วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก




สภาพการผลิตผักแต่เดิม เกษตรกรผู้ปลูกผักสดนิยมซื้อเมล็ดพันธุ์มาปลูกจำหน่ายเป็นผลผลิตผักสดออกสู่ตลาดและทำนองเดียวกันก็มีเกษตรกรบางรายจะปล่อยให้ผลผลิตแก่เพื่อเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์บางส่วนไว้ใช้ปลูกเองในรุ่นต่อไป ซึ่งเป็นลักษณะการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักแบบหัวไร่ปลายนา ไม่ใช่เชิงธุรกิจ แต่ในปัจจุบันความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ผักในประเทศมีเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้นักธุรกิจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้เล็งเห็นศักยภาพความเหมาะสมของพื้นที่ในประเทศไทยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะส่งเสริมให้มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ในเชิงธุรกิจขึ้นทั้งเมล็ดพันธุ์ชนิดผสมเปิดและชนิดลูกผสมรุ่นที่ 1 หรือ เอฟ-วัน-ไฮบริด (Fi Hybrid) โดยได้มีการส่งเสริมกันอย่างแพร่หลายในบางจังหวัดของภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก ซึ่งเอกชนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันธุรกิจการผลิตเม็ดพันธุ์ผักของประเทศไทยให้รุดหน้าอย่างรวดเร็ว ส่วนภาคราชการมีบทบาทในการศึกษาวิจัยปรับปรุงเมล็ดพันธุ์หลักคุณภาพดีออกมาส่งเสริมเผยแพร่กรมส่งเสริมการเกษตรจึงเล็งเห็นความสำคัญในงานด้านนี้ จึงยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุนภาคเอกชนในการจัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักแบบครบวงจรโดยช่วยเหลือภาคเอกชนในด้านการคัดเลือกพื้นที่ ๆ จะทำการผลิต ดำเนินการรวมกลุ่มเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเกษตรกรให้มีทักษะในด้านการผลิต รวมถึงการติดตามนิเทศงานอย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงที่เริ่มดำเนินการจัดทำโครงการดังกล่าวประกอบกับกรมส่งเสริมการเกษตรได้พิจารณาจัดทำเอกสารคำแนะนำเรื่อง "การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก"ฉบับนี้ขึ้นมามีเนื้อหาเกี่ยวกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักที่น่าสนใจอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือผักบุ้งจีน ข้าวโพดหวาน ผักกาดหอม แตงกวา

หลักการผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก
1. การคัดเลือกพื้นที่
ในการเลือกพื้นที่ปลูกเกษตรกรต้องคำนึงถึงลักษณะดินฟ้าอากาศทั่ว ๆ ไปของพื้นที่ ๆ จะทำการผลิตว่าเกื้อกูลต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักมากน้อยเพียงใดเช่น อุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละเดือน การกระจายตัวของน้ำฝน ความอุดมสมูรณ์ของดินลักษณะเนื้อดิน ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน แหล่งน้ำตามธรรมชาติ การสะสมหรือการระบาดของโรคหรือแมลงในท้องถิ่นนั้น ๆ ที่ผ่านมา
2. การคัดเลือกเกษตรกร
เกษตรกร ควรมีประสบการณ์ในการผลิตผักสดอยู่แล้วและมีความสนใจที่จะทำการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักเมื่อดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักไปแล้วเกษตรกรควรต้องคอยดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ไว้เมื่อดำเนินก
3. การมีความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิต
เกษตรกร จะต้องทราบว่าขั้นตอนการผลิตเป็นอย่างไร จะหาเมล็ดพันธุ์หลักที่มีคุณภาพดีมาใช้เป็นแม่พันธุ์จากที่ไหนกำลังความสามารถของตนเองทำการผลิตได้หรือไม่ ถ้าเกษตรกรยังไม่มีทักษะ ควรจะหาแหล่งความรู้จากที่ใดได้บ้างเช่น อาจได้รับความรู้จากการฝึกอบรมของทางราชการหรือภาคเอกชน
4. รู้จักวางแผนการผลิต
เกษตกรควรทราบขึ้นตอนการผลิตว่ามีความซับซ้อนเพียงใดเพื่อจะได้คำนวณว่าแรงงานในครอบครัวจะสามารถดูแลทำการผลิตได้กี่ไร่ที่ทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพผลผลิตที่ได้ออกมาตรงตามความต้องการของตลาด โดยมีการกำหนดเป้าหมายการผลิตไว้อย่างชัดเจนรวมทั้งเกษตรกสามารถคำนวณรายได้หลังจากลงทุนและเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วว่าจะมีรายได้มากน้อยเพียงใด

ที่มา http://www.doae.go.th/library/html/detail/Vetgetab/index.htm