วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

ข้าวไรซ์เบอรี่ Riceberry

alt 
             













ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ลักษณะเป็นข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ข้าวกล้องมีความนุ่มนวลมาก สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ให้ผลผลิตต่อปานกลาง ต้านทานต่อโรคไหม้ ไม่ต้านทานโรคหลาว จึงควรเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ทุกรอบการปลูก
             คุณสมบัติเด่นทางด้านโภชนาการของข้าวไรซ์เบอรี่ คือมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ เบต้าแคโรทีน,แกมมาโอไรซานอล, วิตามินอี, แทนนิน, สังกะสี, โฟเลตสูง, มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง นอกจากนี้รำข้าวและน้ำมันรำข้าว ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดีเหมาะสำหรับใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหารเชิงบำบัดอีกด้วย
alt 
























ลักษณะประจำพันธุ์ข้าว
ไรซ์เบอรี่ Riceberry

 ความสูง                                                 105-110 ซม.
อายุเก็บเกี่ยว                                           130 วัน
ผลผลิต                                                  300-500 กก. / ไร่
% ข้าวกล้อง (Brown rice)                         76 %        
% ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด (head rice)          50 %
ความยาวของเมล็ด     ข้าวเปลือก 11 ม.ม.   ข้าวกล้อง 7.5 ม.ม.  ข้าวขัด 7.0 ม.ม.

คุณสมบัติทางโภชนาการในข้าวกล้องไรซ์เบอรี่  Riceberry
  ปริมาณ Amylose                         15.6   %  
  อุณหภูมิแป้งสุก                           < 70  ° C
  ธาตุเหล็ก                                   13-18 mg/kg            
  ธาตุสังกะสี                                  31.9   mg/kg
  โอเมกา-3                                   25.51 mg/100g         
  วิตามิน อี                                    678    ug /100g
  โฟเลต                                       48.1   ug/100g          
  เบต้าแคโรทีน                              63      ug/100g
  โพลีฟีนอล                                  113.5 mg/100g         
  แทนนิน                                      89.33 mg/100g
  แกมมา-โอไรซานอล                      462    ug/g
  สารต้านอนุมูลอิสระ
  ชนิดละลายในน้ำ                           47.5mg ascorbic acid quivalent/100g
  ชนิดละลายในน้ำมัน                       33.4 mg trolox equivalent/100 g

  ข้อจำกัด :- ข้าวที่ต้องการเอาใจใส่เป็นพิเศษ, ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์, ต้องสภาพอากาศเย็น เพื่อสร้างสีเมล็ด
    ข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้ปรับปรุงพันธุ์จากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ได้รับความร่วมมือจาก คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  พันธุ์ข้าวนี้ได้จดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่แล้ว  ห้ามนำไปขยายพันธุ์เชิงการค้าต่อ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)   และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ที่มา http://dna.kps.ku.ac.th