วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ฟักข้าว อาหารต้านมะเร็ง

ฟักข้าว Momordica cochinchinnensis (Lour.) Spreng.

อยู่ในวงศ์แตงกวาและมะระคือวงศ์ Cucurbitaceae

ชื่อเรียกอื่น คือ ขี้กาเครือ (ปัตตานี) ผักข้าว (ตาก ภาคเหนือ) มะข้าว (แพร่) แก๊ก (Gac เวียดนาม) Baby Jackfruit, Spiny Bitter Gourd, Sweet Gourd, และ Cochinchin Gourd

ฟักข้าวมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นพืชที่ชาวเวียดนามใช้ประกอบอาหารมาก ในชนบทมีปลูกกันเกือบทุกบ้านเรือน


ฟักข้าว
เป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียบแบบสลับ ใบรูปหัวใจ หรือรูปไข่ กว้างยาวเท่ากันประมาณ 6 -15 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึก เป็นแฉก 3 – 5 แฉก

ดอก
เป็นดอกเดียวพบที่ซอกใบ ต้นแยกเพศอยู่คนละต้น กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง ตรงกลางมีสีน้ำตาลแกมม่วง ใบประดับมีขน

ผล
อ่อนมีสีเขียวอมเหลือง เจริญได้เองโดยไม่ต้องถูกผสม เมื่อผลสุกจะมีสีแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือแยกรากปลูก
** ฟักข้าวเริ่มมีดอกหลังแยกราก ปลูก ประมาณ 2 เดือน เริ่มผลิตดอกราวเดือนพฤษภาคมและให้ดอกจนถึงราวเดือนสิงหาคม ผลสุกใช้เวลาประมาณ 20 วัน และใน 1 ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลฟักข้าวได้ 30 -60 ผล โดยเก็บผลสุกได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผลของฟักข้าวมี 2 ชนิด ผลยาวมีขนาดยาว 6 -10 เซนติเมตร ส่วนผลกลมยาว 4 -6 เซนติเมตร เปลือกผลอ่อนสีเขียวมีหนามถี่ เปลี่ยนเป็นสีส้มแก่หรือแดงเมื่อผลสุก แต่ละผลหนักตั้งแต่ 0.5 – 2 กิโลกรัม
** ที่ประเทศเวียดนามมักปลูกฟักข้าวพาดพันไม้ระแนงข้างบ้าน และเก็บเฉพาะผลสุกมาประกอบอาหาร แต่เนื่องจากฟักข้าวให้ผลดีที่สุดในช่วงฤดูหนาว ชาวเวียดนามจึงนิยมใช้ประกอบอาหารในเทศกาลปีใหม่และงานมงคลสมรสเท่านั้น

ผลฟักข้าวมีเปลือกหนา
ผลสุกเนื้อในหนามีสีส้มภายในมีเยื่อสีแดงให้เมล็ดเกาะ เนื้อผลสุกกินได้ ที่ประเทศเวียดนามใช้เยื่อสีแดงและเมล็ด (มีน้ำมัน) เป็นยา
ฟักข้าว 1 ผล : จะมีเยื่อสีแดงราว 200 กรัม
ประโยชน์ทางโภชนาการของฟักข้าว : ในประเทศไทยใช้ผลฟักข้าวอ่อนสีขาวเป็นอาหารรสชาติเนื้อฟักข้าวเหมือนมะละกอ ลวกหรือต้มให้สุกหรือต้มกะทิจิ้มน้ำพริกกะปิ หรือใส่แกง ยอดอ่อน ใบอ่อนนำมาเป็นผักได้ นำมานึ่งหรือลวกให้สุกกินกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค
** ประเทศเวียดนามกินข้าวเหนียวหุงกับเยื่อเมล็ดผลฟักข้าวสุก เนื่องจากชาวเวียดนามถือว่าสีขาวเป็นสีแห่งความตาย ข้าวสีส้มแดงจึงจัดเป็นมลคงต่องานเทศกาลต่าง ๆ

ชาวเวียดนามเอาเยื่อสีแดงจากผลฟักข้าวสุกพร้อมเมล็ดมาหุงกับข้าวเหนียว ได้ข้าวสีส้มแดงมีกลิ่นหอม ต้องมีเมล็ดฟักข้าวติดมาในข้าวด้วยจึงว่าเป็นของแท้ ถึงกับมีการหุงข้าวใส่สีผสมอาหารสีแดงเลียนแบบการใช้ฟักข้าวนอกฤดูกาลก็มี เชื่อว่าบำรุงสายตา

ผลอ่อนฟักข้าว / 100 กรัมน้ำหนักสัดส่วนที่กินได้
มวลแห้ง 7 กรัม
ใยอาหาร 1.03 กรัม
น้ำตาล 1.8 กรัม
โปรตีน 0.94 กรัม
วิตามินซี 0.04 มิลลิกรัม
บีตาแคโรทีน 91 มิลลิกรัม
แคลเซียม 23 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.34 มิลลิกรัม

ไมโครกรัม / น้ำหนักผล เนื้อผล เยื่อเมล็ด
บีตาแคโรทีน 22.1 101
ไลโคพีน 0.9 380

“น้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ”
เยื่อเมล็ดของฟักข้าวมีปริมาณเบตาแคโรทีนมากกว่าแครอต 10 เท่า มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า และมีกรดไขมันขนาดยาวประมาณร้อยละ 10 ของมวง การกินบีตาแคโรทีนจากฟักข้าวพบว่าดูดซึมในร่างกายได้ดีเพราะละลายได้ในกรด ไขมันดังกล่าว
เมื่อใช้เยื่อฟักข้าวเสริมอาหารให้กับเด็กก่อนวัยเรียน ในงายวิจัยในประเทศเวียดนาม พบว่าเด็กในกลุ่มมีปริมาณบีตาแคโรทีนและไลโคพีนในพลาสมาสูงขึ้น และกลุ่มที่มีปริมาณความเข้มข้นของเฮโมโกลบินต่ำมีความเข้มข้น เพิ่มขึ้นด้วย จึงแนะนำให้ผู้มีเลือดจางกินข้าวหุงเยื่อเมล็ดฟักข้าวสุกด้วย ปัจจุบันมีผู้นำเยื่อเมล็ดนี้ผลิตเป็นเครื่องดื่มอาหารเสริมจำหน่ายในต่างประเทศ
ไลโคพีนเป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ พบได้ในผักและผลไม้บางชนิด ทำหน้าที่เป็นรงควัตถุรวบรวมแสงให้แก่พืช และป้องกันพืชผักจากออกซิเจนโมเลกุลเดี่ยว (อนุมูลอิสระ) และแสงที่จ้าเกินไป การกินไลโคพีนที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นได้รับการพิสูจน์จากวงการแพทย์ ว่ามีผลลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร เนื่องจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีไลโคพีนมากกว่าผลไม้อื่น ๆ ทุกชนิด จึงถือว่าเป็นอาหารต้านมะเร็งที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งจากฤทธิ์ของไลโคพีน

ผลไม้ ปริมาณไลโคพีน

ไมโครกรัม / กรัม นน.ผล
มะเขือเทศสุก 31
แตงโม 41
ฝรั่ง 54
ส้มโอ 33.6
เยื่อเมล็ดฟักข้าว 380
ฤทธิ์ในการบำบัดรักษาโรค :
++ ประเทศจีน ++

ใช้เมล็ดแก่ของฟักข้าวเป็นยามานานกว่า 1,200 ปี ใช้บำบัดอาการอักเสบบวม กลากเกลื้อน ฝี อาการฟกช้ำ ริดสีดวง แก้ท้องเสีย อาการผื่นคันและโรคผิวหนังติดเชื้อต่าง ๆ ทั้งในมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ


การกินฟักข้าวเป็นยา :
ใช้เมล็ดแก่บดแห้ง
ส่วนการใช้ภายนอก :
ให้นำเมล็ดฟักข้าวบดแห้ง ผสมน้ำมันหรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อยทาบริเวณที่มีอาการ และใช้เยื่อเมล็ดแทนสีผสมอาหาร
งานวิจัยในประเทศจีนพบว่าโปรตีนจาก เมล็ดมีความสามารถต้านอนุมูลอิสระและเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ตับในหลอดทดลอง เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของฤทธิ์ทางชีวภาพของเมล็ดฟักข้าว ถือว่าลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระจึงมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็ง

นอกจากนี้
เมล็ดฟักข้าวเป็นส่วนผสมของยาแก้ปวดกล้ามเนื้อและคลายกล้ามเนื้อในเครื่องยาจีนหลายตำรับ

++ ประเทศเวียดนาม ++

การวิจัยทางคลินิกที่มหาวิทยาลับฮานอย พบว่าน้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ

++ ประเทศไทย ++

มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลเกี่ยวกับสรรพคุณของเมล็ดฟักข้าว
พบโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอชไอวี – เอดส์ และยับยั้งเซลล์มะเร็งจดสิทธิบัตรในประเทศไทยแล้ว

งานวิจัยอื่นของไทยและตางประเทศพบว่า
เมล็ดแก่ของ ฟักข้าวมีโปรตีน มอร์มอโคลซิน – เอส และโคลซินิน – บี มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของไรโบโซมซึ่งเป็นแหล่งผลิตกรดอะมิโน และต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง ซึ่งอาจนำไปใชพัฒนาเภสัชภัณฑ์ได้ในวันข้างหน้า

++ ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย ++

ใช้รากฟักข้าวสระผมเพื่อกำจัดเหา ใช้รากบดหมักผมกระตุ้นให้ผมดก

ประเพณีล้านนาของไทยใช้ฟักข้าวในการดำหัว (คือการสระผม) สตรีล้านนา ดำหัวสัปดาห์ละครั้ง “ยาสระผม” ผลประคำดีควายหมกไฟพอให้สุกรากของต้นฟักข้าว รากแหย่งบดหยาบทั้งหมดผสมกับน้ำอุ่นหมักผมไว้สักระยะหนึ่งแล้วจึงล้างออก จะทำให้แก้คันศีรษะ แก้รังแค แก้ผมร่วงและช่วยให้ผมดกดำ

++ ประเทศญี่ปุ่น ++

ทำการวิจัยพบว่า โปรตีนจากสารสกัดน้ำของผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ใน หนูทดลอง โดยลดการแผ่ขยายของหลอดเลือดรอบก้อนมะเร็งและชะลอการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ดังกล่าว ในห้องทดลองน้ำสกัดผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและมะเร็งลำ ไส้ใหญ่โดยการทำให้เซลล์แตกตาย


ผลอ่อนฟักข้าวกินได้ ผลแก่ก็อุดมคุณค่า ลองหาพันธุ์มาปลูกไม้เลื้อยเล่นหน้าบ้านจะได้กินเมื่อในปรารถนา เป็นการสร้างสุขภาพป้องกันโรคร้ายได้อย่างดี

ขอบคุณเนื้อหาจาก : -
ขอบคุณภาพประกอบจาก : Internet และ อานนท์ เวิล์ด