วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

การเลี้ยงไก่งวง





           ไก่งวงเป็นนกประเภทหนึ่งซึ่งมีอยู่ 2 พันธุ์ คือ M. gallopavo พบในอเมริกาเหนือ และ M. ocellata พบในอเมริกากลาง ในสหรัฐอเมริกา ชาวคริสต์นิยมรับประทานไก่งวงในวันขอบคุณพระเจ้า ไก่งวงมีขนาดใหญ่กว่าไก่ทั่วไป ในการประกอบอาหารนิยมยัดไส้นานาชนิด แล้วนำไปปรุงแต่งอาหาร

วิธีการเลี้ยงไก่งวง

          การเลี้ยงไก่งวงนั้นจะมีหลายวิธีเช่นเลี้ยงแบบในเล้า เลี้ยงแบบกึ่งเล้า กึ่งทุ่งกว้าง หรือเกษตรกรบางท่านได้ดัดแปลงอาคารพาณิชย์มาเป็นสถานที่เลี้ยงเพราะมีพื้นที่จำกัด วิธีการเลี้ยงนั้นก็แล้วแต่พื้นที่ของเราให้ดูตามความเหมาะสม ถ้าเลี้ยงมากต้องทำเป็นโรงเรือนที่แข็งแรงมั่นคง คอกสร้างด้วยไม้เนื้อแข็งหลังคามุงสังกระสี กระเบื้อง หรือหญ้าคา จะต้องสร้างโดยให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อย่าให้อับชื้น ทำความสะอาดได้ง่าย ควรทำความสะอาดคอกให้สม่ำเสมอเปลี่ยนวัสดุรองพื้น ใช้ปูนขาวโรยฆ่าเชื้อ อุปกรณ์ ให้น้ำอาหาร ต้องจัดทำที่แขวนไว้ และให้นำมาทำความสะอาดล้างตากแดดให้แห้งอย่างสม่ำเสมอ และต้องมีลานสำหรับให้ไก่งวง เดินออกกำลังกายด้วย ดังนั้นการสร้างโรงเรือน จึงอาจเป็นลักษณะล้อมด้วยตาข่ายหรือรั้วไม้กว้างๆ แล้วมีโรงเรือนที่มีหลังคาอยู่ บริเวณกลางคอก หรือด้านข้างก็ได้ สำหรับให้ไก่งวงหลบแดดหลบฝน สิ่งสำคัญจัดเตรียมทำคอนให้ไก่งวง เพราะนิสัยของไก่งวงชอบนอนที่สูงเนื่องจากไก่งวงมีพันธุกรรมของไก่ป่าจึงมีร่างกายที่แข็งแรงและทนโรค ลักษณะของคอนนอนจะต้องเป็นไม้กลมไม่มีเหลี่ยมเช่น ไม้ไผ่ โดยในบริเวณรอบคอนนอนอาจวางกล่องไม้หรือวัสดุสำหรับให้ไก่งวงวางไข่

           สำหรับอาหารเลี้ยงไก่งวง เกษตรกรจะผสมเอง โดยใช้หญ้า หยวกกล้วย ผักบุ้งที่มีอยู่ในพื้นที่ อย่างละ 1 ส่วน เป็นส่วนผสมหลัก และนำไปผสมกับมันสำปะหลังป่น 1ส่วน รำ 4 ส่วน และ ปลาป่นอีก 1 ส่วน มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน เพื่อใช้เป็นอาหารข้นสำหรับเลี้ยงไก่งวง นอกจากนี้ได้นำพืชสมุนไพรต่างๆที่ปลูกในสวน เช่น เหงือกปลาหมอ ฟ้าทลายโจร ขมิ้นชัน ไพร มาบด และผสมในอาหาร เพื่อบำรุงและสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ไก่งวง โดยให้อาหารข้นวันละ 1ครั้ง ในช่วงเช้าและให้เศษหญ้า เศษผัก เป็นอาหารเสริมในช่วงบ่าย ซึ่งค่าอาหารในการเลี้ยงไก่งวงแต่ละมื้อ มีต้นทุนเพียง 70 บาทเท่านั้น

การดูแลลูกไก่งวง

          ไก่งวงเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เพาะเลี้ยงอย่างแน่นอน เหมือนสัตว์เศรษฐกิจตัวอื่นๆ อยู่ที่เราจะมีแนวทางและวิธีการอย่างไร แบ่งออกได้เป็น 2 แนวทาง คือ เลี้ยงเพื่อการจำหน่ายตัวลูกไก่งวงเลย และ เลี้ยงเพื่อจำหน่ายเนื้อไก่งวง โดยการเลี้ยงลูกไก่งวงให้มีเปอร์เซ็นต์ความรอดสูงนั้นขึ้นอยู่ที่ความเอาใจใส่ดูแลของผู้เลี้ยง โดยจะต้องดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่ขั้นตอนการฟักไข่จนถึงโตพอจับขาย โดยแม่ไก่งวง 1 ตัว จะออกไข่ประมาณ 20 ฟอง แม่ไก่งวงจะฟักไข่เองประมาณ 30 วัน

เทคนิคการเลี้ยงลูกไก่งวง

          - เก็บลูกออกมาจากแม่เมื่อขนแห้ง นำลูกออกมาอนุบาล

          - ใส่ไว้ในกล่องกระดาษ ประมาณ 15 วัน
     
          - ให้อาหารไก่เล็ก และน้ำ
     
          -  กลางคืนปิดฝากล่องแล้วใช้ผ้าคลุมเพื่อให้ความอบอุ่น
     
          -  เมื่ออายุครบ 15 วันนำไปใส่ในกรง ปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ
       
          - เมื่ออายุ 30 วัน ให้อาหาร รำรวม + หัวอาหาร อัตรา 1 : 1
     
          - ให้อาหารตลอดทั้งคืน ห้ามให้ปลายข้าวเพราะจะขี้ขาว

          - ถ้าไก่ไม่แข็งแรงใช้หัวอาหารเสริมด้วยฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม กระเพรา โหรพา สับผสมในอาหารให้กิน
     
          - กลางคืนใส่ซุ่มหาผ้าคลุมกันยุง
       
          - เมื่อไก่อายุ 6 เดือน น้ำหนักประมาณ 5 - 6 กก. ไก่งวงจะเริ่มออกไข่
     
          - อาหารที่ให้ จะให้รำผสมน้ำพอเปียกชุ่มๆ
     
          - การจำหน่าย ไก่งวงที่เลี้ยงเพื่อจำหน่ายไปบริโภค ราคา กก.ๆละ 100 บาท
     
          - ลูกออกมา 1 - 2 วัน ขายคู่ละ 100 บาท
     
          - อายุ 10 วัน ตัวละ 100 บาท

หากใครที่สนใจการเลี้ยงไก่งวง สามารถสร้างตัวได้อย่างแน่นอนครับ

ที่มา http://www.talaadthai.com/main/knowledgepage.aspx?id=692


ต้นทุนในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์





มะนาวที่ปลูกแล้วสามารถควบคุมปัจจัยองค์ประกอบเช่นบังคับออกลูกได้นั้น วัสดุที่ใช้ปลูกนั้นมาลงตัวที่วงบ่อซีเมนต์ เพราะมีอายุการใช้งมานที่ยาวนาน แต่ราคาสูงรวมถึงอุปกรณ์ประกอบต่างๆด้วย เกษตรกรมือใหม่หลายท่านยังไม่ทราบว่าต้นทุนและอุปกรณ์ที่ใช้นั้นมีอะไรบ้างและราคาเท่าไหร่ซึ่งมีสอบถามกันเข้ามามากถึงเรื่องนี้ ดังนั้นผู้เขียนจึงคิดราคาต้นทุนโดยอ้างอิงราคาที่จังหวัดพิจิตร ที่ผู้เขียนอาศัยอยุ่ ส่วนจังหวัดอื่นๆราคาอาจจะบวกลบนิดหน่อย

ค่าเฉลี่ยของวัสดุในการปลูกใน 1 วงบ่อซีเมนต์
 - วงบ่อซีเมนต์ขนาด กว้าง 80 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร พร้อมฝารอง ราคาชุดละ 190 บาท
 - หน้าดินหากซื้อตกคันรถละ 500 บาท ใน 1 คันรถจะใช้ได้ ประมาณ 25 วงบ่อเฉลี่ย วงบ่อละ 20 บาท
 - มูลสัตว์เช่น วัวหรือควายบรรจุ 1 กระสอบปุ๋ย ราคากระสอบละ 20 บาท โดยใน 1 วงบ่อใช้ ครึ่งกระสอบเฉลี่ยคือวงบ่อละ 10 บาท
 - ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ผสมเพื่อเพิ่มจุลินทรยืในดิน วงบ่อละ 1 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 7 บาท
 - แกลบเผาซื้อจากโรงสีราคา คันรถกะบะแบบมีลูกกรง คันละ 500 บาท ใช้ได้ประมาณ 250 วงบ่อ เฉลี่ยวงบ่อละ 2 บาท
 - ค่าแรงงานคนผสมดินกับวัสดุอื่นพร้องลงใส่ลงวงบ่อเฉลี่ยวงละ 30 บาท
 - ต้นพันธุ์มะนาวคุณภาพดีพร้อมปลูก ราคาต้นละ 50 บาท
 - อื่นๆเช่นค่าน้ำมันรถ ค่าน้ำ ค่าอาหาร เฉลี่ยวงบ่อละ 10 บาท

ดังนั้นในขั้นต้นสามารถสรุปได้ว่า ในการปลูกมะนาวลงวงบ่อซีเมนต์นั้นจะมีต้นทุนวงบ่อละ 319 บาทโดยประมาณทั้งนี้ราคาจะเพิ่มหรือลดอาจจะขึ้นอยู่กับแต่ละจังหวัด หรือจะลดต้นทุนเช่นแรงงานคนนำดินมาใส่วงบ่อถ้าสามารถทำเองได้ราคาต้นทุนก็จะต่ำลงด้วย ผู้ที่สนใจที่จะปลูกมะนาวในวงซีเมนต์นั้นสามารถวางงาบประมาณในการปลูกแต่ละต้นไว้ได้เลยคือต่อต้นต่อวงนั้นประมาณ 319 บาท ซึ่งราคานี้ยังไม่รวมระบบน้ำซึ่งอุปกรณ์ระบบน้ำนั้นต่องคำนวนว่าปลูกจำนวนมากหรือน้อย ผู้เขียนจะแจงแต่ราคาไว้ให้ทราบเท่านั้นโดยราคาอุปกรณ์ระบบน้ำมีดังนี้

 - ท่อ PVC สำหรับเดินเป็นท่อประธาน ขนาด 2 นิ้ว ความยาว 4 เมตร ราคาเส้นละ 80 บาท
 - ท่อ PE สำหรับเดินระบบขนาด 20 มิลลิเมตร ความยาว 100 เมตร ชุดละ 790 บาท
 - ขาปักสำหรับมินิสปริงเกอร์ ขาละ 5 บาท
 - หัวมินิสริงเกอร์แบบกินน้ำน้อยหัวละ 3 บาท
 - สายไมโคร pe ขดละ 250 บาท
 - ตัวต่อระหว่างสายไมโคร pe กับท่อ PE ราคาตัวละ 1 บาท
 - ตัวเจาะท่อ PE ราคา 70 บาท

จากราคาระบบน้ำที่แจงให้ทราบม่านสามารถคำนวนได้เลยว่าต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่เนื่องจากระบบน้ำจะต้องรู้จำนวนต้นที่ปลูกแน่นอนว่าปลูกกี่ต้น ในขั้นนี้ผู้ที่สนใจปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ก็สามารถรู้ถึงต้นทุนคร่าวๆได้แล้วว่าจะใช้งบประมาณสักเท่าไหร่ ในการลงทุนครั้งนี้ โดยผู้เขียนแนะนำว่าให้ทำเป็นมะนาวนอกฤดูขายเท่านั้นคือขายช่วง มกราคม - กลางเดือนพฤษภาคม เท่านั้น ส่วนช่วงเดือนอื่นๆให้ใช้เวลาในการบำรุงและฟื้นฟูต้น รับรองได้ว่าครั้งแรกของการเก็บเกี่ยวท่านก็จะคืนทุนที่ลงไปแล้ว และขอเป็นกำลังใจในความตั้งใจทุกคนครับ


ที่มา http://www.manowpan.com/news248.html

ความรู้เกี่ยวกับปั้มน้ำ

จากคุณ waterman@pantip



1. เครื่องสูบน้ำเกือบทั้งหมด ยกเว้นสูบโยกบ่อบาดาลของกรมทรัพยากรธรณี มีหลักการ คือ ทำให้ความดันในห้องสูบทางดูด มีความดันต่ำกว่าความดันบรรยากาศภายนอก จากนั้นแรงดันบรรยากาศก็จะดันน้ำเข้ามาให้เอง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) ซึ่งห้องสูบมันมีรูปร่างเหมือนหอยโข่ง หรือแบบลูกสูบชัก มันก็จะดูดน้ำได้ลึกประมาณ 5-7 ม. เท่านั้น ทั้งที่หากเป็นสูญญากาศควรจะเป็น 10 ม.กว่าๆ แต่ที่ต้องเผื่อไว้ก็เพราะไม่ได้สูบที่ระดับน้ำทะเลแน่ๆ กับต้องไม่ให้ในห้องสูบมีแรงดันต่ำกว่าแรงดันไอของน้ำ ดังนั้นทางด้านดูดเครื่องสูบทั้งสองประเภทไม่ได้เปรียบเสียเปรียบกันเท่าไหร่ ครับ


2. ในกรณีที่สูบน้ำลึกเกินกว่า 7 ม. จะมีเครื่องสูบอยู่ 2 แบบ แบบแรกตัวเครื่องอยู่ที่ปากบ่อได้แบบนี้เรียกว่า Jet Pump หลักการก็โดยแบ่งเอาน้ำส่วนนึงที่สูบได้ต่อท่อลงไปในบ่อแล้วให้พ่นย้อนผ่านช่องเล็กๆที่เรียกว่า Nozzle เพื่อพาน้ำในบ่ออีกส่วนให้ลอยขึ้นมาเพื่อสูบต่อ เครื่องสูบที่ทำแบบนี้ได้ก็ทั้งสองแบบในข้อ 1 แต่ Centrifugal จะสะดวกกว่าเพราะการไหลของน้ำต่อเนื่องทำให้ไม่เสียจังหวะในการสูบ ในขณะที่แบบสูบชักต้องมีถังอัดน้ำเพื่อปรับแรงดันให้ต่อเนื่องซึ่งก็ได้พอกล้อมแกล้มเท่านั้น
แบบที่สองตัวเครื่องสูบจมน้ำลงไปอยู้ในบ่อ จึงเรียกว่า Submersible Pump แต่ผมชอบที่จะเรียกมันว่า Deep Well Pump เพราะจะได้ไม่สับสนกับ Submersible Pump ที่ชาวบ้านเรียกว่า ไดร์โว่ ซึ่งยกน้ำได้ไม่เกิน 10 ม. ในขณะที่ Deep Well นั้น 200-300 ม. มันก็ยังยกได้


3. จากหลักการทำงานของเครื่องสูบในข้อ 1 และเนื่องจากน้ำเป็นของเหลวประเภท Uncompressibility คือ ปริมาตรไม่เปลี่ยนแปลงตามแรงดัน ทำให้เมื่อให้พลังงานกับน้ำให้ออกจากห้องสูบน้ำในปริมาตรเท่ากันก็จะถูกดันเข้ามาแทนที่ทางท่อดูด และเนื่องจากอากาศเป็นของไหลที่มีปริมาตรเปลี่ยนแปลงตามแรงดัน ทำให้ต้องหาทางไม่ให้มีอากาศอยู่ในท่อทางดูดหรือในห้องสูบ ซึ่งวิธีง่ายๆ ก็คือ เติมน้ำที่รูล่อน้ำเพื่อให้น้ำลงไปแทนที่อากาศ และที่ปลายท่อดูดต้องมีวาล์วกันกลับ (Check Valve) ติดเพื่อป้องกันน้ำไหลออกจากท่อดูด แต่เนื่องจากติดที่จุดต่ำสุด จึงมีอีกชื่อนึงว่า Foot Valve แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องให้อากาศเข้าไป เช่นในเครื่องสูบอัตโนมัติตามบ้านที่มีตัวเติมอากาศเพื่อให้เข้าไปชดเชยอากาศที่จะละลายไปกับน้ำในถังอัดน้ำ แต่ในกรณีนี้อากาศจะเข้าในปริมาณที่น้อยมากและเข้าได้เฉพาะเวลาเครื่องสูบทำงานเท่านั้น


4. ส่วนในทางส่งหรือจ่ายนั้น ข้อจำกัดเรื่องแรงดันบรรยากาศไม่มี ซึ่งในทางทฤษฎีอาจจะยกน้ำสูงขึ้นไปเท่าไหร่ก็ได้ตราบเท่าที่มีพลังงานจ่ายให้ แต่ข้อจำกัดจะอยู่ที่วัสดุมากกว่า อันได้แก่ ตัวเครื่องสูบ ท่อ แต่ที่สำคัญก็คือ Seal กันรั่วซึ่งมักจะทนแรงดันได้ไม่มากเท่าไหร่แค่ 200-300 ม. ก็สุดๆ แล้ว ซึ่งอันที่จริง Centrifugal ชุดเดียวอาจยกน้ำได้ไม่กี่สิบเมตร แต่หากเอามาต่อรวมกันแบบอนุกรมทำให้สามารถยกน้ำได้สูงขึ้น ในทางการค้าจะเรียกเครื่องสูบที่นำมาต่อรวมกันโดยมีต้นกำลังและเพลาหมุนร่วมกันว่า Multi Stages Centrifugal Pump



5. อีกเรื่องที่ต้องพิจารณาในทางส่งก็คือ อากาศในเส้นท่อ ในการออกแบบระบบส่งน้ำ ค่าแรงดันลดเนื่องจากแรงต้านทานการไหลของน้ำในท่อที่เรียกสั้นๆ ว่า Headloss จะคิดในกรณีที่น้ำไหลเต็มท่อซึ่งจะมีหน้าตัดการไหลมากที่สุด แต่การมีอากาศในท่อ จะทำให้หน้าตัดการไหลลดลง ทำให้ Headloss เพิ่มขึ้น และในบางครั้งอาจเกิดการขวางการไหลด้วยแรงดันสูงอันเนื่องมาจากการวางท่อขึ้นๆ ลงๆ ทำให้อากาศค้างอยู่ในช่วงโค้งบนของท่อและมีแรงดันพอๆ กับแรงดันที่เครื่องสูบยกน้ำ ซึ่งหากมีอากาศขังมากพอและมีแรงดันมาก อาจจำเกิดอาการน้ำไม่ไหลปลายทางได้


6. แต่ไม่ใช่ว่าอากาศในท่อส่งจะเป็นโทษเสียทีเดียว บางครั้งเราก็อาจต้องใช้คุณสมบัติการเปลี่ยนแปลงปริมาตรตามแรงดันมาใช้ประโยชน์ เช่นทำ Surge Tank เพื่อเป็นตัวรับแรงจากคลื่นแรงดันของ Water Hammer ที่เป็นผลมาจาการเปลี่ยนแปลงพลังงานจลน์ของ Velocity Head มาเป็นพลังศักย์ (Static Head) ในช่วงเวลาสั้นๆ เช่นตอนเครื่องสูบหยุดทำงาน ซึ่งหากใช้ให้ถูกเป็นการแก้ปัญหาที่ลงทุนน้อยที่สุด ส่วนรูปร่างและการติดตั้งก็แบบ คคห. 13 เพียงแต่ขนาดต้องคำนวณหน่อยนึง


7. สำหรับการสูบเป็นหลายๆ ช่วง เคยเป็นคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสูบน้ำในกรมที่เคยแนะนำตอนผมต้องยกน้ำขึ้นไปราวๆ 200 ม. ว่าให้สูบไปใส่ถังพักกลางทางแล้วค่อยสูบต่ออีกทีนึง แต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะมันดูแลยาก ต้องวิ่งไปวิ่งมา ซึ่งทางราบก็ค่อยยังชั่วหน่อย แต่ 200 ม. ทางอิ่งแม้จะทำบันได โดยใช้ท่อส่งเป็นราวเนี่ยผมตะกายขึ้นทีนึงประมาณ 5 เหนื่อย ก็เลยวางมันจุดเดียวแล้วต่อแบบอนุกรม ซึ่งดูแลง่ายกว่าแถมมีสำรองเพียงตัวเดียวก็ถอดเอาตัวเสียไปซ่อมโดยยังส่งน้ำได้ หากแยกเป็นจุดก็ต้องมีสำรองทุกจุด ซึ่งในกรณีที่วางถังพักหลายระดับ หากสูบส่งเฉพาะระดับล่างๆ ก็เดินเพียงตัวเดียวที่ส่งถึงก็ได้ อีกอย่างโรงสูบวางที่เดียวก็เสียเงินที่เดียว 


ที่มา http://www.atriumtech.com