คำเตือน: โปรดศึกษาข้อมูล ด้านล่างก่อน ดูสรุปการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า ชีวมวล
VSPP 1 MW จากชีวมวล
สรุปการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า ชีวมวล
ต้นทุนโครงการ
- เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1.2 MW
- Boiler 10-15 ton/h
- งานอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หม้อแปลง เสาแรงสูง ฯ สวิทต์เกียร์
- งาน piping
- งาน engineering
รวมราคาประมาณต่อโครงการสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1.2 MW ประมาณ 39-45 ล้านบาท พร้อมการรับประกันการเดินเครื่องขายไฟฟ้า
รายได้จากโครงการ
เครื่องปั่นไฟฟ้าขนาด 1.2 mw
คำนวณจากรับซื้อราคาไฟฟ้า ต่อ ยูนิต ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่
3.80 บาท ต่อ ยูนิต (1 Kw/h)
หน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ 1.2 MW (1,200kw)
คิดเป็นเงินที่ได้รับ(กำไร)
109,440.00 บาท/วัน (1,200x3.8x24)3,283,200.00 บาท/เดือน (109,440x30)
39,398,400.00 บาท/ปี (3,283,200X12)
***คืนทุนภายใน 1 ปี จากโครงการสร้างโรงไฟฟ้า
การลงทุน
โรงไฟฟ้าชีวมวลดีกว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานอื่นอย่างไร
การเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล และพลังงานจากกังหันน้ำ การคำนวณต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทนตามอายุ โครงการการลงทุนระยะเวลา 10 ปี และ 15 ปี ปรากฏผลดังนี้
การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ราคาหน่วยละ 11.2744 และ 8.5289 บาท/กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
การผลิตไฟฟ้าพลังงานจากกังหันน้ำราคาหน่วยละ 2.4042 และ 1.9831 บาท/กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลราคาหน่วยละ 1.445 บาท/กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
ลักษณะและรูปแบบของการลงทุน
ผู้ลงทุนจะต้องจัดตั้งนิติบุคคล 1 โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า โดยตั้งเป็นโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าระบบ Down Draft Gasifier ขนาดการผลิตต่ำกว่า 1 MKW และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้กับ กฟผ. หรือ กฟภ. หรือ กฟน. เท่านั้น เพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้า
การประกอบธุรกิจโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล สามารถขอรับการสนับสนุนการลงทุนจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI เนื่องจากจัดอยู่ในประเภทธุรกิจเพื่อ “กิจการบริการและสาธารณูปโภค “ในหมวด 7 ข้อ 7.1 2 จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ซึ่งจะได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร ดังนี้
ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรไม่ว่าตั้งอยู่ในเขตใด
ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี ไม่ว่าตั้งอยู่ในเขตใด
ขั้นตอนการปฏิบัติการ
ขั้นตอนการนำเชื้อเพลิง
- ขั้นตอนการสำรวจการสำรวจเชื้อเพลิง
- การทำประชาคม
- ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้าง
- การขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
- การยื่นขออนุญาตจำหน่ายไฟฟ้า
- ขอส่งเสริมการลงทุน (BOI)
- การขอสัมปทานไฟฟ้า
- การขออนุญาตผลิตพลังงานควบคุม (พพ.)
- การขออนุญาตจำหน่าย
- การขออนุญาตเชื่อมโยง (COD)
- เริ่มการก่อสร้าง
1)
นิติบุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองให้เป็นสภาพบุคคลสมมุติ ให้มีสิทธิหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ก) นิติบุคคลตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
1) กระทรวง ทบวง กรม
2) วัดวาอาราม ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสงฆ์
3) ห้างหุ้นส่วนที่ได้จดทะเบียนแล้ว
4) บริษัทจำกัด
5) มูลนิธิ สมาคม
ข) นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ได้แก่ นิติบุคคลที่มีกฎหมายพิเศษรับรองสถานะ เช่น พรรคการเมือง รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์
2)
หมวด 7 กิจการบริการและสาธารณูปโภค ประเภท เงื่อนไข 7.1 กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน 7.1.1 กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือไอน้ำ
กระบวนการแปรสภาพเป็นแก๊ส (Gasification Process)
คือ การเปลี่ยนรูปพลังงานจากชีวมวลซึ่งเป็นเชื้อเพลิงแข็งให้เป็นเชื้อเพลิงแก๊ส โดยให้ความร้อนผ่านตัวกลางของกระบวนการ เช่นอากาศ ออกซิเจนหรือไอน้ำ ซึ่งกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นจะมีความแตกต่างจากกระบวนการเผาไหม้ (Combustion) อย่างสิ้นเชิงโดยการเผาไหม้เป็นการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นอย่างสมบูรณ์ใน หนึ่งกระบวนการ แต่สำหรับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นเป็นการเปลี่ยนรูปพลังงานเคมีภายในของ คาร์บอนในชีวมวลไปเป็นแก๊สที่สามารถเผาไหม้ได้ (Combustible Gas) โดยอาศัยปฏิกิริยา 2 กระบวนการ โดยก๊าซที่ผลิตได้จะมีคุณภาพที่ดีกว่าและง่ายต่อการใช้งานกว่าชีวมวล ยกตัวอย่างเช่น สามารถใช้เดินเครื่องยนต์แก๊ส (Gas Engine) และกังหันแก๊ส (Gas Turbine) หรือใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงเหลวต่อไป (Liquid Fuels) กระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นเป็นกระบวนการเปลี่ยนรูปทางด้านเคมีความร้อน (Thermo chemical Conversion Process) โดยอาศัยอากาศ ออกซิเจน หรือไอน้ำ ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า