วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การปลูกกาแฟ

 

กาแฟเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากอาระเบียหรือประเทศเอธิโอเปียในปัจจุบัน กาแฟที่ปลูกเป็นการค้าในประเทศไทยมี 2 ชนิด ได้แก่ กาแฟโรบัสต้า ซึ่งมีการผลิตประมาณ 50 ล้านตัน เพาะปลูกมากในแถบจังหวัดชุมพรและภาคใต้ของประเทศไทย อีกชนิดหนึ่งคือกาแฟอาราบิก้าซึ่งปลูกมากในภาคเหนือที่เป็นภูเขาสูงและอากาศ หนาวเย็น

          กาแฟโรบัสต้านั้นนิยมนำไปทำกาแฟผงสำเร็จรูปชนิดชงละลายหมด ในขณะที่กาแฟอาราบิก้านิยมนำมาคั่ว บด และชงโดยการกรองกากออกหรือที่ปัจจุบันนิยมเรียกว่า "กาแฟสด"

การเพาะกล้า
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมต้นกล้า
          1. เตรียมแปลงเพาะเมล็ดกาแฟโดยใช้ ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 เกลี่ยในกระบะหรือแปลงที่สามารถระบายน้ำได้ดี แปลงเพาะเมล็ดนี้ควรอยู่ในโรงเรือนที่มีหลังคาบังแดด ให้แสงเข้าได้ 50% และปราศจากสัตว์เลี้ยงเข้าไปขุดคุ้ย รบกวน
          2. นำเมล็ดพันธุ์กาแฟแช่น้ำผสมยาฆ่าเชื้อรา เช่น สารประกอบทองแดง เป็นเวลา 1 คืน มาเพาะลงในแปลงที่เตรียมไว้ โดยใช้ไม้ กดเป็นร่องห่างกันประมาณ 5 ซม. แล้วโรย เมล็ดลงไป 
          * หมายเหตุ เมล็ดพันธุ์กาแฟที่ใช้ควรเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดี มาจากต้นแม่ที่ได้รับการรับรอง จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ มีอัตราการงอกสูง (เมล็ดไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 6 เดือน) 
          3. รดน้ำสม่ำเสอมจนเมล็ดงอกขึ้นมา ระยะเวลาจากเมล็ด งอกขึ้นมาเป็นระยะหัวไม้ขีด ใช้เวลา ประมาณ 30-45 วัน และระยะใบเลี้ยงหรือระยะ ปีกผีเสื้อ ใช้เวลา 46-60 วัน ให้ทำการถอนไปปลูกต่อในถุงพลาสติกที่เตรียมไว้

ขั้นตอนที่ 2 เตรียมถุงพลาสติกใส่ดิน
  
          1. ส่วนผสมของดินที่จะนำมาบรรจุถุงมีดังนี้

               - หน้าดินดำ 5 ปีบ
               - ปุ๋ยคอก 1 ปีบ
               - ปูนขาว (โดโลไมท์) 200 กรัม
               - หินฟอสเฟต (0-3-0) 200 กรัม
               - ฟูราดาน 25 กรัม
* หมายเหตุ ถ้าไม่มีหน้าดินดำใช้ดินร่วน ทรายหยาบ และขี้เถ้าแกลบ ชนิดละละ 1 ส่วน

          2. นำส่วนผสมกองเป็นชั้นๆ ไล่จากส่วนผสมที่มีปริมาณมากสุด ไปหาน้อยสุด (ดิน > ปุ๋ยคอก > ปูนขาว > หินฟอสเฟต > ฟูราดาน ตามลำดับ)  
   
          3. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
          4. เตรียมถุงพลาสติกสีดำสำหรับเพาะกล้า ขนาดถุงกว้าง 7 นิ้ว สูง 10 นิ้ว (ถุงไม่พับ) หรือกว้าง 4 นิ้ว สูง 10 นิ้ว (ถุงพับที่ก้น) เจาะรูระบายน้ำ 3 แถว แถวแรกห่างจากก้นถุงประมาณ 2-3 นิ้ว 
   
          5. นำดินผสมไปบรรจุถุงให้แน่นและเต็มถึงปากถุง เท่าจำนวนกล้าที่เพาะเมล็ดไว้ นำไปเรียงไว้ในเรือนเพาะชำ แล้วถอนต้นกล้าที่งอกจากเมล็ดที่เพาะไว้ในระยะ หัวไม้ขีด ถึงปีกผีเสื้อลงปลูกในถุงพลาสติก
          * หมายเหตุ ถ้าต้นกล้าแก่เกินไปจนเกิดใบจริง จะทำมห้รากยาวเกินไป เกิดปัญหารากคดงอระหว่างย้าย และอัตราการรอดชีวิตต่ำ

          6. ให้น้ำสม่ำเสมอเช้า-เย็น จนต้นกล้าเติบโต ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 8-12 เดือน ต้นกล้าที่ดีต้องมีลักษณะต้นตรง แข็งแรง ทุกข้อมีใบอยู่ครบ ไม่มีโรคและแมลงเข้าทำลาย มี ความสูงประมาณ 45 ซม. มีจำนวนข้อประมาณ 6-8 ข้อ (มีใบ 6-8 คู่)
          7. ต้นกล้าที่พร้อมจะนำไปปลูกต้องผ่านการ ฝึกให้ได้รับแสงแดดมากขึ้นประมาณ 1 เดือน ก่อนปลูก เพื่อให้แข็งแรง และรอดตายสูงเมื่อนำไปปลูกในแปลง

การปลูก ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพื้นที่
  
          1. พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกกาแฟควรเป็นที่ๆมีความสูง ประมาณ 800-12,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ความลาดชันไม่เกิน 50% ทำการกำจัดวัชพืชโดยการถางให้โล่ง เตรียมทำแนวระดับ การเตรียมพื้นที่ส่วนมากเริ่มทำ ในช่วงฤดูแล้ง เพื่อให้พร้อมสำหรับปลูกกาแฟ ในฤดูฝน ที่จะมาถึง (ประมาณมิถุนายน-กรกฎาคม)

          2. ทำแนวระดับโดยใช้อุปการณ์ช่วย เช่น ไม้รูปตัวเอ เขาควาย หรือระดับน้ำ ทำแนวปลูกกาแฟ โดยมีระยะระหว่างต้น 2 เมตร ระยะห่างระหว่างแถวขึ้นอยู่กับความลาดชัน โดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร
          3. ขุดหลุมปลูกกาแฟขนาด 0.5 x 0.5x 0.5 เมตร (หรือ 1 X 1 X 1 ศอก) แยกหน้าดินกับดินก้นหลุม ออกจากกัน หน้าดินจะใช้ผสมใส่ลงที่ก้นหลุม
          4. การผสมดินใส่ก้นหลุมจะประกอบด้วย หน้าดิน ปุ๋ยคอก ปูนขาว (โดโลไมท์) ปุ๋ยฟอสเฟต และฟูราดาน ผสมให้เข้ากัน ใส่ก้นหลุมไว้
          5. กลบด้วยกินก้นหลุมให้เสมอปาก ใช้ไม้ปักทำเครื่องหมายหลุมไว้
ขั้นตอนที่ 2 การปลูก
  
          1. นำต้นกล้าที่มีขนาดเหมาะสมความสูงประมาณ 45-50 ซม. มีใบ 6-8 คู่ สมบูรณ์แข็งแรง ผ่านการฝึกให้ทนทานต่อแสงแดดจัดและการขาดน้ำ ในเบื้องต้นแล้ว

          2. นำต้นกล้าลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ กลบดินให้แน่น  
          3. ใช้ไม้ปักกันลมโยกคลอน 



การดูแลรักษาต้นกาแฟ การกำจัดวัชพืช
          กาแฟควรได้รับการกำจัด วัชพืชสม่ำเสมอในฤดูฝน โดยเฉพาะหลังปลูกใหม่อายุ 1-3 ปี เพราะต้นยังเล็กไม่สามารถเจริญ เติบโตแข่งกับวัชพืชได้ โดยการถางรอบๆ บริเวณสวนกาแฟ และถางให้สะอาดบริเวณโคนต้นเพื่อการใส่ปุ๋ยต่อไป เศษวัชพืชที่ถางออก สามารถนำมาเป็นวัสดุคลุมดินได้ 
การใส่ปุ๋ย
          ในระยะที่กาแฟยังไม่ติด ผล ควรใส่ปุ๋ย 46-0-0 เมื่อกาแฟเริ่มติดผลแล้ว (ปีที่ 4 เป็นต้นไป) ต้องใช้ปุ๋ย 15-15-15 ใช้หลักการคร่าวๆคือ ใส่ 3 ครั้ง  ในเวลาต้น-กลาง-ปลายฤดูฝน ครั้งหนึ่งๆใส่ 30-150 กรัม (1-5 กำมือ) ขึ้นอยู่กับ ปริมาณการติดผล และขนาดการเติบโตของลำต้น

การคลุมโคน
  
          ทุกครั้งหลังใส่ปุ๋ยต้องมีการคลุมโคนต้นเพื่อไม่ให้ปุ๋ย ถูกชะล้าง หรือระเหยสูญหายไป นอกจากนั้นเมื่อสิ้นสุดฤดูฝน ควรคลุมโคน ให้หนาประมาณ 30 ซม. เพื่อรักษาความชื้นในดิน ทำให้กาแฟรอดตาย พ้นฤดูร้อนได้ 
   
การตัดแต่งกิ่ง
  
          การตัดแต่งกิ่งช่วยให้กาแฟสามารถเจริญเติบโต ได้ทรงพุ่มที่สวยงามแข็งแรง ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ หลักการกว้างๆของการตัดแต่งกิ่งคือ พยายามอย่าให้ กาแฟมีลำต้นหลักเกิน 3 ลำต้น (1-3 ลำต้นจะดีที่สุด) กำจัดกิ่งแขนงที่เกิดมากเกิน หรือแห้งตาย หรือไม่ติดผลแล้ว ออกจากลำต้นหลัก และกระตุ้นให้เกิดหน่อใหม่ที่โคนต้นเมื่อต้องการ จะเปลี่ยนลำต้นหลักใหม่ หลังจาก 8-10 ปีผ่านไป

การตัดแต่งกิ่งสำหรับระยะ 3-5 ปีแรก

- การตัดแต่งกิ่งแบบ 2 ลำต้น

          ต้นกาแฟที่มีลำต้นเดียว ถ้าต้องการให้มีสองลำต้น ให้ตัดยอดสูงจากพื้นดินประมาณ 45 ซม. เมื่อมีหน่อใหม่เกิดขึ้น ที่ปลายยอด ให้ตัดทิ้งเหลือไว้ 2 กิ่ง ริดกิ่งแขนงที่อยู่ ชิดลำต้นออกให้หมด รวมทั้งกิ่งแขนงที่อยู่ต่ำกว่า 30 ซม.จากพื้นดิน เพื่อไม่ให้เป็นมด และแมลงใช้เป็นทางขึ้นต้นกาแฟ

การตัดแต่งกิ่งสำหรับต้นกาแฟอายุตั้งแต่ 8 ปีเป็นต้นไป

          หลังจากกาแฟอายุ 8-10 ปี มีจำนวนข้อที่ติดผล น้อยลง สภาพต้นทรุดโทรม และผลผลิตต่ำ ต้องมีการตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้เกิดยอดใหม่ 
- การตัดแต่งกิ่งแบบเปิดด้านข้าง
          การตัดแบบเปิดข้างจะตัดกิ่งแขนงที่อยู่ด้านตะวันออก ทิ้งทั้งหมด (แสงเป็นตัวกระตุ้น ให้หน่อเจริญออกมา) เมื่อหน่อใหม่เกิดขึ้น อายุประมาณ 6 เดือน จึงตัดลำต้นเก่าออก คัดเลือกหน่อที่แข็งแรงไว้เพียง 1-2 อัน เพื่อเลี้ยงให้เป็นลำต้นหลักต่อไป

- การตัดจนเหลือแต่ตอ
          จุดประสงค์เช่นเดียวกับการตัดแต่งกิ่งแบบเปิดข้าง การตัดออกทั้งหมดจะทำให้เกิดหน่อใหม่ จำนวนมากแตกออกมา คัดเลือกไว้ไม่เกิน 3 หน่อ ปล่อยให้เจริญ เติบโตเป็นลำต้นหลักต่อไป
ข้อมูลจาก http://web.agri.cmu.ac.th

กาแฟอราบิก้าเหมาะที่จะปลูกบนพื้นที่สูง ทางภาคเหนือ
ส่วนสายพันธุ์โรบัสต้า ปลูกบนที่ราบ ทางภาคใต้ 


ที่มา http://guru.sanook.com

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการเลี้ยงไก่ไข่ต้นทุนต่ำ ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง

 
อาชีพเลี้ยงไก่ไข่   เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยม  เพราะนอกจากจะได้ไข่ไว้บริโภคภายในครัวเรือนแล้ว  ยังสามารถจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร  อีกทั้งการลงทุนก็ไม่มาก  เลี้ยงง่าย  ใช้เนื้อที่น้อย
บริษัทหรือฟาร์มเอกชนจำนวนมาก  ผลิตไข่ไก่พันธุ์ลูกผสมเพื่อจำหน่ายแก่ผู้เลี้ยง  ไก่พันธุ์ที่คัดเลือกเป็นไก่พันธุ์ไข่ดก  ไข่ฟองโต  ไข่ทน  และไข่นาน  มีผลผลิตไข่อยู่ในเกณฑ์สูงสามารถเลี้ยงได้ตั้งแต่อายุเริ่มได้  1  วัน  หรือจะเลี้ยงไก่รุ่น  2  เดือนก็ได้

ปัญหาของเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ไข่บางครั้งเพราะได้ผลผลิตน้อยไม่คุ้มค่า  ทั้งนี้เนื่องมาจากไก่มีการเจ็บป่วย ไก่ตาย โดยที่ยังไม่มีการระบาดของโรค แต่เกิดจากไก่มีอาการแพ้กลิ่นเหม็นแพ้แอมโมเนียจากมูลไก่เอง  ปัญหาของมูลไก่โดยทั่วไป คือ เกิดกลิ่นเหม็นออกมารบกวนสุขภาพของไก่และคน และมูลไก่ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน ทำให้เกษตรกรต้องเพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา เช่น ค่ายาในการรักษาไก่ ซึ่งค่าวัคซีน ค่าอาหาร ค่าพันธุ์ไก่ ฯลฯ ก็เป็นต้นทุนที่สูงอยู่แล้ว

แนวทางการแก้ไข คือ ต้องทำให้ผลผลิตสูงขึ้น  เกิดการสูญเสียแก่ไก่ไข่น้อยที่สุด และลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต  ต้นทุนด้านค่าอาหารยังเป็นปัจจัยที่สำคัญ แต่เรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค ในกรณีที่ไม่ได้เกิดจากโรคระบาด การใช้แนวทางการป้องกัน การจัดการระบบสุขาภิบาลของโรงเรือน
การเลี้ยงไก่ไข่สามารถทำการเลี้ยงได้  2 วิธี

การเลี้ยงแบบขังรวม เป็นการเลี้ยงไก่แบบเลี้ยงรวมกันในโรงเรือนขนาดใหญ่ และรองพื้นด้วยวัสดุรองพื้น วิธีนี้เป็นที่สนใจจากผู้เลี้ยงในปัจจุบันอย่างมาก  โรงเรือน และอุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่  ต้องแข็งแรง  กันแดด  กันฝน กันลมได้  และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ดูแลวัสดุรองพื้นอย่าให้แฉะหรือแข็งเป็นแผ่น หรือมีกลิ่นเหม็นของแก๊สแอมโมเนีย ต้องคุ้ยและพลิกกลับอย่างสม่ำเสมอ

การเลี้ยงแบบกรงตับ  เป็นกรงใส่ไก่ไข่ที่มีทั้งแบบชั้นเดียว  และหลายชั้นซ้อนกันเป็นที่นิยมมาก ชั้นเดียว  2  ด้าน  ด้านละ  6  ช่อง  ชุดหนึ่งเลี้ยงได้  12  ตัว  ติดตั้งอุปกรณ์ให้น้ำให้อาหารแบบกะทัดรัด  ส่วนใหญ่จะเป็นไก่สาว เป็นวิธีที่ผู้เลี้ยงไก่เป็นอาชีพหรือเพื่อการค้านิยมกันมาก เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาเลี้ยงดูไก่เล็กหรือไก่รุ่น นอกจากนี้โรงเรือนก็สร้างไว้เฉพาะกับไก่ไข่เท่านั้น แต่การเลี้ยงไก่วิธีนี้ต้องลงทุนสูง ผู้เลี้ยงจะต้องรู้จักฟาร์มที่ผลิตไก่สาวเป็นอย่างดี ต้องสอบถามถึงประวัติของฝูงไก่สาวที่นำมาเลี้ยงเสมอ เพราะช่วงที่ไก่ยังเป็นลูกไก่และไก่รุ่นผู้เลี้ยงไม่สามารถรู้ประวัติของฝูง ไก่สาวที่จะนำมาเลี้ยงได้

เทคนิคการป้องกันและแก้ไข

การจัดการน้ำไก่ไข่

1.ไก่ไข่ที่อายุ 3 เดือนขึ้นไป ต้องการน้ำประมาณ 15-20 ลิตร/100 ตัว/วัน หากขาดน้ำในช่วงให้กำลังไข่ เพียง 3-4 ชั่วโมง จะทำให้ไข่ฟองเล็ก  น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด ไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อนโดยใช้ ไคโตซาน  มิกซ์ฟีด  ละลายน้ำในรางหรือถังให้ไก่กิน  โดยใช้อัตรา 10 ซีซี.น้ำ 20 ลิตร ป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับน้ำ กระตุ้นการกินอาหาร

การจัดการอาหารไก่ไข่

1. อาหารไก่ไข่ ในช่วงเริ่มให้ไข่ เปอร์เซ็นต์โปรตีน ประมาณ 15-16 %  ซึ่งมีทั้งอาหารป่น อาหารอัดเม็ด หัวอาหารสำหรับผสมเอง ความต้องการอาหารของไก่ อายุ 3 เดือนขึ้นไป ประมาณ 10 กิโลกรัม/100 ตัว/วัน  ปัญหาที่เกิดจากอาหารบางครั้งคือ การปนเปื้อนเชื้อราในอาหาร ที่เรียกว่า สารอะฟลาท๊อกซิน นอกจากนั้นในวัตถุดิบอาหารสัตว์บางครั้งอาจมีสารพิษตกค้างจากสารเคมีที่ใช้ เช่น ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช  ซึ่งปะปนในอาหารสัตว์  เมื่อสัตว์กินเข้าไป จะทำให้ตับถูกทำลาย หรือเป็นมะเร็งที่ตับได้  แต่ในไก่สามารถสังเกตได้ว่าไก่จะถ่ายเหลว หรือท้องเสีย  วิธีป้องกันแก้ไขโดย ใช้สเม็คไทต์ผง ผสมร่วมกับอาหารไก่ เพียง  3 % ของอาหารสามารถจับตรึงสารพิษที่ปนเปื้อนกับอาหารได้ ช่วยจับตรึงแอมโมเนียและกลิ่นเหม็นตั้งแต่ในระบบลำไส้ เมื่อไก่ถ่ายออกมากลิ่นเหม็นจะน้อยลง

การจัดการด้านสุขาภิบาล

1. การกำจัดกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ตามพื้นคอก ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ไก่มีอาการหายใจลำบาก หน้าบวม ร้อนแดง ตาอักเสบ น้ำมูก น้ำตาไหลและมีอาการคัน เกาจนเป็นแผลทำให้เกิดการติดเชื้อและตายในที่สุด  หากเป็นไก่ไข่แบบเลี้ยงรวมบนพื้น สามารถใช้สเม็คไทต์ ผง หว่านลงบนวัสดุรองพื้น โดยในระยะไก่โตอาจหว่านโรย ทุก 5-7 วัน ช่วงเช้า-เย็น  ไก่ไข่แบบกรงตับให้ใช้สเม็คไทต์ผง หว่าน โรยบางๆ ทับลงบนมูลไก่ที่พื้นคอก  กลิ่นเหม็นจะถูกดูดซับ จากนั้นประมาณ 5-10 นาทีกลิ่นเหม็นจะหายไป

2. การหว่านโรยสเม็คไทต์ผง บนมูลไก่บนลานตากแห้ง หรือหว่านโรยบางๆ ในเล้าไก่ ช่วยลดปัญหาไรไก่ พยาธิ รวมทั้งแมลงวันให้น้อยลง เนื่องจากสเม็คไทต์ เป็นสารจากการระเบิดตัวของหินภูเขาไฟ ซึ่งสามารถรบกวนผิวไรไก่และพยาธิ  ทำให้ไรไก่และพยาธิไม่สามารถระบาดได้และลดลง จนหมดไป

** หมายเหตุ  หากนำมูลไก่ที่หว่านโรยด้วยสเม็คไทต์ไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ จะเป็นปุ๋ยละลายช้าที่มีซิลิก้า ช่วยให้พืช แข็งแกร่ง ต้านทาน โรค แมลงได้ดีขึ้น

เขียนและรายงานโดย  พิพัฒนะ  เครือชาลี (นักวิชาการ)

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิธีปลูกฝรั่งกิมจู


การปลูกฝรั่ง
หลัง จากที่เลือกพื้นที่ปลูกได้แล้ว ถ้าต้องการจะปลูกเป็นสวนก็ควรจะจัดระยะปลูกระหว่างแถวและระหว่างต้นประมาณ 3 x 3 เมตรในเนื้อที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 160 ต้น

การเตรียมดิน
การ ปลูกฝรั่งในพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงควรทำการยกร่องปลูก โดยยกร่องให้มีขนาดความกว้างของหลังร่องประมาณ 6 เมตร มีคูน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร ความยาวของสันร่องแล้วแต่พื้นที่ ความสูงไม่จำกัด แต่ถ้าเป็นที่ดอนไม่จำเป็นต้องยกร่อง จากนั้นก็ปรับปรุงดินโดยการตากดินเพื่อฆ่าเชื้อโรค และเมล็ดวัชพืช ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักในปริมาณเท่า ๆ กัน อัตราปุ๋ย 1 ส่วนต่อดิน 2 ส่วน เพื่อให้ดินร่วนซุย

วิธีปลูก
หลัง จากเตรียมหลุมปลูกเรียบร้อยแล้ว ให้นำกิ่งพันธุ์ที่ชำไปปลูกลงในหลุม กลบดินให้แน่นพอสมควร แล้วใช้ไม้ปักเป็นหลักผูกกันลมโยกและรดน้ำทันที จากนั้นใช้ทางมะพร้าวมาคลุมพรางแสงแดดให้แก่ต้นฝรั่งจนกว่าต้นฝรั่งจะตั้ง ตัวได้


การเตรียมหลุมปลูก
    ขนาดของหลุมปลูกควรกว้าง 0.5 เมตร ยาว 0.5 เมตร และลึก 0.5 เมตร ที่จำเป็นต้องขุดหลุมกว้างเพื่อเปลี่ยนสภาพดินในหลุมให้ดีขึ้น ดังนี้

    1. ควรขุดดินโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ดินบนและดินล่าง
    - ดินบน เป็นส่วนที่มีอินทรีย์วัตถุมากอยู่แล้ว ให้แยกไว้ส่วนหนึ่ง
    - ดินล่าง คือดินที่เมื่อขุดลึกลงไปแล้วพบว่าดินมีสีจางลงเป็นชั้นที่ไม่มีอินทรีย์วัตถุ
    2. ตากดินไว้ 10-15 วัน เพื่อให้แสงแดดส่องฆ่าเชื้อโรคในหลุมปลูกและในดิน
    3. กลบดินบนลงในหลุม
    4. ผสมปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก 1 ส่วนต่อดินล่าง 2 ส่วน และรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยร๊อคฟอสเฟต 0.50 กิโลกรัม แล้วจึงกลบลงไปในหลุมทับชั้นดินบน จนมีระดับสูงกว่าระดับพื้นดินธรรมดาประมาณ 10 เซนติเมตร

    การที่ต้องกลบดินให้สูงกว่าระดับดินเดิมนั้น เพื่อที่เมื่อเวลาปลูกแล้วดินจะยุบตัวลงเล็กน้อย ซึ่งจะทำให้พอดีกับระดับดินเดิม ถ้าไม่เผื่อไว้จะเป็นแอ่งและมีน้ำขังทำให้รากเน่าตายได้

การปฏิบัติดูแลรักษา
    การให้น้ำ
    หลังจากปลูกฝรั่งแล้วต้องหมั่นคอยรดน้ำในช่วงระยะแรกจนกว่าต้นฝรั่งจะตั้ง ตัวได้หลังจากนั้นก็ต้องสังเกตดูความชุ่มชื้นของดิน ถ้าดินแห้งมากต้องรีบให้น้ำ และถ้ามีฝนตกหนักก็ควรระบายน้ำออกบ้าง การให้น้ำจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามความต้องการของต้นฝรั่ง ปริมาณความชื้นของดินในระหว่างการออกผลมีความสำคัญ เพราะจะก่อให้เกิดการร่วง การแตก และขนาดของผล

    การใส่ปุ๋ย
    โดยปกติการปลูกพืชทุกชนิดควรมีการใส่ปุ๋ยทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี สูตรที่แนะนำ คือ 15-15-15 หรือ 13-13-21 ฝรั่งเมื่อออกดอกแล้วจำเป็นต้องให้น้ำและปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ขึ้นทุก ๆ ปี ควรให้ปุ๋ยประมาณ 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นและปริมาณผลผลิต และหากจะให้ฝรั่งมีรสหวานยิ่งขึ้นให้ใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 5-30-30 พ่นก่อนเก็บผล 1 เดือน โดยนำปุ๋ยเกร็ดมาผสมน้ำฉีดพ่น ฉีดอาทิตย์ละครั้ง ประมาณ 2 ครั้ง จากนั้นประมาณ 15 วัน จึงเก็บผล

    การพรวนดิน
    ไม่ควรพรวนดินลึก เพราะจะทำให้รากของต้นฝรั่งขาดได้

    การกำจัดวัชพืช
    ควรทำอย่างสม่ำเสมอ อาจใช้วิธีการถาง ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชหรือปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น เซนโตรซึม เพอราเรีย เป็นพืชคลุมดิน

    การปักไม้ค้ำกันลม
    ในระหว่างที่ต้นฝรั่งยังเล็กอยู่ ควรปักไม้ค้ำกันลมเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นโยก เพราะอาจกระทบกระเทือน ทำให้ต้นฝรั่งไม่โต การปักไม้ค้ำกันลม ควรใช้ไม้รวกหรือแขนงไม้ไผ่ยาว 1 เมตร ค้ากิ่งต้นละ 1-2 อัน และใช้เชือกพลาสติกผูกติดกับกิ่งแต่อย่าผูกให้แน่นมากเพราะกิ่งอาจเจริญเติบ โตช้า

    การพยุงผลฝรั่ง
    ฝรั่งจะเริ่มออกผลเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ควรใช้ไม้ไผ่ปักไว้เพื่อพยุงผลฝรั่ง โดยใช้ปลายหรือแขนงไม้ไผ่ขนาดเล็กยาว 1 เมตร หรือมากกว่านั้นปักใกล้กับกิ่งที่ออกผลแล้ว โดยผูกยึดกับกิ่งไว้ บางสวนจะผูกขั้วผลกับกิ่งหรือไม้ปักเพื่อไม่ให้ผลถ่วงต้น เพราะน้ำหนักผลฝรั่งมาก ถ้ามีลมพัดแรงต้นจะเฉาตายและรากจะขาด

    การตัดแต่งกิ่ง
    การตัดแต่งกิ่งจะช่วยให้ฝรั่งเกิดกิ่งอ่อน และมีช่อดอกออกมาด้วยทำให้ทรงพุ่มโปร่ง ได้สัดส่วน อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่อง ได้ทั่วถึง สะดวกในการเก็บผลและการพ่นสารป้องกันกำจัดโรค และแมลง นอกจากนี้ ยังทำให้ได้ผลผลิตที่แน่นนอน ผลมีขนาดใหญ่ สำหรับส่วนใหม่ ควรมีการตัดแต่งกิ่งทุกปีเพื่อกระตุ้นการเจริญ และการสร้างตาดอก โดยทั่วไป ต้นที่สมบรูณ์จะตัดกิ่งก้านออก 25 - 30% สำหรับต้นที่ไม่แข็งแรงให้ตัดกิ่งก้านออกประมาณ 20 % นอกจากการตัดแต่งกิ่งแล้วการทำให้ใบร่วงจะทำให้ระยะการเก็บเกี่ยวสั้นลง และการปลิดผลทิ้งให้เหลือประมาณ 2 - 6 ผล ต่อกิ่ง จะจำเป็นในสวนที่ผลิต เพื่อบริโภคผลสด แต่ถ้าจะให้ได้ผล ที่มีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดี ควรให้เหลือเพียง 1 ผล เท่านั้น

การห่อผล
ประโยชน์ ของการห่อผลนอกจากจะช่วยป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูฝรั่งแล้ว ยังทำให้ผลฝรั่งมีผิวสวยน่ารับประทาน วิธีการห่อผลฝรั่งโดยส่วนใหญ่จะใช้ถุงพลาสติกหรือใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อ ก่อนแล้วจึงสวมถุงพลาสติกทับอีกชั้นหนึ่ง โดยจะเริ่มห่อผลฝรั่งเมื่อมีขนาดเท่าลูกมะนาวหรือหลังดอกบานแล้ว 1 เดือน ก่อนห่อควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราและแมลงที่ผลฝรั่งเสียก่อน



โรคที่สำคัญของฝรั่ง
    1. โรคจุดสนิม เกิด จากเชื้อราเข้าทำลายใบ โดยจะเห็นจุดขนาดเล็ก เริ่มจากจุดสีเขียวแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีสนิมเหล็กและเป็นขุยคล้ายกำมะหยี่ ถ้าเป็นที่กิ่งจะทำให้เป็นขุยและกิ่งแตกแห้งตาย
    การป้องกัน ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น มาแนบและซีแนบ หากเป็นที่กิ่งอาจใช้สารเคมีดังกล่าวผสมในปูนแดงข้น ๆ ทาบริเวณที่เป็นโรค
    2. โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อราเข้าทำลายผลอ่อน ผลสุกและใบ อาการบนใบจะเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ แผลอาจทะลุ ถ้าเป็นที่ผลอ่อนจะทำให้มีสีน้ำตาลและเน่าแห้งไปในที่สุด แต่ถ้าเป็นระยะผลสุกหรือใกล้สุก จะเกิดแผลเน่าสีน้ำตาล อาการจะลุกลาม แผลจะบุ๋มลงเล็กน้อยมีจ้ำสีคล้ำและเมือกสีแสดปรากฏให้เห็น
    การป้องกัน ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น บีโนมิล แคปแทน โดยพ่นสารเคมีก่อนเก็บผล 1 เดือน


แมลงศัตรูฝรั่ง
    1. แมลงวันทอง การทำลายเกิดจากแมลงวันทองวางไข่ที่ใต้ผิวฝรั่งสุก (หรือระยะที่ผิวผิวอ่อน) ตัวอ่อนที่ฟักจากไข่จะเจริญกินเนื้อฝรั่งเป็นอาหารทำให้ฝรั่งอ่อนนิ่มและเละ ในที่สุด
    การป้องกัน ห่อผลในขณะที่ผิวยังแข็ง มีสีเขียว ขนาดเล็ก การห่ออาจห่อด้วยถุงพลาสติกชั้นเดียว หรือ 2 ชั้น โดยต้องเจาะรูกระดาษห่อชั้นในก้นถุงให้น้ำไหลออกด้วย หรือใช้สารเคมีมาลาไทออนผสมโปรตีนไฮโดรไลเซท เป็นเหยื่อพิษฉีดพ่นในตอนเช้าตรู่เป็นจุด ๆ บนใบแก่เท่านั้น ต้นละ 1-4 จุด แต่ละจุดใช้น้ำยาประมาณ 50 ซีซี. พ่นแค่ให้ใบเปียกและพ่นทุก ๆ 7 วัน ติดต่อกัน 4-5 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยว หากพ่นก่อนการระบาด 1 เดือน จะได้ผลดีกว่าพ่นหลังแมลงระบาดแล้ว

    2. เพลี้ยแป้ง จะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบอ่อน กิ่งอ่อน และช่อดอกทำให้แห้งเฉาหรือใบผิดรูปร่างและผลผลิตลดลง
    การป้องกัน พ่นด้วยสารละลายอโซดริน 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้น ใบ กิ่งอ่อนและผลทุก ๆ 7 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง และหยุดพ่นสารเคมีอย่างน้อย 7 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวผล

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการจับและเริ่มเลี้ยงมด

การเลี้ยงออกเป็นสองวิธีดังนี้ครับ
1. การเลี้ยงโดยเริ่มจากนางพญาเพียงแค่ตัวเดียว
P1000113
เป็นการเลี้ยงมดโดยเริ่มจาก จับนางพญามาเพียงแค่ตัวเดียว ซึ่งวิธีการจับก็คือการหาจับเอาตามช่วงฤดูผสมพันธุ์ของมดสายพันธุ์ที่จะ เลี้ยงครับโดยข้อมูลของฤดูผสมพันธุ์ของมดในแต่ละสายพันธุ์ ผมจะพยายามหาข้อมูลแล้วเอามาลงกันให้ได้อ่านกันมากที่สุดครับ

การเลี้ยงแบบนี้นั้น มีข้อดีและข้อเสียดังนี้
ข้อดี:
  • เรา จะได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงของรัง รวมถึงพฤติกรรมของนางพญาเรียกได้ว่าตั้งแต่เริ่มแรกเลยจริงๆ เพราะนางพญาที่เราจับมานั้น พูดง่ายๆว่ายังไม่เคยผ่านการวางไข่หรือสร้างอาณาจักรที่ไหนมาก่อนแน่นอน
  • อีก ข้อก็คือเรามั่นใจได้เลยว่า นางพญามดที่เราจับมานั้น จะอยู่กะเราไปอีกนานถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เนื่องจากดังที่กล่าวมาแล้วว่า นางพญาที่เราจับมานั้น ไม่เคยผ่านการสร้างอาณาจักรที่ไหนมาก่อน ดังนั้นมันจึงเหมือนกับเพิ่งเริ่มวิถีชีวิตของมันสดๆใหม่ๆ ต่างจากนางพญาที่เราไปจับมาจากรังที่มีอยู่ ซึ่งเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เค้าสามารถจะอยู่กะเราได้อีกระยะเวลาเท่าไหร่ตามอายุขัยของเค้าเอง
  • ไม่ ต้องกังวลเรื่องการออกแรงขุดดิน บาดแผลเนื่องจากโดนมดต่อย กัด ฯลฯ อีกมากมายในการไปหามด เพราะว่าสิ่งที่เราต้องทำคือเพียงแค่ หาช่วงฤดูผสมพันธุ์ แล้วก้มตามพื้นหานางพญาที่ผ่านการผสมพันธุ์ และสลัดปีกแล้วเท่านั้น !!
  • เนื่อง จากจะเป็นวิธีการเลี้ยงที่ค่อยๆริเริ่มไปทีละนิดจากนางพญาเพียงตัวเดียว ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลเรื่องปริมาณน้ำ หรืออาหารที่ต้องให้ในระยะแรก รวมถึงการรักษาความสะอาดทำได้ง่าย เมื่อเทียบกับรังขนาดใหญ่
ข้อเสีย:
  • การ รอคอย !! รอแล้วรออีก สำหรับคนใจร้อนที่อยากจะต้องการเห็นการดำรงชีวิตของมดแบบรวดเร็ว การหาอาหาร ศึกษาสังคมของมด ฯลฯ เค้าอาจจะต้องรอคอยเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากต้องใช้เวลาในระยะแรกสำหรับการวางไข่ของนางพญา กว่าไข่จะฟักเป็นตัวอ่อน (Larvae) กว่าตัวอ่อนจะกลายเป็นดักแด้ (Pupae) กว่าดักแด้จะฟักออกมา (eclose) แล้วกว่าจะรอจนมดงานโตสามารถหาอาหารได้ แล้วขยายอาณาจักรต่อไป ซึ่งสิ่งที่ทำได้อย่างเดียวก็คือ ใจเย็นๆ และรอเท่านั้น...
  • โอกาส การจับนางพญาที่ไม่ได้รับการผสม จากประสบการณ์ที่ผมผ่านมา การจับนางพญาในช่วงฤดูผสมพันธุ์นั้นไม่สามารถยืนยันได้ 100% ว่านางพญาที่เราจับมานั้นได้รับการผสมเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้ว่านางพญาที่เราจับมาจะไม่มีปีกแล้วก็ตาม แต่ในทางเดียวกัน นางพญาที่ยังมีปีกอยู่ก็สามารถพบว่าได้รับการผสมและสามารถวางไข่ได้เช่น เดียวกัน นอกจากหนี้ ในหลายๆคนอาจสับสนระหว่างนางพญามดกับแมลงเม่า ซึ่งจะบินมาปนๆกันแถวหลอดไฟช่วงฤดูผสมพันธุ์ จึงต้องสังเกตดีๆในการจับ
  • การ จัดที่อยู่อาศัยให้เข้ากับสายพันธุ์ที่จับมานั้น ทำได้ยาก เนื่องจากนางพญาที่เราเจอในช่วงผสมพันธุ์นั้น เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่ารังเดิมเค้าอยู่แถวไหนมาก่อน ลักษณะรังเป็นอย่างไร ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่เราจะจัดรัง กำหนดความชื้น อุณหภูมิ ฯลฯ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตให้กับนางพญาที่เราทำการจับมา
  • การ ที่จะไม่รู้ได้เลยว่าเมื่อไหร่นางพญาจะออกไข่ชุดแรก การเลี้ยงโดยเริ่มจากนางพญาตัวเดียวยังอาจทำให้เราต้องรอเก้อได้ เนื่องจาก กรณีแรกคือนางพญาไม่ได้รับการผสมซึ่งจะไม่มีการออกไข่เลย ส่วนอีกกรณีนึงก็คือ นางพญาเลือกที่จะเลื่อนช่วงการออกไข่ออกไปฤดูอื่น ซึ่งกว่าจะออกไข่ก็อาจต้องรอเป็นเดือนๆกันเลย ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ อาจทำให้เราต้องรอเป็นระยะเวลานานมาก เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่านางพญาที่เราจับมานั้นจะเป็นแบบกรณีไหน
อย่างไรก็ตาม ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเลี้ยงมดโดยเริ่มจากนางพญาแค่ตัวเดียวคือเริ่มจากเลี้ยงในหลอดทดลอง (Test tube) ดังรูปครับ
tube
35d48b33d480487d80bb777a658ef64a

โดยมีวิธีการทำดังนี้
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
- หลอดทดลอง
- สำลี
- น้ำ
- ปากกาหรือไม้ยาวๆสำหรับดันสำลี
- กระดาษทิชชู่

เมื่อ ได้อุปกรณ์ครบแล้ว จึงเริ่มเติมน้ำลงในหลอดทดลองให้เต็ม จากนั้นนำสำลีอุดเข้าที่ปลายด้านบนหลอดทดลองให้แน่นพอที่เราจะสามารถกดลงไป ได้ จากนั้นจึงกดลงไปจนถึงระดับที่เราต้องการให้เหลือน้ำไว้ (ประมาณ 1 ใน 3 หลอดทดลอง) แล้วจึงเทน้ำที่เกินออกจากหลอดทดลอง

จากนั้นนำปากกาหรือ ไม้ยาวพันด้วยกระดาษทิชชู่ เช็ดภายในให้แห้ง แล้วเราก็มาเริ่มทดสอบว่าน้ำจะขังอยู่ภายในได้รึเปล่า โดยการคว่ำหงายหลอดทดลองไปมา แล้วสังเกตว่าน้ำจะไหลออกจากสำลีมาท่วมหรือเปล่า เมื่อทดสอบเรียบร้อยแล้วก็สามารถนำนางพญามาใส่ไว้ แล้วเอาสำลีอุดอีกด้านได้เลยครับ
ข้อควรระวัง
การ เอาสำลีออกจากหลอดทดลองค่อนข้างทำได้ลำบาก และอาจทำให้หลอดทดลองแตกได้ เพราะฉะนั้นควรใช้ที่คีบ ค่อยๆดึงสำลีออกมา ไม่ควรเอาไม้แหย่เข้าไปเพื่อเขี่ยสำลีออกมา

เมื่อเรานำนางพญาใส่หลอด ลองแล้ว จึงหาอะไรมาปิดให้มืดหรืออาจจะใช้กระดาษ cellophane สีแดงปิด (แต่ในมดบางสายพันธุ์อาจไม่สามารถทำได้ครับ) เพื่อให้นางพญาไม่รู้สึกเครียด และเริ่มวางไข่ครับ โดยขณะที่นางพญาวางไข่ เราอาจไม่จำเป็นต้องให้อาหารเพิ่มเลย เพียงแต่คอยดูสำลีที่ชุ่มไปด้วยน้ำว่ามีการขึ้นราหรือเปล่าครับ เมื่อไข่ฟักเป็นมด (ซึ่งปกติใช้เวลาประมาณ 20 วัน ถึง 1 เดือนในมดชุดแรก) จึงเริ่มให้อาหารได้ ลูกๆมดงานจึงจะนำอาหารไปป้อนแก่นางพญาเองครับ เมื่อจำนวนมดงานเริ่มเยอะมากขึ้นพอประมาณ จึงสามารถย้ายเข้าสู่ที่เลี้ยงแบบต่างๆตามใจชอบได้ครับ ^^

2. การเลี้ยงโดยเริ่มจากรังที่มีขนาดใหญ่แล้ว
7614b413015cb8b7fd43ad643d171252_876
เป็น การเลี้ยงมดโดยการหานางพญาจากรังตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการสอยรังบนต้นไม้ ขุดรังบนดิน แซะใต้ท่อนไม้ ฯลฯ อีกหลายวิธี โดยเป็นการจับมาทั้งนางพญา และตัวลูกๆมดงานมาด้วย ซึ่งในการเลี้ยงแบบนี้นั้นมีข้อดีและข้อเสียดังต่อไปนี้ครับ
ข้อดี:
  • ไม่ ต้องมานั่งรอว่าเมื่อไหร่ไข่จะฟัก เมื่อไหร่จะมีมดงานออกมาทำงานกัน เพราะว่า รังที่เราจับมานั้นมีมดทุกวรรณะอาศัยอยู่ เราจึงจะเห็นพวกเค้าออกล่าด้วยกันเป็นกลุ่ม ปกป้องรัง สื่อสารกัน และอาจจะพัฒนาสร้างรังเป็นแบบแปลกๆกันไปตามสายพันธุ์เพื่อที่จะอำนวยความ สะดวกแก่นางพญาของพวกเค้าเอง
  • เรา จะสามารถเห็นวรรณะ และลักษณะต่างๆของมดสายพันธุ์ที่เราจับมาแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ในมดที่เป็น Polygynous เราอาจจะได้นางพญามามากกว่า 1 ตัวในการขุดหารัง หรือมดสายพันธุ์ที่มีหลายวรรณะที่เราเรียกว่า Polymorphic คือมีทั้งมดงานหลายขนาด มดทหารหลายขนาด ฯลฯ หรือแม้แต่เราอาจจะพบกับมดตัวเมียที่เพิ่งฟักออกมาจากไข่หรือที่เราเรียกว่า Female Alates (Virgin queens) หรือมดตัวผู้ (Male Alates) ซึ่งเป็นมดที่จะฟักออกมาในช่วงฤดูผสมพันธุ์และจะไม่ออกจากรังจนกว่าจะถึง เวลาผสมพันธุ์ (แต่ผมแนะนำว่าถ้าเจอควรจะปล่อยพวกเค้าไปครับ เพื่อให้เค้าได้ไปผสมพันธุ์และสร้างรังต่อไป)
  • เรา จะเห็นลักษณะการทำงานของมดงานที่เราจับมาครับ ซึ่งในบางสายพันธุ์ อาจแบ่งแยกหน้าที่กันอย่างชัดเจน เช่น มดงานขนาดเล็ก (Nursemaid) คอยเลี้ยงดูไข่และตัวอ่อน, มดงานขนาดกลาง (Average workers) คอยออกหาอาหาร และมดทหาร หรือมดงานขนาดใหญ่ (Soldier, Major ants) ที่ลักษณะหัวโตๆ จะคอยคุ้มครองรัง
  • การ ออกหาจับมดทั้งรังนั้น นอกจากเราจะได้มดมาทั้งรังสำหรับเลี้ยงแล้ว เรายังได้ศึกษาถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกเค้าด้วยว่าเค้าอยู่ลักษณะแบบไหน สภาพรังของเค้าเป็นอย่างไร อุณหภูมิ ฯลฯ ซึ่งเราอาจจะใช้สิ่งต่างๆเหล่านี้ มาออกแบบลักษณะรังที่เลี้ยงให้เค้ากับลักษณะการดำรงชีวิตของมดสายพันธุ์ นั้นๆได้ดีที่สุด
ข้อเสีย:
  • ขนาด และการพัฒนาการของรัง อาจจะคงที่ หรือเพิ่มเล็กน้อยถ้าเปรียบเทียบกับการเริ่มเลี้ยงเพียงนางพญาแค่ตัวเดียว
  • ไม่ มีอะไรยืนยัน และเราจะไม่รู้เลยว่า รังที่เราฝ่าดงมด ฝ่าขวากหนามในป่า สัตว์มีพิษ เข้าไปขุด สอย ฯลฯ นั้น เราจะเจอนางพญามดหรือไม่ ซึ่งหลายๆคนอาจจะประสบปัญหานี้ และถือว่าเหนื่อยและท้อเลยทีเดียวถ้าหากเราไม่สามารถหาตัวนางพญาได้
  • สมมุติ ว่าเราพบนางพญา และสามารถจับมาเลี้ยงได้ แต่ก็ยังไม่มีอะไรยืนยันอยู่ดีว่า นางพญาที่เราจับมานั้น จะมีอายุขัย และสามารถอยู่ได้อีกนานเท่าไหร่ บางที อาจะเป็นรังที่สร้างมานานแล้ว และเป็นนางพญาที่แก่ ใกล้เกษียณปีสุดท้ายแล้ว พอเราจับมา เค้าก็สามารถออกไข่ได้อีกเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น!!
  • การ ออกไปขุดรังในป่าตามธรรมชาติถือว่าเป็นเรื่องอันตรายแต่ก็อาจจะเป็นทั้งข้อ ดีและข้อเสียสำหรับบางคนที่อาจถือว่าเป็นเรื่องท้าทายที่เราจะสามารถเจอมด สายพันธุ์แปลกๆได้
  • ผู้ ที่เริ่มเลี้ยงใหม่ๆอาจจะมีปัญหากับขนาดของรังที่เราจับมาเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับ ปริมาณอาหาร หรือน้ำให้ไม่พอ ให้มากเกินไป ฯลฯ นอกจากนี้อาจพบปัญหาเกี่ยวกับการดูแลรักษารัง เนื่องจากรังขนาดใหญ่ จะต้องมีพื้นที่ให้บรรดามดได้ออกมาเดิน หาอาหาร (Foraging Area) หรือเพื่อขนสิ่งปฏิกูลต่างๆ สมาชิกของพวกมันที่ตายแล้ว ออกมาทิ้งไว้ภายนอก โดยถ้าดูแลรักษาไม่ดีแล้ว ปัญหาที่อาจตามมาคือ รังขึ้นรา และนางพญาอาจตายได้
ทาง เลือกที่ดีที่สุดสำหรับการเลี้ยงแบบนี้คือ ต้องมีรังที่ค่อนข้างใหญ่ และเหมาะสมต่อการเลี้ยงครับ นอกจากนี้อาจจะต้องมี Foraging Area ต่อออกมาเพื่อให้มดงานทั้งหลายได้ออกมาหาอาหารเข้าไปในรังเพื่อเป็นอาหารต่อ นางพญาของพวกเค้าด้วย
102-20050222bob.r_134



วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พิษพาราควอท (Paraquat)



พาราควอท
 เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืช (Herbicide) จัดอยู่ในกลุ่มไบพัยริดิล (bipyridyl Compound) สังเคราะห์ขึ้นครั้งแรกในคริสศตวรรษที่ 19 ในครั้งนั้นมีนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้สารนี้วัดค่า Oxidation ซึ่งรู้จักดีในชื่อของ Methylviologen ในปีพ.ศ.2501 พาราควอทได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในทางเกษตรกรรมโดยบริษัทไอ.ซี.ไอ. แห่งประเทศอังกฤษ ใช้ชื่อทางการค้าว่า "กรัมม็อกโซน" (Gramoxone) รู้จักกันทั่วโลกว่าเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ต่อมาได้มีบริษัทอื่น ๆ ผลิตพาราควอทออกมาโดยใช้ชื่อทางการค้าต่าง ๆ กันมากมาย ปัจจุบันพาราควอทเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่แพร่หลายที่สุดชนิดหนึ่ง และเป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตเพราะได้รับพิษของพาราควอทหลายพันคน

คุณสมบัติ
เป็นของเหลวสีน้ำเงินเข้ม มีรสเผ็ด, ขม และมีกลิ่นฉุน สลายตัวที่ 300ซ. ไม่ระเหย ที่ความเข้มข้นสูงสามารถกัดกร่อนโลหะ, ดีบุก, สังกะสีและอะลูมิเนียมได้ ละลายได้ดีในน้ำ แต่ละลายได้น้อยในแอลกอฮอล์และไม่ละลายในตัวทำละลายที่เป็นสารอินทรีย์อื่น ๆ มีความคงทนดีในภาวะกรด หรือภาวะเป็นกลาง แต่จะสลายตัวได้ง่ายในภาวะด่าง ถูกทำลายให้เสื่อมฤทธิ์เมื่อถูกแสงอุลตร้าไวโอเล็ต, สารที่มีพื้นผิวเป็นประจุลบและดินเหนียว
ชื่อการค้ามักลงท้ายด้วย Xone เช่น Gramoxone 

อาการพิษเฉียบพลัน
WHO จัดให้พาราควอทเป็นสารที่มีพิษปานกลาง โดยพิจารณาจาก LD50 ของมัน พาราควอทเป็นพิษอย่างร้ายแรงต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่ว่าจะได้รับพิษโดยทางใด
สารนี้ถูกดูดซึมได้น้อยมากทางผิวหนังที่ไม่มีแผล แต่ถ้าผิวหนังมีรอยขีดข่วนหรือเป็นแผล พาราควอทจะซึมผ่านได้ดี พาราควอทจะระคายเคืองต่อผิวหนังอย่างรุนแรง การได้รับพิษเข้มข้น อาจทำให้เล็บหลุดได้
เมื่อผู้ป่วยกินพาราควอทเข้มข้น จะมีอาการแสบร้อนในช่องปาก ทางเดินอาหารอักเสบ เนื่องจากฤทธิ์ในการกัดของพาราควอท คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย ท้องร่วงซึ่งบางครั้งอาจมีเลือดปนออกมา กระสับกระส่าย เลือดกำเดาไหล หายใจขัด เบื่ออาหาร หัวใจเต้นเร็ว ผิวหนังคล้ำ ระบบหายใจล้มเหลว เซลล์ตับและไตถูกทำลายและตายในที่สุด 

อาการพิษเรื้อรัง
การสัมผัสพาราควอทติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เป็นแผลพุพอง ซึ่งยังผลให้สารนี้ซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากยิ่งขึ้น อันจะเป็นสาเหตุให้ได้รับพิษอย่างร้ายแรง การสูดดมพาราควอทติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เลือดกำเดาไหล ถ้าเข้าตาจะเป็นอันตรายแต่แก้วตา และทำให้ตาบอดได้ในเวลาต่อมา ถ้ากลืนกินพิษของมันจะเป็นอันตรายต่อกระเพาะ ไต ตับ หัวใจ และอวัยวะอื่น ๆ นอกจากนี้ พิษของพาราควอทยังสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของปอด กลายเป็นพังผืด ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อปอดอย่างรุนแรง
สารประกอบของสารนี้มักจะซึมลงไปปนเปื้อนในน้ำใต้ดิน 

กลไกการเกิดพิษ
กลไกที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ สมมติฐานที่เชื่อว่าจะเป็นไปได้คือ พาราควอทถูก reduce โดยอ็อกซิเจน เกิด Superoxide radical (O2) หลังจากนั้นโดยเอ็นซัยม์ Superoxide dismutaseจะทำให้Superoxide radical ทำปฏิกิริยากับน้ำเกิด H2O2(Hydrogen peroxide). Superoxide radical และ H2O2จะออกฤทธิ์ไปทำลายผนังเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย 

ผลต่อระบบของร่างกาย (Systemic Effects)
การได้รับพาราควอทปริมาณน้อยถึงปานกลาง 2-3 วัน หลังจากได้รับพาราควอท อาจมีอาการของไตและตับถูกทำลาย ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณของพาราควอทที่ได้รับเข้าไป การทำลายของอวัยวะทั้งสองนี้ สามารถกลับเป็นปกติได้ ประมาณ 5-10 วัน หรือในบางครั้งอาจถึง 14 วัน หลังจากได้รับพาราควอท ผู้ป่วยจะมีอาการปอดถูกทำลาย ซึ่งไม่สามารถจะกลับเป็นปกติได้ การหายใจไม่สะดวก และทรุดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏจากการเอกซเรย์ และในที่สุดผู้ป่วยจะเสียชีวิตเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว 

การได้รับพาราควอทปริมาณสูง เมื่อผู้ป่วยได้รับพาราควอทในปริมาณที่สูง เช่น เกินกว่า 100 ซีซี ของพาราควอทเข้มข้น อวัยวะหลายอย่างจะถูกทำลายและล้มเหลว และผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง หรือ 1-2 วัน
สำหรับผู้ใหญ่ การกินพาราควอทเพียง 3 กรัม อาจทำให้ตายได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา (พาราควอท 3 กรัม เท่ากับปริมาณพาราควอทเข้มข้น 15 ซีซีหรือ 1 ช้อนโต๊ะ) 
 
พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพที่อวัยวะต่าง ๆ มีดังนี้
- ปอดมี Diffuse cellular intravascular fibrosis โดยมี infiltration ของ profibroblast เข้าไปในถุงลม ทำให้เกิด pulmonary edema ได้
- ตับมี Centrilobular fatty infiltration ตับจะมีขนาดโตขึ้น มีการคั่งของเลือดและน้ำดี
- ไตมี Cortical necrosis และ tubular necrosis มีขนาดโตขึ้น
- กระเพาะอาหารมีเลือดออกได้
- ต่อมหมวกไตจะถูกทำลาย
- หัวใจมี focal myocardial necrosis 

การวินิจฉัย
1. ประวัติ
ผู้ป่วยทั้งหมดจะให้ประวัติว่ากินพาราควอทโดยจงใจฆ่าตัวตายแทบทั้งสิ้น มีส่วนน้อยที่หยิบยาผิด แพทย์จะวินิจฉัยได้จากชื่อและฉลากที่ญาติหรือตัวผู้ป่วยนำมา ผู้ป่วยที่มีสติดีอยู่อาจให้ประวัติว่าสารพิษที่กินมีรสเผ็ดร้อนและขม มีสีน้ำตาลไหม้หรือสีฟ้าแก่ซึ่งพอช่วยการวินิจฉัยในเบื้องต้นถ้าผู้ป่วยไม่ ให้ความร่วมมือหรือไม่รู้สึกตัว ควรรีบซักประวัติจากผู้นำส่ง หรือญาติผู้ป่วย และให้นำฉลากหรือขวดยามาให้แพทย์ทำการักษาดูโดยด่วนในเรื่องของสี เมื่อหลายปีที่ผ่านมาพาราควอทที่ผลิตเป็นน้ำยาสีน้ำตาลเข้ม ปรากฏว่ามีผู้เข้าใจผิดกคิดว่าเป็นยาสามัญประจำบ้าน จึงเกิดพิษโดยอุบัติเหตุเพราะการหยิบยาผิดได้ ในปัจจุบันจึงเปลี่ยนจากสีน้ำตาลมาเป็นสีน้ำเงินและเติมสารที่ทำให้อาเจียน เข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในการป้องกันไม่ให้พาราควอทถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ส่วน หนึ่ง ฉะนั้นจะพบว่าน้ำล้างกระเพาะอาหารของผู้ป่วยที่กินพาราควอทเป็นสีน้ำเงิน หรือสีฟ้าแก่
ปริมาณพาราควอทที่ผู้ป่วยกินเข้าไปก็มีความสำคัญต่อ พยากรณ์โรค เพราะกรัมม็อกโซนชนิดร้อยละ 20 จำนวน 10 - 15 มล. ก็เพียงพอทำให้ผู้ป่วยตายได้ ดังนั้นถ้าผู้ป่วยกินมาหนึ่งอึกใหญ่ประมาณคร่าว ๆ ว่า 30 มล. จะเป็นประมาณมากเกินพอที่ทำให้ตายได้ จำเป็นต้องให้การรักษาเร่งด่วน ผู้ป่วยที่ให้ประวัติกินพาราควอทเพียงหนึ่งอึก แม้ยังไม่ทันกลืน รีบบ้วนออกมาในที่สุดยังตายได้ ระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับพาราควอทเข้าไปในร่างกายก่อนนำส่งโรงพยาบาลก็มี ความสำคัญ ช่วยพยากรณ์โรคได้กล่าวคือ ระยะยิ่งนานอัตราการตายก็ยิ่งสูง 

2. การตรวจร่างกาย
ในชั่วโมงแรก ๆ มักไม่พบอาการผิดปกติ ยังคงมีสติดี พูดจารู้เรื่อง ให้ประวัติต่าง ๆ ได้ การตรวจร่างกายระบบต่าง ๆ ยังปกติ ผู้ป่วยที่กินพาราควอทจำนวนมาก อาจดิ้นทุรนทุรายมีฟองน้ำลายเป็นสีน้ำเงินออกมาทางปากและจมูก เนื่องจากภาวะ Pulmonary congestion หายใจหอบและหมดสติ
ผู้ป่วยที่กินพาราควอทมานาน 12 - 24 ชั่วโมง ตรวจพบมีลักษณะบวมพองที่บริเวณรินฝีปาก ลิ้น ช่องปาก ลำคอ และหลอดอาหาร ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นแผล ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหอบจำเป็นต้องซักประวัติเกี่ยวกับพาราควอท เพราะเคยมีรายงานผู้ป่วยมาหาแพทย์ด้วยประวัติแบบนี้ เมื่อถ่ายภาพรังสีพบว่าพังผืดเกิดขึ้นทั่วไปในเนื้อปอด
สำหรับผู้ป่วย ที่มีอาชีพต้องทำงานสัมผัสกับพาราควอท เช่น ในโรงงานผลิตพาราควอท หรือเป็นเกษตรกร อาจพบผิวหนังมีลักษณะไหม้เป็นสีน้ำตาลตามบริเวณแขน ขา หน้าอก ส่วนที่สัมผัสกับพาราควอท และในที่สุดเกิดอาการผิดปรกติทางระบบหายใจ ฉะนั้น จำเป็นต้องตรวจร่างกาย รวมทั้งสมรรถภาพการทำงานของปอด ของบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหล่านี้เป็นระยะ ๆ 

3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- ตรวจเคมีเลือดจะพบว่า BUN, Creatinine, Uric acid, Alkaline phosphatase, Bilirubin, SGOT สูงกว่าปรกติ แสดงถึงการมีพยาธิสภาพที่ตับและไต
- ตรวจBlood gas พบ O2 ต่ำ CO2สูงกว่าปรกติ
- ตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด แสดงภาวะเนื้อเยื่อปอดเป็นพังผืด
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะพบลักษณะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (มี T - waveเปลี่ยนแปลงและมี U-waveเกิดขึ้น)
การ ตรวจหาสารพาราควอท การตรวจพบสารพาราควอทในปัสสาวะหรือของเหลวจากกระเพาะ จะช่วยยืนยันการวิเคราะห์โรคร่วมกับประวัติและอาการทางคลินิกปัสสาวะและน้ำ ที่ดูดจากกระเพาะ สามารถนำไปตรวจหาพาราควอทได้ โดยปฏิกิริยารีดักชั่นของพาราควอทที่มีประจุบวก เปลี่ยนเป็นอนุมูลสีน้ำเงินในสภาพที่เป็นด่าง และมี sodium dithionite อยู่ด้วย 

วิธีการตรวจ
1. นำปัสสาวะหรือของเหลวที่ดูดจากกระเพาะปริมาณ 10 ซีซี ใส่ลงในหลอดทดลอง
2. เติมด่าง เช่น sodium hydroxide ลงไปจน pH สูงกว่า 9 (อาจใช้ sodium bicarbonate ประมาณ 2.5 - 5 ซีซี แทนได้)
3. เติม sodium dithionite ขนาดเท่าปลายช้อนชาลงในตัวอย่าง เขย่าเบาๆ
4. นำหลอดทดลองไปส่องดูกับพื้นสีขาว ถ้ามีสีน้ำเงินหรือสีเขียวเกิดขึ้น แสดงว่ามีพาราควอทอยู่ในตัวอย่างนั้น และเป็นการยืนยันการวินิจฉัยโรค หากในตัวอย่างมีพาราควอทอยู่ในความเข้มข้นสูง สีที่เกิดขึ้นอาจจะกลายเป็นสีดำ ให้ตรวจซ้ำอีกครั้งโดยเจือจางตัวอย่างลง พาราควอทเป็นสารพิษที่เรียกว่า hit and run poison เราไม่อาจตรวจพบสารพิษได้ในผู้ป่วยที่ปอดเป็นพังผืด และหายใจหอบขณะที่มาโรงพยาบาล หลังจากได้รับพาราควอทเข้าไปแล้ว นานหนึ่งสัปดาห์ถึงสองสัปดาห์ 

การรักษา 
 
การปฏิบัติเบื้องต้น
พยายามให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาพาราควอทออกมามากที่สุดเช่น ล้วงคอ, ให้กินไข่ขาว, หรือให้ดื่มน้ำเกลือเข้มข้นอุ่น ๆ เป็นต้น แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน 
 
การปฏิบัติในโรงพยาบาล แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ 
 
1. ป้องกันการดูดซึมทางลำไส้ ให้ดินเหนียว Fuller's Earth(ICI)60 กรัม/ขวด ปริมาณ 150 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร ให้ทางปาก หรือให้ bentonite 100-150 กรัม และให้ร่วมกับยาระบาย MOM 30 มล. ทุก 6 ชั่วโมง จนผู้ป่วยถ่าย โดยทั่วไปถือว่าขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดในการรักษาภาวะเป็นพิษ เพราะว่าดินสามารถ inactivate พาราควอทได้เป็นอย่างดี 

2. เร่งการขับถ่ายออกจากเลือด ใช้วิธี forced diuresis โดยให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำด้วยอัตรา 250 มล./ชั่วโมง ร่วมกับฉีดยาขับปัสสาวะ furosemide จนปัสสาวะออกประมาณ 3 มล./นาที จะช่วยเพิ่มการกำจัดพาราควอททางไตได้ ข้อควรระวังคือ จะต้องแก้ภาวะเกลือแร่ผิดปกติและต้องระวังภาวะน้ำเกิน เพราะผู้ป่วยอาจเกิดไตวายจากพาราควอท ทำให้ขับน้ำออกจากร่างกายไม่ได้ ในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือพร้อม อาจใช้วิธ ีHaemodialysisหรือ Haemoperfusionได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับยามาภายใน 3 วัน และอาการไม่เป็นแบบ multiple organ failure ซึ่งมักจะรักษาไม่ได้ผล การทำ hemoperfusion อาจต้องทำซ้ำๆ กันวันละ 1-2 ครั้ง 3 วัน เพราะหลังจากนั้นแล้ว ยาอาจกระจายเข้าไปในเนื้อเยื่อต่างๆ แม้จะทำ hemoperfusion ก็ไม่ได้ผล 

3. ป้องกันการทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยงดให้อ๊อกซิเจน แม้รายที่มีอาการทางระบบหายใจแล้ว เพื่อยับยั้งกลไกลการเกิด Oxdation ของพาราควอท มีการป้องกันการเกิดพังผืดในปอดด้วย สเตียรอยด์ เช่น ให้ dexamethasone 5 มก. IV ทุก 6 ชั่วโมง และยา cytotoxic เช่น cyclophosphamide 5 มก./กก./วัน IV แบ่งให้ทุก 8 ชั่วโมง ผลการรักษาอาจจะดี แต่ยังไม่มี controlled trial พิสูจน์อย่างชัดเจน 

จากการที่พาราควอทออกฤทธิ์แบบ oxidant จึงมีความพยายามใช้สาร antioxidants มาใช้ในการรักษา เช่น วิตามินซี วิตามินอี ไนอาซิน N-acetylcysteine แต่พบว่าได้ผลน้อย การพยากรณ์ความรุนแรงของอาการมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวิเคราะห์หา ปริมาณพาราควอท ถ้าพบว่าใน 24 ชั่วโมงแรกภายหลังการกินมีค่าพาราควอทในเลือดเกิน 0.2 ไมโครกรัม/มล. และกิน 0.1 ไมโครกรัม/มล.ใน 48 ชั่วโมงแล้ว ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะตาย ถ้าพบว่าในปัสสาวะมีพาราควอทถูกขับถ่ายออกมามากกว่า 1 มก./ชั่วโมง ผู้ป่วยก็จะตายเช่นกัน 

กรณีที่พาราควอทเข้มข้นกระเด็นเข้าตา อาจทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงของกระจกตา (cornea) และเยื่อตาขาว (conjunctiva) หากไม่ได้รับการรักษา การอักเสบจะค่อยๆ มากขึ้นในระยะเวลา 24 ชั่วโมง และอาจทำให้เกิดแผลที่เยื่อบุกระจกตาและเยื่อบุตาขาว ซึ่งอาจเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ แต่โดยปกติถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะหายเป็นปกติเหมือนเดิม แม้ในรายที่รุนแรงมาก
เมื่อพาราควอทกระเด็นเข้าตาให้รีบล้างทันทีด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากติดต่อกัน นาน 10-15 นาที และปรึกษาจักษุแพทย์ ควรให้ยาหยอดตาที่มียาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน และให้ยาหยอดตาที่มี steroid ที่เหมาะสมจะช่วยลดการเกิด granulation tissue ได้ ในระยะ 3-4 สัปดาห์แรก อาจมีการบวมของกระจกตาซึ่งทำให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพไม่ชัดเป็นการชั่วคราว 


ความแตกต่างระหว่าง พาราควอต กับ ไกลโฟเสท
 
สารเคมีกำจัดวัชพืช มีหลายชนิด หากแบ่งตามลักษณะการทำลาย แบ่งได้ 2 ชนิดคือ 
1. ฉีดทางใบ การฉีดทางใบยังแบ่งได้เป็น สัมผัสตาย หรือฉีดถูกบริเวณใดก็ตาม จะตายเฉพาะส่วนนั้น หมายถึงประเภทฆ่าวัชพืชแบบไม่ถอนรากถอนโคนอีกประเภทหนึ่ง เป็นประเภทดูดซึม หลังจากฉีดให้ทางใบแล้วจะเคลื่อนย้ายเข้าไปในต้นพืช เข้าทำลายท่อน้ำท่ออาหารทั้งระบบ แม้ส่วนที่อยู่ใต้ดินก็ได้รับผลด้วย หรือทำลายแบบถอนรากถอนโคนเลยทีเดียว 

2. ฉีดลงดิน ก่อนเมล็ดวัชพืชงอกเมื่อได้รับความชื้น สารเคมีถูกดูดซึมเข้าสู่ต้นอ่อนแล้วเข้าทำลายต้นวัชพืชทันที สารเคมีชนิดนี้จะมีผลตกค้างในดินนาน 4 สัปดาห์ ไปจนถึง 1 ปี 

นอกจากนี้ สารเคมีกำจัดวัชพืชแบ่งเป็นชนิด 
เลือกทำลาย หมายถึง สารเคมีกำจัดวัชพืชจะเข้าทำลายวัชพืชเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น เลือกทำลายเฉพาะ พืชใบกว้าง เท่านั้น 

อีกชนิดหนึ่งเป็นชนิดที่ไม่เลือกทำลาย หมายถึงถ้าฉีดสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดนี้แล้วไม่ว่าพืชใบกว้าง ใบแคบ หรือแม้แต่พืชที่ปลูกก็จะถูกทำลายทั้งหมดโดยไม่เลือกหน้า 

พาราควอต จัดอยู่ในกลุ่มสัมผัสตาย ไม่ว่าจะเป็นพืชใบกว้างหรือใบแคบก็ตาม มีชื่อการค้าว่า แพลนโซน กรัมม็อกโซน พาราควอต และวีดอล เป็นต้น เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ทำลายได้เร็วมาก ฉีดในขณะแดดจ้าต้นวัชพืชจะแสดงอาการภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง 

ดังนั้น ขณะที่ฉีดพ่นควรระวังอย่าให้ละอองสารเคมีไปสัมผัสกับต้นพืชที่ปลูก สารเคมีกำจัดวัชพืชกลุ่มนี้จะสลายตัวได้ 25-50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อถูกแสงแดดจ้าภายในเวลา 3 สัปดาห์ 
นอกจากนี้ เมื่อฉีดพ่นลงดินจะถูกอนุภาคของดินจับสารเคมีพาราควอตได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงไม่สามารถทำลายวัชพืชได้เลย 

กลุ่มไกลโฟเสท เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชทำลายได้ทั้งชนิดใบกว้างและใบแคบ รวมทั้งพวกกก ใช้ฉีดพ่นทางใบแล้วพืชจะดูดซึมเข้าไปทำลายส่วนต่าง ๆ อย่างช้า ๆ และเห็นผลในสัปดาห์ที่ 3 ใช้กำจัดวัชพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดินเช่นหญ้าคา หรือหญ้าแห้วหมู หากต้องการให้ได้ผลดีต้องฉีดพ่นวัชพืชที่มีใบ 4-8 ใบ หรือต้นที่แก่เต็มที่ หากฉีดพ่นวัชพืชที่มีอายุน้อยมักจะไม่ได้ผล 

ไกลโฟเสทมีผลตกค้างในดินน้อยมาก เนื่องจากถูกจุลินทรีย์ในดินเป็นตัวย่อยสลาย ขอนำตัวอย่าง สารเคมีกำจัดวัชพืช ชนิดเลือกทำลาย เช่น กลุ่ม 2, 4-ดี ที่มีชื่อการค้าว่า เฮ็ดโดนัล เอสเตอร์ 79 และ เซลล์-ดี 80 ใช้พ่นทางใบ จะเลือกทำลายเฉพาะวัชพืช ใบกว้าง และ กก การฉีดพ่นที่ได้ผลดีไม่ควรมีฝนตกนาน 4-6 ชั่วโมง 2, 4-ดี สลายตัวในดินภายใน 1-4 สัปดาห์ มีหลายคนมักถามว่า วัชพืชใบกว้างกับวัชพืชใบแคบนั้นต่างกันอย่างไร ขอตอบว่า วัชพืชใบแคบ ก็คือพืชตระกูลหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก หญ้าไม้กวาด และหญ้าอื่น ๆ จัดอยู่ในประเภทพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วนวัชพืชใบกว้าง เช่น โสน เซ่ง ผักบุ้ง ผักปอดนา เทียนนาและผักปราบ ทั้งหมดจัดอยู่ในประเภทพืชใบ เลี้ยงคู่ ผมอธิบายพอเป็นสังเขป คิดว่าคงพอจะเข้าใจนะครับ

ที่มา 

เหตุใดรัฐบาลจึงยังไม่สั่งห้ามจำหน่ายสารเคมีเหล่านี้?


ความจริงแล้ว รัฐบาลไทยได้ประกาศห้ามจำหน่ายสารเคมีเป็นจำนวนมากตั้งแต่ปี 2520 มีการสั่งห้ามสารกำจัดศัตรูพืชทั้งสิ้น 82 ชนิด เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ สารเคมีล่าสุดที่ถูกสั่งห้ามไปคือ เมธามิโดฟอส เมื่อเดือนเมษายน 2546

แต่สารที่ถูกสั่งห้ามบางชนิด ยังคงมีการใช้อยู่ อาจจะเนื่องมาจากมีเหลือเก็บ หรือมีการนำเข้ามาอย่างผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้าน เกษตรกรยังคงมีการใช้สารเคมีโมโนโครโตฟอส กันอยู่ทั่วไป ทั้งที่ถูกสั่งห้ามไปแล้วตั้งแต่ปี 2543


นอกเหนือจากการประกาศห้ามใช้สารเคมี รัฐบาลได้จัดทำ “รายการเฝ้าระวัง” ขึ้นมา มีสารเคมี 12 ชนิด ในรายการนี้ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ แต่ยังไม่ได้สั่งห้ามอย่างเป็นทางการ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องและกังวลต่ออันตราย ก็ควรหลีกเลี่ยงการซื้อ ขาย หรือใช้สารเหล่านี้

เป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่งว่า สารเคมีบางชนิดบนรายการเฝ้าระวัง เช่น ออลดิคาร์บ และเม็ทธิลพาราไธออนนั้น มีพิษมากกว่าสารเคมีบางชนิดที่ถูกสั่งห้ามไปแล้วเสียอีก เช่น มีธามิโดฟอส และโมโนโครโตฟอส

และก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเช่นกันว่า ในการที่สารทั้ง 12 ตัว ได้ขึ้นมาอยู่ในรายการที่เป็นสารที่มีอันตรายมากนั้น ก็มิได้หมายความว่าสารอื่นที่ใช้ในประเทศจะปลอดภัย เช่น สารกำจัดวัชพืช พาราควอท ที่ไม่ปรากฏบนรายการเฝ้าระวังนั้น ได้ชื่อว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดผลเสียมากมาย แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็ยังแนะนำให้ใช้ควบคุมวัชพืชอยู่ 

สารกำจัดศัตรูพืชที่อยู่ในรายการเฝ้าระวัง
ชื่อสามัญ  ประเภทของสาร  ชั้น
ออลดิคาร์บ  คาร์บาเมท  Ia
บลาสติซิดิน-เอส  -  Ib
คาร์โบฟูแรน  คาร์บาเมท  Ib
ไดโครโตฟอส  ออร์การ์โนฟอสเฟต  Ib
เอ็นโดซัลแฟน  ออร์การ์โนคลอไรด์  II
อีพีเอ็น  ออร์การ์โนฟอสเฟต  Ia
อีโทรโพรฟอส  ออร์การ์โนฟอสเฟต  Ia
ฟอร์เมธิเนท ไฮโดรคลอไรด์  คาร์บาเมท  Not listed
เมธิดาไธออน  ออร์การ์โนฟอสเฟต  Ib
มีโธมิล  คาร์บาเมท  Ib
ออกซามิล  คาร์บาเมท  Ib
พาราไธออนเมทธิล  ออร์การ์โนฟอสเฟต  Ia
* = จำแนกโดยองค์การอนามัยโลก ** = ไม่จำแนก

พาราควอท

พาราควอท เป็นสารที่ไม่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะกับพืชที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ และการเกษตรขนาดเล็ก และสารตัวนี้ไม่มียาสำหรับแก้พิษ ซึ่งหมายความว่า ผู้ได้รับพิษ จะตายได้ หรือหากไม่ตาย ก็จะมีอาการป่วยอย่างรุนแรง ผลต่อสุขภาพที่รุนแรงที่สุดที่จะพบได้คือ ในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยที่ผู้พ่นสารนี้ จะได้รับอันตรายที่ปอด ผิวหนัง ตา จมูก เล็บมือ และเล็บเท้า ผู้คนจากประเทศอุตสาหกรรม ก็รู้สึกเป็นกังวลต่อปัญหานี้เช่นกัน และไม่ว่าใครก็ตาม ไม่สามารถที่จะไม่คำนึงถึงผลที่จะมีต่อสภาพแวดล้อมได้

เมทธิลพาราไธออน

เมทธิลพาราไธออน ไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ ในทุกๆ อัตราความเข็มข้นที่ใช้ และต้องสั่งห้ามใช้กับพืชอาหารทุกชนิด สารกำจัดแมลงชนิดนี้เป็นสัญญลักษณ์ของสมัยที่นิยมการใช้สารเคมีที่มีพิษสูง และสมัยที่ความรู้ของเรามีน้อยในเรื่องของอันตรายต่อสุขภาพจากสารกำจัดศัตรูพืชโดยทั่วไป รวมทั้งความรู้เรื่องสารพิษที่มีต่อระบบประสาท ปัจจุบันเรารู้แล้วว่า สมองและระบบประสาทของทารกและเด็กนั้น ง่ายต่อการเข้าทำลายของสารที่มีพิษต่อระบบประสาทได้อย่างสูง

เอ็นโดซัลแฟน

เอ็นโดซัลแฟน เป็นสารที่เก่าล้าสมัยและเป็นอันตรายมาก ไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยในการใช้ของประเทศยากจนหลายๆ ประเทศ ที่ยังมีการใช้กันอยู่
เอ็นโดซัลแฟน เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์คงอยู่ได้นาน ที่สามารถแสดงให้เห็นได้ในการสะสมในสิ่งมีชีวิต ในอวัยวะ ที่รับสารนี้เข้าไป


 
องค์การอนามัยโลก หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ รัฐบาลไทย ตัวอย่างสารเคมีแต่ละกลุ่ม
ชั้น ความรุนแรง กลุ่ม ระดับเตือนความเป็นพิษ แถบสี
Ia พิษร้ายแรงยิ่ง I 'ระดับอันตราย-สารพิษ' ฉลากสีแดง  เม็ททิลพาราไธออน
Ib พิษสูงมาก  เมธามิโดฟอส
II พิษสูงปานกลาง II 'ระดับเตือนภัย' ฉลากสีเหลือง  พาราควอท
III พิษน้อย III 'ระดับระมัดระวัง' ฉลากสีน้ำเงิน  มาลาไธออน
IV พิษน้อยมาก IV ไม่เป็นพิษ ฉลากสีน้ำเงิน  ไกลโฟเสท