วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

น้ำส้มฆ่ายาง สูตรน้ำหมักจากผลไม้

น้ำส้มใส่ยางเป็นกรดทั้งนั้น
ประจุบวกจากน้ำกรดที่ใส่ลงไป จะทำให้อนุภาคของยางที่ลอยตัวอยู่ในน้ำยางจับตัวกันเป็นก้อน

กรดชนิดดีที่ใช้กับน้ำยางก็คือกรดอินทรีย์มีธาตุคาร์บอนเป็นสารประกอบ
ที่นิยมใช้กันมี กรดฟอร์มิค(กรดมด) และกระอะซิติก(กรดน้ำส้ม)
เพราะใช้ง่ายอันตรายน้อย สลายตัวไว

ส่วนกรดอนินทรีย์ ที่นิยมใช้กันมี
กรดซัลฟูริก (วัวแดง) เพราะหาง่าย ราคาถูก ใช้เข้มข้นน้อยกว่ากรดอินทรีย์มาก
จะทำให้ยางเปื่อยถ้าใช้เข้มข้นมาก
และจะทำให้ยางเหลวเป็นไยถ้าล้างออกไม่หมด

กลับมาที่น้ำหมักตามคำถามในกระทู้นี้

น้ำหมักทั่วๆไปจะได้จากการเอาแป้งหรือน้ำตาลมาหมักจนเกิดแอลกอฮอ
แล้ว แอลกอฮอจะถูกแบคทีเรียย่อยต่อเป็นกรดน้ำส้ม (อาซีติก แอซิด)หรือน้ำส้มสายชู ทำมาจากน้ำตาลจากก็เรียกว่าน้ำส้มจาก ทำมาจากน้ำตาลมะพร้าวก็เรียกว่าน้ำส้มมะพร้าว เมืองนอกทำจากลูกแอปเปิ้ลเขาเรียกว่าน้ำส้มแอปเปิ้ล(บ้านเราแพงมาก)

กรดน้ำส้มที่ได้จากการหมักนี้เอามาใส่ในน้ำยางได้แต่ควรกรองให้สะอาดก่อนใช้
ถ้านำมาทำอาหารก็ควรต้มก่อนด้วย

สรุปได้ว่าน้ำส้มสายชูต้องทำมาจากแอลกอฮอชนิดกินได้(เอ็ททิลแอลกอฮอ)
เอททิลแอลกอฮอทำมาจากแป้งและน้ำตาล(โดยมีตัวยี้สมากิน)

น้ำส้มสายชูที่ทำมาจากแอลกอฮอที่ได้กลั่นมาแล้วคือ น้ำส้มสายชูกลั่น
(คือกลั่นแต่แอลกอฮอ น้ำส้มไม่ได้กลั่น นะจ๊ะ)

สรุปว่า ความฝาดของพืชไม่ช่วยให้เกิดกรดน้ำส้ม
และไม้ฝาดบางตัวเช่นเคี่ยม พยอม จะช่วยยับยั้งการเกิดแอลกอฮอและกรดด้วย

ตอบวกๆวนๆนะ
แต่ก็ตั้งใจตอบละ
  ยิงฟันยิ้ม

ตัวอย่างการทำ น้ำหมักกล้วยใช้แทนน้ำส้มฆ่ายาง ครับ  ยิงฟันยิ้ม

น้ำหมักกล้วยใช้แทนน้ำส้มฆ่ายาง
ใน ช่วงที่มีสภาพอากาศที่มีฝนฟ้าตกบ่อยๆ อาจจะเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญต่อเกษตรกรที่มีอาชีพทำสวนยางพารา ซึ่งขายน้ำยางสดและทำขี้ยางขายถ้าหากฝนตกลงในถ้วยรองรับน้ำยางเยอะก็จะทำให้ เกิดความเสียหายกับเกษตรกรได้ คุณจรณะ มุขวัฒน์ เป็นประธานกลุ่มศูนย์เรียนรู้ชมชนบ้านในไร่ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและทำการเกษตรแบบอินทรีย์ชีวภาพได้บอกสูตรน้ำหมัก กล้วย ซึ่งใช้ในการทำให้น้ำยางพาราแข็งตัวเร็วยิ่งขึ้นและสามารถใช้แทน“ น้ำส้มฆ่ายาง” (หมายถึง กรดฟอมิค ที่ทำให้ยางแข็งตัว)ได้ดีกว่าด้วย ให้กับเจ้าหน้าที่ร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิดได้ทราบโดยมีรายละเอียด วิธีการทำดังนี้


ส่วนผสม
-กล้วยน้ำหว้า 3 กิโลกรัม
-กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
-น้ำ 10 กิโลกรัม
-ถังหมัก

วิธีทำ
นำ กล้วยมาหั่นเป็นชิ้นโดยหั่นทั้งเปลือก หมักไว้ 21 วัน ประโยชน์ ใช้สำหรับเป็นน้ำยาฆ่ายางใช้แทนน้ำส้มฆ่ายางที่ใช้ในยางพาราให้น้ำยางแข็ง ตัว ใช้ในฤดูฝนทำให้น้ำยางแข็งตัวเร็วขึ้น

วิธีใช้
พอกรีดยาง เสร็จให้หยอดลงไปในถ้วยใส่น้ำยางพอประมาณ ก็ทำให้น้ำยางมีสีเข้มขึ้นและแข็งตัวเร็ว และเมื่อน้ำหมักกล้วยตกลงที่พื้นดินก็จะทำให้เพิ่มจุลินทรีย์ในดินได้อีก ด้วย

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.นครศรีธรรมราช
อ้างอิงจากลิ้งค์
http://www.rakbankerd.com/agriculture/webboard/webboard_view_topic.html?id=1100
http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=1224&s=tblplant




การเพาะเมล็ดอินทผลัม สไตล์ "เอ๊าะเจ๊าะแอ๊ะแจ๊ะ"




หลังจากได้เมล็ดมาแล้วคัดเอาเมล็ดที่สมบูรณ์ ล้างเอาเนื้อและเยื้อหุ้มเมล็ดออกให้สะอาด บรรจุใส่ขวดน้ำดื่มขนาด 1 ลิตรขวดละ 200 เมล็ด ใส่น้ำนิดหน่อยพอให้ได้ความชื้นทั่วถึงกัน ปิดฝาให้สนิทเขย่าขวดในแนวนอนเบาๆให้เมล็ดกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอทั่วๆขวด นำขวดไปเก็บใว้ในที่ที่มีอากาศ ร้อนและมืด


     ประมาณสองสัปดาห์ รากจะเริ่มทยอยแทงออกจากเมล็ด เมื่อรากยาวได้ประมาณหนึ่งนิ้วจึงย้ายลงเลี้ยงต่อในถุงดำ จากนั้นหน่อจะใช้เวลาอีกอย่างน้อยสองสัปดาห์เพื่อแทงยอดจนพ้นหน้าดิน หน่อที่พัฒนาไปเป็นใบจะเกิดออกมาจากบริเวณกึ่งกลางของความยาวของราก ไม่ได้ออกมาจากเมล็ดเหมือนกับพืชชนิดอื่นทั่วๆไป ระยะนี้รักษาความชื้นอย่าให้ดินแห้งเกินไป



     กล้าแทงใบเดี่ยวจำนวนหนึ่งใบ ความยาว 8-12 นิ้ว จนมีอายุได้ 2-3 เดือน เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 4 กล้าจะแทงใบเดี่ยวใบที่สอง ความยาว 8-12 นิ้ว ระยะนี้สามารถนำกล้าไปปลูกลงแปลงได้ ทั้งนี้ต้องมีผู้ดูแลคอยกำจัดวัชพืชรอบๆต้น ให้น้ำทุกสองถึงสามวันก็เพียงพอต่อความต้องการของกล้าอินทผลัมแล้ว เพราะกล้าในขวบปีแรกจะมีความสูงประมาณสองฟุตเท่านั้น หรืออาจย้ายจากถุงเพาะลงกระถางขนาด 15 นิ้ว เลี้ยงกล้าต่อจนครบหนึ่งปีค่อยนำย้ายปลูกลงแปลงก็ได้



การปลูกอินทผาลัม


อินทผลัม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phaenix sp.
ชื่อวงศ์ : Palmae (Arecaceae)
ชื่อสามัญ : Date Palm

การปลูก
1. ต้นที่ปลูกจะใช้วิธีการแยกหน่อจากต้นใหญ่ (ตัวเมีย) โดยเลือกต้นแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หน่อมีขนาดใหญ่ดีกว่าขนาดเล็ก เมื่อตัดจากต้นแม่แล้วจะมัดรวบใบไว้ก่อน (ควรใช้หน่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 นิ้ว ขึ้นไป) ราคาต้นพันธุ์ประมาณ 15-20 RO ขึ้นอยู่กับพันธุ์ (ประมาณ 1,500-2,000 บาท ; 1 RO = 100 บาท)

2. เมื่อปลูกแล้วประมาณ 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต 3. การปลูกจะขุดหลุม ขนาด 0.8 x 0.8 x 0.8 เมตร ปลูกให้หน่ออยู่ลึกลงไปในหลุม และหน่อจะลึกลงไปในดินประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้สามารถเก็บน้ำไว้สำหรับต้นที่ปลูกใหม่ได้ดี ระยะปลูกใหม่ยังไม่ให้ปุ๋ย ให้เหลือเพียงแต่น้ำทุก 5 วัน เมื่อตั้งตัวแล้วประมาณ 1 เดือน จึงจะเริ่มให้ปุ๋ยคอก ต้นละประมาณ 2 กิโลกรัม ในการปลูกระยะแรกจะยังคงมัดรวบใบไว้จนกว่าต้นจะฟื้นและตั้งตัวได้ จึงจะตัดเชือกที่ผูกออก วิธีการนี้จะใช้กับการย้ายต้นใหญ่ๆ ไปปลูกที่อื่นด้วย จะช่วยให้ต้นรอดตายมาก

การดูแลรักษา
1. การปรับพื้นดิน ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทุกปี (ประมาณเดือนกันยายน) จะมีการใช้รถไถเดินตามไถพรวนพื้นที่ใต้ต้นซึ่งสภาพดินส่วนใหญ่จะเป็นทราย เป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว ขณะเดียวกันก็จะทำเป็นแนวร่องน้ำและคันกั้นน้ำแต่ละต้นไปด้วย เป็นตารางคล้ายคันนาขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 6 x 6 เมตร

2. การให้น้ำ น้ำที่ใช้จะถูกส่งมาตามรางคอนกรีต ซึ่งมาจากจุดให้น้ำของหมู่บ้าน มีเครื่องสูบน้ำมาเก็บไว้ มีหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้ควบคุมดูแลการจ่ายน้ำ ซึ่งจะกำหนดจ่ายให้ทุกสวน ทุก 5 วัน และทุก 3 สัปดาห์ ในฤดูหนาว โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายน้ำ เมื่อไหลเข้ามาตามรางในสวนจะถูกปล่อยไปตามต้นต่างๆ ตามร่องที่เตรียมไว้

3. การใส่ปุ๋ย หลังจากเก็บผลแล้วจะมีการใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง ต้นละประมาณ 3 กิโลกรัม หว่านทั่วใต้ต้น และให้ปุ๋ยคอกต้นละประมาณ 30 กิโลกรัม (1 กระสอบ) 1 ครั้ง ต่อปี หลังจากให้ปุ๋ยยูเรียแล้วประมาณ 10 วัน

4. การตัดแต่งใบ จะมีการตัดแต่งทางใบ โดยใช้เลื่อยที่มีลักษณะคล้ายเคียว ผู้ตัดจะปีนขึ้นบนต้นไปตัดทางใบที่แก่แล้วทิ้งไป ต้นละประมาณ 2-3 ทางใบ ทางใบที่ตัดออกมาจะใช้ในการทำรั้วหรือทำฟืน ขณะเดียวกันจะตัดหน่อที่แตกออกมาที่กลางต้น หรือใกล้ๆ ยอดออกด้วย ทำให้ต้นสะอาดเป็นการป้องกันแมลงศัตรูที่อาจมารบกวนได้ และทำให้การป้องกันสัตว์ที่มากัดกินผลได้ง่ายด้วย

5. การป้องกันกำจัดโรคแมลงและศัตรูอื่นๆ ไม่มีการป้องกันกำจัดโรคแมลง เนื่องจากไม่มีการระบาดของศัตรูดังกล่าว แต่มีนกหรือหนู หรือกระรอกมารบกวนกัดกินผล โดยเฉพาะในช่วงที่ผลใกล้แก่ เกษตรกรจะใช้วิธีการยิงด้วยหนังสติ๊ก หรือปืนลม

การออกดอกติดผล
1. การออกดอก เดือนมกราคมจะเริ่มออกดอก ต้นหนึ่งจะมีช่อดอกประมาณ 5-11 ช่อ และจะบานประมาณปลายเดือนมกราคมเป็นต้นไป โดยทยอยบานทุกๆ 5 วัน เกษตรกรจะนำเกสรตัวผู้โดยตัดจากช่อดอกตัวผู้ที่มีอยู่ในสวน ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้พันธุ์ Khori และ Bahani (สวนที่ดูงานจะมีต้นตัวผู้อยู่ 4 ต้น ก็เพียงพอสำหรับผสมกับต้นตัวเมีย ประมาณ 250 ต้น) ดอกตัวผู้สามารถเก็บไว้ใช้ได้โดยนำช่อดอกไปผึ่งแดดให้แห้ง เก็บใส่ถุงพลาสติกใส่ถังปิดฝาไว้ เก็บไว้ได้นานหลายเดือน จะผสมเกสรเสร็จประมาณเดือนมีนาคม หลังจากติดผลแล้ว 3 สัปดาห์ ทะลายที่ติดผลจะค่อยๆ โน้มห้อยลงมาใต้ทางใบทำให้ผลไม่เสียดสีกับหนามเมื่อลมพัด และสะดวกในการเก็บเกี่ยวด้วย ผลจะเริ่มแก่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม บางพันธุ์อาจแก่ก่อนนี้เป็นพันธุ์เบาซึ่งขายได้ราคาดี (เช่น พันธุ์ Battas) ปกติจะเก็บเกี่ยวมากๆ ในเดือนสิงหาคม ระยะตั้งแต่ติดผลจนถึงผลแก่ประมาณ 180-200 วัน แต่ละทะลายจะมีผลติดดกประมาณ 6-8 กิโลกรัม

2. การเก็บเกี่ยว เมื่อผลแก่จะมีสีแดง หรือเหลือง แล้วแต่พันธุ์ มีรสชาติมันและหวาน เกษตรกรจะปีนขึ้นไปโดยใช้เชือกที่ถักแบนๆ โอบรัดไปด้านหลังของเกษตรกรและพันรอบต้น แล้วค่อยๆ ขยับขึ้นไปโดยใช้เท้าเหยียบไปบนต้นที่มีโคนทางใบที่หลงเหลืออยู่จากการตัด ทำให้ขึ้นได้ง่ายมาก เมื่อตัดแล้ววางลงบนตะกร้า หย่อนเชือกลงมาด้านล่าง ผู้ที่อยู่ใต้ต้นจะเป็นผู้เก็บรวบรวมเป็นกอง ปกติต้นหนึ่งๆ จะให้ผลผลิตประมาณ 100-150 กิโลกรัม (ถ้าดูแลดี แต่โดยทั่วไปจะได้น้อยกว่านี้)

3. ราคาจำหน่าย เกษตรจำหน่ายผลอินทผลัมสดในช่วงต้นฤดูกาลประมาณ กิโลกรัมละ 10-15 RO แต่ในช่วงที่ผลผลิตออกมากจะขายได้ประมาณ 0.25-0.35 RO ผลแห้งในท้องตลาดจะจำหน่ายปลีกประมาณ กิโลกรัมละ 0.35-1.0 RO ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินค้า 4. การแปรรูป เกษตรกรจะนำผลไปผึ่งแดด ประมาณ 7-10 วัน จนผลแห้ง (เนื้อที่เป็นแป้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทั้งผล) แล้วนำไปล้างน้ำตากแห้งอีกเพียง 1 วัน แล้วบรรจุภาชนะเพื่อจำหน่ายต่อไป การคัดคุณภาพของผลแห้งจะแยกเป็นชนิดที่แยกเป็นผลเดี่ยวๆ ได้จะมีราคาแพง ส่วนผลที่ค่อนข้างจะติดกันจะตักขายเป็นก้อน ราคาจะถูกลง ส่วนชนิดที่เละมากจะนำไปกวนเป็นน้ำหวานสำหรับปรุงอาหาร สำหรับผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ เกษตรกรจะนำไปผึ่งแดดเก็บไว้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงวัว

ข้อคิดเห็นจากการศึกษาข้อมูลในการปลูกต้นอินทผลัมครั้งนี้ คือ
1. ต้นอินทผลัมเป็นไม้ผลเมืองร้อนแบบทะเลทราย ที่มีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้งได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพจะต้องมีการดูแลรักษาสวนที่ดีด้วย เช่น การให้น้ำจะต้องมีอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอและพอเพียง

2. ผลอินทผลัมสดเมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นผลอินทผลัมแห้งที่มีคุณภาพตาม ธรรมชาติ จะต้องอาศัยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง (ซึ่งเป็นสภาพของอากาศโดยทั่วไปของกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง) หากเป็นประเทศที่มีความร้อนชื้นเหมือนบ้านเราจะทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่ สมบูรณ์ จะเกิดเชื้อราขึ้นและเน่าในที่สุด

3. ต้นอินทผลัมเป็นต้นไม้ที่มีดอกตัวเมียและตัวผู้แยกอยู่คนละต้น ในการปลูกเพื่อมีการติดผลที่ดีจะต้องปลูกทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมียไว้ใน สวนเพื่อประโยชน์ในการผสมเกสร แต่บางพันธุ์อาจมีการติดผลและมีการพัฒนาของผลได้ดีโดยไม่ต้องมีการผสมเกสร เช่น Naghal แต่ผลที่ได้เนื้อจะบาง

4. เมล็ดของผลอินทผลัมที่ได้หลังจากบริโภคเนื้อแล้ว (โดยการซื้อผลอินทผลัมแห้งจากตลาดทั่วไป) สามารถนำไปเพาะเป็นต้นเพื่อปลูกได้ โอกาสที่จะได้เป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมียมีอย่างละ 50% แม้จะได้ต้นตัวเมียไปปลูกแต่คุณภาพก็จะไม่เหมือนกับต้นแม่ (คุณภาพของเนื้ออาจจะไม่ดีเท่ากับที่เราซื้อมา) เนื่องจากผลอินทผลัมแห้งที่มีจำหน่าย เป็นผลที่ได้จากการผสมเกสรข้ามต้น จึงถือว่าเมล็ดที่ได้เป็นพันธุ์ลูกผสม ซึ่งไม่สามารถเรียกชื่อเดียวกับต้นแม่ได้

5. สำหรับประเทศไทยมีหลายจังหวัดที่มีสภาพภูมิอากาศและสภาพดินที่สามารถปลูกต้น อินทผลัมได้ดี แต่ในช่วงที่ผลผลิตแก่ (ประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) เป็นฤดูฝนจะทำให้เกิดปัญหาผลเน่า ดังนั้น แนวทางที่จะผลิตเป็นการค้าสำหรับบ้านเรา คือการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมจะจำหน่ายผลสด ลักษณะดังกล่าวควรจะมีผลขนาดโต เนื้อกรอบ รสชาติ มัน หวาน เช่น พันธุ์ Hilali พันธุ์ Khalas เมื่อผลแก่จัดสามารถตัดส่งไปจำหน่ายได้เลย ปัจจุบันมีผู้บริโภครู้จักการบริโภคผลอินทผลัมสดมากขึ้นทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย (ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมมีความคุ้นเคยกับการบริโภคผลอินทผลัมสดอยู่ แล้ว) นอกจากนั้น หากผู้ผลิตที่มีเครื่องอบผลไม้ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอบพลังแสงอาทิตย์ หรือตู้ความร้อนจากไฟฟ้า หรือแก๊ส ก็สามารถใช้ผลิตผลอินทผลัมแห้งได้ดี ผลอินทผลัมแห้งที่ได้จะมีคุณภาพเช่นเดียวกับที่มาจากประเทศกลุ่มอาหรับด้วย

6. ต้นพันธุ์อินทผลัมที่ดีควรเป็นต้นที่แยกหน่อจากต้นแม่ที่รู้จักชื่อพันธุ์ และมีประวัติการให้ผลผลิตที่ดี แต่การจะสั่งต้นพันธุ์ดังกล่าวจากประเทศผู้ผลิตเข้ามาปลูกอาจจะยุ่งยาก ปัจจุบันมีต้นพันธุ์ที่ผลิตด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture) เพื่อการจำหน่ายแล้วในหลายประเทศ เช่น อิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สามารถสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตได้ การขนส่งทางไปรษณีย์ทำได้สะดวกและรวดเร็ว จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรไทยที่จะได้ทดลองผลิตพืชใหม่ที่อาจจะ เป็นพืชที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทยในอนาคตก็เป็นได้

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ โทร. 0-2940-6116
ที่มา ศูนย์สารสนเทศ ict40@doae.go.th