ไส้เดือนฝอย อยู่ใน Phylum Nematoda : Nematode มาจากภาษากรีกคำว่า Nema(แปลว่า เส้นด้าย)+oid (เหมือนหรือคล้าย) ดังนั้น Nematode จึงหมายถึง สัตว์ที่มีรูปร่างเหมือนเส้นด้าย (round-worm,thread-word) ไส้เดือนฝอยไม่มีระบบหายใจและระบบหมุนเวียนโลหิต
ไส้เดือนฝอยที่พบมี 4 ชนิดได้แก่
1. Marine nematode (ไส้เดือนฝอยน้ำเค็ม) มีประมาณ 50% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด
2. Soil and fresh-water nematode(ไส้เดือนฝอยในดินและน้ำจืด)
เป็นอิสระอยู่ตามธรรมชาติ
ไม่เป็นศัตรูพืชและเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์โดยเป็น
อาหารให้กับสัตว์อื่นมีประมาณ 25% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด
3. Animal parasite nematode(ไส้เดือนฝอยปรสิตของสัตว์) เช่น พยาธิต่างๆ มีประมาณ 15% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด
4. Plant parasite nematode (ไส้เดือนฝอยที่เป็นศัตรูพืช) มีประมาณ 10% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด
|
|
|
หัวข้อ
|
รูปร่างลักษณะของไส้เดือนฝอย
1. เป็นสัตว์หลายเซลล์ ไม่มีกระดูกสันหลัง(Hydrostatic skeleton)ดำรงสภาพด้วยแรงดันของเหลวในตัวมันเองทำให้คงรูปร่างอยู่ได้
2. รูปร่างสมสาตร(Bilateral symmetry,cylindrical,filiform)
3. Sexual dimorphism ตัวเมียเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
4. เจริญเป็นตัวเต็มวัยได้โดยการลอกคราบ จะลอกคราบทั้งหมด 4 ครั้ง
5. มี Spear หรือ Stylet ช่วยในการเจาะเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืช
|
|
|
การสืบพันธุ์
1. Amphimixis เพศแยกกัน ผสมพันธุ์โดยอาศัยน้ำเชื้อจากตัวผู้กับไข่ของตัวเมีย
2. Parthenogenesis
ตัวเมียสามารถวางไข่และออกลูกได้โดยไม่ต้องใช้น้ำเชื้อจากตัวผู้
ทำให้ขยายพันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น Meloidogyne incognita
ไส้เดือนฝอยรากปม
3. Hermaphrodism ตัวเต็มวัยจะผลิตน้ำเชื้อ เองได้แล้วเก็บไว้ เมื่อไข่สุกก็จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสม
|
|
|
ชีพจักรของไส้เดือนฝอยรากปม
ไส้เดือนฝอยรากปมมีการเจริญเติบโตเป็นลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้
ระยะไข่ ไข่ไส้เดือนฝอยรากปมมีลักษณะกลมรี ผิวเรียบ ใส
ตัวอ่อนระยะที่ 1 ตัวอ่อนระยะนี้จะเกิดในไข่มีการลอกคราบภายในไข่ 1 ครั้ง กลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2
ตัวอ่อนระยะที่ 2 ตัวอ่อนระยะนี้จะออกจากไข่แล้วอยู่ในดิน
ระยะนี้เป็นระยะเดียวที่จะเข้าทำลายพืชได้
ตัวอ่อนเมื่อเข้าไปอยู่ในรากพืชจะเพิ่มขนาด และมีรูปร่างคล้ายไส้กรอก
ไส้เดือนฝอยจะดูดกินน้ำเลี้ยงและสร้างน้ำลายไปกระตุ้นเซลล์พืชบริเวณนั้นให้
มีขนาดโตขึ้น ทำให้ส่วนของพืชค่อย ๆ โตจนมีลักษณะ เป็นปุ่มปม
สุดท้ายมีการลอกคราบครั้งที่ 2 กลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3
ตัวอ่อนระยะที่ 3 ไส้เดือนฝอยระยะนี้จะมีขนาดโตขึ้น
และเซลล์พืชจะโตกว่าเดิม และจะมีการลอกคราบครั้งที่ 3
กลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 4
ตัวอ่อนระยะที่ 4 ตัวอ่อนระยะนี้เริ่มมีความแตกต่างระหว่างเพศผู้
และเพศเมีย ไส้เดือนฝอยเพศผู้จะมีลักษณะขดงอคล้ายพยาธิ ในขณะที่เพศเมีย
มีลักษณะอ้วนป้อมกว่าเพศผู้
ตัวเต็มวัย ไส้เดือนฝอยเพศผู้จะลอกคราบครั้งที่ 4
กลายเป็นตัวเต็มวัยมีลักษณะเป็นเส้นยาว
และออกจากรากพืชมีชีวิตอยู่อย่างอิสระ ส่วนไส้เดือนฝอย
เพศเมียจะลอกคราบครั้งที่ 4 กลายเป็นตัวเต็มวัยที่มีลักษณะ
อ้วนกลมคล้ายลูกแพร์ ตัวจะค่อย ๆ พองเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีไข่เต็มท้อง
ไข่จะถูกวางออกมานอก ลำตัวโดยมีเมือกห่อหุ้ม
ไข่อาจจะผ่านการผสมจากเพศผู้หรือไม่ก็ได้ ตัวเต็มวัยเพศผู้มีขนาด 1.2-1.5
มม. X 30-60 ไมครอน เพศเมียมีขนาด 0.40-1.30 x
0.27-0.75มม.ชีพจักรของไส้เดือนฝอยรากปมอาจจะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับสภาพแวด
ล้อมปกติถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม(อุณหภูมิในดินประมาณ 27 องศาเซลเซียส)
ไส้เดือนฝอยจะใช้เวลา 17-25 วัน แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำเพียง 15 องศาเซลเซียส
อาจจะต้องใช้เวลาถึง 57 วัน จึงจะครบชีพจักร
|
|
|
พืชอาศัย
1. ธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี
2. พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง
3. พืชเส้นใย เช่น ฝ้าย ปอ หม่อน
4. ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น เยอบีรา เบญจมาศ กุหลาบ
5. ไม้ผล เช่น ส้ม กล้วย องุ่น มะละกอ ฝรั่ง
6. พืชหัว เช่น มันฝรั่ง มันเทศ เผือก
7. พืชผัก เช่น ผักคะน้า กระเทียม ผักกาดหอม มะเขือเทศ
|
|
|
ลักษณะอาการของโรค
1. อาการเหนือดิน(Above ground symptoms)
- แคระแกรน โตช้า ลำต้นเหี่ยว
- ใบเปลี่ยนสี ใบผิดปกติ บิดเบี้ยว
- ตาดอกหรือจุดงอกของเมล็ดตาย ไส้เดือนฝอยทำลายตาได้แก่
Aphelenchoides besseyi กินตา กล้วยไม้ สตรอเบอรี่ ทำให้ตาดอกและจุดงอก
เสียไป
- เมล็ดบิดเบี้ยวหรือพองบวมผิดปกติ (Seed gall)
ส่วนมากมักจะเป็นกับเมล็ดธัญญพืช
โดยที่พวกไส้เดือนฝอยเข้าไปอาศัยกินอยู่และออกลูกภาย ในเมล็ด ทำให้เมล็ดบวม
พองโตผิดปกติ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการชนิดนี้ เช่น Anguina tritici
2. อาการใต้ดิน (Below ground symptoms)
- รากเป็นจุดหรือแผลสีน้ำตาล ( Root lesions )
อาการนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากเนื้อเยื่อพืชที่ส่วนรากถูกไส้เดือนฝอยดูดกิน
น้ำเลี้ยง ทำให้เกิดแผลได้ทั้ง ขนาดเล็ก
จนถึงแผลขนาดใหญ่ซึ่งเกิดโดยรอบของรากได้
ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้แก่ Pratylenchus spp.
- รากเป็นปุ่มปม (Root knots or gall)
อาการนี้นับเป็นอาการของโรคที่พบมากที่สุด
รากพืชถูกไส้เดือนฝอยเข้าไปดูดกินน้ำเลี้ยงจะพองโตเป็นปุ่ม เป็นปม
ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการปุ่มปมเช่น Meloidogyne spp., Heterodera spp.
เป็นต้น
- รากเน่า (Root rot)
นอกจากไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายที่รากพืชแล้วยังมีเชื้อราและแบคทีเรีย
ทั้งที่เป็นสาเหตุของโรคและเป็นแซโพรไฟต์ (saprophyte)
เข้าทำลายซ้ำทำให้เกิดอาการรากเน่าได้
- รากกุด( Stubby root) ไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายโดยการดูดกินที่ปลายรากทำให้ปลายรากชงักการเจริญเติบโต กุดและสั้น |
|