วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

สกัด “ติ้ว” พืชผักสมุนไพรทำสารกันหืนได้ผลดี ราคาถูก ลดต้นทุนการนำเข้า

กลิ่นเหม็นหืนหรือที่เรียกว่า ปฏิกิริยาออกวิเดนชั่น มีความสำคัญมากในอุตสาหกรรมอาหารซึ่งเกิดขึ้นได้ในผลิตภัณฑ์อาหารระหว่างการ เก็บวัตถุดิบ การแปรรูป การให้ความร้อนและในช่วงการเก็บของผลิตภัณฑ์ซึ่งส่วนใหญ่นำไปสู่การไม่ยอม รับการเหม็นหืนของอาหาร ไม่เพียงแต่ทำให้อาหารเสื่อมเสียแต่ยังก่อให้เกิดสารพิษ (toxic byproducts) รวมทั้งปฏิกิริยาการเสื่อมเสียอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้เราจำเป็นต้องใช้สารกันหืน (antioxidants) เพื่อ ยืดอายุการเก็บขงอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ แต่เนื่องจากผู้บริโภคยอมรับสารหันหืนที่ได้จากธรรมชาติ เช่น เมล็ดองุ่น เครื่องเทศ และวิตามินอีที่มีราคาสูงมากกว่าสารที่ได้จากการสังเคราะห์ซึ่งมีราคา ถูกกว่า ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วพืชผักผลไม้ที่มีอยู่ในประเทศไทยนั้นมีศักยภาพในการ นำมาสกัดเป็นสารกันหืนได้ อีกทั้งหาซื้อง่ายราคาถูก นอกจากนี้ยังมีการใช้สมุนไพรในการปรุงอาหารอีกเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่มีการศึกษาว่าสารประกอบใดที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งทำหน้าที่ เป็นสารกันหืนที่มีอยู่ในพืชสมุนไพรเป็นสารประกอบประเภทใดบ้าง

นางพิชญ์อร ไหมสุทธิสกุล นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ศึกษาและวิจัย การประเมินศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีนอลิกในพืชพื้นเมืองของไทยบางชนิดเพื่อใช้เป็นสารกันหืนในอาหาร โดยมี รศ.ดร. รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต อาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สวก.) เป็นที่มาของการวิจัย ติ้ว มาสกัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระยับยั้งการหืน

นางพิชญ์อร กล่าวว่า จากการศึกษาหาสารต้านกันหืน หรือที่เรียกว่า ฟีนอลิก แบ่งเป็น3 กลุ่ม กลุ่ม 1 คือผลไม้ เช่น เมล็ด กลุ่ม 2 คือ สมุนไพรและผักกินได้ เช่น ใบของพืชที่มีรสฝาด กลุ่ม 3 คือผักเคี้ยวเล่น เช่น หมาก พลู สีเสียด พบว่า สารต้านการหืนที่สกัดได้พบมากในส่วนของเมล็ดจากพืชที่ศึกษา โดยเฉพาะในกลุ่มที่ใช้ในการผลิตไวน์ เช่น ลูกหว้า มะเม่า มะเกี๋ยง นอกจากนี้ในพืชสมุนไพรที่เป็นใบอ่อนพบว่า กระถิน ติ้ว และกระโดนบก ให้สารที่มีความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ดี ส่วนกลุ่มของหมากจะมีปริมาณฟีนอลิกสูงมาก แต่มีรายงานวิจับพบว่า พืชบางชนิดในกลุ่มนี้มีสารก่อมะเร็ง จึงตัดกลุ่มนี้ทิ้งไป ส่วนกลุ่มที่มีเมล็ดมีข้อจำกัดที่ต้องทดสอบความเป็นพิษก่อน จึงหันมาศึกษาในกลุ่มสมุนไพรและผักกินได้คือ ติ้ว กระโดนบก และกระถิน ซึ่งหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป

นางพิชญ์อรกล่าวถึงขั้นตอนในการสกัดติ้วว่า ติ้ว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า CratoxylumDyer และ ชื่อพื้นเมืองว่า ติ้วขน, ติ้วแดง, แต้วหิน, ตาว หรือติ้วขาว นำผักติ้วมาทำการหั่น บดให้ละเอียด และใส่สารเอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดรับประทานได้มาผสม หลังจากนั้นทำการเขย่าในที่มืดใช้เวลา 4.5 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จากนั้นนำมาระเหยเอสารตัวทำละลายออก และทำให้แห้งโดยใช้การทำที่เรียกว่า freezedried จึงพบว่าสารฟีนอลิกหลักที่พบใน ติ้ว คือคอลาจินิกแอซิด เมื่อนำไปทดสอบเปรียบเทียบการกันหืนในข้าวอบกรอบระหว่างวิตามินอีซึ่งเป็น สารกันหืนธรรมชาติชนิดหนึ่งกับสารสกัดจากติ้ว พบว่า สารสกัดจากติ้วสามารถยังยั้งการหืนได้ดีกว่าวิตามินอี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากติ้วแสดงความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เป็นสารในการต้านอนุมูลอิสระใน อุตสาหกรรมอาหาร

นอก จากนี้ยังพบว่าประเทศไทยยังมีพืชอีกมากมายที่มีศักยภาพในการนำมาสกัดสารต้าน อนุมูลอิสระ ซึ่งหากเราสามารถพัฒนาพืชของเราได้ ในอนาคตเราก็ไม่จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งราคาของสารที่เราสกัดได้เองนี้สามารถแข่งขันกับสารสกัดพืชทางการค้าที่ มีขายในท้องตลาดได้จากการวิจัยในครั้งนี้ได้ต่อยอดไปถึงการนำผิวเปลือกมะขาม เม็ดมะเกี๋ยง มาทำการวิจัยหาสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนการนำเข้า และยังเพิ่มมูลค่าให้สินค้าไทยได้อีกด้วย นางพิชญ์อร กล่าว.


ที่มา :

ทิศทางเกษตร. เดลินิวส์. ฉบับที่ 20,775 วันพุธที่ 30 สิงหาคม 2549 หน้า 10.

http://www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=1510