วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
สูตรการทำซอสมะม่วง (ใช้แทนซอสพริก)
++เครื่องปรุงและส่วนประกอบ++
1.พริกชี้ฟ้าแดงเม็ดใหญ่และแกะเม็ดข้างในออก จำนวน 8-10 เม็ด
2.มะม่วงดิบหรือมะม่วงแก่จัด (ห่ามๆ) จำนวน 3-4 ผล
3.กระเทียมกลีบใหญ่ จำนวน 6-8 กลีบ
4.น้ำตาลทราย จำนวน 1-2 ถ้วยตวง
5.เกลือป่น จำนวน 1-2 ช้อนโต๊ะ
6.น้ำสะอาด จำนวน 3-4 ถ้วยตวง
++วิธีการทำ++
1.ล้างพริกให้สะอาด เด็ดก้านและผ่าเอาเมล็ดข้างในออกให้หมด ตัดเป็นท่อนๆแล้วพักไว้
2.ล้างมะม่วงให้สะอาด ตัดหัวจุกมะม่วงออก ปลอกเปลือกออกให้หมด ล้างอีกครั้งให้สะอาด จากนั้นก็ฝานเอาแต่เนื้อมะม่วงออกมาให้หมด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆพอประมาณ
3.นำพริกที่เตรียมไว้ลงไปปั่นในเครื่องปั่นให้ละเอียด พร้อมกับกระเทียมและน้ำ 1 ถ้วยตวง ปั่นจนเนื้อพริกและกระเทียมละเอียดเข้ากัน แล้วเทออกใส่ชามพักไว้
4.ใส่มะม่วงลงไปปั่นทีละส่วนพอประมาณพร้อมน้ำ 2 ถ้วยตวง (ปั่นทีละน้อยและค่อยเติมน้ำเรื่อยๆ) จนเนื้อมะม่วงละเอียดแล้วเทใส่ชามพักไว้ (ปั่นเนื้อมะม่วงให้หมดตามที่เตรียมไว้)
5.จากนั้นนำหม้อตั้งไฟอ่อนๆ เทพริกและกระเทียมที่ปั่นไว้ลงไป คนให้กระเทียมและพริกพอสุกมีกลิ่นหอม แล้วจึงเทมะม่วงตามลงไปทั้งหมด เติมน้ำตาล เกลือ คนจนมะม่วงสุกดีและข้นพอเหมาะ (เติมน้ำหากข้นเกินไป) ชิมให้ได้ซอสมะม่วงที่มีรสเปรี้ยวตามความต้องการ ให้ออกเค็มและหวานเล็กน้อยตามชอบ
6.เมื่อเสร็จแล้วก็ยกลงจากเตา ตั้งพักไว้พอเย็นจึงนำใส่ขวดโหลหรือกล่องพลาสติกได้ ปิดฝาให้แน่น เก็บไว้ใช้ได้นาน เป็นซอสมะม่วงนำไปทานกับอาหารแทนซอสพริกได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : คุณทรงกช สนเท่ห์ ผู้มีความเชี่ยวชาญ โดดเด่นในเรื่องการทำเกษตรผสมผสานบนพื้นฐานความพอเพียงในพื้นที่จังหวัด สระบุรี
ที่มา:
ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.สระบุรี (IDF4505)
http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=311&s=tblfertilizer&g=p
วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
แมงดานา
ธรรมชาติของมันแล้วน่าจะเรียกว่า "แมลงดา" จะถูกต้องกว่าเพราะมันมีขาแค่ 6 ขา ไม่ใช่ 8 ขาซึ่งเรียกว่า "แมง" ตามจำแนกวิธีเรียกของสัตว์เล็กๆจำพวกนี้ แต่น้อยคนที่จะเรียกกันว่า แมลงดานา ก็เอาเป็นว่ายอมรับคำว่า "แมงดา" กันโดยปริยายก็แล้วกัน
แมงดานาจัดเป็นสัตว์จำพวกมวนน้ำชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกนี้ ฝรั่งจึงเรียกแมงดานาว่า "มวนน้ำยักษ์" ลักษณะทั่วไปของสัตว์ชนิดนี้ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ ตานูนแข็งขนาดใหญ่ 1 คู่ มีขาคู่แรกเป็นอวัยวะจับอาหาร ส่วนขาคู่ที่ 2 และ 3 เป็นขาว่ายน้ำ โดยเฉพาะขาคู่หลังสุดจะมีลักษณะคล้ายใบพาย ทั้งนี้เนื่องจากแมงดานาเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก อวัยวะส่วนนี้จึงมีความจำเป็นมากในการดำรงชีพ สำหรับในบ้านเราเท่าที่เคยมีการจำแนกชนิดของแมงดานานั้น บอกต่อๆกันว่ามีอยู่ 3 ชนิด คือ แมงดาหม้อ แมงดาเหลืองหรือแมงดาทอง และแมงดาลาย โดยจำแนกกันตามลักษณะภายนอก โดยแมงดาพันธุ์หม้อนี้จัดเป็นแมงดาพันธุ์ไข่ดก ขอบปีกมีลายเหลืองทองยาวไม่ถึงหาง ส่วนพันธุ์เหลืองหรือพันธุ์ทองนั้นจะออกสีเหลืองทองทั้งตัวและนับว่าหายาก ที่สุด สำหรับพันธุ์ลายนั้นขอบปีกจะออกลายสีเหลืองทองคล้ายกับพันธุ์หม้อ แต่ขอบปีกจะยาวจนถึงหาง และในตลาดที่เราเห็นกันบ่อยๆโดยเฉพาะะช่วงหน้าฝนนี้จะเป็นแมงดาพันธุ์ลาย เสียส่วนมาก
ส่วนสำคัญที่ขายได้ของแมงดานาจะอยู่ที่หางยาวแหลมคล้ายเดือย ส่วนนี้จะมีต่อมกลิ่นหอมฉุน และจะมีแต่เฉพาะตัวผู้เท่านั้น และแม้ว่าแมงดานาทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีขนาดใกล้เคียงกันคือ ลักษณะลำตัวยาวรีเหมือนใบไม้ออกโทนสีน้ำตาล ยาวประมาณ 2-4 นิ้ว แต่ข้อสังเกตง่ายๆคือ ตัวผู้ลำตัวจะกลมป้อม และเล็กกว่าตัวเมียนิดหน่อย ส่วยตัวเมียลำตัวจะออกแบนๆ ส่วนท้องใหญ่ กว้างและที่สังเกตคือมักจะไม่มี่เดือยหาง แม้ว่าบางครั้งเราหยิบขึ้นมาดมดูจะพบว่ามีกลิ่นฉุนๆก็ตาม นั้นแสดงว่าแม่ค้าเขาเหยาะกลิ่นแมงดานาเข้าไปแล้ว เหตุที่ต้องทำเช่นนี้เพราะว่าราคาแมงดาตัวผู้จะแพงกว่าแมงดาตัวเมีย
รูปร่างลักษณะ
ไข่
เป็นกลุ่มวางเรียงเป็นแถวตามต้นข้าวหรือต้นหญ้า หรือตามกิ่งไม้ขนาดเล็กในน้ำ ไข่มีสีน้ำตาลอ่อน มีลายเป็นขีดสีน้ำตาล ด้านบนมีจุด ระยะไข่ 7-8 วัน
ตัวอ่อน
เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อน ด้านบนของไข่จะเปิดออกเรียกกันว่าเปิดฝาชีหรือหมวก ตัวอ่อนจะอยู่ในท่าหงายท้องแล้วกระโดดลงในน้ำ ระยะแรกๆลำตัวนิ่ม สีเหลืองอ่อน ต่อมาเป็นสีเขียวปนเหลือง เมื่อโตขึ้นสีเหลืองปนน้ำตาล
ตัวเต็มวัย
เป็นมวนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ลำตัวกว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ตัวแบนสีน้ำตาลยาวรีเหมือนใบไม้ ปากแบบเจาะดูด ขาคู่หน้าแบบจับเหยื่อ ขาคู่ที่ 2 และ3 ใช้ว่ายน้ำ ตัวผู้มีกลิ่นฉุนและมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อแง้มดูที่ปลายท้องตัวเมียจะเห็นอวัยวะวางไข่คล้ายเม็ดข้าวสาร
ฤดูและการผสมพันธุ์
ฤดูที่แมงดาจะออกแพร่พันธุ์ จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือเข้าหน้าฝนได้ประมาณสองอาทิตย์ และจะหยุดก่อนปลายฝนประมาณสองอาทิตย์ ในฤดูนี้บางแห่งจะมีน้ำขังอยู่มากบ้างน้อยบ้าง แมงดาในขณะที่บินมาจากไหนก็ตาม เมื่อตกลงยังพื้น โดยเจตนาของมันหรือโดยการกระทบกับสิ่งที่ทำให้มันเสียหลัก มันจะหาที่พักได้ง่ายเพราะทุกแห่งมีน้ำ แมงดาอาจพักซ่อนตัวในเวลากลางวันตามแอ่งน้ำเล็กๆ หรือในรอยเท้าสัตว์ เช่น วัว ควาย ซึ่งมีน้ำปนอยู่กับโคลนเล็กน้อย เมื่อถึงเวลากลางคืนแมงดาจะบินต่อไปอีก ฉะนั้นในบางโอกาสที่เราจับแมงดาได้ ปีกของมันจะยังเปื้อนโคลนอยู่ก็มี การที่แมงดาต้องอาศัยน้ำอยู่ตลอดเวลาก็เนื่องจากมันเป็นแมงชนิดสะเทินน้ำ สะเทินบก (Amphibian) แมงดาตัวเมียเมื่อได้กลิ่นตัวผู้ ณ ที่ใดก็จะบินมาตกบริเวณนั้น แสงสว่างเป็นเครื่องชักจูงให้แมงดาบินมาเวียนวนในแถบนั้นเช่นเดียวกับแมลง ทุกชนิดที่เคลื่อนไหวในเวลากลางคืน แหล่งที่แมงดาชอบลงเพื่อทำการขยายพันธุ์คือที่ระดับน้ำไม่เปลี่ยนแปลงเร็ว และมีอาหารพอที่ลูกแมงดาจะยังมีชีวิตอยู่ได้ แหล่งเหล่านั้นคือท้องนาและริมๆขอบบึงที่น้ำตื้น และในการผสมพันธุ์ตัวผู้จะปล่อยกลิ่นฉุนเรียกตัวเมีย แล้วเกาะบนหลังตัวเมีย ผสมพันธุ์ตามกอหญ้า กอข้าว
การวาง ไข่และการเจริญเติบโต
การวางไข่ของแมงดานา แมงดานาไม่ชอบวางไข่ที่ไม้แข็ง เช่น ไม้เต็งรัง แต่จะวางที่ไม้สน หรือใบหญ้า ใบกก หรือต้นไม้ขนาดเล็ก สูงจากระดับน้ำประมาณ 10 นิ้วหรือ 1 ฟุตแล้วแต่ว่ามันจะรู้สึกว่าน้ำจะมามากหรือน้อย โดยตัวเมียจะปล่อยวุ้นออกมายึดไข่กับกิ่งไม้หรือกอหญ้า วางไข่เป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มมีประมาณ 100-200 ฟองทั้งนี้แล้วแต่ความสมบูรณ์ของแมลง แมงดาที่ชอบที่เงียบๆไม่มีสิ่งรบกวนสำหรับการวางไข่ ไข่ที่วางไว้กับไม้หรือต้นไม้ ต้นข้าว จะมีวัตถุคล้ายวุ้นทำหน้าที่เป็นกาวยึดไข่ไว้อย่างมั่นคง ไข่ที่วางไว้ใหม่ๆจะมีสีนวลน้อยๆ มีลายริ้วสีน้ำตาลประกอบ แล้วจะค่อยๆคล้ำไปเล็กน้อย ไข่สีคล้ำเรียกว่าไข่แก่ เมื่อวางไข่แล้วตัวผู้จะคอยดูแลไข่ จนกว่าตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่และหากินเองได้ เพราะบางครั้งตัวเมียถ้าได้โอกาสก็จะกินไข่ของมันเอง
ภายหลังห้าวันที่ได้มีการวางไข่ ลูกแมงดาอ่อนๆ จะเกิดเป็นตัวอยู่ในไข่ ภายหลัง 6-7 วันไข่จะฟักออกเป็นตัวโดยไข่จะเปิดฝาขอองมันคล้ายฝาชี แต่ไม่หลุดออกจากกัน ไข่เปิดฝาแบบนี้เรียกว่าเปิดแบบ opercular ลูกแมงดาจะค่อยๆโผล่จากไข่ โดยการแบ่งตัวออกมาในท่าหงายท้องแล้วร่วงลงในน้ำ ลูกแมงดาจะอยู่นิ่งพักบนผิวน้ำครู่หนึ่งแล้วจึงดำลงใต้น้ำ ลูกแมงดาเกิดใหม่ๆตัวของมันเป็นสีนวล ไม่มีปีก สีของมันจะค่อยๆเข้มขึ้นภายในระยะเวลาน้อยกว่าครึ่งชั่วโมง ครั้นแล้วจะเริ่มกินเหยื่ออย่างกระหายหิว (ลูกแมงดาเรียกกว่า nymphs) ซึ่งลูกอ๊อดเป็นเหยื่อที่ลูกแมงดาชอบมาก ในขณะที่ลูกอ๊อดผ่านมาในระยะอันสมควร ลูกแมงดาที่เกาะนิ่งอยู่ จะพุ่งตัวอย่างรวดเร็วเข้าเกาะที่ปลายหางลูกอ๊อด แล้วไต่อย่างรวดเร็วเข้าสู่โคนหาง ลูกแมงดาจะช่วยเหลือตัวเองได้ประมาณครึ่งชั่วโมงภายหลังการออกจากไข่ ระยะนี้เป็นระยะสำคัญในการเลี้ยงลูกแมงดา ต้องระวังเรื่องขาดแคลนอาหารหรือจัดที่เลี้ยงแคบเกินไป ถ้าขาดความระมัดระะมังในเรื่องนี้ลูกแมงดาจะกินกันเองจนกระทั่งครอกหนึ่งจะ เหลือตัวเก่งอยู่สองสามตัวหรืออาจเหลือเพียงตัวเดียวก็ได้ แมงดาที่เสียเปรียบในการรักษาตัวรอดคือตัวที่ทำอาการเคลื่อนไหวซึ่งพี่น้อง ของมันจะจับกินเป็นเหยื่อ การหายใจของลูกแมงดาทำโดยวิธีจับอากาศจากผิวน้ำไว้ใต้ท้องหรือใช้ท่อที่อยู่ เกือบสุดปลายตัวของมันจ่ออยู่ที่ผิวน้ำ นอกจากท่อ 2 ท่ออยู่เกือบสุดปลายของลูกแมงดา ยังมีท่อที่ขอบตัวของมันทุกๆปล้อง ท่อเหล่านี้เรียกว่า tracheae ลูกแมงดาที่ซ่อนตัวอยู่ใต้น้ำเมื่อออกซิเจนซึมเข้าตัวของมันหมด มันจะโผขึ้นสู่ผิวน้ำและทำอาการพลิกหงายท้องเพื่อจับอากาศใหม่เพื่อหายใจ แล้วดำลงซ่อนตัวเหมือนเดิม
การเจริญเติบโตของแมงดาเป็นไปโดยการลอกคราบ (molting) แมงดาจะลอกคราบรวมทั้งหมดห้าครั้ง จึงจะเป็นแมลงมีปีกโดยสมบูรณ์ แมงดาที่ลอกคราบในครั้งที่สี่ที่ห้า จะไม่สามารถกินเหยื่อได้ในวันแรกๆเพราะตัวของมันยังอ่อนนิ่มอยู่ ปากของมันยังไม่แข็งพอที่จะเจาะเหยื่อ ขาของมันก็ยังไม่แข็งพอที่จะกอดรัดเหยื่อไว้ให้มั่นคงได้ มันจะอาศัยเพียงอากาศหายใจ ท่อหายใจตามขอบตัวมันยังเป็น nymphs จะปิดหมด และใช้อวัยวะที่มีอยู่สุดปลายตัวต่อจากท่อถ่ายและอวัยวะสืบพันธุ์เป็น เครื่องหายใจ
วงจรชีวิตของแมงดานา Lethocerus indicus Lep.Serv.
ระยะ อายุ (วัน)
ไข่ 7-8
ตัวอ่อน
วัย 1 3-5
วัย 2 5-7
วัย 3 7-9
วัย 4 11-13
วัย 5 เพศผู้ 21
เพศเมีย 32
วิธีการจับเหยื่อ
แมงดามีความว่องไวในการจับเหยื่อ ช่วงแรกมันจะอยู่เฉยๆ ไม่ขยับตัวปล่อยให้เหยื่อ เช่นลูกปลา ลูกกุ้ง ว่ายน้ำผ่านไป เมื่อเข้ามาระยะพอเหมาะแมงดาจะพุ่งตัวเข้าไปหาเหยื่อ ใช้ขาคู่หน้าจับเหยื่อไว้และใช้ปากเจาะ แล้วปล่อยสารพิษเข้าไปในผิวหนังของเหยื่อ ดูดของเหลวจากตัวเหยื่อ
สถานที่และการเลี้ยงแมงดานา
สถานที่ที่เหมาะสมในการทำบ่อเพาะเลี้ยงแมงดานา ควรเป็นที่โล่งเเจ้งใกล้แหล่งน้ำแต่น้ำท่วมไม่ถึง และต้องไม่พลุกพล่านซึ่งบ่อเลี้ยงแมงดาไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก และขนาดของบ่อที่นิยมคือให้มีความยาวเป็นบวกหนึ่งของด้านกว้าง และขนาดที่เหมาะสมที่สุดควรมีพื้นที่บ่อประมาณ 20 ตารางเมตร โดยด้านข้างทั้งสี่ด้านควรลาดเททำมุม 45 องศา และตรงกลางบ่อทำเป็นหลุมลึกสักจุดหนึ่งเพื่อใช้รวบรวมของเสียและง่ายต่อการ กำจัด และที่ขาดไม่ได้คือชานบ่อโดยรอบให้กว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนนี้ไม่ต้องเทซีเมนต์แต่ปล่อยทิ้งไว้เป็นดิน เพื่อที่เราจะปลูกต้นไม้ใช้เป็นที่พักอาศัยของแมงดา อาจปลูกต้นกก ผักบุ้งหรือเลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด นอกจากนี้บ่อเลี้ยงต้องขึงตาข่ายตาไม่ใหญ่กว่า 1 ซม. ป้องกันไม่ให้แมงดาบินหนี หรือมีนก หนูเข้าไปลักกินแมงดานา ส่วนหลังคาต้องกันแดดกันฝนได้ดี
หลังจากทำบ่อและบ่มจนน้ำหมดกลิ่นปูนเรียบร้อยแล้วก็จัดการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ แมงดานาลงไปได้เลย โดยน้ำที่ใส่ต้องเป็นน้ำสะอาดจากน้ำคลองที่สูบขึ้นมาพักจนตกตะกอนดีแล้วจะดี ที่สุด ใส่น้ำให้ได้ระดับความลึกประมาณ 70-80 ซม.แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไปในอัตรา 50 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร สัดส่วนของตัวผู้กับตัวเมีย 1 ต่อ 1 ดีที่สุด แต่สัดส่วน 1 ต่อ 5 ก็ได้ผลดีพอสมควร การรวบรวมพ่อแม่พันธุ์แมงดานาช่วงที่ดีที่สุด ควรเป็นช่วงตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม เนื่องจากเป็นแมงดาวัยรุ่นยังไม่มีไข่ ( เขาว่าแมงดานาที่มีไข่ติดท้อง หากตกใจจะกลั้นไข่จนตายในที่สุด) แต่เราสามารถแยกเพศได้แล้ว โดยดูที่อวัยวะสืบพันธุ์ ตรงก้นที่เห็นเป็นระยางค์แฉกๆลองแง้มดูภายในหากเห็นเป็นอวัยวะคล้ายเม็ดข้าว สารแแสดงว่าเป็นตัวเมียแน่นอน ขั้นตอนการเตรียมบ่อเพื่อให้แมงดานาผสมพันธุ์เริ่มจากลดระดับน้ำลงจากเดิม ประมาณครึ่งหนึ่ง พร้อมกับจัดการเก็บไม้น้ำ โพรงไม้ ขอนไม้ หรืออะไรที่ลอยน้ำเป็นที่ยึดเกาะของแมงดานาออกจากบ่อให้หมดโดยนำไม่ไผ่หรือ กิ่งไม้แห้งๆใส่ลงไปแแทนที่ทิ้งไว้แบบนี้ 3-4 วัน ก่อนเปลี่ยนน้ำเข้าไปใหม่ในระดับเดิมคือ ประมาณ 80 ซม.หรือเกือบเต็มบ่อก็ได้ จากนั้นเก็บกิ่งไม้ไผ่ กิ่งไม้ออก ใส่ลูกบวบลงไปแทน โดยลูกบวบนี้ทำจากท่อนกล้วยยาวท่อนละ 1 เมตร ที่ถ่วงน้ำหนักให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของท่อนกล้วยจมน้ำด้านนี้เสมอ ส่วนด้านบนที่ไม่จมน้ำ ปักด้วยซี่ไม้ไผ่หรือไม้เสียบลูกชิ้นยาวคืบกว่าๆเป็นแถว กะว่าแต่ละอันห่างกันประมาณ 10 ซม. แมงดานาจะขึ้นมาวางไข่ตามไม้ที่ปักไว้นี้ หลังจากนี้ประมาณ 3-4 วันไปแล้ว ซึ่งเมื่อเห็นว่าแมงดานาวางไข่แล้วเต็มที่ก็ให้จับพ่อแม่พันธุ์ออกไปเลี้ยง ในบ่ออื่นให้หมด นอกจากนี้แล้วแมงดานาตัวเมียจะวางไข่ได้อีก 2-3 ครั้ง ในแต่ละช่วงปีห่างกันครั้งละประมาณ 1 เดือน ดังนั้นหากต้องการมีแมงดานาขายอย่างต่อเนื่องแล้วอาจจะต้องลงทุนทำบ่อไว้ หลายบ่อโดยวิธีเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หลังจากวางไข่ผสมพันธุ์แล้วจะดีกว่า เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเร็วเช่นนี้จะเร่งให้มันผสมพันธุ์วางไข่เร็ว ขึ้น โดยพ่อแม่พันธุ์แต่ละรุ่น มักนิยมใช้กันแค่ปีเดียวคือวางไข่ได้ 2-3 ครั้งก็จับขายแล้วคัดเอาบรรดาลูกๆรุ่นใหม่เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป
หรือการเลี้ยงอีกวิธีหนึ่งก็คือโดยการมัดกลุ่มไข่หรือเสียบกับลวดเพื่อวาง ยืนในกล่อง ใส่น้ำและวางกล่องในถาดหล่อน้ำ กันมด ไข่ที่ใกล้ฟักจะมีสีเข้มชัดเจน พองผิวเต่งตึง แมงดามักจะออกจากไข่ช่วงเช้าและเย็น เมื่อฟักออกจากไข่จะหงายท้องและดีดตัวร่วงลงน้ำ ตัวอ่อนที่ฟักออกจากตัวใหม่ๆจะสีเหลืองอ่อน ด้านในลำตัวสีเขียว ตาสีดำ ต่อมาอีกประมาณ 1 ชั่วโมง สีจะคล้ำขึ้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา แยกตัวอ่อนวัย 1 ใส่เลี้ยงถ้วยละ 1 ตัว โดยใช้ขวดน้ำขนาดความจุ 950 มิลลิเมตร ตัดเอาก้นขวดสูง 3 นิ้ว เป็นถ้วยเลี้ยง เจาะรูก้นถ้วยเพื่อความสะดวกในการถ่ายน้ำเสีย วางถ้วยในถาดพลาสติกใส่น้ำลงไปประมาณ 0.5 นิ้ว ให้ลูกปลาเป็นอาหารถ้วยละ 1 ตัว
การให้อาหารตอนเช้าก่อน 08.00 น. วันละ 1 ครั้ง และช่วงเย็น (16.00น.) เอาเศษลูกปลาตายออก ล้างทำความสะอาดถ้วยเลี้ยง เปลี่ยนน้ำ เมื่อตัวอ่อนลอกคราบเข้าวัย 3 ย้ายเข้ากรงคู่ทำด้วยตาข่ายพลาสติกสีดำ ( มีจำนวนรู 35 รู ต่อ 1 ตารางนิ้ว ) ลักษณะรูปทรงกระบอกยาว 18.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร ปิดส่วนท้ายกรงแต่ละคู่ด้วยแผ่นตาข่ายขนาด (กว้าง x ยาว) 9 x19 เซนติเมตร วางกรงในแนวนอนลงในถาดหรือกะละมังที่มีน้ำประมาณ 2 นิ้ว ด้านบนของกรงกรีดตาข่ายออกสามด้าน ขนาด (กว้าง x ยาว) 5 x 6 เซนติเมตร แล้วใช้ลวดยึดไว้เพื่อเป็นช่องประตูเปิดปิด ใส่ปลาและเอาแมงดาเข้าออก เมื่อลอกคราบเข้าวัย 4 ย้ายเข้ากรงทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยมขนาด ( กว้าง x ยาว x สูง) 10 x 15 x 10 เซนติเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเดิมและเอากล่องลงบ่อดินขนาด ( กว้าง x ยาว) 3.5 x 7 เมตร ลึก 1 เมตรปูพื้นด้วยพลาสติก มีผักตบและกอบัว ใช้โฟมติดด้านข้างกรงเป็นทุ่นให้กรงลอยน้ำได้ ในกรงใส่ผักตบชวาให้แมงดาเกาะ เพื่อความสะดวกในการจัดการเอากรงขึ้นลงจากบ่อ จัดวางเป็นแถวและเอาลวดเสียบหัวและท้ายกรงในแนวยาวเหมือนไม้เสียบลูกชิ้น หรือบาร์บีคิว เลี้ยงจนเป็นตัวเต็มวัย
วิธีการจับ
1. ใช้มือจับ
2. ใช้สวิงจับหรือช้อนตามไม้น้ำ
3. ใช้แสงไฟล่อ ติดตั้งหลอดแบล็กไลต์บนเสาไม้ไผ่สูงๆ ใช้ตาข่ายขึง กั้นให้สูงแมงดาจะมาเล่นไฟ
4. ปัจจุบันมีเครื่องมือจับแมงดานาแบบพื้นบ้านซึ่งเป็นผลงานการคิดค้นของจ่าสาย ศรีสมุทร สภอ.นาแก จังหวัดนครพนม โดยการใช้สังกะสีแผ่นเรียบมาตัดต่อบัดกรีให้เรียบร้อยเป็นกรวยปากกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เมตร ความสูงของกรวย 1 เมตร และด้านล่างทำเป็นท่อกลวงขนาดกระป๋องนม ยาวประมาณ 30 ซม. การติดตั้งเครื่องมือให้เลือกสถานที่ใกล้แหล่งน้ำ โดยตั้งเสาสูงประมาณ 6 เมตรติดหลอดแบล็กไลต์ไว้ล่อแมงดา ด้านล่างติดตั้งกรวยสังกะสีหงายปากกรวยขึ้น มีไฟนีออนสีฟ้าล่อไว้อีกดวงหนึ่งที่ปากกรวยนั้น ส่วนด้านล่างสุดใช้ถุงปุ๋ยที่ไม่ขาดทะลุสวมเข้าที่ท่อกลวงด้านล่างผูกติดให้ แน่น ซึ่งแสงจากหลอดแบล็กไลต์จะล่อแมงดาให้มาที่นี่ ส่วนแสงสีฟ้าจากหลอดนีออนเมื่อสะท้อนจากปากกรวยสังกะสีจะดูคล้ายๆกับแหล่ง น้ำขนาดเล็ก ดึงดูดใจให้แมงดาบินลงกรวยในที่สุด ซึ่งการจับด้วยวิธีนี้สะดวก เพราะเราไม่ต้องนั่งเฝ้า รอไว้ดูตอนเช้าเลยทีเดียว
การนำมาปรุงอาหาร
1. ไข่แมงดานา นำมาย่างไฟหรือกินสดๆ
2. ตัวเต็มวัย ตัวเมียชุบแป้งทอด ทำแกงคั่วแมงดานา ตัวผู้มีกลิ่นหอมทำให้เพิ่มรสชาติอาหาร นำมาทำน้ำพริกแมงดา แจ่วแมงดานา น้ำพริกปลาร้า น้ำปลาแมงดา หรือดองแช่น้ำปลาไว้ขายราคาแพง (ตุลาคม-มีนาคม)
เอกสารอ้างอิง
เชียด อภัยวงศ์. 2505. วงชีวิตของแมงดานา. วารสารการประมง ปีที่ 15 ฉบับที่ 1. หน้า 67-73.
ดิน จร.2537. แอบเปิดตำราเซียน เลี้ยงแมงดาเป็นอาชีพ. มติชนบท เทคโนโลยีชาวบ้าน ปีที่ 7 ฉบับที่ 104. หน้า 31-33.
ไม่มีชื่อผู้แต่ง.2546. แมงดานา. มติชนบท เทคโนโลยีชาวบ้าน ปีที่ 15 ฉบับที่ 304. หน้า 78.
ที่มา http://www.nicaonline.com/articles9/site/view_article.asp?idarticle=149
วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
บังคับ ไผ่ออกหน่อหน้าแล้ง
แนวทางปฎิบัติดดยการเลียน แบบธรรมชาติ ทำได้ดังนี้
-ช่วงเดือน ต.ค-พ.ย.หรือปลายฝนต้นหนาว ใส่ทำการใส่ปุ๋ยคอกมูลวัวและแกลบดิบหมัก อัตรา 1-2 กระสอบปุ๋ย/ต้น พร้อมกับปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 อัตรา 1-2 กก./ต้น พร้อมกับพรวนดินให้ถึงรากเพื่อเป็นการตัดแต่งรากไปในตัว โดยเริ่มจากห่างจากโคน 1-1.5 ม. ออกไปถึงชายพุ่ม เพื่อให้รากแตกใหม่ แล้วคลุมด้วยใบไผ่แห้งหรือฟางแห้งหนาๆทั่วพื้นทรงพุ่ม ให้น้ำร่วมกับปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือ EM ทุกๆ 7-10 วัน/ครั้ง ส่วนทางด้านบนยอดไผ่ ให้ติดสปริงเกอร์แล้วทำฝนเทียม ให้มีสภาพเหมือนหน้าฝน อย่าให้หน้าดินแห้งเด็ดขาด
-ช่วงเดือน ม.ค. ใส่ปุ๋ยเคมีทางราก สูตร 8-24-24 อัตรา 1-2 กก./ต้น พร้อมกับให้น้ำผสมฮอร์โมนไข่ ทุก 7-10 วัน/ครั้ง
-ช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. -เม.ย. ไผ่จะเริ่มทะยอยแทงหน่อออกมา ให้ใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 21-7-14 อัตรา 1-2 กก./ต้น ควบคู่กับการให้น้ำผสม EM 7-10 วัน/ครั้ง ส่วนทางใบให้ฉีดพ่นด้วย น้ำคั้นหัวไชเท้า + กลูโคส/เครื่องดื่มยาชูกำลัง ทุก 5-7 วัน/ครั้ง จะช่วยให้หน่อใหญ่ เนื้อมาก และน้ำหนักดี
อนึ่ง ชาวสวนไผ่มักใช้แกลบดำใส่ถุงดำครอบหน่อเพื่อทำ "หน่อหมก" หากเปลี่ยนมาใช้ใบไผ่บริเวณโคนต้นไผ่ชุ่มน้ำ โดยอัดใส่ถุงดำให้แน่นแล้วครอบหน่อ จะได้ผลดีกว่า และไม่เป็นด่างแถมประหยัดต้นทุน
ที่มา http://www.takeang.com/takeang_forums/index.php?topic=493.0
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ตอนที่ 3
4.เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์
4.1 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของเนื้อโค เนื้อกระบือ
4.1.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์ม ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP ฟาร์มโคเนื้อ (มกอช.6400-2548)
4.1.2 ระบบการผลิตเนื้อสัตว์ และการตัดแต่งซากของโรงฆ่าโค-กระบือได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)
4.1.3 เนื้อโค เนื้อกระบือ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง เนื้อโค (มกอช. 6001-2547) และเนื้อกระบือ (มกอช.6002-2547) ข้อ 4.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน สุขลักษณะ และสารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน ยาสัตว์ตกค้าง และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ชั้นคุณภาพตามตารางที่ 6
ตารางที่ 6 ชั้นคุณภาพของเนื้อโค เนื้อกระบือ
สินค้า ชั้นคุณภาพ คุณลักษณะ หมายเหตุเนื้อโค ดีเลิศ
ดีมาก
เนื้อโคได้จากโคขุนอายุไม่เกิน 36 เดือน
ระดับไขมันแทรกอยู่ระหว่าง 3.5 ถึง 5 (ตามตารางในมาตรฐานเนื้อโค)
ไขมันมีสีขาวหรือสีครีม
เส้นเนื้อค่อนข้างละเอียดและสีแดงสด
ตารางแผนภูมิมาตรฐาน
คุณภาพซากของ เนื้อโคเนื้อกระบือ ดีเลิศ
ดีมาก
เนื้อกระบือที่ได้จากกระบือขุนอายุ ประมาณ 36-42 เดือน
เส้นเนื้อค่อนข้างละเอียด และสีแดงเข้ม
4.1.4 เนื้อโค เนื้อกระบือชิ้น ควรบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ปิดมิดชิด มีความทนทานต่อการขนส่ง
4.1.5 เนื้อโค เนื้อกระบือที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์แล้วให้ปิดเครื่องหมายฉลากแสดงรายละเอียด ระบุข้อความชัดเจนของน้ำหนักสุทธิ วัน เดือนปีที่ตัดแต่ง วันหมดอายุ อุณหภูมิที่เก็บรักษา และชื่อผู้ผลิต หรือผู้จำหน่ายเครื่องหมายการค้า สถานที่ตั้ง
4.2 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของเนื้อสุกร
4.2.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP
4.2.2 ระบบการผลิตเนื้อสัตว์และการตัดแต่งซากของโรงฆ่าสุกร ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)
4.2.3 เนื้อสุกรควรผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง เนื้อสุกร (มกอช. 6000-2547) ข้อ 4.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน สุขลักษณะ และสารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน ยาสัตว์ตกค้าง และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ชั้นคุณภาพตามตารางที่ 7
ตารางที่ 7 ชั้นคุณภาพของเนื้อสุกร
สินค้า ชั้นคุณภาพเนื้อสุกร เป็นเนื้อสุกรสาวหรือสุกรขุนตัวผู้ที่ตอนแล้ว
มีไขมันแทรกในกล้ามเนื้อปานกลาง ถึงน้อย โดยการตรวจพินิจ4.2.4 เนื้อสุกรชิ้นควรบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ปิดมิดชิด มีความทนทานต่อการขนส่ง
4.2.5 เนื้อสุกรที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์แล้วให้ปิดเครื่องหมายฉลากแสดงรายละเอียด ระบุข้อความชัดเจนของน้ำหนักสุทธิ วันเดือนปีที่ตัดแต่ง วันหมดอายุ อุณหภูมิที่เก็บรักษา และชื่อผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย เครื่องหมายการค้า สถานที่ตั้ง
4.3 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของเนื้อไก่
4.3.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP ฟาร์มไก่เนื้อ
4.3.2 ระบบการผลิตเนื้อสัตว์ และการตัดแต่งซากของโรงฆ่าสัตว์ปีกได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)
4.3.3 เนื้อไก่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง เนื้อไก่ (มกอช. 6007-2548) ข้อ 4.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสุขลักษณะ และสารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน ยาสัตว์ตกค้าง และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ชั้นคุณภาพตามตารางที่ 8
ตารางที่ 8 ชั้นคุณภาพของเนื้อไก่
สินค้า ชั้นคุณภาพ คุณลักษณะเนื้อไก่ทั้งตัว ชั้นพิเศษ รูปร่างทั้งตัวสมบูรณ์ เนื้ออกเต็มไม่เห็นสันกระดูก กระดูกอกโค้งตามธรรมชาติ หลังไม่คดงอ ขาไม่มีรอยช้ำหรือเลือดคั่ง ปีกครบถ้วน ไม่มีขนอ่อนและขนละเอียด รอยฉีกขาดที่ผิวหนังทะลุชั้นเนื้อทั้งตัว รวมกันไม่เกิน 1.3 cm ไก่ตัดเป็นส่วน ชั้นพิเศษ เนื้อเต็มและแน่น ไม่มีขนอ่อนและขนละเอียด ไม่มีรอยฉีกขาด ไม่มีหนังหลุด
ไม่มีสีที่เกิดจากเนื้อช้ำ ไม่มีกระดูกหัก ข้อหลุด4.3.4 เนื้อไก่ควรบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ปิดมิดชิด มีความทนทานต่อการขนส่ง
4.3.5 ฉลากที่ใช้กำกับบรรจุภัณฑ์ ชัดเจนไม่ลอกหลุด ระบุข้อความชัดเจนของน้ำหนักสุทธิ วัน เดือนปีที่ตัดแต่ง วันหมดอายุ อุณหภูมิที่เก็บรักษา และชื่อผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย เครื่องหมายการค้า สถานที่ตั้ง
4.4 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของเนื้อเป็ด
4.4.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP ฟาร์มเป็ดเนื้อ
4.4.2 ระบบการผลิตเนื้อสัตว์ และการตัดแต่งซาก ของโรงฆ่าสัตว์ปีกได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)
4.4.3 เนื้อเป็ดผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง เนื้อเป็ด (มกอช. 6701-2548) ข้อ 4.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสุขลักษณะ และสารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน ยาสัตว์ตกค้าง และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ชั้นคุณภาพตามตารางที่ 9
ตารางที่ 9 ชั้นคุณภาพของเนื้อเป็ด
สินค้า ชั้นคุณภาพ คุณลักษณะเป็ดทั้งตัว ชั้นพิเศษ รูปร่างทั้งตัวสมบูรณ์ เนื้ออกเต็มไม่เห็นสันกระดูก กระดูกอกโค้งตามธรรมชาติ หลังไม่คดงอ ขาไม่มีรอยช้ำหรือเลือดคั่ง ปีกครบถ้วน ไม่มีขนตอและขนอ่อน รอยฉีกขาดที่ผิวหนังทะลุชั้นเนื้อทั้งตัวรวมกัน ไม่เกิน 1.3 cm สีผิวหนังผิดปกติทั่วตัวรวมกันไม่เกิน 5 cm เป็ดตัดเป็นส่วน ชั้นพิเศษ เนื้อเต็มและแน่น ไม่มีขนตอ ผิวหนังไม่มีรอยฉีกขาดและหนังหลุดจากเนื้อ
ไม่มีสีที่เกิดจากเนื้อช้ำ ไม่มีกระดูกหัก ข้อหลุด4.4.4 เนื้อเป็ดควรบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ปิดมิดชิด มีความทนทานต่อการขนส่ง
4.4.5 ฉลากที่ใช้กำกับบรรจุภัณฑ์ ชัดเจนไม่ลอกหลุด ระบุข้อความชัดเจนของน้ำหนักสุทธิ วัน เดือนปีที่ตัดแต่ง วันหมดอายุ อุณหภูมิที่เก็บรักษา และชื่อผู้ผลิต หรือผู้จำหน่าย เครื่องหมายการค้า สถานที่ตั้ง
4.5 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของไข่ไก่
4.5.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP ฟาร์มไก่ไข่4.5.2 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)
4.5.3 ไข่ไก่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ไข่ไก่ (มกอช.6702-2548) ข้อ 4.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสุขลักษณะ และสารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน ยาสัตว์ตกค้าง และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ชั้นคุณภาพตามตารางที่ 10
ตาราง ที่ 10 ชั้นคุณภาพของไข่ไก่
สินค้า ชั้นคุณภาพ คุณลักษณะ ไข่ไก่ชั้นเอ เอ เปลือกสะอาด ไม่มีรอยร้าว ไม่มีรอยเปื้อน ชั้น เอ ผิวเรียบ ความแข็งของเปลือกปกติ ไข่ แดงมีลักษณะนูน ไม่มีจุดเลือด จุดเนื้อ ไข่ขาวนูนข้น 4.5.4 คุณลักษณะพิเศษ
4.5.4.1 มีขนาดใหญ่พิเศษถึงขนาดยักษ์ น้ำหนักมากกว่า 65 g เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเรื่องระดับชั้นคุณภาพ เอ เอ และ เอ ไม่เกิน 5% ไม่มีไข่บุบไข่ร้าวจากการขนส่ง
4.5.5 บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ควรมีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ ปราศจากกลิ่นแปลกปลอม มีคุณสมบัติทนทานต่อการขนส่ง
4.5.6 ฉลากที่ใช้กำกับบรรจุภัณฑ์ชัดเจนไม่ลอกหลุด ระบุข้อความชัดเจนของน้ำหนักสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ อุณหภูมิที่เก็บรักษา และชื่อผู้ผลิต หรือผู้จำหน่าย เครื่องหมายการค้า สถานตั้ง
4.6 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของไข่เป็ด
4.6.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP ฟาร์มเป็ดไข่
4.6.2 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)
4.6.3 ไข่เป็ดผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ไข่เป็ด (มกอช. 6703-2548) ข้อ 4.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสุขลักษณะ และสารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน ยาสัตว์ตกค้าง และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ชั้นคุณภาพตามตารางที่ 11
ตาราง ที่ 11 ชั้นคุณภาพของไข่เป็ด
สินค้า ชั้นคุณภาพ คุณลักษณะไข่เป็ด ชั้นเอ เอ และชั้น เอ เปลือกสะอาด ไม่มีรอยร้าว ไม่มีรอยเปื้อน
ผิวเรียบ ความแข็งของเปลือกปกติ
ไข่แดงมีลักษณะนูน ไม่มีจุดเลือด จุดเนื้อ ไข่ขาวนูนข้น4.6.4 คุณลักษณะพิเศษ
4.6.4.1 ไข่เป็ดมีขนาดใหญ่พิเศษถึงขนาดยักษ์ น้ำหนักมากกว่า 70 g เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเรื่องระดับชั้นคุณภาพ เอ เอ และ เอ ไม่เกิน 5% ไม่มีไข่บุบร้าวจากการขนส่ง
4.6.5 บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ควรมีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ ปราศจากกลิ่นแปลกปลอม มีคุณสมบัติทนทานต่อการขนส่ง
4.6.6 ฉลากที่ใช้กำกับบรรจุภัณฑ์ชัดเจนไม่ลอกหลุด ระบุข้อความชัดเจนของน้ำหนักสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิตวันเดือนปีที่หมดอายุ อุณหภูมิที่เก็บรักษา และชื่อผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย เครื่องหมายการค้า สถานที่ตั้ง
4.7 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของไข่นกกระทา
4.7.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP ฟาร์มไข่นกกระทา
4.7.2 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)
4.7.3 ไข่นกกระทาผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ไข่นกกระทา ข้อ 4.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน สุขลักษณะและสารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน ยาสัตว์ตกค้าง และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ชั้นคุณภาพตามตารางที่ 12
ตาราง ที่ 12 ชั้นคุณภาพของไข่นกกระทา
สินค้า ชั้นคุณภาพ คุณลักษณะไข่นกกระทา ชั้นเอ เปลือก สะอาด ไม่มีรอยบุบ ร้าว
เปลือกมีสีลายประเข้ม และความแข็งของเปลือกไข่ปกติ ผิวเปลือกเรียบ
ช่องอากาศทางด้านป้านของ ไข่มีขนาดเล็ก
ไข่แดงนูน ไม่มีจุดเลือดจุดเนื้อ ไข่ขาวข้นนูน4.7.4 คุณลักษณะพิเศษ
4.7.4.1 ไข่นกกระทาขนาดเบอร์ 1 มีน้ำหนักต่อฟองเท่ากับหรือมากกว่า 10 g หรือน้ำหนักต่อ 100 ฟอง เท่ากับหรือมากกว่า 1 kg
4.7.5 บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ควรมีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ ปราศจากกลิ่นแปลกปลอม มีคุณสมบัติทนทานต่อการขนส่ง
4.7.6 ฉลากที่ใช้กำกับบรรจุภัณฑ์ชัดเจนไม่ลอกหลุด ระบุข้อความชัดเจนของน้ำหนักสุทธิ วันเดือนปีที่ ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ อุณหภูมิที่เก็บรักษา และชื่อผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย เครื่องหมายการค้า สถานที่ตั้ง
4.8 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของเนื้อแพะและเนื้อแกะ
4.8.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP ฟาร์มแพะ ฟาร์มแกะ
4.8.2 ระบบการผลิตเนื้อสัตว์ และการตัดแต่งซาก ของโรงฆ่าสัตว์ปีกได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)
4.8.3 เนื้อแพะ เนื้อแกะ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง เนื้อแพะและเนื้อแกะ ข้อ 4.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน สุขลักษณะ และสารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน ยาสัตว์ตกค้าง และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ชั้นคุณภาพตามตารางที่ 13
ตารางที่ 13 ชั้นคุณภาพของเนื้อแพะและเนื้อแกะ
สินค้า ชั้นคุณภาพ คุณลักษณะเนื้อแพะ ชั้นดีมาก ได้ จากเนื้อแพะอายุไม่เกิน 1 ปี เนื้อแน่น มีสีแดงอ่อน เนื้อแกะ ชั้นดีมาก ได้ จากเนื้อแกะอายุไม่เกิน 1 ปี เนื้อแน่น มีสีแดงสด มีระดับไขมัน แทรกอยู่ในระดับ 4 (ตามตารางในมาตรฐานเนื้อแกะ) 4.8.4 เนื้อแพะ เนื้อแกะชิ้น ควรบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ปิดมิดชิด มีความทนทานต่อการขนส่ง
4.8.5 เนื้อแพะ เนื้อแกะ ที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์แล้วให้ปิดเครื่องหมายฉลากแสดงรายละเอียด ระบุข้อความชัดเจนของน้ำหนักสุทธิ วัน เดือนปีที่ตัดแต่ง วันหมดอายุ อุณหภูมิที่เก็บรักษา และชื่อผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายเครื่องหมายการค้า สถานที่ตั้ง
ที่มา: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
http://www.acfs.go.th/
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ตอนที่ 2
เกณฑ์ข้อกำหนดการใช้เครื่องหมาย Q Premium กับสินค้าเกษตรและอาหารแต่ละชนิด (ต่อ)
2.ธัญพืชและพืชอื่นๆ
2.1 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของข้าวหอมมะลิ
2.1.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP (มกอช. 4400-2546)
2.1.2 ระบบการผลิตของการสีและบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP 1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999)
2.1.3 ข้าวหอมมะลิผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ข้าวหอมมะลิไทย (มกอช. 4000-2546) ข้อ 3.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องการบรรจุการแสดงเครื่องหมายหรือฉลาก สารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง และสุขลักษณะ
2.1.4 คุณลักษณะพิเศษ
2.1.4.1 เป็นข้าวชนิดข้าว 100%
2.1.4.2 มีข้าวหอมมะลิไม่ต่ำกว่า 95%2.1.5 ข้าวหอมมะลิคงกลิ่นหอมไว้ได้ โดยผู้ผลิตมีการควบคุมกระบวนการผลิต การบรรจุ อายุสินค้า และการระบุวันที่ควรบริโภคก่อน (best before) ที่จะทำให้สามารถมั่นใจในคุณภาพความหอมของข้าวได้
3. สินค้าประมง
3.1 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของปลานิล
3.1.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP (มกอช. 7405-2547)
3.1.2 ระบบการผลิตของโรงงานคัดบรรจุ แปรรูป ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP และ HACCP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)
3.1.3 ผลผลิตผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ปลานิล (มกอช. 7001-2547) ข้อ 3.1 คุณภาพขั้นต่ำที่ยอมรับได้ ทุกข้อ และมีคุณภาพเป็นไปตามคุณภาพชั้นพิเศษ (extra class) ข้อ 3.2.1 โดยไม่มีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน และไม่มีตำหนิ รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องการบรรจุผลิตผล สารปนเปื้อน ยาสัตว์ตกค้าง สุขลักษณะ และเครื่องหมายหรือฉลาก
3.1.4 คุณลักษณะพิเศษ
3.1.4.1 มีการกำหนดสัดส่วนปริมาณของเนื้อ (ค่าต่ำสุดของ % yield)
3.1.4.2 มีการกำหนดขนาดขั้นต่ำ (ไม่ต่ำกว่าตัวละ 300 g)
3.1.4.3 มีการกำหนดค่าความสด เช่น TVB หรือค่า K เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินคุณภาพสำหรับการให้เครื่องหมายรับรอง Q Premium
3.2 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของปลาแล่เยือกแข็ง
3.2.1 ปลาที่ใช้ทำปลาแล่เยือกแข็ง กรณีที่มาจากการเพาะเลี้ยง ฟาร์มเพาะเลี้ยงได้รับการรับรองระบบ GAP กรณีปลาที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือมาจากปลาที่ผ่านการทำเยือกแข็งมาแล้ว หรือเป็นวัตถุดิบนำเข้า มีคุณภาพด้านความปลอดภัย และมีการเก็บรักษาที่เหมาะสม ตามเกณฑ์ของหน่วยตรวจสอบรับรอง
3.2.2 ระบบการผลิตของโรงงานแปรรูป ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP และ HACCP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)
3.2.3 ผลิตภัณฑ์ปลาแล่เยือกแข็ง เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ปลาแล่เยือกแข็ง (มกอช.7014-2548)
3.2.4 คุณลักษณะพิเศษ
3.2.4.1 มีการกำหนดค่าความสดของผลิตภัณฑ์ปลาแล่เยือกแข็ง (TVB-N หรือค่า K)
3.2.4.2 ไม่มีการใช้สารประกอบฟอสเฟต โดยผู้ผลิตมีฐานข้อมูลของผลการวิเคราะห์สารประกอบฟอสเฟตตาม ธรรมชาติของปลาแต่ละชนิดที่นำมาแล่
3.2.4.3 ไม่พบข้อบกพร่อง (ตามที่ระบุในมาตรฐาน มกอช.7014-2548) คือ การสูญเสียน้ำ สิ่งแปลกปลอม ปรสิต ก้าง กลิ่น และรส ลักษณะเนื้อผิดปกติโดยสรุป ดังนี้
ตารางที่ 4 ข้อบกพร่องของปลาแล่เยือกแข็ง
ข้อบกพร่อง | |
1.การสูญเสียน้ำมาตรฐานที่พื้นที่ผิวต่อตัวอย่าง >10% หรือตามน้ำหนักบรรจุที่ระบุในมาตรฐาน | ไม่พบ |
2.สิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ชิ้นส่วนของปลา | ไม่พบ |
3.ปรสิต (ชนิด Capsular เส้นผ่านศูนย์กลาง >3 mm หรือชนิด uncapsular ที่ยาว >10mm) 2 ตัวต่อตัวอย่าง 1 kg | ไม่พบ |
4.ปลาแล่ไม่มีก้าง มีก้าง (ยาว 10mm หรือ 1mm) >1 ก้าง/kg | ไม่พบ |
5.กลิ่นและรสไม่พึงประสงค์ | ไม่พบ |
6.ลักษณะเนื้อผิดปกติ (เป็นเมือกวุ้นปริมาณความชื้น >86% หรือเนื้อนิ่มเละ >5% ต่อน้ำหนักหน่วยตัวอย่าง) | ไม่พบ |
3.3 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของกุ้งก้ามกราม
3.3.1 ระบบการผลิตโรงเพาะฟักและฟาร์ม ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน Code of Conduct (CoC)
3.3.2 กุ้งที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำธรรมชาตินั้นได้รับการรับรองจากหน่วยตรวจสอบรับรองและมีระบบติดตาม สินค้าหรือสอบกลับแหล่งที่มาได้
3.3.3 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุ สถานแปรรูปเบื้องต้น และหรือศูนย์กระจายสินค้า ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบ GMP และ HACCP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)
3.3.4 ผลผลิตผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง กุ้งก้ามกราม (มกอช. 7002-2548) ข้อ 4.1 คุณภาพทั่วไปที่ยอมรับได้ ทุกข้อ และมีคุณภาพเป็นไปตามคุณภาพชั้นพิเศษ (extra class) ข้อ 4.2.1 โดยไม่มีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน และไม่มีตำหนิ รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องการจัดเสนอผลิตผล สารปนเปื้อน ยาสัตว์ตกค้าง สุขลักษณะ และเครื่องหมายหรือฉลาก
3.3.5 คุณลักษณะพิเศษ
3.3.5.1 มีขนาดใหญ่ โดยจำนวนไม่เกิน 10 ตัว/kg
3.3.5.2 มีการกำหนดสัดส่วนปริมาณของเนื้อ (ค่าต่ำสุดของ % yield)
3.3.5.3 มีการกำหนดค่าความสด เช่น TVB-N หรือค่า K
3.4 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของปูม้า
3.4.1 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุ สถานแปรรูปเบื้องต้น และหรือศูนย์กระจายสินค้า ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP และ HACCP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)
3.4.2 ผลผลิตผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ปูม้า ข้อ 4.1 ข้อกำหนดทั่วไปทุกข้อ โดยปูตัวมีคุณภาพเป็นไปตามชั้นพิเศษ (extra class) ข้อ 4.2.1.1(1) และเนื้อปูมีคุณภาพเป็นไปตามชั้นพิเศษ (extra class) ข้อ 4.2.1.2(1) และไม่มีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องการบรรจุ สารปนเปื้อน สุขลักษณะ และเครื่องหมายหรือฉลาก
3.4.3 ปฏิบัติตามคำแนะนำวิธีการจับ การปฏิบัติบนเรือประมง การดูแลหลังการจับ และการขนส่งที่เหมาะสมสำหรับปูม้า ในภาคผนวก ฉ ของมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ปูม้า
3.4.4 คุณลักษณะพิเศษ
3.4.4.1 มีการกำหนดสัดส่วนปริมาณของเนื้อ (ค่าต่ำสุดของ % yield)
3.4.4.2 มีการกำหนดค่าความสด เช่น TVB-N หรือค่า K
3.4.4.3 มีการระบุความแน่นเนื้อ (น้ำหนักต่อขนาดตัว)
3.4.4.4 ปูตัว มีขนาดใหญ่ โดยจำนวนไม่เกิน 4 ตัว/kg
3.4.4.5 เนื้อปูก้อน มีขนาดใหญ่ โดยไม่ต่ำกว่า 10 g/ชิ้น และมีเนื้อก้อนแตกไม่เกิน 5 %
3.5 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของกุ้งเยือกแข็ง
3.5.1 กุ้งที่ใช้ทำกุ้งเยือกแข็ง กรณีที่มาจากการเพาะเลี้ยง ฟาร์มเพาะเลี้ยงได้รับการรับรองตามมาตรฐาน Code of Conduct (CoC) กรณีกุ้งที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือเป็นวัตถุดิบนำเข้า มีคุณภาพด้านความปลอดภัย และมีการเก็บรักษาที่เหมาะสม ตามเกณฑ์ของหน่วยตรวจสอบรับรอง
3.5.2 การจับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการทำการประมงอย่างมีความรับผิดชอบ (Code of Conduct for Responsible Fisheries) และมีระบบติดตามสินค้าหรือสอบกลับแหล่งที่มา
3.5.3 ระบบการผลิตของโรงงานแปรรูป ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน GMP และ HACCP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)
3.5.4 ผลิตภัณฑ์กุ้งเยือกแข็ง เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง กุ้งเยือกแข็ง
3.5.5 คุณลักษณะพิเศษ
3.5.5.1 มีการกำหนดค่าความสดของผลิตภัณฑ์กุ้งเยือกแข็ง (TVB-N หรือค่า K)
3.5.5.2 ไม่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารประเภทสารประกอบฟอสเฟต
3.5.5.3 ไม่พบข้อบกพร่อง (ตามที่ระบุในมาตรฐาน) คือ การสูญเสียน้ำ สิ่งแปลกปลอม กลิ่นและรสไม่พึงประสงค์ การเปลี่ยนสี โดยสรุปดังนี้
ตารางที่ 5 ข้อบกพร่องของกุ้งเยือกแข็ง
ข้อบกพร่อง | |
1.การสูญเสียน้ำ (deep dehydration) >10% โดยน้ำหนักต่อ หน่วยตัวอย่าง หรือ >10% ของพื้นที่ผิวของ block | ไม่พบ |
2.สิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ชิ้นส่วนของกุ้ง | ไม่พบ |
3.กลิ่นและรสไม่พึงประสงค์ | ไม่พบ |
4.การเปลี่ยนสีของกุ้งเกิด >10%ของพื้นที่ผิวต่อชิ้นกุ้งและ เกิดขึ้น >25% ของหน่วยตัวอย่าง | ไม่พบ |
ที่มา : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ตอนที่ 1
1.ขอบข่าย
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาตินี้ กำหนดหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายรับรอง Q และ Q Premium กับสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งเกณฑ์ข้อกำหนดการใช้เครื่องหมายรับรอง Q Premium กับ สินค้าเกษตรและอาหารแต่ละชนิด เฉพาะขอบข่ายของการรับรองผลิตภัณฑ์ (product certification)
2.บท นิยาม
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่ง ชาตินี้ มีดังต่อไปนี้
2.1 เครื่องหมายรับรอง Q หมายถึง เครื่องหมายรับรองที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศใช้เพื่อ แสดงถึงการให้การรับรองสินค้าเกษตรและอาหาร ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ประกาศโดยหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ในด้านความปลอดภัยอาหาร (food safety) และด้านคุณภาพที่จำเป็น (essential quality)
2.2 เครื่องหมายรับรอง Q Premium หมายถึง เครื่องหมายรับรองที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศใช้เพื่อแสดงถึงการให้การรับรองสินค้าเกษตรและอาหาร ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ประกาศโดยหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ในด้านความปลอดภัยอาหารและด้านคุณภาพที่จำเป็น นอกจากนี้สินค้าเกษตรและอาหารต้องมีการคัดแยกชั้นคุณภาพ หรือมีการผลิตและจัดการเป็นพิเศษ เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพอยู่ในระดับพิเศษ ตามเกณฑ์เฉพาะสินค้าที่กำหนดในมาตรฐานนี้
2.3 หน่วยรับรอง หมายถึง หน่วยตรวจสอบรับรองภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือหน่วยตรวจสอบรับรองอื่น ที่ได้รับการยอมรับความสามารถจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่ง ชาติ ที่มีหน้าที่และความสามารถในการตรวจประเมิน ให้การรับรองระบบและสินค้า และอนุญาตให้ผู้ขอรับการรับรองใช้เครื่องหมาย Q หรือ Q Premium ได้
3.การ ใช้เครื่องหมายรับรอง Q และ Q Premium
3.1 ผู้ที่ต้องการใช้เครื่องหมายรับรอง Q หรือ Q Premium กับสินค้าเกษตรและอาหาร จะต้องยื่นคำขอกับหน่วยรับรอง ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการที่หน่วยรับรองกำหนด
3.2 สินค้าเกษตรและอาหาร จะสามารถแสดงเครื่องหมายรับรอง Q หรือ Q Premium ได้ เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณี รวมทั้งเกณฑ์ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับสินค้าเกษตรและอาหารแต่ละชนิดตามที่ระบุไว้
3.3 เครื่องหมายรับรอง Q และ Q premium สามารถนำไปใช้กับสินค้าที่ได้รับการรับรอง โดยแสดงบนสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์สินค้านั้น โดยผู้ได้รับการรับรองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการรับรอง ผลิตภัณฑ์ และการแสดงเครื่องหมายรับรองที่หน่วยรับรองกำหนด
4.หลัก เกณฑ์การใช้เครื่องหมายรับรอง Q บนสินค้าเกษตรและอาหาร
4.1 การผลิตในระดับฟาร์มของสินค้าเกษตรต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการ เกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices; GAP) และได้รับการตรวจสอบรับรองโดยหน่วยรับรองที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง
4.2 การผลิตในระดับโรงงาน รวมทั้งโรงคัดบรรจุผักผลไม้ โรงฆ่าสัตว์ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติในการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practices; GMP) หรือมาตรฐานการวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤต (Hazard Analysis and Critical Control Points; HACCP) และได้รับการตรวจสอบรับรองโดยหน่วยรับรองที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง
4.3 ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมาย ต้องมีระบบการเรียกคืนหรือติดตามสินค้าได้ กรณีที่พบว่ามีปัญหา โดยใช้หลักการของการติดตามผลิตภัณฑ์ (product tracing / tractability)
4.4 สินค้าต้องถูกตรวจสอบคุณภาพที่จำเป็น และตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่น สารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน หรือสิ่งอันตรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ตามแผนการตรวจที่หน่วยรับรองกำหนด
4.5 มาตรฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจตามข้อ 4.1 - 4.4 ให้ใช้มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติที่ประกาศโดยกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ กรณีสินค้าเกษตรใดที่ยังไม่มีมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ให้ใช้มาตรฐานสากลหรือมาตรฐานอื่นที่ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
5.หลักเกณฑ์การใช้ เครื่องหมายรับรอง Q Premium บนสินค้าเกษตรและอาหาร
5.1 สินค้าและกระบวนการผลิตทั้งหมด ต้องได้ตามเกณฑ์ของการใช้เครื่องหมายรับรอง Q ตามข้อ 4
5.2 สินค้านั้นผ่านการคัดแยกระดับชั้นคุณภาพ (grading) และหรือผ่านกระบวนการผลิต บรรจุ ดูแลขนส่งเป็นพิเศษ ทำให้สินค้ามีคุณภาพอยู่ในระดับพิเศษ ตามที่ระบุไว้
5.3 ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมาย ต้องมีระบบการจัดการสินค้า เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่วางจำหน่ายยังคงคุณภาพตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ดัง ข้างต้น รวมถึงการระบุวันที่ผลิต บรรจุ หรือวันที่ควรบริโภคก่อน (best before) บนสินค้า รายละเอียดหลักเกณฑ์สินค้าแต่ละชนิด ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้
5.4 หน่วยรับรองควรกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การอนุญาตใช้เครื่องหมาย Q Premium โดยยึดหลักการประเมินความสามารถของผู้ประกอบการที่ยื่นขออนุญาตใช้เครื่อง หมาย Q Premium ในการผลิตการคัดแยกชั้นคุณภาพ การบรรจุ หรือการควบคุมดูแล ที่ทำให้มั่นใจในความสามารถของผู้ประกอบการ ทั้งนี้รวมถึงการตรวจติดตาม การนำเครื่องหมายไปใช้ของผู้ประกอบการ ให้เกิดความมั่นใจและความเชื่อถือโดยผู้บริโภค
เกณฑ์ข้อกำหนดการใช้เครื่องหมาย Q Premium กับสินค้าเกษตรและอาหารแต่ละชนิด
1.ผักและผลไม้
1.1 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของลำไย
1.1.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP (มกอช. 9001-2546 และ มกอช. 1000-2546)
1.1.2 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP 1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999)
1.1.3 ผลลำไยผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร เรื่อง ลำไย (มกอช. 1-2546) ข้อ 2.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชั้นพิเศษ (ข้อ 2.2.1) รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน การบรรจุและการจัดเรียงเสนอ การแสดงเครื่องหมายหรือฉลาก วัตถุเจือปนอาหาร สารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง และสุขลักษณะ
1.1.4 คุณลักษณะพิเศษ1.1.4.1 ขนาดผลใหญ่ (รหัสขนาด 1)
ตารางที่ 1 ข้อกำหนดเรื่องขนาดของลำไยช่อและลำไยผลเดี่ยว
รหัสขนาด จำนวนผล/กิโลกรัม เส้นผ่าศูนย์กลางผล (มิลลิเมตร) ลำไยช่อ ลำไยผลเดี่ยว (ตัดเหลือขั้ว) 1 <85 <91 >281.1.4.2 ความหวานวัดเป็นปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 16 °Brix
1.1.5 ถ้ามีการบรรจุเพื่อจำหน่าย หรือขนส่ง บรรจุภัณฑ์สามารถป้องกันการปลอมปนจากสินค้าต่างคุณภาพได้
1.1.6 ระบุวันที่บรรจุ และวันที่ควรบริโภคก่อน
1.2 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของสับปะรด
1.2.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP (มกอช. 9001-2546)
1.2.2 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP 1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999)
1.2.3 ผลสับปะรดผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง สับปะรด (มกอช. 4-2546) ข้อ 3.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชั้นพิเศษ (ข้อ 3.2.1) รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน การบรรจุและการจัดเรียงเสนอการแสดงเครื่องหมายหรือฉลาก สารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง และสุขลักษณะ
1.2.4 คุณลักษณะพิเศษ1.2.4.1 ความหวานวัดเป็นปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 12 °Brix
1.2.5 ระบุวันที่บรรจุ และวันที่ควรบริโภคก่อน
1.3 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของมะม่วง
1.3.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP (มกอช. 9001-2546)
1.3.2 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP 1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999)
1.3.3 ผลมะม่วงผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง มะม่วง (มกอช. 5-2546) ข้อ 2.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชั้นพิเศษ (ข้อ 2.2.1) รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน การบรรจุและการจัดเรียงเสนอ การแสดงเครื่องหมายหรือฉลาก สารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง และสุขลักษณะ
1.3.4 ถ้ามีการบรรจุเพื่อจำหน่าย หรือขนส่ง บรรจุภัณฑ์สามารถป้องกันการปลอมปนจากสินค้าต่างคุณภาพได้
1.3.5 ระบุวันที่บรรจุ และวันที่ควรบริโภคก่อน
1.4 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของมังคุด
1.4.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP (มกอช. 9001-2546)
1.4.2 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP 1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999)
1.4.3 ผลมังคุดผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง มังคุด (มกอช.2-2546) ข้อ 2.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชั้นพิเศษ (ข้อ 2.2.1) รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน การบรรจุ และการจัดเรียงเสนอ การแสดงเครื่องหมายหรือฉลาก สารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง และสุขลักษณะ
1.4.4 คุณลักษณะพิเศษ1.4.4.1 ความหวานวัดเป็นปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 14 °Brix
1.4.5 ถ้ามีการบรรจุเพื่อจำหน่าย หรือขนส่ง บรรจุภัณฑ์สามารถป้องกันการปลอมปนจากสินค้าต่างคุณภาพได้
1.4.6 ระบุวันที่บรรจุ และวันที่ควรบริโภคก่อน
1.5 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของเงาะ
1.5.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP (มกอช. 9001-2546)
1.5.2 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP 1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999)
1.5.3 ผลเงาะผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง เงาะ ข้อ 2.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชั้นพิเศษ (ข้อ 2.2.1) รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน การบรรจุ และการจัดเรียงเสนอ การแสดงเครื่องหมายหรือฉลากสารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง และสุขลักษณะ
1.5.4 คุณลักษณะพิเศษ1.5.4.1 ขนาดผลใหญ่ (รหัสขนาด 1)
ตารางที่ 2 ข้อกำหนดเรื่องขนาดของเงาะช่อและเงาะผลเดี่ยว
รหัสขนาด จำนวน ผล/กิโลกรัม เงาะช่อ เงาะ ผลเดี่ยว (ตัดเหลือขั้ว) 1 <29 <261.5.5 ถ้ามีการบรรจุเพื่อจำหน่าย หรือขนส่ง บรรจุภัณฑ์สามารถป้องกันการปลอมปนจากสินค้าต่างคุณภาพได้
1.5.6 ระบุวันที่บรรจุ และวันที่ควรบริโภคก่อน
1.6 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของทุเรียน
1.6.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP (มกอช. 9001-2546)
1.6.2 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP 1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999)
1.6.3 ผลทุเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ทุเรียน (มกอช. 3-2546) ข้อ 3.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชั้นพิเศษ (ข้อ 3.2.1) รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน การบรรจุและการจัดเรียงเสนอ การแสดงเครื่องหมายหรือฉลาก สารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง และสุขลักษณะ
1.6.4 คุณลักษณะพิเศษ1.6.4.1 ขนาดผลใหญ่ โดยผลทุเรียนแต่ละพันธุ์มีน้ำหนักต่อผลดังนี้
(1) พันธุ์ชะนี ไม่น้อยกว่า 1.5 kg และไม่มากกว่า 4 kg
(2) พันธุ์หมอนทองไม่น้อยกว่า 1.5 kg และไม่มากกว่า 6 kg
(3) พันธุ์ก้านยาวไม่น้อยกว่า 1.5 kg
(4) พันธุ์กระดุมทองไม่น้อยกว่า 1.3 kg1.6.5 ระบุวันที่บรรจุ และวันที่ควรบริโภคก่อน
1.7 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของลิ้นจี่
1.7.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP (มกอช. 9001-2546)
1.7.2 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP 1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999)
1.7.3 ผลลิ้นจี่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ลิ้นจี่ ข้อ 2.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชั้นพิเศษ (ข้อ 2.2.1) รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน การบรรจุและการจัดเรียงเสนอ การแสดงเครื่องหมายหรือฉลากสารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง และสุขลักษณะ
1.7.4 คุณลักษณะพิเศษ1.7.4.1 ขนาดผลใหญ่ (รหัสขนาด 1)
ตารางที่ 3 ข้อกำหนดเรื่องขนาดของลิ้นจี่
รหัสขนาด จำนวนผลต่อกิโลกรัม พันธุ์จักรพร รดิ์ พันธุ์ฮงฮวยพันธุ์ โฮเฮียะ พันธุ์ กิมเจ็ง พันธุ์ค่อม 1 <18 <33 <44 <40 <551.7.5 ถ้ามีการบรรจุเพื่อจำหน่าย หรือขนส่ง บรรจุภัณฑ์สามารถป้องกันการปลอมปนจากสินค้าต่างคุณภาพได้
1.7.6 ระบุวันที่บรรจุ และวันที่ควรบริโภคก่อน
1.8 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของหน่อไม้ฝรั่ง
1.8.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP (มกอช. 2500-2548)
1.8.2 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP 1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999)
1.8.3 หน่อไม้ฝรั่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง หน่อไม้ฝรั่ง (มกอช. 1500-2547) 2.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ และ มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชั้นพิเศษ (ข้อ 2.2.1) รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องขนาด เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน การบรรจุและการจัดเรียงเสนอ การแสดงเครื่องหมายหรือฉลาก สารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง และสุขลักษณะ
1.8.4 ระบุวันที่บรรจุ หรือวันที่ควรบริโภคก่อน
1.9 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของกระเจี๊ยบเขียว
1.9.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP (มกอช. 2501-2548)
1.9.2 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP 1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999)
1.9.3 กระเจี๊ยบเขียวผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง กระเจี๊ยบเขียว (มกอช. 1501-2547) ข้อ 2.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ และ มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชั้นพิเศษ (ข้อ 2.2.1) รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องขนาด เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน การบรรจุและการจัดเรียงเสนอ การแสดงเครื่องหมายหรือฉลาก สารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง และสุขลักษณะ
1.9.4 คุณลักษณะพิเศษ
1.9.4.1 เป็นฝักที่ไม่แก่ โดยมีความยาวฝัก (ไม่รวมก้านขั้ว) ไม่เกิน 10 cm หรือน้ำหนักต่อ 10 ฝักไม่เกิน100 g
1.9.5 ระบุวันที่บรรจุ หรือวันที่ควรบริโภคก่อน
1.10 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของพริก
1.10.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP (มกอช. 2502-2548)
1.10.2 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP 1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999)
1.10.3 พริกผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง พริก (มกอช. 1502-2547) ข้อ 2.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชั้นพิเศษ (ข้อ 2.2.1) รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องขนาด เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน การบรรจุและการจัดเรียงเสนอ การแสดงเครื่องหมายหรือฉลาก สารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง และสุขลักษณะ
1.10.4 คุณลักษณะพิเศษ1.10.4.1 มีความสม่ำเสมอในเรื่องขนาดของพริกที่บรรจุในภาชนะบรรจุเดียวกัน
1.10.5 ระบุวันที่บรรจุ หรือวันที่ควรบริโภคก่อน
ที่ มา สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
http://www.acfs.go.th/
ปลูกข้าวโพดหวาน...หลังบ้าน
ข้าวโพดหวาน...นอกจากจะปลูกเพื่อการ ค้าแล้ว ยังสามารถปลูกไว้รับประทาน เองในสวนหลังบ้านได้อีกด้วย โดย คุณเครือวัลย์ บุญเนิน แห่งกรมวิชาการเกษตร ได้เขียนวิธีการปลูกข้าวโพดหวานไว้ที่สวนหลังบ้านได้อย่างน่าสนใจ สมควรที่จะนำมาถ่ายทอดให้ผู้สนใจได้นำมาปลูกไว้เพื่อรับประทานเอง
คุณ เครือวัลย์ บอกว่า การปลูกไม่ต้องใช้พื้นที่มากนัก เริ่มต้นที่ 1 ตารางเมตรขึ้นไปก็ใช้ได้แล้ว แต่ต้องไม่มีน้ำท่วมขังและต้องมีแสงแดดส่องอย่าง น้อย 8 ชั่วโมง/วัน สำหรับพันธุ์นั้นเลือกได้ตามใจชอบหน่วยงานราชการก็มีพันธุ์จำหน่ายเหมือนกัน นะ เช่นที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เป็นต้น โดยที่ข้าวโพดหวานนี้สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีควรอยู่ในฤดูหนาวระหว่างเดือน พฤศจิกายน-มกราคม หรือต้นฤดูฝนระหว่างพฤษภาคม-กรกฎาคม นี่ก็ใกล้ถึงแล้ว เอ้าให้เวลาตัดสินใจสัก 2 เดือนเป็นไง
หากตัดสินใจได้แล้วว่าจะปลูก ในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้แน่ ๆ คุณเครือวัลย์เลยฝากวิธีการปลูกมาดังนี้ อย่างแรกต้องเตรียมดินก่อน โดยการใช้จอบขุดดินให้ลึกประมาณ 20-30 ซม. แล้วตากทิ้งไว้ 7-10 วัน หลังจากนั้นให้ย่อยดินเป็นก้อนเล็ก ๆ เก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงด้วย ถ้ามีปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกให้ผสมลงไปประมาณ 2-3 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. คลุกเคล้าให้เข้ากันเสร็จแล้วยกร่องเพื่อความสะดวกในการให้น้ำหรืออาจจะไม่ ยกร่องก็ได้ไม่เป็นไร
การปลูกให้ปลูกเป็นแถว ถ้ายังไม่ได้ยกร่องให้หาไม้มาขีดเป็นแนวโดยให้แนวห่างกัน 70-75 ซม. แล้วใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 ในดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือสูตร 15-15-15 ในดินร่วนปนทราย ประมาณ 1 ช้อนชา รองก้นหลุมพร้อมกับการ ปลูก ระวังอย่าให้เมล็ดถูกกับปุ๋ยโดยตรง คือหลังจากหยอดปุ๋ยแล้วควรกลบดินประมาณ 3 นิ้ว แล้วจึงหยอดเมล็ด นำเมล็ดวางตามแนวห่างกันหลุมละประมาณ 20-25 ซม. หลุมละ 1-2 เมล็ด อย่าหยอดให้ลึกเกินไปเพราะเมล็ดจะงอกช้า หรืออย่าหยอดตื้นจนเกินไปเมล็ดมันจะไม่งอกนะจ๊ะ และเมื่อปลูกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้รดน้ำให้ชุ่ม ในวันที่ 4-5 หลังจากปลูกแล้วจะได้รับความตื่นเต้นเพราะจะเห็นต้นข้าวโพดงอกออกมา เมื่อข้าวโพดหวานมีอายุประมาณ 10-14 วัน ให้ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม หรืออาจจะสลับเป็น 2 ต้นต่อหลุมบ้างก็ย่อมได้
เมื่อข้าวโพดอายุ 20 วัน ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (สูตร 46-0-0) ประมาณต้นละ 1 ช้อนชา หรืออาจจะใช้ปุ๋ยที่เหลือจากการเตรียมดินในปริมาณ 1 ช้อนชาโรยข้างต้นหรือข้างแถว ห่างจากต้นประมาณ 1 ฝ่ามือแล้วพรวนกลบในกรณีที่มีการระบายน้ำได้ดี แต่ถ้า ข้าวโพดหวานมีลักษณะต้นเตี้ยใบเหลือง ควรใส่ปุ๋ย ยูเรียอีกครั้งประมาณต้นละ 1 ช้อนชา เมื่อข้าวโพดอายุ 40-45 วัน
การ ให้น้ำนั้นควรให้น้ำทุก 3-5 วัน และหลังการใส่ปุ๋ยทุกครั้งต้องให้น้ำทันที ควรระวังอย่าให้ขาดน้ำในช่วงผสมเกสรและติดเมล็ดเพราะจะทำให้ ผลผลิตลดลงมาก สำหรับโรคและแมลง นั้น ข้าวโพดหวานไม่ค่อยจะมีโรคและแมลงรบกวนเท่าใดนัก โรคที่สำคัญได้แก่ โรครา น้ำค้างและโรคใบลาย ส่วนแมลงนั้นได้แก่ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด โดยจะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ข้าวโพดอายุ 20 วันถึงระยะเก็บเกี่ยว ถ้าพบควรใช้มือจับทำลาย
ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากจะมีผลเกี่ยวเนื่องกับรสชาติของ ข้าวโพดหวาน เพราะถ้าเก็บข้าวโพดหวานอ่อนเกินไปจะทำให้ไม่หวานเท่าที่ควร และถ้าเก็บช้าเกินไปข้าวโพดหวานก็จะหวานน้อยลงและอาจจะเหนียวและแข็ง ซึ่งระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวคือ 18-20 วันหลังออกไหม 50% หรือสังเกตจากสีของไหมจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มและเพื่อความแน่ใจอาจฉีก เปลือกข้าวโพดดูว่าเมล็ดเต็ม เต่ง หรืออ่อนไปหรือไม่ และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วควรรับประทานทันทีหรืออาจเก็บไว้ 1-2 วันในตู้เย็นโดยไม่ต้องปอกเปลือก
สำหรับการต้มฝักสดรับประทานนั้น ต้อง ต้มน้ำให้เดือดก่อนแล้วจึงนำข้าวโพดหวานใส่ลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 5-7 นาที ก็สามารถรับประทานได้และสามารถเพิ่มรสชาติด้วยการจุ่มลงในน้ำเกลือหรือทาเนย ก็แสนอร่อยแล้วแต่คนชอบ
ข้าวโพดหวานยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารได้ อีกสารพัด....อยากจะปลูกไว้หลังบ้านไหมล่ะ
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 14 มีนาคม 2550