- สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
มะนาวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิต ไม่ว่าจะเป็น ดินเหนียว ดินทราย แต่ถ้าต้องการจะปลูกมะนาว ให้เจริญงอกงามดี มี ผลดก และคุณภาพดี ก็ควรจะปลูกในพื้นท ี่ที่เป็นดินร่วนซุย มีการระบาย น้ำดี มีอินทรียวัตถุผสม อยู่มาก และควรเลือกพื้นที่ที่อยูใกล้แหล่งน้ำ |
- การเตรียมพื้นที่ปลูก
1. พื้นที่ลุ่ม เตรียมพื้นที่โดยการทำคันดินใหัมีความกว้างประมาณ 6-8 เมตร ส่วนสูงให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูงโดยให้อยู่สูงกว่า แนวระดับน้ำท่วม 50 เซนติเมตร แทงร่องหรือซอยร่องทำประตูน้ำเพื่อ ระบายน้ำเข้าออก ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร พื้นที่ร่องกว้าง 0.5-0.7 เมตร ใช้ระยะปลูก 5X5 เมตร 2. พื้นที่ดอน ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช และทำให้ดินร่วนซุย ใช้ระยะปลูก 4 x 4 - 6 x 6 เมตร ทั้งนี้ขื้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน |
- วิธีการปลูก
- ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ควรขุดหลุมปลูก ให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตเข้าด้วยกัน ในหลุมให้ สูงประมาญ 2 ใน 3 ของหลุม ยกถุงกล้า ต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่า ระดับดินปากหลุมเล็กน้อย ใช้มีดที่คม กรีดถุง จากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ช้ายและขวา)
|
| |
-
- ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมพัดโยก หาวัสถุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง รดน้ำให้โชก ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
|
- การปฏิบัติดูแลรักษา
|
- 1. การให้น้ำ
ต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะ ในช่วง ที่ปลูกใหม่ๆ ควรให้น้ำวันละครั้งเป็นอย่างน้อย (กรณีฝนไม่ตก) หลังจากปลูกประมาณ 15 วัน มะนาวสามารถตั้งตัวได้แล้ว ให้น้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง และควรหา วัสดุมาคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชื้น |
| |
- ควรเริ่มงดให้น้ำ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม เป็นต้นไป จนถึงช่วงออกดอก เพื่อให้มะนาวสะสม อาหารให้สูงถึงระดับที่สามารถสร้างตาดอกได้ ปกติมะนาวจะออกดอก เดือนเมษายน-พฤษภาคม หลังจากมะนาวออกดอก และกำลังติดผลอ่อน เป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมาก เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ของผล
|
- 2. การใส่ปุ๋ย
2.1 หลังจากมะนาวอายุได้ 3-4 เดือน ควรใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ประมาณต้นละ 0.5 กิโลกรัม กรณีใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่หลังจาก พรวนดิน กำจัดวัชพืชแล้ว โดยใส่บริเวญรอบทรงพุ่ม แล้วก็ให้น้ำ ตามเพื่อ ให้ปุ๋ยละลาย |
| |
- 2.2 เมื่อมะนาวอายุ 1 ปี ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ ต้นละ 300 กรัม และเมื่อมะนาวอายุ 2 ปี ก็เพิ่มปริมาญปุ๋ยโดยใส่ปีละ 2 ครั้ง ๆ ละประมาณ 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ขี้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ ของตน และเมื่อมะนาว อายุย่างเข้าปีที่ 3 ก็จะเริ่มให้ผลผลิต
2.3 ช่วงระยะก่อนออกดอกประมาณ 1-2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ย สูตรที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 3-10-10 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะที่ยังไม่ออกดอก และใช้สูตร 0-52-34 ในระยะเร่งการออกดอก ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ปริมาณที่ใช้ ขึ้นอยู่กับอายุของต้นพืช โดยใส่ในปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้น 3. การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชในสวนมะนาวสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้าแต่ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนราก วิธีกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือการใช้สารเคมี เช่น พาราชวิท ไกลโฟเสท ดาวพอน เป็นตัน โดยการใช้จะต้องระวัง อย่าให้สารพวกนี้ปลิวไปถูกใบมะนาวเพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่นทำให้ ใบไหม้เหลืองเป็นจุดๆ หรือไหม้ทั้งใบ ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นตอนลมสงบ 4. การค้ำกิ่ง เมื่อมะนาวใกล้จะผลิดอกออกผล ต้องมีการค้ำกิ่งให้กับต้นมะนาวด้วย เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักหรือฉีกขาดโดยเฉพาะในช่วงติดผล และยังช่วยลดความเสียหาย เนื่องจากโรคและแมลงได้ โดยวิธีการค้ำกิ่ง สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1. การค้ำกิ่งโดยการใช้ไม้รวกหรือไม์ไผ่ทำเป็นง่าม สอดเขัากับกิ่งมะนาว ให้ปลายอีกข้างหนึ่งวางตั้งรับน้ำหนักของกิ่งอยู่บนพื้นดิน แล้วใช้เชือกผูกมัดกิ่งไว้ 2. การค้ำกิ่งแบบคอกหรือนั่งร้าน โดยเอาไม้มาทำเป็นนั่งร้านรูปสี่เหลี่ยนรอบๆ ต้นมะนาวเพื่อรองรับกิ่งใหญ่ ๆ ของมะนาวไว้ อาจทำเป็น 2-3 ชั้น แล้วให้กิ่งพาดอยู่ที่ชั้นใดก็ได้ ซึ่งวิธีนื้จะมั่นคงทนทาน และใชัประโยชน์ได้ดีกว่าวิธีแรก 5. การตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้มะนาวมีทรงพุ่มสวยและให้ผลดกปราศจากการทำลายของโรคและแมลง การตัดแต่งกิ่งควรทำหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้ง กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด แล้วนำไปเผาทำลาย อย่าปล่อยทิ้งไว้ตามโคนต้น เพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรคได้ |
- โรคที่สำคัญของมะนาว
- 1. โรคแคงเกอร์
ลักษณะอาการ จะเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้งที่ใบ กิ่งก้าน และผล โดยอาการที่ใบและผล จะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม |
| |
- ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลือง ล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟูนูนสีเหลือง ต่อมาแผลจะ แตกแห้ง เป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างธองแผลไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวน ล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์ พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล และ ป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมี กำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน |
- 2. โรคราดำ
ลักษณะอาการ ใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำ สกปรก กระด้าง ทำให้ผมไม่สวย ต้นมะนาวจะแคระแกร็น การป้องกันกำจัด ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟหรือใช้ สารเคมีกำจัดแมลงฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงประเภท ปากดูดชึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดโรคราดำ |
| |
- 3. โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว)
ลักษณะอาการ ใบจะด่างเป็นสีเหลือง หรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กลง ในที่สุดใบและยอดจะแห้งตาย ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม การป้องกันกำจัด ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ ใส่ปุ๋ยที่มี ธาตุสังกะสีและ แมกนีเชียม ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินใหัอยู่ระหว่าง 6.0-6.5 |
| |
- 4. โรคยางไหล
ลักษณะอาการ มีอาการยางไหลบริเวญลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกจะเน่าและแผลจะลุกลามไปถึงเนื้อไม้ การป้องกันกำจัด ควรตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง และควรทาบาดแผลด้วยสารทองแดงหรือกำมะถันผสมปูนขาว ถ้ามีการระบาดมากก็เผาทำลายเสีย |
| |
- 5. โรครากเน่าและโคนเน่า
ลักษณะอาการ รากฝอยและรากแขนง จะเน่ามีสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกของลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะ โคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมากๆ จะทำให้ใบเหลือง และร่วงหล่น การป้องกันกำจัด อย่าให้มีน้ำขัง บริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน |
| |
- แมลงศัตรูที่สำคัญ
- 1. หนอนชอนใบ
ลักษณะอาการ จะทำความเสียหายให้กับมะนาวในระยะแตก ใบอ่อน โดยจะชอนไชกัดกินอยู่ระหว่างผิวใบด้านหน้าและหลังใบ จะมอง เห็นเป็นทางสีขาวคดเคี้ยวไปมา ใบหงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ และใบไม่เจริญเติบโต ต้นมะนาวจะแคระแกร็นและไม่ติตผล |
| |
- การป้องกันกำจัด
หมั่นตรวจดูตามใบและยอดของมะนาว โดยเฉพาะระยะที่มะนาวเริ่มผลิใบอ่อน กรณีที่ระบาดน้อยให้เด็ดใบเผาทำลาย หากพบมากใหัฉีดพ่น สารเคมีกำจัดแมลง กลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน หรือฟอร์โมไธออน ในอัตราที่ฉลากกำหนด |
- 2. หนอนกินใบ (หนอนแก้ว)
ลักษณะอาการ กัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของมะนาว การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจตูตามใบอ่อนและยอดอ่อน เมื่อพบไข่และตัวหนอนก็จับทำลายเสีย ฉีดพ่นสารเคมีกำจัตแมลงกลุ่มเมทามิโดฟอสที่มีชื่อทางการค้าว่า ทามารอน ในอัตรา 20-30 ซีซี. หรือประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้น |
| |
- 3. เพลื้ยไฟ
ลักษณะอาการ จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลการทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน นับแต่เริ่มติดผล ช่วงระยะการระบาด จะขี้นอยู่กับการแตกยอดอ่อน และระยะติดผล ผลที่ถูกทำลายจะ ปรากฎรอยสีเทา เป็นวงบริเวณขั้วผล และก้นผลหรือเป็นขีดสีเทาตาม ความยาวของผล การป้องกันกำจัด เด็ดผลที่แคระแกร็น ถ้าพบการทำลายของเพลี้ย ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง ได้แก่ คาร์โบชัลแฟน เปอร์เมทริน |
- 4. ไรแดง
ลักษณะอาการ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหงิกงอ ไม่เจริญเติบโตและร่วงหล่น ผลมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในเวลาต่อมา ผิวผลจะกร้าน ผลแคระแกร็น และร่วงในที่สุด การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผงชนิดละลายน้ำในอัตรา 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 10-15 วัน ในตอนเช้า หรือตอนเย็น เพื่อป้องกันอาการใบไหม้ |
| |
- การบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดู
- การบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดู สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ จะทำให้ต้นมะนาวไม่โทรมเร็วเกินไปควรปฎิบัติดังนี้
กันยายน : ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน 1:3:3 เช่นปุ๋ยสูตร 8:24:24 เพื่อบำรุงให้ใบแก่เร็วขื้น และเก็บอาหารไว้บำรุงดอกต่อไป ตุลาคม : งดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะนาวมีการเก็บสะสมอาหาร จนเมื่อถึงปลายเดือนตุลาคมจึงค่อยให้น้ำเต็มที่ พฤศจิกายน : มะนาวเริ่มออกดอก ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน กำจัดแมลง ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ดอกจะเริ่มบาน และเริ่ม ติดผล ควรป้องกันกำจัดแมลงในช่วงนี้ด้วย ธันวาคม : ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน 1:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 15:15:15 หรือ 16:16:16 เพื่อบำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์ กุมภาพันธ์เป็นต้นไป : ผลมะนาวจะเริ่มโตพอที่จะเก็บเกี่ยวได้บ้าง ในระยะแรก จนกระทั่งกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเตือนเมษายน ผลมะนาวก็จะโตพอที่จะเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งจะตรงกับช่วงที่มะนาวมีราคาแพงพอดี หลังจากที่ได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ประมาณเดือนพฤษภาคม ควรทำการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีสูตร 15:15:15 เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ และ พร้อมสำหรับการผลิตมะนาวนอกฤดูในปีต่อไป |
- การเก็บเกี่ยว
- การเก็บผลมะนาว ถ้าต้นเตี้ยหรือไม่สูงมากนัก ก็เก็บ โดยใช้มือปลิด แต่ถ้าต้นสูง นิยมเก็บโดยใช้มีด หรือตะขอผูกติด กับด้ามไม้รวกยาว ๆ คล้อง และกระตุกผลมะนาวลงมา
|
| |
- แต่ถ้าต้องการให้ได้ผลมะนาวที่มีคุญภาพ ไม่บอบช้ำ ก็ควรจะใช้ตะกร้อหวาย ในการเก็บเกี่ยว ควรเก็บในขณะที่ผลเริ่มแก่ โดยสังเกตจากด้านขั้วของผลเริ่มมีสีเหลือง เล็กน้อยผิวเปลือกจะเรียบบางใส มีสีเขียวอ่อนกว่าผลที่ยังไม่แก่ เมื่อบีบดูจะค่อนข้างนุ่มมือ ไม่ควรเก็บมะนาวที่แก่เกินไป เพราะเปลือกจะบางมาก ทำให้เกิดความเสียหาย ในการขนส่งได้ง่าย อีกทั้งเมื่อนำไปขายจะทำให้ขายได้ไม่นานผลเน่าเสียหายได้เร็ว
|
- การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
- วิธีการเก็บรักษามะนาวให้ไว้ได้นาน ต้องคัดผลมะนาวเสียก่อน โดยเลือกเอาผลมะนาว ที่แก่พอเหมาะ มีสีเขียวจัด ไม่มีสีเหลืองปน ไม่มีรอยช้ำหรือเน่า และควรมีขั้วผลติดอยู่ด้วย จากนั้นนำมาล้างทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรอกช์ ผสมน้ำในอัตรา 1 ต่อ 15 ส่วน แช่ผลมะนาวไว้นานประมาณ 5 นาที แล้วนำผลมะนาวมาผึ่งลมบนตะแกรง เพื่อให้สะเด็ดน้ำ แล้วจึงทำการคัดขนาดและบรรจุเข่งหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ ตามที่ตลาด ต้องการ
- ปฏิทินปฏิบัตดูแลรักษามะนาว
-
ม.ค.-ก.พ. | มี.ค.-เม.ย. | พ.ค.-ก.ค. | ส.ค.-ต.ค. | พ.ย.-ธ.ค. | ออกใบอ่อน | ออกช่อดอก | ผลเจริญเติบโต | เก็บเกี่ยวผลผลิต | ตัดแต่งกิ่ง | ฉีดพ่นสารเคมี ป้องกันกำจัด โรคและแมลง | ฉีดพ่นสารเคมี ป้องกันกำจัดโรค และแมลง | ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 | - | ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 | ให้น้ำสม่ำเสมอ | ให้น้ำสม่ำเสมอ | ฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน กำจัดโรคและแมลง | - | - | - | ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 | - | - | - |
|
ที่มา http://www.sisaket.go.th/WEB_ldd/Plant/Page07.htm#Title8
|