วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

แผนการปฏิบัติงานสำหรับสวนส้มปลูกใหม่



1. การเตรียมแปลงปลูกและดินสำ หรับการปลูก

1. หากที่ดินแปลงปลูกมีขนาดใหญ่ ควรเริ่มปรับพื้นที่หรือเตรียมดินในฤดูแล้ง
2. ไถดินเพื่อปรับสภาพแปลงปลูก รื้อสิ่งกรีดขวางออก เพื่อพื้นที่มีสภาพโล่ง
3. วัดแนวเขตพ้นที่ (กว้าง-ยาว) และทำแผนที่ของดินแปลงที่ปลูก
4. คำนวณจำนวนต้นส้มและเลือกระยะปลูกตามความต้องการ โดยยึดหลักดังนี้
4.1ควรวาง แถวของต้นส้ม อยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้
4.2 มาตรฐานของการปลูก ระยะต้นส้ม*ระยะแถว คือ 4*4 5*5 3.5*7 4*8 เมตร
4.3 คำนวณจำนวนกิ่งพันธุ์หรือต้นพันธุ์ส้มที่ต้องการใช้ในการปลูก (ควร + เพิ่ม 2%)
4.4 กำหนดจำนวนแถว วางแนวและตำแหน่งของต้นส้มที่จะปลูกในพื้นที่จริง
5. ไถพรวนดิน ยกแนวปลูกให้เป็นร่องลูกฟูก หรือ ฟันดินพูนเป็นโขด (กะทะควํ่า)ร่องลูกฟูกหรือโขดควรสูงจากพื้นดินเดิมอย่างน้อยประมาณ 50-75 ซม.
6. ย่อยดินตรงบริเวณที่จะปลูกต้นส้มให้ละเอียดเหมาะสมต่อการปลูกพืช
7. ปรับปรุงสภาพดินของแนวร่องปลูกหรือบริเวณโขดที่จะปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า
8. ปักไม้รวก (ยาวประมาณ 50-60 ซม.) ตรงบริเวณจุดกำหนดหรือโขดที่จะปลูกต้นส้มให้แต่ละจุดที่จะปลูกต้นส้มในแต่ละแถวปลูก อยู่ในแนวที่ตรงกัน
9. หากดินที่จะปลูกต้นส้มเป็นดินร่วนปนทราย ควรจัดเตรียมเศษพืชหรือฟางเพื่อการคลุมดินรักษาความชื้น
10.เก็บตัวอย่างดินบริเวณที่จะปลูกต้นส้ม ส่งหน่วยงานเพื่อวิเคราะห์ความเป็นกรดเป็นด่างโครงสร้างของดิน ปริมาณอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารที่จำเป็น

2. การเตรียมต้นพันธุ์ส้ม 
1. หากเลือกใช้ต้นพันธุ์ส้มเป็นกิ่งตอน ควรพิจารณาดังนี้
1.1 เป็นกิ่งตอนจากแหล่งหรือผู้ขายที่เชื่อถือได้
1.2 ต้นส้มต้นแม่ต้องแข็งแรง ไม่เป็นโรคกรีนนิ่งและโรคทริสเตซ่า หรือโรคไวรัสอื่นๆ และมี
ลักษณะที่ดีตรงตามสานพันธุ์
1.3 ต้นส้มต้นแม่ควรมีอายุมากกว่า 7-8 ปีขึ้นไป
1.4 กิ่งตอนควรเป็นกิ่งที่ตั้งหรือตั้งตรงทีมีอายุ 1-1.5 ปี กิ่งแข็งแรง กลม -ไม่มีหนาม สีเขียวอมนํ้าตาลหรือสีนํ้าตาลอมเขียว มีรากออกโดยรอบขวั้น
1.5 ความสูงของกิ่งตอน 45-55 ซม. (ไม่ควรเกิน 60 ซม.)
1.6 กิ่งตอนไม่ควรเพาะชำ อยู่ในถุงนานเกิน 6 เดือน
2. หากเลือกใช้ต้นพันธุ์ส้มเป็นต้นตอที่ติดตาหรือเสียบยอด ควรเลือกที่มีลักษณะดังนี้
2.1 ต้นพันธุ์สม้ จากแหล่งหรือผู้ขายท่เีชื่อถือได้หรือได้ผ่านการรับรองการปลอดโรค
2.2 ต้นพันธุ์ส้มแข็งแรงไม่เป็นโรคกรีนนิ่งและโรคทริสเตซ่าหรือโรคไวรัสอื่นๆ และมีลักษณะที่ดีตรงตามสายพันธุ์
2.3 ต้นพันธุ์ส้มไม่ควรปลูกอยู่ในถุงเพาะชำ ภายหลังการติดตาหรือเสียบยอดเกินกว่า 1 ปี
2.4 เลือกใช้ชนิดของต้นตอส้มให้เหมาะสมกับพันธุ์ส้มและสภาพของดินที่ปลูก
2.5 พื้นที่ที่จะปลูกต้นส้มปลอดโรค ควรหากไกลจากแหล่งปลูกเดิม
2.6 ต้องระมัดระวังการติดโรคภายหลังจากการปลูก


3. ระยะเวลาปลูกและวิธีการปลูกที่เหมาะสม
1. สามารถเลือกเวลาปลูกเมื่อใดก็ได้ ถ้าแปลงปลูกมีการติดตั้งระบบนํ้าชลประทาน
2. ควรปลูกในเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม หากอาศัยนํ้าฝนโดยไม่มีแหล่งนํ้า
3. กิ่งหรือต้นพันธุ์ส้มที่จะนำ ลงปลูกควรเป็นระยะใบแก่ (ไม่ควรมีใบอ่อน) หากเป็นกิ่งตอนควรให้ปลายรากมีสีเหลืองหรือสีนวล
4. ต้นพันธุ์ส้มติดตาหรือเสียบยอด ควรปลูกโดยการจัดระบบราก
5. ต้นพันธุ์ส้มที่มีรากขดงอโดยเฉพาะรากใหญ่ หากไม่สามารถจัดระบบรากได้ ไม่ควรนำลงปลูก
6. อย่าปลูกต้นพันธุ์ส้มลึก ควรปลูกและกลบหน้าดินให้เสมอขั้วบนของกิ่งตอน หรือเสมอระดับหน้าดินเดิมของถุงเพาะชำ
7. ควรปลูกโดยจัดให้ลำ ต้นหลักของต้นพันธุ์ส้มตั้งตรง ปักหลักไม้รวกและผูกยึดต้นส้มให้แน่นระวังอย่าให้ต้นส้มโยกคลอน
8. ควรหาฟางข้าวหรือเศษพืชคลุมดินบริเวณโขดที่ปลูกต้นส้ม โดยเฉพาะในดินร่วนหรือดินปนทราย

4. การดูแลและการทำงาน (หลังปลูก - ต้นอายุ 1 ปี)
1. ผูกยึดต้นส้มให้แน่นกับหลักไม้รวกที่ปักไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นส้มโยกคลอน
2. ต้องให้นํ้าแก่ต้นส้มที่ปลูกใหม่อย่างสมํ่าเสมอและเพียงพอ ระวังอย่าให้ต้นส้มขาดนํ้า
3. หากต้องการให้ปุ๋ยทางดินแก่ต้นส้ม ควรเลือกใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกเก่า หรือปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 16-20-0 หรือ 20-20-0 50-55 วัน/ครั้ง ตั้งแต่อายุ 6-12 เดือนหลังปลูก
4. ควรให้ปุ๋ยทางใบสูตรเสมอแก่ต้นส้ม เช่น 30-20-10 19-20-20 เดือนละ 1-2 ครั้ง
5. ในฤดูแล้ง ควบคุมบริเวณทรงพุ่มด้วยเศษพืช ฟางข้าว ต้นถั่ว เปลือกถั่ว
6. ระวังการทำลายของเพลี้ยไฟและหนอนชอนใบในระยะยอดและใบอ่อน
7. ตั้งแต่ต้นส้มอายุ 8 เดือนขึ้นไป ควรตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งแห้งและกิ่งเป็นโรค
8. อย่าฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดวัชพืชใกล้บริเวณโคนต้นหรือทรงพุ่ม
9. ระวังการทำลายของโรคแคงเกอร์หรือโรคใบจุดที่ใบอ่อนในฤดูฝน
10.หากต้องการให้ต้นส้มเติบโตเร็วและแข็งแรง ควรใช้วัสดุปรับปรุงคุณภาพของดิน เช่น อินทรีย์วัตถุ ปูน ให้เหมาะสมกับชนิดของดิน
11.ปลูกซ่อมแซมต้นส้มที่ตายหรือไม่แข็งแรง โดยใช้พันธุ์ส้มที่สมบูรณ์แข็งแรง
12.หากแปลงปลูกอยู่ในสภาพที่โล่ง ใกล้นาข้าว ที่รกร้าง ควรรีบปลูกพืชล้อมที่หรือพืชกำบังลมภายหลังจากที่ปลูกต้นส้มแล้ว
13.หากต้องการปลูกต้นไม้อื่นเป็นพืชเสริมรายได้ ให้เลือกชนิดที่เหมาะสมกับส้มที่ปลูก

5. การดูแลและการทำงาน (ต้นอายุ 1-2 ปี)
1. ให้เริ่มสร้างทรงพุ่มโดยมีลำต้นหลักเพียงลำต้นเดียวและมีกิ่งใหญ่ 3-5 กิ่ง
2. ควบคุมให้แตกยอดอ่อนเป็นรุ่นหรือเป็นชุดพร้อม ๆ กันตั้งแต่ต้นส้มอายุ 1 ปี
3. บังคับการแตกยอดอ่อนให้มีการแตกตาข้างมากกว่าการแตกตายอด
4. การแตกยอดสามารถบังคับให้เกิดได้ทุกๆ 50-55 วันโดยอาศัยวิธีการให้นํ้าเป็นระยะ ๆ
5. ขนาดของใบส้มควรได้มาตรฐาน ใบหนา สีเขียวเข้ม ไม่แสดงอาการขาดธาตุอาหารหลักหรืออาหารรอง
6. การให้ปุ๋ยทางดินควรเริ่มปรับเป็นการให้ 60 วัน/ครั้ง และอาจให้สลับระหว่างปุ๋ยเคมี และ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีควรใช้สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16
7. เริ่ม "สอนดอก" เมื่อต้นส้มอายุประมาณ 20-24 เดือน โดย "เว้นนํ้า" หรือ "กักนํ้า" และให้เริ่มผลิยอดพร้อมตาดอกในส้มรุ่นที่ 1 หรือ รุ่น 2
8. หากต้นส้มมีขนาดของใบเล็กกว่าปกติ ให้ควบคุมขนาดของใบโดยการใช้ปุ๋ยทางใบที่มีธาตุฟอสฟอรัส (P) สูง เช่น สูตร 15-30-15 ก่อนการเว้นนํ้าหรือกักนํ้า
9. ในการบังคับการแตกยอดอ่อนพร้อมดอกรุ่นแรก อาจใช้วิธีการกักนํ้าให้ต้นส้มมีสภาพขาดนํ้าในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ได้ จากนั้นจึง "ขึ้นนํ้า" โดยการรดนํ้าอย่างเพียงพอเพื่อให้ต้นส้มผลิยอดอ่อนชุดใหม่
10.ความสูงของต้นส้มที่เริ่มการบังคับให้ออกดอกและติดผล คือ 1 - 1.5 เมตร หรือเริ่มเก็บผลได้เมื่อต้นมีความสูงประมาณ 2-2.5 เมตร

6. การดูแลการทำงาน (ต้นอายุ 3 ปีขึ้นไป)
1. การตัดแต่งกิ่งต้นส้มให้ตัดแต่งกิ่งกระโดงที่ยาวและมีหนาม กิ่งบิดไขว้ กิ่งเป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย ควรเริ่มตัดแต่งได้เมื่อหมดฤดูฝน หรือในเดือนพฤศจิกายนหรือ เดือน ธันวาคม
2. หากต้นส้มแสดงอาการขาดธาตุอาหารรอง โดยเฉพาะธาตุแมกนีเซียมและธาตุสังกะสี ให้รีบแก้ไขโดยการให้ทางดินหรือการฉีดพ่นทางใบก่อนการบังคับการออกดอก
3. ก่อนการบังคับการออกดอก (ในระหว่างการเว้นให้นํ้าหรือการกักนํ้า) ประมาณ 2 เดือน ถ้าหากต้นส้มมีใบขนาดใหญ่มาก ใบหนาทึบ ให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 15-30-15 หรือ 10-52-17 หรือ 0-52-34 อัตรา 50-60 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร อย่างน้อย 3-4 ครั้ง
4. บังคับให้ต้นแตกยอดอ่อนเป็นชุดพร้อม ๆกัน ในเดือน ธันวาคม ถึงเดือน มกราคม โดยการไม่ให้นํ้าแก่ต้นส้ม "เว้นนํ้า" หรือ "กักนํ้า" ในเดือนตุลาคม ถึงเดือน พฤศจิกายน ให้ต้นส้มมีลักษณะใบแก่เต็มที่และแสดงอาการขาดนํ้าประมาณ 15-20 วัน จากนั้นจึง "ขึ้นนํ้า" โดยการรดนํ้าให้แก่ต้นส้มอย่างเพียงพอจนต้นส้มฟื้นจากอาการขาดนํ้า
5. การให้ปุ๋ยทางดินแก่ต้นส้ม ตั้งแต่อายุ 3 ปีเป็นต้นไป ควรพิจารณาความสมบูรณ์ของต้นส้มขนาดของใบ และผลของการวิเคราะห์ดินเป็นสำคัญ ในสภาพทั่ว ๆ ไปให้ใช้ปุ๋ยเคมี (สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16) สลับกับปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก) ทุก ๆ 2 เดือน   ยกเว้นในฤดูฝนไม่ควรใช้ปุ๋ยคอกที่มีไนโตรเจน (N) สูง และหากใบส้มมีขนาดใหญ่มาก อาจมีความจำเป็นในการเลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัส (P) และธาตุโปรแตสเซียม (K) สูงสลับแทนบ้าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินที่เป็นกรด)
6. การขึ้นนํ้าหรือบังคับให้ต้นส้มผลิยอดอ่อนในปลายเดือนธันวาคม ถึง ต้นเดือนมกราคม   สามารถใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ ดอกส้มที่ได้ในเดือนนี้จะเป็นผลผลิต   "รุ่น 1" ที่เก็บได้ในเดือนตุลาคม หรือ พฤศจิกายน ในปีถัดไป

7. การผลิตส้มโชกุนรุ่นตรุษจีนและรุ่นสาร์ทจีน
1.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดผลของส้มโชกุน
1. อายุการเก็บเกี่ยวของผลส้มโชกุน(หรือ ส้มสายนํ้าผึ้ง) เฉลี่ย 10-11 เดือน
2. การผสมของดอกและผลของส้มโชกุนโดยธรรมชาติจะมีเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูง
3. เพลี้ยไฟจัดเป็นศัตรูที่มีความสำ คัญมากที่สุด และมีผลต่อการติดผลอ่อนของส้มโชกุน(รวมทั้งส้มสายพันธ์อื่น)
4. การรบกวนการผสมเกสรของดอกส้มโชกุน (รวมทั้งส้มชนิดอื่นๆ) ในวันดอกส้มบานที่จัดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดอกส้มและผลอ่อน (ภายหลังจากดอกบาน) ร่วง ได้แก่
4.1ฝนตกในวันดอกส้มบาน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาเช้า)
4.2รดนํ้าหรือมีการให้นํ้า (อย่างมาก) แก่ต้นส้มในระยะดอกบาน
4.3ฉีดพ่นสารเคมีเกษตรแก่ต้นส้มในระยะดอกบาน
4.4อากาศร้อนจัด (อุณหภูมิสูงเกิน 37-38 C) และความชื้นสัมพัทธ์ตํ่ามาก
4.5ดอกส้มไม่สมบูรณ์แข็งแรง ขนาดดอกเล็ก กลีบสั้น สีขาวหม่นหรือคลํ้า
4.6การทำ ลายของเพลี้ยไฟโดยการดูดนํ้าเลี้ยงที่ดอกตูมและดอกบาน
5.ต้นส้มมีสภาพไม่สมบูรณ์เพราะเป็นโรคกรีนนิ่ง โรคทริสเตซ่า โรครากเน่าและโรคโคนเน่า โรคขาดธาตุอาหาร มักออกดอกจำนวนมาก แต่ติดผลน้อยหรือผลร่วงก่อนกำหนดง่าย
6. ต้นส้มที่ทรงพุ่มทึบมาก ใบมีขนาดใหญ่ผิดปกติ มีการแตกกิ่งก้านยาวและเป็นกิ่งกระโดง ลักษณะเป็นเหลี่ยม มีหนามมากจะออกดอกยากและจำนวนดอกต่อต้นน้อยผลส้มมักมีขนาดใหญ่เกินไป ผลมีนํ้าหนักเบา เปลือกหนา เนื้อน้อยและมีรสจืด
7. ต้นส้มที่ปลูกลึกและค่อนข้างลึก และมีระบบรากฝอยไม่สมบรูณ์ แข็งแรงจำนวนรากน้อย   หรืออยู่ค่อนข้างลึกจากผิวดิน มักแสดงอาการขาดธาตุอาหารได้ง่ายและบ่อยทำให้ต้นส้มอาจติดผลน้อยหรือผลส้มมีขนาดเล็กกว่าปกติ

2. วิธีการบังคับการออกดอกรุ่นตรุษจีน
1. ตัดแต่งกิ่งกระโดงภายในทรงพุ่ม กิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรคหรือมีแมลงทำลายทันทีภายหลังจากการเก็บเกี่ยวเสร็จ ในเดือนมกราคม ถึง เดือนกุภาพันธุ์
2. ตัด/ดาย หรือควบคุมวัชพืช ให้เสร็จเรียบร้อย ภายในเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ โดยทำ   พร้อมๆ กับการ "เว้นนํ้า" หรือ "กักนํ้า" ต้นส้ม
3. ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์บริเวณรอบทรงพุ่มในปลายเดือดมีนาคม ถึงเดือนเมษายน
4. สภาพต้นส้ม ก่อนหรือระหว่างการกักนํ้า ควรมีใบแก่ 2 ชุด โดยไม่มีการผลิยอดอ่อนชุดใหม่จึงจะทำให้ต้นส้มมีการสะสมอาหารเพียงพอต่อการออกดอก
5. ต้นส้มที่ไม่มีผลส้ม (รุ่นร้อง)บนต้น ให้รดนํ้าแบบเว้นนํ้า คือ "ไม้เหี่ยวและไม่แตก" ส่วนต้นที่มีผลส้มบนต้น ให้ "กักนํ้า" โดยให้ต้นมีภาพต้นเหี่ยว
6. เมื่อต้นส้มมีใบแก่เต็มที่และ/หรือ แสดงอาการขาดนํ้า (เล็กน้อย) ให้ "ขึ้นนํ้า" โดยการใส่ปุ๋ยและรดนํ้าให้แก่ต้นส้มเพื่อบังคับให้ผลิยอดและใบอ่อน ภายในเดือนมีนาคม หรืออย่างช้า ไม่เกินเดือนพฤษภาคม
7. การ "ขึ้นนํ้า" อาจเลือกใส่ปุ๋ยเคมี (สูตรเสมอ) หรือปุ๋ยคอกให้แก่ต้นส้มและรดนํ้าให้อย่างเพียงพอสมํ่าเสมอดอกส้มจะบานในราวสัปดาห์ที่ 3-สัปดาห์ที่ 4ของการให้นํ้า
8. ดูแลรักษาใบส้มชุดนี้อย่าให้เกิดความเสียหายเนื่องจากการทำ ลายของเพลี้ยไฟ หนอนชอนใบและโรคแคงเกอร์ใบส้มชุดนี้ต้องสมบูรณ์ไม่แสดงอาการขาดธาตุาหาร
9. หากต้นส้มผลิยอดอ่อนพร้อมดอกส้มได้ในเดือนมีนาคม ถึง เดือน พฤษภาคม จะเป็นผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึงต้นเดือนเมษายน ซึ่งตลาดมีความต้องการมาก และเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีผลไม้ชนิดอื่น ๆ น้อย

3. วิธีการบังคับการออกดอกรุ่นสาร์ทจีน
1. ต้นส้มที่สามารถบังคับการออกดอกรุ่นสาร์ทจันได้ ต้องมีผลส้มรุ่นที่ 1 (ส้มปี) อยู่จำนวนน้อยหรือไม่มีผลส้มรุ่น 1
2. ต้องเป็นต้นส้มที่มีการแตกยอดอ่อนจำ นวนมาก (หรือยอดอ่อนพร้อมดอก) เมื่อเดือน พฤษภาคม ถึง เดือน มิถุนายน
3. ต้องมีการบังคับให้ต้นส้มแตกยอดอ่อน ระหว่างปลายเดือน กรกฎาคมถึงปลายเดือนสิงหาคม
4. สภาพต้นส้ม ก่อนหรือระหว่างการกักนํ้า ควรมีใบแก่ 2 ชุด โดยไม่มีการผลิยอดอ่อนชุดใหม่จึงจะทำให้ต้นส้มมีการสะสมอาหารเพียงพอต่อการออกดอก
5. การควบคุมให้ต้นส้มแตกใบอ่อนจะใช้วิธีการ "กักนํ้า" และการฉีดพ่นปุ๋ยที่มีค่า P สูง
6. เมื่อต้นส้มมีใบแก่เต็มที่ และ/หรือ แสดงอาการขาดนํ้า (เล็กน้อย) ให้ "ขึ้นนํ้า" โดยการใส่ปุ๋ยและรดนํ้าให้แก่ต้นส้ม เพื่อบังคับให้ต้นส้มผลิยอดและดอก ภายในปลายเดือน กันยายน   หรืออย่างช้า ไม่เกินต้นเดือนพฤศจิกายน
7. การ "ขึ้นนํ้า" อาจเลือกใส่ปุ๋ยเคมี(สูตรเสมอหรือตัวท้ายสูง)ให้แกต้นส้มและรดนํ้าให้เพียงพออย่างสมํ่าเสมอดอกส้มจะบานในราวสัปดาห์ที่3-สัปดาห์ที่4ของการขึ้นนํ้า
8. ดูแลรักษาใบส้มชุดนี้อย่าให้เกิดความเสียหายเนื่องจากการทำ ลายของ เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ และโรคแคงเกอร์ ใบส้มชุดนี้ต้องสมบูรณ์ไม่แสดงอาการขาดธาตุอาหาร
9. หากต้นส้มผลิยอดอ่อนพร้อมดอกส้มได้ในเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะเป็นผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือนสิงหาคม ถึง ต้นเดือน กันยายน ซึ่งตลาดมีความต้องการมาก   เนื่องจากเป็นช่วงเวลาของเทศกาลสาร์ทจีนและไหว้พระจันทร์
ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก
  • สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • รศ. อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์, รศ.ดร. นิพนธ์ ทวีชัย, ดร.ปราณี ฮัมเมอลิ้งค์ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศูนย์ข้อมูลทางการเกษตร
ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=846391


วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความปลอดภัยของผักไร้ดิน(Hydroponics)


ทศวรรษนี้คนไทยเริ่มสนใจในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองในเชิงป้องกัน “สร้าง นำ ซ่อม” เพิ่มขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการตายผ่อนส่งจากอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษ เช่น ไก่เร่งฮอร์โมน  หมูมีสารเร่งเนื้อแดง  ปลาชุบฟอร์มาลีน  นมปนสารปฏิชีวนะ  และผักผลไม้ปนเปื้อนสารฆ่าแมลง  แต่ด้วยวิถีชีวิตที่ถูกเร่งเร้าสู่สังคมการบริโภคตามแนวตะวันตก ทำให้การบริโภคต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์อาหารในเชิงพาณิชย์  จากร้านขายของชำใกล้บ้านสู่ซุปเปอร์มาเก็ต  จากร้านข้าวแกงริมฟุตปาธสู่ภัตตาคารหรู  ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคตามระดับกำลังการซื้อและการบริการ นี่หรือคือดัชนีชี้วัดความปลอดภัยของผู้บริโภค  เช่นนั้นหรือ


ผักไฮโดรโปนิกส์มาแรง
                การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์หรือเทคนิคการปลูกพืชโดยไม่ใช่ดิน ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาพอสมควรทว่า การตอบรับของตลาดยังอยู่ในวงแคบ เพราะมีราคาจำหน่ายที่ค่อนข้างแพงแถมไม่มีใครตระหนักถึงความปลอดภัยในการบริโภคพืชผักหรือผลไม้มากนัก
                กระทั่ง 2-3 ปี ที่ผ่านมาเมื่อกระแสโลกเริ่มมีการตอบรับในเรื่องสุขภาพมากขึ้น ได้ส่งผลให้ธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์เจริญเติบโตตามไปด้วย โดยเฉพาะตลาดในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์ อเมริกา อังกฤษ เยอรมันนี ยอดสั่งซื้อในแต่ละปีสูงมาก ถึงขนาดมีต่างชาติเข้ามาใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก
                สำหรับประเทศไทยผักไฮโดรโปนิกส์ยังจำกัดอยู่ในกลุ่มคนรักสุขภาพหรือผู้สนใจปลูกผักเป็นงานอดิเรก เพราะแค่การปลูกทดลองเล่น ๆ บริโภคภายในครอบครัว จำนวน  1  โต๊ะ ก็ต้องใช้จ่ายเงินลงทุน ประมาณ 2,000-3,000 บาท  แต่ปรากฎการณ์ที่น่าสนใจคือ ขณะนี้โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์  ได้ตัดสินใจทดลองปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ปรุงอาหารให้กับผู้ป่วย  เกิดขึ้นภายใต้แนวความคิดที่ว่า อาหารถือเป็นปัจจัยสำคัญในการบำบัดรักษา  ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีและมีผู้อุดหนุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ปุ๋ยน้ำในระบบไฮโดรโปนิกส์
                การปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารหรือปุ๋ยน้ำโดยให้รากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรงหรือบนวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ดินและรดด้วยน้ำปุ๋ย พืชผักจำเป็นต้องได้รับธาตุอาหารอย่างครบถ้วน ถ้าได้รับในปริมาณที่ไม่เหมาะสมพืชจะแสดงอาการขาดธาตุอาหาร
ตารางข้อมูลธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสูตรธาตุอาหารพืช


สูตรปุ๋ยน้ำที่นำมาใช้ ผักจะได้รับธาตุอาหารอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีผลทำให้พืชผักเติบโตเร็วกว่าการปลูกในดิน 1 เท่าตัว  ซึ่งจะช่วยตัดวงจรการเกิดของแมลงศัตรูพืชไปพร้อมกัน  ประเด็นนี้ต้องยอมรับว่าปลอดสารกำจัดศัตรูพืช  แต่ก็อดที่จะหวั่น ๆ ไม่ได้ เมื่อจินตนาการถึงการทดลองในห้องวิทยาศาสตร์ที่มีผักเป็นอุปกรณ์และเรากำลังปรุงสารเคมีลงไปตามความชอบเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเรา ขาว ๆ อวบ ๆ สดน่ารับประทาน

ปลอดภัยจริงหรือ ?
                ถึงตรงนี้  เชื่ออย่างยิ่งว่า คำถามสำคัญซึ่งเป็นบทสรุปของเรื่องทั้งหมดก็คือ มีหลักประกันความปลอดภัยของพืชผักในระบบไฮโดรโปนิกส์หรือไม่  เพราะปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างสารเคมีกับพืช จะเหมือนกับ ไก่เร่งฮอร์โมน หมูมีสารเร่งเนื้อแดง หรือไม่  แม้สารเคมีที่ให้จะเป็นสารปกติที่พืชสมควรได้รับอยู่แล้ว  ไม่ได้เป็นสารเคมีแปลกปลอมไปกว่าปกติแต่อย่างใด  ความเป็นจริงคือ การที่ผักไฮโดรโปรนิกส์ได้รับสารอาหารสมบูรณ์เกินขนาดเช่นนี้  ทำให้มีการสะสมจนอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
ตารางข้อมูลผลกระทบต่อร่างการจากสารอาหารในปริมาณสูง


สารที่ควรจะต้องให้ความสำคัญคือ เกลือไนเตรทและเกลือไนไตรท์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของปุ๋ยอนินทรีย์ โปรตัสเซียมไนเตรท และแคลเซียมไนเตรท  ในพืชผักต่าง ๆ ยิ่งมีการใช้ปุ๋ยพวกไนเตรทเพิ่มขึ้น ก็จะมีผลทำให้มีสารไนเตรทและไนไตรท์เพิ่มมากขึ้น  พืชที่พบว่ามีสารเหล่านี้มากจะเป็นพวกกินใบและกินหัว  โดยเฉพาะระยะที่พืชผักถูกเก็บไว้เพื่อรอการบริโภค          สารไนเตรทจะเปลี่ยนเป็นสารไนไตรท์ โดยแบคทีเรีย  ซึ่งผักบางชนิดอาจมีไนไตรท์สูงถึง 3.6 กรัมต่อผักแห้ง 1 กิโลกรัม
                ความเป็นพิษของไนเตรทและไนไตรท์ในเด็ก  เนื่องจากเม็ดเลือดแดงของเด็กไม่มีเอ็นไซม์ ชื่อ เอ็นเอดีเอช เมธฮีโมโกลบินรีดักเตส (NADH-methemoglobin reductase) เปลี่ยนเมธฮีโมโกบิน  ซึ่งถูกออกซิไดซ์ด้วยไนไตรท์ได้ดีและง่ายกว่า  ฉะนั้นการสะสมของเมธฮีโมโกบินจึงทำให้เด็กมีอาการขาดออกซิเจน ปวดศีรษะ  หายใจหอบ หัวใจเต้นแรง และเร็วกว่าปกติ


ความเป็นพิษของสารไนโตรซามีน  สารนี้เกิดจากเกลือไนไตรท์รวมตัวกับสารอามีน (amines) ซึ่งจะทำปฏิกิริยาได้ดีในสภาพความเป็นกรดสูงในกระเพาะอาหาร สารพิษไนโตซามีนสามารถถูกดูดซึมไปทั่วร่างกาย  ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เกลือไนเตรทเป็นสารตั้งต้นของสารก่อมะเร็ง   สารไนโตซามีนมี  4 ชนิดที่ได้รับการพิสูจน์ว่า เป็นสารก่อมะเร็งคือ ไดเมธิลไนโตซามีน (dimethylnitrosamine)  ทำให้เกิดมะเร็งตับ  ไดเอธิลไนโตรซามีน (diethylnitrosamine)  ทำให้เกิดมะเร็งในหลอดอาหาร  เมธิลและตับ  เบนซิลไนโตรซามีน (methylbenzylnitrosamine) และเมธิลเฟนิลไนโตรซามีน (methyphenylnitrosamine) ทำให้เกิดมะเร็งหลอดอาหาร ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นสมมติฐาน ของการรับประกันถึงความปลอดภัยของผักไฮโดรโปนิกส์ เท่าที่ตรวจสอบได้

เหรียญสองด้านของการบริโภค
            นักบริโภคนิยมที่ชอบเสาะแสวงหาแหล่งกิน  ตรงไหนมีเปิบพิศดาร เป็นว่าต้องบากบั่นไปชิมให้ได้  สิ่งหนึ่งคือการตอบสนองต่อปุ่มรับรส แต่มุมมืดอีกด้านหนึ่งเป็นสิ่งที่เราก็รู้ ๆ กัน  อยู่เพียงว่าทำอย่างไรเราจึงจะเป็นนักบริโภคที่ฉลาดกิน ฉลาดเลือก  มีข้อมูลที่ค่อยสะกิดสะเกาใจ ไม่หลงไปตามกระแสเท่านั้นเอง  ตัวอย่างกระแสของพืช GMOs ขณะนี้มีการอนุญาตนำถั่วเหลือง GMOs เข้าประเทศได้ แต่ห้ามเพาะปลูก  คนรักสุขภาพและคนทำงานด้านสุขภาพทำได้เพียงรณรงค์ให้ติดฉลากผลิตภัณฑ์ประเภทนี้เท่านั้น  ซึ่งอาจเป็นเส้นทางของผักไฮโดรโปนิกส์ด้วย  แล้วทำไม่เราไม่หันไปกินพืชผักพื้นบ้านที่ให้คุณค่าทางเภสัชบำบัดและโภชนาการสูงกว่าเล่า ?

เอกสารอ้างอิง
กระบวน  วัฒนปรีชานนท์. คู่มือการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์.  ภาควิชาพฤกษศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  แสงเทียนการพิมพ์  กรุงเทพมหานคร.2534.
จักรพันธุ์  ปัญจสวรรณ.  พิษภัยในอาหาร.  โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์   กรุงเทพมหานคร .2542.
ไมตรี   สุทธจิตต์.  สารพิษรอบตัวเรา.  ภาควิชาชีวเคมี  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .2541.
วรนันท์   ศุภพิพัฒน์.  อาหาร โภชนาการ  และสารเป็นพิษ.  หน่วยโภชนศาสตร์เชิงทดลอง  คณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล  กรุงเทพมหานคร  .2538.