วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

แค

ชื่อสามัญ Vegetable Humming Bird , Cork Wood Tree เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แคบ้าน” อีกทั้งยังมีแคฝรั่ง ซึ่งเป็นไม้ดอกไม้ประดับ แคเป็นต้นไม้โบราณที่อยู่คู่ครัวของทุกท้องถิ่น แต่ละครัวมีวิธีการปรุงอาหารจากส่วนต่างๆ ของแคแตกต่างกันออกไป แต่อาหารที่รู้จักคุ้นเคยกันอย่างดีทุกครัวเรือน คือ “แกงส้มดอกแค”
ชื่อวิทยาศาสตร์ของแค คือ Sesbania grandiflora (L.) Pers. วงศ์ PaPilionaceae เป็นต้นไม้พื้นเมืองของ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประเภทไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 3-10 เมตร โตเร็วทั้งในที่แห้งและชุ่มชื้น มักขึ้นอยู่ตามป่าละเมาะ ตามหัวไร่ปลายนา และในบริเวณบ้าน

ลักษณะทั่วไป

แคเป็น ต้นไม้พื้นบ้าน เป็นต้นไม้เนื้ออ่อน ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทั้งดินเหนียวและดินปนทราย นิยมปลูกเป็นรั้วบ้าน คันนา ริมถนน และในบริเวณบ้าน หรือปลูกไว้เพื่อปรับพื้นที่ให้มีปุ๋ย เพราะใบแคที่ผุแล้ว ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ส่วนที่นำมารับประทานได้ มียอดอ่อน ดอกอ่อน ใบอ่อน และฝักอ่อน ออกในช่วงฤดูฝน ส่วนดอกอ่อนจะออกในช่วงฤดูหนาว ดอกแค 100 กรัม หรือ 1 ขีด ให้พลังงานต่อร่างกาย 10 กิโลแคลอรี มีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี การรับประทานดอกแคจะทำให้ร่างกายได้เส้นใยอาหาร ดอกแค เมื่อแก่จนกลีบร่วง ก็จะมีฝักอ่อน นำมาทำอาหารได้ เมื่อแก่จะแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตง่าย มีอายุไม่นาน ก็ยืนต้นตาย แพร่พันธุ์ด้วยฝักที่มีเมล็ดแก่จัด การนำดอกแคมาทำอาหารต้องเด็ดเกสรสีเหลืองของดอกแคออกก่อนจะทำให้ไม่มีรสขม แคเป็นต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านสาขามาก มีเปลือกลำต้นขรุขระสีเทา ดอกคล้ายดอกถั่ว ยาว 6-10 ซม. มีทั้งดอกสีขาวและสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังหรือถ้วย ผลเป็นฝักแบน
ส่วนของแคที่นำมารับประทานนับได้ตั้งแต่ยอด อ่อน ใบอ่อน รสหวาน มัน มีมากในช่วงฤดูฝน นิยมต้มสุกแล้วราดหัวกะทิ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว แคก็ออกดอกอ่อนที่มีรสหวานออกขมเล็กน้อยให้ลิ้มรสและทำเป็นแกงส้ม แต่ต้องเป็นดอกแคสีขาว เพราะไม่มีเส้นใยมากให้ระคายปากเหมือนดอกสีแดง แกงส้มดอกแคที่อร่อยต้องใส่ปลาช่อน เพราะช่วงที่ดอกแคออกดอกจะเป็นช่วงที่ปลาช่อนมีเนื้อหวานมันเป็นพิเศษ พอถึงช่วงปลายฤดูหนาวก็เริ่มเก็บฝักอ่อนมารับประทานกันอีกครั้ง

สรรพคุณทางยา

เปลือกนำมาต้ม คั้นน้ำแก้ท้องร่วง แก้บิด แก้มูกเลือด คุมธาตุ สรรพคุณทางยาของแคคือช่วยแก้ไข้ ลดไข้ นอกจากนี้ยังอุดมด้วยสารอาหารต่างๆ โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ แคจึงช่วยบำรุงสายตาและต้านมะเร็ง อีกทั้งช่วยเสริมสร้างกระดูก เพราะมีแคลเซียมฟอสฟอรัสสูง
ในยอดแคมีสารอาหารมากกว่าดอกแคเสียอีก เพราะยอดแคปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 87 แคลอรี มีเส้นใย 7.8 กรัม แคลเซียม 395 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 8,654 ไมโครกรัม วิตามินเอ 1,442 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.28 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.33 มิลลิกรัม ไนอาซีน 2.0 มิลลิกรัม วิตามิซี 19 มิลลิกรัม
ดอกแคปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 33 แคลอรี แคลเซียม 2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 57 มิลลิกรัม เหล็ก 1.2 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 0.51 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.19 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 35 มิลลิกรัม
ยอดอ่อนและใบอ่อนของแคขายกำละ 5 บาท เลือกใบสด ไม่ร่วง ดอกแคมักขายเป็นกองๆ ละ 5 บาทเช่นกัน ให้เลือกดอกตูมที่กำลังจะบาน ก่อนนำไปทำอาหารต้องดึงเอาเกสรออกก่อน จะทำให้มีรสขมน้อยลง สำหรับฝักอ่อนค่อนข้างหาซื้อยาก ต้องปลูกต้นแคไว้ที่บ้านเองจึงจะได้รับประทานกัน
การประกอบอาหาร
แกงส้มดอกแคปลาดุก ดอกแคสอดไส้ แกงเหลืองปลากระพงดอกแค

ที่มา 
http://www.vegetweb.com
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09.htm

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

สกัดออกซีเรสฯในมะหาด สู่อาหารต้านโรคเบาหวาน


Pic_289796 วิธีการสกัดในห้องแล็บ.

กระแสการรักษาสุขภาพ ของคนเมือง... กำลังพุ่งแรงมี การใช้ยา หรือ สารเคมีมากระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้น รวมทั้งการ บริโภคอาหารเสริมต่างๆ ที่ผลิตออกมามากจน องค์การอาหารและยา (อย.) ตรวจสอบกันแทบไม่ทันต่อปริมาณการผลิตออกสู่ท้องตลาด...

ฉะนั้น เพื่อความไว้วางใจ ภาครัฐจึงต้องอาศัยนักวิชาการ กับ กลุ่มนักวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ในการควบคุมดูแล ดร.ณสพน โพธิ์วิจิตร ประธานสถาบันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยูแคนดู (Youcando Research & Development Insititule : YRDI) ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำวิจัยเรื่อง สมุนไพรกับโรคเบาหวาน, การพัฒนาสารสกัดสมุนไพรเพื่อใช้ในการต่อต้านวัยชรา นำไปจัดแสดงที่ประเทศไต้หวัน และยังมี ผลงานวิจัยระดับโลก...โดยร่วมกับทีมวิจัยในเรื่อง ปฏิกิริยาการต้านริ้วรอยและความเป็นพิษของสารสกัดมะ-หาด ตีพิมพ์ในวารสาร “Tropical Journal of Phamaceutical Research 2012” อันโด่งดัง

ผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ท้องตลาด.
ผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ท้องตลาด.
ดร.ณสพน บอกว่า...มะหาด (lakoocha) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae ต้นกำเนิดมาจากทวีปเอเชียใต้ นิยมปลูกเอาไว้ใช้ประโยชน์ทุกส่วนของต้น เจริญเติบโตได้ ในดินทราย ดินร่วนปนทราย และดินเหนียว มีความทนทานต่อความแห้งแล้ง ในแต่ละภูมิภาคเรียกต่างๆกัน ภาคเหนือเรียก หาดหนุน, ปวกหาด ภาคกลางและภาคใต้เรียก มะหาด ตั้งแต่จังหวัดนราธิวาสถึงประเทศมาเลเซีย เรียก กาแย, ตะแป, ตะแปง

...จาก การวิจัยพบสาร “ออกซีเรสเวอราทรอล” ใน แก่นมะหาด ซึ่งเป็นสารที่สำคัญ ที่มีโครงสร้างทางโมเลกุลขนาดเล็ก ออกฤทธิ์แอนติ-ออกซิแดนท์ ช่วยต่อต้าน ขบวนการเกิดไกลเคชั่น สาเหตุหนึ่งของโรคเบาหวานและริ้วรอยเหี่ยวย่น ลดคอเลสเทอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอ้วน ไขมันส่วนเกิน และ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด...โดยใช้วิธี สกัดสารสำคัญจากการหมักด้วยจุลินทรีย์ และ เลือกสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่ถูกต้อง และเป็นประเภทที่ ต้องการอากาศ หรือ ไม่ต้องการอากาศ ควบคุมอุณหภูมิ ความสะอาด ระยะเวลา และความ เป็นกรดที่เกิดจากกระบวนการหมัก...
มะหาด
มะหาด
ดร.ณสพน กล่าวว่า...ส่วน วิธีการสกัดเพื่อให้ได้สารสำคัญจะใช้ตัวทำละลายที่ปลอดภัย โดยเทคนิคทางเภสัชกรรม มีมาตรฐานแน่นอนเท่ากันทุกครั้ง มีการตรวจปริมาณสารสำคัญด้วยเครื่อง HPLC และ Spectrophotometer ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะวัดปริมาณสารสำคัญที่ได้จากการสกัดจากสมุนไพรได้ อย่างแม่นยำ เนื่องจากการ สกัดสารสำคัญจาก สมุนไพรธรรมชาติในแต่ละฤดูกาล แต่ละ พื้นที่ปลูก ไม่สามารถแน่ใจได้ว่า ...สารสำคัญที่ ต้องการสกัดนั้นมีเท่ากันหรือไม่

...การตรวจสอบที่มีมาตรฐานทำให้ สามารถเติมสารสำคัญเข้าไปให้มีเท่ากันในทุกๆครั้ง ของการผลิต...เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีประโยชน์และมีคุณภาพทรงคุณค่า สู่ผู้บริโภคอย่างสูงสุด...!!

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/edu/289796

เจ๋งปลูกข้าวในน้ำ ปรับตัวหนีดินฟ้าแปรปรวน


Pic_285690 "ความคิดสร้างสรรค์" หนุ่มชาวนาที่ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี เห็นว่าธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง ดินฟ้าอากาศแปรปรวน ชี้ถึงเวลาเกษตรต้องปรับตัวหาวิธีการเพาะปลูกสร้างรายได้ เลยหันมาปลูกข้าวลอยน้ำ เป็นตัวอย่างการดำรงชีวิตอยู่กับน้ำโดยมีอาชีพที่สร้างรายได้เลี้ยงตัว...

เมื่อ วันที่ 23 ส.ค.2555 ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่าที่ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี มีชาวนาคนหนึ่งหันมาปลูกข้าวในน้ำ จึงได้เดินทางไปตรวจสอบที่บ้านเลขที่ 130/4 หมู่ 1 ต.สามชุก พบนายสุพรรณ เมธสาร อายุ 55 ปี เจ้าของบ้าน และเจ้าของแนวคิดปลูกข้าวลอยน้ำ จึงได้สอบถามที่มาของการทำนาแบบใหม่นี้


นาย สุพรรณ เผยว่า ขณะนี้ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ รวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วม ถึงเวลาที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนไป แน่นอนเกษตรกรย่อมได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะไม่มีพื้นที่ในการเพาะปลูก เมื่อไม่มีที่เพาะปลูก สิ่งที่ตามมาคือรายได้ในการดำรงชีพก็ขาดหายไปด้วย สิ่งที่ทำได้คือการที่เกษตรต้องปรับตัว และหาวิธีการเพื่อให้สามารถเพาะปลูกได้ และการปลูกข้าวลอยน้ำเป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรสามารถดำรงชีวิตอยู่ กับน้ำ ทำการเกษตรและมีรายได้เลี้ยงชีพได้ แนวคิดในการปลูกข้าวลอยน้ำจึงเกิดขึ้น

เจ้าของแนวคิดปลูกข้าวลอยน้ำ กล่าวต่อว่า นับเป็นเกษตรกรตัวอย่างอีกคนหนึ่ง เพราะเขาเป็นเกษตรกรที่ไม่หยุดนิ่ง ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา ส่งผลให้เขามีความรู้หลายด้าน ปัจจุบันยังเป็นวิทยากรอบรมแก่ผู้ที่สนใจเรื่องการปลูกไผ่ การขยายพันธุ์ รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่าย ดังนั้น นายสุพรรณจึงเป็นที่เชื่อถือของเหล่าเกษตรกรในอีกหลายด้าน และด้วยความที่เป็นเกษตรกรนักคิดนี่เอง ทำให้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา นายสุพรรณมีแนวคิดที่จะนำข้าวไปปลูกบนน้ำเนื่องจากเห็นว่าในแม่น้ำลำคลองมัก จะมีผักตบชวา ซึ่งผักตบชวาในแม่น้ำมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะในแม่น้ำมีธาตุอาหาร แพลงตอน ตลอดจนจุลินทรีย์ต่างๆ ที่เป็นอาหารของพืช จึงทดลองปลูกข้าวในน้ำ ผลผลิตที่ได้ก็เป็นที่น่าพอใจเลยทีเดียว


นาย สุพรรณ กล่าวอีกว่า หลังจากได้ลงมือทดลองปลูกข้าวลอยน้ำ ปรากฏว่าได้ผลผลิตจริง และประหยัดต้นทุน วิธีการปลูกข้าวแบบลอยน้ำทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนเรื่องการเตรียมดิน น้ำมันเชื้อเพลิงและตัดปัญหาการดูแลเรื่องน้ำไปเลย จากการคำนวณพบว่าหากทำแพปลูกข้าวในพื้นที่ 1 ไร่ ผลผลิตที่ได้รับ เฉลี่ย 70 ถัง/ไร่ ซึ่งวิธีนี้จะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จากการเผาและลดการใช้สารเคมีต่างๆ ทำให้ลดต้นทุนได้มาก วัสดุอุปกรณ์ยังสามารถนำมาใช้ครั้งต่อไปได้ ทั้งนี้ นายสุพรรณยังได้เตรียมการขยายผลเรื่องการปลูกข้าวลอยน้ำ โดยจะใช้ผักตบชวาเป็นฐานซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการทดลองว่าจะได้ผลอย่างไร สำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับการปลูกข้าวลอยน้ำในครั้งนี้ประกอบไป ด้วย ฝากล่องโฟมเก่า (กล่องโฟมใส่ผลไม้) กระถางพลาสติกสำหรับปลูก ดินเลนสำหรับปลูก เมล็ดพันธุ์ข้าว ลำไม้ไผ่สำหรับทำแพ เชือกฟาง

เจ้า ของแนวคิดปลูกข้าวลอยน้ำ กล่าวถึงวิธีการปลูกข้าวลอยน้ำว่า สำหรับขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ 1.นำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปเพาะในแปลงเพาะ เหมือนกับการเตรียมกล้าพันธุ์สำหรับดำนาทั่วไป 2.นำลำไม้ไผ่มาทำเป็นกรอบ 4 เหลี่ยม เพื่อทำเป็นแพในพื้นที่ที่จะปลูกข้าวลอยน้ำ 3.นำฝากล่องผลไม้ (ฝากล่องโฟม ) มาเจาะรูให้มีขนาดเท่ากระถางพลาสติก แต่ให้อุ้มตัวกระถางไว้ได้ 4.นำกระถางปลูกใส่ดินเลนให้เต็ม 5.เมื่อต้นกล้ามีอายุ 10-15 วัน จึงแยกกล้ามาปลูกในกระถางที่เตรียมไว้ ประมาณ 4-5 กอต่อกระถาง 6.นำกระถางเพาะกล้าใส่ในฝากล่องโฟม แล้วจึงนำไปลอยน้ำในกรอบไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ 7.ใช้เชือกผูกกล่องโฟมกับแพไม้ไผ่ เพื่อป้องกันการพัดพาของน้ำไม่ให้ไหลไปที่อื่น


นาย สุพรรณ กล่าวด้วยว่า ด้านการดูแลและการใส่ปุ๋ย นายสุพรรณเน้นให้เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์และอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบำรุงข้าว ช่วงที่ข้าวมีอายุ 30 และ 55 วัน หลังการปลูกใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1 กำมือ/กระถาง/ครั้ง หากมีแมลงศัตรูพืช ก็ใช้น้ำหมักสมุนไพรฉีดพ่น วิธีนี้เกษตรกรไม่ต้องเสียเวลาดูแลเรื่องน้ำเลย เพราะข้าวจะได้รับน้ำตลอดในช่วงระยะเวลาการปลูก สำหรับผู้ที่สนใจอยากศึกษา เรียนรู้ และดูงานการปลูกข้าวลอยน้ำ ติดต่อตนได้ นายสุพรรณ เมธสาร บ้านเลขที่ 130/4 หมู่ 1 ต.สามชุก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี เบอร์โทรศัพท์ 087-097-7865


ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=76941.0