ก่อนอื่นขอตั้งคำถามเพื่อร่วมสนุกสำหรับผู้สนใจเรื่องการปลูกอ้อย
1 ทำไม ตำราการปลูกอ้อยถึงกำหนดว่า ระยะระหว่างร่องอ้อยต้องห่างกัน 150 ซม.สำหรับไร่อ้อยที่ใช้รถไถขนาดใหญ่
2 ทำไม ตำราการปลูกอ้อยถึงกำหนดว่า ระยะระหว่างร่องอ้อยต้องห่างกัน 120 ซม.สำหรับไร่อ้อยที่ใช้รถไถเดินตาม
ท่านที่ตอบได้ก่อนที่ผมจะเฉลยในความคิดเห็นต่อไป รับอ้อยพันธุ์ดี จำนวน 1 มัด(10 ลำ) เพื่อนำไปขยายพันธุ์ต่อ ครับผม
จากภาพ เครื่องปลูกอ้อยแบบวาง 4 แถวต่อ 1 ร่อง พร้อมมีการหยอดน้ำให้ท่อนพันธุ์ขณะปลูก เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดิน มีผลให้อ้อยงอกได้ดีขึ้น
ผมว่า ผมรีบเฉลยดีกว่า เดี๋ยวผู้รู้นักล่ารางวัลจะเข้ามาตอบ 555
ระยะห่างระหว่างร่องอ้อย(หรือแถวอ้อย) 150 ซม. เป็นระยะที่เหมาะสมที่จะนำรถไถใหญ่เข้ามาทำงาน เพราะระยะห่างระหว่างล้อทั้งสองข้างวัดตรงกึ่งกลางยางจะประมาณ 140-160 ซม.
สำหรับระยะ 120 ซม. เป็นระยะร่องอ้อยที่เผื่อไว้แล้วว่า เมื่ออ้อยที่ปลูกไว้เจริญเติบโต แตกกอเต็มที่แล้ว จะเหลือเนื้อที่ให้รถไถเดินตามแทรกเข้าทำงานได้โดยอ้อยไม่หักล้ม
(กำลังค้นรูปมาประกอบ)
ผมขออนุญาตท่านบ่าวน้ำพอง ย้อนกลับไปคุยตั้งแต่จุดเริ่มต้นก่อนนะครับ แล้วเราค่อยไปถึงอ้อย 30 ตัน/ไร่
อันที่จริง ตอนท้ายสุดของกระทู้นี้ เราอาจจะได้เลยไปพูดถึง "โครงการอ้อย 100 ตัน"(ต่อไร่) ของกลุ่ม(โรงงานน้ำตาล)วังขนายให้เกิดสีสันอีกสักนิดด้วยครับ
ผมเขียนค้างไว้ตั้งแต่เมื่อเช้า ตั้งใจว่าตอนสายๆจะมาเติมข้อมูลให้เชื่อมโยงกับเนื้อหาช่วงแรก แต่เนื่องจากมีธุระด่วนให้ต้องเดินทาง ไม่สามารถเขียนต่อให้จบ จึงอาจทำให้หลายท่านงงๆว่ากำลังจะพูดเรื่องอะไรหว่า..
เหตุที่ต้องเท้าความไปถึงระยะห่างระหว่างร่องอ้อยซึ่งถูกกำหนดจากระยะล้อของ รถไถนั้น เพื่อต้องการจะบอกว่า การทำการเกษตรหลายอย่างที่เราคุ้นเคย ถูกวางกรอบไว้โดยเครื่องจักร เป็นรูปแบบที่ต้องการเอาใจเครื่องจักรกล ไม่ใช่การเอาใจพืชอย่างแท้จริง
การที่อ้อยถูกกำหนดให้มีระยะร่องอ้อยห่างกัน 150 ซม. เพราะต้องการให้รถไถวิ่งคร่อมร่องอ้อยได้สะดวก ล้อรถไถจะอยู่บนดินระหว่างร่องอ้อยพอดี จากนั้นเครื่องมืออื่นๆ เช่น เครื่องใส่ปุ๋ย, คราดสปริง ฯลฯ ก็จะถูกออกแบบให้พอดีกับระยะห่างร่องอ้อยอีกต่อหนึ่ง
.. สนับสนุนท่านบ่าวน้ำพองที่จะคิดนอกกรอบ เพราะกรอบที่เราเคยชิน อาจเป็นเพียงความรู้เก่า อาจเป็นเพียงวิธีการที่สะดวก แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด ณ วันนี้อีกแล้ว
เครื่องปลูกอ้อยแบบ 4 แถวต่อ 1ร่อง ทราบว่าได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยคุณเสถียร มาเจริญ ผมมีโอกาสได้ขอความรู้จากคุณเสถียรหลายครั้ง ทำให้ทราบว่าการปลูกอ้อยแบบ 4 แถว ต้องมีกระบวนการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปรับระยะระหว่างร่อง จะใช้รถตัดหรือคนตัด จะใช้รถไถใหญ่เข้าไปดูแลรักษา หรือจะใช้รถไถเล็ก ต้องเพิ่มอัตราการใส่ปุ๋ยเท่าไหร่ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ต้องนำมาคิดและวางระบบใหม่ก่อน จึงจะช่วยให้การใช้เครื่องปลูกแบบ 4 แถว มีประสิทธิภาพสูงสุด อยากให้ทำความเข้าใจกระบวนการทั้งหมดก่อน ไปดูของจริงสักเที่ยว จากนั้นเราถึงค่อยมาคุยเรื่องการลงทุนซื้อเครื่องมือดีมั้ยครับ เครื่องมือตัวหนึ่งก็ใกล้หลักแสนเหมือนกัน ถ้าใช้ไม่เกิดประโยชน์สูงสุด เสียดายเงินครับ แต่ถ้าไตร่ตรองดีแล้วช่วยยืนยันความต้องการเดิมอีกครั้ง ผมจะหาข้อมูลตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้านเราให้ครับ
.........
มหัศจรรย์อ้อย 30 ตัน
ท่านผอ.คัมภีร์ สายะสนธิ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความมหัศจรรย์ของการปลูกอ้อยได้ผลผลิต 30 ตันต่อไร่
เทคนิคใหม่ในการปลูกอ้อยโดยการพัฒนาเครื่องปลูกรุ่นใหม่จากแนวคิดของนาย เสถียร มาเจริญ
โดยวิธีการเพิ่มระยะชิดของต้นอ้อยจาก 1 แปลงปลูก ลงท่อนพันธุ์อ้อยได้ 2 แถว เป็น 4 แถว
ตัวเครื่องติดตั้งอุปกรณ์เสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงานได้ถึง 5 ขั้นตอน ต่อการเดินเครื่องครั้งเดียว
คือการเปิดร่องหน้าดิน หย่อนท่อนพันธุ์ลงปลูก ให้น้ำ ใส่ปุ๋ย และกลบดินปิดร่อง ซึ่งพื้นที่ 1 ไร่
สามารถลงท่อนพันธุ์ได้ถึง 16,000 ลำ ได้ผลผลิต 30 ตันต่อไร่ขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าวิธีการปลูกแบบเดิม
ที่มีอัตราเฉลี่ยของผลผลิตอ้อยเพียง 9.61 ตันต่อไร่ เท่านั้น
ผลการศึกษาถึงแนวทางในการเพิ่มผลผลิตอ้อยโดยนักวิชาการของวิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยีกาญจนบุรี
ร่วมกับศิษย์เก่าเกษตรกรดีเด่น ยังค้นพบวิธีการปรับปรุงสภาพดินโดยการปลูกปอเทือง
เมื่อปอเทืองเริ่มออกดอกให้ไถกลบแล้วทิ้งให้ปอเทืองย่อยสลาย จึงทำการไถพรวนดินในแนวขวางอีกครั้ง
จะทำให้ดินร่วนซุย ซึมซับน้ำได้มากขึ้น นอกจากนั้นยังแนะนำให้เกษตรกรปลูกอ้อยในฤดูกาลที่เรียกว่า
“การปลูกอ้อยข้ามแล้ง” ช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงไม่มีฝนตก
เพราะดินจะมีความชื้นน้อยจะช่วยลดปริมาณการเกิดวัชพืชได้ดี ส่วนต้นอ้อยที่ปลูกให้ใช้วิธีให้น้ำแบบหยอด
ลงสู่ใต้ดินให้ท่อนพันธุ์ได้รับน้ำโดยตรง เมื่อผิวหน้าดินแห้งจะทำให้วัชพืชเติบโตได้ยาก
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี
เลขที่ 1 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
โทรศัพท์ 034-552-106-7 หรือ 081-736-5820
เมื่อสองสามวันก่อน ผมไปทำธุระที่สมาคมชาวไร่อ้อย ที่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี มีโอกาสพบกับพี่ดาวเรือง
พี่ดาวเรืองเป็นชาวไร่อ้อย เป็นกรรมการสมาคม และเป็นสมาชิกกลุ่มการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาด้านอ้อย ของหน่วยงานผม ทุกปี-อาจจะปีละหลายครั้ง ที่เราจะเชิญสมาชิกกลุ่มมาฝึกอบรมให้ความรู้รวมถึงการพาไปดูงานที่แหล่งความ รู้ข้ามภาคข้ามจังหวัด เพื่อให้มีความรู้ สร้างตัวแทนของหน่วยงาน และนำความรู้กลับไปแนะนำเพื่อนชาวไร่อื่นๆในพื้นที่ ชาวไร่อ้อยทางอุดรปลูกอ้อยกันนานแล้วจึงมีความรู้ค่อนข้างลึกมาก ส่วนชาวไร่อ้อยแถวบ้านเราจำนวนมากพึ่งเริ่มปลูกอ้อย เลยต้องเรียนรู้กันอีกระยะหนึ่ง ผมกำลังหาโอกาสสร้างกลุ่มการเรียนรู้ด้านอ้อยที่บ้านเรา เพราะจากการศึกษาปัจจัยหลายด้าน พื้นที่ปลูกอ้อยบ้านเราดีกว่าทางอุดร ถ้าเกษตรได้รับการส่งเสริมอย่างเหมาะสม จะพัฒนาไปได้ไกลมาก ยังไงลองเมล์มาคุยกันนะครับ จะช่วยให้ผมหาจุดเริ่มต้นได้ง่ายขึ้น
พี่ดาวเรืองไปนำความรู้จากทางเมืองกาญจน์มาลองวิชา โดยดัดแปลงรถไถ จัดทำถังน้ำขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร (1000ลิตร) ติดตั้งบนหลังคา แล้วเติมน้ำเพื่อหยอดน้ำให้ท่อนพันธุ์อ้อยระหว่างปลูกโดยใช้เครื่องปลูก วัตถุประสงค์คือทำให้ท่อนอ้อยมีความชื้นพอเพียงช่วยกระตุ้นการงอก พี่ดาวเรืองทดลองใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักเอง และบางครั้งจะใช้น้ำจากบ่อเล้าหมูซึ่งเป็นปุ๋ยหมักที่ดีมากชนิดหนึ่งแทนน้ำ บ่อ เป็นการเพิ่มปุ๋ยไปพร้อมกับการให้ความชื้น
ถังน้ำที่ว่านี้ ทำที่อู่แถว อ.ไชยวาน ค่าใช้จ่ายประมาณหมื่นบาท ชาวไร่บ้านเราถ้าสนใจก็ลองลอกแบบไปให้โรงกลึงข้างบ้านทำได้ครับ ไม่ยากเลย..
ที่มา http://www.lumphu.com/index.php/webboard/13/3043--30-.html