วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Top Rank ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น กับการสูญสิ้นความหลากหลายทางชีวภาพ


จอกหูหนูยักษ์(Giant salvinia) เป็นวัชพืชร้ายแรงสุด

ชนิดหนึ่งของโลก มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา

เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเบียดแน่นเป็นแพขนาดใหญ่

ทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงด้านล่าง ออกซิเจนละลาย

ลงสู่แหล่งน้ำได้น้อย
(ภาพ : ดร.ศิริพร ซึงสนธิพร)

องค์การสหประชาชาติประกาศให้ปี ค.ศ. ๒๐๑๐ ที่เพิ่งผ่านพ้นไป เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ (International Year of Biodiversity) เพื่อเสริมสร้างความตระหนักในความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากพบว่ามีปัจจัยหลายประการก่อให้เกิดการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ ของโลก อาทิ การบุกรุกพื้นที่ป่า การทำกสิกรรมเชิงเดี่ยว โรคระบาด ภาวะโลกร้อน ตลอดจนการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species)

ปัจจุบันประเทศไทยมีสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นกว่า ๓,๕๐๐ ชนิด และยังมีผู้นำชนิดพันธุ์ต่างถิ่นใหม่ ๆ เข้ามาอยู่ตลอดเวลา ส่วนใหญ่เพื่อใช้ในการเกษตร เป็นสัตว์เลี้ยง ไม้ดอกไม้ประดับ หรือเก็บรวบรวมไว้ที่สวนสัตว์และสวนพฤกษศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์

ศ.ดร. สมศักดิ์ ปัญหา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสถานการณ์การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่กำลังเป็นภัยคุกคามความ หลากหลายทางชีวภาพของไทยและของโลกว่า “ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นหมายถึงชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยปรากฏในถิ่นชี วภูมิศาสตร์หนึ่งมาก่อน แต่ถูกนำเข้ามาหรือเข้ามาเองโดยวิธีใด ๆ จากแหล่งอื่น การดำรงอยู่หรือสืบพันธุ์ของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและ ความสามารถในการปรับตัวในแหล่งใหม่

“ปรกติการเคลื่อนย้ายของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์เกิดขึ้นอยู่ ตลอดเวลา ทั้งโดยธรรมชาติและจากน้ำมือของมนุษย์ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นบางชนิดเข้ามาในประเทศไทยแล้วกลายเป็นสินค้าเศรษฐกิจ อาทิ ข้าวโพด อ้อย ชุมเห็ดเทศ เป็ดเทศ เมื่อเราได้ประโยชน์จึงไม่รู้สึกว่าถูกคุกคาม แตกต่างจาก ‘ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน’ ที่เข้ามาแล้วสามารถตั้งถิ่นฐาน แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง กลายเป็นชนิดพันธุ์เด่นในสิ่งแวดล้อมใหม่ที่อาจทำให้ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นสูญ พันธุ์ คุกคามความหลากหลายทางชีวภาพเดิม”


จอกหูหนูยักษ์ (สีเขียวเข้มกลางภาพ) เจริญเติบโตปกคลุมผิวน้ำ

แม่น้ำแม่กลองบริเวณวัดท่าล้อ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

เมื่อกลางปี ๒๕๕๓ ส่งผลกระทบต่อพืชพันธุ์ท้องถิ่น

อาทิ ตับเต่า ต้อยติ่งสาย
(ภาพ : ดร.ศิริพร ซึงสนธิพร)


มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๒ เรื่องมาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่น นิยามหลักเกณฑ์การจัดกลุ่มชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทยออกเป็น ๔ รายการ ประกอบด้วย

รายการที่ ๑ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานแล้ว อาทิ หงอนไก่ฝรั่ง สาบเสือ เชื้อโรคแท้งติดต่อในโค มดคันไฟ หอยทากยักษ์แอฟริกา ปลาซักเกอร์หรือปลากดเกราะ ปลาช่อนแอมะซอน เต่าแก้มแดง นกพิราบ นกกระจอกใหญ่ เป็นต้น

รายการที่ ๒ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีแนวโน้มรุกราน อาทิ ผักเป็ดแดง กุ้งขาว ผีเสื้อหนอนเจาะผลเงาะ เพลี้ยแป้งอ้อย หอยนักล่าสีส้ม ปลาเทราต์สายรุ้ง
ปลาหางนกยูงไต้หวัน กบบูลฟร็อก นากหญ้า เป็นต้น

รายการที่ ๓ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีประวัติว่ารุกรานแล้วในประเทศอื่นแต่ยังไม่รุกรานใน ประเทศไทย อาทิ ป่านมะนิลา บุหงาส่าหรี ถั่วคุดสุ หอยนักล่าสีชมพู ปลาปิรันยา อีกัวนา นกหงส์หยก นกกิ้งโครงพันธุ์ยุโรป เป็นต้น

รายการที่ ๔ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานที่ยังไม่เข้ามาในประเทศไทย อาทิ โรคราของกุ้ง ผักแว่นใบใหญ่ เพลี้ยไฟกล้วยไม้ มดอาร์เจนตินา ต่อยุโรป หอยกะพงเมดิเตอร์เรเนียน กระรอกสีเทา เป็นต้น

ดร. ศิริพร ซึงสนธิพร นักวิชาการเกษตรชำนาญการ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ยกตัวอย่างจอกหูหนูยักษ์ เฟินน้ำต่างถิ่นที่พบการระบาดในแม่น้ำแม่กลอง ว่า “จอกหูหนูยักษ์เป็นวัชพืชน้ำร้ายแรงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก เติบโตและขยายพันธุ์เร็ว กำจัดยาก เพราะต้นที่หักเพียง ๑ เซนติเมตรสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ทันที ในเวลา ๓ เดือนเพิ่มน้ำหนักสดได้ถึง ๖๔ ตันต่อไร่ ใกล้เคียงกับผักตบชวา รอบปีที่ผ่านมาพบการแพร่ระบาดในแม่น้ำแม่กลอง ปกคลุมพืชท้องถิ่น อาทิ ตับเต่า-ผักพื้นบ้านที่ชาวบ้านนิยมเก็บมารับประทานจิ้มน้ำพริก ต้อยติ่งสาย-พันธุ์ไม้น้ำสวยงามพบเฉพาะลุ่มน้ำภาคกลาง

“นอกจากนี้ยังพบว่าสถานที่ที่มีจอกหูหนูยักษ์ขึ้นหนาแน่น น้ำจะเริ่มเน่า ปลาจะหายไป พันธุ์ไม้ใต้น้ำไม่มีการสังเคราะห์แสง สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ จึงอาจสูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำนั้น เพราะชั้นที่มีความหนา ๓๐-๔๐ เซนติเมตร ทำให้แสงแดดและอากาศไม่สามารถลอดผ่านลงไปได้ ขอเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวัง พบเห็นที่ใดให้แจ้งทางการหรือกำจัดออกจากแหล่งน้ำด้วยการนำไปตากแห้งแล้วเผา หรือฝังกลบ”

โสมวรรณ สุขประเสริฐ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงแนวทางป้องกันปัญหาการรุกรานจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในภาพรวมว่า “ปัญหาการแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นมักเกิดจากความไม่รู้ รวมถึงการลักลอบนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นแล้วปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมตาม ธรรมชาติ โดยขาดความตระหนักต่อผลกระทบของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานสิ่งแวดล้อม แผนการต่อไปของสำนักฯ คือการศึกษาว่าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นคุกคามและส่งผลกระทบต่อชนิดพันธุ์อื่นใน ประเทศอย่างไร จำนวนเท่าไร มีผลต่อสังคม เศรษฐกิจ คิดเป็นมูลค่าเท่าไร เพื่อให้มีหลักฐานเป็นรูปธรรมสำหรับนำข้อมูลมาเผยแพร่และสร้างความตระหนัก ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือการหาวิธีควบคุมและกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานแล้วใน ประเทศไทย”

ที่มา http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=1070

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พัฒนาสารเคลือบเมล็ดพันธุ์

พัฒนาสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ อัตราการงอกดี..เก็บไว้ได้นาน ปัจจุบันวงการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสภาพภูมิอากาศในบ้านเราเหมาะแก่การผลิต เกษตรกรหลายรายต่างหันมาเก็บเมล็ดพันธุ์ขยาย เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งมุ่งที่จะส่งออกด้วยเช่นกัน

พัฒนาสารเคลือบเมล็ดพันธุ์

ฉะนี้แล้วเพื่อการยกระดับสินค้าเมล็ดพันธุ์ให้มีความ ทัดเทียมเทียบกับบริษัทต่างประเทศ รศ.ดร.บุญมี ศิริ และ น.ส.ธิดารัตน์ แก้วคำ นักศึกษา คปก.สังกัดภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้ร่วมกันพัฒนา สูตรสารเคลือบและวิธีการเคลือบที่ใช้กับพืชตระกูลแตง เพื่อใช้ในธุรกิจเมล็ดพันธุ์ รวมทั้งศึกษาคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลแตงหลังจากการเคลือบเมล็ด และอายุการเก็บรักษาในภาชนะบรรจุและสภาพแวดล้อมขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

รศ.ดร.บุญ มี เปิดเผยว่า ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาไทยเราส่งเมล็ดพันธุ์ที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด คือ เมล็ดพันธุ์พืชไร่ รองลงมาเป็นเมล็ดพันธุ์ผักมาก เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และเป็นอันดับที่ 12 ของโลก คิดเป็นมูลค่าโดยรวมเฉลี่ยที่ 7,000 ล้านบาท/ปี เพื่อยกระดับสินค้าให้มีความทัดเทียมเทียบกับบริษัทต่างประเทศ จึงนำวิทยาการใหม่ๆ อย่างการเคลือบเมล็ดพันธุ์ (seed coating) ที่พัฒนามาจากการเคลือบยา โดยใช้พอลิเมอร์ที่มีความเหนียวและมีส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ชนิดต่างๆ ประกอบด้วยธาตุอาหาร สารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อโรค จากนั้นจึงเคลือบชั้นนอกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้การเคลือบเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งวิธีดังกล่าวช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีในช่วงระยะต้นกล้า เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและแมลงให้กับเมล็ดพันธุ์ที่ปลูกได้

พัฒนาสารเคลือบเมล็ดพันธุ์

น.ส.ธิดารัตน์ กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาสูตรสารเคลือบและวิธีการเคลือบที่ใช้กับพืชตระกูลแตงว่า เริ่มแรกนั้นศึกษาตัวพอลิเมอร์ที่มีความเหมาะสมที่สุดในการเคลือบ พร้อมทั้งทำการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตงกวา และเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ศึกษาถึงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการเคลือบหลังจากการเก็บรักษา แล้วเตรียมสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ประกอบด้วย โพลีเอทิลีน ไกลคอล 600 (Polyethylene glycol 600) สารก่อฟิล์ม ทัลคัม (Talcum) ไททาเนียมไดออกไซด์ (TiO2) และ สี

แล้วนำมาประเมินผลในลักษณะต่างๆ เช่น ค่า pH ความหนืดของสารเคลือบ เป็นต้น ก่อนนำไปเคลือบเมล็ดพันธุ์แตงลูกผสมด้วยเครื่องเคลือบ SKK08 จากนั้นนำเมล็ดเคลือบสารไปลดความชื้นด้วยเครื่องลดความชื้นแบบลมแห้ง แล้วจึงนำไปตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ ความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในห้องปฏิบัติการ ความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในสภาพโรงเรือนดัชนีการงอกความชื้นของเมล็ด พันธุ์หลังจากการเคลือบ

นอกจากนี้ยังต้องมีการทดลองเคลือบกับสารป้องกันโรคและศึกษาประสิทธิภาพ ของการป้องกันโรคของเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบสารทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและใน โรงเรือน พบว่าเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วยพอลิเมอร์ชนิดละลายน้ำมีเปอร์เซ็นต์ความงอก ที่เพาะในสภาพห้องปฏิบัติการและในสภาพโรงเรือนไม่มีความแตกต่างกันกับเมล็ด พันธุ์ที่ไม่เคลือบสาร ส่วนอายุการเก็บรักษาอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน ความงอก 80-90 เปอร์เซ็นต์

งานวิจัยดังกล่าวนอกจากเป็นการสร้างเอกลักษณ์ของพันธุ์พืช ยังทำให้เกษตรกรทั้งในและต่างประเทศต่างให้ความสนใจ

ที่มา

ไทยรัฐ

http://www.kasetorganic.com

ปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วย

ดร.เหวียน บา ฮุง (Dr.Nguyen Ba Hung) เป็นผู้ปลูกผักที่ได้มาตรฐานของยุโรปเพียงรายเดียวที่อยู่ในประเทศเวียดนาม โดย ดร.ฮุง สำเร็จการศึกษาทางด้านพันธุศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และมีความสนใจทางด้านการเกษตรมาก เมื่อสำเร็จการศึกษาก็ไม่ยอมไปเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัย หันมายึดอาชีพเป็นเกษตรกรเสียเอง ทั้งนี้ เพราะท่านมีความรักและสนใจอาชีพการเกษตร ประกอบกับท่านอยากจะช่วยเหลือเกษตรกรพี่น้องของท่านที่ยังยากจนและขาดความ รู้ทางด้านการพัฒนาเกษตรแผนใหม่

เพื่อพัฒนาให้ทันต่อสถานการณ์ของโลก ท่านได้พัฒนาฟาร์มของท่านเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรรอบๆ ฟาร์ม โดยเริ่มพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่และหาได้ในท้องถิ่น แม้แต่โครงของโรงเรือนปลูกผักก็ทำด้วยไม้ไผ่ แต่ท่านก็สามารถได้มาตรฐาน UREPGAP

ท่านเพาะปลูกพืชผัก ทั้งผักกินใบและผักกินผล รวมทั้งสิ้น 89 ชนิด โดยเน้นพืชผักที่เก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุน้อยๆ และพืชผักที่มีขนาดเล็กที่เรียกว่า “เบบี้” (baby vegetable) มีเกษตรกรที่อยู่ในเครือ (Contract farmer) ของท่าน จำนวน 12 ครอบครัว โดยแต่ละครอบครัวมีพื้นที่เพาะปลูกผัก ครอบครัวละ 2 เฮกตาร์ หรือประมาณ 12 ไร่เศษ ผลิตผักต่างๆ ได้สัปดาห์ละ 5 ตัน เมล็ดพันธุ์ผักส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทางยุโรป เช่น ฮอลแลนด์ และฝรั่งเศส

ปลูกผักไร้ดิน บนต้นกล้วย

การปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วย ไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย วิธีนี้เป็นงานทดลองของ ดร.ฮุง กับหุ้นส่วนของท่าน โดยปกติแล้วเกษตรกรจะตัดต้นกล้วยทิ้งทุกครั้งที่ตัดเครือกล้วยออก แต่ ดร.ฮุง เห็นว่าเป็นการสูญเสียไปเปล่าๆ โดยที่ไม่ได้อะไร ดังนั้น เมื่อตัดเครือกล้วยแล้ว (จะเป็นกล้วยน้ำว้าหรือกล้วยอะไรก็ได้) ท่านจึงได้เจาะรูที่ต้นกล้วยในลักษณะทแยงลงไป ให้รูมีขนาดเท่าพอดีที่จะเอาต้นกล้า (ผักสลัด) ยัดใส่ลงไปในรูของต้นกล้วยที่เจาะไว้ได้ โดยจำนวนรูที่จะเจาะหรือจำนวนผักที่จะปลูกมากหรือน้อย ไม่สามารถบอกได้ ท่านให้ดูขนาดของต้นกล้วยว่าใหญ่หรือเล็ก จากนั้นก็ไม่ต้องรดน้ำให้ผักที่ปลูก หรือรดน้ำให้ต้นกล้วยแต่อย่างใด จะทำเพียงอย่างเดียวคือ คอยค้ำยันไม่ให้ต้นกล้วยล้มเท่านั้น

หลังจากนั้น ประมาณ 30 วัน (ขึ้นอยู่กับอายุของผักที่ปลูก) ก็เก็บเกี่ยวผักไปขายได้เลย ท่านบอกว่าผักสลัดที่ท่านทดลองปลูกมีรสชาติดีมาก หวาน และกรอบ ใบเป็นเงางาม ทั้งนี้ เป็นเพราะต้นกล้วยมีธาตุโพแทสเซียมสูงนั่นเอง วิธีนี้เกษตรกรท่านใดจะเอาไปทดลองปลูกก็ได้ แต่อายุผักที่ปลูกไม่ควรจะยาวนานเกิน 40 วัน เพราะต้นกล้วยจะโทรมและเหี่ยวแห้งตายเสียก่อน ผักที่ปลูกควรเป็นผักกินใบที่ไม่ต้องการแสงแดดที่แรงมากนัก เพราะใบของกล้วยจะช่วยพรางแสงแดดได้บางส่วน

ที่มา http://www.kasetorganic.com



วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้าวไม่ต้องหุง

การพัฒนาข้าวไม่ต้องหุงจากข้าวนึ่งดำเนินการที่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ โดยใช้ข้าวเปลือก 4 พันธุ์ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 กข39 ข้าวหลวงสันป่าตอง และขาหนี่ ภายใต้กระบวนการแปรรูปเป็นข้าวนึ่งที่ทำให้สุกด้วยไอน้ำ ลดความชื้น และนำไปสี ให้เป็นข้าวสารก่อน เมื่อต้องการบริโภคจะนำมาทำให้คืนตัวเป็นข้าวสุก ซึ่งการวัดการคืนตัว

โดยการนำข้าวนึ่งแช่น้ำร้อน ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส อัตราข้าว 1 ส่วนต่อน้ำ 1 ส่วน โดยปริมาตร และแช่ในน้ำเย็นที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ในระยะเวลาต่างๆ กัน พบว่าข้าวทั้ง 4 พันธุ์ ไม่มีความแตกต่างกันในการคืนตัวเป็นข้าวสุก ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ในเวลาตั้งแต่ 15 นาทีหลังแช่ และมีความนุ่มของเนื้อแป้งโดยการสัมผัสดีขึ้นที่ เวลา 20 นาทีขึ้นไป ส่วนการแช่ข้าวนึ่งในน้ำเย็นที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ 45 นาทีหลังแช่ มีความนุ่มของเนื้อแป้งดี โดยมีอัตราการยืดตัว 1.2 – 1.3 เท่า




ที่มา http://www.brrd.in.th/main/rice-interested-story/240-instant-cooking-rice.html

พันธุ์ข้าวรับรองใหม่ 5 พันธุ์

ข้าวเจ้าพันธุ์ กข45

ประวัติ

ข้าวเจ้าพันธุ์ กข45 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวสายพันธุ์ PCRBR83012–267-5 (ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวพันธุ์หอมนายพล กับ IR46) กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรีเมื่อ ปี 2532 ปลูกข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 1 ปี 2533 ปลูกคัดเลือกชั่วอายุที่ 2-5 ปี 2534-2537 ปลูกศึกษาพันธุ์ ปี 2538–2540 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ปี 2541–2543 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตใน นาราษฎร์ที่ อำเภอเมือง และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอเมือง และอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ปี 2544–2548 ปลูกทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน ปี 2547-2550 ปลูกทดสอบความสามารถการยืดปล้อง ปี 2548–2549 ปลูกทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว ปี 2551-2552 ผลิตเมล็ดพันธุ์คัดและปลูกประเมินผลผลิตและการยอมรับของเกษตรกรภายใต้ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีจำนวน 100 แปลง ที่อำเภอต่างๆ ของจังหวัดปราจีนบุรี ปี 2552/53 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ กข45 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นข้าวเจ้าน้ำลึกไวต่อช่วงแสงออกดอกประมาณวันที่ 25 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน ปลูกในพื้นที่ที่มีระดับน้ำไม่เกิน 100 เซนติเมตร มีความสามารถยืดปล้องได้ดีที่ระดับน้ำ 90 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง ต้นแข็งปานกลาง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาว 27.7 เซ็นติเมตร เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.2 มิลลิเมตร กว้าง 2.73 มิลลิเมตร และหนา 2.09 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียว ยาว 7.44 มิลลิเมตร กว้าง 2.33 มิลลิเมตร และหนา 1.83 มิลลิเมตร คุณภาพการสีดีมาก เมล็ดข้าวขาวใส มีท้องไข่น้อย สีเป็นข้าว 100% ได้ ปริมาณอมิโลสต่ำ (16.35%) อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน (80 มม.) อัตราการยืดตัวของข้าวสุก 1.67 เท่า ข้าวเมื่อหุงต้มด้วยอัตราส่วน ข้าวต่อน้ำเป็น 1 ต่อ 1.7 เท่า(โดยน้ำหนัก)นุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอม ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 9 สัปดาห์

ผลผลิต ประมาณ 520 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

1. เป็นข้าวเจ้าน้ำลึกที่มีผลผลิตสูง

2. สามารถปลูกได้ทั้งในนาน้ำตื้นและน้ำลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร

3. เมล็ดยาวเรียว คุณภาพการสีดีมาก มีท้องไข่น้อย คุณภาพหุงต้มรับประทานดี ข้าวสุกนุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอม

พื้นที่แนะนำ เหมาะสำหรับพื้นที่นาน้ำฝนภาคกลาง ภาคตะวันออกที่มีระดับน้ำในนาไม่เกิน 100 เซนติเมตร น้ำในนาควรแห้งช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน

ข้อควรระวัง อ่อนแอมากต่อโรคไหม้ และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไม่แนะนำให้มีการปลูกในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


ข้าวเจ้าพันธุ์ กข47

ประวัติ

ข้าวเจ้าพันธุ์ กข47 ได้จากการผสม 3 ทางระหว่าง ลูกผสมชั่วที่ 1 ของสุพรรณบุรี 1 กับ IR64 นำไปผสมกับ CNT86074-25-9-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทในฤดูนาปี 2539 ปลูกชั่วอายุที่ 1 ในฤดูนาปี 2540 ปลูกคัดเลือกตั้งแต่ชั่วอายุที่ 2 จนได้เมล็ดพันธุ์ชั่วที่ 3 ที่ศูนย์วิจัยข้าวข้าวชัยนาท ปลูกคัดเลือกชั่วอายุที่ 4-5 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2542 ถึง ฤดูนาปรัง 2542 และปลูกศึกษาพันธุ์ ฤดูนาปรัง 2543 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ฤดูนาปี 2544 – 2545 จากนั้นนำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์วิจัยข้าวข้าวชัยนาท และศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี ในฤดูนาปี 2546-2551 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร ชัยนาท สิงห์บุรี อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ และกำแพงเพชร ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2548 ถึงฤดูนาปี 2551 ทดสอบผลผลิตและการยอมรับของเกษตรตั้งแต่ฤดูนาปี 2549 ถึงฤดูนาปรัง 2551 ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี และสุพรรณบุรี ทดสอบเสถียรภาพผลผลิตในฤดูนาปี 2550 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แพร่ อุบลราชธานี สกลนคร สุรินทร์ ปทุมธานี สุพรรณบุรี และพัทลุง คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ กข47 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงอายุ 104-107 วัน (หว่านน้ำตม) และ 112 วัน(ปักดำ) มีลักษณะกอตั้ง ความสูง 90-100 เซนติเมตร ลำต้นแข็งมาก ใบสีเขียว มุมใบธงกว้างปานกลาง รวงยาว 30.0 เซนติเมตร ค่อนข้างแน่น คอรวงโผล่เล็กน้อย ข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.4 มิลลิเมตร กว้าง 2.52 มิลลิเมตร หนา 2.08 มิลลิเมตร ข้าวกล้องรูปร่างเรียว ยาว 7.94 มิลลิเมตร กว้าง 2.13 มิลลิเมตร หนา 1.81 มิลลิเมตร ข้าวสารยาว 7.76 มิลลิเมตร กว้าง 2.05 มิลลิเมตร หนา 1.73 มิลลิเมตร มีอมิโลสสูง (26.81%) ข้าวเมื่อหุงสุกมีลักษณะสีขาวนวลไม่เลื่อมมัน ค่อนข้างร่วนและแข็ง

ผลผลิต เฉลี่ย 793 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

1. ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี

2. ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดีกว่า กข41 และค่อนข้างต้านโรคไหม้ดีกว่าพิษณุโลก 2

3. คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดีเป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีถึงดีมาก สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้

พื้นที่แนะนำ เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเป็นทางเลือกของเกษตรกร ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้

ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชีวชนิดที่ 5 และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากจังหวัดนครปฐม อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรครุนแรง และค่อนข้างอ่อนแอต่อเชื้อสาเหตุโรคไหม้ในภาคกลาง ไม่ทนอากาศเย็นจึงไม่ควรปลูกในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน


ข้าวเจ้าพันธุ์ ช่อลุง 97

ประวัติ

ข้าวเจ้าพันธุ์ ช่อลุง 97 เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดในจังหวัดปัตตานี และ สงขลา ปี 2542 ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานีได้เก็บรวบรวมพันธุ์จากแปลงเกษตรกร อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นแหล่งที่เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์นี้มากที่สุด นำมาปลูกศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์โดยวิธีการคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure line selection) ฤดูนาปี 2542/43 ปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบรวงต่อแถว จำนวน 100 รวง คัดเลือกได้รวงที่ 97 ใช้ชื่อสายพันธุ์ PTNC99024-97 ฤดูนาปี 2543/44 ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นต้น ฤดูนาปี 2544/45 ปลูกเปรียบพันธุ์ขั้นสูง ฤดูนาปี 2545/46 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ฤดูนาปี 2546/47 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิต ระหว่างสถานี ในนาราษฎร์ ทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี ทดสอบการตอบสนองต่ออัตราปุ๋ยไนโตรเจน ทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร และการยอมรับของเกษตรกร คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ ช่อลุง 97 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ออกดอกปลายเดือนมกราคม ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 564 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูงประมาณ 197 เซนติเมตร ลักษณะทรงกอตั้ง ใบและกาบใบสีเขียว คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ปลายยอดดอกสีขาว รวงยาว 35.2 เซนติเมตรน้ำหนักข้าวเปลือก 10.61 กิโลกรัมต่อถัง ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด หนัก 22.52 กรัม ข้าวเปลือกสีเหลืองยาว 10.22 มิลลิเมตร กว้าง 2.45 มิลลิเมตร หนา 1.90 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาวรูปร่างเรียว ยาว 7.12 มิลลิเมตร กว้าง 2.05 มิลลิเมตร หนา 1.67 มิลลิเมตร ท้องไข่ปานกลาง (1.35) คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวร้อยละ 45.7 ปริมาณอมิโลสปานกลาง (23.9%) ลักษณะข้าวสวย ผิวค่อนข้างมัน การเกาะตัวค่อนข้างเหนียว เนื้อสัมผัสนุ่ม มีระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ 5 สัปดาห์

ผลผลิต เฉลี่ย 564 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

1. มีคอรวงยาวเหมาะสำหรับการเก็บเกี่ยวด้วยแกระ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังนิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน

2. คุณภาพเมล็ดดี คุณภาพการสีดี คุณภาพการหุงต้มข้าวสุกร่วน ตรงกับรสนิยมในการบริโภคข้าวของประชากรในพื้นที่

พื้นที่แนะนำ เหมาะสำหรับปลูกในสภาพนาสวนนาน้ำฝนฤดูนาปี บริเวณที่ราบในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสงขลา

ข้อควรระวัง ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้ และอ่อนแอมากต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


ข้าวเจ้าพันธุ์ ไข่มดริ้น 3

ประวัติ

ข้าวเจ้าพันธุ์ ไข่มดริ้น 3 เป็นข้าวพื้นเมืองที่ได้รวบรวมจากจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยศูนย์วิจัยข้าวนครศรีธรรมราช ได้เก็บตัวอย่างพันธุ์ จาก 4 อำเภอ ฤดูนาปี พ.ศ. 2538/2539 ปลูกคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure line selection) ฤดูนาปี พ.ศ. 2539/2540 ปลูกศึกษาพันธุ์ คัดเลือกได้สายพันธุ์จากแหล่งเก็บอำเภอร่อนพิบูลย์ แถวที่ 3 คือสายพันธุ์ NSRC95001-1-3 ฤดูนาปี พ.ศ. 2540/2541 เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ที่ศูนย์วิจัยข้าวนครศรีธรรมราช ฤดูนาปี พ.ศ. 2541/2542 - 2545/2546 เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ที่ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง นครศรีธรรมราช ปัตตานี และกระบี่ วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี ปี พ.ศ. 2543 - 2548 ทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้งและ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ฤดูนาปี พ.ศ. 2546/2547 - 2548/2549 เปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัตตานี และนราธิวาส ฤดูนาปี พ.ศ. 2548/2549 - 2550/2551 ทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ ไข่มดริ้น 3 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง วันออกดอกกลางเดือนมกราคม เก็บเกี่ยวกลางเดือนกุมภาพันธ์ ความสูงประมาณ 176 เซนติเมตร ลักษณะทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียวเข้ม ใบธงอยู่ในแนวนอน รวงยาว 31.2 เซนติเมตร ลักษณะรวงค่อนข้างแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว เปลือกเมล็ดสีน้ำตาล น้ำหนักข้าวเปลือกต่อถัง 11.2 กิโลกรัม ข้าวเปลือกยาว 9.47 มิลลิเมตร กว้าง 2.54 มิลลิเมตร หนา 1.96 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาว รูปร่างเรียว ยาว 6.93 มิลลิเมตร กว้าง 2.07 มิลลิเมตร หนา 1.72 มิลลิเมตร ท้องไข่น้อย (0.52) คุณภาพการสีดีมาก ให้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวร้อยละ 56.1 ปริมาณอมิโลสปานกลาง(21.8 %) ระยะพักตัวเมล็ดพันธุ์ 2 สัปดาห์

ผลผลิต เฉลี่ย 436 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

1. ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เล็บนกปัตตานี ร้อยละ 18

2. คุณภาพเมล็ดดี มีท้องไข่น้อย ข้าวสวยค่อนข้างร่วนและค่อนข้างนุ่ม

พื้นที่แนะนำ เขตปลูกข้าวเพื่อบริโภค ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงที่มีนิเวศการปลูกข้าวคล้ายกัน

ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคไหม้


ข้าวเหนียวพันธุ์ กข16

ประวัติ

ข้าวเหนียวพันธุ์ กข16 ได้จากการผสมพันธุ์ฤดูนาปี พ.ศ. 2539 ระหว่าง พันธุ์ กข6 ข้าวคุณภาพดี เป็นพันธุ์แม่ และพันธุ์ หางยี 71 ข้าวต้านทานต่อโรคไหม้ และอายุสั้น เป็นพันธุ์พ่อ ฤดูนาปรังพ.ศ.2540- ฤดูนาปี พ.ศ. 2540 ผสมกลับ (backcross) ไปหาพันธุ์ กข6 จำนวน 2 ครั้ง ฤดูนาปี พ.ศ. 2541-2543 ปลูกและคัดเลือกแบบสืบประวัติ จนได้สายพันธุ์ KKN97057-7-1-1 ฤดูนาปี พ.ศ. 2544-2545ศึกษาพันธุ์ เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ที่ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น และเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี พ.ศ. 2546 เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี พ.ศ. 2547-2548 เปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันนอกเฉียงเหนือ จำนวน 10 แห่ง ประเมินความชอบลักษณะทางการเกษตร และคุณภาพหุงต้มรับประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ฤดูนาปี พ.ศ. 2548 ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ นำรวงข้าวที่เก็บรักษาไว้มาปลูกแบบรวงต่อแถว จำนวน 200 รวง คัดเลือกลักษณะที่เกษตรกรต้องการ ได้รวงที่ 46 ให้ชื่อสายพันธุ์ KKN97057-7-1-1-CMI-46 นาปี พ.ศ. 2549-50 ปลูกศึกษาพันธุ์ และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ฤดูนาปี พ.ศ. 2551 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ภาคเหนือตอนบน จำนวน 5 แห่ง ประเมินความชอบลักษณะทางการเกษตร และคุณภาพการหุงต้มรับประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ฤดูนาปี พ.ศ. 2552 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคไหม้ วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพและเคมีของเมล็ด ศึกษาการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ กข16 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ออกดอกประมาณวันที่ 13-22 ตุลาคม ลักษณะกอตั้ง ความสูง 133-149 เซนติเมตร ลำต้นแข็งปานกลาง ใบสีเขียว ใบธงตั้ง รวงยาว 25.9 เซนติเมตร ลักษณะรวง แน่นปานกลาง คอรวงยาว ข้าวเปลือกสีน้ำตาล ยาว 10.1 มิลลิเมตร กว้าง 2.97 มิลลิเมตร หนา 2.05 มิลลิเมตร ข้าวกล้องค่อนข้างป้อม ยาว 7.03 มิลลิเมตร กว้าง 2.38 มิลลิเมตร หนา 1.76 มิลลิเมตร คุณภาพการสีดี สีได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 43.9 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ เมื่อนึ่งสุกมีกลิ่นหอม เนื้อสัมผัสค่อนข้างนุ่ม

ผลผลิต เฉลี่ย 633 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

1. ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูง

2. ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ (Pyricularia grisea Sacc.) ในภาคเหนือตอนบน

3. เป็นข้าว อายุสั้นกว่าพันธุ์ กข6 ประมาณ 1 สัปดาห์ ช่วยกระจายแรงงานในระยะเก็บเกี่ยว และความสูงน้อยกว่าพันธุ์ กข6 ประมาณ 10 เซนติเมตร ลดปัญหาข้าวหักล้มระยะเก็บเกี่ยว

4. เป็นข้าวเหนียวเมล็ดปานกลาง คุณภาพการสีดี คุณภาพหุงต้มรับประทานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และมีกลิ่นหอม

พื้นที่แนะนำ เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนภาคเหนือตอนบน บริเวณที่ฝนหมดเร็ว และในพื้นที่ที่เกษตรกรต้องการปลูกพืชหลังฤดูทำนา

ข้อควรระวัง ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว



ที่มา http://www.brrd.in.th/main/component/content/article/274.html

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โรคภายหลังการเก็บเกี่ยวของผักผลไม้ และการจัดการ

โดย ... รศ.ดร. สมศิริ แสงโชติ
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กทม 10900
โทร. 025790113 ต่อ 1294


ความสูญเสียของผักและผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ โดยเฉพาะในเขตร้อนเป็นปัญหาใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการตลาดของผลิตผลเหล่านี้ โดยที่มีจุลินทรีย์หลายชนิด ที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง Eckert (1977) และ Snowdon (1990) ได้รายงานไว้ โดยจุลินทรีย์เหล่านี้เมื่อเข้าทำลายผลิตผล ก่อให้เกิดความเสียหาย ในระหว่างขนส่ง เก็บรักษา วางตลาด และผู้บริโภค การที่จะลด ความเสียหาย เนื่องจากโรคเหล่านี้ จึงต้องมีการ ศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับโรคและเชื้อจุลินทรีย์ ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจรวมทั้งใช้การควบคุมอย่างถูกวิธี

ลักษณะการเข้าทำลายของเชื้อ

1. การเข้าทำลายก่อนเก็บเกี่ยว เชื้อจุลินทรีย์ในกลุ่ม นี้ที่เกี่ยวข้องกับผลิตผล มีความสามารถในการเข้าทำลายผลิตผลได้โดยตรง และเข้าทำลายส่วนอื่นๆ ของพืชด้วย ทำให้ส่วนที่เป็นโรคเหลา่นั้นเป็นแหล่งของเชื้อซึ่งจะแพร่โดย ลม ฝน หรือ แมลงไปยังส่วนผลิตผล และเกิดการเข้าทำลาย แต่อาการของโรคไม่ปรากฏในไร่ในสวน ในขณะที่ผลิตผลยังอยู่บนต้น เนื่องจากเชื้อเข้าทำลายแบบแฝงอยู่ อาการจะปรากฏให้เห็นภายหลัง ที่ผลิตผลเหล่านั้นได้ถูกเก็บเกี่ยวและบ่มให้สุกเชื้อในกลุ่มนี้ เช่น Colletotrichum, Lasiodiplodia, Dothiorella และ Phytophthora

2. การเข้าทำลายขณะหรือหลังการเก็บเกี่ยว โดยปกติ ส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อในกลุ่มที่ เข้าทำลายขณะหรือหลังการเก็บเกี่ยวนี้ เช่น สปอร์ หรือส่วนขยายพันธุ์อื่นๆ พบปนเปื้อนอยู่ที่ส่วนผิวของผลิตผล หรือในระหว่างการขนย้ายหรือการปฏิบัติอื่นๆ โดยส่วนของเชื้อเหล่านี้พบอยู่ใน บรรยากาศของโรงบรรจุหีบห่อ น้ำที่ใช้ในการล้าง หรือลดอุณหภูมิผลิตผล ภาชนะที่ใช้ในการขนย้ายผลิตผล เป็นต้น เชื้อจุลินทรีย์ในกลุ่มนี้มีความ สามารถในการทำให้เกิดโรคต่ำและไม่สามารถเข้าทำลายผลิตผลได้โดยตรง การเข้าทำลายต้องอาศัยแผลหรือช่องเปิดธรรมชาติ โดยที่เชื้อในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มีอัตราการเจริญ และแพร่กระจายที่ รวดเร็วทำให้ผลิตผลที่ถูกเชื้อเข้าทำลายเกิดการ เน่าเสีย ภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเชื้อในกลุ่มนี้ เช่น Aspergillus, Rhizopus, Alternaria เป็นต้น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าทำลายของเชื้อ
- ปัจจัยก่อนเก็บเกี่ยว เช่น สภาพภูมิอากาศ ธาตุอาหาร และการเขตกรรม
- ปัจจัยหลังการเก็บเกี่ยว ได้แก่

1. ผลิตผล การปราศจากเข้าทำลายของเชื้อเป็นคุณภาพของผลิตผลที่เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะผลที่เป็นโรคก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ การเข้าทำลายของเชื้อในผลิตผลต่างๆมีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุ์ของผลิตผลนั้น เช่น ทุเรียนหมอนทอง มีความอ่อนแอต่อเชื้อรา Phytophthora palmivora เมื่อต้องการส่งผลทุเรียนหมอนทองไปขายต่างประเทศ จึงต้องมีการควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อราดังกล่าวให้ดีที่สุด (Pongpisutta and Sangchote, 1994) หรือการปฏิบัติในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของผลมะม่วง ซึ่งต้องการการควบคุมโรคในแปลงปลูกอย่างดีตั้งแต่ในแปลงปลูกเพื่อให้แน่ใจ ว่ามีเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เข้าทำลายแฝงมากับผลน้อยที่สุด

2. อุณหภูมิ อุณหภูมิมีผลทั้งต่อเชื้อและผลิตผลโดยทั่วไป อุณหภูมิที่ดีที่สุดสำหรับการเก็บรักษา คือ อุณหภูมิต่ำสุดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับผลผลิตผักและผลไม้ใ้นเขตร้อน ไม่ควรเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13-14ºซ เพราะก่อให้เกิดความเสียหาย จากความเย็นหรือ chilling injury ได้ง่าย เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคกับผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 24-26ºซ และอุณหภูมิต่ำสุดที่เชื้อ จะเจริญได้อาจต่ำถึง -4ºซ หรือเชื้อบางชนิดก็ได้เพียง 10 ºซ (Sommer,1985) ยิ่งไปกว่านั้นความแตกต่างของอุณหภูมิ มีผลในการเก็บรักษาผลิตผลระยะยาวเช่น ผลท้อที่ปลูกเชื้อด้วยเชื้อรา Botrytis cinerea แผลที่เจริญที่ 2.5ºซ มีขนาดเพิ่มขึ้นมากกว่า 30 % ของแผลที่ -0.5ºซ (Sommer, 1985)

3. ความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นสัมพัทธ์ใ์นสภาพแวดล้อมช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำในขณะเดียวกันก็มี ผลต่อเชื้อเช่นกัน แครอทที่สูญเสียน้ำมากกว่า 8 % อ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา Rhizopus stolonifer และ Botrytis cinerea (Goodliffe and Heale, 1977) หอมหัวใหญ่ต้องเก็บที่ความชื้นต่ำกว่า 70 % เพื่อ ลดการเน่าเสียที่เกิดจากเชื้อรา Botrytis allii หลังจากทำให้แห้งแล้วหลังจากนั้นนำไปเก็บไว้ที่ 0-2°ซ (Sommer, 1985)

4. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการบรรจุหีบห่อผลิตผล ที่คุณภาพดีควรเป็นผลิตผลที่เก็บเกี่ยวในระยะที่มีความสุกแก่พอดีผลิตผล เหล่านี้ควรบรรจุในภาชนะที่เหมาะสมไม่ถูกแสงอาทิตย์ ฝน ลม หรือสภาพอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดการเสียหาย และปนเปื้อนของจุลินทรีย์ ผลพริกมีอัตราการหายใจสูง เมื่อบรรจุในเข่งไม้ไผ่จะมีท่อ เป็นช่อง ระบายความร้อนตรงกลาง การปฏิบัตินี้ช่วยยืดอายุของผลผลิตและขณะเดียวกันก็ลดการเกิดของโรคแอ นแทรคโนสของพริก

การให้น้ำกับช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวมีผลกับการเกิดโรคเช่นเดียวกับในกรณีของหอมหัวใหญ่ โรคของหอมหัวใหญ่ก็มีอาการ neck rot (Botrytis spp.) black rot (Aspergillus spp.) basal rot (Fusarium sp.) และโรคเน่าที่เกิดจากแบคทีเรียในขณะเก็บรักษาเพิ่มขึ้น และการเข้าทำลายของเชื้อในขณะเก็บรักษาจะสูงสุดเมื่อเก็บเกี่ยวหอมเมื่ออายุ 110 วัน (ยอดเหี่ยว 25 %) แต่ถ้าเก็บเมื่ออายุ 120 วันหลังจากย้ายปลูก (ยอดเหี่ยว 50 %) ทำให้การเน่าเสียลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ จากการศึกษาการสมานแผล (curing) ในแปลงปลูกในสภาพที่มีความชื้นต่าง ๆ กันของหอมหัวใหญ่ระหว่างการขนส่งแบบจำลอง พบว่า การ curing ในสภาพที่แห้งในแปลงปลูกเมื่อเก็บเข้าห้องเย็นเพื่อการขนส่ง การเน่าเสียมีระดับต่ำกว่าการ curing ที่อุณหภูมิห้องและสภาพที่ชื้น

แนวทางในการควบคุมโรคภายหลังการเก็บเกี่ยว

การป้องกัน

Gray mold rot
การลดแหล่งของเชื้อทั้งในไร่และหลังการเก็บเกี่ยวเป็นวิธีการในการป้องกัน ผลิตผลจากเชื้อต่าง ๆ เนื่องจากเชื้อหลายชนิดเข้าทำลายผลิตผล เริ่มต้นตั้งแต่ในแปลงเช่น โรคแอนแทรคโนสของพืชต่างๆ โรค gray mold rot ของสตรอเบอรี่ที่เกิดจากเชื้อรา Botrytis cinerea หรือโรคผลเน่าที่เกิด จากเชื้อรา Phytophthora palmivora ของผลทุเรียนการกำจัดแหล่งของเชื้อโดยการตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคและฉีดพ่นใน แปลงเพื่อลดการเกิดของเชื้อที่จะ เข้าทำลายผลิตผล การฉีดพ่นผลทุเรียนด้วย fosetyl-Al ช่วยลดการเข้า ทำลายของเชื้อ P. palmivora ที่จะเกิดขึ้นกับผลทุเรียนหลังการเก็บเกี่ยว

การกำจัดหรือลดการเกิดโรค

การควบคุมโรค
1. การใช้น้ำร้อนและไอน้ำร้อนการใช้ความร้อนเป็นวิธีการหนึ่งที่นำมาทดแทนสาร เคมี เนื่องจากสารเคมีมีพิษต่อมนุษย์ การใช้ความร้อนนอกจากมีผลยับยั้งการเจริญของเชื้อยังกระตุ้นความต้านทานด้วย การจุ่มผลมะม่วงในน้ำร้อนที่ 55°ซ เป็นเวลา 5 นาที (Sangchote, 1989) สามารถควบคุมโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงได้ดี เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และเชื้อรา Phytophthora palmivora ของผลมะละกอ สามารถควบคุมได้ดีโดยใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45-55°ซ เป็นเวลา 10-20 นาที (Couey et al., 1984) อย่างไรก็ดีการใช้น้ำร้อนไม่มีสารตกค้างที่ให้ผล
ในการป้องกันการเข้าทำลายที่จะเกิดขึ้นใหม่และอาจก่อให้เกิดเสียหายจากความ ร้อนได้ โดยทำให้การเปลี่ยนสีของผลผิดปกติ ลดอายุการเก็บรักษา และอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของจุลินทรีย์อื่น (Edney and Burchill, 1967).

2. การใช้อุณหภูมิต่ำ การใช้อุณหภูมิต่ำเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและใช้มากที่สุดในการยืดอายุ การเก็บรักษาและลดการเน่าเสีย อุณหภูมิต่ำทำให้การสุกของผลิตผลช้าลง ทำให้ความต้านทานของผลิตผลคงอยู่ นอกจากนี้การเจริญและการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ จะหยุดหรือช้าลงที่อุณหภูมิต่ำใกล้ 0°ซ เช่น เชื้อรา Lasiodiplodia theobromae และ Ceratocystis fimbriata โดยที่ผลไม้ในเขตร้อน ไม่สามารถเก็บได้ที่อุณหภูมิต่ำมากเนื่องจากเกิด chilling injury จึงต้องหาจุดที่เหมาะสมในการเก็บรักษาที่ไม่มีผลเสียต่อผลิตผล

3. การใช้รังสี การใช้การฉายรังสีเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถควบคุมการเน่าเสียได้ แต่การใช้รังสีแกมม่าในการฉายรังสีให้ผลิตผลในอัตราที่สูงก็ก่อให้เกิด ความเสียหายกับเนื้อเยื่อได้ สตรอเบอรี่เป็นผลไม้ที่มีความทนต่อรังสีได้ดี ทำให้สามารถกำจัดการเข้าทำลายที่จะก่อให้เกิดการเน่าเสียได้ (Heather, 1986) ฉะนั้นการใช้รังสีจึงขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตผลและความไวของเชื้อต่อรังสีรวม ทั้งค่าใช้จ่ายต้องไม่สูงกว่าวิธีการอื่นที่มีอยู่ด้วย (Kader, 1982)

4. การใช้การดัดแปลงบรรยากาศ การเก็บรักษาผลิตผลโดยวิธีการนี้ ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้ดีโดยทั่วๆไป การเก็บโดยวิธีการรักษานี้จะพยายามทำให้ระดับของออกซิเจนต่ำกว่าระดับปกติ (21%) และคาร์บอนไดออกไซด์ สูงกว่าระดับปกติ (0.03%) ของบรรยากาศ การใช้การดัดแปลงบรรยากาศ ทำให้ความต้านทานของผลิตผลคงอยู่นานขึ้นและลดการเจริญของเชื้อ (El-Goorani and Sommer, 1981) Geeson และ Browne (1980) พบว่าการเก็บกระหล่ำปลีในสภาพที่มีคาร์บอนใดออกไซด์ 5-6 % และออกซิเจน 3 % ช่วยลดการเกิดและความรุนแรงของ Botrytis cinerea เมื่อใช้ร่วมกับสารเคมี

5. การใช้สารเคมี สารเคมีประมาณ 20 ชนิดได้มีการใช้ในระยะ 30 กว่าปีที่ผ่านมากับผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งสารเหล่านี้จะใช้ได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความไวของเชื้อต่อสารเคมี ความสามารถในการซึมลงไปในผิวของสารเคมีลงไปกำจัดเชื้อ นอกจากนี้สาร เหล่านี้ต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหายกับผลิตผลและมีพิษตกค้างไม่เกินกำหนด ระหว่างประเทศ (Eckert and Ogawa, 1985) สารเคมี fosetyl-Al ที่อัตราความเข้มข้น 2000 ppm สามารถควบคุมโรคเน่าของผลทุเรียนที่เกิดจากเชื้อรา P. palmivora ได้โดยการจุ่มผลเพียง 2 นาที (Pongpisutta and Sangchote, 1994)

6. การใช้วิธีการทางชีววิธี วิธีการนี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีที่มีอันตรายต่อผู้บริโภค โดยการใชจุ้ลินทรีย์อื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติเป็นปฏิปักษ์กับเชื้อสาเหตุ ซึ่งในการใช้กับผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว นิยมใช้จุลินทรีย์ที่เจริญเร็วทำให้เกิดการแย่งอาหารจากเชื้อสาเหตุ ทำให้เชื้อสาเหตุไม่เจริญหรือเจริญได้น้อย แต่การใช้ในประเทศไทยกับผลิตผลยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น เชื้อยีสต์ Candida tropicalis สามารถช่วย
ลดการเกิดอาการผลเน่าของมะม่วงเนื่องจากเชื้อรา Lasiodiplodia theobromae ได้ดี (Sangchote,1995)

การลดการแพร่กระจายของเชื้อจากผลิตผลที่เป็นโรค

โดยที่ผลิตผลเมื่อบรรจุหีบห่อเรียบร้อยเมื่อถึงปลายทางอาจจะมีผลิตผลบางส่วน ที่แสดงอาการของโรคและมีเชื้อที่เจริญอยู่ ซึ่งสามารถแพร่กระจาย ไปยังผลอื่น ๆ ได้ ทำให้เกิดการเน่าเสียทั้งภาชนะบรรจุ การลดความเสียหาย ณ จุดนี้สามารถทำได้โดยการบรรจุเป็นภาชนะเล็กๆ (consumer package) แล้วบรรจุลงในภาชนะบรรจุใหญ่ เมื่อเกิดการเน่าเสียก็เน่าเสียเพียงส่วนเดียว หรือการห่อแยกผลด้วยกระดาษที่เคลือบสารเคมีก็ช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อ ได้ เช่น การห่อผลส้มด้วยกระดาษที่เคลือบด้วยสาร biphenyl เมื่อมีผลที่เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Penicillium spp. ไอของสารนี้ที่เคลือบอยู่กับกระดาษ ช่วยยับยั้งการสร้างสปอร์ของเชื้อทำให้ไม่เกิดการแพร่ในภาชนะบรรจุ จึงเกิดการเน่าเสียเฉพาะผลที่เป็นโรคเท่านั้น

ที่มา http://www.phtnet.org/article/view-article.asp?aID=43