ไร่นาสวนผสม
เกษตรทฤษฎีใหม่ เน้นปลูกอ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50 มีรายได้ดี
การ ทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เกษตรกรมีอยู่ มีกินตามอัตถภาพคือ อาจจะไม่ร่ำรวยแต่ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข เป็นการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสานและยั่งยืน ยึดหลักบริหารจัดการที่ดินและน้ำให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด สามารถลดต้นทุนการประกอบอาชีพลงได้ เกษตรกรรู้จักการอดออม เป็นการทำเกษตรแบบพอเพียง มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้ตลอดปี ส่งผลให้ผู้ที่หันมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ล้วนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีอยู่มีกินกันทุกคนดังกรณีของ คุณพรรลี คำลือ บ้านน้ำจ้อย หมู่ 6 ตำบลเลิงใต้ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ที่เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ชั่วระยะเวลาเพียง 5 ปี ก็ลืมตาอ้าปากได้ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวอย่างไม่เดือดร้อน
คุณพรรลี เล่าถึงการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ว่า เดิมประกอบอาชีพขายของชำมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย แต่ในปี พ.ศ. 2540 ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำสุดขีด ธุรกิจครอบครัวได้รับผลกระทบหนักเพราะรายรับไม่พอกับรายจ่าย ขาดเงินทุนหมุนเวียนผลสุดท้ายก็ต้องปิดร้าน จากนั้นได้หารือกันภายในครอบครัวว่าจะประกอบอาชีพอะไรต่อไปดีจึงจะทำให้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ ขณะนั้นก็มีเจ้าหน้าที่เกษตรมาแนะนำให้เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนว พระราชดำริ เพราะลงทุนน้อยและเกษตรกรที่ร่วมโครงการล้วนประสบผลสำเร็จมีอยู่มีกินกันทุก คน คุณพรรลีจึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการเพราะครอบครัวมีที่นาอยู่ติดลำน้ำ ชี รวม 14 ไร่ ในปี พ.ศ. 2542 จึงใช้เงินไปประมาณ 40,000 บาท ปรับที่นาเป็นไร่นาสวนผสม แบ่งพื้นที่ 2 ไร่ ขุดเป็นบ่อเลี้ยงปลา ทำนา 1 ไร่ ปลูกพืชผักสวนครัว 1 ไร่ ปลูกพืชผักผลไม้ 9 ไร่ ที่อยู่อาศัย 1 ไร่ โดยทางสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม ได้ส่งเจ้าหน้าที่บัณฑิตอาสาที่มีความรู้ด้านการเกษตรเข้ามาคอยเป็นพี่ เลี้ยงให้คำแนะนำด้านวิชาการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์รวมทั้งการบริหารจัดการ เพราะเกษตรกรยุคใหม่ต้องมีความรู้ทางด้านการตลาดด้วย เมื่อผลิตออกมาแล้วเหลือบริโภคบางส่วนก็ต้องส่งออกจำหน่าย
"เงินลง ทุนช่วงแรก 6,000 บาท ซื้อพันธุ์ไม้มาลง โดยปลูกฝรั่งกลมสาลี 50 ต้น ปลูกมะละกอ 100 ต้น มะพร้าวน้ำหอม 50 ต้น ชมพู่ 30 ต้น มะกรูด มะนาว ฯลฯ ระยะเริ่มต้นของการทำสวนเน้นปลูกไม้ผลให้ร่มเงาสร้างความร่มรื่นภายในสวนให้ เป็นธรรมชาติก่อน จากนั้นก็ค่อยๆ ปลูกพืชอย่างอื่นเพิ่มเรื่อยๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนพืชผักสวนครัวพวกข่า ตะไคร้ พริก มะเขือ ฯลฯ ก็ปลูกไว้ตามริมทางเดินและริมขอบสระน้ำเป็นการใช้ที่ดินทุกตารางนิ้วให้เกิด ผลผลิต และยังเลี้ยงเป็ดและไก่พื้นเมืองไว้อย่างละ 100 ตัว ภายในสระน้ำเลี้ยงปลานิล 3,000 ตัว ส่วนระบบการให้น้ำพืชผักจะใช้สปริงเกลอร์และเครื่องสูบน้ำเข้าช่วย ช่วงบุกเบิกต้องใช้ความอดทนสูงมากเพราะภายในสวนยังไม่เข้าที่เข้าทาง" คุณพรรลี กล่าว
ช่วงครึ่งปีแรกผลผลิตภายในสวนยังมีให้เก็บเกี่ยว น้อย แต่คุณพรรลีและครอบครัวก็ดำรงชีพอยู่ได้อย่างสบาย เชื่อไหมว่าพืชผักสวนครัวพวก สะระแหน่ โหระพา ตะไคร้ ผักชี ผักคะน้า ฯลฯ เป็นตัวทำเงินเก็บขายตลาดมีรายได้ถึงวันละ 200-300 บาท อีกทั้งพวกเป็ด ไก่ ที่เลี้ยงไว้ประมาณ 4-5 เดือน ก็เริ่มโตจับมาบริโภคและขายสร้างรายได้ให้อีกหลายพันบาท จะเห็นว่าระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนของการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ก็เริ่มส่อเค้าไป ในทางที่ดี เนื่องเพราะทุกอย่างภายในสวนเกื้อกูลกันหมด และเมื่อเริ่มเข้าปีที่ 2-3 ภายในไร่นาคุณพรรลี ทุกอย่างเริ่มเข้าที่มากยิ่งขึ้น พืชผักผลไม้ที่ปลูกไว้เริ่มออกดอกออกผลเต็มสวน มองไปทางไหนก็มีแต่ความร่มรื่นอุดมสมบูรณ์ทุกอย่าง ช่วงนี้ คุณพรรลี เริ่มมีรายได้มากขึ้น เพราะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุกวันต่อเนื่องตลอดปี เมื่อทุกอย่างมีพร้อมหมดภายในสวนจึงแทบจะไม่ได้ใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำรงชีพ แต่อย่างใด ทำให้คุณพรรลี เริ่มมีเงินเก็บใช้หนี้ธนาคารและส่วนหนึ่งส่งเสียลูกเรียนหนังสือระดับ ปริญญาถึง 2 คน
คุณพรรลีเล่าถึงภารกิจที่ทำอยู่ในแต่ละวันว่า ตื่นเช้าขึ้นมาจะสูบน้ำรดพืชผักสวนครัว เก็บพืชผักและผลไม้ไว้ให้แม่ค้าที่สั่งไว้ และส่วนหนึ่งให้ภรรยานำไปขายเองที่ตลาด จากนั้นก็ให้อาหารปลา เป็ด ไก่ ทำเขตกรรมรดน้ำ พรวนดิน และขยายพันธุ์ต้นไม้ ทำไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก งานหลักช่วงปีที่ 2-3 แต่ละวันจะเป็นการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพราะทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวแปรเป็นเงินได้หมด จากรายได้วันละ 100-200 บาท ก็เริ่มมีรายได้มากขึ้นเรื่อยๆ ถึงวันละ 400-500 บาท
"ผลผลิต จากไร่นาที่ส่งขายทุกวันตนจะดูว่าพืชผักหรือผลไม้อะไรเป็นที่ต้องการของผู้ บริโภคมากก็จะหันมาปลูกเพิ่ม สนองความต้องการตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ แต่ที่ตลาดต้องการน้อยก็ปลูกไว้พอกินเพื่อจะได้ไม่ต้องใช้เงินซื้อหา"
การ ผลิตโดยดูทิศทางตลาดจึงเป็นเทคนิคเฉพาะตัวในการทำเกษตรของคุณพรรลี เพราะจากคำบอกเล่าทราบว่า ช่วงแรกๆ มีการปลูกพืชและไม้ผลหลายอย่าง เช่น กระท้อน ชมพู่ ฯลฯ ปลูกไว้รวมแล้วหลายไร่แต่ราคาไม่ค่อยดีจึงตัดทิ้ง เหลือไว้บริโภคอย่างละ 2-3 ต้น เท่านั้น กระทั่งปี พ.ศ. 2545 ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 4 ได้เข้ามาสนับสนุนให้ทดลองปลูกอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี 50 โดยสถานีทดลองพืชไร่มหาสารคาม สนับสนุนท่อนพันธุ์มา 1,000 ท่อน พร้อมส่งนักวิชาการมาให้คำแนะนำการปลูกแบบครบวงจรและยังให้เครื่องคั้นน้ำ อ้อยอีก 1 เครื่อง จึงทดลองปลูก 1 ไร่ ระยะเวลา 9 เดือนเศษ ก็เก็บเกี่ยวนำมาคั้นน้ำขาย ช่วงแรกๆ ทดลองขายให้กับพ่อค้าแม่ค้า และผู้สนใจที่มาแวะเยี่ยมที่สวน ปรากฏว่ารสชาติของอ้อยพันธุ์นี้หอมหวานถูกปากผู้บริโภคมาก ต่อมาก็เริ่มมีพ่อค้าแม่ค้ามาขอซื้อลำอ้อยไปคั้นน้ำขาย โดยคุณพรรลีตัดขายลำละ 5 บาท เชื่อหรือไม่ว่าในปีนั้นอ้อยเพียง 1 ไร่ สร้างรายได้ให้คุณพรรลีเกือบ 40,000 บาท เมื่อเห็นว่าอ้อยคั้นน้ำกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดและสร้างรายได้มากกว่า พืชผลประเภทอื่นๆ ในปี พ.ศ. 2546 คุณพรรลี จึงตัดสินใจขยายพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้นเป็น 5 ไร่ โดยเว้นระยะเวลาปลูกแต่ละไร่ห่างกัน 2 เดือน เพื่อให้อ้อยโตไล่เลี่ยกัน จะสลับเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี
ในปัจจุบันอ้อยคั้นน้ำในสวนคุณพรรลีจะมี พ่อค้ารถเร่ขาประจำนับสิบรายมาซื้อที่สวนทุกวัน โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนมีไม่พอขายเพราะอ้อยโตไม่ทัน และจากเดิมที่เคยขายลำละ 5 บาท ก็ขายกิโลกรัมละ 2 บาท ซึ่งจะได้ราคาดีกว่า เฉลี่ยลำละ 6-7 บาท คุณพรรลีบอกว่า ปัจจุบันยอดขายอ้อยแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 300 กิโลกรัม มีรายได้วันละกว่าพันบาท ช่วงนี้คุณพรรลียอมรับว่า งานค่อนข้างหนักเพราะตัวคนเดียว ต้องตัดอ้อยวันละหลายร้อยกิโลกรัม ส่วนภรรยาก็รับหน้าที่นำผลผลิตพืชผักตัวอื่นๆ ส่งตลาด บรรดาลูกๆ ก็ติดภาระเรียนหนังสือ แต่คุณพรรลีก็บอกว่าไม่ท้อเพราะผลตอบแทนที่ได้ในแต่ละวันคือเงินสดๆ ทำให้หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง สามารถเลี้ยงครอบครัวและส่งลูกเรียนได้อย่างสบาย คุณพรรลีบอกว่า ทุกวันนี้มีความปลอดโปร่งใจเป็นที่สุดเพราะหนี้สินไม่มี
วิธี การปลูกอ้อย
คุณ พรรลีเล่าถึงขั้นตอนการปลูกอ้อยคั้นน้ำว่า เกษตรกรที่อยากปลูกอ้อยคั้นน้ำเพื่อเป็นรายได้เสริมหรือเป็นรายได้หลักให้ กับสวนทำได้ง่ายๆ เพราะอ้อยพันธุ์นี้ดูแลไม่ยาก ลงทุนน้อย เฉลี่ยต้นทุนต่อไร่ไม่เกิน 4,000 บาท แต่สามารถตัดลำขายได้เกือบไร่ละ 40,000 บาท และปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้ถึง 4 รุ่น การปลูกจะใช้วิธีการไถยกร่องให้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 อัตรา 80 กิโลกรัม ต่อไร่ การนำท่อนพันธุ์ลงปลูกควรให้มีระยะห่างของแต่ละต้นประมาณ 50 เซนติเมตร ราคาท่อนพันธุ์ที่ขายท่อนละ 3 บาท ติดต่อสอบถามสถานีพืชไร่แต่ละจังหวัดได้ สำหรับตนเองได้รับการสนับสนุนให้มาฟรีเมื่ออ้อยมีอายุได้ 1 เดือน ก็ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อีกครั้ง และเมื่อครบ 40 วัน ก็ใส่ปุ๋ยสูตรเดิมอีกพร้อมกับใช้จอบเกลี่ยกลบร่อง ในระยะเวลา 9 เดือน ถึงวันเก็บเกี่ยวให้ปุ๋ย 3 ครั้ง ส่วนปุ๋ยชีวภาพให้ได้ตลอดปี เคล็ดลับการบำรุงรักษาให้ได้อ้อยลำอวบ รสชาติหอมหวานไม่กลายพันธุ์ง่ายคือ น้ำอย่าให้ขาดต้องให้พื้นดินชุ่มน้ำตลอดจนถึงวันเก็บเกี่ยว ข้อควรระวังคือศัตรูของอ้อยที่มักสร้างความเสียหายให้มากคือ หนูพุก คุณพรรลีจะใช้วิธีการวางกับดัก เพราะนำมาประกอบอาหารได้ ส่วนพวกหนอนกอจะใช้สารสกัดสมุนไพรไล่ก็แก้ปัญหาได้ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง แต่ช่วงฤดูฝนลำอ้อยมักล้มเพราะโดนลมโดนฝนก็แก้ปัญหาโดยใช้ไม้ตีขนาบสองข้าง ยาวตลอดแปลง การทำเขตกรรมทำครั้งเดียวก็พอ และภายหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นแรกแล้ว อย่าใช้วิธีการเผาตออย่างเด็ดขาดเพราะจะทำให้ธาตุอาหารในดินเสื่อม ปล่อยให้กาบอ้อย ใบอ้อย คลุมหญ้าในแปลงไว้เพื่อเก็บความชุ่มชื้นในดินและเป็นปุ๋ยธรรมชาติ จากนั้นก็หว่านปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่โคนต้นอัตราเดิมอีกไม่กี่วันอ้อยก็จะแตกใบออกมา จากนั้นก็สูบน้ำใส่ในร่องแปลงทุกวันให้ต้นหญ้าและกาบใบอ้อยเน่าก็จะกลายเป็น ปุ๋ยชั้นดีให้กับอ้อย ขั้นตอนบำรุงรักษาก็เหมือนกับการปลูกรุ่นแรก พออายุได้ 9 เดือน ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้อีก
การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของ คุณพรรลี เป็นแบบอย่างของคนสู้ชีวิตที่ไม่ยอมหยุดนิ่ง รู้จักคิดและปรับปรุงแก้ไขการทำสวนอยู่ตลอดเวลาจนประสบความสำเร็จ ปัจจุบันสวนของคุณพรรลีจะมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานอยู่ตลอดปี หากผู้สนใจอยากแวะเยี่ยมก็ให้ใช้เส้นทางมหาสารคาม-อำเภอโกสุมพิสัย เลี้ยวขวาเมื่อถึงทางแยกเข้าบ้านบ่อน้อย ข้ามลำชี แล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึง มีป้ายบอกไว้ชัดเจน คุณพรรลีบอก ยินดีต้อนรับทุกท่านที่มาเยือน
ไปเจอบทความของคุณ คนดงคนเดิม ในพันทิพขอเรียนอนุญาติเอามาเผยแพร่เป็นความรู้แก่สมาชิคนะคับ
อ้อยคั้นน้ำ ...พืชทำเงินที่หลายคนมองข้าม
อ้อย เมื่อพูดถึงอ้อย ทำให้นึกถึงอ้อยโรงงานที่ผลิตน้ำตาล แต่ก็มีอ้อยหลายสายพันธุ์ที่เป็นอ้อยเพื่อการคั้นน้ำหรืออ้อยเคี้ยว เช่น อ้อยพันธุ์สิงคโปร์
เมอริชาร์ท สุพรรณบุรี 50 สุพรรณบุรี 72 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เปลือกและเนื้อนิ่ม เคี้ยวง่าย ให้ปริมาณน้ำอ้อยต่อลำสูง รสชาติอร่อย หอมหวาน
เกษตรกรนิยมปลูกกันมากขึ้น ตลาดผู้บริโภคน้ำอ้อยสดก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน ...
ผลตอบแทนต่อ ไร่สูง
อ้อยที่ปลูกเพื่อคั้นเอาน้ำมาดื่มสด ๆ หากแช่เย็นหรือใส่น้ำแข็ง ก็จะได้รสชาติที่อร่อย หอม หวาน ดื่มในขณะอากาศร้อน ก็จะดับร้อนผ่อนกระหายได้ดี หรือที่เรียกอ้อยประเภทนี้ว่า "อ้อยคั้นน้ำ"
ผู้ปลูกอ้อยคั้นน้ำ กล่าวว่า เกษตรกรปลูกอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สิงคโปร์ และพันธุ์เมอริชาร์ท ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้
1,060 กอ โดยใช้ระยะปลูก 1.50 x 1 เมตร หลังปลูก 8 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวได้ เฉลี่ยกอละจำนวน 5 – 6 ลำ จะได้อ้อยอย่างน้อย 5,000 ลำต่อไร่
" ใน 1 ไร่ จะได้อ้อยขั้นต่ำ 5,000 ลำ ขายในพื้นที่ ราคาลำละ 10 บาท เกษตรกรจะมีรายได้เฉลี่ย 50,000 บาทต่อไร่ หรือคั้นน้ำอ้อยบรรจุขวดขาย
อ้อย 1 ลำ คั้นน้ำอ้อยได้ 3 – 4 ขวด (ขวด ขนาด 350 ซีซี) ขายขวดละ 10 บาท เท่ากับ 30 – 40 บาทต่อลำ ใน 1 ไร่ จะทำให้มีรายได้ประมาณ 150,000 –
200,000 บาท นอกจากนี้ ยังขายเป็นอ้อยควั่น อ้อย 1 ลำ ขายเป็นอ้อยควั่นได้ 5 – 6 ถุง ๆ ละ 10 บาท นับว่าเป็นรายได้เสริมจากการทำสวนยางพารา
สวนปาล์มน้ำมัน ได้ดีเลยทีเดียว"
นาย พงษ์ศักดิ์ พาคำ อายุ 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 40/2 บ้านหนองแวง ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ที่อดีตปลูกอ้อยโรงงาน มีรายได้ไร่ละ 5,000 - 6,000 บาท แต่ต่อมาหันมาปลูกอ้อยคั้นน้ำขาย มีรายได้สูงถึงละ 80,000 บาท
นาย พงษ์ศักดิ์ ได้ปลูกอ้อยคั้นน้ำตั้งแต่ปี 2541 เริ่มจาก 1 งาน และขยายพื้นที่ปลูกทุกปี ปัจจุบันปลูก 15 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 10 ตัน /ไร่ ขายผลผลิตได้ 2 ลักษณะ คือ "ขายลำ" ก.ก. ละ 2 บาท อ้อยลำหนึ่ง ได้น้ำหนัก 4 ก.ก. (ลำละ 4 บาท) มีรายได้ไร่ละ 20,000 บาท อีกลักษณะหนึ่งคือ "คั้นน้ำขาย" โดยใช้เครื่องคั้นน้ำติดรถมอเตอร์ไซด์พ่วงไปขายตามที่ต่าง ๆ ทำให้มีรายได้สูงถึงไร่ละ 80,000 บาท
ซึ่งอ้อยคั้นน้ำ นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับเกษตรกร (ไม่ใช่ว่าจะแนะนำให้ปลูกอ้อยคั้นน้ำแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรทำการเกษตรหลาย ๆ อย่าง จะเป็นการลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ และลดความเสี่ยงด้านการตลาดและราคาด้วย)
ลักษณะทั่วไป
อ้อยคั้นน้ำเป็นพืชที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมน้ำอ้อยพร้อมดื่มมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศ สภาพพื้นที่เป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วมขัง การคมนาคมสะดวก ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ ควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว ร่วนปนทรายหรือดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลางขึ้นไป ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5 – 7.0 และสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 30 – 35 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000-1,200 มิลลิเมตรต่อปี และมีแหล่งน้ำเพียงพอ
พันธุ์ที่นิยมปลูก มี 2 พันธุ์
- สุพรรณบุรี 50 ใบสีเขียวเข้ม ลำมีขนาดใหญ่สีเขียวอมเหลือง ปล้องยาวเป็นรูปทรงกระบอก แตกกอ 5-6 ลำต่อกอ ไว้ตอได้ 3-4 ครั้ง ทนทานต่อโรคลำต้นเน่าแดง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8 เดือน ผลผลิตน้ำอ้อย 4,600-5,200 ลิตรต่อไร่ ความหวาน 15-17 องศาบริกซ์ เหมาะสำหรับปลูกทั้งในสภาพ
ที่ดอนและที่ลุ่ม
- สิงคโปร์ เป็นพันธุ์ที่เกษตรกร อำเภอลาดบัวหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นิยมปลูกในอดีต ในสีเขียวอ่อน ลำมีขนาดใหญ่สีเหลืองเข้ม ปล้องสั้นเป็นรูปข้ามต้มหรือป่องกลาง แตกกอ 3-4 ลำต่อกอ ไว้ตอไม่ได้ อ่อนแอต่อโรคลำค้นเน่าแดง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8 เดือน ผลผลิตน้ำอ้อย 2,100-2,800 ลิตรต่อไร่ ความหวาน 13-15 องศาบริกซ์ เหมาะสำหรับปลูกในสภาพที่ลุ่ม
การเตรียมดิน
- ในสภาพที่ลุ่ม ต้องขุดเป็นรองหรือยกร่อง โดยมีสันร่องกว้าง 5-6 เมตร ความยาวร่องตามขนาดพื้นที่ และให้มีคูน้ำรอบแปลงลึกประมาณ 1 เมตร ในสภาพที่ดอน เป็นการปลูกในพื้นที่ราบจึงควรมีการปรับระดับพื้นที่ให้มีความลาดเอียง ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์
- ถ้าดินมีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ควรหว่านปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้วอัตรา 1,000-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบ
- ไถด้วยผาลสาม 1 ครั้ง ลึก 30-50 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน พรวนด้วยผาลเจ็ด 1-2 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหล ของวัชพืชข้ามปี ออกจากแปลง
- ในสภาพที่ลุ่ม ให้ทำร่องปลูกตามแนวขวางบนสันร่อง ระยะระหว่างร่อง 0.75-1.0 เมตร ในสภาพที่ดอน ระยะระหว่างร่อง
การเตรียมท่อนพันธุ์
จำเป็นต้องเตรียมท่อนพันธุ์ สำหรับใช้ในแปลงพันธุ์และแปลงปลูก โดยมีขั้นตอน ดังนี้
- ใช้ท่อนพันธุ์อายุ 6-8 เดือน จากแหล่งและแปลงที่ไม่มีโรคลำต้นเน่าแดงระบาด หรือจัดทำแปลงพันธุ์ไว้ใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยเตรียมแปลงพันธุ์ 1 ไร่ สำหรับแปลงปลูก 10 ไร่
- ใช้มีตัดลำอ้อยชิดโคน และตัดยอดอ้อยต่ำกว่าคอใบสุดท้ายที่คลี่แล้วประมาณ 20 เซนติเมตร ลอกกาบใบตัดอ้อยเป็นท่อน จำนวน 3 ตาต่อท่อน แล้วนำไปปลูกทันที ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 7 วัน
- ตรวจแปลงพันธุ์อย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบการระบาดของโรคลำต้นเน่าแดง ต้องขุดกออ้อยออก เผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที
วิธีการปลูก
- ปลูกเป็นแถวเดี่ยวทั้งในแปลงพันธุ์และแปลงปลูก
- วางท่อนพันธุ์ในร่อง ให้มีระยะระหว่างท่อน 50 เซนติเมตร
- กลบดินให้สม่ำเสมอ หนา 3-5 เซนติเมตร สำหรับพันธุ์สุพรรณบุรี 50 และหนา 1-2 เซนติเมตร สำหรับพันธุ์สิงคโปร์
การให้ปุ๋ย
- ให้ปุ๋ยเคมีหลังปลูก หรือหลังแต่งตออ้อย 2 ครั้ง
ดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือ ดินเหนียว ให้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 ครั้งแรกเมื่ออายุ 1 เดือน อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 3 เดือน อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่
ดินร่วนปนทราย ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ครั้งแรกพร้อมปลูก อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 3 เดือน อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
- ในอ้อยปลูก ให้ปุ๋ยแบบโรยเป็นแถวข้างกออ้อยแล้วพรวนกลบ ในอ้อยตอ ให้ฝังกลบปุ๋ยห่างจากกออ้อย 10-15 เซนติเมตร
การให้น้ำ
- ให้น้ำทันทีหลังปลูก เพื่อให้อ้อยงอกสม่ำเสมอ หลังจากนั้นให้น้ำทุก 2-3 สัปดาห์
ในสภาพที่ลุ่ม ให้น้ำโดยการตักน้ำสาดหรือใช้เครื่องสูบน้ำวางลงในเรือขนาดเล็ก สูบน้ำจากร่อง
ในสภาพที่ดอน ให้น้ำประมาณครึ่งร่อง โดยไม่ต้องระบายน้ำออก
- งดให้น้ำ 2 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว ถ้าในช่วงเก็บเกี่ยวมีฝนตกหนัก ต้องระบายน้ำออกจากร่องทันทีให้เหลือไม่เกินครึ่งร่อง
ระยะเก็บ เกี่ยวที่เหมาะสม
- เก็บเกี่ยวอ้อยที่อายุประมาณ 8 เดือน
- น้ำอ้อยมีความหวาน 13-17 องศาบริกซ์
- ลำอ้อยมีความยาวไม่น้อยกว่า 2 เมตร
- ควรเก็บเกี่ยวในช่วงเข้าหรือเย็น ขณะที่อากาศไม่ร้อนจัด
วิธีการเก็บเกี่ยว
- ตัดเฉพาะลำอ้อยที่มีอายุ 8 เดือน สังเกตได้คือ พันธุ์สุพรรณบุรี 50 จะมีลำสีเขียวอมเหลือง สำหรับพันธุ์สิงคโปร์ จะมีสีเหลืองเข้ม
- ใช้มีดถากใบและกาบออกทั้งสองด้าน อย่าให้เปลือกหรือลำเสียหาย ตัดลำอ้อยชิดดิน แล้วตัดยอดอ้อยต่ำกว่าจุดคอใบประมาณ 25 เซนติเมตร วางบนแคร่หรือพื้นที่สะอาด ห้ามวางบนพื้นดิน ใช้ยอดอ้อยหรือเชือก ฟางมัดโคนและปลายลำอ้อย มัดละ 10 ลำ แล้วใส่รถบรรทุกนำส่ง
ให้ลูกค้า ทันที หรือนำไปไว้ในที่ร่มเพื่อเตรียมจัดส่ง
การปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
- ลำอ้อยที่ตัดแล้วควรนำไปส่งขายทันที
- ถ้ายังไม่นำไปคั้นน้ำ สามารถเก็บลำอ้อยไว้ในที่ร่ม ที่มีการถ่ายเทอากาศดี ได้นาน ประมาณ 7 วัน โดยคุณภาพน้ำอ้อย คือ สีและความหวานไม่เปลี่ยนแปลง
- สถานที่เก็บลำอ้อยต้องสะอาด ห่างไกลจากสัตว์ มูลสัตว์ ปุ๋ยเคมี และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
- รถบรรทุกอ้อยต้องสะอาด และเหมาะสมกับปริมาณอ้อย ไม่ควรเป็นรถที่ใช้บรรทุกดิน สัตว์ มูลสัตว์ ปุ๋ยเคมี และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพราะอาจมีการปนเปื้อน ยกเว้น จะมีการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม ก่อนนำมาบรรทุกอ้อยคั้นน้ำ
- การขนอ้อยขึ้นรถ ควรมีคนรับอ้อยบนรถ ห้ามโยน เพราะจะทำลำอ้อยช้ำ คุณภาพน้ำอ้อยเสีย
- ควรจัดส่งอ้อยในช่วงเช้าหรือเย็น เพราะถ้าอ้อยได้รับความร้อนสูงเกินไป จะมีผลเสียต่อคุณภาพน้ำอ้อย
">
http://ranong.doae.go.th/ooykannam.htm
http://www.youtube.com/watch?v=s5nCM5vGOv8&feature=player_embedded
ที่ มา http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2008/03/J6405185/J6405185.html
ผมดูวีดีโอแล้วเห็นชานอ้อยที่เขาคั้นน้ำแล้ว กากชานอ้อยที่เหลือนี่เอาไปทำประโยชน์ได้หลายอย่างเลยครับ
ลองดูวีดีโอ ที่เขาเอากากชานอ้อยมาเป็นวัสดุทำปุ๋ยหมัก คนหนึ่งคน จอบเล่มเดียวทำปุ๋ยหมักได้ 3 ตันต่อวันสะบายๆเลย
http://www.youtube.com/watch?v=LcxjfchUVHo
หรือ จะเอาไปทำพลังงานชีวมวลก็ได้ครับเอาไปทำอาหารสัตว์ก็ดี
พลังงานจากชีวมวล เลยครับ
ชานอ้อยอัดเม็ด(Sugarcane Bagasse Pellets) สำหรับเชื้อเพลิงชีวมวล(Biomass) และอาหารสัตว์(Animal Feed)
การนำ ไปใช้:
# ใช้แทนเชื้อเพลิงชีวมวลต่างๆ สำหรับโรงไฟฟ้าและโรงงานที่ใช้ Boiler
- ให้ค่าความร้อนสูง (มากกว่า 4,500 Kcl.)
- ค่าความเป็นเถ้า(Ash) ต่ำ
- ความชื้น(Moisture) ไม่เกิน 12 %
- สะดวกในการจัดเก็บ การจัดทำ Stock คำนวณปริมาณการนำไปใช้..ทำได้ง่าย
- ลดค่าใช้จ่ายจากแรงงานทางตรง การนำไปใช้มีความสูญเสียต่ำ
# ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น โค กระบือ ช้าง ม้า แพะ แกะ สุนัข
- ใช้แทนอาหารหยาบ คุณภาพสูง (โปรทีน 4% ) สัตว์เลี้ยงชอบเพราะชานอ้อยมี
วามหอมของกากน้ำตาล (Molasses)
- สามารถกำหนดปริมาณโปรทีนได้ว่าต้องการกี่ % (กรณีต้องการสูตรอาหารข้นที่มีโปรทีนสูง)
- ทดแทนอาหารหยาบที่ขาดแคลนในหน้าแล้ง
- แก้ปัญหาสัตว์เลี้ยงที่ไม่มีพื้นที่สำหรับปล่อยให้ออกไปกินหญ้า
- ช่วยให้สามารถเลี้ยงสัตว์ในเชิงอุตสาหกรรมทำได้ง่าย เลี้ยงสัตว์ระบบปิดป้องกันโรคระบาด
- ใช้อบรมควันอาหารทุกชนิด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า
- ใช้ปกคลุมหน้าดินเพื่อควาบคุมความชื้นและสภาวะอากาศเหนือผิวดิน(ในประเทศที่ มีหิมะตก)
- ใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ต่างๆ ได้ เพราะมีใยอาหารสูง มีความหอมของกากน้ำตาล(Molasses)
ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=10322.0