วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มาปลูกเห็ดเข็มทองกันเถอะ



เห็ดเข็มทอง เบอร์ 1 มีลักษณะเส้นใยสีขาว บางส่วนเปลี่ยนเป็นสีเหลือง-น้ำตาล เมื่ออายุมากกว่า 45 วัน เจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 22-26 องศาเซลเซียส ดอกเป็นกลุ่ม ก้านยาว 6-12ซม. หมวกดอกมีขนาดเล็ก 0.5-1.5 ซม. สีของก้านส่วนล่างจะมีสีน้ำตาลดำและอ่อนลงเป็นสีเหลืองจนถึงหมวกดอก ให้ผลผลิตได้ดีที่อุณหภูมิ 8-18 องศาเซลเซียส

ลักษณะประจำพันธุ์ 
ดอกเห็ดมี ลักษณะเป็นกลุ่ม หมวกดอกโค้งนูนลง สีเหลืองทอง ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-5 ซม. ก้านดอกสีเหลือง โคนก้านสีน้ำตาลเข้มดำ ก้านยาว 3-12 ซม. พิมพ์สปอร์ (Spore print) สีขาว สปอร์รูปไข่ปลายมนสีขาว ขนาด 5-8 X 3-4 ไมครอน

ลักษณะการเจริญเติบโต
          ระยะเส้นใย เส้นใยเจริญบนอาหาร พี ดี เอ มีสีขาวและเต็มจานแก้วเลี้ยงเชื้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 ซม.ในเวลาประมาณ 10 วัน ที่อุณหภูมิ 23±3 องศาเซลเซียส เส้นใยเจริญได้ในที่มืด ดอกเห็ดเกิดบน พี ดี เอ ได้เมื่อเส้นใยอายุ 45±10 วัน และต้องมีแสงสว่าง
 ระยะหัวเชื้อ เส้นใยเจริญเต็มเมล็ดข้าวฟ่างนึ่งฆ่าเชื้อ (100 กรัม) ในเวลาประมาณ 12 วัน ที่อุณหภูมิ 23±3 องศาเซลเซียส    
ระยะบ่มเชื้อ เส้นใยเจริญเต็มที่อาหารผสมขี้เลี่อย (600 กรัม) ในเวลาประมาณ 45 วัน ที่อุณหภูมิ 23±3 องศาเซลเซียส
ระยะออกดอก เห็ดออกดอกเก็บได้ 3-4 ครั้งภายใน 2 เดือน ที่อุณหภูมิ 13±3 องศาเซลเซียส ต้องการแสงสว่าง ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95%

ผลผลิตเฉลี่ย  50-150 กรัม (น้ำหนักอาหารผสมขี้เลื่อย 600 กรัม)

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยง เห็ดให้ได้ผลผลิต

1.โรงเพาะ
 โรงเรือนเพาะเห็ดเข็มทองที่ดีจะต้องสร้างแบบห้องเย็น  ภายใต้หลังคา สามารถ ควบคุมอุณหภูมิ  ความชื้น  อากาศและแสงสว่างได้ดี  มีพื้นที่สำหรับกองขี้เลื่อย  และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ  เช่น เครื่องผลิตไอน้ำ  ตู้อบฆ่าเชื้อ  เครื่องมือต่างๆ  และควรมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองในกรณีไฟฟ้าดับด้วย

2.การเตรียมเชื้อเห็ด
 เชื้อ เห็ดสายพันธุ์ที่ตลาดนิยม  เลี้ยงเชื้อบริสุทธิ์ในอาหารวุ้น PDA หรือ PDYA  ที่อุณหภูมิ 20 – 25 องศาเซลเซียส  แล้วจึงขยายเชื้อลงในเมล็ดข้าวฟ่างหรือขี้เลื่อยผสมรำ 10 เปอร์เซ็นต์  ใช้เป็นหัวเชื้อ

3.การเตรียมวัสดุเพาะ
 วัสดุเพาะ ที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ  ขี้เลื่อยผสมรำละเอียด 10 – 20 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้อาจจะผสมแกลบ 5 – 10 เปอร์เซ็นต์  และอาหารเสริมอื่นๆ  ตามความเหมาะสมของเชื้อเห็ดแต่ละสายพันธุ์  ขี้เลื่อยควรรดน้ำกองทิ้งไว้จนน้ำที่ไหลซึมออกมามีใส ในระหว่างกองหมักน้ำควรกลับกองเพื่อความสม่ำเสมอในการชะล้างยางไม้ออกจากขี้ เลื่อย  เสร็จแล้วกองให้สะเด็ดน้ำเพื่อเตรียมใช้งานต่อไป  ส่วนผสมของวัสดุเพาะควรมีความชื้นอยู่ระหว่าง 58 – 62 เปอร์เซ็นต์

       3.1.การเตรียมอาหาร วสัดุที่ใช้ผสมเป็นอาหารเพาะเลี้ยงเห็ดเข็มเงินประกอบด้วย
              - ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 75 กิโลกรัม
              - รําละเอียด 20 กิโลกรัม
              - ข้าวโพดบด 5 กิโลกรัม
              - นํ้า 60 กิโลกรัม

วัสดุ ทั้งหมดนี้นำมาคลุกให้เข้ากันอย่างดีจะมี ความชื้น 60-65 % นำอาหารที่เตรียมแล้วนำไปบรรจุในถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 x 12 นิ้ว อาจบรรจุในพลาสติกได้อัดให้แน่นจะได้ปริมาณอาหารถุงละ 600 กรัม (วิธีบรรจุ เช่น เดียวกับการเตรียมถุงอาหารเห็ดโดยทั่วไป) ใส่คอขวด (พลาสติก) ปิดจุกสำลี แล้วหุ้มด้วยกระดาษป้องกันสำลีเปียก

4.ภาชนะที่ใช้เพาะเห็ด
 นิยมใช้ขวดพลาสติกทนความร้อนสูง  มีลักษณะทั่วไปโดยประมาณดังนี้ ความ จุ 1 ลิตร  ปากกว้าง 6 เซนติเมตร  ใส่วัสดุเพาะหมัก 750 กรัม  บรรจุขี้เลื่อยด้วยเครื่องบรรจุ  พร้อมทั้งอัดและเจาะรูตรงกลางโดยอัตโนมัติ  ปิดปากขวดด้วยฝาพลาสติกแบบมีที่กรองอากาศ

5.การอบฆ่าเชื้อ
  อบฆ่าเชื้อขวดขี้เลื่อยที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส  เป็นเวลา 4 ชั่วโมง  จากนั้นจึง เพิ่มอุณหภูมิเป็น 120 องศาเซลเซียส  หรือจะอบที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส  เป็นเวลานาน     2 ชั่วโมง  ก็ได้  ระหว่างที่อบฆ่าเชื้อต้องระวังอย่างให้น้ำไหลเข้าไปในขวดขี้เลื่อย  จะทำให้ความชื้นสูงเกินไป  เชื้อเห็ดจะเจริญเติบโตได้ไม่ดี หรือเรียกอีกอย่างว่าการนึ่งอาหาร ถุงอาหารขี้เลื่อยผสมที่เตรียมไว้แล้วนี้ นําไปผ่านการฆ่าเชื้อ โดยนึ่งในหม้อนึ่งไม่อัดความดัน อุณหภูมิประมาณ 100  ํC เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือนึ่งด้วยหม้อนึ่งอัดความดัน อุณหภูมิประมาณ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง

6.การใส่เชื้อ
          เมื่ออบฆ่าเชื้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ทิ้งขวดขี้เลื่อยให้เย็นประมาณ 20 องศาเซลเซียส  จึงจะใส่เชื้อ  การเพาะเห็ดแบบอุตสาหกรรมจะต้องใช้เครื่องมือเป็นส่วนใหญ่  การใส่เชื้อก็เช่นกันจะใส่ด้วยเครื่องโดยใช้เชื้อที่ทำจากขี้เลื่อย  ใส่ในอัตราส่วนประมาณ 15 กรัมต่อขวด  หรือเชื้อ 1 ขวด  ต่อวัสดุเพาะ 50 ขวด หรือใส่เชื้อเห็ดที่เจริญในเมล็ดข้าวฟ่างถุงละ 15-20 เมล็ด

7.การบ่มเชื้อ
           นำขวดเพาะที่ใส่เชื้อเห็ดไปตั้งไว้ในห้องที่อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 18 – 20 องศาเซลเซียส  ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิภายในขวดขี้เลื่อยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด  ใช้เวลา 25 – 30 วัน  เชื้อก็เจริญเต็มขวด

8.การสร้างตุ่มดอก
           เมื่อเชื้อเจริญเต็มขวด  ให้เปิดฝาออกแล้วใช้เหล็กปลายแบนงอเหมือนช้อนขุดเอาส่วนหน้าหรือส่วนที่เป็น เชื้อขี้เลื่อยออกให้หน้าเรียบ (ฟาร์มเห็ดใหญ่ๆ  จะใช้เครื่องแคะ) นำไปไว้  หรือลดอุณหภูมิห้องลงมาที่ 10 – 15 องศาเซลเซียส  (แล้วแต่สายพันธุ์เห็ด) ความชื้น 80 – 85 เปอร์เซ็นต์  ไม่ต้องใช้แสงสว่าง  รักษาอุณหภูมิและความชื้นให้สม่ำเสมอ  ใช้เวลา 5 – 10 วัน  ก็จะสร้างตุ่มดอก  แล้วเลี้ยงต่อจนดอกเห็ดโผล่พ้นปากขวด 2 – 3 เซนติเมตร

ที่มา : http://www.technoinhome.com/vspcite/front/board/show.php?tbl=tblwb03&gid=20&id=297&PHPSESSID=9dfdbe4c11bbf534df2527865628593

ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช


ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช บทความ ความรู้ เรื่องการเกษตร
      ไส้เดือน ฝอยในสกุล Steinemema spp. นับป็นหนึ่งในชีวภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด สามารถนำมาใช้ทดแทน และลดจำนวนครั้งของการใช้สารเคมีที่เป็นพิษ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม การเพาะเลี้ยงไส้เดือนฝอยกำจัดแมลง มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เกษตรกรหรือบุคคลทั่วไป สามารถทำได้ด้วยตนเอง ด้วยวัสดุอุปกรณ์ ที่มีราคาถูก หาได้ง่าย ใช้ต้นทุนต่ำ ให้ผลผลิตสูง การเพาะเลี้ยงใช้เอง ยังได้ไส้เดือนฝอยที่แข็งแรง และมีศักยภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การใช้ไส้เดือนฝอย ในการกำจัดปลวก ก็เป็นทางเลือกที่ดี ที่ปลอดมลพิษ และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกด้วย
    ขั้นตอนการเพาะเลี้ยง

  1. ขั้นตอนการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยง
สูตรอาหารเทียมชนิดแข็งกึ่งเหลว ที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงไส้เดือนฝอย ประกอบด้วย แหล่งอาหาร 2 ชนิดที่สำคัญคือ โปรตีนและไขมัน ที่ได้จากพืชหรือสัตว์ ซึ่งี่หาได้ง่ายและราคาถูก สูตรอาหารเพาะเลี้ยงมีหลายสูตร ตัวอย่างเช่น สูตรไข่ไก่ การเตรียมอาหารเพาะเลี้ยง สูตรไข่ไก่ปริมาตร 2 ลิตร ประกอบด้วยไข่ไก่ 500 ซีซี. (9-10ฟอง) ผสมน้ำมันหมู 200 ซีซี. และน้ำสะอาด 300 ซีซี. ปั่นในเครื่องปั่นผสมอาหาร ให้เป็นเนื้อเดียวกัน เทเก็บไว้ในภาชนะ เพื่อใช้คลุกกับวัสดุเพาะเลี้ยง

  2. ขั้นตอนการเตรียมวัสดุคลุกอาหาร และภาชนะบรรจุอาหารเพาะเลี้ยง

      2.1 วัสดุคลุกอาหารเพาะเลี้ยง นำแผ่นฟองน้ำสังเคราะห์ ล้างน้ำสะอาด และผึ่งให้แห้ง จากนั้นนำมาตัด เป็นก้อนสี่เหลี่ยมลูกเต๋าขนาด 1x1 ซม. ใช้คลุกกับอาหาร ได้เป็นก้อนอาหาร สำหรับใช้เพาะเลี้ยงไส้เดือนฝอย

      2.2 ภาชนะบรรจุอาหารเพาะเลี้ยง ใช้ถุงพลาสติกทนร้อนชนิดหนา ขนาด 8x12 นิ้ว เป็นภาชนะบรรจุก้อนอาหารเพาะเลี้ยงไส้เดือนฝอย

  3. ขั้นตอนการคลุกอาหาร และบรรจุในถุงเพาะเลี้ยง
นำอาหารเพาะเลี้ยงปริมาตร 1 ลิตร เทลงบนก้อนฟองน้ำ น้ำหนัก 60 กรัม ใช้มือคลุกเคล้าผสม ให้อาหารดูดซับ ในก้อนฟองน้ำให้ทั่ว จะได้เป็นก้อนอาหาร นำก้อนอาหาร ใส่ลงในภาชนะบรรจุเพาะเลี้ยง หรือถุงทนร้อน แบ่งเท่าๆกัน ได้จำนวน 10 ถุงเพาะ จัดรูปทรงถุงเพาะ ให้เป็นรูปสามเหลี่ยม ใช้เครื่องรีดความร้อน รีดปิดปากถุง จะได้ถุงอาหารเพาะเลี้ยง เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม

  4. ขั้นตอนการอบนึ่งฆ่าเชื้อถุงอาหารเพาะเลี้ยง
ใช้ถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร เป็นถังนึ่งฆ่าเชื้อถุงอาหาร โดยใส่น้ำในถังประมาณ 1 ใน 8 ของถัง ภายในถังนึ่งมีตะแกรงที่ทำจากลวด วางอยู่บนฐานไม้ หรือฐานเหล็กฉากที่ก้นถัง เพื่อกันไม่ให้ถุงเพาะเลี้ยงถูกน้ำ จากนั้นนำถุงอาหารเพาะเลี้ยง ใส่ในถุงพลาสติกทนร้อนขนาดใหญ่อีก 1 ชั้น นำไปวางบนตะแกรงลวดภายในถังนึ่ง ปิดฝาถัง นำไปนึ่งบนเตาแก๊ส ใช้เวลา2 1/2 ชั่วโมง แล้วพักถุงอาหารไว้ในถัง 30 นาที ก่อนจะนำออกมา จัดถุงเพาะให้เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม และเขย่าถุงให้ก้อนอาหารกระจายเป็นก้อนๆ ไม่ติดเป็นกลุ่ม ใช้กรรไกรขลิบถุงให้อากาศเข้าเล็กน้อย ตั้งให้อาหารเย็นก่อนใส่หัวเชื้อไส้เดือนฝอย

ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช บทความ ความรู้ เรื่องการเกษตร
  5. ขั้นตอนการล้างหัวเชื้อไส้เดือนฝอย เพื่อใช้เพาะเลี้ยงในถุงอาหาร
นำหัวเชื้อไส้เดือนฝอยของกรมวิชาการเกษตร ที่บรรจุในซองพลาสติก มาตัดถุง และเทโพลิเมอร์ลงในภาชนะ เติมน้ำสะอาดพอท่วม ใช้มือกวนล้างไส้เดือนฝอยให้หลุดออกจากผิวของโพลิเมอร์ เทน้ำและโพลิเมอร์ทั้งหมดผ่านกระชอนกรองแยก ส่วนของโพลิเมอร์จะติดอยู่บนกระชอน ส่วนของน้ำซึ่งมีตัวไส้เดือนฝอย จะผ่านกระชอนลงสู่ภาชนะที่รองรับ นำน้ำที่ผ่านการกรองเทเก็บในแก้วใส จากนั้นนำไปตั้งไว้ประมาณ 15 นาที ให้ตกตะกอน แล้วค่อยๆ รินน้ำส่วนบนทิ้ง ให้เหลือแต่ตะกอนไส้เดือนฝอยที่เห็นเป็นสีเหลืองอ่อนที่ก้นแก้ว ปรับปริมาตรน้ำให้ได้ประมาณ 15 ซีซี.

  6. ขั้นตอนการใส่หัวเชื้อไส้เดือนฝอย ในถุงอาหารเพาะเลี้ยง
เตรียมพื้นที่ที่สะอาด โดยใช้แอลกอฮอล์ร้อยละ 70-75 พ่นฆ่าเชื้อที่พื้นบริเวณที่ใส่เชื้อ รวมถึงมือของผู้ปฏิบัติ และถุงอาหารเพาะเลี้ยงที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว การใส่ไส้เดือนฝอยในถุงอาหารเพาะเชื้อ ทำได้โดยใช้กระบอกและเข็มฉีดยาใหม่ที่ฆ่าเชื้อแล้ว ขนาดปริมาตร 20 ซีซี. ดูดหัวเชื้อไส้เดือนฝอยที่เตรียมไว้ ฉีดผ่านถุงอาหารลงสู่ก้อนอาหารภายในถุงเพาะ ถุงละ1ซีซี.

  7. ขั้นตอนการบ่มเพาะเลี้ยง
นำถุงอาหารเพาะเลี้ยงที่ใส่หัวเชื้อแล้ว ไปตั้งวางบนชั้น ในห้องที่มีอากาศถ่ายเท อุณหภูมิที่พอเหมาะอยู่ระหว่าง 27-33 องศาเซลเซียส หัวเชื้อไส้เดือนฝอยจะเจริญเติบโต และขยายพันธุ์ภายในถุงเพาะเลี้ยง จนอาหารหมด ใช้เวลาประมาณ7วัน จะสังเกตเห็นไส้เดือนฝอยเคลื่อนที่เกาะรอบถุงเพาะเลี้ยง เป็นเส้นตาข่ายสีขาว หรือรวมกลุ่มกันเป็นกระจุก

  8. ขั้นตอนการแยกผลผลิตไส้เดือนฝอยจากถุงเพาะเลี้ยง
เติมน้ำในถุงเพาะ เพื่อล้างให้ไส้เดือนฝอยหลุดออกมา และเททั้งหมดลงในถังสะอาด ทำซ้ำ2-3ครั้ง เพื่อล้างไส้เดือนฝอยให้หมดจากถุงเพาะ เทรวมไว้ในถังสะอาด หยดน้ำยาล้างจานลงไปประมาณ 25 ซีซี. ช่วยลดคราบไขมัน กวนและขยำก้อนฟองน้ำ ให้ไส้เดือนฝอยเคลื่อนที่ออกมาอยู่ในน้ำ จากนั้นเททั้งหมดผ่านตะแกรง หรือกระชอน เพื่อกรองแยกก้อนฟองน้ำทิ้งไป ส่วนของน้ำที่ผ่านตะแกรงลงสู่ถัง จะมีไส้เดือนฝอยจำนวนมาก ที่ได้จากการเลี้ยงขยายในถุงเพาะ จากนั้นนำไปใส่ในถังพ่นสารเคมีชนิดสะพายหลัง สามารถนำไปพ่นกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ทันที


ที่มา : เอกสารประกอบการจัดนิทรรศการ
เรื่อง มหัศจรรย์เกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
งานเกษตรมหัศจรรย์ วันเทคโนโลยีชาวบ้าน ครั้งที่2

 http://www.kasetd.com/earthworms.html

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บ่อหมักก๊าชชีวภาพ แบบโอ่ง


บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง เป็นระบบผลิตก๊าซชีวภาพ จากการหมักมูลสัตว์อย่างง่าย ได้ผลผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วยก๊าซมีเทน ร้อยละ 50-75 เป็นก๊าซที่ติดไฟได้ สำหรับใช้หุงต้ม ภายในครัวเรือน นอกจากนี้ ยังได้ผลผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงดิน ในพื้นที่ทำการเกษตรอีกด้วย


บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
วิธีการใช้งาน
1. ให้เตรียมมูลวัว (มูลต้องสดอย่างเดียว มูลที่ใช้ต้องไม่เกิน 2 วัน) ใช้มูลต่อน้ำอัตราส่วน 1 ต่อ 1 คือ มูล 1 ส่วน ต่อน้ำ 1 ส่วน คนผสมให้เข้ากัน เติมลงในบ่อ ให้ได้ระดับอิฐบล็อก 3 ก้อน หรือ 60 เซนติเมตร

2. เมื่อเติมได้ระดับ 60 เซนติเมตร แล้วต่อไปให้เตรียมมูลวัว ต่อน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 ทุกวัน ประมาณ 10 วัน จึงจะได้แก๊ส

3. เมื่อครบ 10 วันแล้ว ให้เปิดวาล์วหัวแก๊สวันละครั้ง เป็นเวลา 3 วัน (การเปิดวาล์ว ให้เปิดแล้วได้ยินเสียงลมออก จนไม่ได้ยินเสียงลมออก แล้วจึงปิดวาล์ว) หลังจากนั้นจึงนำแก๊สมาใช้ได้ตามปกติ
 

แบบและส่วนประกอบ บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง 
บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
1. ถังส้วม เส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร
2. ท่อใยหิน เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 2 เมตร
3. โอ่งแดง
4. ท่อนำแก๊สขนาด 4 หุน ยาว 45 เซนติเมตร
5. อิฐบล็อก 80 ก้อน ปูน 8-10 ถุง
6. ทรายและหิน อย่างละ 1 ลบ.ม.
7. น้ำยากันซึม 1 ลิตร
8. ฟลิ้นโค้ท 1 กระป๋อง
9. เหล็ก 2 หุน 2-3 เส้น

ขั้นตอนการผลิต บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
ขั้นตอนที่ 1 : ขุดดินเพื่อวางโอ่ง ซึ่งเป็นบ่อหมัก ลึกประมาณ 1-1.2 เมตร และขุดดินด้านหน้า ต่อจากโอ่ง สำหรับสร้างบ่อมูลล้น 2x2x0.7 เมตร
บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
ขั้นตอนที่ 2 : นำโอ่งลง และเจาะรูสำหรับเติมมูล ทำมุม 90 องศากับบ่อล้น สูงจากก้นโอ่ง 30 เซนติเมตร ขนาด 4 นิ้ว สวมท่อใยหินเข้ากับโอ่ง พร้อมกับใช้ปูนเค็มผสมน้ำยากันซึม อุดรูให้สนิท
บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
ขั้นตอนที่ 3 : นำถังส้วม 80 เซนติเมตร วางทับท่อใบหิน เป็นบ่อเติมมูล และเทพื้น โดยให้เอียงเข้าหาปากท่อ
บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
ขั้นตอนที่ 4 : เจาะผนังด้านหน้าโอ่ง 40x40 เซนติเมตร วัดจากก้นโอ่ง เพื่อทำช่องระบายมูล
บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
ขั้นตอนที่ 5 : ทำบ่อมูลล้น โดยเทพื้นหนา 5 เซนติเมตร และก่อบล็อกขนาด 2x2x0.7 เมตร ให้เสมอบ่าโอ่ง และฉาบเรียบด้านใน
บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
ขั้นตอนที่ 6 : ฉาบขัดมันทั้งด้านใน และด้านนอก และด้านในโอ่ง โดยเน้นตั้งแต่ครึ่งโอ่งบน ซึ่งจะเป็นส่วนที่ใช้เก็บก๊าซ
บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
ขั้นตอนที่ 7 : ทำแบบพื้น โดยวัดขนาดจากปากโอ่ง ให้สวมค้างปากโอ่งได้ ขุดดินตามแบบขนาดที่วัดได้ ลึก 3.5 ซม. ใช้ท่อนำแก๊สขนาด 1/4 นิ้ว สวมกลางแบบ ให้ท่อเลยแบบลงด้านล่าง 2-3 เซนติเมตร เทปูนที่ผสมน้ำยากันซึม ทิ้งให้แห้ง
ขั้นตอนที่ 8 : วางแบบพื้นที่ได้จากข้อ 7 บนปากโอ่ง ทำแบบ สำหรับเทรอบปากโอ่ง สูง 20 เซนติเมตร เทปูนที่ผสมน้ำยากันซึม กระทุ้งปูนไล่อากาศให้ทั่วแบบ ทิ้งไว้ให้หมาด ปั้นปูน หรือก่อขอบสูง 5 เซนติเมตร เพื่อขังน้ำตรวจสอบรูรั่ว
ขั้นตอนที่ 9 : ทาฟลิ้นโค้ท ทั้งนอกและในโอ่ง 2 รอบ
ขั้นตอนที่ 10 : รอให้ปูนเซ็ตตัวประมาณ 3-5 วัน ระหว่างรอ จะต้องบ่มปูนกันร้าว หลังจากนั้นนำมูลวัวผสมน้ำ 1:1 เติมให้เต็ม หมัก 10-15 วัน จะได้ก๊าซชีวภาพใช้งาน
บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
คุณสมบัติของ บ่อหมักก๊าซชีวภาพ
- เป็นพลังงานก๊าซชีวภาพ จุดติดไฟ และให้ความร้อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้หุงต้มอาหาร จุดตะเกียงให้แสงสว่าง
- รักษาสิ่งแวดล้อม ป้องกันกลิ่น และไข่แมลงต่างๆ ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ จะถูกทำลายลงไป ในขณะที่มีการหมัก
- ให้ปุ๋ยอินทรีย์ ในการฟื้นฟูสภาพดิน
- ช่วยลดการระบาดของโรคพืช และวัชพืช
- ปริมาณแก๊สที่เกิดต่อบ่อ 1 ครั้ง ใช้ได้ประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง (80 ปอนด์) ถ้าแก๊สหมดจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที จึงจะมีแก๊สเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง ถ้าจะให้เกิดแก๊สขึ้นเร็วกว่านั้น ต้องผสมขี้วัวกับน้ำเทลงไปด้วย
- ต้นทุนประมาณ 8,000 บาท

การขยายพันธุ์ ลองกอง

ลองกอง ในประเทศไทยมีหลายชนิด มีลักษณะแตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้างความแตกต่างดั้งเดิมที่เริ่มค้นพบลองกอง สายพันธุ์ลองกองที่รวบรวมได้ทั้งหมด 7 สายพันธุ์ ดังนี้

1.ลองกองทั่วไป
ลักษณะเด่นของผลที่พบได้แก่ผลค่อนข้างกลม ขนาดของผลค่อนข้างสม่ำเสมอกันทั้งช่อ ขนาดของผลโดยเฉลี่ย กว้าง 2.88 ซ.ม. และยาว 3.26 ซ.ม. เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล มีรอยด่างสีดำคล้ายเขม่าจับอยู่เกือบทั่วผล มีจุดสีน้ำตาลประปราย เปลือกผลหนาประมาณ 1 ม.ม. ลักษณะของผลในช่อค่อนข้างแน่น มีน้ำยางขาวขุ่น (ผลค่อนข้างสด) จำนวนเมล็ดขนาดใหญ่ 1-0 เมล็ดต่อผล มักพบเมล็ดลีบ 1-2 เมล็ดต่อผล ถ้าผลไหนมี 4 กลีบจะพบเมล็ดทั้ง 4 กลีบ (ใหญ่ 3 เล็ก 1) ถ้าปอกหรือบีบผลตามแนวยาวจะไม่พบน้ำยางขาวขุ่นเลย ผลมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว(ผลค่อนข้างสด)
ลักษณะผลของลองกองทั่วไป
ลักษณะผลของลองกองทั่วไป


 2.ลองกองแกแลแมร์ (ลองกองแปรแมร์)         
           ลักษณะเด่นของผลที่พบได้แก่ ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมถึงกลม ขนาดของผลโดยเฉลี่ยกว้าง 3.14  ซ.ม.ยาว 3.30 ซ.ม.ผิวเปลือกมีสีเหลืองอ่อน มีจุดสีน้ำตาลประปราย ขนาดของผลในช่อค่อนข้างสม่ำเสมอ ขนาดของผลปลายช่อจะมีขนาดเล็กกว่าส่วนอื่นๆ ผลมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เมื่อผ่า เมื่อผ่าตามขวางพบปริมาณน้ำยางขาวขุ่นค่อนข้างมาก แต่ถ้าแกะเปลือกผลตามยาวจะไม่พบน้ำยาง ผลค่อนข้างแห้ง ไม่ฉ่ำน้ำเนื้อผลมีรสหวานสนิท
ลักษณ์ผลของลองกองแกแลแมร์
ลักษณะผลของลองกองแกแลแมร์
3.ลองกองคันธุลี  
          ลักษณะเด่นของผลที่พบได้แก่ ขนาดของช่อค่อนข้างใหญ่ ขนาดของผลโดยเฉลี่ย กว้าง 3.30 ซ.ม. และยาว 3.59 ซ.ม.ผลมีน้ำหนักมาก ผลแน่นเต็มช่อ ลักษณะของผลค่อนข้างกลม มีจุดสีน้ำตาลประปรายเห็นได้ชัดเจน สีของเปลือกผลค่อนข้างเหลืองถึงสีน้ำตาลอ่อน มีรอยด่างคล้ายคราบเขม่ากระจายอยู่ทั่วทั้งผล พบเมล็ดทั้งใหญ่และลีบในผลเดียวกัน ผลมีรสหวานสนิท


ลักษณะผลของลองกองคันธุลี
ลักษณะผลของลองกองคันธุลี
4.ลองกองธารโต
           ลักษณะเด่นของผลที่พบได้แก่ ผลค่อนข้างกลม ขนาดของผลค่อนข้างสม่ำเสมอกันทั้งช่อ ขนาดของผลโดยเฉลี่ยกว้าง 3.01 ซ.ม. และ ยาว 3.14 ซ.ม. เปลือกผลมีสีเหลืองนวล ผิวค่อนข้างเกลี้ยง มีจุดประสีน้ำตาลเล็กน้อยบริเวณปลายผลขั้วผลติดช่อค่อนข้างแน่น จำนวนเมล็ดต่อผลน้อย พบเมล็ดลีบบ้างเนื้อผลแห้ง มีรสชาติหวานเปลือกหนา และสามารถแกะเปลือกได้ง่าย



ลักษณะผลของลองกองธารโต
ลักษณะผลของลองกองธารโต
5.ลองกองไม้
          ลักษณะเด่นของผลที่พบได้แก่ ลักษณะของผลค่อนข้างกลม พบทรงรีบ้าง ขนาดของผลโดยเฉลี่ยกว้าง 3.25 ซ.ม.และยาว 3.47 ซ.ม. เปลือกผลมีสีเหลืองถึงสีน้ำตาลอ่อน มีจุดสีน้ำตาลประปราย แต่ค่อนข้างน้อย ผิวผลเรียบ จำนวนผลต่อช่อไม่มากนัก ช่อดอกมีขนาดสั้น ถ้าผลไหนไม่พบเมล็ดใหญ่ จะพบเมล็ดลีบแทน เมล็ดลีบมีสีน้ำตาล เปลือกผลค่อนข้างบางน้อยกว่า 1 ม.ม.



ลักษณะผลของลองกองไม้
ลักษณะผลของลองกองไม้
6.ลองกองเปลือกบาง
          ลักษณะเด่นของผลที่พบได้แก่ ลักษณะผลค่อนข้างกลม มีบ้างที่คล้ายรูปหยดน้ำ ขนาดของผลโดยเฉลี่ย กว้าง 3.19 ซ.ม.และยาว 3.56 ซ.ม. เปลือกผลมีสีเหลืองถึงสีน้ำตาลอ่อน มีจุดสีน้ำตาลประปรายค่อนข้างมาก ที่บริเวณเปลือกผลมีคราบคล้ายเขม่าสีดำติดอยู่ ความหนาของเปลือกแทบจะไม่แตกต่างจากลองกองปกติ สามารถปอกเปลือกผลได้ง่าย ผลแห้งไม่ฉ่ำน้ำมีรสชาติหวานสนิท


ลักษณะผลของลองกองเปลือกบาง
ลักษณะผลของลองกองเปลือกบาง
7.ลองกองกาญจนดิษฐ์
          ลักษณะเด่นของผลที่พบได้แก่ ลักษณะของผลกลมรี ขนาดของผลโดยเฉลี่ย กว้าง 3.04 ซ.ม. และยาว 3.42 ซ.ม.ขนาดของช่อค่อนข้างสั้น เปลือกผลมีสีเหลืองนวลถึงสีน้ำตาล มีจุดสีน้ำตาลประปรายทั่วผลเปลือกไม่หนามากและผลมีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน

ลักษณะผลของลองกองกาญจนดิษฐ์
ลักษณะผลของลองกองกาญจนดิษฐ์



          การขยายพันธุ์ลองกอง
 เพื่อจุดมุ่งหมายให้ได้ต้นพันธุ์ดี พันธุ์แท้สามารถทำได้หลายวิธีทั้งเพาะเมล็ด ทาบกิ่ง ต่อกิ่ง(เสียบยอดและเสียบข้าง)และติดตา
          1. การเพาะเมล็ด ทำได้โดยคัดเลือกเมล็ดลองกองพันธุ์แท้มาปลูกโดยมั่นใจว่าไม่มีเมล็ดพันธุ์อื่น เช่น ลางสาด ดูกูมาปะปนโดยที่ผลลองกอง 100 ผล หนักประมาณ 2 กก. จะมีเมล็ดสมบูรณ์เพียงประมาณ 10-12 เมล็ดเท่านั้น ล้างเมล็ดให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้งแล้วนำไปเพาะทันที ในขี้เถ้าแกลบผสมทราบ ในอัตรา 1:1 โดยฝังเมล็ดในวัสดุ เพาะลึกประมาณครึ่งเซนติเมตรแล้วเกลี่ยกลบด้วยวัสดุเพาะ ดูแลรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เมล็ดก็จะเริ่มงอกหลังจากเพาะประมาณ15-45วัน เมล็ด1เมล็ดจะงอกได้ต้นกล้าประมาณ1-3ต้นจากนั้นเมื่อใบคู่แรกแก่เต็มที่จึงย้ายไปปลูกในถุงเพาะชำต่อไป
          2. การทาบกิ่ง ต่อกิ่งและติดตา โดยใช้ต้นตอที่เพาะเมล็ดจากดูกูหรือลางสาด ตามวิธีเดียวกับเพาะเมล็ดลองกองที่กล่าวแล้วข้างต้น จะประสบความสำเร็จมากกว่าการถอนต้นกล้าจากใต้ต้นมาทำเป็นต้นตอ ซึ่งต้นตอที่เหมาะสมควรจะมีอายุิประมาณ7-10 เดือนส่วนต้นแม่พันธุ์ควรเป็นต้นพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตแล้ว และควรทำการขยายพันธุ์ในฤดูฝน เพราะต้นตอและต้นแม่พันธุ์อยู่ในระยะการเจริญเติบโตมีความสมบูรณ์สูง รวมทั้งเป็นระยะที่ความชื้นในอากาศสูงซึ่งจะช่วยให้เนื้อเยื่อบริเวณรอยต่อประสานกันได้อย่างสมบูรณ์
การทาบกิ่ง วิธีทาบกิ่งที่ให้ผลดี คือ การทาบกิ่งแบบปาด ดัดแปลง หรือฝานบวบแปลง
การต่อกิ่ง ทำได้ 2 วิธี คือ การเสียบยอด และ เสียบข้าง
          การเสียบยอดเป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุด ต้นตอที่เหมาะสม สมควรมีขนาดประมาณครึ่งเซนติเมตร กิ่งพันธุ์ที่นำมาใช้จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กกว่าต้นตอก็ใช้ได้ โดยใช้เทคนิคจัดแนวเนื้อเยื่อเจริญให้ตรงกันด้านใดด้านหนึ่ง โดยถ้ากิ่งพันธุ์ดีมีขนาดใหญ่กว่าต้นตอ
ให้ใช้ไมไผ่ผ่าซีกมาช่วยค้ำพยุงลำต้นจนกว่ารอยแผลประสานกันสนิท
          การเสียบข้าง วิธีนี้เหมาะกับต้นตอที่มีอายุมากกว่า 1 ปี หรือมีขนาดประมาณแท่งดินสอหรือใหญ่กว่า ซึ่งเนื้อไม้จะเริ่มแข็งการ ผ่าต้นตอเพื่อเสียบยอดทำได้ยากและรอยแผลช้ำ สำหรับวิธีนี้ถ้าทำครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จก็สามารถนำต้นตอกลับมาใช้ได้อีกครั้งหนึ่ง
          การติดตาวิธีที่ได้ผลดีคือ การติดตาแบบเพลท ต้นตอที่ใช้มีขนาดใหญ่เหมือนกับที่ใช้ในการเสียบข้าง และจะต้องมีความสมบูรณ์เปลือกร่อนได้ง่าย สำหรับแผ่นตาพันธุ์ดีก็ควรเป็นตาที่สมบูรณ์และมีใบติดที่แผ่นตาด้วย