วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ พด.


 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่มีการ
เผยแพร่ และส่งเสริมทั้งหมด 9 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์ที่มี
ปริมาณธาตุอาหารที่สูงขึ้น เรียกว่า ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สำหรับผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่มี
การส่งเสริมเผยแพร่ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์ และจุลินทรีย์อีกหนึ่งกลุ่ม เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินที่มีปัญหาอยู่ระหว่างการศึกษา
เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
กลุ่มที่ 1  จุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดินเพิ่มธาตุอาหารและฮอร์โมนพืช ได้แก่
สารเร่งซุปเปอร์ พด.1
          เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อผลิตปุ๋ยหมักในเวลารวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้น ประกอบด้วยเชื้อราและแอคติโนมัยซีสที่ย่อยสารประกอบเซลลูโลสและแบคทีเรียที่ย่อยไขมัน
[อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม]
สารเร่งซุปเปอร์ พด.2
          เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายวัสดุการเกษตรในลักษณะสด อวบน้ำ หรือมีความชื้นสูง เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยดำเนินกิจกรรมทั้งในสภาพที่ไม่มีอากาศและมีอากาศ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 5 สายพันธุ์ [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม]
สารเร่ง พด.9
          เป็นกลุ่มจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยวน้อยซึ่งเป็นดินกรดกำมะถัน ที่มีความรุนแรงของกรดน้อย (pH ไม่ต่ำกว่า 5) [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม]
จุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11
          เป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนจากบรรยากาศ เพื่อเพิ่มมวลชีวภาพให้แก่พืชปรับปรุงบำรุงดิน โดยแบ่งออกเป็น จุลินทรีย์ พด.11 สำหรับโสนอัฟริกัน และจุลินทรีย์ พด.11 สำหรับปอเทือง [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม]
ปุ๋ยชีวภาพ พด.12
          เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และสร้างฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 4 สายพันธุ์ [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม] 
กลุ่มที่ 2  จุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช ได้แก่
สารเร่งซุปเปอร์ พด.3
          เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน โดยมีความสามารถป้องกันหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคพืชที่ทำให้เกิดอาการรากหรือโคนเน่า และแปรสภาพแร่ธาตุในดินบางชนิดให้เป็นประโยชน์ต่อพืช ได้แก่ เชื้อไตรโคเดอร์มา (Trichoderma sp.) และ บาซิลลัส (Bacillus sp.) [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม]
สารเร่ง พด.7
          เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช
[อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม]
กลุ่มที่ 3  จุลินทรีย์รักษาสิ่งแวดล้อม ได้แก่
สารเร่ง พด.6
          เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักเศษอาหาร ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนเพื่อผลิตสารสำหรับทำความสะอาดคอกสัตว์ บำบัดน้ำเสีย และลดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ที่มา http://www.ldd.go.th/menu_5wonder/index.html

การปลูกและทำแปลงถั่วฝักยาว

การปลูกและทำแปลงถั่วฝักยาว

การปลูกพืช ผักสวนครัว
การปลูกถั่วฝักยาว เป็นอีกหนึ่งในกลุ่ม พืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ที่น่าปลูกชนิดหนึ่ง เพราะการปลูกแบบธรรมชาตินั้น จะให้ผลผลิตมีคุณภาพดี เทคนิคการปลูกในแบบหลายๆ อย่าง โดยเกษตรกรในหลายชุมชน เช่น ชุมชนบ้านสี่แยกทุ่งแย้ หมู่ 5 ตำบลไชยมนตรี อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีความสนใจด้านการเกษตรเป็นอย่างมาก จึงใช้พื้นที่ของตนเองปลูกผักสวนครัว ซึ่งมีการสลับปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เช่น แตงกวา มัน พริก ผักชี ฯลฯ ปัจจุบันได้ปลูกถั่วฝักยาวอยู่ในช่วงให้ผลผลิต ซึ่งแปลงถั่วฝักยาวแปลงนี้ได้รับคำชมเชยจาก เพื่อน ๆ ว่าเป็นแปลงที่สวยมาก เคล็ดลับในการปลูกถั่วฝักยาวให้มีคุณภาพดี จากปากคำของคุณอาภรณ์ ช่วยนุกูล เกษตรกรในชุมชนนั่นเอง คือ
การทำแปลงถั่วฝักยาว
เคล็ดลับการปลูกถั่วฝักยาวให้มีคุณภาพดี
  • ควรปลูกแบบวิธีทำค้าง โดยใช้ไม้ไผ่ปักเป็นแนวและใช้ตาข่ายขึง เพื่อให้ต้นถั่วไต่ จะทำให้ฝักถั่วยาวขึ้น ราคาดีขึ้น
  • ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพทุกๆ 10 – 15 วันต่อครั้ง หลุมละ 1 กำมือทำให้ได้ผลผลิตมากและนานกว่าปกติถึง 2 เดือน
  • รดน้ำผสมน้ำสกัดชีวภาพทุกครั้งเมื่อใส่ปุ๋ยชีวภาพเพิ่ม
  • ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ ป้องกันแมลง เพลี้ยอ่อน โดยเพิ่มกากน้ำตาลหรือผงซักฟอก ให้เป็นสารจับใบ
  • ตัดใบออกทิ้งบ้าง เพื่อให้ลำต้นนำสารอาหารไปเลี้ยงฝักถั่วมากขึ้น ทำให้ได้ฝักถั่วเพิ่มขึ้น
  • ควรปลูกถั่วฝักยาวในพื้นที่ ที่แสงแดดส่องถึง

ถั่วฝักยาว เป็นพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีลำต้นเป็นเถาเลื้อยมีมือจับ แปลงปลูกถั่วฝักยาว โดยการทำค้าง จะให้ผลผลิตสูง ถั่วชนิดนี้เป็นผักที่ลูกง่ายโตเร็ว ปลูกได้ตลอดปี ในดินแทบทุกชนิด มีความนิยมบริโภคกันมากในเมืองไทย สามารถประกอบอาหารได้หลายชนิด นอกจากจะเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารแล้ว ยังสามารถช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้นอีกด้วยเพราะรากของถั่วฝักยาวเองสามารถ ตรึงไนโตรเจนจากอากาศไว้ในดินได้ดี
สภาพดินฟ้าอากาศในการทำแปลงปลูกถั่ว
โดยทั่วไปถั่วฝักยาวสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย สามารถเติบโตได้ในดินแทบทุึกชนิด แต่ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรด-ด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.0 ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ชอบอากาศค่อนข้างร้อน ถ้าอากาศหนาวเกินไปจะทำให้ชงักการเจริญเติบโตผลผลิตต่ำ ฝักไม่สวย ถั่วฝักยาวจะใ้ห้ผลผลิตดีในช่วงฤดูฝน อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติืบโตอยู่ในช่วง 15-30 องศาเซลเซียส
การเตรียมดินสำหรับปลูก
ยกร่องแปลงกว้าง 1-1.20 เมตร ความยาวแล้วแต่สภาพแปลง ตากดินไว้ 7-10 วัน เพื่อทำลายไข่แมลง และศัตรูบางชนิดแล้วไถคราด ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก เพื่อปรับสภาพโครงสร้างดิน และการบำรุงดิน
การทำแปลงถั่วฝักยาว
แปลงถั่วฝักยาว
ทำหลุมปลูก หลังปรับร่องแปลงให้ขุดหลุมปลูกระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะระหว่าง 80 เซนติเมตร รองกันหลุมด้วยปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากับดินแล้วหยอดเมล็ดลงไปหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบหลุมด้วยปุ๋ยคอกหนา เพียงเล็กน้อย แล้วรดน้ำทุกวัน วันละครั้ง
การทำค้าง เนื่องจากถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องอาศัยค้างเพื่อยึดเกาะพยุงลำต้น ดังนั้นควรทำไม้ค้างให้เพื่อจะได้ผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพสูง โดยใช้ไม้ไผ่ยาว 2-2.5 เมตร การปักอาจปักแบบกระโจมเข้าหากัน แล้วรวบปลายไม้เข้าหากันหรืออาจจะปักตรงๆ แต่ละต้นก็ได้ หลังปักค้างเสร็จจับเถาถั่วพันรอบไม้ค้าง ต้องคอยทำทุกๆ 2-3 วัน
การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำ ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอและเีพียงพอ ระยะเวลาการเจริญเติบโตของถั่วฝักยาว ควรเหมาะกับการให้น้ำในระยะอาทิตย์แรกหลังหยอดเมล็ดควรให้น้ำทุกวัน อย่าให้ดินแห้งแต่อย่าให้มากเกินไปเพราะจะทำให้เมล็ดอาจเน่าได้ ส่วนระยะการเจริญเติบโต และติดดอกออกผลอย่าให้ขาดน้ำเป็นอันขาด ควรให้น้ำทุกวันๆ 2 ครั้งในช่วงเช้าเย็น เพราะจะทำให้ดอกร่วง และไม่ติดฝัก หรือฝักอาจไม่สมบูรณ์
การใส่ปุ๋ยกับถั่วฝักยาว
- ใส่รองพื้นขณะเตรียมแปลงปลูก ใช้ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 1ช้อน ชาต่อหลุม
- ใส่เมื่อถั่วฝักยาวอายุได้ 15-20 วัน ให้ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 1 ช้อน ชาต่อหลุม
- ใส่เมื่อเริ่มเก็บผลผลิตถั่วฝักยาวครั้งแรก อายุประมาณ 45-50 วัน ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ
การพรวนดินกำจัดวัชพืชทำทุกครั้งเมื่อมีการใส่ปุ๋ย
การทำแปลงถั่วฝักยาว
การเก็บเกี่ยว
หลังหยอดเมล็ดแล้วประมาณ 50-60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเฉพาะฝักที่ขนาดพอดี ไม่อ่อนเกินไป ควรเลือกเก็บในเวลาเข้าหรือเย็นๆ หลังเก็บเกี่ยวเสร็จควรรีบเก็บเข้าร่มทันทีเพื่อมิให้ถั่วฝักยาวเหี่ยว และฝ่อเร็ว การเก็บให้ทยอยเก็บ 2-3 วัน/ครั้ง
อุปสรรคสำคัญในการปลูกถั่วฝักยาว คือ โรค ซึ่งจะทำให้คุณภาพและผลผลิตลดลงจนไม่สามารถส่งขายได้ โดยโรคต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้
โรคราเขม่า
เกิดจากเชื้อรา สูโดเซอร์คอสปอรา อาการคือ มักปรากฏอาการที่ใบแก่ตอนโคนต้นใบด้านบนจะเป็นปื้นสีขาวซีด เป็นดวงๆ พลิกดูใต้ใบจะพบคล้ายผงเขม่าสีเทาดำเมื่อระบาดรุนแรงจะพบผงเขม่ามากขึ้น แผลใหญ่ขึ้น ใบจะแห้งและหลุดร่วงไป แล้วลุกลามขึ้นด้านบนทำให้ใบที่อยู่กลางๆ ต้นเป็นโรคด้วย ทำให้ต้นถั่วโทรมเร็วและผลผลิตลดลง
การป้องกันกำจัด
1. ลดความชื้นในแปลงปลุกโดยเพิ่มระยะปลูกให้ห่างขึ้นหรือลดจำนวนต้นต่อหลุม
2. เมื่อพบเริ่มแรกควรรีบเก็บใบที่เป็นโรคเผาทำลาย หมั่นตรวจดูบริเวณส่วนล่างของต้นและใบในทรงพุ่ม เพื่อจะได้ป้องกันได้ทันที
3. ถ้าพบมากขึ้น แนะนำให้ใช้สารเคมีประเภทแมนโคเซปฉีดพ่นสลับกับเบนโนมิลหรือคาร์เบน ดาซิม
4. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรทำความสะอาดแปลงปลูกทันที
โรคราแป้ง
เกิดจากเชื้อรา ออยเดียม อาการคือ จะพบผงสีขาว ทั้งด้านใต้ใบและบนใบ ถ้าเป็นมากผงสีขาวจะหนาแน่นมองเห็นชัดเจน เมื่อเอามือลูบจะหลุดออกเป็นแผ่นจะพบมากบริเวณโคนต้น แล้วลุกลามขึ้นด้านบน และผงสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง และระบาดโดยปลิวไปตามลม
การป้องกันกำจัด
1. ไม่ควรเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นเป็นโรคไปทำพันธุ์
2. ควรรดน้ำต้นถั่วให้เปียกทั่วใบอย่างสม่ำเสมอ เพราะส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราแป้งนี้จะไม่งอก ถ้ามีละอองน้ำมากๆ
3. แปลงที่มีประวัติการระบาดของโรคนี้ควรพ่นสารป้องกันจำพวกกำมะถันผงละลายน้ำ หรือคาราเทน ควรพ่นในตอนเย็นที่หมดแดดแล้ว (สารดูดซึมอื่นๆ มีอีกหลายชนิดแต่ราคาแพงไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ในฤดูที่ถั่วยาวมีราคาสูง อาจใช้สารประเภทดูดซึมฉีดพ่นก็ได้)
4. แปลงที่เป็นโรคมากควรรื้อและเผาทำลายทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคต่อไป
โรคราสนิม
เกิดจากเชื้อรา ยูโรมายเซส อาการคือ จะพบที่ใบแก่เป็นส่วนมาก โดยมีตุ่มนูนขนาดเล็กๆ สีเหลืองซีด ตรงกลางตุ่มมีแผลแตก ซึ่งจะมีผงสีสนิมเหล็กเกาะอยู่เป็นกลุ่ม เมื่อโรคระบาดมากขึ้น จำนวนจุดต่อใบจะมากขึ้นลุกลามจากส่วนล่างๆ สู่ส่วนบนของต้น และใบที่เป็นมากจะเหลืองและร่วงหล่นไป มักจะพบอยู่เสมอในทุกๆ แหล่งที่มีการปลูกถั่วฝักยาว
การป้องกันกำจัด
1. หมั่นตรวจดูแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะใบในทรงพุ่มและใบแก่ตอนล่างของต้น
2. ถ้าพบโรคนี้ ควรพ่นด้วยสารจำพวกกำมะถันผง ละลายน้ำ หรือสารประเภท แมนโคเซป
3. แปลงปลูกที่ทรุดโทรมแล้ว ควรรีบรื้อออกและเผาทำลายเพื่อตัดต้นตอของโรคที่จะระบาดในการปลูก ครั้งต่อไป
โรคใบด่าง
เกิดจาก เชื้อวิสา มีแมลงปากดูดเป็นพาหะ อาการคือ จะพบโรคใบด่างได้ทั่วทุกแปลงที่ปลูกถั่วฝักยาว อาการคือใบจะด่าง สีเหลืองสลับเขียวอ่อนและขาวซีด จะเห็นได้ชัดเจนโรคนี้จะแพร่กระจายโดยติดไปกับเมล็ดพันธุ์หรือแมลงปากดูดถ้า เป็นกับต้นถั่วที่ยังเล็ก จะไม่ให้ผลผลิต
การป้องกันกำจัด
ยังไม่มีคำแนะนำในเรื่องการใช้สารเคมี แต่มีแนวทางป้องกันโดยเริ่มจากการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จากต้นที่แข็งแรง สมบูรณ์ไว้ทำพันธุ์ กำจัดต้นที่เป็นโรคทิ้งไป และพ่นสารเคมีป้องกันแมลงปากดูดเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของโรคนี้

ที่มา ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
ข้อมูลการเกษตรที่เกี่ยวข้อง ที่อาจสนใจ

 ที่มา http://www.kasetorganic.com

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย (Plant disease caused by Nematode)




          ไส้เดือนฝอย อยู่ใน Phylum Nematoda : Nematode มาจากภาษากรีกคำว่า Nema(แปลว่า เส้นด้าย)+oid (เหมือนหรือคล้าย)  ดังนั้น Nematode จึงหมายถึง สัตว์ที่มีรูปร่างเหมือนเส้นด้าย (round-worm,thread-word) ไส้เดือนฝอยไม่มีระบบหายใจและระบบหมุนเวียนโลหิต
          ไส้เดือนฝอยที่พบมี 4 ชนิดได้แก่
          1. Marine nematode (ไส้เดือนฝอยน้ำเค็ม) มีประมาณ 50% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด
          2. Soil and fresh-water nematode(ไส้เดือนฝอยในดินและน้ำจืด) เป็นอิสระอยู่ตามธรรมชาติ ไม่เป็นศัตรูพืชและเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์โดยเป็น อาหารให้กับสัตว์อื่นมีประมาณ 25% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด
          3. Animal parasite nematode(ไส้เดือนฝอยปรสิตของสัตว์) เช่น พยาธิต่างๆ มีประมาณ 15% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด
          4. Plant parasite nematode (ไส้เดือนฝอยที่เป็นศัตรูพืช) มีประมาณ 10% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด



หัวข้อ
รูปร่างลักษณะของไส้เดือนฝอย
         1. เป็นสัตว์หลายเซลล์ ไม่มีกระดูกสันหลัง(Hydrostatic skeleton)ดำรงสภาพด้วยแรงดันของเหลวในตัวมันเองทำให้คงรูปร่างอยู่ได้
          2. รูปร่างสมสาตร(Bilateral symmetry,cylindrical,filiform)
          3. Sexual dimorphism ตัวเมียเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
          4. เจริญเป็นตัวเต็มวัยได้โดยการลอกคราบ จะลอกคราบทั้งหมด 4 ครั้ง
          5. มี Spear หรือ Stylet ช่วยในการเจาะเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืช

การสืบพันธุ์
         1. Amphimixis เพศแยกกัน ผสมพันธุ์โดยอาศัยน้ำเชื้อจากตัวผู้กับไข่ของตัวเมีย
          2. Parthenogenesis ตัวเมียสามารถวางไข่และออกลูกได้โดยไม่ต้องใช้น้ำเชื้อจากตัวผู้ ทำให้ขยายพันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น Meloidogyne incognita ไส้เดือนฝอยรากปม
          3. Hermaphrodism ตัวเต็มวัยจะผลิตน้ำเชื้อ เองได้แล้วเก็บไว้ เมื่อไข่สุกก็จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสม

ชีพจักรของไส้เดือนฝอยรากปม ไส้เดือนฝอยรากปมมีการเจริญเติบโตเป็นลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้
          ระยะไข่ ไข่ไส้เดือนฝอยรากปมมีลักษณะกลมรี ผิวเรียบ ใส
          ตัวอ่อนระยะที่ 1 ตัวอ่อนระยะนี้จะเกิดในไข่มีการลอกคราบภายในไข่ 1 ครั้ง กลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2
          ตัวอ่อนระยะที่ 2 ตัวอ่อนระยะนี้จะออกจากไข่แล้วอยู่ในดิน ระยะนี้เป็นระยะเดียวที่จะเข้าทำลายพืชได้ ตัวอ่อนเมื่อเข้าไปอยู่ในรากพืชจะเพิ่มขนาด และมีรูปร่างคล้ายไส้กรอก ไส้เดือนฝอยจะดูดกินน้ำเลี้ยงและสร้างน้ำลายไปกระตุ้นเซลล์พืชบริเวณนั้นให้ มีขนาดโตขึ้น ทำให้ส่วนของพืชค่อย ๆ โตจนมีลักษณะ เป็นปุ่มปม สุดท้ายมีการลอกคราบครั้งที่ 2 กลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3
          ตัวอ่อนระยะที่ 3 ไส้เดือนฝอยระยะนี้จะมีขนาดโตขึ้น และเซลล์พืชจะโตกว่าเดิม และจะมีการลอกคราบครั้งที่ 3 กลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 4
          ตัวอ่อนระยะที่ 4 ตัวอ่อนระยะนี้เริ่มมีความแตกต่างระหว่างเพศผู้ และเพศเมีย ไส้เดือนฝอยเพศผู้จะมีลักษณะขดงอคล้ายพยาธิ ในขณะที่เพศเมีย มีลักษณะอ้วนป้อมกว่าเพศผู้
          ตัวเต็มวัย ไส้เดือนฝอยเพศผู้จะลอกคราบครั้งที่ 4 กลายเป็นตัวเต็มวัยมีลักษณะเป็นเส้นยาว และออกจากรากพืชมีชีวิตอยู่อย่างอิสระ ส่วนไส้เดือนฝอย เพศเมียจะลอกคราบครั้งที่ 4 กลายเป็นตัวเต็มวัยที่มีลักษณะ อ้วนกลมคล้ายลูกแพร์ ตัวจะค่อย ๆ พองเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีไข่เต็มท้อง ไข่จะถูกวางออกมานอก ลำตัวโดยมีเมือกห่อหุ้ม ไข่อาจจะผ่านการผสมจากเพศผู้หรือไม่ก็ได้ ตัวเต็มวัยเพศผู้มีขนาด 1.2-1.5 มม. X 30-60 ไมครอน เพศเมียมีขนาด 0.40-1.30 x 0.27-0.75มม.ชีพจักรของไส้เดือนฝอยรากปมอาจจะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับสภาพแวด ล้อมปกติถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม(อุณหภูมิในดินประมาณ 27 องศาเซลเซียส) ไส้เดือนฝอยจะใช้เวลา 17-25 วัน แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำเพียง 15 องศาเซลเซียส อาจจะต้องใช้เวลาถึง 57 วัน จึงจะครบชีพจักร



พืชอาศัย
          1. ธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี
          2. พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง
          3. พืชเส้นใย เช่น ฝ้าย ปอ หม่อน
          4. ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น เยอบีรา เบญจมาศ กุหลาบ
          5. ไม้ผล เช่น ส้ม กล้วย องุ่น มะละกอ ฝรั่ง
          6. พืชหัว เช่น มันฝรั่ง มันเทศ เผือก
          7. พืชผัก เช่น ผักคะน้า กระเทียม ผักกาดหอม มะเขือเทศ

ลักษณะอาการของโรค          1. อาการเหนือดิน(Above ground symptoms)
               - แคระแกรน โตช้า ลำต้นเหี่ยว
               - ใบเปลี่ยนสี ใบผิดปกติ บิดเบี้ยว
               - ตาดอกหรือจุดงอกของเมล็ดตาย ไส้เดือนฝอยทำลายตาได้แก่ Aphelenchoides besseyi กินตา กล้วยไม้ สตรอเบอรี่ ทำให้ตาดอกและจุดงอก เสียไป
               - เมล็ดบิดเบี้ยวหรือพองบวมผิดปกติ (Seed gall) ส่วนมากมักจะเป็นกับเมล็ดธัญญพืช โดยที่พวกไส้เดือนฝอยเข้าไปอาศัยกินอยู่และออกลูกภาย ในเมล็ด ทำให้เมล็ดบวม พองโตผิดปกติ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการชนิดนี้ เช่น Anguina tritici
          2. อาการใต้ดิน (Below ground symptoms)
               - รากเป็นจุดหรือแผลสีน้ำตาล ( Root lesions ) อาการนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากเนื้อเยื่อพืชที่ส่วนรากถูกไส้เดือนฝอยดูดกิน น้ำเลี้ยง ทำให้เกิดแผลได้ทั้ง ขนาดเล็ก จนถึงแผลขนาดใหญ่ซึ่งเกิดโดยรอบของรากได้ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้แก่ Pratylenchus spp.
               - รากเป็นปุ่มปม (Root knots or gall) อาการนี้นับเป็นอาการของโรคที่พบมากที่สุด รากพืชถูกไส้เดือนฝอยเข้าไปดูดกินน้ำเลี้ยงจะพองโตเป็นปุ่ม เป็นปม ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการปุ่มปมเช่น Meloidogyne spp., Heterodera spp. เป็นต้น
               - รากเน่า (Root rot) นอกจากไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายที่รากพืชแล้วยังมีเชื้อราและแบคทีเรีย ทั้งที่เป็นสาเหตุของโรคและเป็นแซโพรไฟต์ (saprophyte) เข้าทำลายซ้ำทำให้เกิดอาการรากเน่าได้
               - รากกุด( Stubby root) ไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายโดยการดูดกินที่ปลายรากทำให้ปลายรากชงักการเจริญเติบโต กุดและสั้น
ที่มา http://guru.sanook.com