แตนเบียน (parasitic wasps) เป็นแมลงในอันดับ Hymenoptera อยู่ในอันดับเดียวกับ ผึ้ง มด ต่อ และแตน แต่เนื่องจากมีช่วงหนึ่งของชีวิต ที่ต้องอาศัยอยู่ภายใน หรือ ภายนอกแมลงชนิดอื่น และกินแมลงนั้นเป็นอาหาร จึงได้ชื่อว่า แตนเบียน จะต่างจากปรสิตตรงที่ในที่สุดจะฆ่าแมลงอาศัย ในขณะที่ปรสิตทำให้เจ้าบ้านอ่อนแอ หรือ เกิดโรค แต่ไม่ฆ่าเจ้าบ้าน
แมลงในกลุ่มนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก อาจสูงกว่าแมลงในกลุ่มด้วงซึ่งเคยคาดว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุดในกลุ่มแมลง สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักแตนเบียนมากเท่ากับผึ้ง และมด ต่อ แตน อาจมาจากแตนเบียนเป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก บางชนิดไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาจมีขนาดเล็กมากถึง 0.5 มิลลิเมตร ซึ่งแตนเบียนกลุ่มนี้จะเบียนไข่ของแมลงชนิดอื่น นอกจากนี้แตนเบียนมีลักษณะโครงสร้างของร่างกายที่เปราะบาง ต้องใช้ความระมัดระวังสูงในการเก็บรักษาตัวอย่าง
อย่างไรก็ตาม แมลงในกลุ่มนี้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและนิเวศวิทยา ไม่ต่างจากแมลงกลุ่มอื่นในอันดับเดียวกัน เนื่องจากแตนเบียนดำรงชีวิตกึ่งปรสิต จึงเป็นตัวควบคุมจำนวนประชากรของแมลงชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะแมลงที่เป็นศัตรูพืชและแมลงที่เป็นพาหะนำโรค สามารถนำความรู้นี้มาประยุกต์ใช้ในกาควบคุมโดยชีววิธีซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ลดการใช้สารฆ่าแมลง และรักษาสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบันประเทศไทยได้นำแตนเบียนมาใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูในธรรมชาติแล้ว เช่น Anastatus sp. และ Ooencurtus sp. ใช้เบียนมวลลำไย Tesseratoma papillosaและใช้แตนเบียนชนิด Cotesia plutellae และ Diadegma semiclausum เบียนหนอนใยผัก ซึ่งหนอนชนิดนี้ได้ก่อให้เกิดผลเสียทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง เพราะมันทำลายพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เช่น กะหล่ำปลี กวางตุ้ง ผักกาดหัว ผักกาดขาวปลี และผักอื่นๆ อีกหลายชนิด นอกจากนี้แตนเบียนยังเป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาสายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการอนุกรมวิธานความสัมพันธ์ระหว่างแมลงอาศัยและแตนเบียนรวมถึงระบบนิเวศวิทยา
การทำลาย | ||
ตัวเมียจะใช้ส่วนของอวัยวะเพศเจาะแทงเข้าไปตามส่วนบนของไข่หนอนผีเสื้อ ไข่ 1 ฟอง สามารถมีแตนเบียนไข่ได้ 1-4 ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอาหารภายในไข่ของหนอนผีเสื้อ ส่วนปากของตัวอ่อนแตนเบียนไข่มีลักษณะคล้าย ตะขอ 2 อัน โค้งชี้เข้าหากันจะเจาะกินของเหลวภายในส่วนของคัพภะ ตัวอ่อนจะมีอยู่ 3 ระยะ หลังจากนั้นจะพักและหดตัว จะสังเกตุเห็นว่าไข่ของผีเสื้อที่ถูกแตนเบียนทำลายภายในระยะเวลา 3 วัน หลังจากการวางไข่ ไข่ของหนอนผีเสื้อจะเปลี่ยน เป็นสีดำเข้มและจะไม่ฟักเป็นตัวหนอน | ||
ลักษณะหนอนกออ้อย
|
ลักษณะไข่หนอนกออ้อยปกติ
|
ลักษณะของไข่หนอนกออ้อย
ที่ถูกแตนเบียนทริโคแกรมม่าทำลาย
|
ใช้ควบคุม | ||
แตนเบียนไข่ทริโคแกรมม่าเป็นแมลงเบียนที่ทำลายไข่ของหนอนผีเสื้อได้หลายชนิดคือ ไข่หนอนเจาะสมอฝ้าย ไข่หนอนกออ้อย ไข่หนอนกอข้าว ไข่หนอนม้วนใบข้าว ไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ไข่หนอนใยผัก ไข่หนอนแก้วส้ม ไข่หนอนคืบละหุ่ง ไข่หนอนบุ้งปกขาว ไข่หนอนคืบกะหล่ำปลี เป็นต้น | ||
การนำแตนเบียนไข่ทริโคแกรมม่าไปใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช | ||
1) ต้องมีการสำรวจไข่ของแมลงศัตรูพืชในไร่ก่อนปล่อย ถ้าพบว่ามีการวางไข่ของแมลงศัตรูพืชระดับ 5-10 % ก็เริ่มทำการปล่อยได้ ถ้าไม่พบไข่ของแมลงศัตรูพืชก็ยังไม่ต้องปล่อย 2) ระยะเวลาของการฟักเป็นตัวเต็มวัยของแตนเบียนไข่ จะต้องสัมพันธ์ให้ถูกกับจังหวะระยะเวลาวางไข่ของ แมลงศัตรูพืช 3) การปล่อยแตนเบียนไข่ให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกต้องปล่อยเหนือทิศทางลม 4) ปริมาณปล่อยอัตราที่เหมาะสม 20,000-30,000 ตัวต่อไร่ 5) อัตราการฟักเป็นตัวเต็มวัยของเพศเมียในไข่แตนเบียนที่จะนำไปปล่อยควรอยู่ที่ระดับ 50 % ขึ้นไป 6) สภาพพื้นที่ปล่อยฝนต้องไม่ตก ไม่ร้อนและลมไม่แรงเกินไป 7) อุปกรณ์ในการใส่บรรจุแตนเบียนไข่ที่จะนำไปปล่อยในไร่ต้องมีการป้องกันแมลงอื่น เช่น มดเข้าทำลายได้ และป้องกันฝนด้วย 8) ช่วงเวลาปล่อยควรเป็นเวลา 16:00 น. เป็นต้นไป 9) จุดปล่อยในพื้นที่แต่ละจุดห่างกัน 15-20 เมตร ทั้งแนวตรงและแนวข้างใน 1 ไร่ ไม่ควรเกิน 6 จุด |
ที่มา
http://www.pmc08.doae.go.th/tanbeantricoderma.htm
http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=2297.0