วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

เห็ดยานางิ / เห็ดโคนญี่ปุ่น

 
ปรีชา รัตนัง
เห็ดยานางิหรือเห็ดโคนญี่ปุ่น ในธรรมชาติจะเจริญได้ดีในท่อนไม้ผุ ต่างประเทศได้ทำ การศึกษาเห็ดชนิดนี้ตั้งแต่ พ.ศ.2383 ต่อมาในปี 2517 สามารถเพาะเลี้ยงได้ในวัสดุที่เป็นส่วนผสมของฟางข้าวสาลีและเมล็ดข้าวโอ๊ต หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นขี้เลื่อยที่เพิ่มอาหารเสริมที่เห็ดชนิดนี้เจริญได้ดี เนื่องจากเป็นเห็ดที่มีรสชาดดี โดยมลี กั ษณะเนอื้ ดอก กา้ นดอก กรอบแนน่ เนื้อคล้ายเห็ดโคน นิยมใช้ประกอบอาหารหลายชนิด นอกจากนี้ยังสามารถเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นได้นานกว่า 1 สัปดาห์ โดยยังมีความสด รูปร่าง ขนาดและนํ้าหนักและสีสรร ไม่เปลี่ยนแปลง การเพาะเลี้ยงสามารถกระทำ ได้ง่ายเช่นเดียวกับการเพาะเห็ดถุงทั่วไป และเพาะเลี้ยงได้ตลอดปี จึงมีแนวโน้มว่าจะเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่มีอนาคตดีอีกชนิดหนึ่งในบ้านเรา (อัจฉรา , 2535)

ลักษณะทางชีววิทยาและสัณฐานวิทยา
การจำ แนกเห็ดยานางิ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pholiota cylindracea
ชื่อสามัญ เห็ดยานางิ/ เห็ดโคนญี่ปุ่น
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ Yanagimatsutake
การจำ แนกทางพฤกษศาสตร์
Subdivision Basidiomycotina
Class Hymenomycetes
Subclass Holobasidiomycetidae
Order Agaricales (agarics)
Family Strophariaceae
Genus Pholiota
Specie Cylindracea

 สัณฐานวิทยา
หมวกเห็ดมีลักษณะค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 – 10 เซนติเมตร ดอกเห็ดที่ออกใหม่จะมีลักษณกลม ขนาดเล็ก ตรงกลางหมวกจะนูนสูงขึ้นมา ดอกจะมีสีนํ้าตาลเข้ม มีเยื่อหุ้มสีขาวอยู่บริเวณใต้หมวก เมื่อดอกเห็ดแก่สีของหมวกจะซีดลงเป็นสีนํ้าตาลอ่อน ตรงกลางหมวกที่เคยนูนจะยุบและแบบ
ราบ ขนาดดอกจะขยายใหญ่ขึ้นจนเยื่อหุ้มส่วนกลางล่างใต้ดอกเห็ดจะฉีกขาด แล้วเปลี่ยนแปลงเป็นวงแหวนสีนํ้าตาลเข้มติดอยู่ที่ก้านดอกเห็ด เมื่อดอกเห็ดแก่เต็มที่วงแวนนี้จะเห็นไม่ชัดเจน สปอร์ที่ครีบเห็ดมีลักษณะกลมรีเป็นรูปไข่ สีนํ้าตาลเข้ม ส่วนก้านดอกจะกลมและค่อนข้างยาวประมาณ 5 – 11 เซนติเมตร มีสีขาว แต่จะมีเส้นสีนํ้าตาลแทรกอยู่ ดอกอาจเกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ การเก็บเกี่ยวจะทำ ได้ง่าย เนื่องจากส่วนรากยึดติดกับวัสดุเพาะเพียงเล็กน้อยเท่านั้นไม่ติดแน่นเหมือนเห็ดบางชนิด

การเพาะเห็ดยานางิ
ขั้นตอนการผลิตจะเป็นชนิดเดียวกับการเพาะเห็ดชนิดอื่น ที่มีขั้นตอนสำ คัญทั่วไป ดังนี้
1. การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ และเลี้ยงเส้นใยบนอาหารวุ้น
2. การทำ หัวเชื้อเห็ด
3. การทำ ก้อนเชื้อ
4. การทำ ให้เกิดดอกเห็ด และเก็บเกี่ยวผลผลิต

1 การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ และเลี้ยงเส้นใยบนอาหารวุ้น
เป็นวิธีการเตรียมเชื้อเห็ดให้บริสุทธิ์ โดนใช้เนื้อเยื่อจากดอกเห็ดสด นำ มาเลี้ยงให้เจริญ
บนอาหารวุ้น พี.ดี.เอ หรือ พี.ดี.วาย.เอ (อาหาร พี.ดี.เอ. ซึ่งเติมยีสต์ 5 กรัม) ในสภาพปลอด
เชื้อปลอมปน ซึ่งต้องปฏิบัติภายในตู้ถ่ายเชื้อที่ฆ่าเชื้อแล้ว สำ หรับดอกเห็ดที่นำ มาแยกเชื้อจาก
เนื้อเยื่อ ควรคัดเลือกจากสายพันธุ์ที่ต้องการ ดอกเห็ดที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรง ปราศจากโรคและ
แมลงใด ๆ ควรเป็นดอกเห็ดที่เก็บมาใหม่ ๆ และไม่ถูกนํ้า การเจริญของเส้นใยบนอาหารวุ้นจะ
เร็วหรือช้าขึ้นกับสายพันธุ์เห็ด สำ หรับการเจริญบนจานแก้วขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1
เซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 28 – 30 องศาเซลเซียส จะใช้เวลาประมาณ 7 – 8 วัน

2 การทำ หัวชื้อเห็ด
วัสดุที่ใช้ทำ หัวเชื้อที่นิยมกันมากที่สุดคือ เมล็ดข้าวฟ่าง โดยนำ เมล็ดข้าวฟ่างมาล้างนํ้า
ให้สะอาด และแช่นํ้า ไว้ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง นำไปนึ่งหรือต้มจนกระทั่งเมล็ดข้าวบานประมาณ15 – 20 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นการต้มให้กรองเอานํ้าออกให้หมด โดยใช้กระชอนอลูมิเนียม นำไปผึ่งบนกระดาษพอให้เมล็ดข้าวแห้งหมาด ๆ กรองลงในขวดเหล้าชนิดแบนที่สะอาดและแห้งประมาณครึ่งขวด อุดจุกสำ ลีหุ้มกระดาษและรัดด้วยยาง นำ ไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันที่ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 30 – 40 นาทีหรือใช้หม้อนึ่งลูกทุ่ง (ไม่อัดความดัน) อุณหภูมิในหม้อนึ่งประมาณ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากทิ้งให้เย็นแล้วนำ ไปเลี้ยงเชื้อเห็ดโดยเทคนิคปราศจากเชื้อปลอมปน โดยใช้เชื้อเห็ดจากอาหารวุ้นเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 28 – 30 องศาเซลเซียส เส้นใยเห็ดจะเดินเต็มขวดที่มีเมล็ดข้าวฟ่างหนัก 100 กรัม โดยใช้เวลาประมาณ 12 วัน

3 การทำ ก้อนเชื้อ
สำ หรับสูตรอาหารผสมที่ใช้ มีดังนี้
สูตรที่ 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม
รำ ข้าวละเอียด 6 กิโลกรัม
หินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) 1 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
นํ้า 55 - 65 กิโลกรัม
วัสดุเหล่านี้ผสมให้เข้ากันดี มีความชื้น 55 - 65 เปอร์เซ็นต์ และ
ความเป็นกรด เป็นด่าง 5 – 7 ใช้บรรจุถุงได้เลย โดยไม่ต้องหมักไว้ก่อน
สูตรที่ 2 ฟางข้าวสับขนาด 2 นิ้ว 100 กิโลกรัม
หินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) 2 กิโลกรัม
รำ ข้าวละเอียด 5 - 8 กิโลกรัม
นํ้า 60 – 65 กิโลกรัม
สูตรนี้ต้องหมักไว้นาน 8 – 10 วัน โดยต้องกลับกองฟางหมักทุก 2 วัน จนไม่มีกลิ่นแอมโมเนีย ให้มีความชื้น 60 – 65 เปอร์เซ็นต์ การหมักก็ทำ เช่นเดียวกับฟางหมักสำ หรับเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฐาน โดยใช้แบบไม้หมักในวันแรกเมื่อผสมคลุกเคล้าอาหารผสมนํ้า (สูตรที่ 1 ) ให้เข้ากันแล้ว หรือหมักฟางข้าว และวัสดุอื่น ๆ (สูตรที่ 2) จนเหมาะสมแล้ว นำ มาบรรจุลงถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7 X 12 นิ้วหนา 0.12 มิลลิเมตร ให้มีนํ้าหนักประมาณ 600 – 800 กรัม ใส่คอขวด จุกสำ ลี และหุ้มด้วยกระดาษหรือใช้ ฝาครอบพลาสติกปิดจุกสำ ลีกันเปียก นำ ไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันที่ความดัน 15 – 20 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว นาน 1 – 2 ชั่วโมง ถ้าเป็นหม้อนึ่งแบบลูกทุ่งใช้เวลา2 – 3 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็นใส่เชื้อจากหัวเชื้อเห็ด โดยเทเมล็ดข้างฟ่างซึ่งเส้นใยเห็ดเจริญคลุมอยู่ลงถุงอาหารผสม ถุงละ 15 – 20 เมล็ด ในห้องที่ไม่มีลมโกรก และสะอาดนำ ไปบ่มไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิประมาณ 25 – 30 องศาเซลเซียส จากากรทดลองบ่มไว้ที่อุณหภูมิ 24 – 26 องศาเซลเซยี ส เสน้ ใยเหด็ จะเจรญิ เตม็ ถงุ อาหารผสมหนกั 800 กรัม โดยใช้เวลา 30 วัน หลังจากเส้นใยเดินเต็มแล้ว ให้พักถุงไว้อีก 15 วัน ก่อนนำ ไปเปิดดอก

4 การทำ ให้เกิดดอกเห็ดและการเก็บเกี่ยว
เมื่อเส้นใยเห็ดเดนเต็มถุง สังเกตเห็นสีนํ้าตาลเข้ม จึงย้ายก้อนเชื้อไปยังห้องเปิดดอกซึ่ง
มีอุณหภูมิประมาณ 24 – 30 องศาเซลเซียส และความชื้นต้องไม่ตํ่ากว่า 75 – 80 เปอร์เซ็นต์
การเปิดดอกโดยถอดจุกสำ ลีออก นำ ถุงก้อนเชื้อมาวางเรียงไว้บนชั้นเพาะในโรงเรือนที่มีอากาศ
ถ่ายเทได้ดีควรจะให้นํ้าวันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและบ่าย ที่ก้อนเชื้อและบริเวณภายในโรงเรือน
เพื่อให้มีความชื้นสมํ่าเสมอการเก็บดอกเห็ด กระทำ เมื่อกลุ่มดอกเห็ดโตเต็มที่ และที่สำ คัญคือ แผ่นเยื่อหุ้มหมวกส่วนล่างยังคงอยู่หรือยังไม่ฉีกขาด สามารถเก็บดอกเห็ดได้ 5 –8 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 60 – 80 วัน จะได้ผลผลิตประมาณ100 – 250 กรัมต่อถุง รวมระยะเวลาการตั้งแต่การเตรียมเชื้อเห็ดบนอาหารวุ้นจนถึงเก็บเกี่ยวเสร็จ ประมาณ 130 – 145 วัน

ต้นทุนการผลิต
จากการประเมินต้นทุนการผลิตเห็ดยานางิ ของกองโรค
พืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร มีดังนี้
1 ต้นทุนทางตรง
- ค่าเชื้อก้อนเชื้อเห็ด 1,000 ก้อน 3,500 บาท
- ค่าแรงงาน (คนละ 80 – 100 บาทต่อวัน) 600 บาท
2 ต้นทุนทางอ้อม
- ค่าที่ดิน ค่าเสื่อมโรงเรือน ค่านํ้า ค่าสารเคมี และอื่น ๆ 2,850 บาท
รวม 6,950 บาท
3 ประมาณการต้นทุนการผลิตและกำไร
ผลผลิต ต้นทุน กำไร(%) ราคาขาย(กก/1000 ถุง) (บาท/กก) 25 บาท/กก 50บาท/กก
100 70.00 88.00 104.00
150 46.00 58.00 69.00
200 35.00 43.00 52.00
250 28.00 35.00 42.00
เฉลี่ย 175 44.75 56.00 66.75

เอกสารอ้างอิง
สาธิต ไทยทัตกุล. 2532. ข้อมูลการเพาะเห็ดยานางิในประเทศญี่ปุ่น (ปรึกษาส่วนตัว).
อัจฉรา พยัพพานนท์. 2535. ยานางิ…เห็ดเศรษฐกิจชนิดใหม่. หนังสือพิมพ์กสิกร
65(2) : 155 – 157.
Delmas, J. 1978 . The potential cultivation of various edible fungi, p. 699 – 724. In
S.T. Chang and W.A. Hayes (eds.). the Biology

ที่มา http://www.vegetweb.com/wp-content/download/Yanagimatsutake.pdf