http://www.nsru.ac.th/e-learning/animals/lesson5_4.php
1.4 แผ่นรังผึ้ง แผ่นรังผึ้งเป็นส่วนสำคัญที่ปรับให้อุณหภูมิในโรงเรือนลดลง ซึ่งทำด้วยกระดาษสังเคราะห์พิเศษมีความทนทาน มีความหนา 2 ขนาด คือ ขนาดหนา 10 เซนติเมตร และ 15 เซนติเมตร ความสูงของแผ่นรังผึ้ง 180 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 15 เมตร และ 21.6 เมตร ต่อโรงเรือน การติดแผ่นรังผึ้งจะติดด้านเดียวหรือ 2 ด้านก็ได้ แต่การติด 2 ด้านนั้น การไหลเวียนของอากาศจะทั่วถึงและสม่ำเสมอดีกว่าติดด้านเดียวและไม่ต้องติด พัดลมเสริมภายในอีก
ww 1.5 พัดลม พัดลมที่ใช้จะติดตั้งอยู่ในโรงเรือนด้านหลัง (ด้านท้าย) ตรงข้ามแผ่นรังผึ้ง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 48 นิ้ว
ww1.6 ระบบควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือน การควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนนั้นใช้ พัดลมและแผ่นรังผึ้ง โดยมีตัวควบคุมอุณหภูมิ (thermostats) อยู่ ถ้าโรงเรือนมีพัดลม 10 เครื่อง จะมีตัวควบคุมอุณหภูมิอยู่ 11 ตัว เพราะอีก 1 ตัวนั้นสำหรับควบคุมอุณหภูมิ การปิดเปิด น้ำของเครื่องปั๊มน้ำในการปล่อยให้น้ำไหลผ่านแผ่นรังผึ้ง โดยในสภาพที่อุณหภูมิทั่วไปพัดลมจะเปิดทำงาน 1 เครื่อง อยู่ตลอดเวลาและพัดลมที่เหลืออีกจะทำงานเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าที่เครื่องควบคุมอุณหภูมิ ดังต่อไปนี้
wwwwสูงกว่า 60o F พัดลมเครื่องที่ 2 จะทำงาน
wwwwสูงกว่า 72o F พัดลมเครื่องที่ 3 จะทำงาน
wwwwสูงกว่า 74o F พัดลมเครื่องที่ 4 จะทำงาน
wwwwสูงกว่า 76o F พัดลมเครื่องที่ 5 จะทำงาน
wwwwสูงกว่า 78o F พัดลมเครื่องที่ 6 จะทำงาน
wwwwสูงกว่า 80o F พัดลมเครื่องที่ 7 จะทำงาน
wwwwสูงกว่า 82o F พัดลมเครื่องที่ 8 จะทำงาน
มาด้วยวิธีการคำนวณ ใช้สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ก็ได้นะครับ เหมือนกัน
http://www.neofmi.com/index.php?option=com_content&view=article&id=32:evap-system
อัตราสิ้นเปลืองพลังงาน
- พัดลมดูดอากาศ
มอเตอร์ 1 ตัว = 750 W
V = (W x HP)/1000
= (750 x 1)/1000
= 0.75 Unit / Hr.
- ปั้มน้ำ
V = (W x HP)/1000
= (750 x 1)/1000
= 0.75 Unit / Hr.
อัตราสิ้นเปลืองพลังงาน
ตัวอย่างการคำนวณค่าไฟฟ้าในอาคารหนึ่งใช้ระบบปรับอากาศแบบอีแว๊ป มีพัดลมระบายอากาศ 48 นิ้ว 6 ตัว ปั้มน้ำ 1 แรงม้า 1 ตัว จะมีอัตราสิ้นเปลืองพลังงานเท่าใด
- พัดลมระบายอากาศ 48 นิ้ว
V = (W x HP x Hr.) / 1000
= (750 x 6 x 1) / 1000
= 4.5 Unit / Hr.
- ปั้มน้ำ
V = (W x HP x Hr) / 1000
= (750 x 1 x 1) / 1000
= 0.75 Unit / Hr.
ดังนั้นถ้าเปิดระบบ 30 วัน ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ค่าไฟฟ้า 3 บาท ต่อหน่วย
ค่าไฟฟ้า = { 24 x ( 4.5 + 0.75 ) } 3
1 วัน = 378 บาท
30 วัน = 11,340 บาท
*** หมายเหตุ การคำนวณนี้เป็นการคำนวณที่อุปกรณ์ทำงานที่ 100 เปอร์เซ็นต์
ตัวอย่างการใช้ในบ้านนก ขนาด 1.8x1.8 เมตร ใช้พัดลมดูดอากาศ โดยเจาะช่อง 25 x25 เซนติเมตร
http://swiftletsupply.com/index.php/2010-08-09-08-10-17/view-postlist/forum-64/topic-64-.html
evaporative cooling คือการลดอุณหภูมิอากาศ โดยอาศัยการระเหยของน้ำเพื่อลดอุณหภูมิ อากาศประกอบด้วย ออกซิเจน 21 % ไนโตรเจน 78% คาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สอื่นๆ เราเรียกส่วนนี้ว่าอากาศแห้ง ตัวที่ 2 คือไอน้ำในอากาศเราเรียกว่าอากาศเปียก การวัดค่าความชื้นทำโดยการวัดอุณหภูมิอากาศด้วยตุ้มแห้ง และตุ้มเปียก(พันกระเปาะด้วยสำลีจุ่มน้ำให้เปียก) แล้วเปิดกราฟก็จะทราบไอน้ำและความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นในอากาศ 100% หมายความว่า อุณหภูมิตุ้มแห้งและตุ้มเปียกจะอ่านได้เท่ากัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่ร้อนชื้นตุ้มแห้งและตุ้มเปียกต่างกันไม่มาก หน้าร้อนจัดอุณหภูมิอากาศตุ้มแห้งวัดได้ 41 C ตุ้มเปียกวัดได้ 38 C RH ~ 60% ถ้าเอาน้ำสเปร์ใส่กระดาษลูกฟูก คูลลิ่งแพดตาม video น้ำระเหยอากาศ 41 วิ่งผ่านกระดาษลูกฟูกลดอุณหภูมิลง 38 C (ไม่มีทางที่จะต่ำกว่า 38 C) อากาศที่ออกจากพัดลมก็จะมีอุณหภูมิลดลง ข้อเสียของการปรับอากาศแบบนี้คือ
1 อุณหภูมิที่ได้ลดลงเพียง 3-5 องศา ประเทศที่มีความชื้นในอากาศต่ำจะลดได้มากกว่านี้
2 การลดอุณหภูมิแบบนี้จะสร้างความชื้นในเล้าไก่เกือบ 100%
3 เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านลด อุณหภูมิ และความชื้นพร้อมกันทำให้เย็นสบายและแห้ง
4 ระบบแบบนี้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าแบบที่ 3
5 การบำรุงรักษายุ่งยาก
6 ความชื้นมากเป็นที่มาของเชื้อราและเชื้อโรค
พัดลมที่ใช้กันงานนอกอาคารที่มีพ่นไอน้ำกับพัดลมหายไปจากวงการ หลังจากบูมอยู่พักเนื่องจากลดอุณหภุมิได้น้อยไม่สบายตัวอึดอัด
ที่มา
http://myswiftlethouse.blogspot.com/2011/09/evaporative-cooling-system.html
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=82241.0