วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เหตุใดรัฐบาลจึงยังไม่สั่งห้ามจำหน่ายสารเคมีเหล่านี้?


ความจริงแล้ว รัฐบาลไทยได้ประกาศห้ามจำหน่ายสารเคมีเป็นจำนวนมากตั้งแต่ปี 2520 มีการสั่งห้ามสารกำจัดศัตรูพืชทั้งสิ้น 82 ชนิด เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ สารเคมีล่าสุดที่ถูกสั่งห้ามไปคือ เมธามิโดฟอส เมื่อเดือนเมษายน 2546

แต่สารที่ถูกสั่งห้ามบางชนิด ยังคงมีการใช้อยู่ อาจจะเนื่องมาจากมีเหลือเก็บ หรือมีการนำเข้ามาอย่างผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้าน เกษตรกรยังคงมีการใช้สารเคมีโมโนโครโตฟอส กันอยู่ทั่วไป ทั้งที่ถูกสั่งห้ามไปแล้วตั้งแต่ปี 2543


นอกเหนือจากการประกาศห้ามใช้สารเคมี รัฐบาลได้จัดทำ “รายการเฝ้าระวัง” ขึ้นมา มีสารเคมี 12 ชนิด ในรายการนี้ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ แต่ยังไม่ได้สั่งห้ามอย่างเป็นทางการ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องและกังวลต่ออันตราย ก็ควรหลีกเลี่ยงการซื้อ ขาย หรือใช้สารเหล่านี้

เป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่งว่า สารเคมีบางชนิดบนรายการเฝ้าระวัง เช่น ออลดิคาร์บ และเม็ทธิลพาราไธออนนั้น มีพิษมากกว่าสารเคมีบางชนิดที่ถูกสั่งห้ามไปแล้วเสียอีก เช่น มีธามิโดฟอส และโมโนโครโตฟอส

และก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเช่นกันว่า ในการที่สารทั้ง 12 ตัว ได้ขึ้นมาอยู่ในรายการที่เป็นสารที่มีอันตรายมากนั้น ก็มิได้หมายความว่าสารอื่นที่ใช้ในประเทศจะปลอดภัย เช่น สารกำจัดวัชพืช พาราควอท ที่ไม่ปรากฏบนรายการเฝ้าระวังนั้น ได้ชื่อว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดผลเสียมากมาย แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็ยังแนะนำให้ใช้ควบคุมวัชพืชอยู่ 

สารกำจัดศัตรูพืชที่อยู่ในรายการเฝ้าระวัง
ชื่อสามัญ  ประเภทของสาร  ชั้น
ออลดิคาร์บ  คาร์บาเมท  Ia
บลาสติซิดิน-เอส  -  Ib
คาร์โบฟูแรน  คาร์บาเมท  Ib
ไดโครโตฟอส  ออร์การ์โนฟอสเฟต  Ib
เอ็นโดซัลแฟน  ออร์การ์โนคลอไรด์  II
อีพีเอ็น  ออร์การ์โนฟอสเฟต  Ia
อีโทรโพรฟอส  ออร์การ์โนฟอสเฟต  Ia
ฟอร์เมธิเนท ไฮโดรคลอไรด์  คาร์บาเมท  Not listed
เมธิดาไธออน  ออร์การ์โนฟอสเฟต  Ib
มีโธมิล  คาร์บาเมท  Ib
ออกซามิล  คาร์บาเมท  Ib
พาราไธออนเมทธิล  ออร์การ์โนฟอสเฟต  Ia
* = จำแนกโดยองค์การอนามัยโลก ** = ไม่จำแนก

พาราควอท

พาราควอท เป็นสารที่ไม่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะกับพืชที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ และการเกษตรขนาดเล็ก และสารตัวนี้ไม่มียาสำหรับแก้พิษ ซึ่งหมายความว่า ผู้ได้รับพิษ จะตายได้ หรือหากไม่ตาย ก็จะมีอาการป่วยอย่างรุนแรง ผลต่อสุขภาพที่รุนแรงที่สุดที่จะพบได้คือ ในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยที่ผู้พ่นสารนี้ จะได้รับอันตรายที่ปอด ผิวหนัง ตา จมูก เล็บมือ และเล็บเท้า ผู้คนจากประเทศอุตสาหกรรม ก็รู้สึกเป็นกังวลต่อปัญหานี้เช่นกัน และไม่ว่าใครก็ตาม ไม่สามารถที่จะไม่คำนึงถึงผลที่จะมีต่อสภาพแวดล้อมได้

เมทธิลพาราไธออน

เมทธิลพาราไธออน ไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ ในทุกๆ อัตราความเข็มข้นที่ใช้ และต้องสั่งห้ามใช้กับพืชอาหารทุกชนิด สารกำจัดแมลงชนิดนี้เป็นสัญญลักษณ์ของสมัยที่นิยมการใช้สารเคมีที่มีพิษสูง และสมัยที่ความรู้ของเรามีน้อยในเรื่องของอันตรายต่อสุขภาพจากสารกำจัดศัตรูพืชโดยทั่วไป รวมทั้งความรู้เรื่องสารพิษที่มีต่อระบบประสาท ปัจจุบันเรารู้แล้วว่า สมองและระบบประสาทของทารกและเด็กนั้น ง่ายต่อการเข้าทำลายของสารที่มีพิษต่อระบบประสาทได้อย่างสูง

เอ็นโดซัลแฟน

เอ็นโดซัลแฟน เป็นสารที่เก่าล้าสมัยและเป็นอันตรายมาก ไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยในการใช้ของประเทศยากจนหลายๆ ประเทศ ที่ยังมีการใช้กันอยู่
เอ็นโดซัลแฟน เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์คงอยู่ได้นาน ที่สามารถแสดงให้เห็นได้ในการสะสมในสิ่งมีชีวิต ในอวัยวะ ที่รับสารนี้เข้าไป


 
องค์การอนามัยโลก หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ รัฐบาลไทย ตัวอย่างสารเคมีแต่ละกลุ่ม
ชั้น ความรุนแรง กลุ่ม ระดับเตือนความเป็นพิษ แถบสี
Ia พิษร้ายแรงยิ่ง I 'ระดับอันตราย-สารพิษ' ฉลากสีแดง  เม็ททิลพาราไธออน
Ib พิษสูงมาก  เมธามิโดฟอส
II พิษสูงปานกลาง II 'ระดับเตือนภัย' ฉลากสีเหลือง  พาราควอท
III พิษน้อย III 'ระดับระมัดระวัง' ฉลากสีน้ำเงิน  มาลาไธออน
IV พิษน้อยมาก IV ไม่เป็นพิษ ฉลากสีน้ำเงิน  ไกลโฟเสท