โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose) สาเหตุ เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. เป็น โรคที่มีความสำคัญมากกับมะม่วงทุกพันธุ์ แต่มะม่วงพันธุ์แต่ละพันธุ์มีความต้านทานต่อโรคแตกต่างกัน พันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่นพันธุ์น้ำดอกไม้ หากไม่มีการพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราอาการจะรุนแรงมาก บางครั้งจะไม่ได้ผลผลิตเลย อาการบนใบอ่อนเริ่มจากการเป็นจุดชุ่มน้ำและเปลี่ยนเป็นสีดำต่อไป บริเวณที่เป็นแผลจะหดตัวลงเล็กน้อยจนดึงให้ใบบิดเบี้ยว ใบแก่ขนาดของจุดจะมีขนาดคงที่ค่อนข้างเป็นเหลี่ยม เมื่อมะม่วงแทงช่อดอก เชื้อจะเข้าทำลายที่ช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้ง ดอกร่วง ช่อที่ติดผลอ่อนรวมทั้งผลแก่จะมีแผลเน่าดำ ในสภาพอากาศที่ มีความชื้นสูง จะมีสปอร์สีชมพูเกิดขึ้นตามแผลที่เป็นโรคการ ป้องกันกำจัดโรคแอนแทรกโนส ควรทำในระยะที่มะม่วงกำลังจะแตกใบอ่อนและเมื่อมะม่วงจะแทงช่อดอก เกษตรกรควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดสัมผัส เช่นสารแมนโคเซ็บ แคปแทน สารพวกคอปเปอร์ อาจจะผสม หรือสลับกับสารประเภทดูดซึม เช่น Prochloraz, azoxystrobin, benomyl, carbendazim หรือสารดูดซึมอื่นๆ พ่นทุก 10-14 วันประมาณ 2-3 ครั้ง มะม่วงที่ต้องการเก็บรักษา สารพวกคอปเปอร์ซึ่งไม่มีค่า MRL ในยุโรปกำหนดไว้ จึงน่าจะเป็นทางเลือกใช้ได้ในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวไว้นานหลังการเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะพันธุ์เขียวมรกต ควรพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราในช่วงปลายฤดูปลูกด้วย
_______________________
แบ่งปันข้อมูลจาก: หนังสือโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ พิมพ์ครั้งที่ 3 (พิสุทธิ์ เอกอำนวย, 2553) สวนสัตว์แมลงสยาม เชียงใหม่ เจ้าของและผู้พิมพ์โฆษณา 592 หน้า
กรณีฝนไม่ตกหนักอาจจะใช้สารเบนโนมิล (เช่น เมเจอร์เบน) อัตรา 6-12 กรัม ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 7-10 วัน โดยอาจฉีดสลับกับสารแคปแทน (เช่น อโรไชด์) อัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และเกษตรกรเจ้าของสวนมั่นสังเกตช่อดอกบ่อยๆหากพบว่าสารกำจัดโรคที่ฉีดพ่นไปเอาชนะไม่ได้ (โรคลุกลามต่อเนื่อง) ให้เปลี่ยนสารเคมีทันที
** สารเคมีที่พิชิตแอนแทรคโนส ได้อย่างแน่นอน ในปัจจุบัน เกษตรกรชาวสวนส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้สาร ฟลิ้นท์+แอนทราโคลโกลด์ เพราะสามารถป้องกันโรคแอนเทรคโนสได้ผลแน่นอน แม้จะมีขนาดฝนตกติดต่อกันหลายวัน ที่สำคัญเป็นสารที่ฉีดพ่นแล้วไม่เป็นอันตรายต่อดอก ดอกมะม่วงที่ฉีดพ่นด้วยสาร ฟลิ้นท์+แอนทราโคลโกลด์ จะสดและใสกว่าการฉีดพ่นด้วยสารกลุ่มอื่นที่สำคัญไม่พบปัญหาดอกแห้งหรือดอกไหม้ หรือฉีดพ่นสารในสภาพอากาศร้อน อัตราที่แนะนำให้ใช้ฟลิ้นท์ 3 กรัม และ แอนทราโคลโกลด์ 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีกพ่น 7-10 วันต่อครั้ง แต่หากช่วงนั้นมีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ให้ลดระยะเวลาฉีดเหลือ 2-3 วันต่อครั้งจะได้ผลดีที่สุด
ที่มา
http://www.malaeng.com/blog/?p=9196
http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=2471&s=tblplant