วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ไม้ผลแปลกและหายาก ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554

ในรอบปี พ.ศ. 2553 ที่กำลังจะผ่านไปพบว่าโดยภาพรวมของเกษตรกรชาวสวนผลไม้จะขายผลผลิตราคาค่อน ข้างดี ไม่ว่าจะเป็นผลไม้เศรษฐกิจอย่างเช่น ทุเรียน, มะม่วง, ส้มเขียวหวาน ฯลฯ โดยเฉพาะส้มโชกุนหรือส้มสายน้ำผึ้งราคาสูงขึ้นเท่าตัว เนื่องจากพื้นที่ปลูกส้มลดน้อยลงไปมาก ช่วงเดือนธันวาคม 2553 ราคาส้มโชกุนหรือส้มสายน้ำผึ้งมีราคาถึงผู้บริโภคไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 100 บาท และมีการคาดการณ์ว่าราคาส้มสายน้ำผึ้งหรือส้มโชกุนจะมีราคาสูงอย่างน้อยอีก 2-3 ปี นอกจากไม้ผลเศรษฐกิจแล้วยังมีกลุ่มไม้ผลแปลกและหายากอีกหลายชนิดที่น่าสนใจ ปลูก เนื่องจากมีคู่แข่งขันทางการตลาดน้อยและยังมีพื้นที่ปลูกไม่มากนัก แต่ผู้ปลูกจะต้องพยายามหาตลาดรองรับไม่ว่าจะเป็นตลาดท้องถิ่นหรือตลาดเมือง ใหญ่ ไม้ผลแปลกและหายากที่น่าสนใจปลูกในปี พ.ศ. 2554 มีอยู่หลายชนิด



มะขามป้อมยักษ์อินเดีย จากผลงานวิจัยจากหลายประเทศพบตรงกัน ว่ามะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีปริมาณของสารแทนนินสูงเป็นชนิดที่มีฤทธิ์ ในการต่อต้านอนุมูลอิสระต้านสารก่อมะเร็ง เพิ่มภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง กำจัดสารพิษจากโลหะหนักออกจากร่างกายและในผลของมะขามป้อมมีปริมาณวิตามินซี สูงที่สุดชนิดหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น วิตามินซีที่พบอยู่ในผลมะขามป้อมมีมากที่สุดในโลกเมื่อเปรียบเทียบกับพืชทุก ชนิด ปกติในบ้านเราจะพบเห็นผลมะขามป้อมที่มีขนาดของผลเล็กแต่ถ้าผลที่ใหญ่ที่สุด จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3.5 เซนติเมตร พ.อ.อ.กิติ ชุ่มสกุล ได้มะขามป้อมจากประเทศอินเดีย มาปลูกและให้ผลผลิตแล้วพบว่ามีขนาดผลใหญ่มากมีเส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 4.5-5.5 เซนติเมตร หรือประมาณ 2 นิ้วเศษ

มะม่วงลูกผสมพันธุ์ “ยู่เหวิน” มีถิ่นกำเนิดที่ไต้หวันและเป็นมะม่วงลูกผสมระหว่างพันธุ์จินหวงกับมะม่วง พันธุ์ “อ้าย เหวิน” มะม่วงลูกผสมสายพันธุ์นี้ได้มีการนำยอดพันธุ์มาเสียบยอดในประเทศไทยประมาณ 4-5 ปีมาแล้วและเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผลปรากฏว่าเป็นมะม่วงที่มีลักษณะเด่นและรสชาติดี คือ มีผลขนาดใหญ่ น้ำหนักผลเฉลี่ย 1-1.5 กิโลกรัม บริโภคได้ทั้งผลดิบและสุก ในระยะผลดิบหรือห่ามจะมีรสชาติหวานมัน (ไม่มีเปรี้ยวปน) ระยะผลสุกเนื้อจะมีรสชาติ หวานหอม, ไม่เละ, ไม่มีเสี้ยนและไม่มีกลิ่นเหม็นขี้ไต้ ที่สำคัญสีของผลมีสีม่วงเข้มดึงดูดใจแก่ผู้พบเห็นจัดเป็นมะม่วงแปลกและหายาก ปลูกและให้ผลผลิตได้ในประเทศไทย มะม่วงพันธุ์ยู่เหวิน เป็นมะม่วงที่ปลูกง่ายและเริ่มให้ผลผลิตเมื่อต้นมีอายุเฉลี่ยได้ 3-4 ปี จากการสังเกตพบว่าออกดอกและติดผลดีทุกปี

มะละกอแขกดำ “เรด แคลิเบียน” มะละกอแขกดำ “เรด แคลิเบียน” เป็นมะละกอสายพันธุ์ใหม่ที่ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้ผลมะละกอมา จากอเมริกากลางและนำเมล็ดมาปลูกและคัดเลือกพันธุ์แบบผสมเปิดนานกว่า 7 ปี ได้ผลผลิตที่มีขนาดผลคล้ายกับมะละกอเรดมาลาดอล์ แต่มีขนาดของผลใหญ่กว่ามาก น้ำหนักผลเฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม (ผลใหญ่กว่าเรดมาลาดอล์ 1-2 เท่า) เนื้อหนามากมีสีแดงส้มและรสชาติหวาน จากการปลูกทดสอบในแปลงพบว่ามีความทนทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนได้ดีกว่าพันธุ์ แขกดำศรีสะเกษ เป็นมะละกอที่สามารถบริโภคได้ทั้งผลดิบ และผลสุก โดยเฉพาะผลดิบเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพื่อทำส้มตำ ส่วนผลสุกใช้บริโภคสด โดยปกติแล้วมะละกอสามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดี ในดินที่ร่วนซุยมีการระบายน้ำที่ดี เช่น ดินร่วนปนทราย ถ้าพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือดินทรายจัด เราควรปรับปรุงดินก่อนโดยการใส่อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดี การระบายน้ำของแปลงปลูกมะละกอจะต้องดี เพราะ ต้นมะละกอเป็นพืชที่ไม่ทนต่อสภาพ น้ำขังแฉะโดยเฉพาะถ้าต้นมะละกอยังเล็ก ถ้ามีน้ำขังมาก ๆ ต้นมะละกออาจจะชะงักการเจริญเติบโตและอาจถึงตายได้

ฝรั่งพันธุ์ “ฮ่องเต้” เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2513 ทางไต้หวันได้มีการนำฝรั่งจากประเทศไทยซึ่งมีขนาดผลใหญ่ เนื้อแน่นและกรอบไปปลูกได้ผลผลิตเป็นที่ชื่นชอบของคนไต้หวันในขณะนั้น เวลาผ่านไปไต้หวันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ฝรั่งเรื่อยมาโดยเน้นความกรอบ อร่อยของเนื้อ, มีเมล็ดน้อยและนิ่ม ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาเริ่มมีเกษตรกรไทยนำพันธุ์ฝรั่งจากไต้หวันมา ปลูกจนประสบผลสำเร็จในบ้านเราและที่รู้จักกันดีคือ พันธุ์เจินจู ซึ่งมีเมล็ดนิ่มและรสชาติอร่อย เริ่มมีเกษตรกรไทยขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้นในขณะนี้ นอกจาก ฝรั่งพันธุ์เจินจู ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ปัจจุบันได้มีฝรั่งไต้หวันอีกสายพันธุ์หนึ่งมีชื่อพันธุ์ว่า “ฮ่องเต้” ขณะนี้เริ่มเห็นผลผลิตแล้วซึ่งได้พบความแตกต่างจากฝรั่งไต้หวันสายพันธุ์ อื่น ๆ ที่ปลูกในบ้านเรา ตรงที่รูปทรงผลจะเป็นทรงกระบอกสี่เหลี่ยม เมื่อผลเจริญเติบโตเต็มที่มีน้ำหนักผลไม่ต่ำกว่า 500 กรัม เนื้อมีรสชาติหวานกรอบ, เมล็ดน้อยมากและนิ่ม ที่สำคัญเป็นพันธุ์ที่ออกดอกและติดผลง่ายให้ผลผลิตดี ที่ไต้หวันไม่ว่าจะเป็นสวนเล็กหรือสวนใหญ่จะมีความประณีตในการห่อผลฝรั่งมาก เริ่มแรกจากการปลิดผลทิ้งบ้างให้เหลือกิ่งละไม่กี่ผลเมื่อผลมีขนาดใหญ่ใกล้ เคียงกับส้มเขียวหวานจะใช้ตาข่ายโฟมห่อที่ผลก่อนเป็นลำดับแรกและห่อตามด้วย ถุงพลาสติกบางใสและเหนียว


ที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=28155.0

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปลาแดดเดียวเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการถนอมอาหาร เพื่อจะได้เก็บปลาไว้กินนาน ๆ ปัจจุบันประชาชนได้นำความรู้ในการทำปลาแดดเดียวมาทำ เป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่งการ ทำปลาแดดเดียวมักจะประสบปัญหา ปลามีกลิ่นเหม็น วันนี้จึงขอแนะนำวิธีการง่ายๆ ในการดับกลิ่นปลาแดดเดียว ในขั้นตอนการผลิตด้วยผงชูรส เป็นวิธีการที่ค้นพบและเผยแพร่โดย คุณศรีนวล คล่องรับ เจ้าของปลาส้มศรีนวล ปลาส้มเจ้าแรกของหนองหลวง อ.เวียงชัย จ.เชียงราย



วัตถุดิบ
1.ปลา 1 กิโลกรัม
2.ผงชูรส 1 ช้อนชา
3.เกลือป่นที่ไม่ผสมไอโอดีน ½ กิโลกรัม

วิธีทำ
1.นำปลาที่ตัดหัว ขอดเกล็ดแล้วมาบั้ง แล้วนำเกลือป่นมาคลุกให้ทั่ว แล้วใส่ถุงทั้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
2.นำปลาออกจากถุง แล้วเทน้ำที่ได้จากปลาใส่กะละมัง
3.เทผงชูรสใส่น้ำในกะละมัง คนให้เข้ากัน
4.นำปลาใส่กะละมังคลุกเคล้าให้ทั่ว แล้วนำขึ้นตากแดด
* น้ำจากปลาที่ผสมกับผงชูรส จะช่วยดับกลิ่นเหม็นของปลาแดดเดียวได้

ที่มา http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1516&s=tblanimal

ฤาข้าวหอมอีสาน...จะร่ำไห้

เมื่อเอกลักษณ์ถูกพรากไปเพราะการพาณิชย์

..........ประเทศไทยได้รับการยกย่องว่าเป็นแหล่งผลิตข้าวคุณภาพดีมีกลิ่นหอม แห่งหนึ่งของโลกทั้งนี้เพราะข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ105( หรือต่อไปนี้จะเรียกข้าวหอมมะลิ )เป็นข้าวที่ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างชื่นชมในคุณสมบัติ จำเพาะได้แก่การมีกลิ่นหอมและมีเนื้อแป้งที่มีค่าอะมิโลสต่ำทำให้ข้าวชนิด นี้มีทั้งความหอมและความนุ่มเมื่อหุงสุกแล้วแตกต่างไปจากเข้าเจ้าชนิดอื่นๆ จึงไม่น่าแปลกใจว่าราคาข้าวหอมมะลิในตลาดส่งออก(ในเดือนกันยายน 2552)มีราคาประมาณ 34,000 บาท ต่างจากข้าวขาว 5% ในตลาดส่งออกซึ่งมีราคาตันละ 540 U$$ หรือเป็นเงินไทยประมาณ 18,360 บาท ซึ่งต่างกันเกือบเท่าตัว

ข้าว หอมมะลิเป็นข้าวที่มีพื้นที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ ในปีการผลิต 2550 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิประมาณ 19 ล้านไร่ และมีผลผลิตโดยรวมประมาณ 6.5 ล้านตัน ในจำนวนนี้เป็นเนื้อที่และผลผลิตข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึงร้อย ละ 80 ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดพะเยาและเชียงราย ภาคกลางตอนบน ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์และพิษณุโลก มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิอยู่บ้าง แต่ข้าวหอมมะลิที่ปลูกในภาคกลางแม้จะมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าในภาคตะวันออก ฉียงเหนือ จึงเรียกข้าวหอมมะลิที่ปลูกกันในพื้นที่ภาคกลางว่าข้าวหอมจังหวัด ในช่วง 1- 2 ปีที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะจัดข้าวหอมจังหวัดให้มีราคาเท่ากับข้าวหอม มะลิที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะถือว่าเป็นข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เหมือนกัน นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่มีคุณสมบัติของค่าอะมิโลส ต่ำเช่นเดียวกับข้าวหอมมะลิ และมีขนาดและลักษณะของเมล็ดเมื่อสีเป็นข้าวสารแล้วคล้ายคลึงกับข้าวหอมมะลิ มาก จนไม่สามารถแยกได้ด้ยตาเปล่าและต้องตรวจแยกคุณสมบัติโดยกระบวนการตรวจสอบดี เอ็นเอ ( DNA ) ข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่กล่าวถึงนี้ได้รับการตั้งชื่อว่าข้าวปทุมธานี 1
แต่ หากพิจารณาถึงผลกระทบในระหว่างภูมิภาคแล้วจะพบว่าการขยายตัวของการปลูกข้าว ปทุมธานี 1 อย่างแพร่หลายของเกษตรกรในภาคกลาง และการขยายตัวของการปลูกข้าวหอมจังหวัดในภาคกลางด้วยเช่นกันได้สร้างผลกระทบ ต่อเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพราะ

(1) ได้มีการนำข้าวปทุมธานี 1 ไปปนกับข้าวหอมมะลิในตลาดข้าวสารทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก
(2) ต้นทุนในการเพาะปลูกต่อตันของข้าวปทุมธานี 1 ในพื้นที่ชลประทาน ต่ำกว่าต้นทุนในการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ ต่อตันถึงเกือบหนึ่งเท่าตัว

(4) ได้มีการยกระดับราคารับจำนำของข้าวหอมจังหวัดให้มีราคาเช่นเดียวกับข้าวหอม มะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งก็จะทำให้มีการขยายตัวของอุปทานข้าวหอมมะลิ ในถิ่นเพาะปลูกรองเพิ่มมากขึ้นและจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ในพื้นที่นาแห้งแล้งและมีโอกาสในการปลูกพืชจำกัด การขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตรที่ขยายตัวไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็เป็น อีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งเดิมการเก็บเกี่ยวข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะใช้คนเก็บเกี่ยวและผึ่ง ฟ่อนข้าวไว้ 2 – 3 วัน แล้วจึงนำไปนวดซึ่งจะทำให้ข้าวมีความชื้นต่ำ แต่ภาวะที่เกษตรกรในภาคตะวันออกฉียงเหนือกำลังเข้าสู่ยุคของการขาดแคลนแรง งานจึงได้จ้างรถเกี่ยวจากภาคกลางไปเก็บเกี่ยว รถเกี่ยวจะเร่งรีบในการเก็บเกี่ยวไม่ว่าข้าวจะสุกหรือไม่ และในกระบวนการของรถเกี่ยวข้าวเมื่อเกี่ยวแล้วจะแยกเป็นเมล็ดข้าวเปลือกออก มาในทันทีทำให้ข้าวมีความชื้นสูง และหากเกษตรกรและโรงสีไม่ได้ดูแลรักษาลดความชื้นให้ดีก็จะส่งผลต่อคุณภาพ ข้าวหอมมะลิตามมา และอีกสาเหตุหนึ่งจะทำให้คุณภาพของข้าวหอมมะลิด้อยลงได้แก่พันธุ์ข้าวอื่นๆ ที่ติดมากับรถเกี่ยวข้าวซึ่งจะมีการแพร่กระจายทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของ ข้าวหอมมะลิแท้จางหายไป
นอก จากนี้ การเปิดตลาดการค้าข้าวของไทย ซึ่งจะเปิดเสรีตามข้อตกลงของกลุ่มอาเซียนในเดือนมกราคม 2553 เป็นต้นไป นั่นหมายความว่าข้าวขาวดอกมะลิในประเทศ เขมร ลาว และเวียดนาม ก็อาจจะส่งผ่านมายังประเทศไทย แต่ข้าวขาวดอกมะลิที่มีการปลูกในประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวแม้จะมีคุณสมบัติ ไม่เท่าเทียมกับข้าวขาวดอกมะลิอยู่ส่วนหนึ่ง ราคาข้าวขาวดอกมะลิที่ต่ำกว่าในประเทศเพื่อนบ้าน ย่อมจะส่งผลต่อข้าวหอมมะลิของไทยในตลาดต่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน
ข้าว หอมมะลิในทุ่งกุลาร้องไห้นั้นเปรียบไปก็เหมือนสมบัติอันล้ำค่าของเกษตรกรและ ของตลาดส่งออกไทย แต่ความเป็นพลวัตที่เกิดขึ้นกับภาคการผลิตข้าวกำลังจะส่งผลกระทบที่รุนแรง ต่อเอกลักษณ์และคุณสมบัติเด่นของข้าวหอมมะลิในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้อัน เป็นดินแดนของความแห้งแล้งและมีโอกาสในการเพาะปลูกพืชได้จำกัด ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบว่าภาครัฐจะมีมาตรการณ์เพื่อการปกป้องหรือเพื่อการรักษา เอกลักษณ์อันมีค่าของข้าวหอมมะลิรวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดกับเกษตรกรในทุ่ง กุลาร้องไห้ไว้แต่อย่างใด


สมพร อิศวิลานนท์
อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

ที่มา http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1123&s=tblrice

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข้าวหอมมะลิ มนต์เสน่ห์ข้าวหอมไทย



กลิ่น หอมของข้าวถือเป็นมนต์เสน่ห์ที่ชวนรับประทานที่สุด ด้วยเพราะความนุ่มและความหอมหวานทำให้ความนิยมในข้าวหอมมะลิ มีมากขึ้นเรื่อยๆ กลิ่นหอมหวานของข้าวชนิดนี้เกิดจากการผสมผสานของสารระเหยมากกว่า 200 ชนิด แต่มีสารที่เป็นองค์ประกอบหลักคือสาร 2 เอพี (2-acetyl-1-pyrroline) ที่ผลิตเฉพาะในข้าวหอม ใบเตย ดอกชมนาถเชื้อ ราและแบคทีเรียบางชนิด ในเชิงวิทยาศาสตร์ ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงบทบาทของสารหอม 2 เอพีในพืชและจุลินทรีย์ แต่เชิงโภชนาการแล้ว กลิ่นหอมของข้าวช่วยทำให้อยากรับประทานอาหารมากขึ้น

การผลิตสารหอมระเหยนี้เป็นผลมาจากการทำงานของขบวนการทางชีวเคมีใดยังไม่เป็น ที่แน่ชัด จนในปี พ.ศ. 2547 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ไทยได้ค้นพบรหัสพันธุกรรมหรือยีนที่เป็นกุญแจสำคัญในการ สร้างสารหอมในข้าวหอมมะลิไทย และเป็นยีนเดียวกันกับที่พบในข้าวหอมทุกพันธุ์ในโลก ดังนั้น รหัสพันธุกรรมของยีนความหอมจึงได้ถูกเปิดเผยขึ้นแล้ว



การถอดรหัสยีนความหอม

ยีนความหอมเป็นลักษณะด้อย กล่าวคือเมื่อเอาข้าวหอมผสมกับข้าวไม่หอม ลูกที่ได้จะไม่หอม นั่นหมายถึง ยีนไม่หอมทำงานข่ม (dominant) ในอดีตนักวิทยาศาสตร์จากหลายประเทศ เช่น ไทย, อเมริกา, ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย ต่างพบว่ารหัสพันธุกรรมที่สำคัญนี้น่าจะอยู่บริเวณเล็กๆ ของโครโมโซมคู่ที่ 8 โดยวางตำแหน่งเอาไว้เทียบเคียงกันได้โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ แต่ไม่มีใครสามารถเข้าใกล้ยีนนี้ได้เนื่องจาก การแยกข้าวหอมจากไม่หอมทำได้ยาก จนนักวิทยาศาสตร์ไทยสามารถสร้าง “ ข้าวคู่แฝด “ (Isogonic’s line) ได้สำเร็จ และนำไปสู่การค้นพบยีนความหอมได้ในที่สุด นับเป็นการค้นพบครั้งแรกของโลก



Rice Science Center


ที่มา http://dna.kps.ku.ac.th/index.php

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเพิ่มปริมาณน้ำส้มควันไม้สมุนไพร


น้ำส้มควันไม้เป็นการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านเดิมมาใช้ ตามหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง น้ำส้มควันไม้ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างในด้านการเกษตร ส่วนของพืชและการเลี้ยงสัตว์ แต่ข้อจำกัดของการทำน้ำส้มควันไม้ก็คือการผลิตได้น้อย และหากวัสดุในการเผาเริ่มหายาก ซึ่งคุณพ่อคำป่วน ปราชญ์ผู้เฒ่าแห่งมีเทคนิคง่ายๆ เรื่องนี้มาฝาก




วัสดุ/อุปกรณ์
1.ถังน้ำมันเก่าขนาด 200 ลิตร
2.แกลบดิบ 2 กระสอบปุ๋ย
3.ตะไคร้หอม 5-10 กิโลกรัม
4.ขวดน้ำพลาสติก 2 ขวด
5.ถังพลาสติกสำหรับเก็บเอาน้ำส้มควันไม้


ขั้นตอนและวิธีการผลิตน้ำส้มควันไม้
1.ดัดแปลงถังน้ำมันเก่า 200 ลิตรโดยต่อท่อออกมาด้านนอกความสูงระดับ 90% ของตัวถังเป็นรูปตัวT ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้วโดยด้านบนจะเป็นปล่องควันและด้านล่างเป็นบริเวณที่ให้น้ำส้มควันไม้หยด ออกมา ส่วนฝาปิดถังก็ต่อท่อออกมาเช่นกันความสูงประมาณ 20 เซนติเมตรจากนั้นเจาะรูด้วนสว่านข้างถังทั้ง 3 ด้านเส้นผ่าศูนย์กลาง ¾ นิ้ว(3หุน) สูงจากพื้นด้านล่างประมาณ
2.จุดไฟเผาแกลบและปิดฝาถังโดยปล่อยให้ควันลอยออกมาทางปล่องควันที่ต่อออกมา ประมาณ 1 ชั่วโมง สังเกตลักษณะของควันที่เผาไหม้ว่าอยู่ในระดับที่จะสามารถกลั่นออกมาเป็นน้ำ ส้มควันไม้ได้หรือไม่โดยสังเกตจากช่วงที่ควันมีสีขาวขุ่น อุณหภูมิปากปล่องระหว่าง 80-150 องศาเซลเซียสเป็นช่วงที่ผลผลิตจะมีคุณภาพดีที่สุด
3.ทำการปิดปากปล่องควันด้านบนโดยใช้ขวดพลาสติกบรรจุน้ำเปล่าปิดรูไว้ทั้ง 2 ปล่อง ควันที่ร้อนภายในเมื่อกระทบความเย็นจะเริ่มควบแน่นประมาณ 10 นาที จากนั่นกลั่นตัวออกมาเป็นหยดน้ำไหลออกมาทางด้านล่างของปล่องควันจะได้น้ำส้ม ควันไม้สมุนไพรบริสุทธิ์โดยใช้เวลาเผาไหม้ทั้งหมด 1 วันกับอีก 1 คืน

เทคนิคการเพิ่มปริมาณน้ำส้มควันไม้อยู่ที่ ส่วนของปล้องไม้ไผ่ที่เป็นกระบวกควัน ต้องพันผ้าชุบน้ำให้เย็นที่สุด หากควันร้อนกระทบกับความเย็นด้านนอกจะทำให้ได้ปริมาณน้ำส้มควันไม้เพิ่มขึ้น อีก เท่าตัวเลยทีเดียว

ที่มา http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=1211&s=tblblog

ทานผักกากใยสูงต้านมะเร็ง



อาหารที่ก่อให้ เกิดโรคในร่างกาย ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่มีไขมันเจือปนอยู่มาก เช่น ข้าวขา หมู ข้าวมันไก่ อาหารทอดต่างๆ หากรับประทานเป็นประจำนอกจากจะทำให้เกิดโรค อ้วนได้แล้ว ยังเป็นตัวการทำให้เกิดโรคมะเร็งในร่างกายได้อีกด้วย

เมื่อรู้ว่ามะเร็งเกิดจากการรับประทานอาหาร ก็ควรใช้วิธี “หนามยอกเอาหนาม บ่ง” คือ การเลือกรับประทานอาหารที่จะช่วยต้านการเกิดมะเร็ง ซึ่งผู้รู้จัก เลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามกลักโภชนาการย่อมสามารถหลีก เลี่ยงมะเร็งได้


แล้วเราควรรับประทานอาหารอย่างไร? หรือ อาหารประเภทไหนบ้าง?ที่จะช่วยต้านการเกิดโรคมะเร็ง

คำตอบมีว่า เราควรรับประทานอาหารที่มีเยื่อใยมากๆ อาหารที่มีวิตามินและเกลือแร่สูงเป็นประจำ ในขณะที่ลดอาหารประเภทที่มีไขมันสูงให้น้อยลง

อาหารที่มีกากใยมากๆ ดีต่อร่างกายอย่างไร?

คำตอบก็คือ กากใยเป็นส่วนที่เหลือจากระบบการย่อยแล้วไม่สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นของเสียที่ต้องถูกขับทิ้งออกจากร่างหาย ซึ่งกากใยอาหารจะถูขับผ่านลำไส้ใหญ่ไปออกทางทวารหนักเป็นอุจจาระ

กากใยอาหารดูดซับน้ำมาก รวมทั้งดูดซับสารก่อมะเร็งตกค้างอยู่ในลำไส้ด้วย กากใยอาหารจะมีน้ำหนักช่วยกระตุ้นระดับขับเคลื่อนของทางเดินอาหารทำให้เกิด การบีบตัวมากขึ้น ช่วยให้การขับถ่ายเป็นอุจจาระสะดวกขึ้นและเร็วขึ้น

แล้วกากใยอาหารได้มาจากไหน?

คำตอบก็คือได้มาจากผักผลไม้ต่างๆ ดังนั้นอาหารทุกมือจึงควรปฏิบัติ 2 ประการคือ ลดอาหารประเภทไขมันให้เหลือน้อยที่สุด เพิ่มผักผลไม้ในอาหารที่รับประทานทุกมื้อ ท่านก็จะได้กากใยที่กระเพราะและลำไส้เล็กย่อยไม่ได้ตกค้างอยู่มาก กลายเป็นของเหลือทิ้งที่ช่วยในการขับถ่ายและดูดซับสารก่อมะเร็งในลำไส้

อาหารอะไร?ที่อุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่ช่วยต้านมะเร็ง

เราสามารรถได้รับวิตามินและเกลือแร่จากผลไม้ต่างๆ ที่ประเทศไทยมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์
จากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารพบว่า วิตามินและเกลือแร่จากผลไม้ต่างๆ ที่ประเทศไทยมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์

จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารพบว่าวิตามินเอ และวิตามินซีสามารถป้องกันมะเร็งได้ นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารยังค้นพบต่อไปว่าวิตามินเอและวิตามินซีนอกจากจะ ป้องกันมะเร็งแล้วยังสามารถรักษาโรคมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย

วิตามินเอและวิตามินซี ช่วยทำให้อายุการทำงานของระบบทำลายสารพิษของร่างกาย ซึ่งมีอยู่ในเซลล์ต่างๆ เช่น เซลล์ตับ ปอด และ ไต ทำงานได้นานขึ้น มีประสิทธิภาพในการทำลายล้างสารพิษเพิ่มขึ้น ซึ่งเท่ากับไปลดอัตราการเกิดมะเร็งของอวัยวะต่างๆ ลงได้

จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่เป็นมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งในกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่ มักจะเป็นผู้ที่รับประทานอาหารที่มีวิตามินเอน้อย


** สรุปได้ความว่า การ กินต้านมะเร็ง ก็คือ ต้องรับประทานผัก ผลไม้อย่างเพียงพอและเป็นประจำ

พืชผักที่มีกากใยอาหารมากที่สุด 5 ชนิด คือ ใบย่านาง มะเขือพวง งา ถั่วเหลือง และ ดอกขี้เหล็ก

ผลไม้ 5 ชนิดที่มีวิตามินเอมากที่สุด คือ มะม่วงพิมเสนมัน(สุก) ส้มเขียวหวาน แคนตาลูป มะม่วงสุกทั่วไป และ ลูกพลับแห้ง (ที่มา: พรพรรณ รพี. กินต้านโรค)

ที่มา :
สุราษฎร์ ทองมาก. กินต้านมะเร็ง. นิตยสารไม่ลองไม่รู้เพื่อเกษตรวันนี้.ฉบับประจำเดือนกันยายน .นาคาอินเตอร์มีเดีย.กรุงเทพ.2553.

ที่มา http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=2036&s=tblplant&g=

น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วยเร่งโตบำรุงดิน





การทำน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย มีวัตถุดับที่ต้องเตรียมดังนี้
1. ต้นกล้วยสูงไม่เกิน 1 เมตรตัดเอาทั้งส่วนที่เป็นรากจนถึงยอด ประมาณ 30 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
3. สารเร่งพด.2 จำนวน 1 ซอง
4. ถังหมัก 1 ถัง

วิธีการทำ
นำต้นกล้วยที่เตรียมไว้มาสับให้ละเอียด ใส่ลงในถังหมัก นำกากน้ำตาลและสารเร่งพด.2 มาละลายน้ำทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที หลังจากนั้นนำใส่ลงไปในถังหมัก คนให้เข้ากันกับต้นกล้วยสับที่ใส่ไว้ หมักไว้ 1 เดือนก็สามารถนำไปใช้ได้
วิธีการนำไปใช้
ผู้ใหญ่สิงห์แก้วนำน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วยสูตรนี้มาใช้กับเมล็ดพันธุ์ ข้าว เพื่อเป็นการเร่งการงอกของเมล็ดข้าว โดยใช้ในอัตราส่วน น้ำหมัก 2 ช้อนต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วนำไปแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 2 วันหลังจากนั้นนำเมล็ดข้าวที่แช่เรียบร้อยแล้วมาวางไว้บนบกอีก 1 วัน จะสังเกตุได้ว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วยจะเพิ่ม การงอกเร็วกว่า
**นอกจากนั้นยังนำมาฉีดตอซังข้าวก่อนไถกลบตอซังในอัตราส่วนนำหมัก 1 ลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เสร็จแล้วไถกลบทิ้งไว้ ช่วยเร่งการย่อยสลายของตอซังข้าวและทำให้ดินร่วนซุยดี ใช้เป็นปุ๋ยหมักช่วยลดต้นทุนได้
หลังจากนั้นนำมาใช้อีกครั้งก่อนปลูกข้าว โดยนำมาผสมน้ำราดลงไปในขณะที่ทำการคราดนา ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของต้นข้าวที่กำลังจะนำลงปลูกได้

ที่มา http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1074&s=tblrice&g=

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้าว! อาหารมหัศจรรย์ของโลก

ชี้ “ข้าวหอมมะลิแดง” ป้องกันโรคเบาหวานได้

กระแสเลิกกินแป้ง เลิกกิน (เม็ด) ข้าว ยังวนเวียนอยู่ในหมู่คนอยากผอม แต่อยากบอกว่า คิดผิด คิดใหม่ได้ เพราะข้าว คืออาหารมหัศจรรย์ของโลกนี้ เพราะจะมีอาหารใดที่นอกจากจะให้คาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายต้องนำไปใช้เป็น พลังงานในกิจวัตรประจำวันแล้ว ยังมีวิตามินและแร่ธาตุกว่า 20 ชนิด อาทิ

- วิตามินบีรวม ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการอ่อนเพลียแขนขาไม่มีแรง ปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนังบางชนิด บำรุงสมอง ทำให้เจริญอาหาร

- วิตาบินบี 1 มีมากในข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี หรือข้าวเสริมวิตามิน ช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้

- วิตามินบี 2 ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตาไม่สู้แสง

- ฟอสฟอรัส ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน

- แคลเซียม ช่วยลดอาการเป้นตะคริว

- ทองแดง ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด

- ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง และช่วยในการล้างเม็ดเลือด

- ไขมัน (ชนิดดี) ให้พลังงาน

- สารแกมมา ออริซานอล เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบสูงกว่าในวิตามินซีถึง 10 เท่า ช่วยชะลอความแก่

- ไฟเบอร์ ซึ่งน่าจะเป็นสารลดน้ำหนัก ช่วยในการขับถ่าย ท้องไม่ผูก ลดการเกิดมะเร็งลำไส้กับมีสารบางตัวที่ยับยั้งการดูดซึมไขมันและน้ำตาล

- สารไนอาซิน ซึ่งจำเป็นสำหรับผิวหนัง ลิ้น การทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ คนที่ขาดไนอาซินจะมีอาการความจำเสื่อม ผิวหนังหยาบอักเสบแดงง่าย

- สารโปรตีน ช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึก

ไม่เพียงเท่านี้ในฐานะผู้อำนวยการองค์กรความหลากหลายทางชีวิภาพและภูมิปัญญา ไทยหรือไบโอไทย อย่างคุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ซึ่งอีกหมวดหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้จัดการแผนงานฐานทรัพยากรอาหาร ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ด้วย ยืนยันว่า คุณประโยชน์ของข้าวไม่หมดเพียงเท่านี้

แต่เมื่อนำพันธุ์ข้าวพื้นบ้านทั่วประเทศไทยมาทดสอบคุณค่าทางโภชนาการกับ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า ข้าวมีสรรพคุณมากมายตามข้างต้นแล้ว ยังพบว่าข้าวพื้นบ้านที่ถือว่าเป็นที่สุดคือ ข้าวหน่วยเขือ ซึ่งเป็นข้าวพื้นบ้านของภาคใต้ ที่มีวิตามินอี สูงกว่าข้าวทั่วไปถึง 22 เท่า รวมถึงธาตุเหล็กก็สูงกว่าด้วยเช่นกัน

รองลงมาคือ ข้าวหอมมะลิแดง ที่พบว่ามีคุณค่าทางโภชนาการล้นเหลือแล้ว ยังสามารถป้องกันโรคเบาหวานระยะ 2 ได้ด้วย เพราะจากการทดสอบการย่อยสลายตัวจากคาร์โบไฮเดรตมาเป็นกลูโคส จะใช้เวลานานกว่าข้าวทั่วไป ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมกลูโคสในปริมาณมากเกินไป ซึ่งมีสรรพคุณในการป้องกันโรคเบาหวานได้

องค์ความรู้ดีๆ อย่างนี้ คุณวิฑูรย์แนะนำว่า มีแสดงในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ 3-7 ก.ย.นี้ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยเจ้าภาพคือ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับองค์กรภาคีมากมาย รวมถึงสสส.ร่วมกันจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 5 ภายใต้แนวคิด "ข้าวไทย ชีวิตไทย ชีวิตโลก" แสดงคุณค่าข้าวกับสังคมไทยในมิติของโภชนาการ มิติของยา มิติด้านสังคม วัฒนธรรธ ประเพณี แลมิติของผลิตภัณฑ์คุณภาพ ถือเป็นเวทีใหญ่ของสมุนไพรจากทั่วแผ่นดิน โดยสื่อให้สังคมได้เห็นคุณค่าของข้าว ที่ให้คุณประโยชน์นานัปการสำหรับชีวิตคนไทย และคนทั่วโลก ถือได้ว่าปีนี้เป็นการรวบรวมเนื้อหาสาระเกี่ยวกับข้าวและสมุนไพรไทยมากเป็น ประวัติการณ์

ทั้งนิทรรศการมีชีวิตถ่ายทอดวัฒนธรรมความผูกพันระหว่างข้าวกับคนถ่ายทอด 108 สายพันธุ์ข้าวขึ้นชื่อ มีการนำเสนอภูมิปัญญาและตระเวณถิ่นกินขนม 4 ภาค กับถ่ายทอดความรู้ในโครงการอบรมระยะสั้น 23 หลักสูตร 51 ห้องเรียนแจกฟรีพันธุ์ข้าวปทุมเทพ ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวคัดพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปมีการสาธิตการผลิตและจำหน่ายให้ได้นำไปใช้กัน อาทิ ข้าวสมุนไพรกันมอดจากข้าวสาร สบู่รำข้าว อาหารพื้นบ้านที่ทำจากข้าว อยางขนมขี้มอด ข้าวหมาก หรือผลิตภัณฑ์เสริมความงามจากข้าว อาทิ รำข้าวเพื่อบำรุงผิวหน้า ผิวกาย แชมพูจากน้ำซาวข้าว ครีมพอกหน้าจากรำข้าว สบู่รำข้าวสบู่ข้าวกล้องและสบู่จากน้ำมันรำข้าว แชมพูสระผมน้ำมันรำข้าว โลชั่นทาผิวหน้าน้ำมันรำข้าว ลูกประคบ ข้าวสำหรับสปา ฯลฯ

ไม่เพียงแต่ข้าวเท่านั้น ยังมีการนำเสนอเกี่ยวสมุนไพร จะมีกิจกรรมเกี่ยวกับนวัตกรรมแพทย์แผนไทย นวัตกรรมสมุนไพรไทย การประกวดสุมนไพรหายาก การประกวดสแน็คไทย ม็อคเทลสวนสมุนไพร ที่แสดงสุมนไพรประเภทต่างๆ เช่นพรรณไม้ยืนต้น พรรณไม้พุ่ม พรรณไม้เล็กที่เป็นสมุนไพร และสวนป่าสมุนไพรวิรีรุกขชาติ นอกจากนี้ยังนำเสนอสมุนไพรท้องนา ที่พบเห็นได้ตามทุ่งนา ที่ชาวบ้านเอาใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมไปถึงการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพร และฝ่ายวิชาการก็มีการประชุมวิชาการ ในหัวข้อ "การขับเคลื่อน แผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพไทย พ.ศ.2550-2554 สู่การปฏิบัติ" เพื่อเป็นการระดมแนวคิดจากทุกภาคส่วน ในการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ และร่วมกันปฏิบัติงาน ในการพัฒนาภูมิปัญญาไทย ที่เกี่ยวข้องกับข้าวและสมุนไพร

งานดีๆ อย่างนี้ ไม่ควรพลาด เมื่อกลับจากงานได้องค์ความรู้เกี่ยวกับมหัศจรรย์ข้าวแล้ว ก็อย่าลืมทานข้าว เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและเป็นการสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยให้สืบไป ด้วย


เรื่องโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต


วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

สกัด “ติ้ว” พืชผักสมุนไพรทำสารกันหืนได้ผลดี ราคาถูก ลดต้นทุนการนำเข้า

กลิ่นเหม็นหืนหรือที่เรียกว่า ปฏิกิริยาออกวิเดนชั่น มีความสำคัญมากในอุตสาหกรรมอาหารซึ่งเกิดขึ้นได้ในผลิตภัณฑ์อาหารระหว่างการ เก็บวัตถุดิบ การแปรรูป การให้ความร้อนและในช่วงการเก็บของผลิตภัณฑ์ซึ่งส่วนใหญ่นำไปสู่การไม่ยอม รับการเหม็นหืนของอาหาร ไม่เพียงแต่ทำให้อาหารเสื่อมเสียแต่ยังก่อให้เกิดสารพิษ (toxic byproducts) รวมทั้งปฏิกิริยาการเสื่อมเสียอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้เราจำเป็นต้องใช้สารกันหืน (antioxidants) เพื่อ ยืดอายุการเก็บขงอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ แต่เนื่องจากผู้บริโภคยอมรับสารหันหืนที่ได้จากธรรมชาติ เช่น เมล็ดองุ่น เครื่องเทศ และวิตามินอีที่มีราคาสูงมากกว่าสารที่ได้จากการสังเคราะห์ซึ่งมีราคา ถูกกว่า ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วพืชผักผลไม้ที่มีอยู่ในประเทศไทยนั้นมีศักยภาพในการ นำมาสกัดเป็นสารกันหืนได้ อีกทั้งหาซื้อง่ายราคาถูก นอกจากนี้ยังมีการใช้สมุนไพรในการปรุงอาหารอีกเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่มีการศึกษาว่าสารประกอบใดที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งทำหน้าที่ เป็นสารกันหืนที่มีอยู่ในพืชสมุนไพรเป็นสารประกอบประเภทใดบ้าง

นางพิชญ์อร ไหมสุทธิสกุล นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ศึกษาและวิจัย การประเมินศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีนอลิกในพืชพื้นเมืองของไทยบางชนิดเพื่อใช้เป็นสารกันหืนในอาหาร โดยมี รศ.ดร. รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต อาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สวก.) เป็นที่มาของการวิจัย ติ้ว มาสกัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระยับยั้งการหืน

นางพิชญ์อร กล่าวว่า จากการศึกษาหาสารต้านกันหืน หรือที่เรียกว่า ฟีนอลิก แบ่งเป็น3 กลุ่ม กลุ่ม 1 คือผลไม้ เช่น เมล็ด กลุ่ม 2 คือ สมุนไพรและผักกินได้ เช่น ใบของพืชที่มีรสฝาด กลุ่ม 3 คือผักเคี้ยวเล่น เช่น หมาก พลู สีเสียด พบว่า สารต้านการหืนที่สกัดได้พบมากในส่วนของเมล็ดจากพืชที่ศึกษา โดยเฉพาะในกลุ่มที่ใช้ในการผลิตไวน์ เช่น ลูกหว้า มะเม่า มะเกี๋ยง นอกจากนี้ในพืชสมุนไพรที่เป็นใบอ่อนพบว่า กระถิน ติ้ว และกระโดนบก ให้สารที่มีความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ดี ส่วนกลุ่มของหมากจะมีปริมาณฟีนอลิกสูงมาก แต่มีรายงานวิจับพบว่า พืชบางชนิดในกลุ่มนี้มีสารก่อมะเร็ง จึงตัดกลุ่มนี้ทิ้งไป ส่วนกลุ่มที่มีเมล็ดมีข้อจำกัดที่ต้องทดสอบความเป็นพิษก่อน จึงหันมาศึกษาในกลุ่มสมุนไพรและผักกินได้คือ ติ้ว กระโดนบก และกระถิน ซึ่งหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป

นางพิชญ์อรกล่าวถึงขั้นตอนในการสกัดติ้วว่า ติ้ว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า CratoxylumDyer และ ชื่อพื้นเมืองว่า ติ้วขน, ติ้วแดง, แต้วหิน, ตาว หรือติ้วขาว นำผักติ้วมาทำการหั่น บดให้ละเอียด และใส่สารเอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดรับประทานได้มาผสม หลังจากนั้นทำการเขย่าในที่มืดใช้เวลา 4.5 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จากนั้นนำมาระเหยเอสารตัวทำละลายออก และทำให้แห้งโดยใช้การทำที่เรียกว่า freezedried จึงพบว่าสารฟีนอลิกหลักที่พบใน ติ้ว คือคอลาจินิกแอซิด เมื่อนำไปทดสอบเปรียบเทียบการกันหืนในข้าวอบกรอบระหว่างวิตามินอีซึ่งเป็น สารกันหืนธรรมชาติชนิดหนึ่งกับสารสกัดจากติ้ว พบว่า สารสกัดจากติ้วสามารถยังยั้งการหืนได้ดีกว่าวิตามินอี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากติ้วแสดงความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เป็นสารในการต้านอนุมูลอิสระใน อุตสาหกรรมอาหาร

นอก จากนี้ยังพบว่าประเทศไทยยังมีพืชอีกมากมายที่มีศักยภาพในการนำมาสกัดสารต้าน อนุมูลอิสระ ซึ่งหากเราสามารถพัฒนาพืชของเราได้ ในอนาคตเราก็ไม่จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งราคาของสารที่เราสกัดได้เองนี้สามารถแข่งขันกับสารสกัดพืชทางการค้าที่ มีขายในท้องตลาดได้จากการวิจัยในครั้งนี้ได้ต่อยอดไปถึงการนำผิวเปลือกมะขาม เม็ดมะเกี๋ยง มาทำการวิจัยหาสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนการนำเข้า และยังเพิ่มมูลค่าให้สินค้าไทยได้อีกด้วย นางพิชญ์อร กล่าว.


ที่มา :

ทิศทางเกษตร. เดลินิวส์. ฉบับที่ 20,775 วันพุธที่ 30 สิงหาคม 2549 หน้า 10.

http://www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=1510


วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกมะลิ

มะลิเป็นไม้ดอกสีขาวที่มีกลิ่นหอม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย
นอกจากการใช้ประโยชน์จากดอกมะลิแล้ว ส่วนต่าง ๆ ของมะลิก็ยังนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้ เช่นดอกสด ดอกแห้ง ใบสด ต้น ราก

ประโยชน์
มะลินอกจากจะเก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างเช่น

มะลิซ้อน ดอกสด ใช้รักษาโรคตาเจ็บ แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัด


ดอกแห้ง ใช้ปรุงเป็นสารแต่งกลิ่น


ใบสด นำมาตำให้ละเอียดจะช่วยรักษาแผลพุพองและแผลฝีดาษ


ต้น ใช้รักษาโรคคุดทะราด ขับเสมหะและโลหิต


ราก นำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้อง

มะลิวัลย์ ราก ใช้เป็นยาถอนพิษต่าง ๆ ได้
จากการที่มีการนำมะลิมาใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน จึงทำให้มะลิเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางการค้ามากขึ้น พื้นที่ปลูกที่สำคัญของไทย ได้แก่ จังหวัดนครปฐม นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำพูน หนองคาย และสมุทรสาคร การจำหน่ายมะลิจะมีทั้งในและต่างประเทศ โดยตลาดต่างประเทศจะมีการส่งออกในรูปของพวงมาลัย ดอกมะลิสดและต้นมะลิ


ลักษณะทั่วไป

มะลิมีลักษณะต้นเป็นไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และไม้รอเลื้อย มีทั้งชนิดใบเดี่ยวและใบรวม การจัดเรียงตัวของใบมีทั้งแบบใบอยู่ตรงข้ามกัน ใบแบบสลับกัน ดอกมีสีขาว กลีบดอกมีทั้งชั้นเดียวและหลายชั้น เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อ ดอกจะออกจากยอดหรือข้างกิ่ง ส่วนมากมีกลีบเลี้ยง 4-9 กลีบ กลีบดอกมี 4-9 กลีบ โดยปกติดอกจะเริ่มบานในเวลาบ่าย และร่วงในวันรุ่งขึ้น มะลิจะให้ดอกมากในฤดูร้อนและฤดูฝน ผลผลิตจะลดต่ำลงในฤดูหนาว ฉะนั้นในช่วงนี้ดอกมะลิจะมีราคาแพง
พันธุ์
มะลิโดยทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเป็นการค้า ได้แก่ มะลิลา ซึ่งมีลักษณะเป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ตรงกันข้าม ใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสีขาว ช่อละ 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน มีกลิ่นหอม มะลิลาที่เป็นพันธุ์ส่งเสริมได้แก่
พันธุ์แม่กลอง
พันธุ์ราษฎร์บูรณะ
พันธุ์ชุมพร

ลักษณะ

พันธุ์แม่กลอง
พันธุ์ราษฎร์บูรณะ
พันธุ์ชุมพร
ทรงต้น
ทรงพุ่มใหญ่ หนาและทึบ
เจริญเติบโตเร็ว
ทรงพุ่มเล็กกว่า และค่อนข้างทึบ คล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ
แต่ทรงพุ่มโปร่งกว่าเล็กน้อย
ใบ
ใหญ่หนา สีเขียวเข้มจนออกดำ
รูปใบค่อนข้างกลม ปลายใบมน
ใบเล็กกว่า สีเขียวเข้ม รูปใบเรียว ใบคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ
แต่เรียวกว่า สีอ่อนกว่าและบางกว่า
ช่วงข้อใบ
ห่าง ค่อนข้างถี่ ถี่
ดอก
ใหญ่ กลม เล็ก เรียวแหลม คล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ
ช่อดอก
มักมี 1 ชุด
ชุดละ 3 ดอก
มักมี 1-2 ชุด
ชุดละ 3 ดอก
มักมีมากกว่า 2 ชุด
ชุดละ 3 ดอก
ผลผลิต
ดอกไม่ดก ดอกดก ทะยอยให้ดอก ดอกดกมาก
แต่ทิ้งระยะห่างเป็นช่วง ๆ
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ ที่นิยมทำกันมากที่สุด คือ
การปักชำ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เตรียมวัสดุเพาะชำ โดยใช้ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 บรรจุในตะกร้าพลาสติกที่เตรียมไว้ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
2. การเตรียมกิ่งพันธุ์ กิ่งที่ใช้จะเป็นกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ตัดให้มีความยาวของกิ่งประมาณ 4 นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย 3 ข้อ การตัดกิ่งควรจะตัดให้ชิดข้อ ริดใบส่วนล่างออกให้เหลือใบคู่บนสุด 1 คู่ ตัดใบออกให้เหลือเพียง 1/2 ใบ เพื่อลดการคายน้ำ ถ้าต้องการเร่งรากควรนำกิ่งมะลิไปจุ่มในฮอร์โมน IBA [Indole Butyric Acid] และ NAA [Naphthalene Acetic Acid] ในอัตราส่วน 1:1 ความเข้มข้น 4,500 ppm
3. นำกิ่งมะลิที่เตรียมไว้ปักชำลงในภาชนะเพาะ โดยปักเรียงเป็นแถว ให้มีระยะห่างระหว่างแถวและกิ่ง 2 x 2 นิ้ว จากนั้นรดน้ำและสารกันรา เช่น แคปแทน และสารเคมีกำจัดแมลง เช่น เซฟวิน
4. รักษาความชื้นให้เหมาะสมและคงที่ โดยนำเอาภาชนะเพาะชำ (ตะกร้าพลาสติก) ไปวางไว้ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ มัดปากถุงให้แน่น (มัดให้สูง) นำไปผูกไว้ที่กิ่งหรือท่อนไม้ เพื่อไม่ให้ปากถุงกดทับกิ่งชำ แล้วนำไปวางไว้ในที่ร่ม ถ้าเป็นมะลิลากิ่งปักชำจะออกรากภายใน 3 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นมะลิซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
5. หลังจากกิ่งปักชำออกรากแล้วให้นำไปเลี้ยงต่อในถุงขนาด 2x3 นิ้ว โดยใส่ดิน, ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอก อัตรา 3:1:1 จนต้นมะลิแข็งแรงดีแล้ว จึงนำไปปลูกต่อไป
ในกรณีที่ต้องการขยายพันธุ์เพื่อเป็นการค้า ให้ปักชำในกระบะปักชำที่สร้างไว้ในที่ร่ม เช่น ในเรือนเพาะชำ ขนาดของกระบะอาจจะใช้ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 80 เซนติเมตร หรือขนาดอื่นก็ได้ตามความเหมาะสม ใช้ขี้เถ้าแกลบเก่า ๆ เป็นวัสดุปักขำ โดยใส่ลงในกระบะประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่างของกิ่งที่ใช้ปักชำประมาณ 2 นิ้ว และระยะระหว่างแถวประมาณ 2 นิ้ว เมื่อชำเสร็จแล้วให้ใช้พลาสติกใสปิดกระบะให้มิดชิด ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ กิ่งมะลิจะออกรากประมาณ 90% ของมะลิทั้งหมด
เมื่อมะลิออกรากแล้ว ให้สังเกตดูความสมบูรณ์ของรากก่อนที่จะย้ายลงปลูกในถุงพลาสติกหรือในแปลง การปักชำวิธีนี้จะได้จำนวนต้นครั้งละมาก ๆ และเปอร์เซ็นต์การออกรากสูง แต่มีข้อควรระวังคือ การปักชำในกระบะซ้ำ ๆ กันหลายครั้งอาจเกิดโรคราขึ้นได้ ดังนั้นควรใช้สารเคมีป้องกันราราด หรือฉีดพ่นลงในกระบะขณะปักชำด้วย

การปลูก
ควรจะปลูกให้มะลิได้รับแสงแดดเต็มที่ เพื่อดอกจะได้ดกตามต้องการ

นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม
มะลิชอบดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์
หากจะปลูกมะลิให้มีอายุยืนยาว ควรขุดหลุมลึก กว้าง และยาวด้านละ 50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุหรือปุ๋ยหมัก และวัสดุอื่น ๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 พร้อมกับเติมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) และปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 อย่างละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่กลับลงไปในหลุมใหม่ ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงนำเอาต้นมะลิที่ซื้อมา หรือได้จากการปักชำลงปลูก
การดูแลรักษา
1. การกำจัดวัชพืช ปกติชาวสวนนิยมใช้กรัมม๊อกโซนฉีดตามร่องปลูกทุกเดือน โดยไม่ให้โดนต้นมะลิ
2. การใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราการใส่ปุ๋ยขึ้นอยู่กับขนาดของทรงพุ่ม ใส่เดือนละครั้ง โดยการหว่านและรดน้ำตามด้วย
3. การตัดแต่ง หลังจากปลูกมะลิไปนาน ๆ แล้วมะลิจะแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ควรตัดแต่ทรงพุ่มให้โปร่ง รวมทั้งตัดกิ่งที่แห้งและตายออกด้วย จะช่วยให้มะลิมีทรงพุ่มสวยงาม โรคและแมลงลดน้อยลง มะลิมีอายุยืนยาวขึ้น ให้ดอกมากขึ้น พร้อมทั้ง จะช่วยให้เกษตรกรมีความสะดวกในการปฏิบัติงานอีกด้วย
4. การให้น้ำ มะลิจะต้องการน้ำพอสมควร หากดินยังแฉะอยู่ไม่ควรรดน้ำ ควรรอจนกว่าดินจะแห้งหมาด ๆ เสียก่อน ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้งหรืออาทิตย์ละครั้งก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน โดยให้รดน้ำในตอนเช้า แต่ระวังอย่าให้น้ำท่วม หรือมีน้ำขังอยู่ในแปลงนาน ๆ เพราะจะทำให้ต้นมะลิแคระแกร็น ใบเหลือง และตายได้
โรคที่สำคัญ
1. โรครากเน่า
เกิดจากเชื้อรา จัดได้ว่าเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง จะเกิดกับมะลิที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการใบเหลือง เหี่ยวและทิ้งใบต้นแห้งตาย เมื่อขุดดูจะพบว่ารากเน่าเปื่อย และที่โคนต้นจะพบเส้นใยสีขาว มักระบาดในสภาพดินที่เป็นกรด และพื้นที่ที่ปลูกซ้ำเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
- เมื่อพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนเผาไฟทำลายเสีย รวมทั้งเผาดินในหลุมด้วย แล้วใช้ปูนขาว หรือเทอราคลอผสมน้ำราดลงดิน
- ถ้าระบาดทั่วสวน ให้เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นๆ ก่อนประมาณ 4-5 ปี
- ถ้าต้องการปลูกซ้ำที่เดิม ก็ควรมีการปรับดินด้วยการใส่ปูนขาวและปุ๋ยคอก
2. โรคแอนแทรกโนส
เกิดจากเชื้อรา โดยจะเริ่มมีจุดสีน้ำตาลอ่อนบนใบ และขยายลุกลามออกไป ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแก่เห็นได้ชัด แผลที่ขยายออกไปมีลักษณะเป็นรอยวงกลมซ้อนกัน เนื้อเยื่อขอบแผลแห้งกรอบ เวลาอากาศชื้น ๆ บริเวณตรงกลางจะพบสปอร์เกิดเป็นหยดสีส้มอ่อน ๆ ขนาดแผลขยายใหญ่ไม่มีขอบเขตกำจัด จนดูเหมือนโรคใบแห้ง เชื้อราชนิดนี้แพร่ระบาดได้โดยปลิวไปกับลมหรือถูกฝนชะล้าง
การป้องกันกำจัด
ทำได้โดยการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดเทนเอ็ม 45

3. โรครากปม
เกิดจากไส้เดือนฝอย โรคนี้จะพบได้เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น คือใบจะมีสีเหลืองด่าง ๆ ทั่วทั้งใบ คล้ายกับอาการขาดธาตุอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากไส้เดือนฝอยจะไปอุดท่อน้ำท่ออาหารไว้ เมื่อถอนต้นดูจะพบว่ามีรากปมเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเฉือนปมนี้ออกดูจะพบถุงสีขาวเล็ก ๆ ขนาดเมล็ดผักกาดฝังอยู่
การป้องกันกำจัด
- ปลูกมะลิหมุนเวียนสลับกับพืชชนิดอื่น ๆ
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น
- ขุดต้นที่เป็นโรคนี้เผาไฟทำลายเสีย
- ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด เช่น ฟูราดาน ไวย์เดท-แอล

แมลงศัตรูที่สำคัญ
1. หนอนเจาะดอก
ลำตัวมีขนาดเล็ก สีเขียว ปากหรือหัวดำ ระบาดมากในฤดูฝน ทำให้ดอกเสียหายมาก โดยการเจาะกัดกินดอก ทำให้ดอกเป็นรูและผิดรูปร่าง เมื่อหนอนดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกจะทำให้กลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมม่วง จะพบการทำลายของหนอนเจาะดอกนี้มากกว่าแมลงตัวอื่น ๆ หากป้องกันกำจัดไม่ทันจะเกิดความเสียหายมาก
การป้องกันกำจัด
1. เก็บเศษพืชที่หล่นบริเวณโคนต้นเผาทำลาย เพื่อป้องกันดักแด้ของหนอนเจาะดอก
2. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัด เช่น แลนเนท
3. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของตัวแก่ได้
4. การใช้กับดักแสงไฟ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดการทำลายของหนอนเจาะดอกมะลิ และช่วยลดปริมาณการพ่นสารเคมีอีกด้วย

กับดักแสงไฟที่นิยมใช้มี 3 ชนิด คือ
- หลอดไฟนีออน [Fluorescent] เป็นหลอดทั่วไปที่ใช้ในบ้านเรือน นิยมใช้ติดตั้งเพื่อจับแมลง เพราะหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพงนัก
- หลอดไฟแสงสีม่วง [Black light] เป็นหลอดสีดำให้แสงสีม่วง มีประสิทธิภาพในการล่อแมลงดีกว่าหลอดไฟนีออน แต่หาซื้อยาก เนื่องจากราคาแพง และเป็นอันตรายต่อเยื่อบุนัยน์ตา
- หลอดไฟแสงสีฟ้า [Blue light) เป็นหลอดสีขาวเหมือนหลอดไฟนีออนให้แสงสีฟ้า นิยมใช้ล่อจับแมลงเช่นเดียวกับหลอดสีม่วงแต่ราคาถูกกว่า
จากการศึกษาของ นางพิสมัย ชวลิตวงษ์พร นักกีฏวิทยา กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร โดยการติดตั้งการดักแสงไฟสีฟ้าและสีม่วงพบว่า ให้ผลที่พอ ๆ กัน ฉะนั้น เราจึงควรเลือกใช้แสงสีฟ้าเพราะมีราคาถูก และการติดตั้งแสงสีฟ้าที่ความสูง 50 เซนติเมตร เหนือต้นมะลิจะช่วยให้จับตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูมะลิได้หลายชนิด ทำให้ดอกมะลิถูกแมลงทำลายได้น้อยกว่าแปลงที่พ่นสารเคมี

2. หนอนกินใบ
มักระบาดในฤดูฝน จะทำลายใบมะลิโดยพับใบเข้าด้วยกัน แล้วซ่อนตัวอยู่ในนั้น และกัดกินทำลายใบ

การป้องกันกำจัด
1. เก็บหนอนหรือดักแด้ทำลายเสีย
2. ใช้สารเคมีประเภทโมโนโครโตฟอส เช่น อโซดริน อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือวิมลอร์ด 25% อีซี อัตรา 8-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 4-6 วัน เมื่อมีการระบาด

3. หนอนเจาะลำต้น
หนอนจะเจาะตรงบริเวณโคนต้น ทำให้ต้นแห้งตาย อาการเริ่มแรกจะพบต้นมีใบเหลืองและหลุดร่วง ตรงบริเวณโคนต้น จะมีขุยไม้ที่เกิดจากการกัดกินของหนอนกองอยู่เห็นได้ชัด
การป้องกันกำจัด
- ถอนต้นที่ถูกทำลายเผาไฟทิ้งเสีย
- ใช้สารเคมีพวกไตโครวอส เช่น เดนคอล อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดเข้าไปในรูที่หนอนเจาะ แล้วเอาดินเหนียวอุดรูให้มิด

4. เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ทำให้ส่วนที่ถูกทำลายหงิกงอ แคระแกร็น เสียรูปร่าง
การป้องกันกำจัด
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัด เช่น พอสซ์ คูมูลัส

กลยุทธ

เนื่องจากในฤดูหนาว มะลิจะออกดอกน้อย แต่ตลาดมีความต้องการในปริมาณที่สูง จึงทำให้มะลิมีราคา แพงกว่าปกติ ดังนั้นหากเกษตรกรสามารถทำให้มะลิออกดอกในฤดูหนาวได้ ก็จะทำให้มีรายได้ดีจากการปลูกมะลิ ปัจจัย สำคัญที่ทำให้มะลิออกดอกในฤดูหนาวมี 2 ข้อดังนี้

1. ตัดแต่งกิ่ง
โดยทำการตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งที่เป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ และ กิ่งเลื้อย ซึ่งวิธีการตัดแต่งกิ่งมี 2 วิธี คือ
- แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นยาว โดยตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อยให้เหลือกิ่งสมบูรณ์ไว้กับต้นมาก ๆ การตัดแต่งกิ่งวิธีนี้เหมาะกับมะลิที่มีอายุน้อย
- แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นสั้น โดยตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียง 3-4 กิ่ง แต่ละกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 ฟุต การตัดแต่งกิ่งวิธีนี้ใช้กับมะลิอายุ 2 ปีขึ้นไป

มะลิมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่เก็บดอก จนถึงตากิ่งเจริญให้ดอกใหม่อีกครั้งประมาณ 6 สัปดาห์ ดังนั้น ถ้าเกษตรกรต้องการให้มะลิออกดอกในเดือนใด ก็ต้องนับย้อนเวลาตัดแต่งกิ่งถอยหลังไป 6 สัปดาห์ และถ้าต้องการให้แปลงมะลิทุกแปลงออกดอกพร้อมกันหมด เวลาตัดแต่งกิ่งก็ตัดให้หมดทุกแปลงเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเมื่อต้องการให้มะลิออกดอกในฤดูหนาว ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่งคือ ช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน

2. การบำรุงรักษาต้นและดอก พยาบาล
2.1 การบำรุงต้น เมื่อตัดแต่งกิ่งมะลิแล้ว จำเป็นมากที่ผู้ปลูกจะต้องบำรุงต้นมะลิให้สมบูรณ์ โดยการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกใส่ได้ไม่จำกัด ส่วนปุ๋ยเคมีใส่เดือนละครั้ง สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือสูตร 15-1 5-15 ใช้ในอัตรา 1-2 ช้อนแกง/ต้น
2.2 การบำรุงดอกในฤดูหนาว นอกจากมะลิจะออกดอกน้อยแล้ว ยังมีขนาดเล็กอีกด้วย ดังนั้น จึงควรให้ปุ๋ยทางใบที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 10-45-10 ฉีดพ่นหลังใบ ในอัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นทุก 10 วัน แนะนำให้ใช้ในฤดูหนาวเท่านั้น สำหรับฤดูอื่นไม่แนะนำให้ใช้ปุ๋ยทางใบ เนื่องจากมะลิมีราคาไม่สูงซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุน

การใช้สารไทโอยูเรียเร่งการออกดอกในฤดูหนาว
สารไทโอยูเรียมีผลต่อการชักนำให้มะลิออกดอก จากการวิจัยเกี่ยวกับการบังคับให้มะลิ ออกดอกในฤดูหนาวได้นั้นพบว่า สารไทโอยูเรียเป็นสารที่มีผลทำลายการพักตัวของมะลิ และเร่งการออกดอกของมะลิ ในฤดูหนาวได้เป็นผลสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1. ตัดแต่งกิ่งมะลิในเดือนกันยายน
2. ให้ปุ๋ยและน้ำเพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ โดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กรัมต่อต้นในเดือนกันยายนและตุลาคม
3. พ่นสารไทโอยูเรีย 1% (ไทโอยูเรีย 200 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร) ในเดือนพฤศจิกายน
มะลิจะออกดอกหลังจากพ่นสารไทโอยูเรียแล้วประมาณ 20 วัน และเก็บดอกต่อเนื่องไปอีก 1 เดือน นอกจากนี้ยังพบอีกว่า การให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงร่วมกับการพ่นสารไทโอยูเรีย ก็จะมีผลต่อการเพิ่มปริมาณดอกได้ดีขึ้นอีก
จากการปฏิบัติดังกล่าว เราสามารถบังคับมะลิให้มะลิออกดอกในช่วงที่ต้องการได้คือ ในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ซึ่ง เป็นช่วงฤดูหนาวดอกมะลิมีราคาแพง
การปลูกมะลิการมุ้ง

เป็นวิธีการปฏิบัติ เพื่อลดต้นทุนทางด้านการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดแมลง และรักษาสภาพแวดล้อม โดยใช้ตาข่ายคลุมแปลงมะลิ จะคลุมเฉพาะช่วงกลางคืนเท่านั้น เพื่อป้องกันการวางไข่ของหนอนผีเสื้อกลางคืน ซึ่งเป็นหนอนกัดกินดอกมะลิ สาเหตุที่ไม่คลุมช่วงกลางวันก็เพราะว่า มะลิต้องการแสงแดดจัดเพื่อการออกดอก ถ้ามะลิได้รับแสงน้อยมะลิจะให้ดอกไม่ดก การปฏิบัติเช่นนี้ จะเพิ่มต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายแรงงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องใช้แรงงานในการเปิด - ปิดตาข่าย แต่เมื่อเทียบกับการใช้สารเคมีแล้ว ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นยังน้อยกว่าการใช้สารเคมี ดังนั้น วิธีนี้จึงเหมาะที่จะใช้กับแปลงมะลิมาก

การเก็บเกี่ยวดอกมะลิต้องเก็บขณะดอกตูม มีความเจริญเต็มที่ มีลักษณะสีขาวนวล วิธีเก็บให้ใช้มือเด็ดตรงก้านดอกใต้กลีบเลี้ยง เกษตรกรมักเก็บดอกตอนเช้ามืด ประมาณ 03.00-04.00 น. ทั้งนี้เพื่อจะส่งตลาดตอนเช้าตรู่

ราคาของดอกมะลิจะขึ้นอยู่กับฤดูกาล ในฤดูหนาวจะแพงมาก ราคาที่ปากคลองตลาด ในบางวันของบางปีจะมีราคาลิตรละ 600-700 บาท ส่วนฤดูร้อนและฤดูฝนราคาจะถูกเฉลี่ยประมาณ 30 บาท โดยปกติพบว่าผลผลิตเฉลี่ยมีดังนี้ อายุ 1 ปี ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,000 - 2,000 ลิตร/ไร่
อายุ 2 ปี ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3,000 - 4,000 ลิตร/ไร่
อายุ 3 ปี ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3,000 ลิตร/ไร่ และหลังจากนั้นแล้วผลผลิตจะเริ่มลดลงเรื่อย ๆ
ในการส่งออกดอกมะลิ มักจะพบปัญหาดอกช้ำเน่าเสียเมื่อถึงปลายทาง ดังนั้น การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวจนถึงบรรจุหีบห่อเพื่อส่งออกให้ดอกมะลิได้รับความเสียหายน้อยที่สุดนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
จากการทดลองของ ชณิฏฐ์ศิริ สุยสุวรรณ และบุญลือ กล้าหาญ ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยการเปรียบเทียบการลดอุณหภูมิของดอกมะลิด้วยการใช้ความเย็น โดยการใช้ความเย็นจากน้ำแข็งในกล่องโฟมและการใช้ความเย็นจากน้ำแข็งในถังสังกะสีพบว่า วิธีการลดอุณหภูมิโดยการใช้ความเย็นจากน้ำแข็งในกล่องโฟมช่วยรักษาความสดของดอกมะลิและเกิดความเสียหายหรือชอกช้ำน้อยที่สุด ซึ่งวิธีการดังกล่าว มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เก็บเกี่ยวดอกมะลิจากสวน
ขั้นตอนที่ 2 ลดอุณหภูมิของดอกมะลิด้วยความเย็น จากน้ำแข็งในกล่องโฟมที่ปูพื้นกล่องด้วยน้ำแข็งเกล็ด นำดอกมะลิบรรจุในถุงพลาสติกวางลงในกล่องและปูทับด้วยน้ำแข็งเกล็ด เก็บรักษาไว้ 3 ชั่วโมง
ขั้นตอนที่ 3 บรรจุดอกมะลิในถุงพลาสติกใหญ่ และนำส่งผู้ซื้อ
ขั้นตอนที่ 4 ลดอุณหภูมิดอกมะลด้วยน้ำเย็น อุณหภูมิประมาณ 23 องศาเซลเซียส จนดอกสดแข็ง
ขั้นตอนที่ 5 บรรจุ ดอกมะลิในถุงพลาสติกเล็ก ถุงละ 500 กรัม มัดปากถุงบรรจุในกล่องโฟม ซึ่งรองพื้นและปูทับด้วยน้ำแข็งเกล็ด เมื่อครบ 6 ชั่วโมง ให้เปลี่ยนเป็นบรรจุน้ำแข็งในถุงพลาสติก และใช้น้ำแข็งรองพื้นและปูทับถุงมะลิ เก็บรักษาไว้ 11 ชั่วโมง ก็นำมาวางผึ่งในที่ที่มีอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

ที่มา http://suphanburi.doae.go.th/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4.htm