วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553
รวบรวมข้อมูล เกษตรใช้ แก้ส LPG
เครื่องยนต์เบนซินกับดีเซล ใช้หลักการต่างกันครับ ต่างกันที่ระบบจุดระเบิดและระบบควบคุมไอดี การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ดีเซลจะจุดระเบิดโดยการสร้างแรงอัดอากาศในห้อง เผาไหม้เพื่อให้เกิดความร้อนสูงซึ่งน้ำมันดีเซลจะสามารถลุกติดไฟได้เอง(salf ignition point)ที่อุณหภูมิ210องศาแต่น้ำมันเบนซินจะติดไฟเองที่อุณหภูมิสูงกว่าดีเซล อยู่ที่246องศา แต่เบนซินจะมีจุดวาบไฟ(flash point)ต่ำกว่าดีเซล หมายถึงถ้ามีประกายไฟน้ำมันเบนซินจะติดไฟได้เร็วกว่าดีเซลฉะนั้นเครื่องยนต์ เบนซินจึงต้องมีหัวเทียนจุดระเบิดไงครับ
เอาแบบง่ายๆนะครับ เครื่องยนต์เบนซินสามารถเปลี่ยนไปใช้แก๊สเพียวๆได้เลยโดยไม่ต้องใช้น้ำมัน เพราะLPGมีจุดวาบไฟอยู่ที่23องศา(หมายถึงถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า23องศาLPGจะไม่ ติดไฟแต่เบนซินจะสามารถจุดไฟติดที่อุณหภูมิ-40องศาจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึง ต้องstartด้วยน้ำมันตอนเครื่องเย็นเพราะเบนซินติดไฟได้ดีกว่าที่อุณหภูมิต่ำ ทุกอย่างมันมีที่มาที่ไปทั้งนั้นครับ) ส่วนเครื่องดีเซลเดิมๆไม่สามารถใช้แก๊สเพียงอย่างเดียวได้เพราะมันไม่มีหัว เทียนไปจุดระเบิดให้แก๊สมันติดไฟได้นั่นเองแต่เราก็สามารถติดแก๊สได้เหมือน กันโดยใช้ร่วมกับดีเซลเพื่อให้ดีเซลจุดระเบิดนำก่อนแล้วแก๊สก็ติดไฟตามหลัง นิยมใช้ผสมในอัตราดีเซล40%แก็ส60%
แต่เครื่องยนต์ดีเซลถ้าต้องการให้ ใช้LPG100%ก็สามารถทำได้เช่นกันโดยการลดกำลังอัดในห้องเผาไหม้ลงให้เท่ากับ เครื่องเบนซินโดยการรองปะเก็นฝาสูบให้สูงขึ้นหรือเปลี่ยนลูกสูบไปใช้ลูกสูบ ที่ผลิตมาเฉพาะเครื่องยนต์แก๊สซึ่งจะมีหลุมที่หัวลูกสูบเพื่อลดกำลังอัดแล้ว เจาะฝาสูบเพื่อติดตั้งหัวเทียนติดตั้งcoilจุดระเบิดและชุดจานจ่ายเหมือนของ เครื่องเบนซินแล้วก็ต้องติดตั้งลิ้นปีกผีเสื้อที่ท่อไอดีเพื่อควบคุมอากาศ ด้วยจึงจะใช้งานได้ ลงทุนสูงครับนิยมดัดแปลงใช้ในพวกรถบรรทุกใหญ่จึงจะคุ้มทุน
การใช้แก๊สในเครื่องดีเซลจะมีข้อจำกัดเยอะกว่าครับถ้าติดในรถที่ใช้งานรอบ สูงจะมีกล่องECUเป็นตัวควบคุมการจ่ายแก๊สเพราะถ้าจ่ายแก๊สมากเกินไปเครื่อง จะเกิดความร้อนสูงและพังได้ ส่วนหม้อต้มก็จะใช้เฉพาะของดีเซล
ถ้าจะติด ในรถอีแต๋นสูบเดียวอย่าไปใส่หม้อต้มเบนซินที่มีขายอยู่ทั่วไปนะครับเพราะ เครื่องมันไม่มีลิ้นปีกผีเสื้อควบคุมปริมาณอากาศมันจะดูดแก๊สเข้าอย่างเดียว เลยครับอาจทำให้ฝาสูบบินออกจากเครื่องได้ครับเพราะหม้อต้มจะจ่ายแก๊สตามแรง ดูดของเครื่องยนต์
เอาวิธีง่ายๆแล้วกันครับทำแบบให้จ่ายแก๊สคงที่แล้ว เร่งเครื่องโดยน้ำมันจะปลอดภัยต่อเครื่องที่สุด
-เริ่มแรกต้องเจาะท่อไอ ดีก่อนแนะนำให้ถอดท่อไอดีออกมาแล้วไปซื้อบอลล์วาล์วของปั๊มลมขนาด2หุนแล้วไป จ้างร้านที่มีเครื่องเชื่อมอาร์กอนให้เขาเชื่อมให้เขาคิดราว50บาทเองครับไม่ แพงส่วนอีกด้านของวาล์วให้ต่อหางปลาไหลรอไว้เลย(หางปลาไหลก็คือข้อต่อสำหรับ ต่อท่อยางเข้ากับท่อเหล็กด้านนึงจะเป็นปล้องเรียวๆไว้ต่อกับท่อยางอีกด้านจะ เป็นเกลียวต่อกับวาล์วราคาหลักสิบบาทครับ)
-ถังแก๊สก็ใช้ถังแก๊สที่บ้าน นั่นแหละ เริ่มจากวาล์วหัวถังต้องมีเรกูเรเตอร์(ตัวปรับความดัน)แบบที่ใช้กับเตาแก๊ส ในบ้านต่อผ่านท่อยางสำหรับแก๊สมาเข้ากับหางปลาไหลซึ่งต่ออยู่กับวาล์วใช้แค ล้มป์รัดท่อให้แน่นหนางานจะออกมาดูดี
-ต่อไปติดเครื่องแล้วเดินเบาคงไม่ ต้องรอนานนะให้ปิดวาล์วที่ท่อไอดีก่อนแล้วจึงเปิดวาล์วที่หัวถังแก๊สจะออก มารออยู่ที่บอลล์วาล์ที่ท่อไอดี
-ค่อยๆเปิดวาล์วให้แก๊สไหลเข้าท่อไอ ดี(ให้นึกถึงเตาแก๊สที่บ้านเลยครับ)สังเกตุรอบเครื่องยนต์จะเพิ่มขึ้น เรื่อยๆตามปริมาณแก๊สเสร็จแล้วอาจไปลดน้ำมันได้อีกเล็กน้อยแต่ระวังอย่าให้ เครื่องเขกนะครับถ้าส่วนผสมน้ำมันน้อยไปเครื่องจะร้อนมากต้องระวังแต่ เครื่องจะแรงกว่าเดิมอีกมากเพราะมีแก๊สเข้าไปช่วยเผาไหม้
-เวลาขับก็เร่ง เครื่องโดยน้ำมันแบบปรกติแต่เราจะเหยียบคันเร่งน้อยลงที่รอบเครื่องเท่าเดิม มันจึงประหยัด แต่ก็ไม่เท่าใช้แก๊สเพียวๆ
ผมเคยออกแบบECUเองโดยใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์อ่านตำแหน่งการเหยียบคันเร่งให้จ่ายแก๊สช่วยเข้าไปด้วยใน ขณะเร่งเครื่องมันก็ประหยัดเพิ่มขึ้นได้ไม่มากแต่เครื่องยนต์จะร้อนมากไม่ คุ้มกับความเสียหายครับ
***อีกนิดถ้าเราจูนเชื้อเพลงให้บางมากแล้ว เครื่องยนต์มีโหลดเยอะอาจจะเกิดbackfireได้(เกิดการเผาไหม้ในท่อไอดี)จนทำ ให้หม้อกรองอากาศกระจุยได้ป้องกันง่ายๆให้ไปซื้อเช็กวาล์วมาใส่ที่ท่อไอดี ด้วยก็คงต้องเจาะอีกนั่นแหละแล้วต้องใส่ให้ถูกทิศทางนะครับให้ลองเป่าเช็ก วาล์วดูก่อนให้เอาด้านที่เป่าแล้วลมผ่านได้ต่อกับท่อไอดีเพราะถ้าเกิดระเบิด ในท่อไอดีตัวเช็กวาล์วจะช่วยระบายแรงดันที่เกิดจากการระเบิดออกมาครับไม่ ต้องกลัวว่ามันจะไประเบิดในถังแก๊สเพราะในถังไม่มีอากาศยังไงก็ไม่ระเบิด
ก่อน ดับเครื่องก็ให้ปิดที่วาล์วหัวถังก่อนรอบเครื่องจะตกแล้วปิดบอล์ลวาล์วทำแบบ เดียวกับเตาแก๊สที่บ้านเลยครับ
มิกเซอร์ เป็นอุปกรณ์ผสมแก๊สกับอากาศให้มีอัตราส่วนเหมาะสมกับการเผาไหม้ ก่อนจ่ายแก๊สเข้าเครื่องยนต์สำหรับการติดตั้งแก๊สระบบดูดระบบหัวฉีดไม่ต้อง ใช้มิกเซอร์ดูตัวอย่างในรูปครับ
มิกเซอร์ของรถยนต์ที่มีขายทั่วไป ส่วนใหญ่จะมีขนาดตั้งแต่54ม.ม.ขึ้นไปเห็นของใหม่ขายอยู่ที่ร้อยกว่าบาท มิกเซอร์เล็กๆที่ใช้กับเครื่องยนต์เล็กอาจหายากสักหน่อยหรือลองไปหาซื้อของ รถตุ๊กๆอาจพอใส่ได้ จริงๆมิกเซอร์ทำเองได้ไม่ยากตอนผมลองติดแก๊สครั้งแรกตอนนั้นน้ำมันเบนซิน ราคายังไม่ถึง20บาทเลยผมทำมิกเซอร์เองโดยใช้อลูมิเนียมมากลึงให้ได้ขนาดพอ ใส่ลงในปากคาบิวได้และคว้านรูในให้เป็นกรวยแล้วเจาะรูประมาณ2หุนด้านข้าง แล้วเอาท่อทองแดงเสียบเข้าไปติดด้วยกาวอีป๊อกซี่หรือเอารูปตัวอย่างไปให้โรง กลึงดูเขาก็ทำให้ได้ครับ
ใช้มิกเซอร์ดีครับเพราะแก๊สจะคลุกเคล้ากับอากาศได้ดีกว่าแบบไม่ใช้มิกเซอร์ ส่วนหม้อต้มไม่ใส่ก็ไม่เป็นไรเพราะอัตราไหลของแก๊สมันน้อยเพียงแต่ถ้า เครื่องยนต์มันเกิดดับกลางคันก็ให้รีบปิดแก็สเพราะแก๊สยังคงไหลออกจากถัง ตลอด
ขออนุญาติขยายความในคำตอบของคุณtamonให้มองเห็นภาพได้ชัดเจน ขึ้นนะครับ
คุณtamonคงจะใช้ถังแก๊สขนาด15กิโล ปรกติถังขนาด15กิโลจะมีเนื้อแก๊ส15กิโลและน้ำหนักถังเปล่า16.4กิโล
รวม ทั้งถังและแก๊ส31.4กิโลแต่ส่วนมากน้ำหนักจะขาดแต่คิดเต็มๆไปก่อนค่อยรอเพิ่ม เติมจากคุณtamonอีกทีผิดถูกยังไงกรุณาแย้งด้วย
น.น.รวมแก๊สเต็มถัง 31.4 ผมคิดที่ราคา300บาท/ถัง แก๊สLPGมีค่าความถ่วงจำเพาะเท่ากับ0.54 เนื้อแก๊ส1ก.ก.จะเท่ากับ 1/0.54=1.85ลิตร คงไม่งงนะครับ ฉะนั้นแก๊ส15ก.ก.จะเท่ากับ 15/0.54 =27.7ลิตร ดังนั้นLPGจึงมีราคาลิตรละ 300/27.7=10.83บาท ถูกกว่าน้ำมันอยู่หลายเงิน
รอบแรกคุณtamonใช้แก๊ส 31.4-28.5=2.9ก.ก. เท่ากับ5.37ลิตร ใช้ไป4ช.ม. อัตราใช้เชื้อเพลิง 1.34ลิตร/ชั่วโมง
รอบสองใช้แก๊ส 28.5-22.4=6.1ก.ก. เท่ากับ11.3ลิตร ใช้ไป5ช.ม. อัตราใช้เชื้อเพลิง 2.26ลิตร/ชั่วโมง
รอบสามใช้แก๊ส 22.4-21=1.4ก.ก. เท่ากับ3.7ลิตร ใช้ไป2ช.ม. อัตราใช้เชื้อเพลิง 1.85ลิตร/ชั่วโมง
รวม ใช้แก๊สไป11ชั่วโมง
หมดแก๊สไป20.37ลิตรx10.38 ใช้เงินไป 220บาท
ถ้า เทียบกับใช้น้ำมันเบนซิน91คิดที่ลิตรละ36บาท ต้องใช้น้ำมัน (20.37-8%)x36=675บาท **8%คือค่าความร้อนของเบนซินที่มีมากกว่าแก๊สอยู่8% ดูส่วนต่างแล้วถ้าใช้แก๊สก็จะเหลือตังค์หลายเงินอยู่ครับ
มิกเซอร์ของรถอะไรซื้อที่ไหนตอนนี้ไม่ทราบจริงๆครับ
ความจริงแต่เดิมผม อยากจะหาเครื่องดีเซลพวกคูโบต้า ยันม่าร์แต่ราคาแพงมากตกตัวละ 3 หมื่นกว่าและหาปั๊มที่พอดีกับที่เราออกแบบไว้ไม่ได้ ปีที่แล้วยังไม่ได้เดินท่อระบบน้ำก็เลยต้องซื้อปั๊มพร้อมติดเครื่องยนต์เบน ซินฮอนด้า ขนาดท่อ 2 นิ้ว กับ 3 นิ้ว ราคาต่างกันไม่ถึงพันบาท ผมก็เลยเลือกเอา 3 นิ้ว มาใช้ชั่วคราว น้ำมันดีเซลเริ่มแพง เดินทางไปกลับกรุงเทพฯ-สอยดาวจันทบุรีค่าน้ำมันตกครั้งละพันห้าพันหก กลับมาถึงบ้านดึกดื่นหมดแรงล้างรถ ต้องขับรถปิคอัพเปื้อนฝุ่นมั่งโคลนมั่งมอมแมมไปทำงาน เลยตัดสินใจซื้อรถเก๋งมิซูมือสองจากเพื่อนของน้าสาวเอามาติดแก๊สระบบหัวฉีด ที่อู่มาวิน เพราะรู้ว่าประหยัดกว่ากันเยอะ เหลือเที่ยวละประมาณ 700 กว่าบาทประหยัดกว่ากันตั้งครึ่ง
ที่นี่ครับ http://marwingasservice.tarad.com/
ช่างที่ติดตั้งและเป็นเจ้าของอู่ชื่ออาจารย์วสันต์แกคุยให้ฟังว่าเคย ติดให้กับพวกบ่อกุ้งและเคยใช้ติดรถมอไซค์ ผมก็เลยเอาเครื่องปั๊มน้ำมาให้แกติดตั้งแก๊สให้ ทีแรกแกแนะนำให้ไปซื้อหม้อต้มยี่ห้ออะไรจำไม่ได้แต่เป็นของอินเดียไม่ต้อง ใช้น้ำอุ่นหม้อต้ม (ซื้อที่ร้านนภัทรอยู่บนถนนวงแหวนกาญจนาภิเษกขาขึ้นก่อนถึงแยกบางบัวทองฝั่ง ซ้ายมือขาขึ้น แต่ยี่ห้อที่อาจารย์วสันต์แกแนะนำไม่มีที่ร้านเขาให้เอาอีกยี่ห้อหนึ่งมาแต่ ใช้ไม่ได้ เพราะเครื่องรุ่นนี้มันไม่มีแรงดูดเลยใช้หม้อต้มไม่ได้แกเลยใช้มิกเซอร์ต่อ ฉีดตรงเข้าคาบูร์เลยแต่ต้องถอดหม้อกรองอากาศของเดิมออกแล้วเอากรองเปลือบ เล็กๆใส่แทนกรองเดิม เห็นบอกว่าติดตั้งและปรับเสร็จแล้วติดเครื่องทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง หมดแก๊สไปประมาณ 1 ขีด(100 กรัม)ถามค่าใช้จ่ายแกไม่คิดบอกว่าตัวมิกเซอร์อันละไม่กี่ตังค์ ผมยังต้องขออ้างอิงชื่ออาจารย์วสันต์เอาหม้อต้มไปคืนที่ร้านนภัทรอีกด้วย ซึ่งทางร้านเขาก็รู้จักดีและก็ OK ยอมรับคืน
ที่สอยดาวเห็นเขาติดกัน บอกว่าหม้อต้มลุกละ 3-4 พันบาทแน่ะครับ
วาวล์ปรับความดันแก๊สที่ใช้กับแก๊สหุงต้มธรรมดา แต่ปรับแก๊สได้มากเกินที่เครื่องจะรับได้(ไม่สามารถลดปริมาณได้น้อยก่วานี้) ซึ่งต้องไปปรับที่วาวล์หัวแก๊สแต่ปรับได้ยากมาก
แต่ถ้าเป็นวาวล์สำหรับตัดแก๊สสามารถปรับได้ น้อยจนถึงปิดได้เลย ซึ่งที่ผมซื้อมาตัวละ 480 บาทครับ ต้องบอกทางร้านด้วยนำไปใชกับแก๊สหุงต้ม(LPG) ทั้วไปเพาะเจอมาแล้วครับซื้อมาใส่ไม่ได้ทางที่ดีขอลองก่อนก็ดีครับ
ลองทำดูครับผมทำแล้วได้ผลดีมากใช้ได้ 100% แต่ยังไมได้เช็คว่าจะประหยัดได้เท่าไรแต่คาดว่าคงจะประหยัดได้มากที่เดียว
ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=4909.0
อีกหนึ่งงานวิจัยเกี่ยวกับหมากเม่าหรือเม่าหลวง
อีกหนึ่งงานวิจัยเกี่ยวกับหมากเม่าหรือเม่าหลวง
000 งานวิจัยเรื่อง ศักยภาพของการใช้สารสกัดโพลีฟีนอลจากไม้มะเม่าและไวน์แดงสยามมัวส์ ในการป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง
โดย : อาจารย์สมาน เดชสุภา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักการและเหตุผล
ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยสารเคมีการดื้อยายังเป็นปัญหาหลัก การหาโมเลกุลใหม่โดยเฉพาะจากธรรมชาติจึงเป็นหนึ่งทางเลือกเพื่อลดปัญหาการ ดื้อยาดังกล่าว หน่วยวิจัย PCMCB ได้ผลิตไวน์แดงสยามมัวส์ซึ่งเป็นแหล่งรวมสารกลุ่มโพลีฟีนอลที่ได้จากองุ่นดำ สายพันธุ์ปอร์ตูกีเซอร์และจากไม้มะเม่าหลวงเพื่อศึกษาถึงฤทธิ์ในการยับยั้ง และป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาถึงฤทธิ์ของสารโพลีฟีนอลที่สกัดจากไม้มะเม่าและไวน์แดง สยามมัวส์ในการยับยั้งและป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมที่ เลี้ยงในห้องทดลองและที่ปลูกในหนูเปลือย
วิธีการศึกษา
1. ทดสอบความเป็นพิษของสารโพลีฟีนอลต่อเซลล์มะเร็งด้วยเทคนิค MTT assay โดยพิจารณาหาค่าการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่ 50 (IC50)
2. ปลูกเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MDA-MB-435 จำนวน 5 ล้านเซลล์ที่บริเวณราวนมของหนูเปลือย
3. ดูความสารมารถในการชักนำให้เซลล์มะเร็งตายแบบอะปอบโตสีส โดยศึกษาด้วยเทคนิคซิน-ทีกราฟี ติดตามการสะสมของสารเภสัชรังสี 99mTc-hynic-Annexin V ที่จับกับฟอสฟาทีดิล บนผิวเซลล์ที่มีการตายแบบอะปอบโตสีส ในก้อนมะเร็ง พิจารณาค่า ROI
4. ศึกษาการตายแบบอะปอบโตสีสในเนื้อเยื่อมะเร็งและเนื้อเยื่อตับด้วยเทคนิค อิมมูโนฮีทโตเคม
ผลการศึกษา
การศึกษานี้ใช้เซลล์มะเร็งเต้านม (MDA-MB-435) ชนิดไม่ขึ้นกับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นแม่แบบ สารโพลีฟีนอลที่ใช้ได้แก่ เคอร์เซอติน สารสกัดมะเม่าหลวง และสารสกัดไวน์แดงสยามมัวส์ พบว่าความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในระดับระดับห้อง ทดลองที่ 50% (IC50) มีค่าเท่ากับ 4.58 ± 0.73, 58 ± 9 และ 70 ± 3.4 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สำหรับเคอร์เซอติน สารสกัดมะเม่าหลวง และสารสกัดผสมทั้งสองตามลำดับ นอกจากนี้สารสกัดที่ใช้ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์กล้ามเนื้อของคนที่นำมา เลี้ยงในห้องทดลองเมื่อเปรียบเทียบกับดอกโซรูบีซีนแม้ความเข้มข้นที่ใช้สูง ถึง 500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร แต่กลับมีความสามารถช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์ ในหนูเปลือยที่ได้รับการปลูกมะเร็งเต้านมสารโพลีฟีนอลที่ใช้มีความสามารถชัก นำให้เซลล์มะเร็งเกิดการตายแบบอะปอบโตสีสโดยติดตามด้วยสารเภสัชรังสี 99mTc-hynic-Annexin V ที่จำเพาะต่อฟอสฟาทีดิลซีรีนที่บนผิวเซลล์ที่มีการตายแบบอะปอบโตสีส พบสารสกัดมะเม่าหลวง (ปริมาณสารที่ใช้ 1/3 เท่า ของค่า IC50) มีประสิทธิภาพสูงสุด ถัดมาเป็นสารสกัดผสมอัตราส่วน1 ต่อ 1 (1/4เท่า ของค่า IC50) และเคอร์เซอติน (1 เท่า ของค่า IC50) ตามลำดับ เมื่อเทียบกับหนูชุดควบคุม โดยวัดเปอร์เซ็นต์การสะสมของสารเภสัชรังสีที่ก้อนมะเร็งต่อน้ำหนัก ก้อนมะเร็งตามลำดับเป็นดังนี้ 328%, 242% และ 200% ผลการศึกษาเนื้อเยื่อมะเร็งด้วยเทคนิคอิมมูโนฮีทโตเคมยืนยันสอดคล้องเป็น อย่างดีถึงการตายแบบ อะปอบโตสีสที่ได้จากเทคนิคซินทิกราฟีและยืนยันเช่นกันว่าสารโพลีฟีนอลใน ปริมาณที่ใช้ไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อตับ
สรุปผล
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าไวน์แดงสยามมัวส์ที่เป็นแหล่งรวมของสาร โพลีฟีนอลมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งทั้งในระดับห้อง ทดลองและหนูทดลองที่ดีกว่าสารโพลีฟี-นอลมาตรฐานเคอร์เซอติน โดยไม่เป็นพิษต่อเซลล์ตับของหนูและเซลล์กล้ามเนื้อของคนในระดับความเข้มข้น ที่ใช้ การศึกษานี้ได้ชี้นำให้เห็นว่าการดื่มไวน์แดงหรือรับประทานสารสกัดโพลีฟีนอ ลนั้นมีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ดังนั้นการแนะนำให้ดื่มไวน์แดง เช่น ไวน์แดงสยามมัวส์ หรือรับประทานสารสกัดที่ได้จากไวน์แดงสยามมัวส์หรือมะเม่าหลวงเป็นประจำในคน ทั่วไป หรือผู้ป่วยมะเร็งโดยแพทย์นั้นจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันรักษาโรค มะเร็ง
เอกสารอ้างอิง
1. Spontaneous mitochondrial membrane potential change during apoptotic induction by quercetin in K562 and K562/adr cells. Kothan S., Dechsupa S., Léger G., Moretti JL, Vergote J. and Mankhetkorn S., Canadian Journal of Physiology and Pharmacology, 82 (12) (2004): 1084-1090.
2. 99mTc-hynic-Annexin V scintigraphy for monitoring apoptosis of breast cancer MDA-MB-435 cells induced by mamoa extract alone and mixture of mamoa extract and Siamois red wine powder in cancerous nude mice. Dechsupa S., Kothan S., Vergote J., Leger G., Hauet N., Traikia M., Martineau A., Beranger B., Kosanlavit R., Moretti JL., and Mankhetkorn S. Mid-year 2005 Scientific Meeting of Nuclear Medicine Society of Thailand, August 15-17, 2005, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.
หยิบ มาจากhttp://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=445
ตาม ไปดูนะครับ
ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=raimaoberry&month=11-2008&date=11&group=2&gblog=3
เเนวทางเกษตรอินทรีย์
เเนวทางเกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์(Organic farming)
ระบบการผลิตทางการเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ย เคมีสังเคราะห์ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรม เกษตรอินทรีย์ให้ความสำคัญสูงสุดในการปรับปรุงบำรุงดิน โดยเชื่อว่า หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ ย่อมทำให้พืชและสัตว์ที่เจริญเติบโตจากผืนดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ตามไป ด้วย มนุษย์ที่บริโภคผลผลิตจากไร่นาอินทรีย์ ก็จะได้รับอาหารที่มีคุณภาพดีและปลอดภัย
เกษตรอินทรีย์มีจุดเริ่มต้นจาก ยุโรปและต่อมาได้แพร่หลายไปยังสหรัฐอเมริกา และทั่วโลกจนปัจจุบัน กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตทางการเกษตรที่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง มีการพัฒนาระบบตลาด และมาตรฐานการผลิตมารองรับเป็นการเฉพาะ แต่จริงๆ แล้ว นี่คือวิธีการผลิตของปู่ยาตายาวชาวไทยและจีนมาแต่อดีต คนจีนปลูกผักก็เอาปุ๋ยอินทรีย์มาบำรุงดิน สำหรับประเทศไทย การบุกเบิกเกษตรกรรมอินทรีย์และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เกิดจากการผลักดันขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ จังหวัดสุรินทร์ ยโสธร และเชียงใหม่ ประสบการณ์การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ขององค์กรพัฒนาเอกชน จนสามารถพัฒนาการตลาดอินทรีย์ทั้งในและต่างประเทศ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้พรรคการเมืองนำนโยบายเกษตรอินทรีย์ไปใช้สำหรับการหา เสียง จนในที่สุดนโยบายเกษตรกรรมอินทรีย์ได้ถูกบรรจุไว้ในนโยบายของประเทศ
อย่าง ไรก็ตามหากเกษตรอินทรีย์พัฒนาไปในทิศทางที่มุ่งเน้นการค้าเป็นหลัก มุ่งผลิตพืชเชิงเดี่ยว หรืออยู่ภายใต้ระบบและการผูกขาดของบริษัทขนาดใหญ่ แทนที่จะมุ่งในเรื่องของความมั่นคงด้านอาหาร การทำเกษตรอินทรีย์ดังกล่าว ก็จะไม่ถือว่าเป็นเกษตรกรรมอินทรีย์ที่แท้จริง และผิดหลักการเกษตรกรรมยั่งยืน (1)
หลักการของ "เกษตรอินทรีย์" (2)
เกษตรอินทรีย์ให้ความสำคัญสูงสุดต่อ ”ดิน” เนื่องจากดินเป็นรากฐานของทุกสิ่ง โฮวาร์ด ผู้บุกเบิกเกษตรอินทรีย์ยุคใหม่ ได้วางหลักการสำคัญไว้ 7 ประการ คือ
สุขภาพที่ดีเป็นสิทธิขั้นพื้น ฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งปวงที่อุบัติขึ้นมาบนโลก
สุขภาพที่ดีตามกฎข้อที่ หนึ่ง ต้องใช้กับทั้ง ดิน พืช สัตว์ และมนุษย์ โดยสุขภาพที่ดีของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวจะเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์ดุจสายโซ่ เส้นเดียวกัน
ความอ่อนแอและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับดิน จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่ที่อยู่สูงกว่า จนกระทั่งถึงมนุษย์ซึ่งยืนอยู่บนสุดของห่วงโซ่แห่งความสัมพันธ์
ปัญหา การระบาดของโรคแมลงทั้งในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ นั้น คือปัญหาในห่วงโซ่ที่สองและสาม (พืช-สัตว์)
ปัญหาเรื่องสุขภาพของ คนในสังคมสมัยใหม่เป็นผลต่อเนื่องมาจากปัญหาความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในห่วง โซ่ที่สองและสาม
สุขภาพที่ไม่ดีของพืช สัตว์และมนุษย์เป็นผลต่อเนื่องมาจากสุขภาพที่ไม่ดีของดิน การแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพโดยการพัฒนายา และคิดค้นวิธีการรักษาโรคต่างๆ ไม่อาจทำให้สุขภาพดีขึ้นได้ถ้าละเลยความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การปรับ เปลี่ยนการพัฒนาที่ถูกต้องจึงต้องสำนึกในปัญหาที่เกิดขึ้น ยอมรับกฎและบทบาทอันซับซ้อนของธรรมชาติ โดยการคืนทุกสิ่งที่เหลือจากการใช้ประโยชน์ให้กับผืนดินผสมผสานการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ และไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการรบกวนต่อกระบวนการสะสมธาตุอาหารที่ดำเนินการโดยสิ่งมีชีวิติเล็กๆ ซึ่งอาศัยในดิน
ดังนั้น มโนทัศน์ของดินในหมู่นักเกษตรอินทรีย์จึงเป็นคนละแบบกับที่นักเกษตรเคมีเข้า ใจ นักเกษตรอินทรีย์เชื่อว่าดินใต้ฝ่าเท้าของมนุษย์นั้นมีชีวิต ความอุดมสมบูรณ์ของดินมิได้เป็นภาพของดินซึ่งมีแร่ธาตุที่พืชต้องการไม่กี่ ชนิด แต่เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในดินเป็นจำนวนมาก การใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเพื่อผลิตอาหารจะทำให้สมดุลของธาตุอาหารรอง เสียไป และจะมีผลต่อคุณภาพของอาหารนั้นในที่สุด
เกษตรกรต้นแบบของ เกษตรอินทรีย์ (3)
เกษตรกรต้นแบบของเกษตรผสมผสาน คือ “คุณอรรณพ ตันสกุล” เกษตรชาวปทุมธานี ซึ่งผ่านประสบการณ์ทำนาและทำไร่ส้มมาก่อนหันมาสนใจทำการเกษตรอินทรีย์ โดยเริ่มแรกทำนาที่ตำบลคลอง 5 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี แต่ประสบปัญหาการระบาดของเพลี้ยจักจั่นสีเขียวจึงหันมายกร่องปลูกส้มเขียว หวานในพื้นที่ประมาณ 51 ไร่ แต่สุดท้ายก็พบว่าสวนส้มต้องใช้สารเคมีจำนวนมาก จึงฉุกคิดได้ว่าแม้จะขายส้มได้มากแต่ตัวเองและลูกน้องใช่ว่าจะมีโอกาสได้ใช้ เงินเหล่านั้น
คุณอรรณพ ตัดสินใจหันมาทดลองนำสมุนไพรใช้ทดแทนสารเคมี เช่น สูตรผสมของสะเดา ข่า และตะไคร้หอม บดรวมกันแล้วแช่น้ำไว้หนึ่งคืนก่อนนำไปผสมน้ำฉีดกับส้มเขียวหวาน ซึ่งพบว่าได้ผลดีสามารถควบคุมเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรแดง และหนอนชอนใบได้ นอกจากนั้นยังทำการเลี้ยงวัว โดยอาหารวัวได้จากการเกี่ยวหญ้าจากร่องสวนส้มและใช้กากชานอ้อยจากตลาดโดยไม่ ต้องซื้อหาเพียงแต่ต้องใช้แรงงานเพิ่มขึ้น ส่วนกากชานอ้อยที่เหลือจะถูกปล่อยทิ้งไว้ให้ซับเยี่ยวและขี้วัวระยะหนึ่ง เมื่อหมักได้ระยะหนึ่งจะนำไปสุมบริเวณโคนไม้ผลเพื่อช่วยปรับปรุงดินและควบ คุมวัชพืชไปในตัวด้วย
ประสบการณ์เกษตรอินทรีย์ของคุณอรรณพ มีผลกระทบในเชิงความคิดต่อเกษตรกรและนักการเกษตรเป็นจำนวนมาก มีการดัดแปลงสูตรสมุนไพรไปปรับใช้ในนาข้าว แปลงผัก และผลไม้ชนิดอื่นๆ อย่างแพร่หลาย ทำให้วงการเกษตรหันมาให้ความสนใจทำงานวิจัยวิทยาการที่ใช้ทดแทนสารเคมีมาก ยิ่งขึ้น
หมายเหตุ
(1) คัดลอกและเรียบเรียง จากหนังสือ เกษตรกรรมยั่งยืน วิถีเกษตรเพื่อความเป็นไท ; สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 3; มหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืน: ฟื้นฟูวิถีชีวิตไท เพื่ออธิปไตยของชาติ.
(2) คัดลอกและเรียบเรียง จากหนังสือ เกษตรกรรมทางเลือก ความหมาย ความเป็นมา และเทคนิควิธี ; วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ บรรณาธิการ ; สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 2; มหกรรมเกษตรและอาหารปลอดสารพิษ.
(3) คัดลอกและเรียบเรียง จากหนังสือ เกษตรกรรมทางเลือก ความหมาย ความเป็นมา และเทคนิควิธี ;
อ้างแล้ว.
ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=raimaoberry&group=5
วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553
การสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสารที่ผู้บริโภคควรรู้
รายการ ค่าใช้จ่ายในการสีข้าวกล้อง
การแปรรูป ข้าวเปลือก 1,000 กก. มาเป็นข้าวกล้อง 700 กก.
พร้อมออกจำหน่าย มีรายการค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าสึกหรอลูกยางขัดข้าว 300 บาท
2. ค่าไฟฟ้าจากการใช้เครื่อง 150 บาท
3. ค่าสึกหรอและค่าบำรุงเครื่อง 50 บาท
4. ค่าถุงบรรจุข้าวออกจำหน่าย 350 บาท
รวมค่าใช้จ่าย 850 บาท
ต้นทุนข้าวเปลือก 1,000 กก. 10,000 บาท
สี เป็นข้าวกล้องได้ 700 กก.
ขายข้าวกล้อง กก.ละ 20 บาท
จะได้เงินรวม 700 x 20 = 14,000 บาท
หักค่าใช้จ่าย 850 บาท
เหลือเป็นค่าแรงดำเนิน การ 3,150 บาท (กรณีไม่เอากำไรอย่างขูดรีด)
จากข้าวเปลือก 1000 กก. สีเป็นข้าวสารได้ 400 กก.
ลำดับ รายการ จำนวน หน่วย ราคา/หน่วย เป็นเงินบาท
1 ค่าบริการสถานที่รับซื้อและจัดเก็บ 1,000 กก. 0.15 150
2 ค่าชั่งน้ำหนักรถบรรทุกข้าวเปลือก 0.67 คันรถ 20.00 20.00
3 ค่าบรรจุ ปรับน้ำหนัก กองเรียงข้าวเปลือก 14.28 กส. 6.00 85.68
4 ค่าจ้างรถขนข้าวมาจัดเก็บ 250 กก. 0.40 100.00
5 ค่าจ้างขนข้าวขึ้นลงจากรถรับซื้อนอกสถานที่ 250 กก. 0.07 17.50
6 ค่าจ้าขนข้าวลงหลุมสี 14.28 กส. 3.00 42.84
7 ค่าจ้างสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร 1000 กก. 1.00 1,000.00
8 ค่าถุงพลาสติกบรรจุข้าวสารขนาด 5 กก. 80 ใบ 2.00 160.00
9 ค่ากระสอบฟางบรรจุถุงพลาสติกที่ใส่ข้าวสาร 10 ใบ 6.80 68.00
10 ค่าขนส่งข้าวสาร 400 กก. 1.50 600.00
11 ค่าขึ้นกระสอบบรรจุข้าวสาร 10 กส. 3.00 30.00
12 ค่าลงกระสอบบรรจุข้าวสาร 10 กส. 2.00 20.00
รวมค่า ใช้จ่าย 2,257.42
ผลพลอยได้จากการสีข้าวสาร (จากข้าวเปลือก 1000 กก. เป็นข้าวสาร 400 กก.)
ได้ข้าวสาร 40 % ได้จำนวน 400 กก. ข้าวสารขาวอย่างดี
1. ข้าวต้น 3 % ได้จำนวน 30 กก.ๆละ 7.00 บาท เป็นเงิน 210 บาท
2. ข้าวหัก 20 % ได้จำนวน 200 กก.ๆละ 6.20 บาท เป็นเงิน 1,240 บาท
3. ปลายข้าว 4 % ได้จำนวน 40 กก.ๆละ 6 บาท เป็นเงิน 240 บาท
4. ข้าวสารด้อยคุณภาพ 1 % ได้จำนวน 10 กก.ๆละ 6 บาท เป็นเงิน 60 บาท
5. รำละเอียด 7 % ได้จำนวน 70 กก.ๆละ 3.70 บาท เป็นเงิน 259 บาท
6. รำหยาบ + แกลบ 25 % ได้จำนวน 250 กก.ๆละ 1 บาท เป็นเงิน 250 บาท
รวมรายได้จากการ ขายผลพลอยได้ 2,259 บาท
สรุป ค่าใช้จ่ายในการสีข้าวสาร จะถูกชดเชยโดยการขายผลพลอยได้จากการสีข้าวจำนวน นั้น ๆ ฉะนั้นราคาข้าวเปลือก 1,000 กก. เมื่อสีแล้วจะได้ข้าวสารขาว ( กก.ละ 25 บาท x 400) = 10,000 บาท หมายความว่าขายข้าวสาร กก.ละ 25 บาท ก็เป็นธรรมแก่ชาวนาและผู้บริโภค
ข้อมูลก๊อปเขามาจำที่มาไม่ได้ขอ อภัยคับ
รายงานราคาข้าวเปลือกและข้าวสารปี 2552/2553
http://www.dit.go.th/popup/popup.mht
วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553
กากน้ำตาล
http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=83&i2=15
กาก น้ำตาล (molasses) เป็นของเหลวที่มีลักษณะข้นเหนียวสีน้ำตาลดำ ที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อย เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อยนั้น เริ่มจากการนำอ้อยเข้าหีบได้น้ำอ้อย กรองเอากากออกจากน้ำอ้อยแล้วเคี่ยว น้ำอ้อยจนได้ผลึกของน้ำตาลทรายตกตะกอนออกมา แยกผลึกน้ำตาลทรายด้วยหม้อปั่น (centrifuge) ผลพลอยได้ที่สำคัญจาก การผลิตน้ำตาลทรายด้วยวิธีนี้ได้แก่ กากน้ำตาล ขี้ตะกอน (filter cake) และกากอ้อย (bagasses)
กากน้ำตาล เป็นผลพลอยได้ที่มีคุณค่ามากที่สุด เป็นส่วนของของเหลวที่เหลือหลังจากการแยกเอาผลึกของน้ำตาลออกแล้วมีลักษณะ
เหนียว ข้น สีน้ำตาลเข้ม องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลซูโครสที่ไม่ตกผลึก ในการผลิตน้ำตาลทรายนั้นจะมีกากน้ำตาลซึ่งเป็น ผลพลอยได้เกิดขึ้นประมาณ 4 ถึง 6% ของปริมาณอ้อยที่ใช้ในการผลิต กากน้ำตาลสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ตามกรรมวิธีใน การผลิตน้ำตาลทราย คือ
1. กากน้ำตาลที่ได้จากการผลิตน้ำตาลทรายขาว (plantation white sugar) ซึ่งเราเรียกว่า black–strap molasses จะมีปริมาณน้ำตาลอยู่ประมาณ 50–60%
2. กากน้ำตาลที่ได้จากการผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (refine sugar) ซึ่งเราเรียกว่า refinery molasses จะมีปริมาณน้ำตาลอยู่ประมาณ 48%
3. กากน้ำตาลที่ได้จากการทำบางส่วนของน้ำอ้อยแปรสภาพให้เข้มข้นโดยการระเหย (inverted can juice) ซึ่งเราเรียกว่า invert molasses หรือ hightest molasses วิธีนี้เป็นการผลิตกากน้ำตาลโดยตรง
ประโยชน์ที่ได้จากกาก น้ำตาลมีมากมาย เนื่องจากในกากน้ำตาลประกอบด้วยน้ำตาลประมาณ 50–60% และแร่ธาตุต่างๆ ประโยชน์ที่เห็นได้โดยตรง เช่น ใช้เป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากกากน้ำตาลประกอบด้วยน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร พลังงานที่เหมาะสมและราคาไม่แพง จึงมีการใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์หลายชนิด ใช้เป็นปุ๋ย เพราะในกากน้ำตาลมี ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับพืช นอกจากนี้กากน้ำตาลยังใช้เป็นวัตถุดิบใน อุตสาหกรรมการหมักหลายชนิด เช่น อุตสาหกรรมการหมักแอลกอฮอล์ สุรา กรดมะนาว กรดน้ำส้ม กรดแล็กติก ผงชูรส ยีสต์ขนมปัง และยีสต์อาหารสัตว์ เนื่องจากกากน้ำตาลมีราคาถูกและเหมาะสมกว่าเมื่อเทียบกับวัตถุดิบชนิดอื่น
ปัญหาของกากน้ำตาล เกิดจากการนำไปหมักกับพืชผักผลไม้ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ อาจจะเป็น 7 วัน 15 วัน แล้วนำไปใช้ ก็จะทำให้เกิดปัญหา กับดิน
หรือเกษตรกรบางท่านผสมกากน้ำตาล กับน้ำหมักชีวภาพแล้วฉีดพ่น หรือรดพืชผักผลไม้เลย ก็จะทำให้เกิดปัญหาแก่ดินอีกเช่นกัน
หากต้องการใช้กากน้ำตาล ในการหมักน้ำเอนไซม์สำหรับพืชก็ต้องนำน้ำเอนไซม์ มาหมักกับกากน้ำตาลในอัตราส่วน
เอนไซม์ 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำมะพร้าว 1 ส่วน + เปลือกสับปะรด 1 ส่วน
เป็น เวลา 3-6 เดือน
เพื่อสลายปูนขาวที่ติดมากับกากน้ำตาล ซึ่งเป็นตัวทำให้ดินแข็งกระด้าง เกิดการอุดตันของชั้นดิน และชั้นน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดเชื้อราดำที่ราก ของพืช เกิดรากเน่า
กากน้ำตาลจะสลายได้เร็ว หรือช้า ขึ้นอยู่ที่ความเปรี้ยวของการหมัก การที่เราใส่น้ำมะพร้าวลงไป เพราะเป็นน้ำตาลกลูโคส และฟรุกโตส เป็น อาหารของยีสต์
ส่วนเปลือกสับปะรด จะมีจุลินทรีย์ที่ตาสับปะรดจำนวนมากกว่าผลไม้อื่น เมื่อนำมาใช้ในการหมักจะทำให้เกิดน้ำส้มสายชูได้เร็ว จึงช่วยใน การสลายกากน้ำตาลได้เร็วยิ่งขึ้น
การ ขยายเอนไซม์ที่หมักจากกากน้ำตาล
นำ เอนไซม์ 2 ปี 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 10 ส่วน
ขยาย ต่อได้ทุก 2 เดือน
จะได้น้ำเอนไซม์สำหรับฉีดไล่แมลงศัตรูพืช และโรคพืช โดยนำน้ำเอนไซม์ 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 ส่วน ผสมกันแล้วฉีดพ่น ใช้บำบัดน้ำเสีย ให้เป็นน้ำสะอาดได้อีกด้วย
เอนไซม์ที่หมักจากกากน้ำตาลขยายทุก 2 เดือนให้ได้ถึง 6 ปี หรือยิ่งนานยิ่งดี ยิ่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวอย่าง ของเกษตรกรสวนส้ม คือ คุณกำพล ธัญญธาร เป็นเจ้าของสวนส้ม 100 ไร่
มีส้ม 5,000 ต้น จังหวัดปทุมธานี โทร.(02)901045, 9059081, (01)8011644 คุณกำพล และกลุ่มเพื่อน ๆ ได้ไปอบรมเกี่ยวกับเกษตร อินทรีย์ แล้วนำกลับมาใช้ที่สวนส้มของตนเองโดยใช้น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 100 ส่วน
ฉีดพ่นใบ ดอก ผลของส้ม โดยหวังว่าคงจะเร่งใบ เร่งดอก เร่งผลผลิต แต่กลับกลายมีเพลี้ยขึ้นต้นส้มเต็มไปหมด แล้วมดก็ตามมามากมาย
ดอกส้มที่คิดว่าจะติดผลมาก แรกก็ดูจะคิดดี แต่พอทิ้งไว้สัก 2-3 วัน ดอกก็ร่วง นำไปรดโคนต้น ก็เกิดดินแข็งกระด้างเป็นดาน รดน้ำไม่ลง จึงต้องรีบหยุดใช้ รวมทั้งสมาชิกเพื่อน ๆ ของ คุณกำพลด้วย
ตอนนี้ คุณกำพลมีน้ำหมักหัวปลา ที่หมักไว้กับกากน้ำตาล ก็นำมาหมักใหม่ โดยใช้อัตราส่วน
น้ำหมักหัวปลา 6 กก. + น้ำเอนไซม์ 6 กก. + น้ำ 60 ลิตร
หมักทิ้งไว้ 3 เดือน
จึงจะนำมาใช้ได้ สังเกตดูว่ามีกลิ่นเปรี้ยว หรือความหนืดของกากน้ำตาหายไป จึงนำมาใช้ได้
ยัง มีสวนส้ม ที่จังหวัดเชียงใหม่ พระอธิการนพดุล โทร.(01)4859595 สวนส้มจังหวัดระยอง โทร.(01)3400269 ก็ได้ผลกระทบจากการใช้ น้ำหนัก ที่ไม่สลายกากน้ำตาลให้สิ้นสุดขบวนการก่อนนำไปใช้
ส่วนประกอบของกากน้ำตาลหรือ โมลาส
น้ำ 20.65
ซูโครส 36.66
ริดิวซิงชูการ์ 13.00
น้ำตาล ที่ใช้หมักเชื้อ 50.10
เถ้าซัลเฟต 15.00
ยางและแป้ง 3.43
ขี้ ผึ้ง 0.38
ไนโตรเจน 0.95
ซิลิกาในรูป SiO2 0.46
ฟอสเฟต P2O5 0.12
โปแตสเซี่ยม K2O 4.19
แคลเซียม CaO 1.35
แมกนีเซียม MgO 1.12
http://www.ku.ac.th/e-magazine/december45/know/sugar.html
วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553
น้ำส้มควันไม้
น้ำส้มควันไม้ผลพลอยได้จากการเผาถ่าน
เตาเผาถ่าน 200 ลิตร เป็นเตาที่มีประสิทธิภาพสูง เตาประเภทนี้อาศัยความร้อนไล่ความชื้นในเนื้อไม้ที่มีอยู่ในเตา ทำให้ไม้กลายเป็นถ่าน หรือเรียกว่ากระบวนการคาร์บอนไนเซชั่น ผลผลิตที่ได้จึงเป็นถ่านที่มีคุณภาพ ขี้เถ้าน้อยและผลพลอยได้จากการเผาถ่านคือ น้ำส้มควันไม้
ขั้นตอนการเผา
ช่วง ที่ 1 ไล่ความชื้นหรือคลายความร้อน
เริ่มจุดไฟเตา บริเวณที่อยู่หน้าเตา ใส่เชื้อเพลิงให้ความร้อนกระจายเข้าสู่เตาเพื่อไล่อากาศเย็นและความชื้นที่ อยู่ในเตาและในเนื้อไม้ควันที่ออกมาจากปล่องควันจะมีสีขาว ควันจะมีกลิ่นเหม็นซึ่งเป็นกลิ่นของกรดประเภทเมธานนอลที่อยู่ในเนื้อไม้ อุณหภูมิปากปล่องควันประมาณ 70 – 75 องศาเซลเซียส อุณหภูมิในเตาประมาณ 150 องศาเซลเซียส ใส่เชื้อเพลิงต่อไป ควันสีขาวตรงปล่องควันจะเพิ่มขึ้น อุณหภูมิในเตาประมาณ 20 – 25 องศาเซลเซียส ควันมีกลิ่นเหม็นฉุน
ช่วงที่ 2 เมื่อไม้กลายเป็นถ่าน หรือปฏิกิริยาคลายความร้อน
เมื่อเผาไปอีกระยะหนึ่ง ควันสีขาวจะเริ่มบางลงและเปลี่ยนเป็นสีเทาอุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน ประมาณ 80 – 85 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 300 – 400 องศาเซลเซียส ไม้ที่อยู่ในเตาจะคลายความร้อนที่สะสมเอาไว้เพียงพอที่จะทำให้อุณหภูมิในเตา เพิ่มสูงขึ้น ในช่วงนี้ค่อยๆ ลดการป้อนเชื้อเพลิงลงจนหยุดป้อนเชื้อและเริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ หลังจากหยุดการป้อนเชื้อเพลิงหน้าเตา จะต้องควบคุมอากาศ โดยการหรี่หน้าเตา หรือลดพื้นที่หน้าเตาลงให้เหลือช่องพื้นที่หน้าเตาประมาณ 20 – 30 ตารางเซนติเมตร สำหรับให้อากาศเข้า เพื่อรักษาระดับของอุณหภูมิในเตาไว้ให้นานที่สุด ช่วงที่เหมาะสมกับการเก็บน้ำส้มควันไม้ควรมีอุณหภูมิบริเวณปากปล่องคัน ประมาณ 85 – 120 องศาเซลเซียส เนื่องจากเป็นช่วงสารในเนื้อไม้ถูกขับออกมาจากนั้นควันก็เปลี่ยนจากสีเทา เป็นสีน้ำเงิน จึงหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 100 – 200 องศาเซลเซียส อุณหภูมิในเตาประมาณ 400 – 450 องศาเซลเซียส
ช่วงที่ 3 ช่วงทำถ่านให้บริสุทธิ์
ขั้น ตอนนี้เป็นช่วงที่ไม้จะเปลี่ยนเป็นถ่าน ต้องทำการเพิ่มอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว โดยการเปิดหน้าเตา ประมาณ1 ใน 3 ของหน้าเตาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เมื่อควันสีน้ำเงินเป็นสีฟ้าแสดงว่าไม้เริ่มเป็นถ่านใกล้หมด จากนั้นควันสีฟ้าอ่อนลงและจะกลายเป็นควันใสแทนเมื่อมีควันใสเริ่มทำการปิด หน้าเตา โดยใช้ดินเหนียวปิดรอยรั่วจากนั้นทำการปิดปล่องควันให้สนิทและอุดรูรั่วทั้ง หมด ไม่ให้อากาศภายนอกผ่านเข้าได้
ช่วง ที่ 4 ช่วงการทำให้ถ่านในเตาเย็นลง
เกลี่ยดินบนเตาออกให้เห็น หลังเตาเพื่อระบายความร้อนในเตา จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน หรือประมาณ 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ถ่านดับสนิทแล้วจึงเริ่มการเปิดเตา เพื่อนำถ่านออกจากเตาและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ผลผลิตที่ได้จากการเผา ถ่านไม้เงาะ 100 กิโลกรัม
- น้ำส้มควันไม้ 8 ลิตร
- ถ่าน 25 กิโลกรัม
อัตราส่วน
น้ำส้มควันไม้: น้ำ การใช้ประโยชน์
1 : 20 - พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นประโยชน์และแมลงในดิน ซึ่งควรทำก่อนการเพาะปลูก 10 วัน
1 : 50 - พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช หากใช้ความเข้มข้นที่มากกว่านี้ รากพืชจะได้รับอันตราย
1 : 100 - ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา และโรคเน่ารวมทั้งป้องกันแมลงมาวางไข่
1 : 200 - พ่นใบไม้รวมทั้งพื้นดินรอบๆต้นพืชทุก ๆ 7-15 วันเพื่อขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา และรดโคนต้นไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโต
1 : 500 - พ่นผลอ่อนหลังจากติดผลแล้ว 15 วัน ช่วยขยายผลให้โตขึ้นและพ่นอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน เพื่อเพิ่มน้ำตาลในผลไม้
1 : 1,000 - พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นประโยชน์และแมลงในดิน ซึ่งควรทำก่อนการเพาะปลูก 10 วัน
- พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช หากใช้ความเข้มข้นที่มากกว่านี้ รากพืชจะได้รับอันตราย
- ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา และโรคเน่ารวมทั้งป้องกันแมลงมาวางไข่
- พ่นใบไม้รวมทั้งพื้นดินรอบๆต้นพืชทุก ๆ 7-15 วันเพื่อขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา และรดโคนต้นไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโต
พ่นผลอ่อนหลังจากติดผลแล้ว 15 วัน ช่วยขยายผลให้โตขึ้นและพ่นอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน เพื่อเพิ่มน้ำตาลในผลไม้
เป็นสารจับใบ เนื่องจากสารเคมีสามารถออกฤทธิ์ได้ดีในสารละลายที่เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยเสริมประสิทธิภาพสารเคมีทำให้สามารถลดการใช้สารเคมีมากกว่าครึ่งด้วย
ข้อ ควรระวังในการใช้น้ำส้มควันไม้
1. ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ ต้องทิ้งไว้จากการเก็บก่อนอย่างน้อย 3 เดือน
2. เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ควรระวังอย่าให้เข้าตา อาจทำให้ตาบอดได้
3. น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ย แต่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ทางการเกษตรจะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับพืช แต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้
4. การใช้เพื่อฆ่าจุลินทรีย์และแมลงในดินที่เป็นโทษควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน
5. การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้
6. การฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้เพื่อให้ดอกติดผล ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบานหากฉีดพ่นหลังจากดอกบานแมลงจะไม่เข้ามาผสมเกสรเพราะ มีกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้ และดอกจะหลุดร่วงง่าย
ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=13317.0
วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553
มาทำกังหันลมเล่นกันเถอะ
เริ่มจากเล็กๆ
ขั้นแรกก็หา Stepper Motor จากเครื่องอ่าน Disk เก่า , Printer เก่า หาที่มัน Volt สูงๆ ก็จะได้ Volt ที่สูงตาม
นำมาต่อวงจรตามรูปด้านบน ลองเอามือหมุนดูแล้ววัด Volt ที่ออกมา ถ้ามากกว่า 3 Volt ก็สามารต่อ LED ได้แล้วครับ
ถ้า Volt ยังไม่สูงพอก็ลองต่อวงจร Double Voltage ด้านบนดู
ถ้าได้มากกว่า 12 V ก็สามารถนำไปประจุ Battery 12 V ได้แล้วครับ
ใช้ใบแบบข้างบนต่อแกนกับ Stepper Motor แค่นี้ก็ใช้ได้แล้วครับ
ลองทำเล่นดูนะครับ
เรื่องแนะนำ
ถ้าต้องการทำกังหันลม ผลิตไฟฟ้าขนาดน้อยกว่า 1 KW แนะนำให้ใช้มอเตอร์จากเครื่องซักผ้าถูกที่สุดดีที่สุด
ตอนนี้สั่งซื้อมอเตอร์ รุ่นนี้ได้ที่ศุนย์บริการของ LG หรือ Toshiba ราคาแค่ 1,700 บาท
http://natee2007.thaiza.com/blog_view.php?blog_id=17023
แต่ถ้าต้องการกังหันลม หรือกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดมากกว่า 1KW แนะนำให้ใช้มอเตอร์ 3 Phase
จะถูกที่สุดครับ ไฟฟ้าที่ได้ออกมาจะเป็น 220 Vac เลยครับสามารถนำไปต่อใช้งานได้เลยครับ
http://natee2007.thaiza.com/blog_view.php?blog_id=10505
สำหรับใบพัดถูกที่สุดก็ ใบที่ทำจากท่อ PVC ราคาต่อใบไม่น่าเกิน 500 บาทครับ
http://natee2007.thaiza.com/blog_view.php?blog_id=24533
รองลงมาก็ใบที่ทำจากไม้ ครับ ราคาไม้ต่อใบก็ประมาณ 500 บาทครับ ค่าแรงต่างหาก
แล้วก็ใบที่ทำจากอลูมิ เนียม แข็งแรงทนทานดีครับแต่ราคาค่อนข้างสูงประมาณ 2,000 บาท
http://natee2007.thaiza.com/blog_view.php?blog_id=23332
ส่วนใบพัดไฟเบอร์กลา สเห็นขายกันอยู่ตอนนี้ราคาค่อนข้างสูงมากใบตั้งแต่ 2,000 - 10,000 บาท
เท่าที่เคยใช้มาใบที่ทำ มาจากไม้ดีที่สุดครับแต่ปัญหาคือพอทำกังหันลมตัวใหญ่ๆแล้วหาไม้ยากครับ
อีกอย่างหนึ่งครับถ้าที่ มีลมแรงๆแถวริมทะเลหรือแถวช่องเขาแนะนำให้ใช้ 3 ใบดีที่สุดครับ
แต่ถ้าลมต่ำแนะนำให้ใช้ 4 ใบ หรือ 5 ใบไปเลยครับ
http://natee2007.thaiza.com/blog_view.php?blog_id=330
ที่มา http://natee2007.thaiza.com/blog_view.php?blog_id=2194