บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
เป็นระบบผลิตก๊าซชีวภาพ จากการหมักมูลสัตว์อย่างง่าย
ได้ผลผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วยก๊าซมีเทน
ร้อยละ 50-75 เป็นก๊าซที่ติดไฟได้ สำหรับใช้หุงต้ม
ภายในครัวเรือน นอกจากนี้ ยังได้ผลผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์
ที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงดิน ในพื้นที่ทำการเกษตรอีกด้วย
วิธีการใช้งาน
1. ให้เตรียมมูลวัว (มูลต้องสดอย่างเดียว มูลที่ใช้ต้องไม่เกิน 2 วัน) ใช้มูลต่อน้ำอัตราส่วน 1 ต่อ 1 คือ มูล 1 ส่วน ต่อน้ำ 1 ส่วน คนผสมให้เข้ากัน เติมลงในบ่อ ให้ได้ระดับอิฐบล็อก 3 ก้อน หรือ 60 เซนติเมตร
2. เมื่อเติมได้ระดับ 60 เซนติเมตร แล้วต่อไปให้เตรียมมูลวัว ต่อน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 ทุกวัน ประมาณ 10 วัน จึงจะได้แก๊ส
3. เมื่อครบ 10 วันแล้ว ให้เปิดวาล์วหัวแก๊สวันละครั้ง เป็นเวลา 3 วัน (การเปิดวาล์ว ให้เปิดแล้วได้ยินเสียงลมออก จนไม่ได้ยินเสียงลมออก แล้วจึงปิดวาล์ว) หลังจากนั้นจึงนำแก๊สมาใช้ได้ตามปกติ
แบบและส่วนประกอบ บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
1. ให้เตรียมมูลวัว (มูลต้องสดอย่างเดียว มูลที่ใช้ต้องไม่เกิน 2 วัน) ใช้มูลต่อน้ำอัตราส่วน 1 ต่อ 1 คือ มูล 1 ส่วน ต่อน้ำ 1 ส่วน คนผสมให้เข้ากัน เติมลงในบ่อ ให้ได้ระดับอิฐบล็อก 3 ก้อน หรือ 60 เซนติเมตร
2. เมื่อเติมได้ระดับ 60 เซนติเมตร แล้วต่อไปให้เตรียมมูลวัว ต่อน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 ทุกวัน ประมาณ 10 วัน จึงจะได้แก๊ส
3. เมื่อครบ 10 วันแล้ว ให้เปิดวาล์วหัวแก๊สวันละครั้ง เป็นเวลา 3 วัน (การเปิดวาล์ว ให้เปิดแล้วได้ยินเสียงลมออก จนไม่ได้ยินเสียงลมออก แล้วจึงปิดวาล์ว) หลังจากนั้นจึงนำแก๊สมาใช้ได้ตามปกติ
แบบและส่วนประกอบ บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
1.
ถังส้วม เส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร
2. ท่อใยหิน เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 2 เมตร
3. โอ่งแดง
4. ท่อนำแก๊สขนาด 4 หุน ยาว 45 เซนติเมตร
5. อิฐบล็อก 80 ก้อน ปูน 8-10 ถุง
6. ทรายและหิน อย่างละ 1 ลบ.ม.
7. น้ำยากันซึม 1 ลิตร
8. ฟลิ้นโค้ท 1 กระป๋อง
9. เหล็ก 2 หุน 2-3 เส้น
2. ท่อใยหิน เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 2 เมตร
3. โอ่งแดง
4. ท่อนำแก๊สขนาด 4 หุน ยาว 45 เซนติเมตร
5. อิฐบล็อก 80 ก้อน ปูน 8-10 ถุง
6. ทรายและหิน อย่างละ 1 ลบ.ม.
7. น้ำยากันซึม 1 ลิตร
8. ฟลิ้นโค้ท 1 กระป๋อง
9. เหล็ก 2 หุน 2-3 เส้น
ขั้นตอนการผลิต
บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง
ขั้นตอนที่
1 : ขุดดินเพื่อวางโอ่ง ซึ่งเป็นบ่อหมัก ลึกประมาณ
1-1.2 เมตร และขุดดินด้านหน้า ต่อจากโอ่ง สำหรับสร้างบ่อมูลล้น
2x2x0.7 เมตร
ขั้นตอนที่
2 : นำโอ่งลง และเจาะรูสำหรับเติมมูล ทำมุม
90 องศากับบ่อล้น สูงจากก้นโอ่ง 30 เซนติเมตร
ขนาด 4 นิ้ว สวมท่อใยหินเข้ากับโอ่ง พร้อมกับใช้ปูนเค็มผสมน้ำยากันซึม
อุดรูให้สนิท
ขั้นตอนที่
3 : นำถังส้วม 80 เซนติเมตร วางทับท่อใบหิน
เป็นบ่อเติมมูล และเทพื้น โดยให้เอียงเข้าหาปากท่อ
ขั้นตอนที่
4 : เจาะผนังด้านหน้าโอ่ง 40x40 เซนติเมตร
วัดจากก้นโอ่ง เพื่อทำช่องระบายมูล
ขั้นตอนที่
5 : ทำบ่อมูลล้น โดยเทพื้นหนา 5 เซนติเมตร
และก่อบล็อกขนาด 2x2x0.7 เมตร ให้เสมอบ่าโอ่ง
และฉาบเรียบด้านใน
ขั้นตอนที่
6 : ฉาบขัดมันทั้งด้านใน และด้านนอก และด้านในโอ่ง
โดยเน้นตั้งแต่ครึ่งโอ่งบน ซึ่งจะเป็นส่วนที่ใช้เก็บก๊าซ
ขั้นตอนที่
7 : ทำแบบพื้น โดยวัดขนาดจากปากโอ่ง ให้สวมค้างปากโอ่งได้
ขุดดินตามแบบขนาดที่วัดได้ ลึก 3.5 ซม. ใช้ท่อนำแก๊สขนาด
1/4 นิ้ว สวมกลางแบบ ให้ท่อเลยแบบลงด้านล่าง 2-3
เซนติเมตร เทปูนที่ผสมน้ำยากันซึม ทิ้งให้แห้ง
ขั้นตอนที่
8 : วางแบบพื้นที่ได้จากข้อ 7 บนปากโอ่ง ทำแบบ
สำหรับเทรอบปากโอ่ง สูง 20 เซนติเมตร เทปูนที่ผสมน้ำยากันซึม
กระทุ้งปูนไล่อากาศให้ทั่วแบบ ทิ้งไว้ให้หมาด
ปั้นปูน หรือก่อขอบสูง 5 เซนติเมตร เพื่อขังน้ำตรวจสอบรูรั่ว
ขั้นตอนที่
9 : ทาฟลิ้นโค้ท ทั้งนอกและในโอ่ง 2 รอบ
ขั้นตอนที่
10 : รอให้ปูนเซ็ตตัวประมาณ 3-5 วัน ระหว่างรอ
จะต้องบ่มปูนกันร้าว หลังจากนั้นนำมูลวัวผสมน้ำ
1:1 เติมให้เต็ม หมัก 10-15 วัน จะได้ก๊าซชีวภาพใช้งาน
คุณสมบัติของ
บ่อหมักก๊าซชีวภาพ
- เป็นพลังงานก๊าซชีวภาพ จุดติดไฟ และให้ความร้อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้หุงต้มอาหาร จุดตะเกียงให้แสงสว่าง
- เป็นพลังงานก๊าซชีวภาพ จุดติดไฟ และให้ความร้อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้หุงต้มอาหาร จุดตะเกียงให้แสงสว่าง
-
รักษาสิ่งแวดล้อม ป้องกันกลิ่น และไข่แมลงต่างๆ
ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ จะถูกทำลายลงไป ในขณะที่มีการหมัก
-
ให้ปุ๋ยอินทรีย์ ในการฟื้นฟูสภาพดิน
-
ช่วยลดการระบาดของโรคพืช และวัชพืช
-
ปริมาณแก๊สที่เกิดต่อบ่อ 1 ครั้ง ใช้ได้ประมาณ
45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง (80 ปอนด์) ถ้าแก๊สหมดจะใช้เวลาประมาณ
30 นาที จึงจะมีแก๊สเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง ถ้าจะให้เกิดแก๊สขึ้นเร็วกว่านั้น
ต้องผสมขี้วัวกับน้ำเทลงไปด้วย
-
ต้นทุนประมาณ 8,000
บาท