สวัสดีครับพี่น้องเกษตรกรชาวไทยและผู้ที่สนใจในอาชีพกสิกรรม ก่อนอื่นต้องบอกกล่าวกันก่อนว่าเดือนพฤษภาคมนี้ถือได้ว่าเข้าสู่ช่วงฤดูฝนแล้วนะครับ แต่ด้วยสภาพอากาศรวมทั้งสภาพแวดล้อมในปัจจุบันมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง เท่าที่ผ่านมาภายใน 1 วัน อาจจะมีครบทั้ง 3 ฤดู คือ เช้าหนาว เที่ยงร้อน เย็นฝนตก หรือว่าอาจจะสลับกันไปไม่เป็นเวลา ทำให้มนุษย์อย่างเราๆท่านๆรวมทั้งสัตว์เลี้ยงและสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆปรับตัวตามสภาพแวดล้อมกันแทบไม่ทัน ภาพที่1 ภูเขาไฟแหล่งกำเนิดภูไมท์ พูมิช ที่มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงดิน |
ทำ ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สิ่งที่ทำได้และควรทำที่สุดในตอนนี้คือต้องรักษาร่างกายของเราให้แข็งแรงและ สมบูรณ์อยู่เสมอเพื่อให้พร้อมรับกับทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ด้านสิ่งแวดล้อมล่ะครับจะทำอย่างไรกันดีที่จะเป็นทางเยียวยาและแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้น เริ่มต้นจากพวกเราทุกๆคนนี่แหละครับ ต้องช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อม ลดปริมาณการใช้สารเคมีลง แต่ในอาชีพเกษตรกรรมของประเทศไทยนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้ปุ๋ยและสารเคมีชนิดต่างๆ เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชซึ่งสารเคมีเหล่านี้เมื่อเราใช้ไปนานๆจะ เกิดการสะสมและตกค้างอยู่ในดินและร่างกายของผู้ใช้ ทำให้ดินเสื่อม ร่างกายได้รับสารพิษ รวมทั้งเพิ่มต้นทุนในการผลิต ที่กล่าวมาไม่ได้ต้องการให้เลิกใช้นะครับแต่ต้องการให้ลดปริมาณลง แล้วหันมาใช้ชีววิธีแทนซึ่งปลอดภัยและประหยัดต้นทุน เอาล่ะครับวันนี้ทางชมรมฯอยากจะแนะนำให้ทุกท่านรู้จัก ”ซิลิคอน” พระเอกของเราในวันนี้ว่ามีหน้าที่และมีความสำคัญอย่างไร มารู้จักกับเค้าเลยดีกว่านะครับ ภาพที่ 2 หินแร่ภูเขาไฟ (ภูไมท์ พูมิช) ซิลิคอน เป็นธาตุเบาที่มีคุณสมบัติกึ่งโลหะ ปกติในธรรมชาติพบว่าซิลิคอนจะรวมกับออกซิเจนและอะตอมของธาตุอื่นๆ เกิดเป็นซิลิเกต (Silicates) พบได้ในชั้นเปลือกโลกมากกว่าร้อยละ 26 โดยที่ซิลิกา (silica : SiO2) เองนั้นก็เป็นซิลิเกตชนิดหนึ่ง แต่มีเพียงอะตอมของซิลิคอนและออกซิเจนเป็นส่วนประกอบเท่านั้น ซิลิกาหรือทราย ที่รู้จักกันทั่วไป คือ ควอทซ์หรือควอทไซต์ กรดซิลิคอน มีสูตรทางเคมีว่า (H4SiO4) เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชทุกชนิดสามารถละลายน้ำได้ง่าย ซึ่งช่วยทำให้พืชสามารถดูดซึมน้ำและกรดซิลิคอนผ่านทางรากสู่ลำต้นและใบได้ อย่างรวดเร็ว เมื่อพืชดูดซึมน้ำและกรดซิลิคอนเข้าไปอย่างต่อเนื่องน้ำที่พืชดูดซึมเข้าไป จะระเหยออกทางใบจากกระบวนการคายน้ำแต่กรดซิลิคอนที่พืชดูดซึมเข้าไปนั้นจะ ไม่ระเหยออกทางใบแต่จะสะสมอยู่ที่ผิวใบของพืชโดยไม่ระเหยออกไป เมื่อกรดซิลิคอนสะสมอยู่ที่ใบอย่างต่อเนื่องจะกลายเป็นผลึกควอทซ์ โอปอล หรือเปลี่ยนเป็นกรดซิลิเกตเคลือบที่ใบ รวมทั้งทำให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรงเหมือนเป็นเกราะป้องกันพืชทำให้ใบพืชมี ลักษณะ ใบหนา ใบเขียวทน เขียวนาน ช่วยทำให้กลิ่น รสชาติ ของลำต้นและใบพืชไม่เป็นที่ปรารถนาของแมลง ช่วยทำให้ผิวพืชแข็งแกร่ง ต่อต้านต่อโรคและแมลง เพลี้ย หนอน รา ไส้เดือนฝอย และกรดซิลิคอนยังช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพ เพิ่มน้ำหนักในพืชทุกชนิด ซึ่งกรดซิลิคอนเป็นรู้จักในฐานะที่เป็นธาตุที่ใช้ในทางการเกษตรมาเป็นเวลา หลายปี ประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มทำการวิจัยเกี่ยวกับการใช้กรดซิลิคอน พบว่า นาข้าวมีคุณภาพดีขึ้น ต้นข้าวกลับเป็นโรคน้อยลงและสามารถลดปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชลงได้อีกด้วย รู้จักกันมาพอสมควรแล้วนะครับแล้วเจ้า กรดซิลิคอน นี้อยู่ที่ไหน อยู่ที่นี่ยังไงล่ะครับ ภูไมท์ซัลเฟต ใช้ภูไมท์ซัลเฟตหว่านรองพื้นอัตรา 40-80 กิโลกรัม/ไร่ แล้วไถกลบ ในกรณีที่ใช้ภูไมท์ซัลเฟตปรับปรุง pH ดินก่อนปลูกพืช ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า pH ที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชทุกชนิดอยู่ที่ pH ระหว่าง 5.8 - 6.5 ที่ระดับค่า pH ที่กล่าวมานี้พืชสามารถดูดลำเลียงธาตุอาหารไม่ว่าจะเป็นธาตุอาหารหลัก , ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม (จุลธาตุ) ที่พืชต้องการไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำการตรวจ pH ดินในพื้นที่หรือแปลงเพาะปลูกว่าอยู่ที่ระดับ pH เท่าไหร่ ถ้า pH ต่ำกว่า 5.8 ให้ใช้หินฟอสเฟต ปรับเพิ่มค่า pH ขึ้นมา แต่ถ้า pH สูงกว่า 6.5 ให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟตกระสอบเหลือง pH 6.5 แต่ถ้า pH สูงมาก คือสูงกว่า 8.0 ให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟตกระสอบแดง pH 4.5 จะช่วยทำให้ดินร่วนซุย น้ำซึมผ่านดินได้ง่าย ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น แก้ดินที่เหนียวจัด แก้ดินดาน แก้ดินแน่นแข็ง ช่วยไล่เกลือออกจากเนื้อดิน ช่วยเพิ่มอากาศในดิน ช่วยอุ้มน้ำของดิน แก้อาการขาดปูนและกำมะถันในพืช แก้พืชแแพ้หนาวและร้อน แก้พืชซีด เขียวตองอ่อน แก้พืชโตช้า ฯลฯ เป็นอย่างไรบ้างล่ะครับ สำหรับคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้นของเจ้ากรดซิลิคอน หากเกษตรกรท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์ของทางชมรมฯ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ขอคำแนะนำหรือต้องคำปรึกษา สามารถติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษหรือติดต่อมายังที่ผู้เขียนโดยตรงที่ โทร. 084-6447342 , 02-986-1680-2 ยินดีให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจทุกท่านนะครับ เขียนและรายงานโดย : คุณ สัจจกานต์ หาญนวกิจ (นักวิชาการชมรมฯ) ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com |