วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การวางแผนการปลูกข้าว


โดยทั่วไปแล้วสำหรับการปลูกข้าวนั้นมักจะมีการนำเรื่องของช่วงแสงหรือความสั้นยาวของวันมาพิจารณาด้วย ทำให้สามารถแบ่งข้าวออกเป็น 2 ประเภทคือ ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง และข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ข้าวไวต่อช่วงแสงจะสามารถออกดอกเมื่อมีความยาวของกลางวันสั้นกว่าความยาวของกลางคืน ซึ่งในบ้านเรานั้นเวลาดังกล่าวจะตกอยู่ประมาณเดือนตุลาคม ข้าวพวกไวต่อช่วงแสงนี้จะต้องปลูกในฤดูนาปี ขณะที่ข้าวพวกไม่ไวต่อช่วงแสงนั้นสามารถปลูกได้ทุกฤดูการเพราะข้าวพวกนี้จะออกดอกและสามารถเก็บเกี่ยวเมื่ออายุครบตามกำหนด ช่วงแสงไม่มีอิทธิพลในการทำให้ข้าวพวกนี้ออกดอก ดังนั้นควรที่จะมีการวางแผนปลูกข้าวที่เหมาะสมเพื่อลดปัญหาต่างๆและให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่สูงสิ่งที่ต้องพิจารณาในการปลูกข้าวนั้นได้แก่

1.ลักษณะของการเจริญเติบโตและพัฒนาการในระยะต่างๆของข้าว ก่อนการปลูก เราต้องทราบและเข้าใจเกี่ยวกับระยะการเจริญเติบโตและพัฒนาการของข้าวพันธุ์นั้นๆ ตั้งแต่เริ่มตกกล้าจนถึงเก็บเกี่ยว ในข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสงนั้นมีระยะเวลาคงที่ในส่วนของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านลำต้นและใบนั้นผันแปรขึ้นอยู่กับการจัดการของเราดังตารางที่ 2.5
2.ช่วงแสงและฤดูการปลูก จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่าในพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงนั้น ช่วงแสงจะมีอิทธิพลบังคับให้พวกนั้นออกรวงตามกำหนดเวลาที่แน่นอน ยกตัวอย่างเช่น ข้าวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่จะออกรวงในราวๆวันที่ 26 ตุลาคม ของทุกๆปี และจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ราวๆ 26 พฤศจิกายน ดังนั้นฤดูการปลูกข้าวพวกนี้จึงจำกัดอยู่เฉพาะในฤดูนาปีเท่านั้น เพราะมีความจำกัดในเรื่องของช่วงแสงที่เหมาะสม ส่วนข้าวพวกที่ไม่ไวต่อช่วงแสงนั้น ไม่มีปัญหาสามารถปลูกได้ทั้งฤดูทำนาปีและฤดูทำนาปรัง ข้าวพวกนี้จะสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุครบตามกำหนดของพันธุ์นั้นๆ

ข้าวไม่ไวแสงพันธุ์ส่งเสริมของทางราชการนั้นอายุการเก็บเกี่ยวส่วนใหญ่ประมาณ 12-130 วัน ยกเว้นพันธุ์ กข.25 ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์เบามีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100 วัน ดังนั้นในการวางแผนการปลูกสำหรับฤดูการทำนาปีนั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะกะให้ช่วงเก็บเกี่ยวอยู่ในระยะที่หมดฤดูฝนแล้วคือประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาความเสียหายขณะเก็บเกี่ยว นอกจากนี้บางครั้งยังอาจต้องพิจารณาถึงช่วงสุกแก่ของข้าวในแปลงเกษตรกรข้างเคียงเพื่อลดความเสียหายจากการทำลายของนก เพราะถ้าเราปลูกก่อนและข้าวของเราออกรวงก่อนแปลงอื่นๆที่อยู่ข้างเคียงมักจะมีปัญหาการทำลายของนกมากที่เดียว เมื่อเราสามารถกะวันเก็บเกี่ยวได้แล้วเราก็นับถอยหลังตามอายุของข้าวพันธุ์นั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องกันปลุกข้าวพัน กข.7 ซึ่งมีอายุเก็บเกี่ยวราวๆ 120 วัน และเรากะที่จะเก็บเกี่ยวราวๆปลายเดือนพฤศจิกายน เราก็ควรเริ่มตกกล้าราวๆกลางเดือนกรกฎาคม เป็นต้น

สำหรับพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงนั้นระยะเวลาจากปักดำถึงระยะตั้งท้องนั้นจะผันแปรขึ้นอยู่กับวันปลูก ดังนั้นการที่ปล่อยให้ระยะปักดำ-ตั้งท้อง ซึ่งเป็นระยะเวลาในการเจริญเติบโตเพื่อสร้างลำต้นหรือการแตกกอน้อยเกินไป คาร์โบไฮเดรตที่ได้รับจากการสังเคราะห์แสงในส่วนที่ต้นข้าวสะสมไว้เพื่อที่จะได้เคลื่นย้ายไปยังส่วนที่จะพัฒนาไปเป็นดอกและเมล็ดจะน้อย ซึ่งทำให้เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์เมล้ดลีบเป็นสาเหตุให้ผลผลิตข้าวที่ได้รับน้อยลงไปด้วย หรือปล่อยให้ระยะเวลาปักดำจนถึงตั้งท้องยาวนานเกินไปก็มักจะพบปัญหาเกี่ยวกับโรคแมลงเข้ารบกวน และการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบมากเกินไป ต้นข้าวมักจะหักล้มมีผลทำให้ผลผลิตข้าวลดน้อยลงเช่นกัน

จากการทดลงของกรมวิชาการเกษตรพบว่า อายุในการเจริญเติบโตในช่วงปักดำ-ตั้งท้อง ประมาณ 55- 60 วัน เป็นระยะที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับข้าวพวกไวต่อแสง ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือปริมาณน้ำฝน มักจะพบเสมอว่าบางปีฝนตกล่าช้าไม่ถูกต้องตามฤดูกาลทำให้การปักดำต้องเลื่อนออกไป ระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่ปักดำ-ระยะตั้งท้องก็สั้นเข้า โอกาสเจริญเติบโตในการแตกกอและสะสมอาหารก็น้อย ทำให้ผลผลิตน้อยลงไปด้วย เนื่องจากเมล็ดไม่สมบูรณ์หากเจอสภาพเช่นนี้เราอาจจะต้องเลือกพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสงปลูกแทน ซึ่งจะทำให้ผลดีกว่า จากข้อมูลต่างๆ ที่ได้กล่าวมานี้พอจะสรุปเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเตรียมต้นกล้าเพื่อการปลูกข้าวที่เหมาะสมในที่นี้จะยกตัวอย่างถ้าเราต้องการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่นั้น เราจะต้องวางแผนการปลูกดังนี้



ที่มา http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=3907&s=tblrice

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การปรับปรุงสภาพดินหลังน้ำท่วมขัง




 ในสภาวะที่พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน  จนเกิดความเสียหายกับพืชที่ปลูกอยู่  หลังจากน้ำลดลงแล้ว  ก่อนที่จะปลูกพืชใหม่อีกครั้ง  เกษตรกรจะต้องให้ความใส่ใจกับวิธีการปรับปรุงดินหลังน้ำลด  เนื่องจากในสภาพที่ดินถูกน้ำท่วมขัง  ดินจะอิ่มตัวด้วยน้ำจนอ่อนตัว  โครงสร้างของดินจะง่ายต่อการถูกทำลาย  และเกิดการอัดแน่น  ดังนั้น  กรมวิชาการเกษตรจึงได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้

เกษตรกรต้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นการเติมอากาศและออกซิเจนให้กับดิน ช่วยเร่งการฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพการดูดน้ำและธาตุอาหารของรากพืชให้ดีขึ้น  สําหรับวิธีการระบายน้ำสามารถทําได้โดยการขุดร่องระบายน้ำความลึกอย่างน้อย  30650 เซนติเมตร เท่ากับความลึกของรากพืชส่วนใหญ่ การขุดร่องจะขุดระยะห่างระหว่างร่อง  8612 เมตร หรือกึ่งกลางระหว่างแถวปลูกไม้ ยืนต้น

หลีกเลี่ยงการเตรียมดินด้วยเครื่องจักรกลหนัก หรือไม่ ควรใช้เครื่องจักรกล เพราะเครื่องจักรกลจะทําให้ดินยุบตัวและแน่นทึบมากขึ้น  การระบายน้ำและอากาศในดินจะยิ่งแย่ลง  ส่งผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ  ผลเสียต่อการเจริญเติบโต และความสามารถในการหาอาหารของรากพืช

ควรปลูกพืชโดยลดการไถพรวน หรือไม่มีการไถพรวนดิน เพื่อลดการรบกวนสภาพโครงสร้างของดิน ดังนั้น ถ้าเป็นดินนา  เกษตรกรที่ต้องการปลูกข้าวหลังน้ำลด  ให้ขังน้ำไว้ในแปลงนา  แล้วคราดหรือเก็บเศษซากวัชพืช  เศษฟางข้าวออกให้หมด  แล้วปกดําข้าวลงในแปลงนาได้เลย  แต่ถ้ากรณีเป็นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย  อาจไถด้วยเครื่องมือเบาๆ  1 ครั้ง  แล้วจึงปักดํา  สําหรับการปลูกข้าวหลังน้ำท่วม  ไม่แนะนําให้ใช้วิธีหว่านน้ำตม  เพราะการย่อยสลายเศษ
ซากพืช  และฟางข้าวที่ไม่สมบูรณ์จะทําให้เมล็ดข้าวที่หว่านตายได้  แต่ถ้าหากน้ำลดจนหน้าดินแห้งแล้ว  สามารถไถพรวนและหว่านน้ำตามได้  ในกรณีที่ต้องการปลูกพืชไร่  เกษตรกรสามารถใช้ประโยชนจากน้ำหรือความชื้นที่สะสมอยู่ในดินหลังน้ำลด  โดยการหยอดหรือหว่านเมล็ดพืชลงในดินได้เลย  โดยไม่ต้องไถพรวนดินก่อน  เช่น  ข้าวโพด  ถั่วเขียว เป็นต้น

ควรใช้เครื่องมือเบาหรือเครื่องมือขนาดเล็กในการไถพรวนดิน  ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องไถพรวนดินเพื่อทําลายและกําจัดวัชพืชก่อนการปลูกพืชหลัก  ควรรอให้หน้าดินเริ่มแห้งและมีความชื้นพอเหมาะในการไถพรวน  แต่เกษตรกร ควรพิจารณาเลือกใช้เครื่องจักรกลขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา  เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างดิน  หรือส่งผลกระทบน้อยที่สุด   


ควรมีการพักดิน  โดยปล่อยพื้นที่ทิ้งว่างให้วัชพืชขึ้น  หรือปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินไว้  เช่น  ถั่วพร้า  ถั่วมะแฮะ  เป็นต้น  เป็นวิธีการที่เหมาะในการฟื้นฟูสภาพดินหลังน้ำลด  และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินก่อนการปลูกพืชในฤดูต่อไป

ควรขุดลอกดินทรายออกจากพื้นที่หลังน้ำท่วม  ในกรณีที่เกิดน้ำท่วมเนื่องจากน้ำปาไหลหลาก  จะมีดินทรายถูกพัดพามาทับถมอยู่บนผิวดินค่อนข้างมาก  เมื่อน้ำลดแล้วควรขุดลอกดินทรายออกจากพื้นที่จนถึงผิวดินเดิม  หรือลอกออกให้มากที่สุด  เพื่อให้ดินแห้งเร็วขึ้นและช่วยเร่งขบวนการเติมอากาศและออกซิเจนให้แก่ดิน ในกรณีที่พื้นที่เกษตรที่ถูกน้ำท่วม  ยังมีพืชยืนต้นอยู่ในแปลง  การจัดการสภาพดินหลังน้ำลดจะช่วยให้ต้นพืชฟื้นตัวได้เร็ว แต่เนื่องจากหลังน้ำท่วม  รากพืชไม่สามารถทําหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารได้อย่างเต็มที่  วิธีการให้ปุ๋ยทางใบกับไม้ผลไม้ยืนต้น  จะช่วยให้พืชฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น


เรียบเรียงโดย  ปาลลิน  พวงมี  นักวิชาการเกษตรชํานาญการ
สํานักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี


ฟื้นฟูสวนไม้ผลหลังน้ำท่วมด้วยปั๊มลม




ประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจะเกิดสภาพน้ำในแม่น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมเขตที่อยู่อาศัยและที่ทำมาหากินของประชาชนเป็นประจำ และว่ากันอีกว่า ทุกๆ 10 ปีก็จะเกิดน้ำท่วมใหญ่สักครั้งหนึ่ง โดยที่ท่วมรุนแรงครั้งหลังสุดก็เมื่อปี 2538 ระดับน้ำสูงกว่าสถานการณ์ล่าสุดของปี 2549 เกือบเท่าตัว ในเรื่องนี้ก็จะทำพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรเกิดความเสียหาย เมื่อน้ำท่วมขังอยู่นานนับเดือนก็จะทำให้พืชผลชนิดต่างๆเสียหาย เมื่อน้ำที่ท่วมขังอยู่ในพื้นที่ไม้ผลลดลงแล้วถ้าปล่อยไว้เฉยๆจนดินแห้งก็อาจทำให้ไม้ผลนั้นตายได้ แต่ถ้ามีเทคนิคของคุณลุงสมศักดิ์นี้ก็จะทำให้ไม้ผลของเกษตรอยู่รอดได้และเจริญเติบโตต่อไป


เมื่อน้ำที่ท่วมขังอยู่ในพื้นที่ไม้ผลลดลง (ดินยังไม่แห้ง)ให้เกษตรกรนำปั๊มลมเข้าไปในพื้นที่ที่ปลูกไม้ผล จากนั้นให้นำสายปั๊มลมปักลงไปในดินรอบทรงพุ่มไม้ผลนั้น และก็ทำการเปิดปั๊มลมสังเกตว่าลมจะผุดขึ้นทั่วๆ จากนั้นก็ย้ายไปต้นอื่นๆต่อไป เทคนิคนี้เป็นการเพิ่มอากาศในดินหลังน้ำท่วม เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ไม้ผลที่ถูกน้ำท่วมขังก็จะไม่ตาย


ที่มา http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=60&s=tblfertilizer

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความเสี่ยงของการปลูกอ้อยที่ชาวบ้านต้องแบกรับภาระ

ในการปลูกอ้อยส่งโรงงาน ชาวบ้านมีความเสี่ยงใน 3 ขั้นตอนคือ
ความเสี่ยงในการปลูกอ้อย 
1. ความเสี่ยงในขั้นตอนการปลูก ในช่วงนี้มีความเสี่ยงคือ ฝนแล้งทำให้ตอไม่งอก หรือฝนตกมากทำให้ตอเน่า ไฟไหม้นอกฤดูเปิดหีบ ทั้ง 3 กรณี จะเกิดความเสียหายทั้งหมดและทำให้ชาวบ้านต้องปลูกอ้อยใหม่
2. ความเสี่ยงในขั้นตอนที่อ้อยกำลังเติบโต ช่วงนี้มีความเสี่ยงคือ เกิดโรคเพลี้ยระบาด
หนอนกอ โรคใบเหลือง/ใบขาว หากเกิดโรคเพลี้ยระบาดจะทำให้เกิดความเสียหายต่ออ้อยร้อยละ 20 โรคหนอนกอทำให้เกิดความเสียหายร้อยละ 50 โรคใบเหลือง/ใบขาว ทำให้เกิดความเสียหายร้อยละ 80 ถึงเสียหายทั้งหมด การเกิดปัญหาในส่วนนี้จะต้องแบกรับต้นทุนเพิ่มขึ้นคือ
- ค่ารถไปซื้อยา 100 บาท
- ค่ายาเพลี้ยระบาด 250 บาท
- ค่ายาหนอนกอ 100 บาท
- ค่ายาใบเหลือง/ใบขาว 100 บาท
- ค่าจ้างฉีดยา 200 บาท
3. ความเสี่ยงในขั้นการขาย ปัญหาในช่วงนี้คือ ราคาไม่แน่นอน เกิดไฟไหม้ช่วงเปิดหีบ
ทำให้ราคาอ้อยลดลงร้อยละ 20 หากตัดอ้อยไม่ทันใน 1 เดือนจะทำให้เกิดความเสียหายทั้งหมด และกรณีหารถมาขนอ้อยไม่ได้ภายใน 1 สัปดาห์ จะทำให้เกิดความเสียหายร้อยละ 50
ทั้งหมดนั้นคือความเสี่ยงของชาวบ้านชาวบ้านที่ต้องแบกรับภาระฝ่ายเดียว

ต้นทุนในการปลูกอ้อย
ในการปลูกอ้อย นักวิจัยไทบ้านพบว่ามีต้นทุนที่ชาวบ้านไม่เคยคิดมาก่อน ตาราง 1 แสดงต้นทุนในการปลูกอ้อยตอ 1 ซึ่งไม่รวมค่าแรงและค่าสูญเสียโอกาสในการใช้ที่ดิน ซึ่งหากรวมต้นทุนในส่วนนี้ ชาวบ้านก็จะขาดทุนดังแสดงในตาราง 2
การที่ชาวบ้านไม่คิดค่าแรงงานของตนเองเป็นเพราะชาวบ้านตกอยู่ภายใต้การที่ถูก
อำพรางทุน ทำให้ชาวบ้านมองว่าตนเองไม่ได้ลงทุนอะไร จึงคิดว่าการปลูกอ้อยไม่ได้ขาดทุน

ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการปลูกอ้อย

ระบบนิเวศน์เสื่อมโทรม
การปลูกอ้อยเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ดินเสื่อม โดยเฉพาะในกรณีที่นายทุนเช่าที่ดินชาวบ้านปลูกอ้อย หรือชาวบ้านปลูกอ้อยแล้วขายอ้อยตอ 1 ให้นายทุนที่เรียกว่าขายอ้อยอ่อนหรือขายอ้อยตกเขียว เพราะนายทุนจะให้ความสำคัญกับอ้อยตอ 1 ที่ตนเองมีสิทธิ์ ขณะที่อ้อยตอ 2 หรืออ้อยหลังการตัดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน เมื่อนายทุนได้เป็นเจ้าของอ้อยในไร่ก็ได้บำรุงต้นอ้อยด้วยการใส่ปุ๋ยเยอะ เกินปริมาณเพื่อที่จะเร่งผลผลิต ทำให้สารเคมีสะสมที่หน้าดินมากเกินไป เกิดความเสื่อมโทรมและพังทลายของหน้าดิน แร่ธาตุในดินสูญหาย และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การปลูกอ้อยในครั้งต่อไปไม่เจริญเติบโต
ที่สำคัญอีกประการก็คือ สารเคมีจะตกตกค้างบริเวณรอบๆ ไร่อ้อยและไลลงไปสะสมบริเวณที่ลุ่ม เช่น หนองน้ำที่เป็นแหล่งสัตว์น้ำและพืชที่เป็นอาหารของชาวบ้าน ทำให้สัตว์น้ำและพืชได้รับสารเคมีสะสม และจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชาวบ้านในระยะยาว
ถ้าดินเสื่อมไม่ว่าจะใส่ปุ๋ยจะฉีดยามากแค่ไหนก็ทำให้ดินกลับมาดีเหมือน เดิมไม่ได้ เพราะตัวสารเคมีทำลายสารอาหารในดินหมดแล้ว และในกรณีที่ดินตาย ทธิ์ ขณะที่อ้อยตอ 2 หรือตออใส่ปุ๋ยมากเท่าไหร่ก็ไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร ยกเว้นการฟื้นฟูด้วยการใส่ปุ๋ยชีวภาพ
ในกรณีที่นายทุนซื้ออ้อยตกเขียวไป นายทุนจะจะบำรุงอ้อยมากจนเกินไปส่งผลกระทบให้หน้าดินของชาวบ้านเสียหาย และถ้าปลูกอ้อยในฤดูการต่อไปจะทำให้ดินเสื่อมคุณภาพปลูกพืชไม่งามอย่างที่ เคยเป็น
นอกจากนั้น นายทุนยังมีการยกร่องเพื่อระบายน้ำซึ่งก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หน้าดิน พังทลาย โดยนายทุนจะยกร่องไปทางที่ชันจึงเกิดการพังของหน้าดิน และในกรณีที่ขายอ้อยเขียว นายทุนก็จะมาบำรุงใส่ปุ๋ยเหมือนในกรณีที่เช่าที่เช่นกัน
การปลูกอ้อยยังเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะต้องตัดไม้ธรรมชาติออกหมดเนื่องจากอ้อยต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโต สูง นอกจากนั้น การตัดต้นไม้ธรรมชาติออกจากไร่อ้อยยังมาจากการที่นายทุนที่มาซื้ออ้อยอ่อน สั่งให้ตัด ถ้าไม่ตัดออกจะถูกนายทุนหักเงินหรือที่เรียกว่าหักดอก ไม่เพียงแต่มีต้นไม้ในไร่เท่านั้นที่โดนหักเงินยังรวมไปถึงถ้ามีจอมปลวกใน ไร่อ้อยก็จะโดนหักเงินเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าชาวบ้านมีที่ปลูกอ้อย10 ไร่ หากในไร่นั้นมีต้นไม้หรือจอมปลวก นายทุนก็จะตัดออกให้เหลือ 9 ไร่ครึ่ง ส่งผลให้ชาวบ้านต้องตัดสินใจตัดต้นไม้หรือไถจอมปลวกออกจากไร่

สารเคมีตกค้างและผลกระทบต่อสุขภาพ
นักวิจัยไทบ้านเชื่อว่า มีชาวบ้านหลายคนที่ได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมีฉีดยาในไร่อ้อย แต่เมื่อไปของใบรับรองแพทย์ที่โรงพยาบาล โรงพยาบาลจะไม่ระบุในการรักษาว่าคนไข้ได้รับอันตรายจากสารเคมีจนถึงแก่ชีวิต โรคที่เกิดจากสารเคมีในไร่อ้อยคือโรคที่เกี่ยวกับปอดและตับซึ่งจะเกี่ยวข้อง กับการใช้สารเคมี โดยเฉพาะคนที่รับจ้างฉีดหญ้าเป็นประจำจะได้รับสารพิษเข้าไปสะสมในร่างกาย ซึ่งในพื้นที่เขตดงมูลส่วนมากจะเสียชีวิตเพราะเกิดโรคเกี่ยวกับปอดและตับ
ชาวบ้านยังสังเกตเห็นว่า หากยาที่ฉีดไปยังไม่ละลายและซึมเข้าสู่หญ้าจะเป็นสารพิษตกค้างในใบหญ้า หากวัวกินหญ้าที่มีสารพิษวัวเข้าไป จะทำให้วัวมีลักษณะผอมลงเรื่อยๆ และตายในที่สุด เมื่อวัวตายชาวบ้านเคยผ่าดูเครื่องในพบว่าลำไส้ของวัวตัวนั้นเน่า บวม และมีกลิ่นเหม็น ชาวบ้านจึงสันนิษฐานว่าเกิดจากสารพิษในหญ้าที่วัวกินเข้าไป
การเสียชีวิตของสัตว์เลี้ยงเนื่องมาจากการใช้ยาฆ่าหญ้าแบบดูดซึม เช่น การฉีดยาฆ่าหญ้า แต่ชาวบ้านบางคนไม่รู้ว่าเป็นย่าฆ่าหญ้า คิดว่าเป็นหมอกจึงไปเกี่ยวหญ้าเหล่านั้นมาให้วัวควายกิน ทำให้สัตว์เลี้ยงของตนตาย
การปลูกอ้อยยังส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากการปลูกอ้อยไม่สามารถปลูกพืชชนิดอื่นแทรกได้หรือที่ชาวบ้านเรียก ว่า “พืชไร้ญาติ” ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ แหล่งอาหารทางธรรมชาติลดลงอย่างเห็นได้ชัด อาหารที่เคยอุดมสมบูรณ์ ผลไม้ป่าที่เคยอยู่ในท้องไร่ท้องนาลดลงไป เช่น เครือหมาน้อย ไผ่ บักแงว อีลอก บุก และสัตว์เล็กสัตว์น้อยเช่น กุ้ง หอย ปู ปลา คอแลน กิ้งก่า เป็นต้น ปัญหาการลดลงของชีวภาพทั้งที่เป็นผลมาจากไฟไหม้ป่า การปลูกอ้อย และการใช้สารเคมี ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่ออาหารธรรมชาติที่ชาวบ้านเคยพึ่งพา
นอกจากนั้น การใช้สารเคมีเข้มข้นยังทำให้ชาวบ้านไม่สามารถนำพืชผักและอาหารตามธรรมชาติมารับประทานได้เหมือนเดิม

ฝุ่นไฟและควันจากการเผาไร่อ้อย
ในช่วงฤดูเปิดหีบที่มีการลักลอบเผาไร่อ้อย ส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายนเป็นเวลาประมาณ 5 เดือน ได้ทำให้เกิดเขม่าลอยเต็มท้องฟ้าและมาตกตามบ้านเรือนของชาวบ้าน และทำให้เกิดมลพิษทางอากาศในหมู่บ้าน แม้แต่เสื้อผ้าที่แขวนไว้ตามราวบ้านก็จะสกปรกไปด้วย ชาวบ้านพบว่าในช่วงดังกล่าวจะเกิดมลพิษทางอากาศในระดับรุนแรงและได้ส่งผลถึง กระทบต่อระบบทางเดินหายใจของชาวบ้าน เพราะช่วงนี้ชาวบ้านจะเป็นโรคหอบหืดกันมาก
การเผาอ้อยยังทำให้เกิดความเดือดร้อยอย่างอื่น เช่น เถียงนาไฟไหม้ และในบางครั้งไฟลามไปไหม้สวนยางของชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงเกิดความเสียหาย รุนแรง
นอกจากการเผาอ้อยทำให้เกิดปัญหาสุขภาพแล้ว ระบบการผลิตอ้อยยังทำให้เกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยในการคมนาคม โดยเฉพาะในช่วงเปิดหีบอ้อยที่รถขนอ้อยบรรทุกน้ำหนักเกินอีกทั้งมีรถพ่วงขนาด ใหญ่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งจากการที่รถอ้อยพลิกคว่ำ การบรรทุกอ้อยที่น้ำหนักเกินมากเกินไปยังทำให้ถนนภายในหมู่บ้านเสื่อมสภาพ เร็วขึ้น

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ภายใต้ระบบการผลิตอ้อยส่งโรงงานที่ทำให้ชาวบ้านตกอยู่ในวงจรหนี้สินทั้ง จากการขายอ้อยเขียวและการตกเขียวแรงงาน ทำให้ต้องนำที่ดินไปจำนอง ถ้าไม่มีเงินไปไถ่ที่ดิน ที่ดินก็จะหลุดจากมือของชาวบ้าน การเป็นหนี้ทำให้พลังในการผลิตช้าลง ดังจะเห็นได้จากแม้ว่าค่าจ้างในการทำงานเพิ่มมากขึ้น แต่ขาดคนงานรับจ้าง การผลิตอ้อยจึงทำให้ความเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตของตนเองของชาวไร่ชาวนาลด น้อยลง
การตกอยู่ในวงจรหนี้สินยังทำให้พ่อแม่ปลูกฝังให้ลูกสาวหาสามีฝรั่ง ทำให้ในหมู่บ้านมีเขยฝรั่ง และเมื่อเขยฝรั่งเข้ามาในหมู่บ้าน ฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าก็ทำให้ฝรั่งสามารถเข้ามาซื้อที่ดินเพื่อทำธุรกิจ และทำการเกษตรในท้องถิ่นมากขึ้น คู่สมรสคนไทยจึงกลายเป็นนายทุนหน้าใหม่ บางคนกลายเป็นนายทุนระดับเสี่ยย่อยและเข้ามาเป็นโควตามากขึ้น ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าชาวบ้านมีสามีเป็นฝรั่งมากขึ้นเรื่อยๆ
ขณะที่ปัญหาทางสังคมจากการผลิตอ้อยที่เป็นปัญหาใหญ่ก็คือการทำให้ชาวบ้าน ติดยาบ้ามากขึ้น โดยเฉพาะในฤดูตัดอ้อยจะมีนายทุนเอายาบ้ามาใช้เพิ่มกำลังให้แรงงาน ซึ่งนายทุนจะมองว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการทำงาน การติดยาบ้าได้สร้างความเสียหายและเกิดอาชญากรรมตามมาในหมู่บ้าน
ที่สำคัญอีกประการก็คือ เมื่อดงมูลได้เปลี่ยนไปสู่การผลิตอ้อยได้ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของทุนจาก ภายนอกเข้ามา โดยเข้ามาในรูปของโควตา และทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์ใหม่ที่นายทุนระดับต่างๆ ผูกสัมพันธ์กันและเข้ามาผูกสัมพันธ์กับชาวบ้านผ่านสัญญา-หนี้ ทำให้เกิดนายทุนท้องถิ่นและเกิดการรวมตัวทางชนชั้นที่มีเครือข่าย มีการผูกขาดและขูดรีดคนในท้องถิ่น ซึ่งทุนเป็นปัจจัยอำนาจสูงสุด ขณะที่คนจนในหมู่บ้านจะเพิ่มขึ้นลงเรื่อยๆ
การปลูกอ้อยในระบบพันธะสัญญาส่งผลให้เกิดการแตกแยกในชุมชน ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนไม่มีความเป็นเอกภาพ เพราะนายทุนเห็นแก่ได้ทำเพื่อผลกำไรไม่ได้นึกถึงคนในหมู่บ้าน ขณะที่เกิดการเอารัดเอาเปรียบกันภายในหมู่บ้าน
นักวิจัยไทบ้านพบว่า ปัจจุบันสังคมวัฒนธรรมของชาวบ้านดงมูลเปลี่ยนไป เพราะระบบเศรษฐกิจได้เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อยังชีพและการแลกเปลี่ยนระหว่าง กัน (น้ำพึ่งเรือเสื่อพึ่งป่า) เป็นเชิงพาณิชย์ ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนแรงงานเพื่อช่วยเหลือกันในชุมชนลดน้อยลง ไม่มีความเอื้ออาทรกันและกัน ซึ่งจะเห็นได้ชัด เช่น ถ้าลูกหาปลามาได้ก็จะขายให้พ่อแทนที่จะให้พ่อไปกินเฉยๆ แสดงให้เห็นว่า ความเอื้อเฟื้อลดลงอย่างเห็นได้ชัด เกิดเป็นสังคมที่เป็นปัจเจกมากขึ้น อีกทั้งการเข้าร่วมงานบุญของชาวบ้านเดี่ยวนี้มีน้อยไม่ค่อยให้ความร่วมมือ

การต่อรองของชาวบ้านภายใต้ระบบโควต้า
ในการต่อรองของชาวบ้านสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่ยังมีการปลูกอ้อยและมีการต่อรองกับระบบ กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่ต่อรองด้วยการปรับวิธีการผลิต และกลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่ปฏิเสธระบบ

กลุ่มที่ต่อรองกับระบบ
ชาวบ้านส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปลูกอ้อยอย่างเดียวและได้ทำการต่อรองกับระบบโดยการไม่เข้า โควต้าตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลกำหนด เนื่องจากหากเข้าโควต้าก็จะทำให้ชาวบ้านถูกเอารัดเอาเปรียบ ขณะที่การไม่เข้าโควต้าทำให้ชาวบ้านไม่ต้องขายอ้อยให้กับโควต้า และมีทางเลือกโดยหันไปขายลานย่อยแทน ขณะที่เกษตรบางส่วนได้หันมาขายอ้อยเขียวแทน ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงจากราคาอ้อย รวมทั้งการเสี่ยงจากอ้อยเป็นโรค
ชาวบ้านบางคนแม้ว่ายังปลูกอ้อย แต่ก็ได้ลดต้นทุนโดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ เช่น นายสมศรี สาเทวิน อายุ 44 ปี ที่ปลูกอ้อยตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 ปลูกครั้งแรกประสบความสำเร็จโดยการขายอ้อยแบบขายเหมาให้เถ้าแก่ แต่ต่อมาประสบปัญหาค่าปุ๋ยแพงถึง 4,000 บาท สมศรีจึงได้ทดลองใช้ปุ๋ยสูตร 30 ตัน/ไร่ ด้วยการปลูกอ้อยควบคู่กับมันสำปะหลัง โดยนำปุ๋ยไปใส่อ้อยโรยแล้วไถกลบ เมื่อใส่ปุ๋ยชีวภาพทำให้ได้ผลผลิตดีได้ราคาประมาณ 12,000 บาท
นอกจากนั้น ชาวบ้านบางคนจะตัดสินใจปลูกอ้อยโดยการวิเคราะห์ราคาก่อนการลงทุน ดังกรณีของพ่อสมหมาย อายุ 64 ปี ประมาณปี พ.ศ.2544-2545 พ่อสมหมายปลูกอ้อย 12 ไร่ และปลูกมันสำปะหลังส่วนหนึ่ง ปลูกอ้อยได้ปีเดียวก็หันกลับมาปลูกมันสำปะหลังแทน และประมาณปี พ.ศ.2553 ได้กลับมาปลูกอ้อยอีกครั้ง โดยปลูก 8 ไร่ ซึ่งการปลูกอ้อยก็จะดูราคาก่อนการลงทุน หากราคาไม่ดีก็จะไม่ลงทุน

กลุ่มที่ต่อรองด้วยการปรับวิธีการผลิต
ชาวบ้านในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่ได้ปลูกอ้อยเพียงอย่างเดียว แต่ผลิตพืชอย่างอื่นด้วย โดยการแบ่งสัดส่วนของที่ดินเพื่อทำการเกษตรอย่างอื่น เช่น ปลูกพริก ปลูกมะเขือ เลี้ยงปลา เป็นต้น เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย
ตัวอย่างของชาวบ้านกลุ่มนี้คือ กรณีของพ่อสมเดช สิงห์ประสาท อายุ 60 ปี เมื่อปี พ.ศ.2538 พ่อสมเดชได้เช่าที่ดินเพื่อปลูกอ้อยจำนวน 9 ไร่ ในอัตราค่าเช่าที่ไร่ละ 300 บาท แต่ต่อมาก็ต้องเลิกปลูกอ้อยเนื่องจากพื้นที่อยู่ไกลเกินไป ไม่สะดวกในการเดินทาง ในอดีตพ่อสมเดชเคยได้กำไรจากการปลูกอ้อยเพราะปลูกแล้วขายทันที ไม่ได้ดูแลอะไรมากมายเหมือนในปัจจุบัน แต่ปัจจุบันกลับมาปลูกอ้อยอีกครั้งจำนวน 4 ไร่ แต่การปลูกใหม่ในครั้งนี้ได้ปลูกในที่นาของตนเอง และได้ปรับการผลิตโดยการไม่ปล่อยให้ที่ดินว่างเปล่าด้วยการปลูกพืชอื่นเสริม เช่น การปลูกมะเขือ เป็นต้น ทำให้เป็นแหล่งรายได้เสริมเลี้ยงครอบครัว
นอกจากนั้น ชาวบ้านดงมูลยังคิดหาวิธีการเพื่อการอยู่รอดโดยการศึกษาการปลูกข้าวไร่ใน ช่วงหลังจากมีการตัดอ้อยและรอการปลูกอ้อยในรอบต่อไป ซึ่งวิธีการนี้ได้ไปศึกษาจากชาวบ้านที่โกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ที่เป็นเครือข่ายชวไร่อ้อยด้วยกัน

การต่อรองด้วยการปฏิเสธระบบ
แม้ว่าประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลสู่ตลาดโลกเป็นลำดับต้นๆ อีกทั้งนโยบายรัฐได้กำหนดให้ชาวบ้านได้รับประโยชน์จากผลผลิตน้ำตาลร้อยละ 70 แต่ประสบการณ์ของชาวบ้านดงมูลที่ปลูกอ้อยมานานก็คือ ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้ดีขึ้นแต่อย่างใด ตรงกันข้ามชีวิตของชาวบ้านต้องตกอยู่ในวงจรหนี้สินและการสูญเสียที่ดินที่ เป็นปัจจัยการผลิต ทำให้ชาวบ้านจำนวนหนึ่งตัดสินใจเลิกการปลูกอ้อยหรือเข้าไปทำธุรกิจที่เกี่ยว ข้องกับอ้อย ดังกรณีของชาวบ้านต่อไปนี้
กรณีของพ่อดุสิต รัตนเมือง อายุ 59 ปี พ่อดุสิตเคยอพยพเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ ประมาณ 10 ปีที่แล้ว และเมื่อ 7 ปีที่แล้วก็ส่งเงินที่ได้จากการขายแรงงานมาให้น้องดูแลไร่อ้อย โดยลงทุนครั้งแรกจำนวน 100,000 บาท ซึ่งเป็นเงินสะสม ต่อมาก็ได้กลับบ้านเกิด แต่พ่อดุสิตก็ไม่มีทุนพอที่จะลงทุน เนื่องจากการปลูกอ้อยต้องมีทุนประมาณแสนบาทจึงจะลงทุนได้ พ่อดุสิตจึงได้เปลี่ยนมาปลูกต้นยูคาลิปตัสที่ลงทุนประมาณ 3 หมื่นบาท โดยปลูกยูคาลิปตัสประมาณ 15 ไร่ พ่อดุสิตบอกว่าการตัดสินใจเลิกปลูกอ้อยมาเป็นยูคาอย่างน้อยที่สุดก็มีความ เสี่ยงต่ำกว่าการปลูกอ้อยมาก อีกทั้งยังทำให้พ่อดุสิตมีเงินเหลือนำไปดาวน์รถให้ลูกนำไปใช้เพื่อค้าขาย
กรณีของพ่อเสถียร ปลัดชัย อายุ 52 ปี ก่อนนี้พ่อเสถียรจะทำไร่ทำนา ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2545 จึงเริ่มหันมาปลูกอ้อยจำนวน 3 ไร่ โดยกู้ยืมเงินมา 10,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือนเพื่อนำมาซื้อพันธุ์อ้อยและค่าจ้างแรงงาน ในการปลูกอ้อยตอแรก พื้นที่ 3 ไร่ ได้อ้อย 27 ตัน ตอ 2 ได้อ้อย 16 ตัน แต่ทำมา 4 ปี ก็ยังเป็นหนี้อยู่เหมือนเดิม ปัจจุบันก็ยังเป็นหนี้อยู่ 5,000 บาท จึงตัดสินเปลี่ยนจากการปลูกอ้อยมาปลูกมันสำปะหลังแทน และกลับมาปลูกอ้อยอีกครั้ง และปลูกแค่ตอแรกเท่านั้น ตอ 2 ก็ไม่ได้ปลูกต่อ เพราะขาดทุน จึงหันมาปลูกมันสำปะหลังจนถึงปัจจุบัน

สำหรับชาวบ้านที่หันหลังให้กับการปลูกอ้อยอย่างถาวรและหันมาทำเกษตรกรรม แบบธรรมชาติก็คือ กรณีของพ่อคมสัน เหล่าลาภะ เหตุผลที่พ่อคมสันเลิกปลูกอ้อยเพราะต้องส่งลูกเรียน ไม่มีเงินสำรอง ต้องจำนองที่ดิน ต่อมาไม่นานนักก็ต้องขายไร่อ้อยและขายที่ไป 9 ไร่ และได้นำไปจำนอง 13 ไร่ ที่เหลืออีก 8 ไร่ ปลูกไม้ยูคาลิบตัส 650 ต้น ในปัจจุบันพ่อคมสันได้หันมาปลูกพริก มะละกอ มะเขือ อีกทั้งยังได้ปลูกมะเขือพวงไร้หนาม โดยอาศัยน้ำในหนองน้ำประจำหมู่บ้าน และยังเลี้ยงปลา 3 บ่อ เป็นการทำการเกษตรธรรมชาติ ทำให้พ่อคมสันได้รับการคัดเลือกให้เป็นชาวบ้านอันดับหนึ่งของตำบล
พ่อคมสันบอกว่า ชีวิตของตนอยู่กับอ้อยมาเกือบ 30 ปี เป็นทั้งคนปลูกอ้อย ขับรถรับจ้างขนอ้อย แต่ก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น ทุกวันนี้ได้หันหลังให้กับอ้อยและมีชีวิตที่มีความสุข ไม่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงและหนี้สินดังเช่นเมื่อตอนปลูกอ้อย

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปั๊มน้ำกู้ชาติ


น้ำท่วมใหญ่ นอกจากเสียหายในวงกว้างแล้ว ยังเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศด้วย แผ่นดินไทยไม่ได้เรียบแบนแต๊ดแต๋ แต่มีความลาดเอียงแม้ในเขตที่ราบลุ่ม มีคันนา ถนน คูคลอง เนินเขา ภูเขา มีอาคารบ้านเรือนขวางทางน้ำอยู่ ทำให้น้ำไหลไม่สะดวก การที่น้ำปริมาณมากไหลไปไม่สะดวก ทำให้น้ำยกตัว เอ่อขึ้นล้นตลิ่ง ท่วมเทือกสวนไร่นานและบ้านช่องของชาวบ้าน
น้ำท่วมจะผ่านไปในที่สุด แต่บริเวณที่น้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นแอ่ง เป็นกะทะ จะยังมีน้ำขังอยู่ ซึ่งจะต้องระบายออก นอกจากนี้ เมื่อน้ำไหลผ่านจากพื้นที่หนึ่งไปยังปลายน้ำ พื้นที่ตามเขื่อนดิน เขื่อนกระสอบทราย ที่ใช้ป้องกันน้ำท่วม จะมีรั่วซึมได้บ้างเป็นธรรมดา บ้านเรือนร้านค้าที่ทำเขื่อนกั้นน้ำเอาไว้ ก็อยู่ในสถานการณ์เดียวกันครับ
เวลาพูดถึงการสูบน้ำออก เรามักจะนึกถึงเครื่องยนต์ ถ้ามีอยู่แล้ว จ่ายค่าพลังงาน/มีพลังงานให้ซื้อได้ ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่มี ลองทำปั๊มกำลังคนดูไหมครับ ใช้ท่อพีวีซีกับวัสดุเหลือใช้ก็พอ

ปั๊มในหนังข้างบน ฝรั่งคนที่ทำบอกว่าปั๊มน้ำได้นาทีละ 50 u.s.gallon หรือ 189 ลิตร หมายความว่าห้องชั้นล่างที่เป็นกำแพงคอนกรีต ที่น้ำท่วมขนาด 4 x 4 เมตรที่น้ำท่วมสูงครึ่งน่อง (คือ 30 ซม.) สูบไป 26 นาที สามารถเอาน้ำออกได้หมดตามทฤษฎีนะครับ
ตรวจผลการคำนวณ พื้นที่หน้าตัดของท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง d=4 นิ้ว (0.1 เมตร) กับช่วงชักคือ ระยะระหว่างเยียดแขนสุดกับดึงเข้ามาใกล้ตัวที่สุดบริเวณหน้าอก เป็นระยะ s=0.5 เมตร นาทีหนึ่ง ดึงคันชักเข้าและผลักออกได้ f=44 รอบ/นาที สามารถดึงน้ำออกไปได้ πd2sf/4 = 172 ลิตร/นาที; น้ำในห้องดังกล่าว มีปริมาตร 4800 ลิตร ก็ต้องใช้เวลาสูบ 28 นาทีครับ — ปลายท่ออันหนึ่งอยู่ที่พื้นห้อง อีกปลายหนึ่งพาดหน้าต่าง หรืออิฐบล็อกที่กั้นประตูออกไป หรือว่าถ้าต่อท่อจากปลายน้ำออก ไปทิ้งนอกห้องก็ได้นะครับ
วิธีการนี้ไม่เหมาะกับน้ำท่วมสูงๆ เนื่องจากใช้กำลังมาก แต่จะช่วยให้ชาวบ้านในพื้นที่เล็กที่น้ำท่วมไม่สูงนักให้พอช่วยตัวเองได้ พอหาที่แห้งได้บ้าง เทียบกับวิธีวิด น้ำที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป วิธีนี้จะเอาน้ำออกไปได้เร็วกว่า (ท่อขนาด 4 นิ้ว ชักหนึ่งครั้ง เอาน้ำออกไป 3.9 ลิตร หนัก 3.9 กก. ซึ่งหากใช้วิธีวิดน้ำหนึ่งครั้ง จะเอาน้ำออกได้น้อยกว่ามากครับ)
คลิปอันล่างแสดงหลักการทำปั๊มอันเล็ก ซึ่งไม่ยากหรอกครับ หาแผนพลาสติกขนาดฟิตพอดีกับท่อ มาเจาะรู แล้วเอาแผ่นปิดที่มีลักษณะอ่อนตัวได้ มาปิดรูไว้ (ใช้แผ่นรองตัดในกรณีที่เจาะรูน้ำรูใหญ่ หรือว่าถ้าเป็นรูเล็กๆ จะใช้อย่างในคลิปคือใช้เทปก็ได้ครับ เจาะรูน้ำหลายรูก็ได้) แผ่นปิดนี้ทำงานเหมือนเช็ควาลว์ [เช็ควาล์ว] ที่ทำให้น้ำไหลเข้าได้ทางเดียว — ทำอย่างนี้สองชุดครับ ชุดหนึ่งจมอยู่ในน้ำที่ปลายท่อ อีกชุดหนึ่งติดอยู่ที่ปลายของคันชัก คันชักไปไหน เช็ควาล์วเคลื่อนไปด้วย
ทีนี้เมื่อกดคันชักลงไป แผ่นปิดเคลื่อนลงไปในท่อ 4 นิ้ว น้ำก็จะดันแผ่นปิดจากข้างล่างขึ้นมาอยู่ในท่อ 4 นิ้ว เมื่อดึงคันชักขึ้น น้ำที่ค้างอยู่ในท่อมีแรงกด จะกดแผ่นปิดให้ปิดไว้ ทำให้น้ำไหลย้อนกลับไปยังบริเวณที่ท่วมไม่ได้ จนเมื่อน้ำเข้ามาค้างอยู่ในท่อมากขึ้นจนถึงรูน้ำออก น้ำก็จะไหลออกไปข้างนอก


การใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (GMOs)

 
ประเด็นอุบัติใหม่หรือผลกระทบที่สำคัญ
ยาและ เวชภัณฑ์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมมีการซื้อขายแพร่ หลายและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ตลาดมีขนาดใหญ่และอัตราการเติบโตสูง ประเทศไทยมีความหลากหลายของสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็น ยา/สารประกอบของยา และมีเทคโนโลยีพร้อมจะพัฒนาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์
ตลาด พืชดัดแปรพันธุกรรมทั่วโลกมีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยมีโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อเพิ่ม โอกาสในการแข่งขันเช่นกัน เนื่องจากอายุการคุ้มครองสิทธิบัตรเทคโนโลยีด้านพันธุกรรมหลายชิ้นหมดหรือ กำลังจะหมดลง ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีให้ขยายการทดลองพืชดัดแปรพันธุกรรมไปสู่ระดับแปลง การทดลองราชการได้ และอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของ เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ.... นับเป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญในอีกด้านหนึ่งประเทศไทยอยู่ท่ามกลางกระแสการ กดดันให้เปิดเสรีทางการค้า ทำให้การเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีดัดแปรพันธุกรรมเข้าสู่ประเทศไทย ได้ง่ายขึ้น ประเทศคู่ค้าสำคัญบางประเทศ เช่น สพภาพยุโรป ญี่ปุ่น เข้มงวดต่อการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปรพันธุกรรม ซึ่งอาจส่งผลการเพิ่มต้นทุนการผลิต/การส่งออก
ด้วยพัฒนาการเช่นนี้ ประเด็นอุบัติใหม่ที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบชัดเจนและรุนแรงต่อประเทศในอนาคต ควรได้รับการวางแผนรับมือโดยเร็วนั้น มีดังนี้
1. ประเด็นการอยู่ร่วมกันให้ได้ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ขณะนี้มีทั้งผูู้้ที่ต้องการและไม่ต้องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหรือ ผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม ซึ่งแนวโน้มยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปในอนาคตแต่ประเทศไทยยังขาดมาตราการที่จะ แยกการใช้ประโยชน์ในทั้งสองกลุ่มที่แตกต่างกัน (GM vs. non-GM) นี้ บนฐานของการรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้และ ไม่ต้องการใช้ประโยชน์ ปัญหาความขัดแย้งและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจะไม่สามารถป้องกันได้ถ้าไม่ มีความเข้าใจที่ถูกต้อง การบริหารจัดการที่ดี และกฎระเบียบที่เหมาะสม
 2. ประเด็นความรู้ความเข้าใจของสังคม ขณะนี้สังคมยังขาดกลไกที่จะทำให้เข้าถึงเข้าความรู้ความเข้าใจที่ครบถ้วน เพียงพอและทำให้ไม่เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ด้านพันธุวิศวกรรม โดยข้อมูลสำคัญที่ยังขาด คือด้านความปลอดภัย/ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ดัดแปรพันธุกรรมทั้งในด้านอาหาร และต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงข้อมูล
ผลกระทบด้านสังคมเศรษฐกิจตลอดห่วงโซ่ อุปทาน การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องนี้มีส่วนสำคัญที่จะกระทบต่อการตัดสินใจ อย่างมีเหตุผลทั้งในระดับส่วนบุคคล และระดับนโยบาย
 3. ประเด็นการพึ่งพาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมของต่างประเทศ ประเทศไทยจะยังต้องพึ่งเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ หากไม่อาจใช้ข้อได้เปรียบที่มีอยู่ในการเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองทาง เทคโนโลยี/ผลิตภัณฑ์ เพื่อรองรับความต้องการใช้ภายในประเทศและเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสใหม่ได้ อย่างเต็มที่

ที่มา http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/666-gmos