วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

ปัจจัยการทำงานที่มีผลต่อความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวด


โดย ... ผศ.ดร.สมชาย ชวนอุดม
ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว : หน่วยงานร่วมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002

ข้าวเป็น พืชที่มีความสำคัญต่อทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของไทย การผลิตข้าวมีหลายขั้นตอน โดยการเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอนสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต ปริมาณการผลิต ข้าวที่มีอยู่เป็นจำนวนมากของประเทศไทย หากเกิดความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวจะส่งผลต่อความเสียหายทางเศรษฐกิจของ ประเทศอย่างมากทั้งในด้านปริมาณและมูลค่า ในปัจจุบันการใช้เครื่องเกี่ยวนวดกำลังได้รับความนิยมจากเกษตรกรอย่างแพร่ หลายและมีการใช้งานขยายไปทุกภูมิภาคของประเทศ ในบางพื้นที่ที่มีแปลงนาขนาดเล็กหรือมีต้นไม้มากไม่เหมาะแก่การใช้งาน เครื่องเกี่ยวนวด ก็ได้มีการรวมแปลงเพื่อให้เป็นแปลงมีขนาดใหญ่ขึ้นและ/หรือมีการตัดและขุด ต้นไม้ที่อยู่ในนาออก ทั้งนี้เพราะการใช้เครื่องเกี่ยวนวดช่วยให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายจากวิธีการ เก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน นอกจากนี้ยังเป็นการทำงานที่เบ็ดเสร็จไมยุ่งยาก รวดเร็ว และไม่ต้องจัดการอะไรภายหลังการเก็บเกี่ยวมากนัก สามารถนำข้าวไปจำหน่ายได้ทันที อีกทั้งเกษตรกรหลายรายมีอาชีพอื่นนอกจากการเพาะปลูกข้าวจึงจำเป็นต้องเร่ง รีบเก็บเกี่ยวเพื่อที่จะมีเวลาไปประกอบอาชีพนั้นๆ ผลพลอยได้อีกด้านหนึ่งจากการใช้เครื่องเกี่ยวนวดคือการมีโอกาสช่วยเพิ่ม เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวจากวิธีเก็บเกี่ยวโดยแรงงานคนอีกประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ (วินิต และคณะ, 2542: สมชาย, 2543) ทั้งนี้เพราะการเก็บเกี่ยวโดยแรงงานคนต้องมีการตากแผ่ฟ่อนข้าว ยิ่งตากนานเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวลดลงเนื่องจากความแตกต่างที่ค่อนข้างมากของสภาพ อากาศในเวลากลางวันและกลางคืนในฤดูเก็บเกี่ยวเกษตรกรนิยมขายข้าวทันทีภาย หลังการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องเกี่ยวนวดโรงสีที่รับซื้อจะต้องนำข้าวที่มี ความชื้นสูงไปอบลดความชื้น ซึ่งการอบลดความชื้นทำให้เมล็ดข้าวไม่ถูกกระทบกระเทือนมากเท่ากับจากการตาก แผ่ในแปลงนาส่งผลให้ได้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวที่สูงกว่าในปจัจุบันคาดว่ามี เครื่องเกี่ยวนวดข้าวใช้งานอยู่ภายในประเทศประมาณ 10,000 เครื่อง (วินิต, 2553) โดยเกือบทั้งหมดผลิตในประเทศไทย และใช้งานในลักษณะของการรับจ้างเกี่ยวนวดแบบเหมาจ่ายต่อหน่วยพื้นที่
เครื่องเกี่ยวนวดเป็นเครื่องที่มีระบบการทำงานทั้งเกี่ยว นวด และทำความสะอาดอยู่ในเครื่องเดียว ประเทศไทยพัฒนาเครื่องเกี่ยวนวดมาจากเครื่องของต่างประเทศ ชุดหัวเกี่ยวและระบบลำเลียงพัฒนามาจากเครื่องเกี่ยวนวดของประเทศทางแถบตะวัน ตก โดยนำชิ้นส่วนทั้งของเครื่องเกี่ยวนวด รถยนต์หรือเครื่องจักรกลต่าง ๆ มาดัดแปลง ส่วนชุดนวดและชุดทำความสะอาดดัดแปลงมาจากเครื่องนวดแบบไหลตามแกนของไทยซึ่ง เป็นการพัฒนาและปรับปรุงมาจากเครื่องนวดแบบไหลตามแกนของสถาบันวิจัยข้าวนานา ชาติ หรือ International Rice Research Institute (IRRI) ประเทศไทยได้พัฒนาและปรับปรุงเครื่องเกี่ยวนวดข้าว (ภาพที่ 1) จนเหมาะกับสภาพการทำงานในประเทศ
เครื่องเกี่ยวนวดข้าว
ภาพที่ 1 เครื่องเกี่ยวนวดที่พัฒนาขึ้นภายในประเทศ

สมรรถนะการทำงานของเครื่องเกี่ยวนวดข้าวเป็นสิ่งที่สำคัญโดยเฉพาะสมรรถนะ ด้านความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยว ในการทำงานของเครื่องเกี่ยวนวดข้าว ชุดการทำงานที่ส่งผลต่อความสูญเสียของผลผลิตแบ่งออกได้เป็น 3 ชุด คือ ชุดหัวเกี่ยว ชุดนวด และชุดทำความสะอาด ดังนั้นบทความนี้จึงนำเสนอถึงลักษณะการทำงานที่ส่งผลต่อความสูญเสียการเก็บ เกี่ยวของชุดการทำงานทั้งสาม

ปัจจัยที่มีผลต่อความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวด

เครื่องเกี่ยวนวดข้าวเป็นเครื่องที่มีระบบการทำงานทั้งเกี่ยวและ นวด รวมทั้งการทำความสะอาดอยู่ภายในเครื่องเดียว ชุดการทำงานหลัก ที่ทำให้เกิดความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวมี 3 ชุด ดังนี้
ชุดหัวเกี่ยว ในการทำงานประกอบด้วย ล้อโน้มทำหน้าที่เกาะต้นพืชที่ล้มและหรือโน้มต้นพืชที่ตั้งให้เข้ามาหาชุดใบ มีด ชุดใบมีดตัดต้นพืชและถูกล้อโน้โน้มส่งต่อเข้ามายังเกลียวลำเลียงหน้า เพื่อรวบรวมต้นพืชมายังส่วนกลางของชุดหัวเกี่ยวสำหรับส่งเข้าชุดคอลำเลียง เพื่อกวาดพาต้นพืชส่งต่อไปยังชุดนวด (ภาพที่ 2) จากลักษณะการทำงานดังกล่าว ปัจจัยเนื่องจากการทำงานของชุดหัวเกี่ยวที่สำคัญที่มีผลต่อความสูญเสียจาก การเกี่ยว มีดังนี้
ชุดหัวเกี่ยว
ภาพที่ 2 การทำงานของชุดหัวเกี่ยว

  • ดัชนีล้อโน้ม หรืออัตราส่วนความเร็วเชิงเส้นปลายซี่ล้อโน้มกับความเร็วขับเคลื่อนเป็น ปัจจัยการทำงานที่สำคัญ การเก็บเกี่ยวที่ใช้ดัชนีล้อโน้มต่ำเกินไปทำให้การกวักข้าวที่ถูกตัดแล้ว เข้ามายังชุดหัวเกี่ยวไม่ทันเกิดการร่วงหล่นก่อนถูกส่งเข้ามายังชุดหัว เกี่ยวและการทำงานที่ใช้ดัชนีล้อโน้มสูงเกินไปทำให้ล้อโน้มกวักตีข้าวมาก เกินไปทำให้ข้าวร่วงออกจากรวง จากการศึกษาของวินิต และคณะ (2547) พบว่าดัชนีล้อโน้มในช่วง 2.5 ถึง 4.5เหมาะสมกับการเก็บเกี่ยวข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ชัยนาท 1 ทั้งในสภาพข้าวต้นตั้งและต้นล้ม
  • ความเร็วของใบมีดตัด ในการเก็บเกี่ยว ต้นข้าวจะไม่ถูกตัดและถูกชุดใบมีดรูดรวงส่งผลต่อเมล็ดที่ร่วงหล่นเมื่อใช้ ความเร็วของใบมีดต่ำเกินไปแต่เมื่อใช้ความเร็วของใบมีดตัดสูงเกินไปจะทำให้ ชุดหัวเกี่ยวเกิดการสั่นสะเทือนสูงมีผลให้ต้นข้าวขณะที่ถูกตัดเกิดการสั่น สะเทือนส่งผลต่อการร่วงหล่นที่เพิ่มขึ้น
  • อายุการทำงานของใบมีดตัด ใบมีดที่มีอายุการทำงานมากจะมีความคมของใบมีดน้อยกว่าใบมีดที่มีอายุการทำ งานน้อย ความคมของใบมีดที่น้อยทำให้การตัดต้นข้าวไม่ดีนักบางครั้งทำให้เกิดการ รูดรวงส่งผลต่อความสูญเสีย
  • - ความชื้นของเมล็ด เมล็ดที่มีความชื้นสูงจะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเมล็ดกับรวงสูงกว่าเมล็ดที่ มีความชื้นต่ำ ทำให้ในขณะเก็บเกี่ยวแรงยึดเหนี่ยวนี้จึงมีผลต่อความสูญเสียจากการเกี่ยว
ชุดนวด เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการแยกเมล็ดให้หลุดจากฟางโดยการทำการฟาดตีของลูกนวด และหรือหมุนเหวี่ยงข้าวให้ฟาดตีกับตะแกรงนวดเพื่อแยกเมล็ดออกจากรวง ส่วนเมล็ดที่ถูกนวดแล้วถูกแยกออกจากชุดนวดโดยผ่านตะแกรงนวดที่ทำหน้าที่ใน การกรองฟางไม่ให้ไหลปนไปกับเมล็ด เมล็ดที่ผ่านตะแกรงนวดตกลงไปยังชุดทำความสะอาด ส่วนฟางถูกตีหมุน และถูกครีบวงเดือนบังคับให้ไหลตามแกนเพลาลูกนวดไปถูกขับทิ้งที่ช่องขับฟาง โดยลักษณะการทำงานของชุดนวดดังแสดงในภาพที่ 3 จากลักษณะการทำงานชุดนวดจึงเป็นส่วนที่สำคัญทั้งต่อคุณภาพและปริมาณของผล ผลิต ถ้าการนวดที่รุนแรงเกินไปจะทำให้เมล็ดแตกหักเสียหายมาก แต่ถ้าการนวดรุนแรงน้อยเกินไปก็จะทำให้มีเมล็ดบางส่วนไม่ถูกนวดและอาจทำให้ ความสูญเสียมีค่าสูง โดยปัจจัยเนื่องจากการทำงานของชุดนวดที่สำคัญที่มีผลต่อความสูญเสียจากชุด นวดมีดังนี้
ชุดนวด
ภาพที่ 3 หลักการทำงานของชุดนวดแบบไหลตามแกน ที่มา: Khan (1986)

  • ความเร็วลูกนวด ในการนวดข้าว ลูกนวดที่มีความเร็วสูงจะทำให้มีความรุนแรงในการนวดสูงทำให้เมล็ดหลุดออก จากรวงได้ดีกว่าลูกนวดที่มีความเร็วต่ำ นอกจากนี้ความเร็วที่สูงของลูกนวดทำให้มีแรงเหวี่ยงภายในชุดนวดสูงเช่นกัน ส่งให้เมล็ดที่ถูกนวดแล้วมีแรงเหวี่ยงสูงจึงถูกเหวี่ยงให้หลุดผ่านตะแกรงนวด ได้ดีกว่าลูกนวดที่มีความเร็วต่ำ แต่ความเร็วที่สูงส่งผลต่อปริมาณเมล็ดที่สูงเช่นกันเนื่องจากความรุนแรงใน การนวดที่มีค่าสูง
  • มุมครีบวงเดือนจากแนวเพลาลูกนวด ความเร็วในการไหลตามแกนของวัสดุในชุดนวดขึ้นอยู่กับมุมของครีบวงเดือน มุมครีบจากแนวเพลาลูกนวดที่มีค่าสูงทำให้วัสดุมีความเร็วในการไหลตามแกนได้ ช้ากว่ามุมครีบที่มีค่าต่ำ ความเร็วของวัสดุที่มีค่าต่ำทำให้วัสดุมีเวลาในการถูกนวดและคัดแยกเมล็ดออก จากฟางมากกว่าความเร็วที่มีค่าสูง ซึ่งมีผลโดยตรงต่อความสูญเสีย
  • อัตราการป้อน มีผลต่อความสูญเสียเนื่องจากการเพิ่มอัตราการป้อนเป็นการเพิ่มวัสดุเข้าไปใน ชุดนวดต่อหน่วยเวลาที่เท่ากันส่งผลให้ชุดนวด ทำการนวดและการคัดแยกเมล็ดออกจากฟางไม่ทันซึ่งมีผลต่อความสูญเสียจากชุดนวด ที่เพิ่มขึ้น
  • ความชื้นของเมล็ด มีผลต่อความสูญเสียจากชุดนวดเนื่องมาจากความชื้นของเมล็ดที่สูงทำให้มีความ เสียดทานระหว่างเมล็ดกับฟางสูง รวมทั้งมีแรงยึดระหว่างเมล็ดกับรวงที่สูงเช่นกัน ซึ่งส่งต่อการนวดและการคัดแยกเมล็ดออกจากฟางในชุดนวดทำได้ยากกว่าข้าวที่มี ความชื้นของเมล็ดต่ำ
  • อัตราส่วนเมล็ดต่อฟาง มีผลต่อความสูญเสียจากชุดนวดเนื่องมาจากอัตราส่วนเมล็ดต่อฟางที่เพิ่มขึ้น เป็นการลดปริมาณฟางที่เข้าไปนวดส่งผลให้ชุดนวด ทำการนวดและคัดแยกเมล็ดออกจากฟางได้ง่ายขึ้นซึ่งส่งผลต่อความสูญเสียที่ลดลง
จากการศึกษาของ สมชาย (2550) พบว่า สำหรับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ถ้าต้องการให้มีความสูญเสียจากชุดนวดไม่เกิน 1เปอร์เซ็นต์ ควรใช้ความเร็วลูกนวดไม่น้อยกว่า 18 เมตรต่อวินาทีและอัตราการป้อนไม่เกิน 14 ตันต่อชั่วโมง ส่วนมุมครีบวงเดือนจากแนวเพลาลูกนวดไม่น้อยกว่า 67 องศา เก็บเกี่ยวที่ความชื้นของเมล็ดไม่เกิน 23 เปอร์เซ็นต์ฐานเปียก และอัตราส่วนเมล็ดต่อฟางไม่น้อยกว่า 0.80 ส่วนข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ถ้าต้องการ ควรใช้ความเร็วลูกนวดไม่น้อยกว่า 18 เมตรต่อวินาที มุมครีบวงเดือนจากแนวเพลาลูกนวดไม่น้อยกว่า 67 องศา เก็บเกี่ยวข้าวที่ความชื้นของเมล็ดไม่เกิน 24 เปอร์เซ็นต์ฐานเปียก และใช้อัตราการป้อนไม่เกิน 10 ตันต่อชั่วโมง
ชุดทำความสะอาด ประกอบอุปกรณ์ที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ตะแกรงทำความสะอาด (ภาพที่ 4) ทำหน้าที่แยกเศษหรือท่อนฟางให้ออกจากเมล็ดที่ผ่านตะแกรงนวดลงมาหลังการนวด โดยการเขย่าไป-มา อุปกรณ์นี้ทำงานรวมกับชุดพัดลมที่อยู่ใต้ตะแกรงทำความสะอาด โดยชุดพัดลมเป่าเศษฝุ่น ข้าวลีบ เศษฟาง และสิ่งเจือปนอื่น ๆ ที่มีน้ำหนักเบากว่าเมล็ดข้าวเปลือกให้แยกจากเมล็ดออกไปท้ายเครื่องผ่านแผ่น กั้นท้ายตะแกรงทำความสะอาด ส่วนรวงที่ถูกนวดไม่หมดหรือท่อนฟางถูกเขย่าจนหลุดออกไปจากตะแกรงทำความสะอาด ลงสู่เกลียวลำเลียงเพื่อลำเลียงกลับไปนวดซ้ำ ส่วนเมล็ดที่ผ่านตะแกรงและพัดลมทำความสะอาดร่วงลงไปยังเกลียวลำเลียงผลผลิต เพื่อนำผลผลิตไปบรรจุกระสอบหรือถังเก็บเมล็ดต่อไป โดยปัจจัยเนื่องจากการทำงานของชุดนวดที่สำคัญที่มีผลต่อความสูญเสียจากชุด นวดมีดังนี้
Cleaning Unit
ภาพที่ 4 Cleaning unit ที่มา: พินัย และคณะ (2546)

  • ความลาดเอียงของตะแกรง ตะแกรงที่มีความลาดเอียงต่ำจะทำให้เมล็ดไหลผ่านตะแกรงเร็วเกินไปส่งผลให้ ความสูญเสียมีค่าเพิ่มขึ้น ส่วนตะแกรงที่มีความลาดเอียงสูงเกินไปทำให้พื้นที่ของรูตะแกรงในแนวดิ่งที่ เมล็ดจะสามารถลอดผ่านได้ลดลง ส่งผลให้เมล็ดลอดผ่านได้ยากขึ้นมีผลต่อความสูญเสียที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาของวินิต และคณะ (2546) พบว่าตะแกรงทำความสะอาดควรมีความลาดเอียงระหว่าง 8 ถึง 11 องศาจากแนวระดับ
  • ความเร็วของตะแกรง มีผลต่อความสูญเสียจากการทำความสะอาด เนื่องจากความเร็วของตะแกรงที่สูงทำให้เมล็ดไหลผ่านตะแกรงได้เร็วกว่าความ เร็วของตะแกรงที่ต่ำ ส่งผลให้เมล็ดลอดผ่านตะแกรงได้ไม่ทันและถูกขับทิ้ง โดยความเร็วของตะแกรงที่เหมาะสมควรใช้งานระหว่าง 0.58 ถึง 0.66 เมตรต่อวินาที (วินิต และคณะ, 2546)
  • ขนาดรูตะแกรง เมล็ดสามารถลอดผ่านรูตะแกรงที่มีขนาดใหญ่ได้ดีกว่ารูตะแกรงที่มีขนาดเล็ก แต่สิ่งเจือปนก็สามารถลอดผ่านได้ดีเช่นกัน เครื่องเกี่ยวนวดข้าวโดยทั่วไปนิยมใช้รูตะแกรงขนาด 16 ถึง 19 มิลลิเมตร
  • ความเร็วลมทำความสะอาด ความเร็วของลมสูงนอกจากจะพัดพาเอาสิ่งเจือปนออกได้ดีและทำให้ผลผลิตที่ได้มี ความสะอาดสูงแต่ก็สามารถพัดพาเอาเมล็ดออกมากเช่นกันเมื่อใช้ความเร็วลมสูงทำ ให้มีความสูญเสียจากการทำความสะอาดในระดับสูง จากการศึกษาของวินิต และคณะ (2541) ควรใช้ความเร็วลมทำความสะอาดระหว่าง 7.5 ถึง 8.3 เมตรต่อวินาที
  • ความชื้นของเมล็ด มีผลต่อความเสียดทาน และน้ำหนักของวัสดุ ความชื้นที่สูงทำให้มีความเสียดทานระหว่างเมล็ดและสิ่งเจือปนสูง รวมทั้งน้ำหนักของวัสดุมีผลทำให้ลมทำความสะอาดเป่าสิ่งเจือปนและเมล็ดออกได้ ยาก ส่งผลต่อความสูญเสียที่มีค่าต่ำ แต่ทำให้มีเปอร์เซ็นต์ความสะอาดมีค่าต่ำตามไปด้วย
  • อัตราการป้อน หรือปริมาณผลผลิตที่ถูกทำความสะอาดต่อหน่วยเวลาเมื่อมีค่าสูงทำให้การทำความ สะอาดไม่ทันเกิดมีเมล็ดล้นออกจากตะแกรงทำความสะอาด และปริมาณเมล็ดที่มากทำให้ไปอุดตันช่องที่ลมจะทำความสะอาดรวมกับตะแกรงส่งผล ให้ความแรงของลมลดลง ซึ่งมีผลต่อความสูญเสียที่ลดลงแต่ทำให้การกำจัดมีสิ่งเจือปนออกจากผลผลิตลด ลงตามไปด้วย
  • ความสูงของแผ่นกั้นท้ายตะแกรงทำความสะอาด อุปกรณ์นี้ทำหน้าที่ในการกั้นวัสดุที่ถูกเป่าออกท้ายตะแกรง แผ่นกั้นท้ายที่สูงจะทำหน้าที่ในการดักเมล็ดได้ดีกว่าแผ่นกั้นท้ายที่ต่ำส่ง ผลให้มีความสูญเสียจากการทำความสะอาดน้อยกว่า แต่สามารถดักสิ่งเจือปนที่จะถูกเป่าออกได้เช่นกัน และสิ่งเจือปนที่ถูกดักไว้จะตกลงสู่เกลียวลำเลียงกลับไปนวดซ้ำ ถ้าสิ่งเจือปนถูกดักมากจะมีผลให้เกลียวลำเลียงเกิดการติดขัดได้
ความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวเป็นสิ่งที่สำคัญ ผู้ปฏิบัติงานในการใช้เครื่องเกี่ยวนวดควรมีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับผล ของปัจจัยที่มีต่อความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยว และปฏิบัติงานตามสภาพการทำงาน ตลอดจนความเหมาะสมทั้งของเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
เอกสารอ้างอิง
- พินัย ทองสวัสดิ์วงศ์ และคณะ. 2546. คูมื่อการใช้เครื่องนวดข้าวเกษตรพัฒนา.พิมพ์ครั้งที่ 4. บริษัทเกษตรพัฒนาจำกัด.
- วินิต ชินสุวรรณ, นิพนธ์ ป้องจันทร์, สมชาย ชวนอุดม, วราจิต พยอม. 2547. ผลของดัชนีล้อโน้มที่มีต่อความสูญเสียในการเกี่ยวของเครื่องเกี่ยวนวด ข้าว. ว.สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย (ว. สวกท.). 10(1):7-9.
- วินิต ชินสุวรรณ, นิพนธ์ ป้องจันทร์, สมชาย ชวนอุดม, วราจิต พยอม. 2546. ผลของความลาดเอียงและความเร็วของตะแกรงทำความสะอาดที่มีต่อ สมรรถนะการทำความสะอาดของเครื่องนวดข้าวแบบไหลตามแกน. ว.สวกท. 10(1):25-30.
- วินิต ชินสุวรรณ, ณรงค์ ปัญญา, ศรีสมร ทวีโชคชาญชัย. 2541. การศึกษาปัจจัยสำหรับออกแบบเครื่องทำความสะอาดข้าวเปลือกหอมมะลิในระดับ กลุ่มเกษตรกร. ว. วิจัย มข. 3(2): 19-30.
- วินิต ชินสุวรรณ. 2553. การศึกษาประเมินประสิทธิภาพเครื่องเกี่ยวนวดข้าวเพื่อลดความสูญเสียและเพิ่ม ศักยภาพในการส่งออก. รายงานโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
- วินิต ชินสุวรรณ, สมชาย ชวนอุดม, วสุ อุดมเพทายกุล, วราจิต พยอม, ณรงค์ ปัญญา. 2542. ความสูญเสียในการเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิโดยใช้แรงงานคนและใช้เครื่องเกี่ยว นวด. ว. วิจัย มข. 4(2): 4-7.
- สมชาย ชวนอุดม. 2550. การทำนายความสูญเสียจากระบบการนวดของเครื่องเกี่ยวนวดข้าวแบบไหลตามแกน. วิทยานิพนธป์ ริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 190 หน้า
- สมชาย ชวนอุดม. 2543. การศึกษาความสูญเสียจากระบบการเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิโดยแรงงานคนและการเก็บ เกี่ยวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 104 หน้า.
- Khan, A.U. 1986. The Asian Axial-Flow Threshers. Proceeding of the International Conference on Small Farm Equipment for Developing Countries. USA: McGraw-Hill.



เห็ดยานางิ / เห็ดโคนญี่ปุ่น

 
ปรีชา รัตนัง
เห็ดยานางิหรือเห็ดโคนญี่ปุ่น ในธรรมชาติจะเจริญได้ดีในท่อนไม้ผุ ต่างประเทศได้ทำ การศึกษาเห็ดชนิดนี้ตั้งแต่ พ.ศ.2383 ต่อมาในปี 2517 สามารถเพาะเลี้ยงได้ในวัสดุที่เป็นส่วนผสมของฟางข้าวสาลีและเมล็ดข้าวโอ๊ต หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นขี้เลื่อยที่เพิ่มอาหารเสริมที่เห็ดชนิดนี้เจริญได้ดี เนื่องจากเป็นเห็ดที่มีรสชาดดี โดยมลี กั ษณะเนอื้ ดอก กา้ นดอก กรอบแนน่ เนื้อคล้ายเห็ดโคน นิยมใช้ประกอบอาหารหลายชนิด นอกจากนี้ยังสามารถเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นได้นานกว่า 1 สัปดาห์ โดยยังมีความสด รูปร่าง ขนาดและนํ้าหนักและสีสรร ไม่เปลี่ยนแปลง การเพาะเลี้ยงสามารถกระทำ ได้ง่ายเช่นเดียวกับการเพาะเห็ดถุงทั่วไป และเพาะเลี้ยงได้ตลอดปี จึงมีแนวโน้มว่าจะเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่มีอนาคตดีอีกชนิดหนึ่งในบ้านเรา (อัจฉรา , 2535)

ลักษณะทางชีววิทยาและสัณฐานวิทยา
การจำ แนกเห็ดยานางิ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pholiota cylindracea
ชื่อสามัญ เห็ดยานางิ/ เห็ดโคนญี่ปุ่น
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ Yanagimatsutake
การจำ แนกทางพฤกษศาสตร์
Subdivision Basidiomycotina
Class Hymenomycetes
Subclass Holobasidiomycetidae
Order Agaricales (agarics)
Family Strophariaceae
Genus Pholiota
Specie Cylindracea

 สัณฐานวิทยา
หมวกเห็ดมีลักษณะค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 – 10 เซนติเมตร ดอกเห็ดที่ออกใหม่จะมีลักษณกลม ขนาดเล็ก ตรงกลางหมวกจะนูนสูงขึ้นมา ดอกจะมีสีนํ้าตาลเข้ม มีเยื่อหุ้มสีขาวอยู่บริเวณใต้หมวก เมื่อดอกเห็ดแก่สีของหมวกจะซีดลงเป็นสีนํ้าตาลอ่อน ตรงกลางหมวกที่เคยนูนจะยุบและแบบ
ราบ ขนาดดอกจะขยายใหญ่ขึ้นจนเยื่อหุ้มส่วนกลางล่างใต้ดอกเห็ดจะฉีกขาด แล้วเปลี่ยนแปลงเป็นวงแหวนสีนํ้าตาลเข้มติดอยู่ที่ก้านดอกเห็ด เมื่อดอกเห็ดแก่เต็มที่วงแวนนี้จะเห็นไม่ชัดเจน สปอร์ที่ครีบเห็ดมีลักษณะกลมรีเป็นรูปไข่ สีนํ้าตาลเข้ม ส่วนก้านดอกจะกลมและค่อนข้างยาวประมาณ 5 – 11 เซนติเมตร มีสีขาว แต่จะมีเส้นสีนํ้าตาลแทรกอยู่ ดอกอาจเกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ การเก็บเกี่ยวจะทำ ได้ง่าย เนื่องจากส่วนรากยึดติดกับวัสดุเพาะเพียงเล็กน้อยเท่านั้นไม่ติดแน่นเหมือนเห็ดบางชนิด

การเพาะเห็ดยานางิ
ขั้นตอนการผลิตจะเป็นชนิดเดียวกับการเพาะเห็ดชนิดอื่น ที่มีขั้นตอนสำ คัญทั่วไป ดังนี้
1. การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ และเลี้ยงเส้นใยบนอาหารวุ้น
2. การทำ หัวเชื้อเห็ด
3. การทำ ก้อนเชื้อ
4. การทำ ให้เกิดดอกเห็ด และเก็บเกี่ยวผลผลิต

1 การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ และเลี้ยงเส้นใยบนอาหารวุ้น
เป็นวิธีการเตรียมเชื้อเห็ดให้บริสุทธิ์ โดนใช้เนื้อเยื่อจากดอกเห็ดสด นำ มาเลี้ยงให้เจริญ
บนอาหารวุ้น พี.ดี.เอ หรือ พี.ดี.วาย.เอ (อาหาร พี.ดี.เอ. ซึ่งเติมยีสต์ 5 กรัม) ในสภาพปลอด
เชื้อปลอมปน ซึ่งต้องปฏิบัติภายในตู้ถ่ายเชื้อที่ฆ่าเชื้อแล้ว สำ หรับดอกเห็ดที่นำ มาแยกเชื้อจาก
เนื้อเยื่อ ควรคัดเลือกจากสายพันธุ์ที่ต้องการ ดอกเห็ดที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรง ปราศจากโรคและ
แมลงใด ๆ ควรเป็นดอกเห็ดที่เก็บมาใหม่ ๆ และไม่ถูกนํ้า การเจริญของเส้นใยบนอาหารวุ้นจะ
เร็วหรือช้าขึ้นกับสายพันธุ์เห็ด สำ หรับการเจริญบนจานแก้วขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1
เซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 28 – 30 องศาเซลเซียส จะใช้เวลาประมาณ 7 – 8 วัน

2 การทำ หัวชื้อเห็ด
วัสดุที่ใช้ทำ หัวเชื้อที่นิยมกันมากที่สุดคือ เมล็ดข้าวฟ่าง โดยนำ เมล็ดข้าวฟ่างมาล้างนํ้า
ให้สะอาด และแช่นํ้า ไว้ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง นำไปนึ่งหรือต้มจนกระทั่งเมล็ดข้าวบานประมาณ15 – 20 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นการต้มให้กรองเอานํ้าออกให้หมด โดยใช้กระชอนอลูมิเนียม นำไปผึ่งบนกระดาษพอให้เมล็ดข้าวแห้งหมาด ๆ กรองลงในขวดเหล้าชนิดแบนที่สะอาดและแห้งประมาณครึ่งขวด อุดจุกสำ ลีหุ้มกระดาษและรัดด้วยยาง นำ ไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันที่ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 30 – 40 นาทีหรือใช้หม้อนึ่งลูกทุ่ง (ไม่อัดความดัน) อุณหภูมิในหม้อนึ่งประมาณ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากทิ้งให้เย็นแล้วนำ ไปเลี้ยงเชื้อเห็ดโดยเทคนิคปราศจากเชื้อปลอมปน โดยใช้เชื้อเห็ดจากอาหารวุ้นเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 28 – 30 องศาเซลเซียส เส้นใยเห็ดจะเดินเต็มขวดที่มีเมล็ดข้าวฟ่างหนัก 100 กรัม โดยใช้เวลาประมาณ 12 วัน

3 การทำ ก้อนเชื้อ
สำ หรับสูตรอาหารผสมที่ใช้ มีดังนี้
สูตรที่ 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม
รำ ข้าวละเอียด 6 กิโลกรัม
หินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) 1 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
นํ้า 55 - 65 กิโลกรัม
วัสดุเหล่านี้ผสมให้เข้ากันดี มีความชื้น 55 - 65 เปอร์เซ็นต์ และ
ความเป็นกรด เป็นด่าง 5 – 7 ใช้บรรจุถุงได้เลย โดยไม่ต้องหมักไว้ก่อน
สูตรที่ 2 ฟางข้าวสับขนาด 2 นิ้ว 100 กิโลกรัม
หินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) 2 กิโลกรัม
รำ ข้าวละเอียด 5 - 8 กิโลกรัม
นํ้า 60 – 65 กิโลกรัม
สูตรนี้ต้องหมักไว้นาน 8 – 10 วัน โดยต้องกลับกองฟางหมักทุก 2 วัน จนไม่มีกลิ่นแอมโมเนีย ให้มีความชื้น 60 – 65 เปอร์เซ็นต์ การหมักก็ทำ เช่นเดียวกับฟางหมักสำ หรับเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฐาน โดยใช้แบบไม้หมักในวันแรกเมื่อผสมคลุกเคล้าอาหารผสมนํ้า (สูตรที่ 1 ) ให้เข้ากันแล้ว หรือหมักฟางข้าว และวัสดุอื่น ๆ (สูตรที่ 2) จนเหมาะสมแล้ว นำ มาบรรจุลงถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7 X 12 นิ้วหนา 0.12 มิลลิเมตร ให้มีนํ้าหนักประมาณ 600 – 800 กรัม ใส่คอขวด จุกสำ ลี และหุ้มด้วยกระดาษหรือใช้ ฝาครอบพลาสติกปิดจุกสำ ลีกันเปียก นำ ไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันที่ความดัน 15 – 20 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว นาน 1 – 2 ชั่วโมง ถ้าเป็นหม้อนึ่งแบบลูกทุ่งใช้เวลา2 – 3 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็นใส่เชื้อจากหัวเชื้อเห็ด โดยเทเมล็ดข้างฟ่างซึ่งเส้นใยเห็ดเจริญคลุมอยู่ลงถุงอาหารผสม ถุงละ 15 – 20 เมล็ด ในห้องที่ไม่มีลมโกรก และสะอาดนำ ไปบ่มไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิประมาณ 25 – 30 องศาเซลเซียส จากากรทดลองบ่มไว้ที่อุณหภูมิ 24 – 26 องศาเซลเซยี ส เสน้ ใยเหด็ จะเจรญิ เตม็ ถงุ อาหารผสมหนกั 800 กรัม โดยใช้เวลา 30 วัน หลังจากเส้นใยเดินเต็มแล้ว ให้พักถุงไว้อีก 15 วัน ก่อนนำ ไปเปิดดอก

4 การทำ ให้เกิดดอกเห็ดและการเก็บเกี่ยว
เมื่อเส้นใยเห็ดเดนเต็มถุง สังเกตเห็นสีนํ้าตาลเข้ม จึงย้ายก้อนเชื้อไปยังห้องเปิดดอกซึ่ง
มีอุณหภูมิประมาณ 24 – 30 องศาเซลเซียส และความชื้นต้องไม่ตํ่ากว่า 75 – 80 เปอร์เซ็นต์
การเปิดดอกโดยถอดจุกสำ ลีออก นำ ถุงก้อนเชื้อมาวางเรียงไว้บนชั้นเพาะในโรงเรือนที่มีอากาศ
ถ่ายเทได้ดีควรจะให้นํ้าวันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและบ่าย ที่ก้อนเชื้อและบริเวณภายในโรงเรือน
เพื่อให้มีความชื้นสมํ่าเสมอการเก็บดอกเห็ด กระทำ เมื่อกลุ่มดอกเห็ดโตเต็มที่ และที่สำ คัญคือ แผ่นเยื่อหุ้มหมวกส่วนล่างยังคงอยู่หรือยังไม่ฉีกขาด สามารถเก็บดอกเห็ดได้ 5 –8 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 60 – 80 วัน จะได้ผลผลิตประมาณ100 – 250 กรัมต่อถุง รวมระยะเวลาการตั้งแต่การเตรียมเชื้อเห็ดบนอาหารวุ้นจนถึงเก็บเกี่ยวเสร็จ ประมาณ 130 – 145 วัน

ต้นทุนการผลิต
จากการประเมินต้นทุนการผลิตเห็ดยานางิ ของกองโรค
พืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร มีดังนี้
1 ต้นทุนทางตรง
- ค่าเชื้อก้อนเชื้อเห็ด 1,000 ก้อน 3,500 บาท
- ค่าแรงงาน (คนละ 80 – 100 บาทต่อวัน) 600 บาท
2 ต้นทุนทางอ้อม
- ค่าที่ดิน ค่าเสื่อมโรงเรือน ค่านํ้า ค่าสารเคมี และอื่น ๆ 2,850 บาท
รวม 6,950 บาท
3 ประมาณการต้นทุนการผลิตและกำไร
ผลผลิต ต้นทุน กำไร(%) ราคาขาย(กก/1000 ถุง) (บาท/กก) 25 บาท/กก 50บาท/กก
100 70.00 88.00 104.00
150 46.00 58.00 69.00
200 35.00 43.00 52.00
250 28.00 35.00 42.00
เฉลี่ย 175 44.75 56.00 66.75

เอกสารอ้างอิง
สาธิต ไทยทัตกุล. 2532. ข้อมูลการเพาะเห็ดยานางิในประเทศญี่ปุ่น (ปรึกษาส่วนตัว).
อัจฉรา พยัพพานนท์. 2535. ยานางิ…เห็ดเศรษฐกิจชนิดใหม่. หนังสือพิมพ์กสิกร
65(2) : 155 – 157.
Delmas, J. 1978 . The potential cultivation of various edible fungi, p. 699 – 724. In
S.T. Chang and W.A. Hayes (eds.). the Biology

ที่มา http://www.vegetweb.com/wp-content/download/Yanagimatsutake.pdf