วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ พด.


 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่มีการ
เผยแพร่ และส่งเสริมทั้งหมด 9 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์ที่มี
ปริมาณธาตุอาหารที่สูงขึ้น เรียกว่า ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สำหรับผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่มี
การส่งเสริมเผยแพร่ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์ และจุลินทรีย์อีกหนึ่งกลุ่ม เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินที่มีปัญหาอยู่ระหว่างการศึกษา
เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
กลุ่มที่ 1  จุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดินเพิ่มธาตุอาหารและฮอร์โมนพืช ได้แก่
สารเร่งซุปเปอร์ พด.1
          เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อผลิตปุ๋ยหมักในเวลารวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้น ประกอบด้วยเชื้อราและแอคติโนมัยซีสที่ย่อยสารประกอบเซลลูโลสและแบคทีเรียที่ย่อยไขมัน
[อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม]
สารเร่งซุปเปอร์ พด.2
          เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายวัสดุการเกษตรในลักษณะสด อวบน้ำ หรือมีความชื้นสูง เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยดำเนินกิจกรรมทั้งในสภาพที่ไม่มีอากาศและมีอากาศ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 5 สายพันธุ์ [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม]
สารเร่ง พด.9
          เป็นกลุ่มจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยวน้อยซึ่งเป็นดินกรดกำมะถัน ที่มีความรุนแรงของกรดน้อย (pH ไม่ต่ำกว่า 5) [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม]
จุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11
          เป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนจากบรรยากาศ เพื่อเพิ่มมวลชีวภาพให้แก่พืชปรับปรุงบำรุงดิน โดยแบ่งออกเป็น จุลินทรีย์ พด.11 สำหรับโสนอัฟริกัน และจุลินทรีย์ พด.11 สำหรับปอเทือง [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม]
ปุ๋ยชีวภาพ พด.12
          เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และสร้างฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 4 สายพันธุ์ [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม] 
กลุ่มที่ 2  จุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช ได้แก่
สารเร่งซุปเปอร์ พด.3
          เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน โดยมีความสามารถป้องกันหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคพืชที่ทำให้เกิดอาการรากหรือโคนเน่า และแปรสภาพแร่ธาตุในดินบางชนิดให้เป็นประโยชน์ต่อพืช ได้แก่ เชื้อไตรโคเดอร์มา (Trichoderma sp.) และ บาซิลลัส (Bacillus sp.) [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม]
สารเร่ง พด.7
          เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช
[อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม]
กลุ่มที่ 3  จุลินทรีย์รักษาสิ่งแวดล้อม ได้แก่
สารเร่ง พด.6
          เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักเศษอาหาร ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนเพื่อผลิตสารสำหรับทำความสะอาดคอกสัตว์ บำบัดน้ำเสีย และลดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ที่มา http://www.ldd.go.th/menu_5wonder/index.html

การปลูกและทำแปลงถั่วฝักยาว

การปลูกและทำแปลงถั่วฝักยาว

การปลูกพืช ผักสวนครัว
การปลูกถั่วฝักยาว เป็นอีกหนึ่งในกลุ่ม พืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ที่น่าปลูกชนิดหนึ่ง เพราะการปลูกแบบธรรมชาตินั้น จะให้ผลผลิตมีคุณภาพดี เทคนิคการปลูกในแบบหลายๆ อย่าง โดยเกษตรกรในหลายชุมชน เช่น ชุมชนบ้านสี่แยกทุ่งแย้ หมู่ 5 ตำบลไชยมนตรี อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีความสนใจด้านการเกษตรเป็นอย่างมาก จึงใช้พื้นที่ของตนเองปลูกผักสวนครัว ซึ่งมีการสลับปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เช่น แตงกวา มัน พริก ผักชี ฯลฯ ปัจจุบันได้ปลูกถั่วฝักยาวอยู่ในช่วงให้ผลผลิต ซึ่งแปลงถั่วฝักยาวแปลงนี้ได้รับคำชมเชยจาก เพื่อน ๆ ว่าเป็นแปลงที่สวยมาก เคล็ดลับในการปลูกถั่วฝักยาวให้มีคุณภาพดี จากปากคำของคุณอาภรณ์ ช่วยนุกูล เกษตรกรในชุมชนนั่นเอง คือ
การทำแปลงถั่วฝักยาว
เคล็ดลับการปลูกถั่วฝักยาวให้มีคุณภาพดี
  • ควรปลูกแบบวิธีทำค้าง โดยใช้ไม้ไผ่ปักเป็นแนวและใช้ตาข่ายขึง เพื่อให้ต้นถั่วไต่ จะทำให้ฝักถั่วยาวขึ้น ราคาดีขึ้น
  • ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพทุกๆ 10 – 15 วันต่อครั้ง หลุมละ 1 กำมือทำให้ได้ผลผลิตมากและนานกว่าปกติถึง 2 เดือน
  • รดน้ำผสมน้ำสกัดชีวภาพทุกครั้งเมื่อใส่ปุ๋ยชีวภาพเพิ่ม
  • ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ ป้องกันแมลง เพลี้ยอ่อน โดยเพิ่มกากน้ำตาลหรือผงซักฟอก ให้เป็นสารจับใบ
  • ตัดใบออกทิ้งบ้าง เพื่อให้ลำต้นนำสารอาหารไปเลี้ยงฝักถั่วมากขึ้น ทำให้ได้ฝักถั่วเพิ่มขึ้น
  • ควรปลูกถั่วฝักยาวในพื้นที่ ที่แสงแดดส่องถึง

ถั่วฝักยาว เป็นพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีลำต้นเป็นเถาเลื้อยมีมือจับ แปลงปลูกถั่วฝักยาว โดยการทำค้าง จะให้ผลผลิตสูง ถั่วชนิดนี้เป็นผักที่ลูกง่ายโตเร็ว ปลูกได้ตลอดปี ในดินแทบทุกชนิด มีความนิยมบริโภคกันมากในเมืองไทย สามารถประกอบอาหารได้หลายชนิด นอกจากจะเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารแล้ว ยังสามารถช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้นอีกด้วยเพราะรากของถั่วฝักยาวเองสามารถ ตรึงไนโตรเจนจากอากาศไว้ในดินได้ดี
สภาพดินฟ้าอากาศในการทำแปลงปลูกถั่ว
โดยทั่วไปถั่วฝักยาวสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย สามารถเติบโตได้ในดินแทบทุึกชนิด แต่ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรด-ด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.0 ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ชอบอากาศค่อนข้างร้อน ถ้าอากาศหนาวเกินไปจะทำให้ชงักการเจริญเติบโตผลผลิตต่ำ ฝักไม่สวย ถั่วฝักยาวจะใ้ห้ผลผลิตดีในช่วงฤดูฝน อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติืบโตอยู่ในช่วง 15-30 องศาเซลเซียส
การเตรียมดินสำหรับปลูก
ยกร่องแปลงกว้าง 1-1.20 เมตร ความยาวแล้วแต่สภาพแปลง ตากดินไว้ 7-10 วัน เพื่อทำลายไข่แมลง และศัตรูบางชนิดแล้วไถคราด ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก เพื่อปรับสภาพโครงสร้างดิน และการบำรุงดิน
การทำแปลงถั่วฝักยาว
แปลงถั่วฝักยาว
ทำหลุมปลูก หลังปรับร่องแปลงให้ขุดหลุมปลูกระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะระหว่าง 80 เซนติเมตร รองกันหลุมด้วยปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากับดินแล้วหยอดเมล็ดลงไปหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบหลุมด้วยปุ๋ยคอกหนา เพียงเล็กน้อย แล้วรดน้ำทุกวัน วันละครั้ง
การทำค้าง เนื่องจากถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องอาศัยค้างเพื่อยึดเกาะพยุงลำต้น ดังนั้นควรทำไม้ค้างให้เพื่อจะได้ผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพสูง โดยใช้ไม้ไผ่ยาว 2-2.5 เมตร การปักอาจปักแบบกระโจมเข้าหากัน แล้วรวบปลายไม้เข้าหากันหรืออาจจะปักตรงๆ แต่ละต้นก็ได้ หลังปักค้างเสร็จจับเถาถั่วพันรอบไม้ค้าง ต้องคอยทำทุกๆ 2-3 วัน
การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำ ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอและเีพียงพอ ระยะเวลาการเจริญเติบโตของถั่วฝักยาว ควรเหมาะกับการให้น้ำในระยะอาทิตย์แรกหลังหยอดเมล็ดควรให้น้ำทุกวัน อย่าให้ดินแห้งแต่อย่าให้มากเกินไปเพราะจะทำให้เมล็ดอาจเน่าได้ ส่วนระยะการเจริญเติบโต และติดดอกออกผลอย่าให้ขาดน้ำเป็นอันขาด ควรให้น้ำทุกวันๆ 2 ครั้งในช่วงเช้าเย็น เพราะจะทำให้ดอกร่วง และไม่ติดฝัก หรือฝักอาจไม่สมบูรณ์
การใส่ปุ๋ยกับถั่วฝักยาว
- ใส่รองพื้นขณะเตรียมแปลงปลูก ใช้ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 1ช้อน ชาต่อหลุม
- ใส่เมื่อถั่วฝักยาวอายุได้ 15-20 วัน ให้ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 1 ช้อน ชาต่อหลุม
- ใส่เมื่อเริ่มเก็บผลผลิตถั่วฝักยาวครั้งแรก อายุประมาณ 45-50 วัน ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ
การพรวนดินกำจัดวัชพืชทำทุกครั้งเมื่อมีการใส่ปุ๋ย
การทำแปลงถั่วฝักยาว
การเก็บเกี่ยว
หลังหยอดเมล็ดแล้วประมาณ 50-60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเฉพาะฝักที่ขนาดพอดี ไม่อ่อนเกินไป ควรเลือกเก็บในเวลาเข้าหรือเย็นๆ หลังเก็บเกี่ยวเสร็จควรรีบเก็บเข้าร่มทันทีเพื่อมิให้ถั่วฝักยาวเหี่ยว และฝ่อเร็ว การเก็บให้ทยอยเก็บ 2-3 วัน/ครั้ง
อุปสรรคสำคัญในการปลูกถั่วฝักยาว คือ โรค ซึ่งจะทำให้คุณภาพและผลผลิตลดลงจนไม่สามารถส่งขายได้ โดยโรคต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้
โรคราเขม่า
เกิดจากเชื้อรา สูโดเซอร์คอสปอรา อาการคือ มักปรากฏอาการที่ใบแก่ตอนโคนต้นใบด้านบนจะเป็นปื้นสีขาวซีด เป็นดวงๆ พลิกดูใต้ใบจะพบคล้ายผงเขม่าสีเทาดำเมื่อระบาดรุนแรงจะพบผงเขม่ามากขึ้น แผลใหญ่ขึ้น ใบจะแห้งและหลุดร่วงไป แล้วลุกลามขึ้นด้านบนทำให้ใบที่อยู่กลางๆ ต้นเป็นโรคด้วย ทำให้ต้นถั่วโทรมเร็วและผลผลิตลดลง
การป้องกันกำจัด
1. ลดความชื้นในแปลงปลุกโดยเพิ่มระยะปลูกให้ห่างขึ้นหรือลดจำนวนต้นต่อหลุม
2. เมื่อพบเริ่มแรกควรรีบเก็บใบที่เป็นโรคเผาทำลาย หมั่นตรวจดูบริเวณส่วนล่างของต้นและใบในทรงพุ่ม เพื่อจะได้ป้องกันได้ทันที
3. ถ้าพบมากขึ้น แนะนำให้ใช้สารเคมีประเภทแมนโคเซปฉีดพ่นสลับกับเบนโนมิลหรือคาร์เบน ดาซิม
4. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรทำความสะอาดแปลงปลูกทันที
โรคราแป้ง
เกิดจากเชื้อรา ออยเดียม อาการคือ จะพบผงสีขาว ทั้งด้านใต้ใบและบนใบ ถ้าเป็นมากผงสีขาวจะหนาแน่นมองเห็นชัดเจน เมื่อเอามือลูบจะหลุดออกเป็นแผ่นจะพบมากบริเวณโคนต้น แล้วลุกลามขึ้นด้านบน และผงสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง และระบาดโดยปลิวไปตามลม
การป้องกันกำจัด
1. ไม่ควรเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นเป็นโรคไปทำพันธุ์
2. ควรรดน้ำต้นถั่วให้เปียกทั่วใบอย่างสม่ำเสมอ เพราะส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราแป้งนี้จะไม่งอก ถ้ามีละอองน้ำมากๆ
3. แปลงที่มีประวัติการระบาดของโรคนี้ควรพ่นสารป้องกันจำพวกกำมะถันผงละลายน้ำ หรือคาราเทน ควรพ่นในตอนเย็นที่หมดแดดแล้ว (สารดูดซึมอื่นๆ มีอีกหลายชนิดแต่ราคาแพงไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ในฤดูที่ถั่วยาวมีราคาสูง อาจใช้สารประเภทดูดซึมฉีดพ่นก็ได้)
4. แปลงที่เป็นโรคมากควรรื้อและเผาทำลายทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคต่อไป
โรคราสนิม
เกิดจากเชื้อรา ยูโรมายเซส อาการคือ จะพบที่ใบแก่เป็นส่วนมาก โดยมีตุ่มนูนขนาดเล็กๆ สีเหลืองซีด ตรงกลางตุ่มมีแผลแตก ซึ่งจะมีผงสีสนิมเหล็กเกาะอยู่เป็นกลุ่ม เมื่อโรคระบาดมากขึ้น จำนวนจุดต่อใบจะมากขึ้นลุกลามจากส่วนล่างๆ สู่ส่วนบนของต้น และใบที่เป็นมากจะเหลืองและร่วงหล่นไป มักจะพบอยู่เสมอในทุกๆ แหล่งที่มีการปลูกถั่วฝักยาว
การป้องกันกำจัด
1. หมั่นตรวจดูแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะใบในทรงพุ่มและใบแก่ตอนล่างของต้น
2. ถ้าพบโรคนี้ ควรพ่นด้วยสารจำพวกกำมะถันผง ละลายน้ำ หรือสารประเภท แมนโคเซป
3. แปลงปลูกที่ทรุดโทรมแล้ว ควรรีบรื้อออกและเผาทำลายเพื่อตัดต้นตอของโรคที่จะระบาดในการปลูก ครั้งต่อไป
โรคใบด่าง
เกิดจาก เชื้อวิสา มีแมลงปากดูดเป็นพาหะ อาการคือ จะพบโรคใบด่างได้ทั่วทุกแปลงที่ปลูกถั่วฝักยาว อาการคือใบจะด่าง สีเหลืองสลับเขียวอ่อนและขาวซีด จะเห็นได้ชัดเจนโรคนี้จะแพร่กระจายโดยติดไปกับเมล็ดพันธุ์หรือแมลงปากดูดถ้า เป็นกับต้นถั่วที่ยังเล็ก จะไม่ให้ผลผลิต
การป้องกันกำจัด
ยังไม่มีคำแนะนำในเรื่องการใช้สารเคมี แต่มีแนวทางป้องกันโดยเริ่มจากการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จากต้นที่แข็งแรง สมบูรณ์ไว้ทำพันธุ์ กำจัดต้นที่เป็นโรคทิ้งไป และพ่นสารเคมีป้องกันแมลงปากดูดเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของโรคนี้

ที่มา ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
ข้อมูลการเกษตรที่เกี่ยวข้อง ที่อาจสนใจ

 ที่มา http://www.kasetorganic.com

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย (Plant disease caused by Nematode)




          ไส้เดือนฝอย อยู่ใน Phylum Nematoda : Nematode มาจากภาษากรีกคำว่า Nema(แปลว่า เส้นด้าย)+oid (เหมือนหรือคล้าย)  ดังนั้น Nematode จึงหมายถึง สัตว์ที่มีรูปร่างเหมือนเส้นด้าย (round-worm,thread-word) ไส้เดือนฝอยไม่มีระบบหายใจและระบบหมุนเวียนโลหิต
          ไส้เดือนฝอยที่พบมี 4 ชนิดได้แก่
          1. Marine nematode (ไส้เดือนฝอยน้ำเค็ม) มีประมาณ 50% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด
          2. Soil and fresh-water nematode(ไส้เดือนฝอยในดินและน้ำจืด) เป็นอิสระอยู่ตามธรรมชาติ ไม่เป็นศัตรูพืชและเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์โดยเป็น อาหารให้กับสัตว์อื่นมีประมาณ 25% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด
          3. Animal parasite nematode(ไส้เดือนฝอยปรสิตของสัตว์) เช่น พยาธิต่างๆ มีประมาณ 15% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด
          4. Plant parasite nematode (ไส้เดือนฝอยที่เป็นศัตรูพืช) มีประมาณ 10% ของไส้เดือนฝอยทั้งหมด



หัวข้อ
รูปร่างลักษณะของไส้เดือนฝอย
         1. เป็นสัตว์หลายเซลล์ ไม่มีกระดูกสันหลัง(Hydrostatic skeleton)ดำรงสภาพด้วยแรงดันของเหลวในตัวมันเองทำให้คงรูปร่างอยู่ได้
          2. รูปร่างสมสาตร(Bilateral symmetry,cylindrical,filiform)
          3. Sexual dimorphism ตัวเมียเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
          4. เจริญเป็นตัวเต็มวัยได้โดยการลอกคราบ จะลอกคราบทั้งหมด 4 ครั้ง
          5. มี Spear หรือ Stylet ช่วยในการเจาะเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืช

การสืบพันธุ์
         1. Amphimixis เพศแยกกัน ผสมพันธุ์โดยอาศัยน้ำเชื้อจากตัวผู้กับไข่ของตัวเมีย
          2. Parthenogenesis ตัวเมียสามารถวางไข่และออกลูกได้โดยไม่ต้องใช้น้ำเชื้อจากตัวผู้ ทำให้ขยายพันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น Meloidogyne incognita ไส้เดือนฝอยรากปม
          3. Hermaphrodism ตัวเต็มวัยจะผลิตน้ำเชื้อ เองได้แล้วเก็บไว้ เมื่อไข่สุกก็จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสม

ชีพจักรของไส้เดือนฝอยรากปม ไส้เดือนฝอยรากปมมีการเจริญเติบโตเป็นลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้
          ระยะไข่ ไข่ไส้เดือนฝอยรากปมมีลักษณะกลมรี ผิวเรียบ ใส
          ตัวอ่อนระยะที่ 1 ตัวอ่อนระยะนี้จะเกิดในไข่มีการลอกคราบภายในไข่ 1 ครั้ง กลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2
          ตัวอ่อนระยะที่ 2 ตัวอ่อนระยะนี้จะออกจากไข่แล้วอยู่ในดิน ระยะนี้เป็นระยะเดียวที่จะเข้าทำลายพืชได้ ตัวอ่อนเมื่อเข้าไปอยู่ในรากพืชจะเพิ่มขนาด และมีรูปร่างคล้ายไส้กรอก ไส้เดือนฝอยจะดูดกินน้ำเลี้ยงและสร้างน้ำลายไปกระตุ้นเซลล์พืชบริเวณนั้นให้ มีขนาดโตขึ้น ทำให้ส่วนของพืชค่อย ๆ โตจนมีลักษณะ เป็นปุ่มปม สุดท้ายมีการลอกคราบครั้งที่ 2 กลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3
          ตัวอ่อนระยะที่ 3 ไส้เดือนฝอยระยะนี้จะมีขนาดโตขึ้น และเซลล์พืชจะโตกว่าเดิม และจะมีการลอกคราบครั้งที่ 3 กลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 4
          ตัวอ่อนระยะที่ 4 ตัวอ่อนระยะนี้เริ่มมีความแตกต่างระหว่างเพศผู้ และเพศเมีย ไส้เดือนฝอยเพศผู้จะมีลักษณะขดงอคล้ายพยาธิ ในขณะที่เพศเมีย มีลักษณะอ้วนป้อมกว่าเพศผู้
          ตัวเต็มวัย ไส้เดือนฝอยเพศผู้จะลอกคราบครั้งที่ 4 กลายเป็นตัวเต็มวัยมีลักษณะเป็นเส้นยาว และออกจากรากพืชมีชีวิตอยู่อย่างอิสระ ส่วนไส้เดือนฝอย เพศเมียจะลอกคราบครั้งที่ 4 กลายเป็นตัวเต็มวัยที่มีลักษณะ อ้วนกลมคล้ายลูกแพร์ ตัวจะค่อย ๆ พองเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีไข่เต็มท้อง ไข่จะถูกวางออกมานอก ลำตัวโดยมีเมือกห่อหุ้ม ไข่อาจจะผ่านการผสมจากเพศผู้หรือไม่ก็ได้ ตัวเต็มวัยเพศผู้มีขนาด 1.2-1.5 มม. X 30-60 ไมครอน เพศเมียมีขนาด 0.40-1.30 x 0.27-0.75มม.ชีพจักรของไส้เดือนฝอยรากปมอาจจะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับสภาพแวด ล้อมปกติถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม(อุณหภูมิในดินประมาณ 27 องศาเซลเซียส) ไส้เดือนฝอยจะใช้เวลา 17-25 วัน แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำเพียง 15 องศาเซลเซียส อาจจะต้องใช้เวลาถึง 57 วัน จึงจะครบชีพจักร



พืชอาศัย
          1. ธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี
          2. พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง
          3. พืชเส้นใย เช่น ฝ้าย ปอ หม่อน
          4. ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น เยอบีรา เบญจมาศ กุหลาบ
          5. ไม้ผล เช่น ส้ม กล้วย องุ่น มะละกอ ฝรั่ง
          6. พืชหัว เช่น มันฝรั่ง มันเทศ เผือก
          7. พืชผัก เช่น ผักคะน้า กระเทียม ผักกาดหอม มะเขือเทศ

ลักษณะอาการของโรค          1. อาการเหนือดิน(Above ground symptoms)
               - แคระแกรน โตช้า ลำต้นเหี่ยว
               - ใบเปลี่ยนสี ใบผิดปกติ บิดเบี้ยว
               - ตาดอกหรือจุดงอกของเมล็ดตาย ไส้เดือนฝอยทำลายตาได้แก่ Aphelenchoides besseyi กินตา กล้วยไม้ สตรอเบอรี่ ทำให้ตาดอกและจุดงอก เสียไป
               - เมล็ดบิดเบี้ยวหรือพองบวมผิดปกติ (Seed gall) ส่วนมากมักจะเป็นกับเมล็ดธัญญพืช โดยที่พวกไส้เดือนฝอยเข้าไปอาศัยกินอยู่และออกลูกภาย ในเมล็ด ทำให้เมล็ดบวม พองโตผิดปกติ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการชนิดนี้ เช่น Anguina tritici
          2. อาการใต้ดิน (Below ground symptoms)
               - รากเป็นจุดหรือแผลสีน้ำตาล ( Root lesions ) อาการนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากเนื้อเยื่อพืชที่ส่วนรากถูกไส้เดือนฝอยดูดกิน น้ำเลี้ยง ทำให้เกิดแผลได้ทั้ง ขนาดเล็ก จนถึงแผลขนาดใหญ่ซึ่งเกิดโดยรอบของรากได้ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้แก่ Pratylenchus spp.
               - รากเป็นปุ่มปม (Root knots or gall) อาการนี้นับเป็นอาการของโรคที่พบมากที่สุด รากพืชถูกไส้เดือนฝอยเข้าไปดูดกินน้ำเลี้ยงจะพองโตเป็นปุ่ม เป็นปม ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการปุ่มปมเช่น Meloidogyne spp., Heterodera spp. เป็นต้น
               - รากเน่า (Root rot) นอกจากไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายที่รากพืชแล้วยังมีเชื้อราและแบคทีเรีย ทั้งที่เป็นสาเหตุของโรคและเป็นแซโพรไฟต์ (saprophyte) เข้าทำลายซ้ำทำให้เกิดอาการรากเน่าได้
               - รากกุด( Stubby root) ไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายโดยการดูดกินที่ปลายรากทำให้ปลายรากชงักการเจริญเติบโต กุดและสั้น
ที่มา http://guru.sanook.com

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โรงเรือนระบบปิด (evaporative cooling system)




อันนี้น่าสนใจครับ สำหรับคนที่สนใจใช้ระบบนี้ ไปดูรายละเอียดของการทำระบบ เพื่อฟาร์มเลี้ยงไก่ครับ แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะใช้ไหมครับ แล้วผมจะหารายละเอียดการคำนวณมาเพิ่มครับ

http://www.nsru.ac.th/e-learning/animals/lesson5_4.php

1.4 แผ่นรังผึ้ง แผ่นรังผึ้งเป็นส่วนสำคัญที่ปรับให้อุณหภูมิในโรงเรือนลดลง ซึ่งทำด้วยกระดาษสังเคราะห์พิเศษมีความทนทาน มีความหนา 2 ขนาด คือ ขนาดหนา 10 เซนติเมตร และ 15 เซนติเมตร ความสูงของแผ่นรังผึ้ง 180 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 15 เมตร และ 21.6 เมตร ต่อโรงเรือน การติดแผ่นรังผึ้งจะติดด้านเดียวหรือ 2 ด้านก็ได้ แต่การติด 2 ด้านนั้น การไหลเวียนของอากาศจะทั่วถึงและสม่ำเสมอดีกว่าติดด้านเดียวและไม่ต้องติด พัดลมเสริมภายในอีก
ww
1.5 พัดลม พัดลมที่ใช้จะติดตั้งอยู่ในโรงเรือนด้านหลัง (ด้านท้าย) ตรงข้ามแผ่นรังผึ้ง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 48 นิ้ว
ww1.6 ระบบควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือน การควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนนั้นใช้ พัดลมและแผ่นรังผึ้ง โดยมีตัวควบคุมอุณหภูมิ (thermostats) อยู่ ถ้าโรงเรือนมีพัดลม 10 เครื่อง จะมีตัวควบคุมอุณหภูมิอยู่ 11 ตัว เพราะอีก 1 ตัวนั้นสำหรับควบคุมอุณหภูมิ การปิดเปิด น้ำของเครื่องปั๊มน้ำในการปล่อยให้น้ำไหลผ่านแผ่นรังผึ้ง โดยในสภาพที่อุณหภูมิทั่วไปพัดลมจะเปิดทำงาน 1 เครื่อง อยู่ตลอดเวลาและพัดลมที่เหลืออีกจะทำงานเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าที่เครื่องควบคุมอุณหภูมิ ดังต่อไปนี้
wwwwสูงกว่า 60o F พัดลมเครื่องที่ 2 จะทำงาน
wwwwสูงกว่า 72o F พัดลมเครื่องที่ 3 จะทำงาน
wwwwสูงกว่า 74o F พัดลมเครื่องที่ 4 จะทำงาน
wwwwสูงกว่า 76o F พัดลมเครื่องที่ 5 จะทำงาน
wwwwสูงกว่า 78o F พัดลมเครื่องที่ 6 จะทำงาน
wwwwสูงกว่า 80o F พัดลมเครื่องที่ 7 จะทำงาน
wwwwสูงกว่า 82o F พัดลมเครื่องที่ 8 จะทำงาน

มาด้วยวิธีการคำนวณ ใช้สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ก็ได้นะครับ เหมือนกัน

http://www.neofmi.com/index.php?option=com_content&view=article&id=32:evap-system

อัตราสิ้นเปลืองพลังงาน

  • พัดลมดูดอากาศ
พัดลมดูดอากาศ  1 ตัว มอเตอร์ 1 แรงม้า
มอเตอร์ 1 ตัว                           = 750 W
V      =  (W x HP)/1000
=  (750 x 1)/1000
=  0.75 Unit /  Hr.

  • ปั้มน้ำ
ปั้มน้ำ 1 ตัว ขนาด 1 แรงม้า
V      =  (W x HP)/1000
=  (750 x 1)/1000
=  0.75 Unit /  Hr.

อัตราสิ้นเปลืองพลังงาน

ตัวอย่างการคำนวณค่าไฟฟ้า
ในอาคารหนึ่งใช้ระบบปรับอากาศแบบอีแว๊ป มีพัดลมระบายอากาศ 48 นิ้ว 6 ตัว ปั้มน้ำ 1 แรงม้า 1 ตัว   จะมีอัตราสิ้นเปลืองพลังงานเท่าใด

  • พัดลมระบายอากาศ 48 นิ้ว
พัดลม  48 นิ้ว จำนวน 6 ตัว  ดังนั้นมีมอเตอร์ 6 ตัว เท่ากับ 6 แรงม้า
V         =  (W x HP x Hr.) / 1000
=  (750 x 6   x  1) / 1000
=   4.5 Unit / Hr.

  • ปั้มน้ำ
ปั้มน้ำ 1 ตัว ขนาด 1 แรงม้า
V         =  (W x HP x Hr) / 1000
=  (750 x 1 x 1) / 1000
=   0.75 Unit / Hr.

ดังนั้นถ้าเปิดระบบ 30 วัน ตลอด 24 ชั่วโมง  ที่ค่าไฟฟ้า 3 บาท ต่อหน่วย
ค่าไฟฟ้า       =      { 24 x (  4.5 + 0.75 ) } 3
1 วัน            =      378 บาท
30  วัน         =      11,340 บาท

*** หมายเหตุ การคำนวณนี้เป็นการคำนวณที่อุปกรณ์ทำงานที่ 100 เปอร์เซ็นต์      


ตัวอย่างการใช้ในบ้านนก ขนาด 1.8x1.8 เมตร ใช้พัดลมดูดอากาศ โดยเจาะช่อง 25 x25 เซนติเมตร

http://swiftletsupply.com/index.php/2010-08-09-08-10-17/view-postlist/forum-64/topic-64-.html





evaporative cooling คือการลดอุณหภูมิอากาศ โดยอาศัยการระเหยของน้ำเพื่อลดอุณหภูมิ อากาศประกอบด้วย ออกซิเจน 21 % ไนโตรเจน 78% คาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สอื่นๆ เราเรียกส่วนนี้ว่าอากาศแห้ง ตัวที่ 2 คือไอน้ำในอากาศเราเรียกว่าอากาศเปียก การวัดค่าความชื้นทำโดยการวัดอุณหภูมิอากาศด้วยตุ้มแห้ง และตุ้มเปียก(พันกระเปาะด้วยสำลีจุ่มน้ำให้เปียก) แล้วเปิดกราฟก็จะทราบไอน้ำและความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นในอากาศ 100% หมายความว่า อุณหภูมิตุ้มแห้งและตุ้มเปียกจะอ่านได้เท่ากัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่ร้อนชื้นตุ้มแห้งและตุ้มเปียกต่างกันไม่มาก หน้าร้อนจัดอุณหภูมิอากาศตุ้มแห้งวัดได้  41 C  ตุ้มเปียกวัดได้ 38 C RH ~ 60% ถ้าเอาน้ำสเปร์ใส่กระดาษลูกฟูก คูลลิ่งแพดตาม video น้ำระเหยอากาศ 41 วิ่งผ่านกระดาษลูกฟูกลดอุณหภูมิลง 38 C (ไม่มีทางที่จะต่ำกว่า 38  C) อากาศที่ออกจากพัดลมก็จะมีอุณหภูมิลดลง ข้อเสียของการปรับอากาศแบบนี้คือ
1 อุณหภูมิที่ได้ลดลงเพียง 3-5 องศา ประเทศที่มีความชื้นในอากาศต่ำจะลดได้มากกว่านี้
2 การลดอุณหภูมิแบบนี้จะสร้างความชื้นในเล้าไก่เกือบ 100%
3 เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านลด อุณหภูมิ และความชื้นพร้อมกันทำให้เย็นสบายและแห้ง
4 ระบบแบบนี้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าแบบที่ 3
5 การบำรุงรักษายุ่งยาก
6 ความชื้นมากเป็นที่มาของเชื้อราและเชื้อโรค
พัดลมที่ใช้กันงานนอกอาคารที่มีพ่นไอน้ำกับพัดลมหายไปจากวงการ หลังจากบูมอยู่พักเนื่องจากลดอุณหภุมิได้น้อยไม่สบายตัวอึดอัด


ที่มา 
http://myswiftlethouse.blogspot.com/2011/09/evaporative-cooling-system.html
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=82241.0

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทำเนียบพ่อพันธุ์โคเนื้อ

โคพันธุ์บราห์มันเทา
(Gray Brahman)
โคพันธุ์บราห์มันแดง
(Red Brahman)
โคพันธุ์ตาก
(Tak Beef Cattle)
โคพันธุ์กบินทร์บุรี
(Kabinburi Beff Cattle)
โคพันธุ์พื้นเมือง
(Native Cattle)
 


ที่มา http://www.dld.go.th/breeding/b/Ready/Sire_page.html

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การตรวจวัดค่าความเป็นกรด-เบสของดิน (Soil pH)

ความเป็นกรด-เบส หรือค่าพีเอชของดิน แต่ ละชั้นบอกถึงลักษณะดินต้นกำเนิด สารเคมีที่อยู่ในฝนหรือน้ำที่ไหลลงสู่ดิน การจัดการดิน และกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในดิน (พืช สัตว์ และจุลินทรีย์) เช่นเดียวกับพีเอชของน้ำ พีเอชของดินวัดโดยใช้ค่าล็อก pH ของดินเป็นตัวบ่งชี้สมบัติทางเคมีของดินและธาตุอาหารในดิน กิจกรรมของสารเคมีในดินส่งผลต่อพีเอช พืชแต่ละชนิดก็จะขึ้นได้ในดินที่มีพีเอชต่างกัน เกษตรกรจึงมักจะใส่สารลงไปในดินเพื่อเปลี่ยนค่าพีเอชให้เหมาะกับชนิดของพืช ที่จะปลูกพีเอชของดินยังมีผลต่อพีเอชของน้ำใต้ดินหรือแหล่งน้ำอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง ดังเช่น แม่น้ำ หรือทะเลสาบ ค่าพีเอชของดินมีค่า 1 - 14 จำแนกเป็นค่าพิสัยได้ 10 ระดับ ดังนี้ (Soil Survey Division Staff, 1993)


ph
วิธีการตรวจวัด

การเตรียมตัวอย่างดินสำหรับห้องปฏิบัติการ


1. ใช้ตะแกรงร่อนดินเบอร์ 10 (ช่องตะแกรงขนาด 2 มิลลิเมตร) เหนือกระดาษ แล้วเทดินตัวอย่างลงในตะแกรง ใส่ถุงมือยางเพื่อกันไม่ให้กรดและเบสจากมือของผู้ปฏิบัติไปทำให้ค่าพีเอชของดิน ผิดไปจากความเป็นจริง
2. ค่อยๆ เขี่ยเบาๆ ทำให้ดินผ่านช่องตะแกรงลงไปบนกระดาษ อย่าดันจนตะแกรงลวดโก่งด้วยการกดดินแรงเกินไป หยิบเอาหินและสิ่งปะปนอื่นๆ ออกจากตะแกรงทิ้งไป เก็บรักษาตัวอย่างดินที่ร่อนแล้ว แต่ละชนิดไว้สำหรับการวิเคราะห์อื่นๆ

screen

3. นำดินตัวอย่างที่เอาหินออกแล้วจากกระดาษใต้ตะแกรงร่อนลงในถุงพลาสติกหรือ ภาชนะที่แห้งและสะอาด ปิดปากภาชนะ และเขียนฉลากไว้ที่ถุงเช่นเดียวกับที่เขียนไว้ที่ภาชนะที่ใช้เก็บดินภาคสนาม (เลขที่ชั้นดิน ระดับความลึกชั้นตัวอย่างดิน วันที่ ชื่อจุดศึกษา ตำแหน่งจุดศึกษา ฯลฯ) ตัวอย่างดินนี้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์อื่นๆ ในห้องปฏิบัติการบนฉลาก ให้เขียนชื่อจุดศึกษา เลขที่ตัวอย่างดิน เลขที่ชั้นดิน ความลึกระดับบนสุดจากผิวดิน ความลึกระดับล่างสุดจากผิวดิน วันที่ที่เก็บตัวอย่างดิน
4. เก็บรักษาตัวอย่างดินนี้ไว้ในที่ที่ปลอดภัย ในที่แห้งจนกว่าจะนำไปใช้


การตรวจวัดค่าความเป็นกรด-เบสของดิน
1. ชั่งตัวอย่างดินที่แห้งและร่อนแล้วมา 20 กรัม เทลงในบีกเกอร์ แล้วเติมน้ำกลั่น 20 หรือ 100 มิลลิลิตร เพื่อให้ได้อัตราส่วนดิน : น้ำ เท่ากับ 1 : 1 ในกรณีดินร่วนและดินทราย หรืออัตราส่วน 1 : 5 ในกรณีดินเหนียว (ดินในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้อัตราส่วน 1 : 5)
2. ใช้แท่งแก้วคนดินนานเวลา 30 วินาที แล้วพักทิ้งไว้ 3 นาที ทำอย่างนี้ 5 ครั้ง
3. เมื่อคนดินครบ 5 ครั้งแล้ว ตั้งทิ้งไว้จนดินในบีกเกอร์ตกตะกอน จะเห็นน้ำใสๆ อยู่บริเวณด้านบน
4. จุ่มกระดาษวัดค่าพีเอช หรือปากกาวัดค่าพีเอชที่ปรับค่ามาตรฐาน ลงไปในบริเวณน้ำใสๆ อย่าจุ่มลงไปให้โดนดินด้านล่าง (ภาพที่ 99) รอจนค่าหยุดนิ่ง แล้วอ่านค่าพีเอช
5. เมื่อวัดค่าพีเอชเสร็จแล้ว ใช้น้ำกลั่นล้างปากกาวัดค่าพีเอชบริเวณส่วนที่สัมผัสกับดินให้สะอาด แล้วใช้กระดาษทิชชูซับให้แห้ง


measure-ph


หมายเหตุ: ก่อนการใช้พีเอชมิเตอร์ต้องมีการเทียบมาตรฐานเครื่องมือ (ดูวิธีการเทียบมาตรฐานจากหลักวิธีการดำเนินการเรื่อง น้ำ)





 ที่มา http://www3.ipst.ac.th

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ตารางธาตอาหาร




ตารางเปรียบเทียบปริมาณ N P K จากวัสดุเกษตรต่างๆ จึงขอเอามาลงไว้ให้เปรียบเทียบเป็นข้อมูลครับ


ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=66325.msg1479591#msg1479591

การควบคุมโรคของไม้ผลก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวโดยชีววิธี

โดย ...ดร. วีระณีย์ ทองศรี
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 โทร. 025790113 ต่อ 1294

ในปัจจุบันการผลิตไม้ผลทั้งในและต่างประเทศได้มุ่งเน้นให้มีระบบการผลิต เพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีความปลอดภัยต่อทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ระบบการปลูกไม้ผลแบบปลอดสารพิษจึงถูกส่งเสริมให้มีการปฏิบัติในวงกว้าง ด้วยเหตุนี้การจัดการโรคพืชโดยชีววิธีจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดแทนหรือลดปริมาณการใช้สารเคมี ให้น้อยลงโดยใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์เป็นตัวควบคุมโรค (biocontrol agents)ซึ่งในปัจจุบันมีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับการนำเชื้อจุลินทรีย์หลายๆ ชนิดมาใช้ควบคุมโรคทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวของไม้ผลอย่างกว้างขวาง แต่มีจุลินทรีย์เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรค พืช และในหลายประเทศได้มีการพัฒนาจุลินทรีย์เหล่านี้ซึ่งมีทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และยีสต์ให้เป็นชีวผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืชให้ดี ยิ่งขึ้น เช่น BiosaveTM (Pseudomonas syringae สหรัฐอเมริกา) ShemerTM (Metschnikowia fructicola แอนติกัว-บาร์บิวด้า) CandifruitTM (Candida sake CPA-1 สเปน) PantovitalTM (Pantoea agglomerans สเปน) SerenadeTM (Bacillus subtilis สหรัฐอเมริกา) BoniprotectTM (Aureobasidium pullulans เยอรมัน) และ TrisanTM (Trichoderma harzianum ไทย) ซึ่ง Canamas et al. (2011) กล่าวว่าการใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อแบคทีเรีย Pantoea agglomerans ในแปลงปลูกส้มสามารถลดการเกิดโรคผลเน่า (green mold) ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อรา Penicillium digitatum ได้ดีกว่าการใช้เชื้อจุลินทรีย์สด โดยกลไกในการเข้าทำลายเชื้อสาเหตุโรคพืชของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์มีหลายรูปแบบ ดังนี้คือ การเป็นปรสิต (parasitism) การสร้างสารปฏิชีวนะ (antibiosis) การผลิตเอนไซม์ย่อยผนังเซลล์ของเชื้อโรคพืช (production of cell wall degrading enzymes) การแข่งขันเพื่อครอบครองพื้นที่และอาหาร (competition for nutrients and space) และการชักนำให้พืชมีความต้านทานโรค (induction of disease resistance in plant) ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้มักมีหลายกลไกร่วมกันในการควบคุมโรคพืช
เชื้อจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในการควบคุมโรคของไม้ผลนี้ ส่วนมากนักวิจัยมุ่งคัดเลือกหาเชื้อที่ไม่ก่อให้เกิดโรคกับพืชจากบริเวณใน ส่วนผิวของผลทั้งในช่วงก่อนเก็บเกี่ยวและขณะเก็บรักษา เนื่องจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์เหล่านี้มักพบเป็นจำนวนมากในบริเวณผิว เปลือกของผล (Manso and Nunes, 2011) หรืออาจพบมากในบริเวณผิวใบ (Janisiewicz and Korsten, 2002) อย่างไรก็ตามการใช้จุลินทรีย์ควบคุมโรคของไม้ผลมักจะต้องใช้จุลินทรีย์ที่มี ความเข้มข้นสูง แต่ประสิทธิภาพในการควบคุมโรคยังไม่ดีเท่ากับการใช้สารเคมีเมื่อมีการใช้ จุลินทรีย์เดี่ยวๆ (Cao et al., 2011) ดังนั้นการผลิตจุลินทรีย์ในการควบคุมโรคพืชจึงยังต้องมีการพัฒนาเพื่อให้มี รูปแบบที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้และเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมโรคให้สูง ขึ้น
การทดสอบเชื้อยีสต์
ภาพที่ 1
การทดสอบเชื้อยีสต์ 10 ชนิดในการเป็นจุลินทรีย์ปฏิปิกษ์ต่อการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum musae สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของกล้วยหอมทองบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar โดยวิธี dual culture ที่อายุ 7 วัน โดยที่ 1 = Candida guilliermondii 2 = Candida utilis 3 = Candida sake 4 = Saccharomycopsis fibuligera 5 = Pichia membranaefaciens 6 = Candida tropicalis 7 = Debaryomyces hanseni 8 = Cryptococcus humicola 9 = Aureobasidium pullulans 10 = Rodotorula glutinis 11 = Control

การควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของไม้ผลจะประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่ กับการจัดการโรคตั้งแต่ในแปลงปลูก โดยจุลินทรีย์ที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการโรคในสภาพไร่นี้ควรจะทำให้อยู่ในรูป แบบของผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยส่งเสริมการมีชีวิตรอดของจุลินทรีย์ที่เป็น ประโยชน์ให้ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ยาวนานขึ้น หรือถ้าหากเป็นเชื้อจุลินทรีย์สดก็มักมีการใช้ร่วมกับตัวควบคุมอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรคให้ดียิ่งขึ้น เช่น การใช้เชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum Pf1 ร่วมกับสารสกัดจากพืชควบคุมโรคเหี่ยวของกล้วยที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense (Akila et al., 2011) การใช้เชื้อรา Trichoderma harzianum ร่วมกับ mycorrhiza ช่วยลดการเกิดโรคเหี่ยวของแตงซึ่งเกิดจากเชื้อรา F. oxysporum f.sp. melonis (Martinez-Medina et al., 2011) และการใช้เชื้อยีสต์ Candida sake CPA-1 ร่วมกับสารเคลือบผิวฉีดพ่นแปลงองุ่นช่วยลดการเกิดโรคผลเน่า (gray mold) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Botrytis cinerea ภายหลังการเก็บเกี่ยวได้ดีกว่าการใช้เชื้อยีสต์อย่างเดียว ทั้งนี้เนื่องจากสารเคลือบผิวมีประสิทธิภาพในการช่วยให้เชื้อยีสต์มีความคง ทนและมีชีวิตรอดได้นานขึ้น (Canamas et al., 2011) นอกจากนั้น Hasham and Abo-Elyousr (2011) ได้นำเชื้อจุลินทรีย์ ปฏิปักษ์หลายชนิดมาใช้ร่วมกันในการควบคุมโรครากปมจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne incognita ของมะเขือเทศรับประทานสด ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas fluorescens เชื้อรา Paecilomyces lilacinus เชื้อยีสต์ Pichia guilliermondii และไซยาโนแบคทีเรีย Calothrix parietin พบว่าสามารถลดขนาดของปมให้เล็กลงกว่าการใช้จุลินทรีย์เพียงชนิดเดียว รวมทั้งจุลินทรีย์ดังกล่าวมีคุณสมบัติในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและ ชักนำให้พืชเกิดความต้านทานต่อโรค อย่างไรก็ตาม การใช้จุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชในแปลงปลูกจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมให้มีความ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของจุลินทรีย์เหล่านี้ โดยเฉพาะการหว่านลงดินจะต้องมีการปรับสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ และควรมีการปรับความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ จุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ
การใช้เซลล์แขวนลอยของเชื้อยีสต์
ภาพที่ 2
การใช้เซลล์แขวนลอยของเชื้อยีสต์ Candida sake C. utilis Debaryomyces hansenii และ Aureobasidium pullulans ในการควบคุมการเกิดโรคแอนแทรคโนสที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum musae บนกล้วยหอมโดยวิธีทำแผล

สำหรับการใช้จุลินทรีย์ควบคุมโรคภายหลังการเก็บเกี่ยวของผลไม้ ส่วนมากนิยมใช้เชื้อยีสต์และแบคทีเรียเป็นตัวควบคุมโรคมากกว่าเชื้อรา เนื่องจากนักวิจัยส่วนใหญ่ค่อนข้างมั่นใจว่ามีเชื้อยีสต์หลายชนิดที่ไม่ ทำลายเนื้อเยื่อพืชหรือไม่ทำให้พืชเป็โรค (Lima et al. 1997) รวมทั้งไม่สร้างสารพิษและมีคุณสมบัติในการแก่งแย่งอาหารได้ดี ซึ่งเชื้อยีสต์ที่มีการนำมาใช้ในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลมี หลายชนิด ได้แก่ Candida spp. Cryptococcus spp. Debaryomyces spp. Endomycopsis spp. Pichia spp. Aureobasidium pullulans Saccharomycopsis fibuligera Rhodosporidium spp.และ Rhodotorula glutinis ส่วนเชื้อแบคทีเรียก็มีสายพันธุ์เฉพาะเจาะจงที่ไม่ก่อให้เกิดโรคกับพืช พร้อมกับมีคุณสมบัติในการยับยั้งโรค ซึ่งส่วนมากจัดอยู่ในสกุล Pseudomonas และ Bacillus จึงค่อนข้างมีความปลอดภัยในการที่จะนำเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้มาใช้กับ ผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อรอการบริโภค จุลินทรีย์ที่นำมาใช้ควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวมักใช้ร่วมกับตัวควบคุมชนิด อื่นๆ หรือวิธีการอื่นๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคให้สูงขึ้น เช่น ใช้ร่วมกับการจุ่มน้ำร้อนหรือจุ่มในสารเคมีที่ระดับความเข้มข้นต่ำๆ โดยพบว่าการฉีดพ่นผลกล้วยด้วยเชื้อยีสต์แล้วตามด้วยการจุ่มในน้ำร้อนที่ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 20 นาที หรือจุ่มในสารเคมีไธอะเบนดาโซล 150 ppm สามารถช่วยลดการเกิดโรคขั้วหวีเน่าได้อย่างสมบูรณ์ (Sangchote and Sangwanich, 2005) นอกจากนั้นการใช้จุลินทรีย์ร่วมกับการเก็บรักษาไว้ในสภาพบรรยากาศดัดแปลงก็ เป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเช่นเดียวกัน ดังเช่นการเก็บผลท้อที่ผ่านการจุ่มในเซลล์แขวนลอยของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus amyloliquefaciens ไว้ในถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส พบการเกิดโรคผลเน่าน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เชื้อแบคทีเรียอย่าง เดียว (Arrebola et al., 2010) หรือการใช้จุลินทรีย์ร่วมกับสารเติมแต่งอาหาร (food additives) ดังที่พบจากการใช์เชื้อยีสต์ Aureobasidium pullulans ร่วมกับแคลเซียมคลอไรด์หรือโซเดียมไบคาร์บอเนตช่วยลดการเกิดโรคผลเน่าของเชอรี่ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา B. cinerea ได้ดีที่สุด (Ippolito et al., 2005) ตลอดจนการใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ร่วมกับจุลินทรีย์ชนิดอื่น เช่น ยีสต์ Cryptococcus laurentii ใช้ร่วมกับเชื้อรา Lentinula edodes สามารถลดการเกิดโรคผลเน่าซึ่งเกิดจากเชื้อรา Penicillium expansum บนผลแอปเปิลได้ดีกว่าการใช้เชื้อยีสต์อย่างเดียว (Tolaini et al. 2010) นอกจากนั้น เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ยังมีคุณสมบัติในการช่วยลดการปนเปื้อนของสารพิษใน ผลิตผล เช่นที่พบในผลแอปเปิลที่ถูกเข้าทำลายโดยเชื้อรา P. expansum เนื่องจากจุลินทรีย์ปฏิปักษ์มีกลไกในการยับยั้งการสร้างสารพิษของเชื้อราดังกล่าวได้ (Tolaini et al., 2010)
จะเห็นได้ว่าการควบคุมโรคของไม้ผลโดยใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อการควบคุม โรคทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว มักจะต้องใช้ร่วมกับกรรมวิธีอื่นๆ จึงจะทำให้การควบคุมโรคอยู่ในระดับที่เป็นที่น่าพอใจ และจะต้องมีวิธีการใช้ที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์เหล่านี้ก็ยังไม่หยุดนิ่ง เนื่องจากนักวิจัยจะต้องสรรหาวิธีการเพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์มีความ คงทนต่อสภาพแวดล้อมและเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคเพื่อให้เกิดประโยชน์สูง สุดจากการใช้จุลินทรีย์เหล่านี้

ที่มา http://www.phtnet.org/article/view-article.asp?aID=58

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

แค

ชื่อสามัญ Vegetable Humming Bird , Cork Wood Tree เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แคบ้าน” อีกทั้งยังมีแคฝรั่ง ซึ่งเป็นไม้ดอกไม้ประดับ แคเป็นต้นไม้โบราณที่อยู่คู่ครัวของทุกท้องถิ่น แต่ละครัวมีวิธีการปรุงอาหารจากส่วนต่างๆ ของแคแตกต่างกันออกไป แต่อาหารที่รู้จักคุ้นเคยกันอย่างดีทุกครัวเรือน คือ “แกงส้มดอกแค”
ชื่อวิทยาศาสตร์ของแค คือ Sesbania grandiflora (L.) Pers. วงศ์ PaPilionaceae เป็นต้นไม้พื้นเมืองของ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประเภทไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 3-10 เมตร โตเร็วทั้งในที่แห้งและชุ่มชื้น มักขึ้นอยู่ตามป่าละเมาะ ตามหัวไร่ปลายนา และในบริเวณบ้าน

ลักษณะทั่วไป

แคเป็น ต้นไม้พื้นบ้าน เป็นต้นไม้เนื้ออ่อน ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทั้งดินเหนียวและดินปนทราย นิยมปลูกเป็นรั้วบ้าน คันนา ริมถนน และในบริเวณบ้าน หรือปลูกไว้เพื่อปรับพื้นที่ให้มีปุ๋ย เพราะใบแคที่ผุแล้ว ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ส่วนที่นำมารับประทานได้ มียอดอ่อน ดอกอ่อน ใบอ่อน และฝักอ่อน ออกในช่วงฤดูฝน ส่วนดอกอ่อนจะออกในช่วงฤดูหนาว ดอกแค 100 กรัม หรือ 1 ขีด ให้พลังงานต่อร่างกาย 10 กิโลแคลอรี มีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี การรับประทานดอกแคจะทำให้ร่างกายได้เส้นใยอาหาร ดอกแค เมื่อแก่จนกลีบร่วง ก็จะมีฝักอ่อน นำมาทำอาหารได้ เมื่อแก่จะแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตง่าย มีอายุไม่นาน ก็ยืนต้นตาย แพร่พันธุ์ด้วยฝักที่มีเมล็ดแก่จัด การนำดอกแคมาทำอาหารต้องเด็ดเกสรสีเหลืองของดอกแคออกก่อนจะทำให้ไม่มีรสขม แคเป็นต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านสาขามาก มีเปลือกลำต้นขรุขระสีเทา ดอกคล้ายดอกถั่ว ยาว 6-10 ซม. มีทั้งดอกสีขาวและสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังหรือถ้วย ผลเป็นฝักแบน
ส่วนของแคที่นำมารับประทานนับได้ตั้งแต่ยอด อ่อน ใบอ่อน รสหวาน มัน มีมากในช่วงฤดูฝน นิยมต้มสุกแล้วราดหัวกะทิ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว แคก็ออกดอกอ่อนที่มีรสหวานออกขมเล็กน้อยให้ลิ้มรสและทำเป็นแกงส้ม แต่ต้องเป็นดอกแคสีขาว เพราะไม่มีเส้นใยมากให้ระคายปากเหมือนดอกสีแดง แกงส้มดอกแคที่อร่อยต้องใส่ปลาช่อน เพราะช่วงที่ดอกแคออกดอกจะเป็นช่วงที่ปลาช่อนมีเนื้อหวานมันเป็นพิเศษ พอถึงช่วงปลายฤดูหนาวก็เริ่มเก็บฝักอ่อนมารับประทานกันอีกครั้ง

สรรพคุณทางยา

เปลือกนำมาต้ม คั้นน้ำแก้ท้องร่วง แก้บิด แก้มูกเลือด คุมธาตุ สรรพคุณทางยาของแคคือช่วยแก้ไข้ ลดไข้ นอกจากนี้ยังอุดมด้วยสารอาหารต่างๆ โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ แคจึงช่วยบำรุงสายตาและต้านมะเร็ง อีกทั้งช่วยเสริมสร้างกระดูก เพราะมีแคลเซียมฟอสฟอรัสสูง
ในยอดแคมีสารอาหารมากกว่าดอกแคเสียอีก เพราะยอดแคปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 87 แคลอรี มีเส้นใย 7.8 กรัม แคลเซียม 395 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 8,654 ไมโครกรัม วิตามินเอ 1,442 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.28 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.33 มิลลิกรัม ไนอาซีน 2.0 มิลลิกรัม วิตามิซี 19 มิลลิกรัม
ดอกแคปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 33 แคลอรี แคลเซียม 2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 57 มิลลิกรัม เหล็ก 1.2 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 0.51 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.19 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 35 มิลลิกรัม
ยอดอ่อนและใบอ่อนของแคขายกำละ 5 บาท เลือกใบสด ไม่ร่วง ดอกแคมักขายเป็นกองๆ ละ 5 บาทเช่นกัน ให้เลือกดอกตูมที่กำลังจะบาน ก่อนนำไปทำอาหารต้องดึงเอาเกสรออกก่อน จะทำให้มีรสขมน้อยลง สำหรับฝักอ่อนค่อนข้างหาซื้อยาก ต้องปลูกต้นแคไว้ที่บ้านเองจึงจะได้รับประทานกัน
การประกอบอาหาร
แกงส้มดอกแคปลาดุก ดอกแคสอดไส้ แกงเหลืองปลากระพงดอกแค

ที่มา 
http://www.vegetweb.com
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09.htm

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

สกัดออกซีเรสฯในมะหาด สู่อาหารต้านโรคเบาหวาน


Pic_289796 วิธีการสกัดในห้องแล็บ.

กระแสการรักษาสุขภาพ ของคนเมือง... กำลังพุ่งแรงมี การใช้ยา หรือ สารเคมีมากระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้น รวมทั้งการ บริโภคอาหารเสริมต่างๆ ที่ผลิตออกมามากจน องค์การอาหารและยา (อย.) ตรวจสอบกันแทบไม่ทันต่อปริมาณการผลิตออกสู่ท้องตลาด...

ฉะนั้น เพื่อความไว้วางใจ ภาครัฐจึงต้องอาศัยนักวิชาการ กับ กลุ่มนักวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ในการควบคุมดูแล ดร.ณสพน โพธิ์วิจิตร ประธานสถาบันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยูแคนดู (Youcando Research & Development Insititule : YRDI) ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำวิจัยเรื่อง สมุนไพรกับโรคเบาหวาน, การพัฒนาสารสกัดสมุนไพรเพื่อใช้ในการต่อต้านวัยชรา นำไปจัดแสดงที่ประเทศไต้หวัน และยังมี ผลงานวิจัยระดับโลก...โดยร่วมกับทีมวิจัยในเรื่อง ปฏิกิริยาการต้านริ้วรอยและความเป็นพิษของสารสกัดมะ-หาด ตีพิมพ์ในวารสาร “Tropical Journal of Phamaceutical Research 2012” อันโด่งดัง

ผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ท้องตลาด.
ผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ท้องตลาด.
ดร.ณสพน บอกว่า...มะหาด (lakoocha) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae ต้นกำเนิดมาจากทวีปเอเชียใต้ นิยมปลูกเอาไว้ใช้ประโยชน์ทุกส่วนของต้น เจริญเติบโตได้ ในดินทราย ดินร่วนปนทราย และดินเหนียว มีความทนทานต่อความแห้งแล้ง ในแต่ละภูมิภาคเรียกต่างๆกัน ภาคเหนือเรียก หาดหนุน, ปวกหาด ภาคกลางและภาคใต้เรียก มะหาด ตั้งแต่จังหวัดนราธิวาสถึงประเทศมาเลเซีย เรียก กาแย, ตะแป, ตะแปง

...จาก การวิจัยพบสาร “ออกซีเรสเวอราทรอล” ใน แก่นมะหาด ซึ่งเป็นสารที่สำคัญ ที่มีโครงสร้างทางโมเลกุลขนาดเล็ก ออกฤทธิ์แอนติ-ออกซิแดนท์ ช่วยต่อต้าน ขบวนการเกิดไกลเคชั่น สาเหตุหนึ่งของโรคเบาหวานและริ้วรอยเหี่ยวย่น ลดคอเลสเทอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอ้วน ไขมันส่วนเกิน และ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด...โดยใช้วิธี สกัดสารสำคัญจากการหมักด้วยจุลินทรีย์ และ เลือกสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่ถูกต้อง และเป็นประเภทที่ ต้องการอากาศ หรือ ไม่ต้องการอากาศ ควบคุมอุณหภูมิ ความสะอาด ระยะเวลา และความ เป็นกรดที่เกิดจากกระบวนการหมัก...
มะหาด
มะหาด
ดร.ณสพน กล่าวว่า...ส่วน วิธีการสกัดเพื่อให้ได้สารสำคัญจะใช้ตัวทำละลายที่ปลอดภัย โดยเทคนิคทางเภสัชกรรม มีมาตรฐานแน่นอนเท่ากันทุกครั้ง มีการตรวจปริมาณสารสำคัญด้วยเครื่อง HPLC และ Spectrophotometer ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะวัดปริมาณสารสำคัญที่ได้จากการสกัดจากสมุนไพรได้ อย่างแม่นยำ เนื่องจากการ สกัดสารสำคัญจาก สมุนไพรธรรมชาติในแต่ละฤดูกาล แต่ละ พื้นที่ปลูก ไม่สามารถแน่ใจได้ว่า ...สารสำคัญที่ ต้องการสกัดนั้นมีเท่ากันหรือไม่

...การตรวจสอบที่มีมาตรฐานทำให้ สามารถเติมสารสำคัญเข้าไปให้มีเท่ากันในทุกๆครั้ง ของการผลิต...เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีประโยชน์และมีคุณภาพทรงคุณค่า สู่ผู้บริโภคอย่างสูงสุด...!!

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/edu/289796

เจ๋งปลูกข้าวในน้ำ ปรับตัวหนีดินฟ้าแปรปรวน


Pic_285690 "ความคิดสร้างสรรค์" หนุ่มชาวนาที่ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี เห็นว่าธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง ดินฟ้าอากาศแปรปรวน ชี้ถึงเวลาเกษตรต้องปรับตัวหาวิธีการเพาะปลูกสร้างรายได้ เลยหันมาปลูกข้าวลอยน้ำ เป็นตัวอย่างการดำรงชีวิตอยู่กับน้ำโดยมีอาชีพที่สร้างรายได้เลี้ยงตัว...

เมื่อ วันที่ 23 ส.ค.2555 ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่าที่ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี มีชาวนาคนหนึ่งหันมาปลูกข้าวในน้ำ จึงได้เดินทางไปตรวจสอบที่บ้านเลขที่ 130/4 หมู่ 1 ต.สามชุก พบนายสุพรรณ เมธสาร อายุ 55 ปี เจ้าของบ้าน และเจ้าของแนวคิดปลูกข้าวลอยน้ำ จึงได้สอบถามที่มาของการทำนาแบบใหม่นี้


นาย สุพรรณ เผยว่า ขณะนี้ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ รวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วม ถึงเวลาที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนไป แน่นอนเกษตรกรย่อมได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะไม่มีพื้นที่ในการเพาะปลูก เมื่อไม่มีที่เพาะปลูก สิ่งที่ตามมาคือรายได้ในการดำรงชีพก็ขาดหายไปด้วย สิ่งที่ทำได้คือการที่เกษตรต้องปรับตัว และหาวิธีการเพื่อให้สามารถเพาะปลูกได้ และการปลูกข้าวลอยน้ำเป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรสามารถดำรงชีวิตอยู่ กับน้ำ ทำการเกษตรและมีรายได้เลี้ยงชีพได้ แนวคิดในการปลูกข้าวลอยน้ำจึงเกิดขึ้น

เจ้าของแนวคิดปลูกข้าวลอยน้ำ กล่าวต่อว่า นับเป็นเกษตรกรตัวอย่างอีกคนหนึ่ง เพราะเขาเป็นเกษตรกรที่ไม่หยุดนิ่ง ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา ส่งผลให้เขามีความรู้หลายด้าน ปัจจุบันยังเป็นวิทยากรอบรมแก่ผู้ที่สนใจเรื่องการปลูกไผ่ การขยายพันธุ์ รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่าย ดังนั้น นายสุพรรณจึงเป็นที่เชื่อถือของเหล่าเกษตรกรในอีกหลายด้าน และด้วยความที่เป็นเกษตรกรนักคิดนี่เอง ทำให้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา นายสุพรรณมีแนวคิดที่จะนำข้าวไปปลูกบนน้ำเนื่องจากเห็นว่าในแม่น้ำลำคลองมัก จะมีผักตบชวา ซึ่งผักตบชวาในแม่น้ำมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะในแม่น้ำมีธาตุอาหาร แพลงตอน ตลอดจนจุลินทรีย์ต่างๆ ที่เป็นอาหารของพืช จึงทดลองปลูกข้าวในน้ำ ผลผลิตที่ได้ก็เป็นที่น่าพอใจเลยทีเดียว


นาย สุพรรณ กล่าวอีกว่า หลังจากได้ลงมือทดลองปลูกข้าวลอยน้ำ ปรากฏว่าได้ผลผลิตจริง และประหยัดต้นทุน วิธีการปลูกข้าวแบบลอยน้ำทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนเรื่องการเตรียมดิน น้ำมันเชื้อเพลิงและตัดปัญหาการดูแลเรื่องน้ำไปเลย จากการคำนวณพบว่าหากทำแพปลูกข้าวในพื้นที่ 1 ไร่ ผลผลิตที่ได้รับ เฉลี่ย 70 ถัง/ไร่ ซึ่งวิธีนี้จะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จากการเผาและลดการใช้สารเคมีต่างๆ ทำให้ลดต้นทุนได้มาก วัสดุอุปกรณ์ยังสามารถนำมาใช้ครั้งต่อไปได้ ทั้งนี้ นายสุพรรณยังได้เตรียมการขยายผลเรื่องการปลูกข้าวลอยน้ำ โดยจะใช้ผักตบชวาเป็นฐานซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการทดลองว่าจะได้ผลอย่างไร สำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับการปลูกข้าวลอยน้ำในครั้งนี้ประกอบไป ด้วย ฝากล่องโฟมเก่า (กล่องโฟมใส่ผลไม้) กระถางพลาสติกสำหรับปลูก ดินเลนสำหรับปลูก เมล็ดพันธุ์ข้าว ลำไม้ไผ่สำหรับทำแพ เชือกฟาง

เจ้า ของแนวคิดปลูกข้าวลอยน้ำ กล่าวถึงวิธีการปลูกข้าวลอยน้ำว่า สำหรับขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ 1.นำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปเพาะในแปลงเพาะ เหมือนกับการเตรียมกล้าพันธุ์สำหรับดำนาทั่วไป 2.นำลำไม้ไผ่มาทำเป็นกรอบ 4 เหลี่ยม เพื่อทำเป็นแพในพื้นที่ที่จะปลูกข้าวลอยน้ำ 3.นำฝากล่องผลไม้ (ฝากล่องโฟม ) มาเจาะรูให้มีขนาดเท่ากระถางพลาสติก แต่ให้อุ้มตัวกระถางไว้ได้ 4.นำกระถางปลูกใส่ดินเลนให้เต็ม 5.เมื่อต้นกล้ามีอายุ 10-15 วัน จึงแยกกล้ามาปลูกในกระถางที่เตรียมไว้ ประมาณ 4-5 กอต่อกระถาง 6.นำกระถางเพาะกล้าใส่ในฝากล่องโฟม แล้วจึงนำไปลอยน้ำในกรอบไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ 7.ใช้เชือกผูกกล่องโฟมกับแพไม้ไผ่ เพื่อป้องกันการพัดพาของน้ำไม่ให้ไหลไปที่อื่น


นาย สุพรรณ กล่าวด้วยว่า ด้านการดูแลและการใส่ปุ๋ย นายสุพรรณเน้นให้เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์และอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบำรุงข้าว ช่วงที่ข้าวมีอายุ 30 และ 55 วัน หลังการปลูกใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1 กำมือ/กระถาง/ครั้ง หากมีแมลงศัตรูพืช ก็ใช้น้ำหมักสมุนไพรฉีดพ่น วิธีนี้เกษตรกรไม่ต้องเสียเวลาดูแลเรื่องน้ำเลย เพราะข้าวจะได้รับน้ำตลอดในช่วงระยะเวลาการปลูก สำหรับผู้ที่สนใจอยากศึกษา เรียนรู้ และดูงานการปลูกข้าวลอยน้ำ ติดต่อตนได้ นายสุพรรณ เมธสาร บ้านเลขที่ 130/4 หมู่ 1 ต.สามชุก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี เบอร์โทรศัพท์ 087-097-7865


ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=76941.0

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มาปลูกเห็ดเข็มทองกันเถอะ



เห็ดเข็มทอง เบอร์ 1 มีลักษณะเส้นใยสีขาว บางส่วนเปลี่ยนเป็นสีเหลือง-น้ำตาล เมื่ออายุมากกว่า 45 วัน เจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 22-26 องศาเซลเซียส ดอกเป็นกลุ่ม ก้านยาว 6-12ซม. หมวกดอกมีขนาดเล็ก 0.5-1.5 ซม. สีของก้านส่วนล่างจะมีสีน้ำตาลดำและอ่อนลงเป็นสีเหลืองจนถึงหมวกดอก ให้ผลผลิตได้ดีที่อุณหภูมิ 8-18 องศาเซลเซียส

ลักษณะประจำพันธุ์ 
ดอกเห็ดมี ลักษณะเป็นกลุ่ม หมวกดอกโค้งนูนลง สีเหลืองทอง ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-5 ซม. ก้านดอกสีเหลือง โคนก้านสีน้ำตาลเข้มดำ ก้านยาว 3-12 ซม. พิมพ์สปอร์ (Spore print) สีขาว สปอร์รูปไข่ปลายมนสีขาว ขนาด 5-8 X 3-4 ไมครอน

ลักษณะการเจริญเติบโต
          ระยะเส้นใย เส้นใยเจริญบนอาหาร พี ดี เอ มีสีขาวและเต็มจานแก้วเลี้ยงเชื้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 ซม.ในเวลาประมาณ 10 วัน ที่อุณหภูมิ 23±3 องศาเซลเซียส เส้นใยเจริญได้ในที่มืด ดอกเห็ดเกิดบน พี ดี เอ ได้เมื่อเส้นใยอายุ 45±10 วัน และต้องมีแสงสว่าง
 ระยะหัวเชื้อ เส้นใยเจริญเต็มเมล็ดข้าวฟ่างนึ่งฆ่าเชื้อ (100 กรัม) ในเวลาประมาณ 12 วัน ที่อุณหภูมิ 23±3 องศาเซลเซียส    
ระยะบ่มเชื้อ เส้นใยเจริญเต็มที่อาหารผสมขี้เลี่อย (600 กรัม) ในเวลาประมาณ 45 วัน ที่อุณหภูมิ 23±3 องศาเซลเซียส
ระยะออกดอก เห็ดออกดอกเก็บได้ 3-4 ครั้งภายใน 2 เดือน ที่อุณหภูมิ 13±3 องศาเซลเซียส ต้องการแสงสว่าง ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95%

ผลผลิตเฉลี่ย  50-150 กรัม (น้ำหนักอาหารผสมขี้เลื่อย 600 กรัม)

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยง เห็ดให้ได้ผลผลิต

1.โรงเพาะ
 โรงเรือนเพาะเห็ดเข็มทองที่ดีจะต้องสร้างแบบห้องเย็น  ภายใต้หลังคา สามารถ ควบคุมอุณหภูมิ  ความชื้น  อากาศและแสงสว่างได้ดี  มีพื้นที่สำหรับกองขี้เลื่อย  และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ  เช่น เครื่องผลิตไอน้ำ  ตู้อบฆ่าเชื้อ  เครื่องมือต่างๆ  และควรมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองในกรณีไฟฟ้าดับด้วย

2.การเตรียมเชื้อเห็ด
 เชื้อ เห็ดสายพันธุ์ที่ตลาดนิยม  เลี้ยงเชื้อบริสุทธิ์ในอาหารวุ้น PDA หรือ PDYA  ที่อุณหภูมิ 20 – 25 องศาเซลเซียส  แล้วจึงขยายเชื้อลงในเมล็ดข้าวฟ่างหรือขี้เลื่อยผสมรำ 10 เปอร์เซ็นต์  ใช้เป็นหัวเชื้อ

3.การเตรียมวัสดุเพาะ
 วัสดุเพาะ ที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ  ขี้เลื่อยผสมรำละเอียด 10 – 20 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้อาจจะผสมแกลบ 5 – 10 เปอร์เซ็นต์  และอาหารเสริมอื่นๆ  ตามความเหมาะสมของเชื้อเห็ดแต่ละสายพันธุ์  ขี้เลื่อยควรรดน้ำกองทิ้งไว้จนน้ำที่ไหลซึมออกมามีใส ในระหว่างกองหมักน้ำควรกลับกองเพื่อความสม่ำเสมอในการชะล้างยางไม้ออกจากขี้ เลื่อย  เสร็จแล้วกองให้สะเด็ดน้ำเพื่อเตรียมใช้งานต่อไป  ส่วนผสมของวัสดุเพาะควรมีความชื้นอยู่ระหว่าง 58 – 62 เปอร์เซ็นต์

       3.1.การเตรียมอาหาร วสัดุที่ใช้ผสมเป็นอาหารเพาะเลี้ยงเห็ดเข็มเงินประกอบด้วย
              - ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 75 กิโลกรัม
              - รําละเอียด 20 กิโลกรัม
              - ข้าวโพดบด 5 กิโลกรัม
              - นํ้า 60 กิโลกรัม

วัสดุ ทั้งหมดนี้นำมาคลุกให้เข้ากันอย่างดีจะมี ความชื้น 60-65 % นำอาหารที่เตรียมแล้วนำไปบรรจุในถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 x 12 นิ้ว อาจบรรจุในพลาสติกได้อัดให้แน่นจะได้ปริมาณอาหารถุงละ 600 กรัม (วิธีบรรจุ เช่น เดียวกับการเตรียมถุงอาหารเห็ดโดยทั่วไป) ใส่คอขวด (พลาสติก) ปิดจุกสำลี แล้วหุ้มด้วยกระดาษป้องกันสำลีเปียก

4.ภาชนะที่ใช้เพาะเห็ด
 นิยมใช้ขวดพลาสติกทนความร้อนสูง  มีลักษณะทั่วไปโดยประมาณดังนี้ ความ จุ 1 ลิตร  ปากกว้าง 6 เซนติเมตร  ใส่วัสดุเพาะหมัก 750 กรัม  บรรจุขี้เลื่อยด้วยเครื่องบรรจุ  พร้อมทั้งอัดและเจาะรูตรงกลางโดยอัตโนมัติ  ปิดปากขวดด้วยฝาพลาสติกแบบมีที่กรองอากาศ

5.การอบฆ่าเชื้อ
  อบฆ่าเชื้อขวดขี้เลื่อยที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส  เป็นเวลา 4 ชั่วโมง  จากนั้นจึง เพิ่มอุณหภูมิเป็น 120 องศาเซลเซียส  หรือจะอบที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส  เป็นเวลานาน     2 ชั่วโมง  ก็ได้  ระหว่างที่อบฆ่าเชื้อต้องระวังอย่างให้น้ำไหลเข้าไปในขวดขี้เลื่อย  จะทำให้ความชื้นสูงเกินไป  เชื้อเห็ดจะเจริญเติบโตได้ไม่ดี หรือเรียกอีกอย่างว่าการนึ่งอาหาร ถุงอาหารขี้เลื่อยผสมที่เตรียมไว้แล้วนี้ นําไปผ่านการฆ่าเชื้อ โดยนึ่งในหม้อนึ่งไม่อัดความดัน อุณหภูมิประมาณ 100  ํC เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือนึ่งด้วยหม้อนึ่งอัดความดัน อุณหภูมิประมาณ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง

6.การใส่เชื้อ
          เมื่ออบฆ่าเชื้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ทิ้งขวดขี้เลื่อยให้เย็นประมาณ 20 องศาเซลเซียส  จึงจะใส่เชื้อ  การเพาะเห็ดแบบอุตสาหกรรมจะต้องใช้เครื่องมือเป็นส่วนใหญ่  การใส่เชื้อก็เช่นกันจะใส่ด้วยเครื่องโดยใช้เชื้อที่ทำจากขี้เลื่อย  ใส่ในอัตราส่วนประมาณ 15 กรัมต่อขวด  หรือเชื้อ 1 ขวด  ต่อวัสดุเพาะ 50 ขวด หรือใส่เชื้อเห็ดที่เจริญในเมล็ดข้าวฟ่างถุงละ 15-20 เมล็ด

7.การบ่มเชื้อ
           นำขวดเพาะที่ใส่เชื้อเห็ดไปตั้งไว้ในห้องที่อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 18 – 20 องศาเซลเซียส  ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิภายในขวดขี้เลื่อยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด  ใช้เวลา 25 – 30 วัน  เชื้อก็เจริญเต็มขวด

8.การสร้างตุ่มดอก
           เมื่อเชื้อเจริญเต็มขวด  ให้เปิดฝาออกแล้วใช้เหล็กปลายแบนงอเหมือนช้อนขุดเอาส่วนหน้าหรือส่วนที่เป็น เชื้อขี้เลื่อยออกให้หน้าเรียบ (ฟาร์มเห็ดใหญ่ๆ  จะใช้เครื่องแคะ) นำไปไว้  หรือลดอุณหภูมิห้องลงมาที่ 10 – 15 องศาเซลเซียส  (แล้วแต่สายพันธุ์เห็ด) ความชื้น 80 – 85 เปอร์เซ็นต์  ไม่ต้องใช้แสงสว่าง  รักษาอุณหภูมิและความชื้นให้สม่ำเสมอ  ใช้เวลา 5 – 10 วัน  ก็จะสร้างตุ่มดอก  แล้วเลี้ยงต่อจนดอกเห็ดโผล่พ้นปากขวด 2 – 3 เซนติเมตร

ที่มา : http://www.technoinhome.com/vspcite/front/board/show.php?tbl=tblwb03&gid=20&id=297&PHPSESSID=9dfdbe4c11bbf534df2527865628593