วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มาปลูกเห็ดเข็มทองกันเถอะ



เห็ดเข็มทอง เบอร์ 1 มีลักษณะเส้นใยสีขาว บางส่วนเปลี่ยนเป็นสีเหลือง-น้ำตาล เมื่ออายุมากกว่า 45 วัน เจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 22-26 องศาเซลเซียส ดอกเป็นกลุ่ม ก้านยาว 6-12ซม. หมวกดอกมีขนาดเล็ก 0.5-1.5 ซม. สีของก้านส่วนล่างจะมีสีน้ำตาลดำและอ่อนลงเป็นสีเหลืองจนถึงหมวกดอก ให้ผลผลิตได้ดีที่อุณหภูมิ 8-18 องศาเซลเซียส

ลักษณะประจำพันธุ์ 
ดอกเห็ดมี ลักษณะเป็นกลุ่ม หมวกดอกโค้งนูนลง สีเหลืองทอง ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-5 ซม. ก้านดอกสีเหลือง โคนก้านสีน้ำตาลเข้มดำ ก้านยาว 3-12 ซม. พิมพ์สปอร์ (Spore print) สีขาว สปอร์รูปไข่ปลายมนสีขาว ขนาด 5-8 X 3-4 ไมครอน

ลักษณะการเจริญเติบโต
          ระยะเส้นใย เส้นใยเจริญบนอาหาร พี ดี เอ มีสีขาวและเต็มจานแก้วเลี้ยงเชื้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 ซม.ในเวลาประมาณ 10 วัน ที่อุณหภูมิ 23±3 องศาเซลเซียส เส้นใยเจริญได้ในที่มืด ดอกเห็ดเกิดบน พี ดี เอ ได้เมื่อเส้นใยอายุ 45±10 วัน และต้องมีแสงสว่าง
 ระยะหัวเชื้อ เส้นใยเจริญเต็มเมล็ดข้าวฟ่างนึ่งฆ่าเชื้อ (100 กรัม) ในเวลาประมาณ 12 วัน ที่อุณหภูมิ 23±3 องศาเซลเซียส    
ระยะบ่มเชื้อ เส้นใยเจริญเต็มที่อาหารผสมขี้เลี่อย (600 กรัม) ในเวลาประมาณ 45 วัน ที่อุณหภูมิ 23±3 องศาเซลเซียส
ระยะออกดอก เห็ดออกดอกเก็บได้ 3-4 ครั้งภายใน 2 เดือน ที่อุณหภูมิ 13±3 องศาเซลเซียส ต้องการแสงสว่าง ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95%

ผลผลิตเฉลี่ย  50-150 กรัม (น้ำหนักอาหารผสมขี้เลื่อย 600 กรัม)

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยง เห็ดให้ได้ผลผลิต

1.โรงเพาะ
 โรงเรือนเพาะเห็ดเข็มทองที่ดีจะต้องสร้างแบบห้องเย็น  ภายใต้หลังคา สามารถ ควบคุมอุณหภูมิ  ความชื้น  อากาศและแสงสว่างได้ดี  มีพื้นที่สำหรับกองขี้เลื่อย  และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ  เช่น เครื่องผลิตไอน้ำ  ตู้อบฆ่าเชื้อ  เครื่องมือต่างๆ  และควรมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองในกรณีไฟฟ้าดับด้วย

2.การเตรียมเชื้อเห็ด
 เชื้อ เห็ดสายพันธุ์ที่ตลาดนิยม  เลี้ยงเชื้อบริสุทธิ์ในอาหารวุ้น PDA หรือ PDYA  ที่อุณหภูมิ 20 – 25 องศาเซลเซียส  แล้วจึงขยายเชื้อลงในเมล็ดข้าวฟ่างหรือขี้เลื่อยผสมรำ 10 เปอร์เซ็นต์  ใช้เป็นหัวเชื้อ

3.การเตรียมวัสดุเพาะ
 วัสดุเพาะ ที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ  ขี้เลื่อยผสมรำละเอียด 10 – 20 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้อาจจะผสมแกลบ 5 – 10 เปอร์เซ็นต์  และอาหารเสริมอื่นๆ  ตามความเหมาะสมของเชื้อเห็ดแต่ละสายพันธุ์  ขี้เลื่อยควรรดน้ำกองทิ้งไว้จนน้ำที่ไหลซึมออกมามีใส ในระหว่างกองหมักน้ำควรกลับกองเพื่อความสม่ำเสมอในการชะล้างยางไม้ออกจากขี้ เลื่อย  เสร็จแล้วกองให้สะเด็ดน้ำเพื่อเตรียมใช้งานต่อไป  ส่วนผสมของวัสดุเพาะควรมีความชื้นอยู่ระหว่าง 58 – 62 เปอร์เซ็นต์

       3.1.การเตรียมอาหาร วสัดุที่ใช้ผสมเป็นอาหารเพาะเลี้ยงเห็ดเข็มเงินประกอบด้วย
              - ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 75 กิโลกรัม
              - รําละเอียด 20 กิโลกรัม
              - ข้าวโพดบด 5 กิโลกรัม
              - นํ้า 60 กิโลกรัม

วัสดุ ทั้งหมดนี้นำมาคลุกให้เข้ากันอย่างดีจะมี ความชื้น 60-65 % นำอาหารที่เตรียมแล้วนำไปบรรจุในถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 x 12 นิ้ว อาจบรรจุในพลาสติกได้อัดให้แน่นจะได้ปริมาณอาหารถุงละ 600 กรัม (วิธีบรรจุ เช่น เดียวกับการเตรียมถุงอาหารเห็ดโดยทั่วไป) ใส่คอขวด (พลาสติก) ปิดจุกสำลี แล้วหุ้มด้วยกระดาษป้องกันสำลีเปียก

4.ภาชนะที่ใช้เพาะเห็ด
 นิยมใช้ขวดพลาสติกทนความร้อนสูง  มีลักษณะทั่วไปโดยประมาณดังนี้ ความ จุ 1 ลิตร  ปากกว้าง 6 เซนติเมตร  ใส่วัสดุเพาะหมัก 750 กรัม  บรรจุขี้เลื่อยด้วยเครื่องบรรจุ  พร้อมทั้งอัดและเจาะรูตรงกลางโดยอัตโนมัติ  ปิดปากขวดด้วยฝาพลาสติกแบบมีที่กรองอากาศ

5.การอบฆ่าเชื้อ
  อบฆ่าเชื้อขวดขี้เลื่อยที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส  เป็นเวลา 4 ชั่วโมง  จากนั้นจึง เพิ่มอุณหภูมิเป็น 120 องศาเซลเซียส  หรือจะอบที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส  เป็นเวลานาน     2 ชั่วโมง  ก็ได้  ระหว่างที่อบฆ่าเชื้อต้องระวังอย่างให้น้ำไหลเข้าไปในขวดขี้เลื่อย  จะทำให้ความชื้นสูงเกินไป  เชื้อเห็ดจะเจริญเติบโตได้ไม่ดี หรือเรียกอีกอย่างว่าการนึ่งอาหาร ถุงอาหารขี้เลื่อยผสมที่เตรียมไว้แล้วนี้ นําไปผ่านการฆ่าเชื้อ โดยนึ่งในหม้อนึ่งไม่อัดความดัน อุณหภูมิประมาณ 100  ํC เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือนึ่งด้วยหม้อนึ่งอัดความดัน อุณหภูมิประมาณ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง

6.การใส่เชื้อ
          เมื่ออบฆ่าเชื้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ทิ้งขวดขี้เลื่อยให้เย็นประมาณ 20 องศาเซลเซียส  จึงจะใส่เชื้อ  การเพาะเห็ดแบบอุตสาหกรรมจะต้องใช้เครื่องมือเป็นส่วนใหญ่  การใส่เชื้อก็เช่นกันจะใส่ด้วยเครื่องโดยใช้เชื้อที่ทำจากขี้เลื่อย  ใส่ในอัตราส่วนประมาณ 15 กรัมต่อขวด  หรือเชื้อ 1 ขวด  ต่อวัสดุเพาะ 50 ขวด หรือใส่เชื้อเห็ดที่เจริญในเมล็ดข้าวฟ่างถุงละ 15-20 เมล็ด

7.การบ่มเชื้อ
           นำขวดเพาะที่ใส่เชื้อเห็ดไปตั้งไว้ในห้องที่อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 18 – 20 องศาเซลเซียส  ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิภายในขวดขี้เลื่อยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด  ใช้เวลา 25 – 30 วัน  เชื้อก็เจริญเต็มขวด

8.การสร้างตุ่มดอก
           เมื่อเชื้อเจริญเต็มขวด  ให้เปิดฝาออกแล้วใช้เหล็กปลายแบนงอเหมือนช้อนขุดเอาส่วนหน้าหรือส่วนที่เป็น เชื้อขี้เลื่อยออกให้หน้าเรียบ (ฟาร์มเห็ดใหญ่ๆ  จะใช้เครื่องแคะ) นำไปไว้  หรือลดอุณหภูมิห้องลงมาที่ 10 – 15 องศาเซลเซียส  (แล้วแต่สายพันธุ์เห็ด) ความชื้น 80 – 85 เปอร์เซ็นต์  ไม่ต้องใช้แสงสว่าง  รักษาอุณหภูมิและความชื้นให้สม่ำเสมอ  ใช้เวลา 5 – 10 วัน  ก็จะสร้างตุ่มดอก  แล้วเลี้ยงต่อจนดอกเห็ดโผล่พ้นปากขวด 2 – 3 เซนติเมตร

ที่มา : http://www.technoinhome.com/vspcite/front/board/show.php?tbl=tblwb03&gid=20&id=297&PHPSESSID=9dfdbe4c11bbf534df2527865628593