วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ฤาข้าวหอมอีสาน...จะร่ำไห้

เมื่อเอกลักษณ์ถูกพรากไปเพราะการพาณิชย์

..........ประเทศไทยได้รับการยกย่องว่าเป็นแหล่งผลิตข้าวคุณภาพดีมีกลิ่นหอม แห่งหนึ่งของโลกทั้งนี้เพราะข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ105( หรือต่อไปนี้จะเรียกข้าวหอมมะลิ )เป็นข้าวที่ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างชื่นชมในคุณสมบัติ จำเพาะได้แก่การมีกลิ่นหอมและมีเนื้อแป้งที่มีค่าอะมิโลสต่ำทำให้ข้าวชนิด นี้มีทั้งความหอมและความนุ่มเมื่อหุงสุกแล้วแตกต่างไปจากเข้าเจ้าชนิดอื่นๆ จึงไม่น่าแปลกใจว่าราคาข้าวหอมมะลิในตลาดส่งออก(ในเดือนกันยายน 2552)มีราคาประมาณ 34,000 บาท ต่างจากข้าวขาว 5% ในตลาดส่งออกซึ่งมีราคาตันละ 540 U$$ หรือเป็นเงินไทยประมาณ 18,360 บาท ซึ่งต่างกันเกือบเท่าตัว

ข้าว หอมมะลิเป็นข้าวที่มีพื้นที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ ในปีการผลิต 2550 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิประมาณ 19 ล้านไร่ และมีผลผลิตโดยรวมประมาณ 6.5 ล้านตัน ในจำนวนนี้เป็นเนื้อที่และผลผลิตข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึงร้อย ละ 80 ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดพะเยาและเชียงราย ภาคกลางตอนบน ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์และพิษณุโลก มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิอยู่บ้าง แต่ข้าวหอมมะลิที่ปลูกในภาคกลางแม้จะมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าในภาคตะวันออก ฉียงเหนือ จึงเรียกข้าวหอมมะลิที่ปลูกกันในพื้นที่ภาคกลางว่าข้าวหอมจังหวัด ในช่วง 1- 2 ปีที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะจัดข้าวหอมจังหวัดให้มีราคาเท่ากับข้าวหอม มะลิที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะถือว่าเป็นข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เหมือนกัน นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่มีคุณสมบัติของค่าอะมิโลส ต่ำเช่นเดียวกับข้าวหอมมะลิ และมีขนาดและลักษณะของเมล็ดเมื่อสีเป็นข้าวสารแล้วคล้ายคลึงกับข้าวหอมมะลิ มาก จนไม่สามารถแยกได้ด้ยตาเปล่าและต้องตรวจแยกคุณสมบัติโดยกระบวนการตรวจสอบดี เอ็นเอ ( DNA ) ข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่กล่าวถึงนี้ได้รับการตั้งชื่อว่าข้าวปทุมธานี 1
แต่ หากพิจารณาถึงผลกระทบในระหว่างภูมิภาคแล้วจะพบว่าการขยายตัวของการปลูกข้าว ปทุมธานี 1 อย่างแพร่หลายของเกษตรกรในภาคกลาง และการขยายตัวของการปลูกข้าวหอมจังหวัดในภาคกลางด้วยเช่นกันได้สร้างผลกระทบ ต่อเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพราะ

(1) ได้มีการนำข้าวปทุมธานี 1 ไปปนกับข้าวหอมมะลิในตลาดข้าวสารทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก
(2) ต้นทุนในการเพาะปลูกต่อตันของข้าวปทุมธานี 1 ในพื้นที่ชลประทาน ต่ำกว่าต้นทุนในการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ ต่อตันถึงเกือบหนึ่งเท่าตัว

(4) ได้มีการยกระดับราคารับจำนำของข้าวหอมจังหวัดให้มีราคาเช่นเดียวกับข้าวหอม มะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งก็จะทำให้มีการขยายตัวของอุปทานข้าวหอมมะลิ ในถิ่นเพาะปลูกรองเพิ่มมากขึ้นและจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ในพื้นที่นาแห้งแล้งและมีโอกาสในการปลูกพืชจำกัด การขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตรที่ขยายตัวไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็เป็น อีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งเดิมการเก็บเกี่ยวข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะใช้คนเก็บเกี่ยวและผึ่ง ฟ่อนข้าวไว้ 2 – 3 วัน แล้วจึงนำไปนวดซึ่งจะทำให้ข้าวมีความชื้นต่ำ แต่ภาวะที่เกษตรกรในภาคตะวันออกฉียงเหนือกำลังเข้าสู่ยุคของการขาดแคลนแรง งานจึงได้จ้างรถเกี่ยวจากภาคกลางไปเก็บเกี่ยว รถเกี่ยวจะเร่งรีบในการเก็บเกี่ยวไม่ว่าข้าวจะสุกหรือไม่ และในกระบวนการของรถเกี่ยวข้าวเมื่อเกี่ยวแล้วจะแยกเป็นเมล็ดข้าวเปลือกออก มาในทันทีทำให้ข้าวมีความชื้นสูง และหากเกษตรกรและโรงสีไม่ได้ดูแลรักษาลดความชื้นให้ดีก็จะส่งผลต่อคุณภาพ ข้าวหอมมะลิตามมา และอีกสาเหตุหนึ่งจะทำให้คุณภาพของข้าวหอมมะลิด้อยลงได้แก่พันธุ์ข้าวอื่นๆ ที่ติดมากับรถเกี่ยวข้าวซึ่งจะมีการแพร่กระจายทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของ ข้าวหอมมะลิแท้จางหายไป
นอก จากนี้ การเปิดตลาดการค้าข้าวของไทย ซึ่งจะเปิดเสรีตามข้อตกลงของกลุ่มอาเซียนในเดือนมกราคม 2553 เป็นต้นไป นั่นหมายความว่าข้าวขาวดอกมะลิในประเทศ เขมร ลาว และเวียดนาม ก็อาจจะส่งผ่านมายังประเทศไทย แต่ข้าวขาวดอกมะลิที่มีการปลูกในประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวแม้จะมีคุณสมบัติ ไม่เท่าเทียมกับข้าวขาวดอกมะลิอยู่ส่วนหนึ่ง ราคาข้าวขาวดอกมะลิที่ต่ำกว่าในประเทศเพื่อนบ้าน ย่อมจะส่งผลต่อข้าวหอมมะลิของไทยในตลาดต่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน
ข้าว หอมมะลิในทุ่งกุลาร้องไห้นั้นเปรียบไปก็เหมือนสมบัติอันล้ำค่าของเกษตรกรและ ของตลาดส่งออกไทย แต่ความเป็นพลวัตที่เกิดขึ้นกับภาคการผลิตข้าวกำลังจะส่งผลกระทบที่รุนแรง ต่อเอกลักษณ์และคุณสมบัติเด่นของข้าวหอมมะลิในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้อัน เป็นดินแดนของความแห้งแล้งและมีโอกาสในการเพาะปลูกพืชได้จำกัด ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบว่าภาครัฐจะมีมาตรการณ์เพื่อการปกป้องหรือเพื่อการรักษา เอกลักษณ์อันมีค่าของข้าวหอมมะลิรวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดกับเกษตรกรในทุ่ง กุลาร้องไห้ไว้แต่อย่างใด


สมพร อิศวิลานนท์
อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

ที่มา http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1123&s=tblrice