การทำปุ๋ยหมักเป็นการย่อยวัตถุอินทรีย์ให้เป็นฮิวมัส (humus)
ด้วยจุลิทรีย์ จุลินทรีย์หลักๆ ได้แก่ เชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย
วัตถุอินทรีย์ได้แก่ เศษอาหาร เศษหญ้า กระดาษ เป็นต้น
กระบวนการการหมักปุ๋ยสามารถทำได้ 2 แบบ คือ 1. แบบใช้อากาศ และ 2.
แบบไม่ใช้อากศ
การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ(aerobic compost)
จะอาศัยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนช่วยในการย่อยวัตถุอินทรีย์
โดยจะต้องมีสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำงานดังนี้ 1. อากาศมีออกซิเจน 2.
วัตถุอินทรีย์จะต้องมีอัตราส่วนของไนโตรเจน 1 ส่วนต่อคาร์บอน 30-70 ส่วน 3.
จะต้องมีน้ำอยู่ประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ 4.
มีออกซิเจนให้จุนลินทรีย์ใช้เพียงพอ ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 4
สิ่งนี้การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศไม่เกิดขึ้น
ผลผลิตที่ได้จากการทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ คือ ไอน้ำคาร์บอนไดออกไซต์
และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลายแล้วที่เรียกว่า ฮิวมัส(humus)
การทำปุ๋ยหมักแบบไม่ใช้อากาศ(anaerobic compost)
จะอาศัยจุลทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนย่อยวัตถุ
จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนสามารถอยู่ได้โดยไม่มีออกซิเจน
และสามารถย่อยวัตถุอินทรีย์ที่มีอัตราส่วนไนโตรเจนสูงกว่า
และอัตราส่วนคาร์บอนต่ำกว่าการทำปุ๋ยหมักแบบใช้การใช้อากาศและการย่อยสามารถ
เกิดขึ้นได้ที่ความชื้นสูงกว่า ผลผลิตของการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์คือ
แกสมีเทน (methane gas) และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลานแล้ว
ถ้าต้องการนำแกสีมเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงการทำปุ๋ยหมักต้องเป็นระบบปิดที่มี
ความดีน
การใช้ปุ๋ยหมัก (ฮิวมัส)
กับดินจะช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินและเนื้อดิน ช่วยเพื่มโพรงอากาศ
ช่วยระบายน้ำและอากาศดีขึ้น และเพิ่มการอุ้มน้ำของดิน
ลดการอัดตัวของดิน ช่วยให้ต้นไม้ต้านทานความแล้งดีขึ้น
และเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาสภาพดินให้สมบรูณ์และสมดุล
และธาตุไนโตรเจน โพแทสเซียม
และฟอสฟอรัสยังผลิตขึ้นตามธรรมชาติด้วยการเลี้ยงจุลินทรีย์เหล่านี้
การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ(Aerrobic Compost)
การทำปุ๋ยหมักเป็นการเลียนแบบระบบย่อยสลายที่เกิดขึ้นช้า ๆ
ตามธรรมชาติในผืนป่าซึ่งมีอินทรีย์สารแตกต่างกันหลายร้อยชนิดรวมทั้ง
จุลินทรีย์ รา หนอน และแมลง
แต่เราสามารถเร่งการย่อยสลายนี้ให้เร็วขึ้นได้ด้วยการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้
เหมาะสมที่สุด ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการทำปุ๋ยหมักคือ อุณหภูมิ ความชื้น
อากาศ และวัตถุอินทรีย์ วัตถุอินทรีย์เกือบทั้งหมดใช้ทำปุ๋ยหมักได้
ส่วนผสมของวัตถุอินทรีย์ที่ดีสำหรับการทำปุ๋ยหมักจะต้องประกอบด้วยอัตราส่วน
ผสมที่ถูกต้อระหว่างวัตถุอินทรีย์ที่มีคาร์บอนมาก(carbon-rich materrials)
หรือเรียกว่า วัตถุสีน้ำตามได้แก่ (browns)
และวัตถุอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนมาก (notrogan-rich materials) ที่เรียกว่า
วัตถุสีเขียว (greens) วัตถุสีน้ำตาลได้แก่ ใบไม้แห้ง ฟางข้าว เศษไม้
เป็นต้น ส่วนวัตถุสีเขียวได้แก่ เศษหญ้า เศษพืชผักจากครัว เป็นต้น
อัตราส่วนผสมที่ดีจะทำให้การทำปุ๋ยหมักดสร็จเร็วและไม่มีกลิ่นเหม็น
ถ้ามีส่วนของคาร์บอนมากเกินไปจะทให้ย่อยสลายช้ามาก
และถ้ามีไนโตรเจนมากปะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น
คาร์บอนจะเป็นตัวให้พลังงานแก่จุลินทรีย์
ส่วนไนโตรเจนจะช่วยสังเคราะห์โปรตีน
การผสมวัตถุอินทรีย์ที่แตกต่างกันหรือใช้อัตราส่วนผสมที่แตกต่างกันจะทำให้
อัตราย่อยสลายแตกต่างกันไปด้วย
ตารางวัตถุอินทรีย์ที่สามารถใช้ทำปุ๋ยหมัก
ชนิด | ประเภทคาร์บอน (C)/ไนโตรเจน(N) |
รายละเอียด |
สาหร่ายทะเลมอสทะเลสาบ | N | แหล่งสารอาหารที่ดี |
เครื่องดื่ม น้ำล้างในครัว | เป็นกลาง | ใช้ให้ความชื้นแก่กองปุ๋ย |
กระดาษแข็ง | C | ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนใช้ ถ้ามีมากควรนำไปรีไซเคิล |
กาแฟบดและที่กรอง | N | หนอนชอบ |
ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด | C | ตัดเป็นช้นเล็กๆ |
ผ้าสำลี | C | ทำให้ชื้น |
เปลือกไข่ | N | บดให้ละเอียด |
เส้นผม | N | กระจายอย่าให้จับตัวเป็นก้อน |
มูลสัตว์กินพืช | N | เป็นแห่งไนโตรเจน |
หนังสือพิมพ์ | C | อย่าใช้กระดาษมันหน้าสี ถ้ามีกมากให้นำไปรีไซเคิล |
ใบโอ๊ก | C | ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เป็นกรด |
ขี้เลื่อย เศษไม้ (ที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี) | C | อย่าใช้มาก |
ใบสนและผลของต้นสน | C | อย่าใช้มาก ย่อยสลายช้า เป็นกรด |
ตารางวัตถุอินทรีย์ที่ต้องใช้อย่างระวัง
ชนิดของวัตถุ | ประเภทคาร์บอน (C)/ไนโตรเจน(N) |
รายละเอียด |
ขี้เถ้าจากไม้ | เป็นกลาง | ใช้ในปริมาณที่พอเหมาเท่านั้น |
ขี้นก | N | มีเมล็ดวัชพืชและเชื้อโรค |
ต้นไม้ที่เป็นโรคตาย | N | อย่าใช้ปุ๋ยหมักใกล้กับต้นไม้ชนิดเดียวกับที่เป็นโรคตาย |
นม ชีส โยเกิร์ต | เป็นกลาง | จะดึงดูดสัตว์เข้ามาในกองปุ๋ยหมัก |
วัชพืช | N | ทำให้แห้งก่อนใช้ |
หญ้า | N | ต้องแน่ใจว่ากองปุ๋ยหมักร้อนพอที่จะหยุดการเจริญเติบโตของหญ้า |
ตารางวัตถุอินทรีย์ที่ห้ามใช้
ชนิดของวัตถุ | ประเภทคาร์บอน (C)/ไนโตรเจน(N) |
รายละเอียด |
ขี้เถ้าจากถ่านหินหรือถ่านโค้ก | - | อาจมีวัสดุที่ไม่ดีต่อพืช |
ขี้หมา ขี้แมว | - | อาจมีเชื้อโรค |
เศษปลา | - | ดึงดูดพวกหนู ทำให้กองปุ๋ยหมักมีกลิ่นเหม็น |
มะนาว | - | สามารถหยุดกระบวนการหมักปุ๋ย |
เนื้อ ไขมัน จารบี น้ำมัน กระดูก | - | หลีกเลี่ยง |
กระดาษมันจากวารสาร | - | หลีกเลี่ย |