วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีการแก้ไขและใช้ประโยชน์ที่ดินลูกรัง

 

คุณลุงสว่างมีวิธีบำรุงดินให้สามารถเพราะปลูกต้นไม้ได้โดยการนำปุ๋ยคอก(ขี้วัว ซึ่งเมื่อก่อนคุณลุงเลี้ยงวัวด้วย) นำปุ๋ยคอกมารองก้นหลุมไม้ผลที่ตนจะนำมาปลูก ซึ่งหลังจากนั้นเมื่อดูแลพรวนดินด้วยกิ่งก้านใบที่ร่วงหรือถางวัชพืชต่างๆก็จะปล่อยให้มันทับถมกันไปจนเป็นหน้าดินและบริเวณพื้นที่ใกล้ๆไม้ยืนต้นหรือไม้ผลใหญ่ๆก็จะสามารถปลูกพืชไม้ชนิดอื่นๆได้

วิธีการแก้ไขและใช้ประโยชน์ที่ดินลูกรังของคุณลุงคือ
เริ่มต้นที่ดินผืนนี้การกับปลูกบนพื้นที่ดินลูกรัง โดยใช้การปลูกพืชไร่ เพราะดินลูกรังสามารถปลูกพืชไร่ได้หลายชนิด เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวไร่ ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง

 ถั่วพุ่ม และพืชรากตื้นอื่นๆ โดยที่ดินต้องมีหน้าดินหนาประมาณ20 ซ.ม.ขึ้นไป และเป็นดินที่มีการระบายน้ำดีหรือดีปานกลาง คือไม่อยู่ในสภาพน้ำขังแช่นานในช่วงฤดูฝน

 การบำรุงรักษาควรเน้นด้านความอุดมสมบูรณ์และการรักษาความชื้นในดิน หลังจากนั้นก็ปลูกพันธุ์ไม้พุ่มตระกูลถั่วบำรุงดิน เป็นพืชแถบขวางควาลาดเทพื้นที่เพราะตระกูลถั่วจะเจริญเติบโตได้เร็วและขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ยกเว้นที่มีน้ำขังให้น้ำหนักพืชสดสูงหลังจากหว่านถั่ว โดยไม่มีการไถพรวน 

ถั่วเขียวสามารถงอกเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้โดยไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชวิธีเมื่อปลูกได้สักระยะคุณภาพของดินจะดีขึ้น

จากนั้นคุณลุงจึงหันมาปลูกเป็นไม้ยืนต้นและผลไม้บางชนิด โดยมีการจัดการที่เหมาะสมการใช้ประโยชน์ในการปลูกไม้ยืนต้นประเภทไม้โตเร็ว โดยเฉพาะดินลูกรังที่มีชั้นลูกรังไม่จับกันแน่นนัก ไม้ยืนต้นที่ควรพิจารณา ได้แก่ ยูคาลิปตัส กระท้อน กระถินต่างๆ นุ่น สะเดา ขี้เหล็กบ้าน มะม่วง มะขาม น้อยหน่า มะขามเทศ พุทราและไผ่ 

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการปลูกไม้ยืนต้นคือ ขุดหลุมปลูกขนาด75x75x75 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยหน้าดินร่วมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 25-50กก./หลุม มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำตามความเหมาะสมของพื้นที่ เช่นการสร้างคันดิน ทำขั้นบันไดดินทำฐาน

ปลูกเฉพาะต้น ปลูกพืชคลุมดิน ทำแนวรั้วหรือทำฐานเฉพาะต้นหญ้าแฝกในช่วงเจริญเติบโตก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิตใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำตามชนิดพืชที่ปลูกพัฒนาแหล่งน้ำและจัดการระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

จุ่ม “กล้วยหอม” ลงน้ำอุ่นยืดอายุได้ 10วัน

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ - จุฬาฯ เสนอวิธีง่ายๆ ยืดอายุกล้วยหอม จุ่มน้ำอุ่นอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสนาน 10 นาทีก่อนรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ช่วยเก็บไว้นานถึง 10 วัน เป็นผลดีต่อการส่งออก เกษตรกรทำเองได้ง่าย ไม่ต้องใช้สารเคมีหรือแช่เย็น
      
       ผศ.ดร.กนกวรรณ เสรีภาพ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า กล้วยหอม เป็นผลไม้ที่สุกเร็ว การชะลอกล้วยหอมให้คงสภาพ ไม่สุกเร็วจะเป็นประโยชน์ในการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยทั่วไปแล้ววิธีการที่ง่ายที่สุดในการชะลอความสุกของผลไม้คือการแช่เย็นใน ห้องเย็น เพื่อเก็บรักษาผลไม้ไว้ในที่อุณหภูมิต่ำ สำหรับกล้วยหอมนั้น วิธีการชะลอความสุกอาจใช้การใช้สารเคลือบผิวผลกล้วย หรือการใช้สารเคมีในการกำจัดหรือดูดซับเอทิลีน ซึ่งเป็นก๊าซที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในกล้วย
      
       ผศ.ดร.กนกวรรณและคณะได้ศึกษาวิจัยวิธีการชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง ด้วยน้ำร้อน ซึ่งมีผลการศึกษาจากการจุ่มน้ำร้อนต่อการทำงานของสารแอนติออกซิเดนต์และ คุณภาพของผลกล้วยหอมทอง โดยได้นำผลกล้วยหอมทองจุ่มในน้ำอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที ก่อนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 10 วัน ผลการศึกษาพบว่า กล้วยหอมทองที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสมีการสุกในวันที่ 8-10 ของการเก็บรักษา โดยมีแนวโน้มของการชะลอการสุกในกล้วยหอม
      
       รวมทั้งมีการชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าความสว่างของสีเปลือก ผลการศึกษาสรุปได้ว่าเมื่อนำกล้วยหอมทองจุ่มน้ำณหภูมิดังกล่าวสามารถชักนำ สารแอนติออกซิแดนต์ให้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการชะลอการสุกของกล้วยระหว่างการเก็บรักษา สามารถเก็บ กล้วยหอมทองไว้ได้นานขึ้น เนื่องจากความร้อนจะมีส่วนช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์เมตาบอลิซึมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับก๊าซเอทิลีนและกระบวนการสุกของกล้วยหอมทอง
      
       วิธีดังกล่าวสะดวก ไม่ซับซ้อน เกษตรกรสามารถทำเองได้โดยง่าย ที่สำคัญคือไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆ จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค ในส่วนของรสชาติของกล้วยก็มีความอร่อยและหอมหวานเช่นเดียวกับ กล้วยทั่วๆ ไปที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการชะลอการสุกด้วยน้ำอุณหภูมิดังกล่าว ทั้งนี้วิธีการใช้ความร้อนในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับผลไม้มีการทำมานานแล้ว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะช่วยชะลอความสุกของผลไม้แล้ว ยังมีส่วนช่วยในการ ฆ่าเชื้อโรคในผลไม้ต่างๆ ได้อีกด้วย
      
       ผศ.ดร.กนกวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า การศึกษาวิจัยการชะลอการสุกของกล้วยหอมทองด้วยความร้อนนี้ คณะผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาในเรื่องการใช้สารธรรมชาติชนิดอื่นๆ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับ เอทิลีนร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีการทดลองศึกษาวิจัยในผลไม้ชนิดอื่นนอกเหนือจากกล้วยหอมทอง ได้แก่ มะม่วง พันธุ์น้ำดอกไม้ และอกร่อง