วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การปรับปรุงสภาพดินหลังน้ำท่วมขัง




 ในสภาวะที่พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน  จนเกิดความเสียหายกับพืชที่ปลูกอยู่  หลังจากน้ำลดลงแล้ว  ก่อนที่จะปลูกพืชใหม่อีกครั้ง  เกษตรกรจะต้องให้ความใส่ใจกับวิธีการปรับปรุงดินหลังน้ำลด  เนื่องจากในสภาพที่ดินถูกน้ำท่วมขัง  ดินจะอิ่มตัวด้วยน้ำจนอ่อนตัว  โครงสร้างของดินจะง่ายต่อการถูกทำลาย  และเกิดการอัดแน่น  ดังนั้น  กรมวิชาการเกษตรจึงได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้

เกษตรกรต้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นการเติมอากาศและออกซิเจนให้กับดิน ช่วยเร่งการฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพการดูดน้ำและธาตุอาหารของรากพืชให้ดีขึ้น  สําหรับวิธีการระบายน้ำสามารถทําได้โดยการขุดร่องระบายน้ำความลึกอย่างน้อย  30650 เซนติเมตร เท่ากับความลึกของรากพืชส่วนใหญ่ การขุดร่องจะขุดระยะห่างระหว่างร่อง  8612 เมตร หรือกึ่งกลางระหว่างแถวปลูกไม้ ยืนต้น

หลีกเลี่ยงการเตรียมดินด้วยเครื่องจักรกลหนัก หรือไม่ ควรใช้เครื่องจักรกล เพราะเครื่องจักรกลจะทําให้ดินยุบตัวและแน่นทึบมากขึ้น  การระบายน้ำและอากาศในดินจะยิ่งแย่ลง  ส่งผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ  ผลเสียต่อการเจริญเติบโต และความสามารถในการหาอาหารของรากพืช

ควรปลูกพืชโดยลดการไถพรวน หรือไม่มีการไถพรวนดิน เพื่อลดการรบกวนสภาพโครงสร้างของดิน ดังนั้น ถ้าเป็นดินนา  เกษตรกรที่ต้องการปลูกข้าวหลังน้ำลด  ให้ขังน้ำไว้ในแปลงนา  แล้วคราดหรือเก็บเศษซากวัชพืช  เศษฟางข้าวออกให้หมด  แล้วปกดําข้าวลงในแปลงนาได้เลย  แต่ถ้ากรณีเป็นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย  อาจไถด้วยเครื่องมือเบาๆ  1 ครั้ง  แล้วจึงปักดํา  สําหรับการปลูกข้าวหลังน้ำท่วม  ไม่แนะนําให้ใช้วิธีหว่านน้ำตม  เพราะการย่อยสลายเศษ
ซากพืช  และฟางข้าวที่ไม่สมบูรณ์จะทําให้เมล็ดข้าวที่หว่านตายได้  แต่ถ้าหากน้ำลดจนหน้าดินแห้งแล้ว  สามารถไถพรวนและหว่านน้ำตามได้  ในกรณีที่ต้องการปลูกพืชไร่  เกษตรกรสามารถใช้ประโยชนจากน้ำหรือความชื้นที่สะสมอยู่ในดินหลังน้ำลด  โดยการหยอดหรือหว่านเมล็ดพืชลงในดินได้เลย  โดยไม่ต้องไถพรวนดินก่อน  เช่น  ข้าวโพด  ถั่วเขียว เป็นต้น

ควรใช้เครื่องมือเบาหรือเครื่องมือขนาดเล็กในการไถพรวนดิน  ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องไถพรวนดินเพื่อทําลายและกําจัดวัชพืชก่อนการปลูกพืชหลัก  ควรรอให้หน้าดินเริ่มแห้งและมีความชื้นพอเหมาะในการไถพรวน  แต่เกษตรกร ควรพิจารณาเลือกใช้เครื่องจักรกลขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา  เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างดิน  หรือส่งผลกระทบน้อยที่สุด   


ควรมีการพักดิน  โดยปล่อยพื้นที่ทิ้งว่างให้วัชพืชขึ้น  หรือปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินไว้  เช่น  ถั่วพร้า  ถั่วมะแฮะ  เป็นต้น  เป็นวิธีการที่เหมาะในการฟื้นฟูสภาพดินหลังน้ำลด  และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินก่อนการปลูกพืชในฤดูต่อไป

ควรขุดลอกดินทรายออกจากพื้นที่หลังน้ำท่วม  ในกรณีที่เกิดน้ำท่วมเนื่องจากน้ำปาไหลหลาก  จะมีดินทรายถูกพัดพามาทับถมอยู่บนผิวดินค่อนข้างมาก  เมื่อน้ำลดแล้วควรขุดลอกดินทรายออกจากพื้นที่จนถึงผิวดินเดิม  หรือลอกออกให้มากที่สุด  เพื่อให้ดินแห้งเร็วขึ้นและช่วยเร่งขบวนการเติมอากาศและออกซิเจนให้แก่ดิน ในกรณีที่พื้นที่เกษตรที่ถูกน้ำท่วม  ยังมีพืชยืนต้นอยู่ในแปลง  การจัดการสภาพดินหลังน้ำลดจะช่วยให้ต้นพืชฟื้นตัวได้เร็ว แต่เนื่องจากหลังน้ำท่วม  รากพืชไม่สามารถทําหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารได้อย่างเต็มที่  วิธีการให้ปุ๋ยทางใบกับไม้ผลไม้ยืนต้น  จะช่วยให้พืชฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น


เรียบเรียงโดย  ปาลลิน  พวงมี  นักวิชาการเกษตรชํานาญการ
สํานักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี