วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเลี้ยงเป็ดให้ได้ไข่เยอะๆ

หลายท่านคงกังวลเกี่ยวกับ " เป็ด " ที่บ้าน " ไข่ลด " ผมเอาข้อมูลที่จดไว้มาให้ดูครับ เื่ผื่อจะมีประโยชน์ และเป็นแนวทางในการจัดการ การเลี้ยงเป็ดให้ได้ไข่เยอะๆ และ นานๆ ครับ




ปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการให้ไข่ครับ

1.อาหาร
อาหารที่ให้จะต้องเป็นสูตรเดิม หรือหากต้องการเปลี่ยนสูตรอาหาร ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยน ( ผสม ) อย่างน้อย 7 - 10 วันขึ้นไป ( หากเปลี่ยนสูตรเร็ว เป็ดจะกินได้น้อย และไข่จะลดลงเร็วมาก ) และปริมาณการกินต่อวันช่วงให้ไข่ 150 - 180 กรัม/ตัว/วัน ( ปริมาณการกินขึ้นกับสายพันธุ์ ) หากเป็ดกินลดลงให้หาสาเหตุ หรือกระตุ้นให้เป็ดกินอาหารเพิ่มขึ้น ( เป็ดกินน้อยหรือกินลดลง การให้ไข่ก็จะลดลง หรือไข่ฟองเล็กลง )

2.จำนวนชั่วโมงแสงต่อวัน ช่วง 16 - 18 ชั่วโมงต่อวัน

ตัวอย่างครับ แสง 17 ชั่วโมง
ไฟเปิด 18:00 - 19:00 น.
ไฟปิด 19:00 - 02:00 น.
ไฟเปิด 02:00 - 06:00 น.
ถ้าให้สะดวก ก็ติดตั้ง timer ครับ

3.ปริมาณและคุณภาพ " น้ำ "
หากเลี้ยงตามบ้านทั่วๆไป คงไม่มีปัญหาครับ แต่ให้เน้นเรื่องความสะอาดของภาชนะ ปริมาณและความสะอาดของน้ำ ในช่วงที่เป็ดเข้าคอก( เล้า )ครับ ( กลางคืน ) หากน้ำไม่เพียงพอ อาจทำให้ไข่ลดได้ครับ

4.ช่วงอายุของการให้ไข่
หลังจากที่เป็ดให้ผลผลิตสูงสุดแล้ว เป็ดก็จะค่อยๆ ให้ผลผลิตลดลง และร่างกายจะเริ่มอ่อนล้ากับการให้ไข่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติครับ
สิ่งที่ ต้องเน้นเป็นพิเศษช่วงนี้คือ การดูแลไม่ให้เป็ดป่วย อาจเสริมวิตามิน หรือมีการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่สะสมในร่างกาย ให้มีปริมาณลดลง และดูแลเรื่องความสะอาด ของพื้นโรงเรือน บริเวณที่เป็ดไข่ อุปกรณ์ให้น้ำ อาหาร เป็นต้น

5.เป็ดผลัดขน
เมื่อเป็ดให้ผลผลิตมาระยะหนึ่ง เป็ดจะหยุดให้ไข่ และเริ่มผลัดขน สิ่งที่สังเกตคื่อ ปริมาณขนที่หล่นที่พื้น และปริมาณไข่ที่ลดลง ( โดยที่เป็ดไม่ป่วย ) จะใช้เวลาประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ เป็ดจะเริ่มกลับมาไข่ใหม่ ช่วงนี้เป็ดต้องการโปรตีนสูง เพื่อใช้ในการสร้างขน ให้กลับมาดูที่สูตรอาหารที่เราให้ อาจจะเพิ่มโปรตีนขึ้น ละลดแคลเซียมลง ( สังเกตที่เปลือกไข่ หากบาง หรือมีไข่แตกเยอะ สามารถเพิ่มทีหลังได้ )

6.เป็ดป่วย
เป็นธรรมชาติครับ เมื่อเป็ดให้ผลผลิตที่สูง เป็นระยะเวลานาน ร่างการจะอ่อนแอ และจะเจ็บป่วยได้ง่าย การสังเกตเป็ดป่วย
1.ปริมาณการกิน อาหารลดลง ( ต้องคอยสังเกตให้ดี ) เป็ดจะกินอาหารลดลงก่อนที่เราจะสังเกตเห็นว่าไข่ลดลง ครับ
2.เป็ดจะแยก ตัวจากฝูง ซึม และจะตามฝูงไม่ทัน หรือรั้งท้ายขบวน ( ปกติเป็ดจะจัดลำดับทางสังคม มีจ่าฝูง และลูกทีมตามลำดับ )
3.เวลากิน อาหารจะไม่แย่งกิน จะยืนอยู่รอบนอก รอจนพวกกินอิ่ม ถึงจะเข้าไปกิน และกินนิดหน่ิยก็จะหยุดกิน
4.สังเกตที่ตา เป็ดป่วยตาจะไม่สดใส และมีน้ำตาเป็นฟองหรือขี้ตาติดอยู่ ต้องแยกจากสาเหตุจากปัญหาแอมโมเนียในเล้า ( ปัญหา
แอมโมเนียในเล้า มาจากพื้นที่ชื้นมากและแฉะ เป็ดจะตาอักเสบ มีน้ำตาและขี้ตาเหมือนกัน แต่การกินอาหารยังปกติ ) หากพื้นชื้นแฉะ
ต้องรีบแก้ไข หากปล่อยไว้นาน เป็ดจะป่วยครับ
5.สังเกตที่สีของ " อุจจาระ "
เป็ดปกติเป็ดจะถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ผสมกับขี้เป็ดแข็งเป็นก้อน หรือเหลว สีจะคล้ายสีของอาหารที่ให้ หากพบว่าสีอุจจาระ เปลี่ยนเป็นสีเขียว( สีน้ำดี ) หรือสีออกน้ำตาล ( สีของเลือด ; ลำไส้อักเสบ ) แสดงว่าเป็ดเริ่มมีปัญหาสุขภาพ จะสัมพันธ์กับการกินอาหารที่ลดลง
ให้กลับ ไปดูเรื่องความสะอาด ของพื้น ภาชนะให้น้ำ อาหาร ครับ

ประมาณนี้ครับ

หากเป็ดป่วย หรือเริ่มแสดงอาการ ให้แยกออกจากฝูง และให้ยาปฏิชีวนะ หรือจะให้ทั้งฝูงเลยก็ได้ครับ
ที่เลี้ยงอยู่ก็เจออยู่ครั้งหนึ่ง แต่สังเกตทัน เลยสูญเสียไม่มากครับ แต่ก็ไข่ลดไปเยอะเหมือนกัน และไข่จะไม่มากเหมือนเดิมครับ

สำหรับวิธีเช็คเป็ดที่ไม่ไข่นะครับ
1.สังเกตเป็ดที่ให้ไข่ ท้องจะย้อย ( มากหรือน้อยขึ้นกับความสมบูรณ์ครับ ) ตัวที่ท้องแบนราบ ( แบบสาวๆ) ไม่ให้ไข่ครับ

2.จับตัวเป็ดเลยครับ วัดช่องเชิงกรานเป็ด ( ระหว่างขา บริเวณก้นเป็ดจะมีกระดูกยื่นออกมา 2 ชิ้น ) โดยใช้นิ้วมือวัดครับ เป็ดที่ให้
ไข่ช่องชิงกรานจะกว้าง ตั้งแต่ 3 นิ้วมือขึ้นไปครับ ตัวที่แคบ 2 นิ้วมือลงมา ไม่ให้ไข่ครับ...แต่จะห้ไข่ได้ถ้าสมบูรณ์ครับ

3.สำหรับเป็ดที่จะไม่ ให้ไข่ตลอด คือ กรณีรังไข่ฝ่อ (ติเชื้อที่รังไข่ )หรือไม่ผลิตฟองไข่ (อันนี้ต้องผ่าดูครับมองด้วยตาจากภายนอก
ไม่รู้...กลับไปที่ ข้อ 2 ครับ )


ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=12850.32