร

โครงการแกล้งดิน เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ดำเนินการทดลองเร่งดินเปรี้ยวให้เป็นกรดจัด โดยวิธีการที่ทรงเรียกว่า "แกล้งดิน" การเร่งให้ดินเป็นกรดจัดนี้ เริ่มจากการทำให้ดินแห้งสลับเปียก เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของสารประกอบไพไรท์ในชั้นดินเลนกับออกซิเจนในอากาศ ปฏิกิริยาดังกล่าวจะส่งผลให้ดินปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดรุนแรงถึงระดับที่พืชไม่เจริญเติบโตและไม่ให้ผลผลิต การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด มีหลักการสำคัญ ๔ ประการคือ

๑) การควบคุมระดับน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน โดยให้น้ำใต้ดินอยู่เหนือชั้นดินที่มีสารประกอบไพไรท์ ซึ่งมักพบในระดับความลึกจากผิวดินประมาณ ๑๐๐-๑๕๐ เซนติเมตร
๒) การแก้ไขความเป็นกรดจัดโดยใช้น้ำชลประทานล้าง ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๒-๓ ปี และต้องดำเนินการต่อเนื่องกัน หรือการใช้วัสดุปูนขาวเพื่อสะเทินความเป็นกรดโดยใช้ในอัตรา ๒-๔ ตันต่อไร่ และใส่ทุก ๒-๔ ปี จากการศึกษาทดลองพบว่า การใช้น้ำล้างความเป็นกรดและสารพิษ การใส่หินปูนฝุ่นและปรับปรุงดินโดยใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน ข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงถึง ๔๐-๕๐ ถังต่อไร่ ซึ่งวิธีการใช้น้ำล้างนั้นเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอ ถึงแม้ว่าในปีแรกผลผลิตจะไม่ดีนักแต่ในปีต่อๆ มาผลผลิตจะสูงขึ้นถึงระดับที่พอใจ สำหรับวิธีการใส่หินปูนฝุ่นลงไปในนาข้าวนั้นการให้หินปูนสะเทินกรด แล้วใช้น้ำล้างสารพิษออกไปจากดินเป็นวิธีที่ให้ผลดีที่สุด

๓) การปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวจัด ซึ่งมักขาดธาตุอาหารพืชที่สำคัญ คือ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส จำเป็นต้องให้ธาตุอาหารทั้งสองในรูปของปุ๋ยเพิ่มเติมในอัตราที่ค่อนข้างสูงในช่วงแรก แล้วค่อยๆลดลงในภายหลัง
๔) การเลือกชนิดของพืชที่สามารถทนต่อความเปรี้ยวได้ดี เช่น ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ กข.๒๑ กข.๒๓ ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ส่วนพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล จะปลูกได้ต่อเมื่อดินเปรี้ยวได้รับการปรับปรุงแล้ว

นอกจากโครงการแกล้งดินแล้ว ในการฟื้นฟูพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในโครงการพิกุลทองยังมีการวิจัยเพื่อเลือกพันธุ์ไม้สำหรับใช้ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม การทดลองปลูกปาล์มน้ำมันในดินอินทรีย์ และการศึกษาการใช้ประโยชน์จากกากปาล์มน้ำมันเป็นอาหารเลี้ยงไก่พื้นเมืองอีกด้วย

จากผลการดำเนินการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดดังกล่าว การพัฒนาดินเปรี้ยวจึงประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังที่มีพระราชกระแสรับสั่งเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินบ้านโคกอิฐ-โคกใน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ ตอนหนึ่งว่า "เราเคยมาโคกอิฐ-โคกใน มาดูเขาชี้ตรงนั้นๆ เขาทำแต่ว่าเขาได้เพียง ๕-๑๐ ถัง แต่ตอนนี้ได้ขึ้นไปถึง ๔๐-๕๐ ถัง ก็ใช้ได้แล้ว ต่อไปดินก็จะไม่เปรี้ยวแล้ว เพราะว่าทำให้เปรี้ยวเต็มที่แล้ว โดยที่ขุดอะไรๆทำให้เปรี้ยวแล้วก็ระบาย รู้สึกว่านับวันเขาจะดีขึ้น ..อันนี้สิเป็นชัยชนะที่ดีใจมากที่ใช้งานได้ แล้วชาวบ้านเขาก็ดีขึ้น แต่ก่อนชาวบ้านเขาต้องซื้อข้าวเดี๋ยวนี้เขามีข้าวอาจจะขายได้"

การขยายผลในกรณีการแก้ไขดินเปรี้ยวที่ทดลองได้ผลในเขตพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯโดยการใช้น้ำจืดชะล้างกรดออกจากดินนั้น แสดงว่าน้ำจืดสามารถช่วยปรับปรุงฟื้นฟูดินให้มีคุณภาพดีขึ้นจนใช้ปลูกข้าวได้ สมควรขยายผลนำไปแนะนำเกษตรกร หรือทำการปรับปรุงแก้ไขดินเปรี้ยวในท้องที่ซึ่งมีน้ำจืดในพื้นที่ใกล้เคียง หรือในเขตจังหวัดต่าง ๆ ต่อไป โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครนายก ทรงมีรับสั่งว่า "ที่เราทดลองที่นี่ จะไปเป็นประโยชน์สำหรับที่อื่น อย่างที่จังหวัดนครนายก ที่เราต้องการให้นครนายกเขามีน้ำ เดี๋ยวนี้นครนายกแห้งแล้งแล้วก็เปรี้ยว ก็เมื่อเปรี้ยวแล้วเอาปูนมาใส่ก็ยังไม่ดี ที่เราศึกษานี่จะเป็นประโยชน์จะเป็นเหตุผลที่จะต้องทำโครงการ โครงการจัดน้ำมาลงที่นครนายก แล้วก็รวมทั้งทุ่งรังสิตทั้งหมด เพื่อที่จะให้มีการเพาะปลูกต่อเนื่อง จะมีการเพาะปลูกอยู่เรื่อย ดินเปรี้ยวจะหายเปรี้ยว ไม่ใช่เอะอะก็เอาปูนเข้ามาใส่อย่างที่บริษัทเขาเอาปูนมาให้เราเมื่อ ๒ ปี ๓ ปี ใช้เฉพาะปูนไม่มีประโยชน์ ก็ต้องศึกษา อันนี้ก็จะไปช่วยนครนายกได้ แต่นครนายกต้องหาน้ำใส่"

การพัฒนาดินเค็ม

ในด้านการพัฒนาดินเค็มนั้น มีพระราชดำริให้จัดการเป็นระบบที่ประสมประสาน ทั้งพืช ดิน และ การจัดการน้ำอย่างเหมาะสม อาศัยแนวทางที่ทรงวางไว้เรื่องการวินิจฉัยสาเหตุของปัญหา ขั้นตอนของการแก้ไข และการใช้เทคนิควิธีที่เหมาะสม โครงการพัฒนาดินเค็มจึงดำเนินการโดยพิจารณาธรรมชาติและระดับความเค็มของดิน และเน้นการแก้ไขโดยการล้างดินแบบธรรมชาติในเขตดินเค็มต่ำและปานกลาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร แล้วคัดเลือกพืชเศรษฐกิจที่ทนต่อความเค็มมาปลูก สำหรับการบำรุงดินก็ส่งเสริมการใช้วัสดุอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยหมัก เป็นแหล่งธาตุอาหารพืช เนื่องจากต้นทุนต่ำและเป็นการพัฒนาดินเค็มที่มีประสิทธิภาพ

พระราชดำริเรื่องการปลูกไม้ยืนต้นและไม้โตเร็วในพื้นที่ว่างเปล่า นอกจากจะช่วยอนุรักษ์ดินและ เป็นแหล่งเชื้อเพลิงของราษฎรแล้ว ไม้ยืนต้นยังช่วยลดการกระจายและขยายขอบเขตของดินเค็มได้อย่างดียิ่ง และมีลักษณะของการป้องกันที่ยั่งยืน เนื่องจากไม้ยืนต้นช่วยลดระดับน้ำใต้ดิน มีร่มเงาปกคลุมผิวดิน น้ำจึงระเหยน้อย ทำให้การสะสมเกลือบนผิวดินน้อยลง และเพิ่มพูนอินทรียวัตถุในดินด้วย

การปรับปรุงดินตื้น

ดินตื้นในที่นี้ หมายถึง ดินลูกรัง หรือเศษหิน ซึ่งจะพบมากในระดับความลึกไม่เกิน ๕๐ เซ็นติเมตร จากผิวดินในการแก้ปัญหาดินดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาหาต้นไม้ที่มีความทนต่อสภาพเช่นนั้น มาปลูกตามรอยแตกของหิน เมื่อต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดี ก็จะทำให้บริเวณนั้นมีอินทรียวัตถุที่เกิดจากซากใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมกัน ในไม่ช้าหินก็จะค่อย ๆ ปรับสภาพกลายเป็นดินต่อไป การปลูกต้นไม้ดังกล่าวจะช่วยป้องกันการกัดเซาะของน้ำตามซอกหินและชลอการไหลของน้ำจากภูเขาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

สำหรับดินลูกรังได้ทอดพระเนตรสภาพดินลูกรัง ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉพาะในเขตจังหวัดสกลนครมีอยู่ถึง ๑.๖ ล้านไร่ จึงควรพิจารณาแก้ไขปัญหาดินลูกรังโดยเร็วโดยพิจารณาดำเนินการนำเครื่องจักร เครื่องมือ มากระทุ้งดินลูกรังแล้วนำดินชั้นล่างมาผสมกับดินลูกรังข้างบน เชื่อว่า ภายใน ๒ ปี สามารถปลูกพืชได้ โดยเฉพาะต้นกระถินสามารถขึ้นได้รวดเร็วมาก ก็น่าจะทดลองดำเนินการดังตัวอย่างที่ เขาชะงุ้ม ซึ่งมีสภาพแห้งแล้ง ดินเป็นลูกรัง ก็ดำเนินการโดยยืมดินจากฝายป่าไม้ซึ่งมีหน้าดินบนเนิน แบ่งพื้นที่เป็นหลุม ๆ เอาต้นมะม่วงหิมพานต์มาปลูกไว้ เมื่อฝนลงชะหน้าดินบนภูเขาลงมาเป็นแนว ใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ต้นมะม่วงหิมพานต์ก็สามารถขึ้นได้ และที่สำคัญคือในบริเวณที่ไม่ดีไม่เหมาะที่พืชจะขึ้นได้ แต่เราก็สามารถทำให้ปลูกพืชได้ เมื่อชาวบ้านมาดูเห็นทำได้ก็จะนำไปเป็นตัวอย่างและทดลองทำในพื้นที่ของตนต่อไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสถึงโครงการเขาชะงุ้ม เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ว่า "เรื่องต้นไม้ขึ้นเอง มีอีกแห่งหนึ่งที่ท่านทั้งหลายควรจะไปได้เพราะง่าย คือโครงการเขาชะงุ้ม ที่จังหวัดราชบุรี ที่ตรงนั้นใกล้ภูเขาเป็นที่ที่ป่าเสียไป เป็นป่าเสื่อมโทรม ที่เรียกว่าป่าเสื่อมโทรมเพราะมันไม่มีต้นไม้ ไม่มีชิ้นดี เริ่มทำโครงการนั้นประมาณ ๗ ปี เหมือนกัน ไปดูเมื่อสักสองปี หลังจากทิ้งป่านั้นไว้ ๕ ปี ตรงนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย แต่ป่าเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องไปปลูกสักต้นเดียว คือว่าการปลูกป่านี้สำคัญอยู่ที่ปล่อยให้เขาขึ้นเอง"

การปรับปรุงดินทราย

เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพพื้นที่และการทำมาหากินของเกษตรกรในตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎรในท้องที่นั้นได้ร่วมใจกันน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินประมาณ ๑,๒๒๗ ไร่ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงใช้ประโยชน์ตามพระราชอัชฌาสัย แต่ความที่พระองค์ทรงทราบถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของราษฎรในบริเวณนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงทราบว่า ดินทรายมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และง่ายต่อการชะล้างพังทลายหากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ดังนั้น จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนเพิ่มขึ้นอีกศูนย์หนึ่ง หน้าที่สำคัญประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรดินตามแนวพระราชดำริของศูนย์นี้คือ ให้ศึกษาหาวิธีการพัฒนาที่ดิน หรือปรับปรุงบำรุงดิน พัฒนาแหล่งน้ำ และฟื้นฟูสภาพป่า เพื่อให้เกษตรกรในภูมิภาคนี้เอาไปใช้ในไร่นาของตนเอง ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า "การพัฒนาที่ทำกินของราษฎรให้มีความอุดมขึ้น โดยการพัฒนาที่ดิน พัฒนาแหล่งน้ำตลอดจนฟื้นฟูสภาพป่า และใช้หลักวิชาการเกษตรในการวางแผนการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์"

ที่มา http://web.ku.ac.th/king72/2542-01/page02_2.htm

การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากปลาและผลไม้

วัสดุ-อุปกรณ์
-เศษปลา 30 กก.
-ผลไม้สุก เช่น กล้วย มะละกอ สับปะรด 20 กก.
-กากน้ำตาล 10 ลิตร
-สารพด.2 จำนวน 1 ซอง
-น้ำสะอาด 10 ลิตร

ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยบำรุงพืช

วิธีการทำ
1.นำผลไม้สุกมาทำการสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ
2.จากนั้นนำไปใส่ในถังหมักพร้อมกับเศษปลา
3.นำสารเร่งพด.2 มาทำการละลายน้ำ แล้วคนให้เข้ากันประมาณ 10 นาที แล้วเทใส่ลงในถังหมักพร้อมกับกากน้ำตาลแล้วคนให้เข้ากันอีกครั้ง
4.ปิดฝาถังหมักให้สนิทแล้วนำไปวางไว้ในที่ร่ม
5.ให้ทำการเปิดฝาและคนให้เข้ากันประมาณ 7 วัน/ครั้ง ประมาณ 40 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้

วิธีการใช้ : สามารถ นำไปใช้ร่วมกับปุ๋ยหมักในสวนปาล์มน้ำมันก็ได้หรือ นำน้ำหมักชีวภาพ 20 CC. ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นผักและผลไม้ได้ จะช่วยในเรื่องของบำรุงลูกของต้นไม้

ที่มา http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1960&s=tblareablog