วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ต้นสุดท้าย






















































ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=51841.16


เท่าทันวิกฤต “เมล็ดพันธุ์” จุดเริ่มต้นของความไม่เป็นธรรม




เรื่อง/ภาพ : ขวัญชาย ดำรงค์ขวัญ

1...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ หมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดยโสธร ชาวบ้านในที่แห่งนี้มีอาชีพปลูกแตงโมเป็นส่วนมาก ในสมัยนั้น พันธุ์แตงโมที่พวกเขานิยมปลูกกันมีอยู่ไม่กี่ชนิด และทั้งหมดล้วนเป็นพันธุ์พื้นบ้าน ที่เป็นเมล็ดพันธุ์แท้ๆ ที่พวกเขาสามารถนำกลับมาปลูกได้อีกไม่จำกัด เช่น พันธุ์บางเบิด พันธุ์หมอน

…แต่แล้ววันหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงก็มาเยือน เมื่อใครสักคนนำเมล็ดพันธุ์แตงโมและปุ๋ยมาให้พวกเขาฟรีๆ  เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ได้สร้างปรากฎการณ์ที่น่ายินดีในช่วงแรกพบ ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ชาวบ้านได้รับผลผลิตจำนวนมากจากเมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ทำให้ปีต่อมา พวกเขาจึงเลือกปลูกแตงโมด้วยเมล็ดพันธุ์นั้นอีกครั้ง คราวนี้ เมล็ดพันธุ์กลับไม่ฟรีเหมือนครั้งแรก แต่พวกเขาต้องใช้เงินซื้อหามา ยิ่งไปกว่านั้น ในปีต่อๆ มา ราคากลับสูงขึ้นเรื่อยๆ

เพียงแค่ 3 ปี หลังจากวันแรกที่เมล็ดพันธุ์ซึ่งได้ผลผลิตมากในเวลาอันรวดเร็วเข้ามาในหมู่บ้าน เมล็ดพันธุ์แตงโมพื้นบ้านที่พวกเขาเคยปลูกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งก็หายไปอย่างสิ้นเชิง และหลังจากนั้นเพียง 10 ปี เมล็ดพันธุ์แตงโมที่เคยแจกฟรีก็ทะยานถึงกิโลกรัมละ 12,000 บาท  เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดกับหมู่บ้านนี้เพียงแห่งเดียว แต่หมู่บ้านรอบๆ นั้นก็เจอสถานการณ์เดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น ได้ส่งผลให้ปัจจุบัน คนที่ต้องการปลูกแตงโมสัก 10 ไร่ เขาจะต้องใช้เงินอย่างน้อยๆ ก็หลักแสนบาท ชีวิตของเกษตรกรจึงต้องเริ่มต้นจากการเป็น “หนี้” ทันที และปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับแตงโมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นสิ่งที่เกษตรกรต้องเจอในแทบทุกพันธุ์พืช

…นั่นคือจุดเริ่มต้นของการหายไปของเมล็ดพันธุ์ จากปากของผู้อยู่ในเหตุการณ์ตั้งแต่วันแรกนามว่า “โจน จันได” 



2...

 “แม้ประเทศไทยจะเลิกทาสไปนานแล้ว แต่ทุกวันนี้ เรากลับเป็นทาสกันโดยไม่รู้สึกตัว เพราะทุกๆ คำที่เราป้อนข้าวเข้าปาก เราจะต้องส่งเงินให้บริษัทผลิตอาหารยักษ์ใหญ่ ลองดูว่าคำไหนที่เราป้อนเข้าปาก แล้วไม่ได้ส่งให้บริษัทเหล่านั้น  มันคือการส่งส่วย ทั้งที่แต่ก่อนไม่ได้ส่ง เรายังอยู่ได้ แต่ตอนนี้เราต้องส่งมันทุกคำข้าวเลย” โจนเล่าถึงสิ่งที่คนจำนวนมากละเลย

…และท่ามกลางวิถีชีวิตที่ต้องตื่นแต่เช้าตรู่ รีบอาบน้ำแต่งตัวออกจากบ้าน และหักโหมกับการทำงานจนค่ำมืด ผู้คนจำนวนมากจึงอาจไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียดระหว่างวันอย่างที่เขาว่าจริงๆ คนจำนวนไม่น้อยกลับจำยอมให้ทุกๆ จังหวะชีวิตของตัวเอง กลายเป็นการส่งเงินให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านั้น

นอกจากการเอาเปรียบในเชิงมูลค่า เรายังต้องเจอกับการที่ผู้ผลิตทำเพื่อ “ขาย” มากกว่าที่จะทำให้คนกิน ทำให้ในท้องตลาดจึงเต็มไปด้วยผักสีสวยสด และมีรูปลักษณ์สวยงาม แต่พืชพรรณเหล่านั้นกลับเต็มไปด้วยสารเคมี

และสิ่งสำคัญที่นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความซับซ้อนในเรื่องการ ‘ส่งส่วย’ ก็คือ “วิกฤตเมล็ดพันธุ์”

จากที่ “เมล็ดพันธุ์” เคยเป็นอาหาร เป็นชีวิต เป็นรากฐานของความอุดมสมบูรณ์ในการอยู่กิน และเป็นวิถีชีวิตที่ยั่งยืน  ในปัจจุบัน  “เมล็ดพันธุ์” กลับค่อยๆ กลายเป็นเครื่องมือในการเอาเปรียบระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค  ตามท้องตลาด มูลค่าเมล็ดพันธุ์ในซองขนาดเล็กที่ขายอยู่ทั่วไป แม้จะมีราคาไม่กี่สิบบาท แต่เมื่อเปิดมาดูภายใน เราจะพบว่ามันก็มีไม่กี่สิบเมล็ดเช่นกัน และในหลายๆ พันธุ์พืช เมื่อนำมาหารเฉลี่ย เราจะพบว่ามันมีราคาสูงถึงเมล็ดละ 1 บาทเลยทีเดียว 

การเอาเปรียบของ "ผู้ผลิตยักษ์ใหญ่" ที่จะเกี่ยวข้องกับ "ผู้ผลิตรายย่อย" ที่สำคัญมากก็คือ การทำให้ “เมล็ดพันธุ์” ที่ขายตามท้องตลาดเหล่านั้น ไม่สามารถปลูกซ้ำได้อีกครั้ง หรือถ้าปลูกได้ ก็จะได้ความสมบูรณ์ไม่เท่าเดิม

“การพัฒนาอาหารในปัจจุบัน มันไม่ได้พัฒนาเพื่อให้คนกิน แต่เป็นการพัฒนาเพื่อที่จะยึดครองโลกเท่านั้น” โจนเอ่ยขึ้น

“ชาวนาทำงานหนักมาก เขาต้องเปลี่ยนความอุดมสมบูรณ์เป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเงินไปให้บริษัทเหล่านั้น  เพื่อให้บริษัทเหล่านั้นกลายเป็นคนที่รวยที่สุดในโลกคนหนี่ง และเกษตรกรก็กลายเป็นคนที่จนที่สุดในโลกคนหนึ่ง ที่เป็นอย่างนั้นเพราะว่าในการทำการเกษตร 60% ของเงินที่ลงไป จะต้องไปให้กับบริษัทเหล่านี้ อันนี้คือความซับซ้อนที่เกิดขึ้น โดยมีเมล็ดพันธุ์เป็นหนึ่งในเครื่องมือ แล้วอนาคตของเกษตรกรจะอยู่อย่างไร ถ้าพวกเขาเจอปัญหาอย่างนี้” โจน แสดงความเห็น และเล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนเด็กๆ เมล็ดพันธุ์เป็นสิ่งที่คนจะแจกกัน ไม่ใช่สิ่งที่ขายกันอย่างในปัจจุบัน

ยิ่งไปกว่านั้น ทัศนคติต่อ “การพัฒนาพันธุ์” ของสังคม ยังมีเป้าหมายวนเวียนอยู่เพียง 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ ผลผลิตสูง และเติบโตรวดเร็ว  เราจะพบว่าในระบบการศึกษาหลายแห่งก็สอนไปในแนวทางเดียวกันนี้ ไม่ต่างกัน

“โดยธรรมชาติ ไก่ใช้เวลา 3 เดือนถึงจะได้น้ำหนัก 1 กิโลกรัม แต่ทุกวันนี้ เขาก็พัฒนายังไงก็ได้ให้เหลือ 28-30 วัน แต่ไม่มีใครคำนึงถึงคุณค่าในอาหารเลย เช่น ในอดีต บล็อคคอรี่ 1 กรัมจะมีแคลเซียมอยู่ราว 9 มิลลิกรัม แต่ทุกวันนี้จะหลงเหลืออยู่เพียง 4.4 มิลลิกรัม  ในผักชนิดอื่นๆ ก็มีลักษณะเดียวกัน  หมอสมุนไพรจะไม่ใช้ยาสมุนไพรแบบที่ปลูกเร่งโต เพราะคุณภาพมันใช้ไม่ได้ เขาจะต้องไปหาในป่าที่คุณค่ามันเข้มข้นมาก มันถึงจะรักษาโรคได้” โจน ให้ข้อมูล

3...

สำหรับคนทั่วไป ชื่อของ โจน จันได อาจดูเป็นสัญลักษณ์ของ “บ้านดิน” ในประเทศไทย จากภารกิจที่เคยเดินทางอบรมบ้านดินตามจังหวัดต่างๆ มาจนเกือบทั้งประเทศ ถึงขนาดที่ว่า หลังจากที่ชีวิตของเขาเป็นที่รู้จักในสังคม เขาแทบไม่เคยอยู่ที่ไหนเกินหนึ่งเดือนติดต่อกันถึง 5 ปี  แต่วันหนึ่ง เมื่อเขารู้สึกว่าชีวิตที่เป็นอยู่เริ่ม “ยาก” ขึ้น เขาจึงตัดสินใจเปลี่ยนภารกิจในแต่ละวันของเขา โดยตั้งใจให้แต่ละวันเป็นไปอย่างเรียบง่าย พร้อมกับให้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตกับการ “เก็บเมล็ดพันธุ์”

เขาให้เหตุผลว่า การเก็บเมล็ดพันธุ์แท้ๆ มันเป็นเหมือนดั่งทางออกของชีวิตมนุษย์ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง เพราะชีวิตที่ไปผูกติดไว้กับกลไกตลาดอยู่ตลอดเวลาเป็นการใช้ชีวิตที่หาความแน่นอนไม่ได้ 

เมื่อการเก็บเมล็ดพันธุ์จำเป็นต้องปลูกพืชผักต่างๆ ตลอดปี แต่บ้านเกิดของเขาที่ยโสธรจะน้ำท่วมในหน้าฝน ทำให้ทำนาได้เพียงอย่างเดียว รวมทั้งหน้าแล้งก็ไม่มีน้ำที่จะปลูกอะไรได้ถนัดนัก เขาจึงตัดสินใจหาที่แปลงใหม่ให้กับชีวิต และมาได้ที่บ้านแม่โจ้ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ในระยะแรก คือราว 8 ปีก่อน ครอบครัวเล็กๆ ของโจนเริ่มชีวิตที่ตัวเองเชื่อด้วยความพร้อมของพื้นที่เพียง “ศูนย์”

“ตอนเริ่มต้นมีต้นไม้เพียงสองต้น และโล่งไปหมด เงินก็ไม่มี ก็ลำบากในเริ่มต้น กินปลีกล้วย กินต้นกล้วย ช่วงแรกๆ เป็นช่วงที่สนุกที่สุด มันไม่มีอะไรกิน เป็นชีวิตที่ท้าทาย บางคนอาจจะท้อ แต่ผมว่ามันสนุกที่จะเผชิญตรงนั้น” โจนย้อนอดีตให้ฟัง

แต่ปัจจุบัน เนื้อที่ราว 20 ไร่ที่มาปักหลักอยู่ ก็ได้กลายเป็นสวนพันพรรณซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการพึ่งพาตนเองให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบๆ และคนที่เดินทางไกลมาจากทั่วสารทิศ โดยสวนพันพรรณแห่งนี้ประกอบด้วย บ้าน โรงครัว โถงห้องประชุม ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดทำจากดิน มีการปลูกผักไว้กินเอง โดยใช้เมล็ดพันธุ์แท้ๆ ที่ได้มาจากทั้งเพื่อนฝูงและการเก็บสะสมมาจากที่ต่างๆ รวมถึงการมีวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่อย่างเรียบง่าย

และแน่นอนว่าภารกิจที่เขาตั้งใจว่าจะทุ่มเท ก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างดังหวัง เมล็ดพันธุ์จากที่มีไม่กี่ชนิดในตอนเริ่มต้น เขาก็เก็บมันจนมีอยู่ราว 200-300 พันธุ์ โดยหวังว่าจะเก็บได้ครบ “พัน” ตามชื่อ “สวนพันพรรณ” ในวันหนึ่งข้างหน้า

“คุณไม่จำเป็นต้องมาทำเหมือนผมก็ได้ แต่สิ่งที่ทุกคนพอจะทำได้ก็คือ ต้องพยายามต่อต้านพันธุ์ผสมให้มากที่สุด ไม่ให้เข้ามาในประเทศของเราเท่าที่จะทำได้ และพยายามปลูกพันธุ์พื้นบ้านให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้หลงเหลืออยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ” โจน เล่าถึงวิธีการที่ทุกคนพอจะทำได้

และสำหรับคนที่มีวิถีชีวิตอยู่ในเมือง โจนบอกว่า ทุกคนสามารถทำในเป้าหมายเดียวกันกับเขาได้ ทั้งจากการเริ่มต้นปลูกกินเองเล็กๆ ในเมือง สนับสนุนคนที่ทำเกษตรอินทรีย์ เปลี่ยนวิถีชีวิตให้เข้าสู่คำว่า “จำเป็น” จริงๆ และทำความเข้าใจสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจนสามารถส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ให้กระจายออกไปให้มากขึ้นเรื่อยๆ  

เขามองว่า เนื่องจากปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับเรื่องนี้ เป็นเพราะคนส่วนมากยังไม่ทราบ “ถ้าคนจำนวนมากเห็นด้วย ต่างคนก็ต่างออกไปทำในสิ่งที่ตัวเองทำได้”

“มันไม่ใช่แค่การปลูกผัก แต่จริงๆ แล้วมันคือการกลับมาสู่การใช้ ‘สติ’ อีกครั้งหนึ่ง ทำยังไงเราถึงจะมีชีวิตอยู่อย่างมีสติได้ ทุกครั้งที่เราจะจับอะไรเข้าปาก ทุกครั้งที่เราจะซื้ออะไรเข้ามาในชีวิตของเรา จะต้องใช้ ‘สติ’ ก่อน เราซื้อเพราะ ‘ชอบ’ หรือซื้อเพราะ ‘จำเป็น’  ถ้าเราซื้อเพราะชอบ แปลว่าเรายอมเอาตัวไปเป็นขี้ข้า เอาโซ่มามัดคอทันที แต่ถ้าเราซื้อเพราะความจำเป็น เราก็จะเป็นอิสร

“สิ่งต่างๆ ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ เกิดจากเราซื้อเพราะชอบ เราจ่ายเงินซื้อในสิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ บริษัทเหล่านั้นมันก็โตขึ้นเรื่อยๆ และเขาก็กลับมากินเรามากขึ้นเรื่อยๆ การทำสงครามกับบริษัทเหล่านี้ ไม่ใช่การจับอาวุธ สิ่งเดียวที่ทำได้ง่ายๆ ก็คือ ทำจากตัวเอง ลดการสนับสนุน แค่นี้เขาก็ตายแล้ว โรงงานผงชูรส ถ้าเราเลิกกิน มันก็จบ  ถ้าเราเริ่มได้ คนอื่นเห็น เขาก็เริ่มตามได้ อยู่ที่ว่าวันนี้เราจะเริ่มได้ไหม”


ที่มา : http://www.greenworld.or.th/greenworld/local/1201




ปุ๋ยยูเรีย:ความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ย


1.  ปุ๋ยอินทรีย์คือปุ๋ยที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่สลายตัวแล้วจนพืชสามารถนำไปใช้ได้แบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ
1.1  ปุ๋ยคอก ได้แก่ขี้วัว ขี้ควาย ขี้ม้า ขี้แพะ แกะ กระต่าย เป็ด ไก่ ห่าน นกกระทา ฯลฯ รวมทั้งอุจจาระและปัสสาวะของคนด้วย
1.2  ปุ๋ยหมัก ได้จากการเอาวัชพืชต่าง ๆ เช่น หญ้า บอน ตลอดจนใบไม้ใบหญ้า ฟางข้าว เปลือกถั่ว กากอ้อย ต้นข้าวโพด ต้นถั่ว เศษผัก มาหมักจนสลายตัว
1.3  ปุ๋ยพืชสด ได้จากการนำเมล็ดถั่วกระด้าง ปอเทือง มาหว่านลงในดินพอเริ่มออกดอกก็ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน
สรุปแล้วปุ๋ยหมักก็คืออินทรีย์วัตถุนั่นเอง  เมื่อนำไปใช้แล้วทำให้ดินร่วนซุย  และเป็นอาหารของพืช  แต่มีปริมาณธาตุอาหารน้อยกว่าปุ๋ยเคมีมาก  ขอแนะนำให้คุณไปอ่านเรื่องปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมีอย่างไหนจะดีกว่ากัน  โดย ผศ.ดร.สุรศักดิ์  เสรีพงษ์  ในนิตยสารชาวเกษตร อันดับที่ 22 เดือนมีนาคม 2526
2.  ปุ๋ยยูเรีย(Urea) และแอมโมเนียมซัลเฟต(Ammonium Sulfate)ต่างเป็นปุ๋ยเคมีไนโตรเจนเหมือนกันแต่ต่างกันที่วิธีการผลิต  และปริมาณธาตุไนโตรเจนปุ๋ย ปุ๋ยยูเรีย ปริมาณธาตุไนโตรเจน 46-48% เท่านั้น
ยูเรีย วิธีผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับก๊าซแอมโมเนียม
คุณสมบัติทางกายภาพ
1.  เป็นผลึกสีขาว
2. ดูดความชื้นได้ดีมาก
3.  ละลายน้ำได้ 50%
คุณสมบัติทางเคมี
1.  ใช้ในนาข้าว  หว่านบาง ๆ เป็นปุ๋ยหยอดหน้า มีไนโตรเจน 47-48%
2.  ใช้เป็นอาหารสัตว์พวกวัวควาย
3.  ใช้กับพืชผักสีเขียวช่วยเร่งความเจริญเติบโตใช้เพียงครึ่งเดียวของปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต เพราะมีธาตุไนโตรเจนสูงกว่าเท่าตัว ปุ๋ยยูเรียมีราคาแพงกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
แอมโมเนียมซัลเฟต (Ammonium Sulfate)
วิธีผลิตมี 2 แบบ ใหญ่ ๆ คือ
1.  ใช้แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟูริกเอซิด(กรดกำมะถันมีสูตรทางเคมี H2SO4)
2.  ใช้แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับยิบซั่มและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
คุณสมบัติทางกายภาพ
1.  เป็นผลึกสีขาวหรือเทา
2.  ดูดความชื้นในอากาศ
คุณสมบัติทางเคมี
สูตรเคมี
มีธาตุไนโตรเจน 20%
มีธาตุกำมะถัน 24 %
อยู่ในระดับปฏิกิริยาเป็นกรด
ประโยชน์ที่ใช้
ใช้กับดินเค็มหรือดินที่เป็นด่าง
ใช้เมื่อต้องการธาตุกำมะถัน
ใช้ในพืชบางชนิดที่ชอบดินเป็นกรด
ใช้กับพืชผักเพื่อเร่งความเจริญเติบโต
ในระหว่างปุ๋ยยูเรียกับปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตจะใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณน้ำหนักและราคาต่ำกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต เพราะปุ๋ยยูเรียมีปริมาณธาตุไนโตรเจน 46-48% สูงกว่าปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตเท่าตัว  ลองเอาไปคำนวณดูว่าควรจะใช้ปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตอย่างไหนจะได้กำไรกว่า ในเมื่อเสียเงินเท่า ๆ กัน สมมุติว่าไร่หนึ่งใช้ปุ๋ย 16-20-0 จำนวน 20 กิโลกรัมราคากิโลกรัมละ 4.50 บาท เป็นเงิน 90 บาท มีไนโตรเจน 3.2 กก. เงินจำนวนนี้ถ้านำไปซื้อปุ๋ยยูเรียราคากิโลกรัมละ 6.50 บาท จะซื้อได้ 13.8 กิโลกรัม ปุ๋ย 16-20-0 มีไนโตรเจน(N)16/ปุ๋ยจำนวน 20 กิโลกรัมมีธาตุไนโตรเจน 3.2 กิโลกรัม ปุ๋ยยูเรียมีไนโตรเจน (N)46/ปุ๋ยจำนวน 13.8 กิโลกรัมจะมีไนโตรเจน 6.07 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตถึงเท่าตัว สรุปแล้วเงิน 90 บาทเท่ากันจะซื้อปุ๋ยยูเรียได้ถึง 13.8 กิโลกรัมใช้ใส่พืชได้กำไร  กว่าซื้อปุ๋ย สูตร 16-20-0 จำนวน 20 กิโลกรัม ถ้าต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องโปรดอ่านเรื่อง การใช้ปุ๋ยยูเรียในนิตยสารชาวเกษตรฉบับที่ 26 เดือนกุมภาพันธ์ 2526



ที่มา http://www.thaikasetsart.com

การใช้ประโยชน์จากยูเรียเป็นอาหารสัตว์


            ในปัจจุบันราคาวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารโปรตีนทั้งที่มาจากพืช และชนิดที่มาจากสัตว์ เช่น พวกกากถั่วต่างๆ และปลาป่น ฯลฯ มีราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เป็นอันมาก เนื่องจากอาหารโปรตีนชนิดต่างๆเหล่านี้เป็น ส่วนประกอบสำคัญในสูตรอาหารข้น หรืออาหารผสม ซึ่ง ใช้เป็นอาหารหลักของสัตว์กระเพาะเดี่ยว เช่น สุกรเป็ดไก่ ฯลฯ สำหรับสัตว์กระเพาะรวม หรือสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โคเนื้อ โคนม กระบือ ฯลฯ การให้อาหารข้นเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหารหยาบ และเพิ่มผลผลิตของสัตว์เท่านั้น แนวทางที่นำวัสดุอาหารที่ให้โปรตีนสูงๆมาทดแทน อาหารโปรตีนจากธรรมชาต ิซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปคือ การใช้ไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีนแท้ (Non-Protein Nitrogen หรือ NPN.) มาใช้ผสมในอาหาร-สัตว์นั้น เป็นไปได้มากในสัตว์เคี้ยวเอื้องเท่านั้น เนื่องจากสัตว์ประเภทนี้มีความสามารถ ใช้ประโยชน์จากแหล่งโปรตีนคุณภาพต่ำ และจากสารประกอบไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีน แล้วสามารถเปลี่ยนให้เป็นโปรตีน เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ตัวสัตว์เองได้โดยขบวนการของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในกระเพาะส่วนหน้า ซึ่งสัตว์กระเพาะเดี่ยว ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากความแตกต่างกันทางระบบย่อยอาหารของสัตว์ทั้ง 2 ชนิด แหล่งของไนโตรเจนที่ใช้ได้แก่ ยูเรีย ไบยูเรต ไดแอมโมเนียม ฟอสเฟต ฯลฯ แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ ปุ๋ยยูเรีย หรือที่รู้จักกันในหมู่เกษตรกรผู้ใช้คือ ปุ๋ยเย็น หรือปุ๋ยน้ำตาลยูเรีย จะมีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆขนาดเล็กมีสีขาวขุ่น หาซื้อได้ง่ายราคาไม่แพง และสะดวกในการใช้ยูเรียเป็นสาร ประกอบมีไนโตรเจน เป็นองค์ประกอบอยู่ถึง 46% ในการวิเคราะห์หาโปรตีนทั่วไป นิยมวัดปริมาณไนโตรเจนเป็นหลักแล้ว คูณด้วย ปริมาณโปรตีนเฉลี่ย 16% (6.25) ดังนั้น ยูเรียจะมีเปอร์เซ็นต์โปรตีนเท่ากับ 287.5 เปอร์เซ็นต์

การนำปุ๋ยยูเรียมาใช้ประโยชน์

                        ปุ๋ยยูเรียสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ 2 ประการคือ นำผสมลงในอาหารข้นโดยตรง หรือใช้ปุ๋ยยูเรีย  เพื่อปรับปรุงคุณภาพของอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่น ฟางข้าว ทั้งนี้แล้วแต่วัตถุประสงค์ของผู้ใช้ จุดประสงค์ของการนำยูเรียมาใช้ผสมในอาหารสัตว์ เพื่อทดแทนอาหารโปรตีนจากธรรมชาติ และลดต้นทุนค่าอาหาร โดยจะต้องคำนึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และคุณค่าทางโภชนะเป็นสำคัญ วิธีนี้นับการใช้ปุ๋ยยูเรียผสมน้ำราดผสมกับฟางข้าวหมักทิ้งไว้ 21 วัน โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย 6 เปอร์เซนต์ ก็จะทำให้ฟางข้าวหลังการหมักแล้ว มีคุณค่าทางอาหารสูงขึ้น สะดวกสำหรับผู้ใช้ และสัตว์เลี้ยงจะได้รับประโยชน์จากปุ๋ยยูเรีย โดยตรงจากการสลายตัวในกระเพาะหมัก หรือในส่วนของลำไส้เล็ก เมื่อพิจารณาในแง่เศรษฐกิจแล้ว ราคายูเรียจะถูกกว่า และ ให้ปริมาณของโปรตีนมากกว่าการใช้ปลาป่นและกากถั่วต่างๆ ซึ่งการใช้ปุ๋ยยูเรีย เป็นแหล่งโปรตีนผสมในอาหารข้น จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูง โดยจุลินทรีย์นั้นต้องมีแหล่งคาร์โบไฮเดรทที่ย่อยได้ง่ายๆ (แป้ง) เพียงพอ เช่น ข้าวโพด ปลายข้าว มันเส้น รำละเอียด ฯลฯ มีแร่ธาต ุและวิตามิน ผสมอยู่ด้วย การให้สัตว์เคี้ยวเอื้องกินยูเรีย โดยตรง หรือผสมกับน้ำให้กินในปริมาณมากๆ สัตว์อาจจะตายได้ เนื่องจากยูเรียสามารถสลายตัวให้แอมโมเนียในกระเพาะรูเมน ถ้าสัตว์ได้รับยูเรียในระดับสูง หรือในสภาพที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เกิดแอมโมเนียในกระเพาะ เกินกว่าที่จุลินทรีย์จะนำไปสร้างโปรตีนได้ทัน ร่างกายจึงต้องมีการกำจัดออก โดยเปลี่ยนเป็นยูเรียที่ตับ และขับออกทางปัสสาวะ ถ้าระดับของแอมโมเนีย สูงเกินกว่าร่างกายจะกำจัดได้ทัน ก็จะเกิดเป็นพิษสัตว์อาจถึงตาย  ถ้าช่วยไม่ทัน ดังนั้น ก่อนนำยูเรียไปใช้ผสมในสูตรอาหาร จึงควรศึกษาให้ดีเสียก่อน

ปริมาณที่ใช้ผสมในอาหาร

                       การใช้ยูเรียในสูตรอาหารข้น สำหรับเคี้ยวเอื้องแต่ละประเภทจะต่างกันไป ฉลอง(2532) รายงานว่า ยูเรีย 1 กิโลกรัม ผสมกับเมล็ดข้าวโพด 6 กิโลกรัม จะให้คุณค่าเท่ากับกากถั่วเหลือง 7 กิโลกรัม ถึงแม้การใช้ยูเรียร่วมกับเมล็ดข้าวโพด ราคาถูกกว่าการใช้กากถั่วเหลืองล้วนๆ ก็ตาม การใช้ยูเรียในสูตรอาหารสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูงๆ เช่น ในโคนมก็มีข้อจำกัด คือ ในสูตรอาหารข้นสำหรับโคนม ที่ให้ผลผลิตต่ำกว่า 20 กก./วัน จะใช้ได้ไม่เกิน 1.5 เปอร์เซ็นต์ ของสูตรอาหารข้น และสำหรับโคนมที่ให้ผลผลิตนมสูงกว่า 20 กก./วัน จะใช้ได้ไม่เกิน 0.75 เปอร์เซนต์ ของสูตรอาหารข้น หรือ ไม่ควรใช้ในสูตร อาหารข้นเลย (Mudd,1977) ในสูตรอาหารข้นสำหรับโคเนื้อใช้ได้สูงถึง 2.5 เปอร์เซ็นต์ ของอาหารข้น (Corse,1981) และโค-กระบือที่มีน้ำหนักมากกว่า 350 กิโลกรัม ควรได้รับยูเรียไม่เกิน 136 กรัม/ตัว/วัน โค-กระบือมีน้ำหนักระว่าง 230-350 กก. ควรได้รับยูเรียไม่เกิน 90 กรัม/ตัว/วัน และโค-กระบือมีน้ำหนักระหว่าง 130-230 กก. ควรได้รับยูเรีย ไม่เกิน 45 กรัม/ตัว/วัน (สมิต,2532) การใช้ยูเรียในสูตรอาหารข้น นอกจากจะต้องมีแหล่งคาร์โบไฮเดรทอย่างเพียงพอแล้ว ควรผสมกำมะถันลงในสูตรอาหารด้วย เพื่อให้จุลินทรีย์ในกระเพาะสามารถผลิตกรดอะมิโนที่จำเป็น ชนิดที่มีกำมะถัน เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยได้ กำมะถันที่ใช้ประมาณ 0.10.2 เปอร์เซนต์ หรืออัตราส่วนของยูเรียต่อกำมะถันคือ N:S=10:1 นอกจากจะใช้ยูเรียผสมในสูตรอาหารข้นแล้ว ยังสามารถใช้ยูเรีย เพื่อปรับปรุงคุณภาพ หรือคุณค่าทางอาหารของอาหาร หยาบที่มีคุณภาพต่ำ เช่น ฟางข้าว ฯลฯ ให้ดีขึ้นโดยใช้ยูเรีย 6 เปอร์เซ็นต์ ผสมน้ำหมักกับฟางข้าวใช้เวลา 21 วัน แล้วนำออก ใช้เลี้ยงโค-กระบือ ฟางหมักยูเรียจะให้คุณค่าทางอาหาร และการย่อยได้สูงกว่าฟางข้าวธรรมดา (สถานนีบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่, 2525) ซึ่งสมคิด และคณะ(1984) รายงานการใช้ฟางข้าวหมักยูเรีย แล้วนำมาเลี้ยงโคนมสาวเปรียบเทียบ กับการเลี้ยง ด้วยฟางข้าวธรรมดาหญ้าแห้งและหญ้าสด ปรากฎว่า การเลี้ยงด้วยฟางหมักยูเรีย จะมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักใกล้เคียงกับ การใช้หญ้าแห้งและหญ้าสด และสูงกว่าโคที่เลี้ยงด้วยฟางข้าวธรรมดา นอกจากนั้นสมคิด และคณะ(1984) ยังรายงาน ไว้ด้วยว่าการใช้ฟางข้าวหมักยูเรียเป็นอาหารหยาบ เลี้ยงโคกำลังรีดนมโคสามารถให้ผลผลิตน้ำนมได้ไม่แตกต่างกับโคที่กินหญ้าสด นอกจากนั้น อาจใช้ยูเรีย 1.52 กิโลกรัม ผสมกับกากน้ำตาล 7.5 กิโลกรัม ผสมน้ำราดบนฟางข้าวให้โคกระบือ กินได้ทันที (จีระชัย และบุญล้อม,2529,และจินดา และคณะ,2527) วิธีนี้ถ้าใช้เลี้ยงโค-กระบือเป็นเวลานานๆควรต้อง เสริมวิตามินเอ ดี และอี ด้วย

 

ขบวนการใช้ประโยชน์ของโปรตีน จากอาหารในสัตว์เคี้ยวเอื้อง

                        การย่อยสลายของอาหารโปรตีนแท้ และไนโตรเจนที่มาจากโปรตีนไม่แท้ ในสัตว์เคี้ยวเอื้องจะเกิดขึ้น เมื่อสัตว์กินอาหารเข้าไปถึงกระเพาะหมัก ซึ่งที่นั่นจะมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่จำนวนมาก และหลายชนิดประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ของ อาหารที่เป็นโปรตีนแท้ จะถูกย่อยสลายให้เป็นแอมโมเนีย โดยจุลินทรีย์ในกระเพาะหมัก ส่วนอีก 40 เปอร์เซ็นต์ จะไหล ผ่านไปยังกระเพาะจริง และลำไส้ สำหรับสารประกอบที่ไม่ใช่โปรตีนแท้ (ยูเรีย) จะถูกย่อยสลายเป็นแอมโมเนียทั้งหมด แอมโมเนียที่ได้จากโปรตีนแท้ และแอมโมเนียจากสารประกอบไม่ใช่โปรตีนทั้งหมดส่วนหนึ่ง จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกับพลังงาน  โดยจุลินทรีย์ เพื่อการเจริญเติบโตของตัวมันเอง กลายเป็นจุลินทรีย์โปรตีนแอมโมเนีย บางส่วนจะผ่านเข้ามาในระบบการย่อยอาหารใหม่ทางน้ำลาย และผนัง ของกระเพาะรูเมน ซึ่งการหมุนเวียนของแอมโมเนียระบบนี้ จะสามารถช่วยให้สัตว์เคี้ยวเอื้องได้รับไนโตรเจนเพิ่มขึ้น ในช่วงระยะที่สัตว์อดอาหาร หรือได้รับอาหารมีไนโตรเจนต่ำ โดยการใช้ประโยชน์จากแอมโมเนียส่วนนี้ สำหรับบางส่วนที่เหลือ จะถูกส่งไปที่ตับเปลี่ยนเป็น ยูเรีย และขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ จุลินทรีย์โปรตีน และโปรตีนที่เหลือจะผ่านมายังกระเพาะจริง และลำไส้เล็ก ซึ่งจะถูกย่อยสลาย และถูกดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อการดำรงชีพการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตสำหรับตัวสัตว์ต่อไป ส่วนที่ไม่สามารถสลาย และดูดซึมได้ก็จะถูกขับออกมาจากร่างกายทางอุจจาระดู จากภาพประกอบด้านล่าง

 ข้อเสนอแนะ ในการใช้ยูเรียผสมในอาหารสัตว์

                  1.ใช้อาหารผสมยูเรียเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องที่มีกระเพาะรูเมน เจริญเติบโตแล้วเท่านั้น อย่าใช้ยูเรียกับลูกสัตว์หรือสัตว์ กระเพาะเดี่ยว

                    2. ใช้ยูเรียในสูตรอาหารข้น ที่มีโปรตีนหยาบต่ำกว่า 13 -14 เปอร์เซ็นต์

                    3. ในสูตรอาหารจะต้องมีคาร์โบไฮเดรทที่ย่อยง่ายอยู่สูง เช่น มันเส้น ข้าวโพด รำละเอียด ปลายข้าว ฯลฯ

                  4.ยูเรียไม่มีพลังงานแร่ธาตุ และวิตามินการใช้ยูเรียเป็นแหล่งไนโตรเจน แทนโปรตีนธรรมชาติ จึงควรเสริมโภชนะ เหล่านี้ลงไปด้วย

                    5.การใช้ยูเรียผสมในอาหารข้นไม่ควรเกิน 3 เปอร์เซนต์ ของอาหารข้น หรือ 1 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณวัตถุแห้งที่สัตว์กินได้ หรือเกิน 30 กรัมต่อน้ำหนักตัว 100 กิโลกรัม

                    6. ยูเรียจะมีรสชาดเฝื่อน สัตว์ไม่ชอบกิน ควรผสมกากน้ำตาล เพื่อเพิ่มรสชาด

                    7. ควรใช้ยูเรียผสมลงในอาหารวันละน้อย และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึงระดับที่ต้องการ เพื่อสัตว์จะได้มีเวลาปรับตัว

                   8.การผสมยูเรียลงในอาหารข้น  ต้องผสมให้เข้ากันดีอย่าให้เป็นก้อน และไม่ควรใช้ยูเรียละลายน้ำให้สัตว์ดื่มโดยตรง เพราะสัตว์จะกินเข้าไปครั้งละมากๆ และอาจเป็นอันตรายได้

การเป็นพิษจากยูเรีย และการรักษา

                       ยูเรียเองไม่เป็นพิษต่อสัตว์ การเป็นพิษจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อยูเรียสลายตัวได้แอมโมเนีย ซึ่งตัวแอมโมเนียนี้เองจะเป็นพิษ กับเนื้อเยื่อ เมื่อสัตว์กินอาหารมีโปรตีนสูงๆ หรือสารประกอบที่ไม่ใช่โปรตีนแท้มากเกินไป เช่น ยูเรียจะมีผลให้ในกระเพาะ รูเมน ผลิตแอมโมเนียมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดเกินกว่า 2 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ สัตว์จะแสดง อาการเป็นพิษ และถ้าแอมโมเนียในเลือดสูงถึงระดับ 3 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ สัตว์จะเป็นอันตรายถึงตายได้ อาการที่เห็นทั่วไปคือ หลังจากกินยูเรียเข้าไปประมาณ 20 นาที จะแสดงอาการน้ำลายฟูมปากหายใจลึก หรือหายใจลำบากมีอาการทาง ประสาทกล้ามเนื้อ ชักกระตุก อย่างรุนแรง ท้องอืด สัตว์จะล้มลงนอน และตายในที่สุด (Fraser,1963,Dinningetal.,1984) วิธีหนึ่งที่จะช่วยลดพิษได้ โดยการใช้น้ำส้มสายชู และน้ำเย็นอัตรา 1:1 กรอกใส่ปากให้เร็วที่สุด (Pieter และdeKock,1962; Clarke and Clarke, 1963 และ Church, 1979)

สรุป

                        การใช้ปุ๋ยยูเรียทดแทนอาหารโปรตีนจากธรรมชาติในอาหารข้น สำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องนั้น จะช่วยลดต้นทุนค่าอาหาร และสามารถทำให้การผลิตสัตว์ มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการใช้โปรตีนจากธรรมชาติ ซึ่งมีราคาแพงกว่า ถ้าผู้ใช้จะได้ทำ ความเข้าใจถึงวิธีการใช้ยูเรียอย่างถูกต้อง กับขนาด และชนิด ของสัตว์ ก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากยูเรียได้อย่างมีประสิทธิ ภาพยิ่งขึ้น สำหรับการใช้ยูเรียเพื่อปรับปรุงคุณภาพ ของอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่น ฟางข้าว จะสามารถทำให้อาหารหยาบนั้น มีคุณภาพสูงพอ ๆ กับหญ้า โดยจะมีการย่อยได้ของวัตถุแห้ง และปริมาณการกินได้ของสัตว์เพิ่มขึ้น


ที่มา http://www.dld.go.th/nutrition/Nutrition_Knowlage/ARTICLE/ArtileC.htm

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รายชื่อ พืชที่ต้องการน้ำน้อย


เทคโนโลยีจำนวนมากมายที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ระบบภูมิอากาศโลกที่เกิดขึ้นกับสังคมมนุษย์อยู่เสมอในเหตุการณ์ของอากาศที่ วิกฤตและในหลายๆ กรณีที่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตจะทำให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงเวลาที่เกิดความรุนแรง ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าการปรับตัวต่อการขยายตัวบางครั้ง
การปรับเปลี่ยนหรือขยายเทคโนโลยีที่ใช้อาจย้อนกลับไปประมาณหลายร้อยปีที่คนในท้องถิ่นมีการใช้เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมมาจัดการกับอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำ โดยการสร้างบ้านที่มีเสาเรือนสูง และหลายๆ หมู่บ้านก็ทำเช่นเดียวกัน แม้ว่าพวกเขาจะใช้วัสดุสมัยใหม่กว่าเช่น เสาคอนกรีตหรือหลังคาสังกะสี เทคโนโลยีอื่นๆ อาจจะพิจารณาถึงความทันสมัย
ตั้งแต่วันที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในปลายศตวรรษที่ 18 ชาวนาได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเบื้องต้นมาจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่แห้งแล้งให้ดีขึ้น เช่นการแนะนำสายพันธุ์ใหม่ของพืชที่ใช้น้ำน้อย และทำให้ดีกว่าเดิมเช่นเดียวกับระบบน้ำหยดในการชลประทาน
รายชื่อพืชที่ต้องการน้ำน้อย
  • มะละกอ พืชที่ต้องการน้ำน้อย
    มะละกอ (Papaya) ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papyya L. ชื่อวงศ์: CARICACEAE ชื่อสามัญ: Papaya. ชื่อท้องถิ่น: มะก๊วยเต็ด ก๊วยเท็ดลักษณะทั่วไปของมะละกอ สามารถเจริญเติบโ๋ตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มะละกอใช้ผลบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
  • ถั่วทุกชนิด พืชที่ต้องการน้ำน้อย
    พืชตระกูลถั่วทุกชนิด (ยกเว้นพืชที่เป็นต้นใหญ่ อย่างเช่น ต้นหางนกยูง ต้นก้ามปู) เนื่องจากถั่วเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย เจริญเติบโตเร็ว หลังเก็บเกี่ยวสามารถไถกลบและซังพืชจะเป็นปุ๋ยชั้นดีให้นาข้าว หากมีการปลูกสลับกันในระหว่างการเก็บเกี่ยวและรอการไถพรวนดินแล้ว ส่วนใหญ่พืชตระกูลถั่วเป็นไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น หรือไม้ล้มลุก ใบเรียงสลับ มักเป็นใบประกอบแบบ 3 ใบ หรือใบประกอบแบบขนนก อาจเป็นชนิดขนนกชั้นเดียวหรือขนนก 2 ชั้น มีหูใบบนก้านใบและบนราคิสอาจมีต่อมหรือหนาม ใบแผ่กางในเวลากลางวันและหุบในเวลากลางคืน ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อแบบต่างๆ เช่น ช่อกระจะ ช่อเชิงลด ช่อกระจุกแน่น และช่อแยกแขนง ลักษณะของดอกแตกต่างกันตามวงศ์ย่อย ผลมีลักษณะเป็นฝักแตกได้ หรือแตกไม่ได้ บางชนิดมีลักษณะค่อนข้างกลม มีปีกแผ่ออกไปโดยรอบ เรียกว่าผลแบบซามารา เช่น ผลประดู่
  • งาดำ พืชที่ต้องการน้ำน้อย
    งาดำ เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย และสามารถทนแล้งได้ดี อีกทั้งยังมีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างต่ำ แต่ให้ราคาขายที่ค่อนข้างสูง เหมาะกับการทำการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ งายังมีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ โดยเฉพาะแคลเซียมที่มีมากกว่านมวัวถึง 6 เท่า มีธาตุเหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และทองแดง และยังมากด้วยวิตามินบีชนิดต่างๆ ซึ่งดีต่อระบบประสาท ช่วยทำให้นอนหลับ ร่างกายกระฉับกระเฉง พร้อมกันนั้นยังมีสารบำรุงประสาทด้วย และวิตามินอีเป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยต้านมะเร็ง
  • ข้าวฟ่างหวาน พืชที่ต้องการน้ำน้อย
    ข้าวฟ่างหวาน ปลูกเพื่อผลิตเอทานอล โดยจีนและอินเดียเริ่มหันมาปลูกพืชที่ต้องการน้ำน้อยลงด้วยการปลูกข้าวชนิดนี้ เนื่องจากภัยแล้ง พันธุ์ข้าวฟ่างลูกผสมสีแดง ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกตามหลังข้าวโพดในเขตการปลูกข้าวโพดจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และเพชรบูรณ์ ตามระบบการจำหน่ายเมล็ดพันธ์และการรับซื้อผลผลิต กลับคืน พันธุ์เฮกการีหนัก เป็นข้าวฟ่างพันธุ์แท้ต้นสูง เมล็ดสีขาว กรมวิชาการเกษตร (กรมกสิกรรม) แนะนำให้เกษตรกรปลูกตั้งแต่ปี 2506 โดยมีลักษณะเด่น คือ มีผลผลิต เมล็ดเฉลี่ยประมาณ 400-600 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดมีขนาดใหญ่และ มีความไวต่อช่วงแสง เหมาะสำหรับปลูกในปลายฤดูฝนตั้งแต่ปลายเดือน กรกฎาคมถึงต้นเดือนกันยายน
  • ฟักทอง ฟักเขียว แก้วมังกร พืชที่ต้องการน้ำน้อย
    ฟักทอง ฟักเขียว แก้วมังกร พืชตระกูลนี้บางชนิดต้องการน้ำมาก แต่ไม่ถึงกับให้ทุกวัน ส่วนถ้าปลูกแก้วมังกรไว้ในที่ร่มจะไม่ได้ผลผลิต ส่วนใหญ่พืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น จะต้องการน้ำในปริมาณน้อย ฟักทองเป็นไม้เถาเลื้อยไปตามดิน มีมือสำหรับยึดเกาะ ลำต้นอวบน้ำ ใบเดี่ยวรูปห้าเหลี่ยม มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีเหลืองรูปกระดิ่ง ผลฟักทองมีด้วยกันหลายลักษณะ บางครั้งเป็นผลเกือบกลมก็มี แต่โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย เมื่อยังดิบเนื้อค่อนข้างแข็ง นอกจากเนื้อของผลฟักทองจะใช้เป็นอาหารแล้ว เมล็ดฟักทองก็ใช้เป็นอาหารว่างได้ด้วย
  • พืชไร่ พืชที่ต้องการน้ำน้อย
    พืชไร่ทุกชนิด พืชที่สามารถปลูกในที่ดอนได้ พืชชนิดนี้ต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น พืชไร่เป็นไม้ประเภทไม้ล้มลุกและไม้ทนแล้ง ต้องการน้ำน้อย มีอายุการปลูกและการเก็บเกี่ยวไม่นาน และเมื่อให้ผลผลิตแล้วลำต้นก็จะตาย พืชไร่ถือเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรของประเทศไทย พืชไร่ที่จัดเป็นพืชเศรษฐกิจนำรายได้มาสู่ประเทศไทยอย่างมาก เช่น อ้อย เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตน้ำตาลทราย ข้าวโพด เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารสัตว์ มันสำปะหลัง เป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งและอาหารสัตว์ ซึ่งวิทยาลัยเกษตรกรรมได้ มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชไร่อย่างมีคุณภาพ เช่น ส่งเสริมให้เกษตรกรป,กมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 ซึ่งให้ผลผลิตสูง ทนโรค ส่งเสริมการปลูกสับปะรดพันธุ์เพชรบุรี ซึ่งมีคุณสมบัติหวานกรอบ
  • มะพร้าว พืชที่ต้องการน้ำน้อย
    มะพร้าว มันสำปะหลัง ตะบองเพชร เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย และมีความอดทนสูง สามารถปลูกในดินทราย ซึ่งเป็นดินที่มีทรายปนอยู่มาก จึงทำให้มีเนื้อดินหยาบ เม็ดดินใหญ่และไม่เกาะกัน น้ำและอากาศซึมผ่านง่าย ไม่อุ้มน้ำ จึงมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้มีการจับยึดธาตุอาหารเพื่อบำรุงพืชได้น้อย ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับการปลูกพืชทั่วไป มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp) คือเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป (mesocarp) หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด
  • สมุนไพร พืชที่ต้องการน้ำน้อย
    สมุนไพรไทย ก็เป็นพืชที่เกิดอยู่ในแถบที่มีความแห้งแล้งย่อมจะต้องการปริมาณน้ำน้อยกว่าพืชที่เคยอยู่ในที่ๆ ชุ่มชื้นมาก่อน พืชบางชนิดต้องการความชื้นสูง เช่น กระวาน กานพลู พวกนี้ใช้น้ำมาก นอกนั้นต้องการน้อย ควรดูแหล่งกำเนิดว่าเป็นพืชที่มาจากไหน พืชสมุนไพร นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่างๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณ ค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น ปัจจุบันมีผู้พยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนายาสมุนไพรให้สามารถนำมาใช้ในรูป แบบที่สะดวกยิ่งขึ้น เช่น นำมาบดเป็นผงบรรจุแคปซูล ตอกเป็นยาเม็ด เตรียมเป็นครีมหรือยาขี้ผึ้งเพื่อใช้ทาภายนอก
  • มันสำปะหลัง พืชที่ต้องการน้ำน้อย
    การปลูกพืชแต่ละอย่างควรอยู่ในแนวทาง การเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตรที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร โดยการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งขุดสระกักเก็บน้ำ จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สอง ปลูกข้าว จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สาม ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นและส่วนที่สี่ เป็น พื้นที่ที่ใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่ จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่แต่ละแห่ง เช่นครอบครัวหนึ่งมีสมาชิกจำนวน 4 คน พื้นที่มีแหล่งน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี แต่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำก็ควรปรับลดพื้นที่ขุดสระ และเพิ่มพื้นที่นาข้าวเพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี


    ที่มา http://www.kasetorganic.com

เคลียร์ปัญหาน้ำเน่ากับ EM ฉบับการ์ตูน



ทำความเข้าใจปัญหาน้ำเน่ากับการแก้ปัญหาด้วย EM ผ่านการ์ตูน โดย ดร.อาทิตย์ นันทขว้าง อาจารย์สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งระบุว่าวาดการ์ตุนตอนพิเศษเพื่อแบ่งปันความรู้แก่คนทั่วไปและคนที่ต้องการใช้หรือคิดจะใช้ EM เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในบ้าน โดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านหรือทำลายขวัญและกำลังใจแต่อย่างใด และอ้างอิงข้อมูลจากกิจกรรม “ระดมสมองนักวิทย์: EM กับน้ำเสียสู่สังคมอุดมปัญญา” ในเฟซบุค
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
       


ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000141172