ว่ากันด้วยเรื่องของปั๊มน้ำกันต่อเลยดีกว่าเพราะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยลดปัญหาเรื่องแรงงานการให้น้ำพืชและก็อยากจะเริ่มด้วยปั๊มน้ำแบบใช้ไฟฟ้าเพราะหากคิดเป็นอัตราต่อหน่วยแล้วค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าปั๊มน้ำแบบที่ใช้น้ำมันทั้งราคาอุปกรณ์หรือตัวปั๊มน้ำก็ยังถูกกว่าอีกด้วย ซึ่งจริงๆแล้วปั๊มน้ำมีหลายชนิดและหลายประเภทมากและก็ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและสภาพพื้นที่ด้วยว่าควรใช้ปั๊มน้ำประเภทไหนถึงจะเหมาะสม ถึงแม้ว่าปั๊มน้ำไฟฟ้าจะมีหลายแบบแต่ที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ ในปัจจุบันนี้ก็มีอยู่ไม่กี่แบบ เช่น
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่ง (Centrifugal pump) เป็นปั๊มที่เห็นได้ทั่วไปตามท้องตลาดเพราะเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายใช้งานได้เกือบทุกสภาวะพื้นที่และการทำงานของปั๊มชนิดนี้ก็เรียบง่ายซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีตัวหอยโข่งติดมากับปั๊มน้ำเลย หรือมีบางรุ่นที่แยกขายเฉพาะตัวหอยโข่งเพื่อนำไปดัดแปลงหรือประยุกต์ใช้งานกับตัวขับเคลื่อนชนิดอื่น ข้อเสียของปั๊มน้ำนี้ก็คือกำลังดึงที่น้อยคือไม่เหมาะกับการดึงน้ำจากที่ลึกมากๆ โดยส่วนใหญ่จะใช้ดึงน้ำจากแหล่งน้ำบริเวณผิวดินหรือความลึกประมาณ 4 – 8 เมตรซึ่งก็แล้วแต่กำลังขับเคลื่อนของมอร์เตอร์ ข้อดีคือการซ่อมแซมบำรุงรักษาที่ง่ายเพราะปั๊มน้ำแบบหอยโขงเป็นระบบการทำงานที่เรียบง่ายที่มากับความแรงและปริมาณของน้ำที่ตัวปั๊มสามารถผลักดันออกไปได้มาก เช่น
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่งขนาด 1 แรงม้าสูบน้ำได้ประมาณ 200 – 300 ลิตรต่อนาที
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่งขนาด 2 แรงม้าสูบน้ำได้ประมาณ 500 – 600 ลิตรต่อนาที
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่งขนาด 3 แรงม้าสูบน้ำได้ประมาณ 900 – 1,100 ลิตรต่อนาที
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่งขนาด 1 แรงม้าสูบน้ำได้ประมาณ 200 – 300 ลิตรต่อนาที
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่งขนาด 2 แรงม้าสูบน้ำได้ประมาณ 500 – 600 ลิตรต่อนาที
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่งขนาด 3 แรงม้าสูบน้ำได้ประมาณ 900 – 1,100 ลิตรต่อนาที
ปั๊มน้ำแบบจุ่มหรือไดโว่ (submersible pump) ข้อดีคือความสะดวกเหมาะสำหรับพื้นที่จำกัด ตัวปั๊มจะต้องอยู่ในน้ำแล้วส่งน้ำขึ้นไปยังพื้นที่ที่ต้องการผ่านสายยางหรือท่อน้ำที่ต่อไว้ ส่วนข้อเสียนั้นก็ไม่พ้นเรื่องแรงดันน้ำที่ได้ค่อนข้างน้อย (เมื่อเทียบแรงม้ากับปั๊มน้ำชนิดอื่น) และระยะทางที่ค่อนข้างสั้นแต่ในบางสถานการณ์ปั๊มน้ำแบบนี้ก็เป็นพระเอกได้เหมือนกันซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ที่จะใช้งาน
*** ขอขอบพระคุณรูปภาพจากอินเตอร์เนตและเวปเพื่อนบ้านครับ ที่เอื้อเฟื้อรูปภาพและขอรับรองว่ารูปดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้เพื่อจุดประสงค์ ทางการค้าแต่อย่างใดครับ ***
ปั๊มน้ำแบบสูบชักหรือปั๊มน้ำแบบชัก ปั๊มน้ำประเภทนี้จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือตัวมอเตอร์ที่เป็นตัวขับเคลื่อนและตัวปั๊มที่ทำหน้าที่สูบดึงน้ำ ข้อดีของปั๊มชนิดนี้คือมีกำลังในการดึงสูงหรือเหมาะสมกับการดึงน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูงหรือบ่อน้ำที่มีความลึกมาก (ประมาณ 8 – 12 เมตรจากระดับพื้นดินซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดของมอเตอร์และขนาดของก้านสูบ) ส่วนกำลังหรือแรงม้านั้นก็แล้วแต่มอเตอร์ที่ท่านใส่เข้าไป อิอิอิ ประมาณว่าอยากได้แรงก็ซื้อมอเตอร์ตัวใหญ่ๆ ว่างั้นเถอะ ข้อเสียก็เป็นเรื่องของอัตราการสึกหรอที่มากกว่าปั๊มน้ำแบบหอยโข่งซึ่งต้องการดูแลบำรุงรักษาหรืออัดน้ำมันหล่อลื่นเป็นพักๆ
*** ขอขอบพระคุณรูปภาพจากอินเตอร์เนตและเวปเพื่อนบ้านครับ ที่เอื้อเฟื้อรูปภาพและขอรับรองว่ารูปดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้เพื่อจุดประสงค์ ทางการค้าแต่อย่างใดครับ ***
ปั๊มน้ำแบบแรงดันหรืออัตโนมัติแบบที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไปตามบ้านเรือนและที่พักอาศัย ถึงแม้ว่าจะไม่เหมาะสมกับการเกษตรหรือการใช้งานที่ต้องการความแรงนักเพราะถังเก็บความดันเองจะเป็นตัวลดความแรง
ของน้ำ แต่ก็มีบางท่านดัดแปลงหรือเลือกซื้อปั๊มอัตโนมัติที่มีแรงม้าสูงๆ มาใช้ในการเกษตรซึ่งก้ได้ผลอยู่มนระดับหนึ่งแต่ข้อเสียอันใหญ่หลวงของปั๊มน้ำอัตโนมัติก็คือราคาแพงและยิ่งแรงวัตต์สูงหรือกำลังสูงๆ ก็ยิ่งแพงขึ้นไปอีก -__-!!!
ของน้ำ แต่ก็มีบางท่านดัดแปลงหรือเลือกซื้อปั๊มอัตโนมัติที่มีแรงม้าสูงๆ มาใช้ในการเกษตรซึ่งก้ได้ผลอยู่มนระดับหนึ่งแต่ข้อเสียอันใหญ่หลวงของปั๊มน้ำอัตโนมัติก็คือราคาแพงและยิ่งแรงวัตต์สูงหรือกำลังสูงๆ ก็ยิ่งแพงขึ้นไปอีก -__-!!!
*** ขอขอบพระคุณรูปภาพจากอินเตอร์เนตและเวปเพื่อนบ้านครับ ที่เอื้อเฟื้อรูปภาพและขอรับรองว่ารูปดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการค้าแต่อย่างใดครับ ***
แต่ละประเภทแต่ละแบบก็มีข้อดีในตัว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและสภาพพื้นที่แต่ถ้าถามถึงความชอบส่วนตัวแล้วผู้เขียนชอบปั๊มน้ำแบบหอยโข่ง (Centrifugal pump) มากที่สุดเพราะดูแลรักษาค่อนข้างง่ายเพราะการทำงานไม่สลับซับซ้อน การเลือกใช้ปั๊มให้ถูกต้องตามลักษณะพื้นที่จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ลดต้นทุนในด้านแรงงานสำหรับการเกษตร เพราะระบบน้ำถือเป็นอีกระบบหนึ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับการเกษตร