แม่
ค้าส้มตำดินแดนเสียงแคน ดอกคูณ เล่าให้ฟังว่า
“ราคามะละกอแพงขึ้นเกือบเท่าตัว และบางช่วงมะละกอขาดตลาด ทั้งๆ ที่ก่อนปี
พ.ศ. 2546 มะละกอที่ปลูกไว้หลังบ้านมีให้ผลพอทำส้มตำขาย
แต่มาวันนี้กลับต้องซื้อมะละกอจากตลาด” ซึ่งไม่ต่างจากแม่ค้าส้มตำในตลาด
กรุงเทพฯ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้เช่นกัน
โรคไวรัสใบด่างจุดวง
แหวนเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ Papaya ringspot virus (PRSV)
พบในไทยครั้งแรกที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อปีพ.ศ. 2518
ในตอนนั้นไม่เฉพาะประเทศไทยที่พบปัญหาการระบาดของไวรัสชนิดนี้ ประเทศอื่นๆ
ไม่ว่าจะละแวกเดียวกันอย่างไต้หวัน หรือข้ามทวีปไปยังฮาวาย ประเทศสหรัฐฯ
ต่างประสบปัญหาการระบาดของโรคนี้ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าจะผ่านมา 30 กว่าปีแล้ว
แต่การระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนก็ยังไม่ลดลง
ดังเห็นได้จากการสำรวจการปลูกมะละกอในจังหวัดขอนแก่น พบว่าในปีพ.ศ.
2548–มกราคม 2550 เกือบทุกอำเภอพบการระบาดของโรคใบด่างจุดวงแหวน
โดยบางหมู่บ้านพบมะละกอที่ปลูกเป็นโรคทุกต้น เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิด
เฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่พบการระบาดของโรคอีกในหลายพื้นที่ทั้ง
จังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และชุมพร
ความน่า กลัวประการที่สองของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนคือ เป็นโรคพืชที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยใช้สารเคมี วิธีแก้ปัญหาที่ทำได้คือต้องทำลายทิ้ง หรือใช้วิธีปลูกแบบกลางมุ้งให้มะละกอเพื่อป้องกันเพลี้ยอ่อนซึ่งเป็นพาหะนำ โรคไม่ให้เข้าไปได้ หรือใช้วิธีย้ายแหล่งปลูกไปเรื่อยๆ เมื่อมีการระบาดของมะละกอในพื้นที่หนึ่ง ก็ทำการย้ายไปยังพื้นที่อื่นๆ ดังนั้น หากพิจารณาถึงพื้นที่รวมทั้งหมดของมะละกอและผลผลิตในแต่ละปีแล้ว พบว่าไม่ได้ลดลงอย่างชัดเจน ทั้งนี้เกิดจากการย้ายพื้นที่ใหม่ในแต่ละปี ปัญหาที่สำคัญคือ เมื่อไวรัสระบาดไปในทุกพื้นที่จนไม่สามารถย้ายไปได้แล้ว จะมีที่ปลอดการ ระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนให้เราปลูกมะละกออยู่อีกหรือไม่
เกษตรกร ผู้ปลูกมะละกอจากชุมพร ยึดอาชีพการปลูกมะละกอมากว่า 20 ปี เล่าให้ฟังว่าการปลูกมะละกอทำได้ยาก ขึ้น จากที่เคยเก็บได้ 2 รอบเมื่อก่อนปี พ.ศ. 2530 มาวันนี้เก็บได้เพียงรอบเดียว ผลผลิตที่ได้น้อยลงมาก บางต้นก็ไม่ให้ผล แม้ว่าจะลองใช้วิธีปลูกพืชอื่นสลับ ก็ยังไม่ได้ผล ทำให้ 2 ปีที่ผ่านมาขาดทุน ถ้ามีวิธีที่ที่ดีกว่าก็อยากจะลอง
นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสใบด่าง จุดวงแหวน นักวิจัยได้พยายามหา วิธีป้องกันกำจัดโดยใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆ หลายวิธี เช่น
- การ กำจัดเพลี้ยอ่อนที่นำโรคมายังมะละกอ แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้ผล เพราะเพลี้ยอ่อนไม่ได้อาศัยอยู่บนต้นมะละกอ และยังใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีก็ทำให้มะละกอเป็นโรคได้
- การขุดราก ถอนโคนทำลายต้นเป็นโรค วิธีนี้ได้ผลดีเฉพาะพื้นที่ปลูกที่ห่างไกลจากแหล่งปลูกมะละกอ หรือมีพืชกำบังเพื่อป้องกันไม่ให้เพลี้ยอ่อนจากนอกพื้นที่เข้ามาเท่านั้น
- หา พันธุ์ต้านทานโรคในธรรมชาติ หรือปรับปรุงพันธุ์ต้านทานโดยวิธีผสมเกสร ซึ่งเป็นวิธีที่ดี แต่ยังไม่สามารถพัฒนาพันธุ์ที่ต้านทานโรคได้
- การ ทำมะละกอจีเอ็ม ซึ่งเป็นวิธีสุดท้าย และเป็นที่ยอมรับของหลายประเทศ และถือเป็นความหวังหนึ่งของเกษตรกรที่กำลังประสบปัญหาการระบาดของไวรัสใบ ด่างจุดวงแหวนอยู่
การทำมะละกอจีเอ็มเป็นการเลียนแบบการทำ
วัคซีนให้กับมะละกอ แต่ใส่เฉพาะยีนของโปรตีนที่ห่อหุ้มไวรัสเท่านั้น
โดยใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม การพัฒนามะละกอจีเอ็มนี้มีในหลายประเทศรวม
ทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับการพัฒนามะละกอจีเอ็มในประเทศไทยอยู่ในระหว่างการ
รอทดสอบในแปลงปลูกหรือการทดสอบภาคสนาม
ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการทดสอบความปลอดภัยเพื่อให้มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่
ชี้ว่ามะละกอจีเอ็มปลอดภัยกับระบบนิเวศจริงหรือไม่
ถ้าเรายอมแพ้ต่อ เชื้อโรคนี้ คงไม่มีพื้นที่ปลูกมะละกอเหลือรอดให้ได้เก็บผล ส้มตำมะละกอคงหายไปจากเมนูอาหารยอดนิยมของคนไทย เราจะหยุดหรือเดินต่อ ……
ถ้าเรายอมแพ้ต่อ เชื้อโรคนี้ คงไม่มีพื้นที่ปลูกมะละกอเหลือรอดให้ได้เก็บผล ส้มตำมะละกอคงหายไปจากเมนูอาหารยอดนิยมของคนไทย เราจะหยุดหรือเดินต่อ ……
ข้อมูลโดย ... ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ที่มา http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/81-gmo-papaya