วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

การใช้ขี้ไก่ ในการเกษตร


ขี้ไก่ไข่หมักแห้งความชื้นไม่เกิน16%อินทรีย์วัตถุ45%ไนโตรเจน2%ฟอสฟอรัส4-6%โปตัสเซี่ยม1%ไม่มีโซดาไฟเจือปน ลักษณะเป็นผงละเอียดสีน้ำตาลคล้ายรำ ไม่มีแกลบปน สามารถนำไปใช้ได้ทันทีเหมาะสำหรับใส่ สวน นา ไร่ เลี้ยงปลาและไส้เดือน  
                                      ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซี่ยม
ขี้ไก่ไข่                               2.28   6.6.   0.8
ขี้ไก่เนื้อ ไม่รวมแกลบ        2.65   1.69   0.8
ขี้หมู                                   1.83   1.25   0.11
ขี้วัว                                    0.73   0.49   0.3


เปรียบเทียบธาตุอาหารของพืชในขี้ไก่ไข่ ขี้ไก่เนื้อ ขี้หมูและ ขี้วัว
ขี้ไก่หมักด้วยEmซึ่งมีคุณสมบัติในการขยายตัวของเชื้อemได้ จากการวิเคราะห์พื้นฐาน จุลินทรีย์ที่เป็นผงแห้งจะมีโปรตีน78%เที่ยบได้กับไนโตรเจน15% คือสูตร15ในตัวแรกของปุ๋ย15-15-15  ดังนั้นการที่จุลินทรีย์กินขี้ไก่หมักเป็นอาหารก็จะขยายตัวไปเรื่อยๆจนกว่าอาหารจะหมด ดังนั้นจะทำให้ต้นไม้ได้รับไนโตรเจนจากจุลินทรีย์ตลอดเวลาทำให้ต้นไม้เขียวตลอดเวลานอกจากนี้ยังมีการเติมกากน้ำตาลอีก5%ซึ่งตัวนี้จะช่วยเสริมแร่ธาตุรองได้ครบทุกตัวที่พืชต้องการ
การใช้ขี้ไก่ไข่หมักในสวนยางพาราและสวนปาล์ม
ขั้นตอนการปลูก ขุดหลุมเอา  ดินมาผสมกับขี้ไก่ไข่หมักอัตราส่วน1ต่อ1 เช่นดิน5กกผสมกับขี้ไก่ไข่หมัก5กกแล้ว รองก้นหลุม กลบด้วยดินหนาประมาณ4นิ้วอีกชั้นหนึ่ง วาง  ต้นพันธุ์ลงไปแล้วกลบให้เรียบร้อย
ประมาณ1เดือนต้นพันธุ์ตั้งตัวได้ให้ใส่ขี้ไก่ไข่โรยรอบๆห่างจากโคนต้นประมาณ6นิ้ว ใส่ประมาณ4กกต่อต้น การใส่ให้ใส่ปีละ3ครั้งคือก่อนฝนตกจากนั้นใส่ทุกๆ4เดือน

การใช้ขี้ไก่ไข่หมักในอ้อยและมันสำปะหลัง
 การใส่ขี้ไก่ไข่หมักในไร่มันสำปะหลังดีที่สุดที่1000กกต่อไร่โดยไม่ต้องใช้เคมีใส่ครั้งเดียว รอเก็บเกี่ยวที่สิ้นปี การทำแบบนี้ใช้ได้กับพืชเก็บเกี่ยว1ปีทุกชนิดเช่น มันสำปะหลัง อ้อย จะประหยัดค่าปุ๋ยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ประหยัดแรงงานและต้นทุนต่ำสุดที่สำคัญคือดินจะดีขึ้นอุดมสมบูรณ์มากขึ้นกว่าเดิมเพราะมีอินทรีย์วัตถุถึง40%แปลว่าดินจะได้ระบอินทรีย์วัตถุถึงไร่ละ400 กก
การใช้ขี้ไก่ไข่หมักในนาข้าว

ใส่ตอนทำเทือกหว่านแล้วไถกลบ ถ้าดินดีใช้200กกต่อไร่ ถ้าดินปานกลางใช้300กกต่อไร่
ถ้าดินไม่ดีใช้500กกต่อไร่ หลังจากนั้นพอข้าวอายุ15-20วันใส่อีกครั้ง ในปริมาณเท่ากับครั้งแรกและก่อนข้าวตั้งท้อง20วันใส่ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15เพื่อให้เมล็ดข้าวสมบูรณ์และกระตุ้นให้ข้าวออกรวงพร้อมกัน
การใช้ขี้ไก่ไข่หมักในแปลงผักและไร่ข้าวโพด
 
ผักอายุสั้นและข้าวโพดใส่1000กกต่อไร่แต่ต้องเสริมเคมี สามารถลดการใช้เคมีลงได้ครึ่งหนึ่ง จะให้ผลดีในระยะยาว และ1ปีใส่แค่ครั้งเดียวการปลูกผักชุดใหม่ไม่ต้องใช้อีกเลยจนครบปีค่อยใส่ใหม่
การใช้ขี้ไก่หมักไข่ในไม้ผล
 
การใช้ขี้ไก่ไข่รองก้นหลุมปลูก ทำได้โดยขุดดินขึ้นมาผสมกับขี้ไก่ไข่อัตราส่วน 1ต่อ1 เช่นขุดดินขึ้นมา5 กกผสมกับขี้ไก่ไข่5กกแล้วใส่รองก้นหลุมปลูกจากนั้นให้ใส่ทุก3เดือน หรือ4เดือนหรือ6เดือนขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใส่ เช่น 3เดือนใส่ครั้งอาจจะใส่4กก ถ้า4เดือนใส่ครั้งอาจจะใส่ 6กก หรือ6เดือนใส่ครั้งอาจจะใส่10กก

                        การผลิตขี้ค้างคาวเทียมจากขี้ไก่ไข่หมักemและกากน้ำตาล ค่าทางเคมีของขี้ค้างคาวจริง ไนโตรเจน 3.3% ฟอสฟอรัส 14-16% โปตัสเซี่ยม 0.3%  ส่วนผสม   ขี้ไก่ไข่หมัก100กิโลกรัมผสมกับยูเรีย46-0-0 จำนวน10กิโลกรัมจะได้ไนโตรเจน=2+4.6หาร2= 3.3%  เติมหินฟอสเฟต14%จำนวน100กิโลกรัมจะได้ฟอสเฟส=6+14=หาร2=10%           และจะได้โปตัสเซี่ยมจากขี้ไก่ไข่0.8หาร2=0.4%           สรุปขี้ค้างคาวปลอม =ขี้ไก่ไข่หมัก100กก+ยูเรีย10กก+หินฟอสเฟส100กก จะได้สูตร ไนโตรเจน3.3%ฟอสเฟส10%โปตัสเซี่ยม0.4% เมื่อเทียบกับขี้ค้างคาวจริง คือ ไนโตรเจน3.3%ฟอสเฟส14%โปตัสเซี่ยม0.3%     ราคาต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัม5บาท70สตางค์เพียงเท่านี้ท่านก็จะได้ขี้ค้างคาวเทียมที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับขี้ค้างคาวจริงในราคาถูกใช้ในสวนของท่านเองด้วยความสบายใจ 
ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=24198.640