วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ขอบเขตของการติดตาต่อกิ่ง (limits of grafting)
ขอบเขตของการติดตาต่อกิ่ง หมายถึงว่าการติดตาต่อกิ่งจะทำกับต้นพืชอะไรได้บ้าง หรือจะเอาต้นพืชใดมาติดตาหรือต่อกิ่งกับพืชใดได้บ้าง
ในการที่จะนำพืชใดมาติดตาหรือต่อกิ่งกันได้นั้น ก่อนอื่นจะต้องพิจารณาลักษณะการจัดเรียงของเนื้อเยื่อโดยเฉพาะเยื่อเจริญ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการสร้างเนื้อเยื่อของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีให้เชื่อม ต่อกัน พืชที่จะนำมาติดหรือต่อกันนั้นจะต้องมีเยื่อเจริญที่เจริญติดต่อกันได้ตลอด (vascular cambium) เมื่อเป็นเช่นนี้การติดตาหรือต่อกิ่งจึงจำกัดอยู่เฉพาะพืชใบเลี้ยงคู่และพืช จำพวกสนเท่านั้น เพราะมีเยื่อเจริญที่เจริญติดต่อกันอยู่ระหว่างเปลือกและเนื้อไม้ ส่วนพืชจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยวไม่สามารถที่จะติดตาต่อกิ่งกันได้ เพราะแนวเยื่อเจริญไม่เจริญติดต่อกัน แต่จะอยู่กระจัดกระจายทั่วต้น ทั้งบริเวณที่ติดกับเปลือก และบริเวณที่เป็นเนื้อไม้หรือไส้
อย่างไรก็ตาม ในพืชพวกใบเลี้ยงคู่หรือพืชจำพวกสนด้วยกันก็มิใช่ว่าจะติดกันได้หมดทุกต้น ทุกพันธุ์หรือทุกชนิด ทั้งนี้จะต้องสังเกตความใกล้ชิดคือ รูปร่าง หน้าตา และนิสัยการเจริญที่ใกล้เคียงกันหรือเหมือนกัน นั่นก็คือต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีจะต้องมีรูปร่างหน้าตา ตลอดจนนิสัยการเจริญคล้ายกัน จึงจะสามารถติดหรือต่อกันได้
แต่เนื่องจากการสังเกตลักษณะตลอดจนนิสัยการเจริญเติบโตนี้ อาจจะมีความเห็นไม่ตรงกันโดยเฉพาะพืชที่ปลูกต่างแหล่งกัน ดังนั้นเพื่อความสะดวกจึงได้ยึดถือหลักเกณฑ์ในการจัดหมวดหมู่ของพืชในทาง พฤกษศาสตร์เป็นหลักในการพิจารณา ความใกล้ชิด คือ ถ้าพืชใด เป็นต้น (clone) เดียวกันฃ พันธุ์เดียวกัน ชนิดเดียวกัน สกุลเดียวกันหรือตระกเดียวกันก็จะมีความใกล้ชิดทางเครือญาติที่ใกล้กันตาม ลำดับ ซึ่งในการติดตาต่อกิ่งนิยมถือหลักการดังนี้
๑. ถ้าต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีนั้นเป็นต้นเดียวกัน เช่น นำกิ่งที่ยอดมาติดตาหรือต่อกิ่งที่โคนต้น (same plant and same clone) หรืออยู่คนละต้นกันแต่อยู่ในต้นเดียวกัน (different plant and same clone) เช่น เอากิ่งมะม่วงอกร่องจากต้นหลังบ้านไป ติดบนต้นมะม่วงอกร่องที่ปลูกอยู่หน้าบ้านเช่นนี้ ถือว่าจะสามารถติดต่อกันได้แน่นอน
๒. ถ้าต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีนั้นต่างพันธุ์กัน (different varieties) แต่อยู่ในชนิดเดียวกัน (same species) เช่นนี้ โดยทั่วไปแล้วถือว่า จะติดกันได้ง่ายเช่น มะม่วงอกร่อง ติดบนต้นมะม่วงแก้ว ซึ่งต่างพันธุ์กัน แต่อยู่ในชนิดของมะม่วงด้วยกันคือ Man- gifera indica เช่นนี้ย่อมติดกันได้ง่าย เพราะยัง อยู่ในเครือญาติที่ใกล้ชิดกัน
๓. ถ้าต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีนั้น ต่างชนิดกัน (different species) แต่อยู่ในสกุลเดียวกัน (same genus) ดังเช่นเอาส้มเขียวหวาน (Citrus reticulata) ติดบนต้นตอส้มโอ (Citrus grandis)(Mussaenda hybrida Lus Mczayzay) ติดบนต้นตอดอนย่าสีขาว (Mussaenda phillipica) ซึ่งต้นพืชอาจจะเจริญต่อไปได้ แต่จะติดกันเฉพาะเปลือกเท่านั้น เนื้อไม้จะไม่ เชื่อมตัวกัน ซึ่งถือว่าติดหรือต่อกันไม่ได้ แม้ว่าดอนย่าสีชมพูจะเป็นลูกผสมของดอนย่าสีขาวก็ตามทั้งนี้เพราะอยู่ในเครือ ญาติที่เริ่มจะห่างไกลกัน
๔. ถ้าต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีอยู่ต่างสกุลกัน (different genus) แต่อยู่ในตระกูลเดียวกัน (same family) เช่น เอามะม่วงซึ่งอยู่ในสกุล Mangifera ไปติดหรือต่อกับมะปรางซึ่งอยู่ในสกุล Bocea หรือ มะม่วงหิมพานต์ ซึ่งอยู่ในสกุล Anacarduim แม้ ทั้งหมดนี้อยู่ในตระกูล Anacardiaceae ด้วยกัน แต่ส่วนใหญ่จะติดกันไม่ได้ กระนั้นก็ยังมีพืชบางชนิดในพวกส้ม ซึ่งอาจติดได้แต่เป็นส่วนน้อย เช่น เอาส้มเขียวหวานซึ่งอยู่ในสกุล Citrus ไปติดหรือต่อกับส้มสามใบ ซึ่งอยู่ในสกุล Poncirus และอยู่ในตระกูลRutaceae ด้วยกัน
๕. ถ้าต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีอยู่ต่างตระกูล (different family) กัน เช่น จะเอามะม่วงซึ่งอยู่ใน ตระกูล Anacardiaceae ไปติดหรือต่อกับส้ม ซึ่งอยู่ในตระกูล Rutaceae เช่นนี้ ไม่สามารถจะทำได้เลยในทำนองเดียวกันก็ไม่สามารถจะเอามะยมไปติดกับมะดัน เพราะมีรสเปรี้ยวเหมือนกัน หรือเอากุหลาบไปติดบนส้มเพราะมีหนามเหมือนกัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การติดตาต่อกิ่งที่ถือหลักตามความใกล้ชิดในทางพฤกษศาสตร์ อาจจะผิดเพี้ยนหรือไม่ตรงตามนี้เสมอไป ทั้งนี้เพราะการติดตาต่อกิ่งนั้นพิจารณาต้นพืชทางโครงสร้าง (anatomy) ส่วนการจัดหมวดหมู่ของพืชนั้นพิจารณาเกี่ยวกับลักษณะของเครื่องเพศ (morphology) เป็นเกณฑ์
ที่มา guru.sanook.com
เช่นนี้ส่วนใหญ่ จะติดหรือต่อกันได้ดี แต่ก็อาจมีพืชบางชนิดที่ติดกันไม่ได้บ้าง เช่น เอาต้นดอนย่าสีชมพู