ก็ต้องมีตัวตู้ จะเอาอะไรมาทำก็ได้ที่มันเก็บความร้อนได้..กล่องกระดาษแข็ง หรือจะเป็นกล่องโฟมแล้วแต่จะหาได้ครับ เทอร์โมมิเตอร์ ตัววัดความชื้น(Humidity) หาได้จากคลองถม หรืองานคาราวานเร่ขายสินค้าทั่วๆไป ทั้งสองแบบราคาประมาณไม่เกินสามร้อยครับ..ซื้อมานานหลายปีแล้ว..ประมาณนี้ แหละ
แบบนี้ผมงัดจากนาฬิกาแขวนผนัง.ที่ เสียแล้ว แต่สองตัวนี้ยังไม่เสีย...ก็เท่ส์ดี
หรือจะเป็นแบบที่วัด อุณหภูมิแบบที่ใช้ในตู้ปลาที่มีสายจุ่มก็สะดวกดีครับ(ตัวสีดำสี่เหลี่ยมตรง กลาง)..มีหลายๆตัวยิ่งดี จะได้ช่วยตรวจสอบ เผื่อว่ามีตัวไหนเสียหรือมั่วจะได้รู้ครับ
ตัวนี้สำคัญ เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิให้คงที่..ผมซื้อมาประมาณ 7 ปีแล้ว ราคา 350 บาท มันมีหลากหลายแบบมาก แต่ชอบแบบนี้ เพราะมันตั้งได้ทั้งแบบคุมให้ร้อน..และแบบคุมให้เย็น..มันจะคอยจ่ายไฟตามที่ เราตั้งอุณหภูมิ พอถึงที่เราต้องการ มันจะตัดไฟเองอัตโนมัต เขาเรียกกันทั่วๆไปว่า Temperature Control หรือแบบบ้านๆก็เรียก เท้มป์คอนโทรล หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิค หรือเครื่องเย็นครับ
ขาไฟแบบหนีบ..อันนี้เพิ่งซื้อมาเพิ่ม ตัวละ 35 บาทที่โฮมโปรครับ..
หลอดไฟแบบไส้ ตู้ขนาดนี้ เล่นหลอด 60วัตต์เลยครับ หรือ 40 ก็น่าจะไหว แต่ติดนานหน่อย..กว่าตัวคอนโทรลจะตัดไฟ
เพื่อ ให้ความอบอุ่นกับไข่..ถาดใส่น้ำเพื่อเพิ่มความชื้น..อะไรก็ได้ตามแต่ สะดวก..แบบถาดปากกว้างจะดีกว่าแบบแคบน้ำจะระเหยได้ดีกว่าครับ ของผมใช้ฝากล่องโฟม...
หลักๆเลย การฟักไข่ก็คือการอุ่นไข่ให้มีอุณหูมิ 37 องศาเซลเซียส ไข่มันก็จะเริ่มพัฒนาตัวเองไปเป็นลูกเจี๊ยบจนกระทั้งออกจากไข่ 21 วันครับ เราก็ตั้งความร้อน ให้อยู่ที่ 37 ความชื้น เอาแบบเป็น% นะครับ..ดูง่ายดี ก็อยู่ที่ 55% ทั้งความร้อนและชื้น สูงต่ำกว่านี้ได้นิดหน่อย..จะใช้ค่าไหนก็ให้คงค่านั้นๆยาวเลยครับ..
เจาะช่องให้อากาศดีเข้า อยู่มุมด้านล่างของตัวตู้ เพราะตัวอ่อนที่อยู่ในไข่ต้องการอากาศใว้หายใจครับ..ขนาดก็ประมาณ 3 นิ้ว จะกลมหรือเหลี่ยมก็ได้ครับ สายไฟก็อาศัยช่องนี้เหมือนกัน...
ตะแกรงหรือชั้นสำหรับวางไข่..ชั้นวางจะเอาแบบวางขนาดกับพื้นก็ได้ แต่เวลากลับไข่ผมกลัวว่าจะไม่ทั่วถึง เท่าที่อ่านเจอเขาบอกวางเอียง 45 องศาจะดีกว่า..เพื่อสะดวกในการกลับไข่ ก็จะจับทั่งถาดหมุนเอาด้านล่างขึ้นบน ด้านบนลงล่าง..สะดวกดี ไม่มีฟองไหนลืมกลับ
ตัวอ่อนที่อยู่ในไข่ ตอนที่ยังไม่โดนความร้อน ไข่ขาวมันจะหุ้มให้ไข่แดงอยู่ตรงกลางฟองเสมอ..ไม่ให้โดนเปลือกไข่..
แต่ พอเริ่มให้ความร้อน ไข่ขาวจะค่อยๆเหลว เหลวเป็นน้ำเลย..ทีนี้ไข่แดงมันจะลอยขึ้นเสมอ พอมันลอยไปติดเปลือกไข่ แล้วนิ่งอยู่อย่างนั้นนานๆ ตัวอ่อนก็จะตาย...
เราจึงต้องไปกลับไข่ อย่างน้อยวันละ 3 เที่ยว...ส่วนแม่ไก่ มันกลับวันละ 96 เที่ยว......โครตขยันเลยครับ
เจาะอีกช่อง ให้อากาศเสียออก..อยู่ตรงข้ามกับ ช่องอากาศดี และอยู่ช่วงบนของตู้ ตามธรรมชาติ อากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นสูง แล้วไหลออกทางช่องนี้..ในขณะเดียวกัน อากาศดี ที่อยู่ช่องต่ำกว่าก็จะไหลเข้ามาแทนที่...ช่องนี้ก็เจาะ 3 นิ้วเท่ากัน..แต่ไม่ต้องเจาะแบบโบ๋..ให้มีฝาใว้เปิดปิดด้วย..เอาใว้ช่วยใน การเพิ่มลดความชื้นได้เหมือนกัน
ตอนที่เริ่มฟัก ตัวอ่อนยังใช้อากาศน้อย เราก็เปิดช่องนี้แค่นิดหน่อยก็พอเพื่อรักษาความชื้นและความร้อนครับ
ช่องสังเกตุการณ์ จะเอาอะไรทำก็ได้มังครับ..กระจกใส พสาสติกใส แล้วแต่จะหาได้ ก็เจาะกล่องให้เท่ากับขนาดกระจกที่เรามี แล้วเอากระดาษแข็งมาตัดแปะกาวเป็นคิ้วกันกระจกหลุดออกมา ทั้งข้างนอกและด้านใน
ทีนี้ก็เอาปลั๊กหลอดไฟ เสียบเข้ากับคอนโทรล ส่วนคอนโทรก็เอาไปเสียไฟบ้านครับ
จัดการเอาไข่ที่ เก็บใว้ มาเรียงใส่ ต้องเอาด้านป้านของไข่ขึ้นด้านบน ด้านแหลมลงล่าง ควรวางแบบนี้ตั้งแต่ตอนที่เราเก็บมาแล้ว..
เอาน้ำเติมใส่ถาดน้ำใต้ดวง ไฟ...เอาสายที่วัดความร้อนของคอนโทรลสายสีขาววางใว้บนถาดไข่ เทอร์โมมิเตอร์ควรมีอย่างน้อยสักสองตัว..เผื่อเสีย เผื่อมั่ว..
เริ่ม ทำตาราง..การกลับไข่ และอุณหภูมิ ความชื้น..ตั้งแต่วันแรก ถึงวันที่ 18 ให้ตั้งอุณหภูมิ 37-37.5 ความชื้น 55-60% อย่าพลาดเอาค่าไหนก็เอาค่านั้น ให้นิ่งๆ..ปิดฝา เริ่มนับหนึ่งเลยครับ
เตือนตัวเองว่าอย่าลืมไปกลับไข่..ชีวิตน้อยๆ อยู่ในมือท่านแล้ว..ตั้งนาฟิกาปลุกไว้กันลืมด้วยเลยครับ..
พอครบวันที่ 7 14 และ 18 ของการฟัก..ต้องเอามาส่องไฟดูครับ ว่าฟองไหนพัฒนาไปถึงไหนแล้ว..หากอันไหนผิดปกติ ให้เอาออกเลยครับ..กันเน่า...
ค่อยๆสังเกตุเอานะครับ..ตามรูป อาทิตย์แรกออกจะงงๆอยู่บ้าง ลองเอาไข่ในตู้เย็นมาส่องเปรียบเทียบดูจะเห็นความแตกต่างชัดเจนครับ..ไข่ที่ ไม่ได้ฟักมันจะโปร่งแสงกว่า หรือจะเรียกว่าเรืองแสงกว่าไข่ที่ฟักก็ได้ น่าจะเห็นภาพกว่าครับ
ถ้าเจอลักษณะแบบ Blood Ring หรือก้อนเลือดที่เป็นวงแหวนในเปลือกไข่ แปลว่าตัวอ่อนตายแล้วครับ
กระเปาะสีขาวเป็นตัววัดอุณภูมิของ คอนโทรลที่ตั้งค่าใว้ 37-37.5 ผมแนะนำว่าให้วางให้สัมผัสอากาศอย่าให้โดนไข่ ส่วนสีดำ อันนี้หนีบใว้ข้างซอกไข่เลยครับ..เพื่อเช็คว่าไข่มีอุณหภูมิเท่าไร..
ใน ช่วง 1- 18 วันแรก ควรมีอุณหภูมิเท่าๆกับอากาศในตู้หรือเท่ากันเลยในช่วงแรกๆของการฟัก ไข่อาจร้อนกว่าค่าที่เราตั้งควบคุมไว้ได้ ในช่วงที่ใกล้ถึงวันที่ 18
นั่งเฝ้า นอนเฝ้า หมั่นไปดู เผื่อมีอะไรผิดปกติ ดูอุณหภูมิกับความชื้นบ่อยๆ ถ้าน้ำในถาดแห้งต้องรีบเติม อย่าปล่อยให้แห้งเด็ดขาด..เพราะมีผลต่อลูกไก่
ถ้า ความชื้นน้อย ขนลูกไก่จะแห้งติดเปลือกไข่และออกจากไข่ยาก หรือออกไม่ได้เลย ถ้าโชคดีออกมาได้ ขนจะไม่ยอมฟู..แต่ถ้าชื้นมากเกินไปสะดือจะไม่แห้ง เวลาออกมา อาจติดเชื้อที่สะดือครับ..
ส่วนอุณหภูมิ ถ้าร้อนเกินไป ลูกไก่จะพัฒนาเร็วและกินไข่แดงหมดก่อนที่จะฟักออกมาเป็นตัว..หากเย็นไป ก็จะใช้ไข่แดงไม่หมด ก็ครบวันออกจากไข่เสียแล้วครับ
พอครบวันที่ 18 ของการฟัก นับตั้งแต่วันนี้ไปจนกระทั่งออกจากไข่ ไม่ต้องกลับไข่แล้วครับ.. ให้ลดอุณหมิลง เหลือ 36-36.5 องศาเซลเซียส ส่วนความชื้นให้เพิ่มเป็น 75-80 % และเปิดช่องอากาศเสียให้กว้าง...เนื่องจากลูกไก่สามารถสร้างความร้อนได้เอง แล้ว..และต้องการอากาศหายใจมากขึ้น ขณะเดียวกัน ก้อหายใจเอาคาบอนไดอ๊อกไซด์ออกมาด้วย...
สังเกตุ ความร้อนของอากาศในตู้ตัวสีแดง กะความร้อนของไข่สีดำ ควรจะเป็นแบบนี้ครับ
แต่ถ้าความร้อนของอากาศ ในตู้ตัวสีแดงเป็น 36 แล้วความร้อนของไข่สีดำต่ำกว่า 35 หล่ะก็ แปลว่าไข่ฟองนั้นไปเฝ้าท่านยมแล้วครับ
พอถึงวันที่ 21 ของการฟัก..ลูกเจี๊ยบจะทยอยเจาะเปลือกไข่ออกมาดูโลกครับ...